ผู้ใช้:Rueagdet221/หน้าทดลอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาลเจ้าปึงเถ่ากง ตลาดปากคลองเจ้า จ.สมุทรปราการ[แก้]

ประวัติศาลเจ้าปึงเถ่ากง ตลาดปากคลองเจ้า จ.สมุทรปราการ

          

ศาลเจ้าตั้งอยู่บริเวณสี่แยกคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิตตัดกับคลองประเวศน์บุรีรมย์ ในพื้นที่ติดกับโรงเรียนตลาดปากคลองเจ้า ต.เปร็ง อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ

ศาลเจ้านี้สันนิษฐานว่ามีอายุ ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ปีเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวจีนโพ้นทะเลและชาวบ้านในละแวกคลองเจ้า  แรกเริ่มศาลเจ้าเป็นศาลไม้ขนาดเล็กทาด้วยสีแดงทั้งหลัง (ไม่ปรากฎหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง) ภายในมีเจว็ดไม้และหัวจระเข้ ตัวศาลเจ้าตั้งอยู่บนหัวมุมสี่แยกคลองเจ้าติดกับโรงสีไฟ ซึ่งเป็นของโรงสีร่วมหุ้นกันของนายบุ้นเต้า ธรรมเจริญ นายตี๋ นายก๊วง และนายม้ง  ต่อมาทางโรงสี ได้ขายที่ดินให้พระครูพิพิธวิริยากร เจ้าอาวาสวัดนาคราช ยกให้ทางราชการสร้างโรงเรียนตลาดปากคลองเจ้าในสมัยผอ.บรรหาร สวนยิ้ม โดยผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมบริจาคสร้างศาลไม้หลังใหม่ขนาดใหญ่กว่าหลังเดิม

ผ่านไปไม่นานศาลเจ้าที่ทำด้วยไม้ก็ผุพังตามกาลเวลา ชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาจึงได้ร่วมกันบริจาคอีกครั้งสร้างศาลหลังใหม่เป็นลักษณะทรงสี่เหลี่ยมหลังคาโค้งคล้ายโดม ตัวศาลทาด้วยสีเหลือง มีน้ำเต้าและเสาทีกง(ไม่มีศาล) ภายในประดิษฐานภาพวาดเล่าปึงเถ่ากง(เปลี่ยนจากเจว็ดเป็นรูปภาพแทน)ลักษะเป็นภาพชายชราหนวดเคราสีขาวยาวถึงอก สวมชุดสีแดงแบบขุนนางบุ๋นและบู้ มือขวาถือคฑาหยู่อี่ มือซ้ายถือก้อนทอง สวมหมวกเจียมเอ็งแบบนักรบจีนและประดิษฐานหัวจระเข้ไว้คู่กับภาพด้วย

เมื่อเวลาผ่านไปด้วยพื้นที่ที่ตั้งศาลเจ้าปลูกติดกับลำคลอง พื้นรอบๆตัวศาลเกิดทรุดตัวและน้ำท่วมขังบ่อยครั้ง คณะกรรมการศาลเจ้า(เถ่านั้ง) นำโดยนายวิเชียร กิมล้อ(ประธานกรรมการ) ได้ปรึกษาหารือกันในการแก้ไขปัญหาและได้รับความอนุเคราะห์จากอาแป๊ะตี๋นี้ แซ่เฮ้ง(ชาวตลาดคลองสวน100ปี) เป็นผู้ริเริ่มสร้างศาลเจ้าในลักษณะเก๋งจีน ได้ออกเรี่ยไรปัจจัยในการสร้างศาลเจ้ามาสมทบกับเงินทุนเดิมที่ศาลเจ้ามีอยู่ จนมีปัจจัยเพียงพอ และได้รับอนุญาตจากผอ.บรรหาร สวนยิ้ม ขอใช้พื้นที่โรงเรียนตลาดปากคลองเจ้าในการสร้างศาลเจ้า ได้เริ่มดำเนินการสร้างศาลเจ้าใช้วัสดุเป็นปูนแบบทรงจีน และสร้างศาลทีกงพร้อมเสาตะเกียงฟ้าดิน กับ น้ำเต้าสำหรับเผากระดาษ ให้เป็นศาลที่สมบูรณ์เเบบ ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๔๓ ภายในศาลเจ้าประดิษฐานเทวรูป(กิมซิง) เล่าปึงเถ่ากง และหอกสามง่ามซึ่งเป็นอาวุธของท่าน ด้านข้างๆแท่นประทับได้ตั้งศาลตี่จู้เอี้ยะด้วย ส่วนภาพวาดและหัวจระเข้ดั้งเดิมถูกจำเริญไปไว้ที่วัดเปร็งราษฎร์บำรุง โดยคณะทรงเซียนซือจากแปดริ้วเมื่อครั้งฉลองศาลเจ้าหลังใหม่นี้ และได้ย้ายศาลแม่นางบัวเขียวซึ่งเป็นนางไม้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง มาอยู่ติดกับศาลเจ้าปึงเถ่ากง จนถึงปัจจุบัน

มีการจัดงานประจำปี(ไหว้เสี่ยซิ้ง) 3 วัน ช่วงหลังวันตรุษจีนประมาณเดือน ก.พ. - มี.ค.เป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบัน  เดิมทีทางคณะกรรมการศาลเจ้าฯ ฝั่งสมุทรปราการ ได้จัดงานประจำปีร่วมกับคณะกรรมการศาลเจ้าฯ ฝั่งฉะเชิงเทรา โดยจัดงานสลับกันปีละฝั่ง(ซึ่งใช้บัญชีเงินทุนจัดงานร่วมกัน) แต่ด้วยเหตุผลบางประการของคณะกรรมการศาลเจ้าฯฝั่งฉะเชิงเทรา ได้ขอแยกบัญชีเงินฝากของทั้งสองศาลเจ้าออกไปเป็นของคณะกรรมการฝั่งฉะเชิงเทราแต่เพียงผู้เดียว ทำให้คณะกรรมการศาลเจ้าฯฝั่งสมุทรปราการ ไม่มีเงินทุนที่จะจัดงานประจำปี ด้วยความศรัทธาของชาวบ้านและคนจีนในพื้นที่ที่รักและศรัทธาอย่างแท้จริงในบารมีของเจ้าพ่อเล่าปึงเถ่ากง ตลาดปากคลองเจ้า จ.สมุทรปราการ ได้ร่วมบริจาคเงินให้แก่ศาลเจ้าไว้ใช้เป็นทุนในการจัดงานประจำปีมาจนถึงปัจจุบันเละยังคงธรรมเนียมปฏิบัติในการเชิญเจ้าพ่อปึงเถ่ากง ตลาดปากคลองเจ้า ฝั่งฉะเชิงเทรามาร่วมงานด้วยทุกปี ตำนานเล่าขานของศาลเจ้าปึงเถ่ากง ตลาดปากคลองเจ้า จ.สมุทรปราการ ชาวบ้านมักเรียกชื่อเจ้าพ่อเล่าปึงเถ่ากง ว่า “เจ้าพ่อคลองเจ้า” ในอดีตผู้ที่สัญจรทางน้ำ ต่างก็เล่าขานกันถึงเรือพาหนะของเจ้าพ่อคลองเจ้า เชื่อกันว่าเป็นจระเข้เจ้า ขนาดใหญ่ บางคนที่สัญจรในคลองโดยใช้เรือเล่าว่าหากสัญจรในช่วงเวลากลางคืนมักจะพบเห็นลักษณะคล้ายจระเข้อยู่บริเวณกลางสี่แยกคลอง ซึ่งบางคนขับเรือเครื่องมาด้วยความเร็วมักจะถูกวัตถุบางอย่างใต้น้ำชนจนทำให้เรือล่ม หรือแม้แต่คนที่ใช้เรือพายก็มักจะรู้สึกว่ามีบางอย่างมาเกยด้านข้างเรือ และหากผู้สัญจรที่ต้องผ่านหน้าศาลเจ้าได้ยกมือไหว้เล่าปึงเถ่ากง ถือเป็นการแสดงความเคารพ ก็จะผ่านไปได้อย่างราบรื่น คนเถ่าคนแก่ในพื้นที่ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่านั้นคือจิตวิญญาณของบริวารเจ้าพ่อคลองเจ้านั่นเอง

นางบุญชู กิมล้อ หรือ ยายชู เล่าว่าเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ได้อยู่ในเหตุการณ์ที่เรือส่งข้าวของโรงสีไฟข้างศาลเจ้า เกือบล่มเนื่องจากมีอะไรบางอย่างที่มีขนาดใหญ่พอๆกับขนาดเรือ ดันเรือให้เอนเอียงได้ ซึ่งเชื่อว่าสิ่งนั้นคือจระเข้เจ้า เชื่อว่าเรือไปจอดปิดทางเข้าออกของเขา และเชื่อว่าด้านใต้ถุนของศาลเจ้านั้นคือถ้ำดั้งเดิมที่จระเข้เจ้าอาศัยอยู่นั้นเอง

ส่วนแหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แหล่งข้อมูลเว็บไซต์ตัวอย่าง


กลับหน้าสอนการใช้งาน