ผู้ใช้:Ramainty/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บ้านรินหลวง หมู่ 3 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่[แก้]

หมู่บ้านรินหลวง ชื่อรินหลวง มาจากการเรียกชื่อของชาวบ้านที่เดินทางไปติดต่อกับพม่าและทางบ้านเมืองนะ ซึ่งบริเวณด้านทิศใต้ของหมู่บ้านจะมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติเป็นน้ำซับซึ่งจะมีตลอดทั้งปี และไหลเป็นลำห้วยเล็ก ๆ พอใช้ดื่มและอาบได้ชาวบ้านก็เลยทำรางรินด้วยลำต้นไม้ใหญ่ที่กลวงโดยนำมาผ่าออกเป็นรางรินเพื่อรองรับน้ำไหลเพื่อสะดวกต่อการใช้จึงเกิดเป็นชื่อ (รินหลวงมาจนถึงปัจจุบันนี้) หมู่บ้านรินหลวงเกิดขึ้นจากประชากรชาวเขาเผ่าลีซูที่อาศัยอยู่ในผืนป่าด้านทิศตะวันออกของบ้านนาหวาย และทิศใต้ของหมู่บ้านปัจจุบันนี้ห่างจากหมู่บ้านปัจจุบันประมาณ 3 กิโลเมตร ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าลีซูบ้าน ท่าแข่ หรือ หลิ่งเก๋วน ซึ่งแต่เดิมมีประชากรไม่มากนักประมาณสิบกว่าหลังคาเรือน แต่เนื่องจากหมู่บ้านท่าแข่ นั้นไม่มีถนนเข้าถึงต้องเดินเท้าจากบ้านนาหวายผ่านป่าเข้าไปเป็นระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร (ถนนที่ใช้ในปัจจุบันนี้เป็นถนนที่สร้างขึ้นมาใหม่เป็นถนนสำหรับพื้นที่การเกษตร ส.ป.ก.) ทำให้เกิดความยากลำบากในการเดินทางและติดต่อกับทางราชการ จึงได้อพยพออกมาอยู่บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านในปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ตั้งของด่านศุลกากร และด่านตำรวจซึ่งจะยังคงเห็นตึกร้างที่เป็นที่ตั้งของศุลกากรอยู่ ซึ่งมีการสัญจรที่สะดวก และมีพื้นที่กว้างขวางและมีแหล่งน้ำธรรมชาติ (รินหลวง) และในระยะต่อมาได้มีการอพยพชาวเขาเผ่าลีซูที่เป็นญาติพี่น้องต่างถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่ม

ด้านการคมนาคม  หมู่บ้านรินหลวงอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงดาวไปทางทิศเหนือ  38.7 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากศาลากกลางจังหวัดเชียงใหม่ 105 กิโลเมตร การสัญจรไปมาค่อนข้างลำบาก มีรถประจำทาง  หรือต้องอาศัยรถรับจ้างหรือรถส่วนตัว  ผู้ที่ไม่มีรถส่วนตัวจะลำบากในการเดินทางมาหมู่บ้านมาก [แก้]

ด้านปกครอง ปัจจุบันนี้การปกครองของหมู่บ้าน มีคณะกรรมการหมู่บ้านปกครอง การพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านก็จะพิจารณากันเอง มีสถานที่ราชการตั้งอยู่ในพื้นที่ [แก้]

  1) โรงเรียนบ้านรินหลวง  [1][แก้]

2) ชุดปฏิบัติการพิเศษกองกำลังผาเมือง[แก้]

ศาสนา บ้านรินหลวงมีการนับถือศาสนาคริสต์ [2]และนับถือบรรพบุรุษ มีโบสถ์และศาลเจ้า เป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ[แก้]
ภาษา หมู่บ้านรินหลวงใช้ภาษา ลีซู เป็นภาษาหลักในการสื่อสาร และภาษาไทยในการสื่อสารกับทางราชการหรือหมู่บ้านอื่น ซึ่งบางคนต้องใช้ล่ามในการสื่อสาร[แก้]
วัฒนธรรมและประเพณี หมู่บ้านรินหลวงประชากรเกือบจะทั้งหมดเป็นคนไทยภูเขาเชื้อสาย ลีซู ซึ่งมีวัฒนธรรมตามแบบประเพณีชนเผ่าลีซู มีความเชื่อแบบไสยศาสตร์ เช่นดูกระดูกไก่เป็นต้น[แก้]
อีกส่วนหนึ่งก็นับถือศาสนาคริสต์ ก็มีโบสถ์ไปนมัสการด้วยภาษาลีซู ถึง 2 แห่ง[แก้]
ด้านอาชีพ  และ  เศรษฐกิจ หมู่บ้านรินหลวงนั้นไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่จะสามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้ตลอดทั้งปี  คงอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก การเกษตรสามารถทำได้เฉพาะฤดูฝนเท่านั้น[แก้]
อาชีพหลักของราษฎรหมู่บ้านรินหลวง คือ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การปลูกถั่วลิสง  และการปลูกพืชผักที่ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก[แก้]
  1. "Log In or Sign Up to View". www.facebook.com (ภาษาอังกฤษ).
  2. "Log In or Sign Up to View". www.facebook.com (ภาษาอังกฤษ).