ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:SGSthammasat/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยโลกคดีศึกษา
School of Global Studies
ชื่อย่อSGS
สถาปนา28 พฤศจิกายน พ.ศ.2555
สังกัดการศึกษาธรรมศาสตร์
ที่อยู่
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121
ไฟล์:Logo SGS Thammasat.gif
ตราสัญลักษณ์ประจำวิทยาลัย

วิทยาลัยโลกคดีศึกษา (School of Global Studies: SGS) จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 เพื่อตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการสนับสนุนและพัฒนาหลักสูตรนานาชาติ และตอบสนองนโยบายของรัฐบาล ในการพัฒนาประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางของการศึกษาระดับอุดมศึกษาในภูมิภาคอาเซียน การพัฒนาหลักสูตรนี้จึงเป็นไปเพื่อปูทางสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคต

คณบดีตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

[แก้]
ปีพ.ศ. รายชื่อ
พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน ผศ.ดร. ประภาภรณ์ ติวยานนท์ มงคลวนิช
พ.ศ. 2559 – 2562 ศ.ดร. นันทวรรณ วิจิตรวาทการ
พ.ศ. 2557 – 2559 รศ.ดร. นิตยา วัจนภภูมิ
พ.ศ. 2555 – 2556 ศ.ดร. นันทวรรณ วิจิตรวาทการ

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

[แก้]

ปัจจุบันโลกาภิวัตน์ได้นำทั้งปัญหาใหม่ และโอกาสใหม่มาสู่ประเทศต่างๆทั่วโลก ซึ่งรวมถึงภูมิภาคอาเซียนด้วย โลกาภิวัตน์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การสาธารณสุข การศึกษา และอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงนี้กระทบต่อทุกมิติ ทั้งระดับนานาชาติ ระดับภูมิภาคทั่วโลก ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม จากการเกิดปัญหาใหม่ ย่อมเป็นโอกาสให้เกิดการพัฒนาแนวคิดใหม่ สู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ให้แก่สังคม ทั้งระดับชาติ และระดับนานาชาติ ดังนั้นการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้นำด้านนวัตกรรมสังคม จะสามารถตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์ได้เป็นอย่างดี การผลิตบัณฑิตที่จะออกไปเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นนักออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม เป็นนักพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม นักสื่อสาร นักวางแผน และนักพัฒนาองค์กร ต้องอาศัยองค์ความรู้จากศาตร์ต่างๆ ทั้งสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ดังนั้น หลักสูตรนี้จึงใช้กลยุทธ์ที่เป็นหลักสูตรพหูสาขา (Interdisciplinary) และการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นหลักสูตรนานาชาติที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ

ชื่อหลักสูตร

[แก้]
  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโลกคดีศึกษา และการประกอบการสังคม (หลักสูตรนานาชาติ)
  • Bachelor of Arts Program in Global Studies and Social Entrepreneurship (International Program)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

[แก้]
  • ศศ.บ. ศิลปศาสตรบัณฑิต (โลกคดีศึกษาและการประกอบการสังคม)
  • Bachelor of Arts (Global Studies and Social Entrepreneurship)

รูปแบบของหลักสูตร

[แก้]
  • หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี

การรับเข้าศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี

[แก้]

คุณสมบัติ

[แก้]

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2561 หมวด 2 ข้อ 14 และต้องมีคุณสมบัติตามหลักสูตรกำหนด ดังนี้

  1. มีผลการทดสอบ TOEFL ไม่ต่ำกว่า 500 สำหรับ paper-based หรือไม่ต่ำกว่า 173 สำหรับ computer-based หรือไม่ต่ำกว่า 61 สำหรับ Internet-based หรือไม่ต่ำกว่า 500 สำหรับ TOEFL-ITP (Institutional Testing Program) หรือผลสอบ IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0 หรือผลสอบ TU-GET ไม่ต่ำกว่า 500 ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่สอบ ถึงวันที่ขึ้นทะเบียนนักศึกษา (ยกเว้นผู้เข้าศึกษาชาวต่างประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ไม่ต้องยื่นผลสอบภาษาอังกฤษ)
  2. ยื่นหนังสือยืนยันการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนจากผู้ปกครองหรือเอกสารที่ยืนยันการได้รับทุนการศึกษา
  3. ได้รับการอนญาติให้เข้าประเทศ โดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (เพื่อการศึกษา)สำหรับนักศึกษาชาวต่างประเทศ
  4. *การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา หลักสูตรนี้รับสมัครผู้เข้าศึกษาทั้งจากประเทศไทยและจากต่างประเทศ

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

[แก้]
  1. สอบสัมภาษณ์
  2. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
  3. ความเรียงเกี่ยวกับจุดหมายในการเลือกเข้าศึกษาในวิทยาลัยโลกคดีศึกษา (Statement of Purpose)

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

[แก้]

เนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งมีผลกระทบต่อการพัฒนาในด้านต่างๆ ประกอบกับ การพลวัติในตลาดแรงงาน ย่อมส่งผลต่อผู้สำเร็จการศึกษาระดับสูงในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และด้วยเหตุที่ว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนไม่ได้จำกัดแค่ปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคม แต่รวมถึงการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จากเหตุนี้ ทำให้ทางวิทยาลัยโลกคดีศึกษาเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรนี้ เพื่อให้สอดรับกับความท้าทาย และความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้ การพัฒนา การเกิดขึ้นของเมืองใหม่ เศรษฐกิจดิจิตอล และนโยบายการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า ทำให้หลักสูตรที่จะเกิดขึ้นใหม่นี้ได้มีการพัฒนา โดยนำมิติต่างๆเหล่านี้เข้ามาเ ป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ตลอดจนนโยบายของมหาวิทยาลัย สนับสนุนให้มีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน เป็นระดับนานาชาติ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของการศึกษาในภาคพื้นยุโรป ในสาขานวัตกรรมทางสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน สิ่งต่างๆเหล่านี้ เป็นปัจจัยที่ทำให้วิทยาลัยโลกคดีศึกษาพัฒนาหลักสูตรด้านนี้ในระดับปริญญาโทอย่างเป็นรูปธรรม ความสำคัญที่นับแต่จะเพิ่มขึ้นของนวัตกรรมในการพัฒนาสังคมในภาพรวม ตลอดจนแรงกระเพื่อมในสังคมที่เกิดจากโลกาภิวัฒน์ ส่งผลให้ วิทยาลัยโลกคดีศึกษาพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งรวมถึงความเสมอภาค และความยุติธรรมในสังคม นอกจากนี้ การขยายตัวของจำนวนนักศึกษาต่างชาติ ทำให้ต้อง มีการพัฒนาหลักสูตรที่มีขอบเขตเกินกว่าเพียงแค่ ภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง แต่ต้องเป็นหลักสูตรที่ต้องส่งผลอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลต่อความรู้ ความเข้าใจในระดับระหว่างภูมิภาคทั่วโลกอีกด้วย

ชื่อหลักสูตร

[แก้]
  • ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมทางสังคมและความยั่งยืน (หลักสูตรนานาชาติ)
  • Master of Arts in Social Innovation and Sustainability

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

[แก้]
  • ศศ.ม. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (นวัตกรรมและความยั่งยืน)
  • Master of Arts (Social Innovation and Sustainability)

รูปแบบของหลักสูตร

[แก้]
  • หลักสูตรระดับปริญญาโท 1-2 ปี

การรับเข้าศึกษาหลักสูตรปริญญาโท

[แก้]

คุณสมบัติ

[แก้]

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2561 หมวด 4 ข้อ 22 และคุณสมบัติเฉพาะหลักสูตร ดังนี้

  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาทางสังคมศาสตร์ทุกสาขา สาขามนุษย์ศาสตร์ สาขาทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทุกสาขา สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ทุกสาขา และสาขาสุขศาสตร์ทุกสาขา จากภายในประเทศ หรือสถาบันการศึกษาจากต่างประเทศที่ผ่านการรับรองโดยสภามหาวิทยาลัย
  2. มีเกรดเฉลี่ยขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 2.75 หรือเทียบเท่า อย่างไรก็ตามคณะกรรมการประจำหลักสูตรสามารถพิจารณารับผู้สมัคร ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยน้อยกว่า 2.75 หากผู้สมัครสามารถแสดงผลงานทางวิชาการต่อคณะกรรมการประจำหลักสูตรเพื่อพิจารณา
  3. ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยเรื่องการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

[แก้]

การรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อจะต้องคำนึงถึงผลการศึกษาของผู้สมัคร เอกสารสนับสนุนเกณฑ์การคัดเลือกอื่นๆ ผลการสอบสัมภาษณ์ และผลการสอบข้อเขียนรวมไปถึงตัวอย่างของผลงานเขียน และการเสนอหัวข้องานวิจัย ซึ่งผู้สมัครที่จะเข้าศึกษาต่อในหลักสูตร MAS ควรมีคุณสมบัติต้องผ่านเกณฑ์ดังนี้
1. ผ่าน (ก) การสัมภาษณ์ (ข) การสอบข้อเขียน และ (ค) การเสนอหัวข้องานวิจัย
2. ยื่นผลการทดสอบวัดระดับความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษ เช่น TOEFL หรือ TOEFL Internet-based หรือ IELTS หรือ TU-GET โดยต้องมีผลคะแนนภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์สำหรับการรับเข้าศึกษา ดังนี้
- TOEFL ไม่ต่ำกว่า 500 สำหรับ paper-based หรือไม่ต่ำกว่า 173 สำหรับ computer- based หรือไม่ต่ำกว่า 61 สำหรับ Internet-based และ TOEFL-ITP (Institutional Testing Program) ไม่ต่ำกว่า 500
- ผลสอบ IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0
- ผลสอบ TU-GET ไม่ต่ำกว่า 500 ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่สอบถึงวันที่ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา (ยกเว้นผู้เข้าศึกษาชาวต่างประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักไม่ต้องยื่นผลสอบภาษาอังกฤษ) กรณีที่ผลคะแนนภาษาอังกฤษของผู้สมัครเข้าศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ต่อไปนี้
- TOEFL ไม่ต่ำกว่า 475 สำหรับ Paper Based หรือไม่ต่ำกว่า150 สำหรับ computer-Based หรือไม่ต่ำกว่า 55 สำหรับ Internet Based หรือ TOEFLE -ITP (Institutional Testing Program) ไม่ต่ำกว่า 475
- ผลสอบ IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.5
- ผลสอบ TU-GET ไม่ต่ำกว่า 475 อาจได้รับการพิจารณาเข้าศึกษา แต่อย่างไรก็ตามต้องสอบภาษาอังกฤษให้มีผลคะแนนผ่านตามเกณฑ์ สำหรับการสำเร็จการศึกษา ก่อนการสอบวิทยานิพนธ์ สำหรับแผน ก. แบบ ก.2 และก่อนการสอบปากเปล่าการค้นคว้าอิสระ สำหรับแผน ข. ดังนี้
- TOEFL ไม่ต่ำกว่า 550 สำหรับ paper-based หรือไม่ต่ำกว่า 213 สำหรับ computer-based หรือไม่ต่ำกว่า 79 สำหรับ Internet-based
- TOEFL-ITP (Institutional Testing Program) ไม่ต่ำกว่า 550
- ผลสอบ IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.5
- ผลสอบ TU-GET ไม่ต่ำกว่า 550
3. มีประสบการณ์ภาคสนาม (การฝึกงาน หรือการมีส่วนร่วม หรือสนับสนุนทางการศึกษา)
4. สำหรับผู้สมัครชาวต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานแสดงการได้รับทุนการศึกษาหรือเอกสารแสดงฐานะทางการเงิน (financial statement)
5. สำหรับผู้สมัครชาวต่างประเทศ ต้องมีวีซ่าสำหรับการเรียน

ผลงานวิจัย

[แก้]
  1. ศูนย์จัดการความรู้และพัฒนาสมรรถนะนานาชาติเพื่อธรรมาภิบาลในการควบคุมการบริโภคยาสูบ
  2. การพัฒนาศักยภาพหมอดูให้เป็นที่ปรึกษาสุขภาพจิต
  3. ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดนวัตกรรมที่ไม่หวังผลกำไร
  4. Agreement for Performance of work with School of Global Studies, Thammasat University Global Centre for Good Governance in Tobacco Control (CGTG) in Thailand
  5. Tobacco Expose: A tobacco Industry Watchdog to Deliver Change
  6. โครงการพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษาแก่ผู้ป่วยแบบองค์รวมในคลินิกชุมชนอบอุ่น เขตกรุงเทพมหานคร(Holistic care model development for counseling services for patients in Chumchon Op Un Clinic in Bangkok Metro Pollutant Area)