ผู้ใช้:Radamas Yeewa/การนำอุปกรณ์ของตนเองมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การนำอุปกรณ์ของตนเองมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน: Bring your own devices (BYOD)

นิยามและคำจำกัดความ[แก้]

เทคโนโลยี (Technology)[แก้]


คือ วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม. [1] เป็นสิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆในชีวิตประจำวัน โดยเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นพื้นฐาน เพื่อให้ได้ผลในทางปฏิบัติ โดยข้อแตกต่างของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ถือเป็นองค์ความรู้ที่เป็นสมบัติส่วนรวมที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่มีการซื้อขาย

เทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ จากการแบ่งของ Nathalie Heinich ดังนี้

1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือ ความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ

2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี

3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม [2]

การสื่อสาร (communications)[แก้]

คือ วิธีการนำถ้อยคำ ข้อความ หรือหนังสือเป็นต้น จากบุคคลหนึ่งหรือ สถานที่หนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งหรืออีกสถานที่หนึ่ง.[3] การสื่อสารเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ในการถ่ายทอดเรื่องราวเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งที่ผู้สื่อสารคิดหรือกระทำ เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันะ์ระหว่างกัน และในโลกยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) ซึ่งเป็นยุคที่มีข้อมูล ข่าวสาร มากมายที่เรียกว่า "ยุคแห่งข้อมูล(Information Age)"ทำให้มนุษย์ต้องมีการสื่อสารกับมาขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ภายใต้การรองรับของเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองให้การสื่อสารเป็นไปได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่า "เทคโนโลยีการสื่อสาร" ที่มีอุปกรณ์ต่างๆที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเทคโนโลยีเพื่อรองรับการสื่อสาร

ในอดีตเทคโนโลยีการสื่อสารถูกใช้ในวงจำกัดเนื่องจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไม่มากพอเพื่อที่จะสามารถกระจายเทคโนโลยีให้กับทุกคนภายใต้การมีงบประมาณที่จำกัด จะเห็นความยากลำบากในการสื่อสารที่ประสบปัญหาต่างๆมากมาย เช่นในกรณีสงครามโลกครั้งที่สอง (World war II ) ในการที่ญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ (Pearl Harbor) ของสหรัฐอเมริกา โดยพบปัญหาจากเทคโนโลยีการสื่อสารจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐที่บอกข้อมูลการบุกมาของญี่ปุ่นไม่ทันเวลา กองทัพที่เพิร์ลฮาร์เบอร์เตรียมการตอบโต้ไม่ทัน ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแก่สหรัฐอเมริการในครั้งนั้น เป็นต้น

อุปกรณ์ทางเทคโนโลยีการสื่อสาร[แก้]

ในอดีตอุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารมีเพียงไม่กี่ชนิด เช่น โทรศัพท์ เครื่องแฟกซ์ เป็นต้น แต่ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนามากขึ้น เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า "Smart Device" ตามการนิยามคือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ หรือเชื่อมโยงเครื่อข่ายผ่านโพรโทคอล (Protocol) ที่แตกต่างกัน โดยอาจจะใช้ Bluetooth Wifi 3G ฯลฯ ให้มีการทำงานที่เกิดการสื่อสารระหว่างกันอย่างเป็นอิสระหรือที่เรียกว่าเทคโนโลยีไร้สาย(Wireless)
โดยในปัจจุบัน Smart Device จะถูกใช้ในวงกว้างและได้่รับความนิยมมากกว่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ เนื่องจากการมีความสะดวกต่อการพกพา ที่มาพร้อมกับฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย สามารถทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ในเวลาอันสั้น รวมถึงการใช้ Internet of Things ซึ่งคือแนวคิดที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์อัจฉริยะให้คุยกันได้เองโดยไม่ต้องผ่านคน โดยมีเป้าหมายคือช่วยกันทำงานเพื่อให้คนสะดวกสบายขึ้น โดยที่คนไม่ต้องเข้าไปยุ่งหรือสั่งการ(เปรียบเทียบเหมือนการที่เราเอา 'สมอง' ไปใส่ให้อุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถคิดและประมวณผลต่างๆ ที่เกิดขึ้นและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น “รองเท้า” เดิมทีรองเท้ากีฬา รองเท้าผ้าใบ ถูกออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์ชั้นสูงที่ทำให้การสวมใส่สบายมากที่สุด แต่ในภาพรวมแล้วมันก็ยังเป็นแค่ “รองเท้า” แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ผลิตรองเท้ากีฬาอย่างไนกี้เริ่มใส่ “ชิปคอมพิวเตอร์” เข้าไปในรองเท้า เพื่อให้มันตรวจวัดสถานการณ์วิ่งของเจ้าของได้ ว่าวิ่งเร็วอย่างไร วิ่งกี่ก้าว ลงเท้าหนักแค่ไหน ฯลฯ เก็บสารพัดสถิติเท่าที่สามารถเก็บได้จากเซ็นเซอร์ต่างๆ ทำให้รองเท้ากีฬาพวกนี้ สามารถส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ได้ เช่น ส่งสถิติการวิ่งของเราไปบนสมาร์ทโฟนเพื่อแสดงบนจอภาพให้เราเห็นว่าตอนนี้วิ่งไปแล้วกี่ก้าว แล้วคำนวณว่าผลาญพลังงานไปแล้วเท่าไร เป็นต้น[4]) โดย Smart Device ที่โดดเด่นในตอนนี้ คือ Smartphones อย่างเช่น iPhone จากแอปเปิ้ลหรืออุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android แฟบเล็ต(อุปกรณ์ที่อยู่ระหว่าง "มือถือ" (Phone) กับ "แท็บเล็ต" (Tablet) ซึ่งจะเป็นสมาร์ตโฟน ที่มีขนาดหน้าจอระหว่าง 5 ถึง 7 นิ้ว ยกตัวอย่างเช่น ในชุดของ กาแลคซี โน้ต โดย ซัมซุง[5]) และแท็บเล็ตเช่น iPad จากแอปเปิ้ลหรือ Google Nexus 7 นอกจากนี้ยังรวมถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย[6]

กระแส Bring your own devices (BYOD)[แก้]

ที่มา[แก้]


ในอดีตองค์กรจะเป็นผู้จัดเตรียมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเพื่อใช้ในสำนักงาน โดยองค์กรจะเป็นเจ้าของอุปกรณ์เองทั้งหมด และเนื่องจากปัจจุบันคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะขนาดใหญ่หรือ Computer PC นั้นเริ่มมีบทบาทลดลงเพราะมีขนาดที่ใหญ่ และปัจจุบัน มีอุปกรณ์(device) ใหม่ๆที่ออกมาสู่ตลาดIT อย่างมากมายไม่ว่าจะเป็น Note bookที่มีขนาดและราคาที่ถูกลงมาก , Tablet Computer ที่มีให้เลือกได้อย่างหลากหลายทั้งคุณภาพรวมถึงราคา และ Smart phone มากมายหลายรุ่น ทำให้จากการที่สำนักงานจะมีแต่คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เปลี่ยนมาเป็นยุค COPE (Corporate Owned, Personally Enabled) ซึ่งบริษัทจะเป็นเจ้าของอุปกรณ์ที่จะแจกจ่ายให้พนักงานได้เลือกใช้ซึ่งก็มี ข้อจำกัดมากเกินไปสำหรับผู้ใช้ในการใช้งาน จนกระทั่งหลายครั้งพนักงานขอคืนเครื่องที่บริษัทจัดเตรียมไว้ให้ หรือนำไปแต่ไม่ได้ใช้งานจริงจังจนถึงขั้นส่งคืนบริษัท ส่งผลกระทบให้องค์กรสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ จึงเกิดกระแส "Bring your own devices (BYOD)" คือนโยบายที่องค์กรอนุญาตให้มีการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาเชื่อมต่อกับองค์กรเพื่อช่วยในการทำงานขององค์กร

กระแสดังเกล่าเริ่มเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากง่ายและสร้างความสะดวกสบายให้ต่อพนักงานในองค์กรและต่อองค์กรเอง เพราะพนักงานเองก็ประหยัดเวลาและลดความยุ่งยากในการถ่ายโอนข้อมูลจากอุปกรณ์ของสำนักงานไปยังอุปกรณ์ส่วนตัวของตนเอง และไม่มีข้อจำกัดในด้านอุปกรณ์เนื่องจากพนักงานเองจะใช้อุปกรณ์ที่ตรงกับความต้องการของตนเอง ในด้านของบริษัทเองก็ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณลงทุนไปกับอุปกรณ์ IT มากนัก เนื่องจากพนักงานนำอุปกรณ์ของตนเองมาเชื่อมต่อกับระบบขององค์กรและยังช่วยให้องค์กรไม่ต้องเสียค่าดูแลรักษาอุปกรณ์อีกด้วยซึ่งจะเป็นต้นทุนจมให้กับองค์กร ตัวอย่างเช่นการนำอุปกรณ์ส่วนตัวทั้งโน้ตบุ๊ก สมาร์ทโฟน แทปเล็ต มาใช้เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสำนักงาน และสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายขององค์กรได้อีกด้วยเพราะจะช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานให้ดียิ่งขึ้นได้

ผลของการนำ Bring your own devices (BYOD) มาใช้[แก้]

ด้านผลดี[แก้]
  • ลดค่าใช้จ่าย การให้คนจ่ายค่าใช้ จ่ายอุปกรณ์ที่แตกต่างกันเพื่อนำใช้ในงาน ไม่ว่าจะจ่ายส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม นับเป็นการช่วยให้ฝ่ายไอทีไม่ต้องยุ่งยากในเรื่องของการจัดซื้อและบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ในโลกธุรกิจที่ก้าวไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องทำให้งานเสร็จไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลาใด หรือใช้อุปกรณ์อะไรอยู่ก็ตาม การนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้งาน ทำให้การทำงานจากนอกออฟฟิศง่ายขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ทั้งการทำงานร่วมกันและการทำงานในรูปแบบโมบาย และยังเพิ่มศักยภาพให้กับคน ทำงานด้านความพร้อมในแง่อุปกรณ์ที่มาช่วยเติมเต็มส่วนงานที่ต้องรับผิดชอบ
  • คลายความกังวลเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย ความกังวลเรื่องการ ทำงานให้สอดคล้องตามกฎระเบียบขององค์กร, การปกป้องข้อมูล และเรื่องความ เป็นส่วนตัว นับเป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ที่ถูก นำมาพิจารณาเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจใช้นโยบาย BYOD เดสก์ท็อปเวอร์ชวลไลเซชั่น ช่วยให้อุปกรณ์มีความปลอดภัย ผ่านระบบรักษาความปลอดภัย บนเครือข่ายส่วนตัวแบบเสมือนขององค์กร (SSL VPN) [7]
  • มีเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง (New technology) เมื่อเปิดโอกาสให้พนักงานนำอุปกรณ์ต่างๆมาเอง จะเปิดโอกาสให้องค์กรมีอุปกรณ์ใหม่ๆเข้ามาใช้กับงานและธุรกิจมากขึ้น รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆระหว่างพนักงานได้ดีมากขึ้น[8]
ด้านความเสี่ยง[แก้]

ทุกอย่างก็มีสองด้านเสมอ นอกจากผลดีของ Bring your own devices (BYOD) แล้วก็ยังมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่พนักงานและองค์กรจะต้องแบกรับไว้ด้วย ข้อมูลจาก eset.co.th ทำการสำรวจถึงปัญหาด้านความปลอกภัยที่เกิดขึ้นจาก BYOD ดังนี้

  • 80% ของกลุ่มดังกล่าวใช้อุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ทำงานที่ออฟฟิศ
  • ในกลุ่มตัวอย่างกว่า 30% มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ส่วนตัวกับ Wi-Fi ที่เปิดให้ใช้ฟรีหรือเปิดให้ใช้ตามสาธารณะ (ซึ่งสามารถแฮกได้) และอีกส่วนหนึ่งของความเสี่ยงด้านนี้คือการให้คนอื่นยืมอุปกรณ์ส่วนตัวใช้งาน เพราะอาจจะทำให้ผู้ที่ยืมสามารถเข้าถึงข้อมูลลับหรืออาจจะติดไวรัสได้
  • 37% ของผู้ตอบแบบสอบถามไม่มีการตั้งค่า auto-lock บนอุปกรณ์ของพวกเขา ซึ่งหมายความว่าสามารถถูกแฮกได้อย่างง่ายดาย
  • จากการสอบถามเพิ่มเติมยังพบอีกว่า 3% จากในกลุ่มตัวอย่าง ข้อมูลของบริษัทที่เก็บอยู่ในเครื่องไม่มีการเข้ารหัสไว้
  • 66 % ของกลุ่มตัวอย่างพบว่าองค์กรเองไม่มีการรองรับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของการใช้ BYOD ไม่มีการดำเนินโยบายที่รองรับความปลอดภัยของข้อมูลองค์กรจากการเกิดขึ้นของ BYOD
  • สุดท้ายความเสี่ยงที่มาจากภัยคุกคามโดยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง 25% ตกเป็นเหยื่อจากการแฮกและภัยคุกคามต่าง ๆ

[9]

แม้ว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นของการใช้ BYOD จะมีอยู่แต่หากมีการออกนโยบายที่จะดูแลรักษาความปลอดภัยและระบบรองรับการเกิดขึ้นของ BYOD แล้วละก็ BYOD ก็เป็นกระแสที่ทำให้การดำเนินงานขององค์กรและพนักงานเองเป็นได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

หน้าที่หลักขององค์กรเพื่อตอบสนองกระแสBYOD[แก้]

  • องค์กรต้องมีการสร้างความตระหนักในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางสารสนเทศให้กับบุคลากร เพราะอย่าลืมว่าอุปกรณ์ BYOD เป็นของส่วนตัวปราการด่านแรกคือลักษณะการใช้งานของเจ้าของ นิสัยในการตั้รหัสผ่านเพื่อล๊อคหน้าจอ นิสัยในการป้องกันข้อมูลในอุปกรณ์ผ่าน application ที่ดาวโหลดมาเอง หรือองค์กรสนับสนุนให้ และความรุ้พื้นฐานด้านความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้จากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในที่สาธารณะ
  • การออกข้อกำหนดทั้งในระดับปฏิบัติงาน และระดับนโยบายเพื่อให้เจ้าของอุปกรณ์ต้องยอมรับและปฏิบัติตาม ก่อนจะอนุญาตให้เชื่อมตอ่เข้ากับเครือข่ายภายในองค์กร ต้องมีการขีดเส้นระหว่างความสะดวกสบายกับความมั่นคงปลอดภัย
  • การจัดหาและติดตั้งระบบพื้นฐานทางด้านความมั่นคงปลอดภัยที่สนับสนุนการทำงานแบบ BYOD เช่น การติดตั้งระบบ VPN เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบได้ผ่านช่องทางที่มีการเข้ารหัส เพื่อป้องกันการดักจับข้อมูล หรือการเข้าถึงบริการผ่านเว็บไซต์ที่อยู่ภายใต้ secured http protocol[10]

การพัฒนาของเทคโนโลยีและการจัดการองค์กร[แก้]


พัฒนาการของเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่ารวดเร็วมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา มีความสามารถในการใช้งานเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็มีราคาถูกลงทำให้มีการเข้าถึงที่ง่ายขึ้น จากเดิมที่เทคโนโลยีจะถูกใช้งานในองค์กรใหญ่ๆ แต่ทุกวันนี้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ด้วยสมาร์ทโฟน และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ครอบคลุมหลายพื้นที่มากยิ่งขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกคนไม่ทางตรงก็ทางอ้อม บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน เพราะเครื่องใช้อำนวยความสะดวกต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารอยู่ด้วยเสมอ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการพัฒนาองค์กรสามารถทำได้หลายระดับและหลายรูปแบบ เช่น การนำไปจัดระบบกระบวนการผลิตอัตโนมัติ (Automation) ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาองค์กร ได้ดังต่อไปนี้

1.การพัฒนาโครงสร้างการบริหาร ปัจจุบันมีซอฟท์แวร์หลายๆ บริษัทที่พัฒนาการใช้งานในด้านของการจัดโครงสร้างองค์กรขึ้นมา โดยให้ผู้บริหารสามารถทดลองปรับเปลี่ยนองค์กรเพียงแค่คลิกเมาท์แล้วไปวางหน่วยงานที่ต้องการไปยังตำแหน่งที่ต้องการ ข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานนั้นๆ ทั้งหมดก็จะถูกปรับเปลี่ยนไปทั้งข้อมูลตำแหน่ง ข้อมูลหน่วยงาน และข้อมูลผู้บังคับบัญชาโดยอัตโนมัติ ทำให้ผู้บริหารสามารถประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรได้ง่ายและชัดเจนมากขึ้น

2.การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กร เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนสามารถบันทึกนัดหมายได้ตรงกันมากขึ้นและรับบันทึกการประชุมได้รวดเร็วขึ้น โดยใช้การส่งข้อมูลแบบไร้สาย หรือ ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต และสามารถนำเสนองานผ่าน โปรแกรมซอฟท์แวร์ต่างๆ ทำให้มีความสะดวก รวดเร็ว และเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นจากเครื่องมือดังกล่าว

3.การสื่อสารภายในองค์กร (Internal Communication)

ในบางองค์กรยังใช้การปิดประกาศโดยใช้กระดาษตามบอร์ดต่างๆ เพื่อสื่อสารข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ไปยังพนักงาน การปิดประกาศโดยใช้บอร์ดนี้เป็นการสื่อสารแบบทางเดียวที่ไม่ส่งถึงเฉพาะตัวบุคคล ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาความไม่ทั่วถึงของการสื่อสาร และหากจะทำการสื่อสารข้อความบางอย่างแบบถึงตัวพนักงานเฉพาะบุคคลทั้งองค์กร ก็อาจต้องใช้ต้นทุนที่สูงและยังเสียเวลาอีกด้วย ในเรื่องนี้เทคโนโลยีได้เข้ามามีส่วนช่วยให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและประหยัดเวลาในการสื่อสารลงไปได้หลายแบบ เช่น

การใช้อีเมล์ (Email) การสร้างเว็บสื่อสารสำหรับพนักงาน (Employees’ Portals) การสร้างเว็บเพื่อให้พนักงานสามารถเข้าถึงและดูแลรักษาข้อมูลส่วนตัว (Employee Self Service) การสร้างเว็บเพื่อให้ผู้บริหารสามารถจัดการและบริหารทรัพยากรบุคคลในหน่วยงานได้ (Manager Self Service) การจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลทางโทรศัพท์สำหรับพนักงาน ( Employee Call Center ) การใช้การประชุมทางไกลด้วยวิดีโอ (VDO Conference) การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Business Process Improvement)

หลายองค์กรในประเทศที่พัฒนาแล้วได้นำเอาเทคโนโลยีไปช่วยในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงานในหลายๆ ด้านคือ

ระบบการบันทึกประวัติการติดต่อและให้บริการ (Case Management System) โดยจะจัดเก็บข้อมูลของผู้รับบริการที่มาติดต่อใช้บริการแต่ละครั้ง เพื่อนำไปวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่เกิดปัญหาต่อไป การขจัดงานที่ไม่จำเป็นออกไปจากกระบวนการทำงาน (Non-Value Added) เพราะถือว่างานที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ย่อมทำให้เกิดการสูญเสียทั้งเวลา กำลังคน และค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์ การพัฒนาความสามารถในการทำงาน (Competency Development)

ดังนั้น จึงควรมีการนำเอาเทคโนโลยีไปใช้เพื่อช่วยในการพัฒนาองค์กร เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และคาดการณ์ได้ยากอย่างปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาองค์กรให้สำเร็จก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของปัจจัยภายในองค์กรหลายด้าน ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ข้อมูลและสารสนเทศ ฐานข้อมูล ระบบเครือข่ายการสื่อสาร ความซับซ้อนของกระบวนการทำงาน บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ และที่สำคัญคือผู้ใช้ โดยต้องอาศัยการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี เพื่อให้ผู้ใช้เกิดการยอมรับและใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ [11]


ตัวอย่างองค์กรที่ผลักดันกระแส BYOD[แก้]

1.DTAC[แก้]

บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) นำทีมโดยฝ่ายลูกค้าองค์กร (dtac goood business) ประเดิมเปิดประสบการณ์พิเศษให้กับลูกค้าองค์กร ในช่วงไตรมาส 4 โดยร่วมกับพันธมิตรจัดงานสัมมนา “BYOD : Smart Business Solution 2013” ไขแนวคิด พัฒนาองค์กรสู่ยุคไร้สายให้ปลอดภัยอย่างมั่นใจ สำเร็จได้ด้วย Smart Devices ขึ้นในวันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2556 ณ ห้องเกรทรูม โรงแรมดับเบิ้ลยู สาทร เพื่อเสนอกรณีศึกษาจากองค์กรชั้นนำของเมืองไทย จากกระแสปัจจุบัน อุปกรณ์สื่อสารแบบพกพาทั้งหลาย กลายเป็นเทรนด์หนึ่งที่พนักงานภายในองค์กร นิยมนำมาใช้งานกันในที่ทำงานมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือแม้กระทั่งโน้ตบุ๊กส่วนตัว อุปกรณ์สื่อสารเหล่านี้เมื่อนำมาใช้ในแต่ละองค์กร โดยใช้งานกับอินเทอร์เน็ตไร้สายภายในขององค์กรนั้นๆ เพื่อเข้าไปใช้งานในรูปแบบต่างๆ ทั้งการรับและส่งข้อมูลไปยังลูกค้าหรือคู่ค้าอื่นๆ หรือแม้กระทั่งออกไปทำงานข้างนอกก็ยังสามารถใช้เทคโนโลยีของ 3G เข้ามาแอ็กเซสข้อมูลต่างๆ ของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ ไฟล์ต่างๆ ในเซิร์ฟเวอร์ หรือแม้กระทั่งระบบข้อมูลพนักงาน คอนเซ็ปต์นี้เรียกว่า BYOD หรือ Bring Your Own Device สิ่งที่ตามมาก็คือ ระบบไอทีหลังบ้านทั้งหลาย จะต้องมีความสามารถรองรับการใช้งานต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยในการใช้งานภายในระบบเน็ตเวิร์กของแต่ละองค์กรอีกด้วย สภาพการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับการแข่งขันในยุคปัจจุบันที่ต้องการความรวดเร็ว ดังนั้นการนำเทคโนโลยี BYOD เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน ถือว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แต่ละองค์กรควรตระหนักถึง ในการใช้เทคโนโลยีที่ถูกจัดอันดับว่าเป็นเทรนด์สำคัญ โดยการ์ทเนอร์ได้กล่าวถึงแนวโน้มการใช้งานของเทคโนโลยีนี้ ตั้งแต่ในช่วงปี 2013 เป็นต้นมา โดยเป็นเทรนด์ 1 ใน 10 ที่แต่ละองค์กร กำลังพัฒนาไปสู่จุดนี้ และพร้อมกันนั้นแต่ละองค์กรยังมุ่งสู่แนวทางการพัฒนาว่าจะเป็นประโยชน์อย่างไรกับองค์กรมากที่สุด ในงานสัมมนาครั้งนี้ได้นำกรณีศึกษาของการใช้ BYOD จากองค์กรชั้นนำในประเทศไทยมาร่วมแชร์ประสบการณ์จากผู้รู้จริงที่มีชื่อเสียงต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ให้กับลูกค้าองค์กรของดีแทคกว่า 100 รายที่ให้ความสนใจเข้าร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้ โดยทุกท่านได้ประจักษ์ว่าBYOD เป็นสิ่งเล็กๆ ที่สำคัญและไม่ควรมองข้ามเพราะ BYOD ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมหาศาล ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพนักงาน และเพิ่มประสิทธิผลให้กับองค์กรได้อย่างไม่น่าเชื่อ [12]

2.Cisco[แก้]

Why Does the BYOD Smart Solution Matter to You?

Cisco BYOD Smart Solution is a complete bring-your-own-device (BYOD) solution that you can easily tailor to meet your needs. You get proven solution designs, professional and technical support services, and network infrastructure and access points so that you can build and support your network with:

Policy-enforced, highly secure access Exceptional network experiences Simplified operations Unified Policy for Highly Secure Access With the BYOD Smart Solution, you can help secure access to data, applications, and systems with a single policy management plane across your organization, including:

Guest, posture, and device profiling Network access Mobile device management (MDM) Cisco also provides highly secure access to data in the network (on and off premises) to help ensure IP protection. This BYOD solution:

Knows who and what is on the network, and where Protects mobile devices with added security layers through MDM integration Provides network- and endpoint-based device ID and awareness Helps secure and encrypts wired or wireless data from the device to the controller or access switches Meets your policy access-control needs with flexible authorization logic Uses existing intelligent infrastructure with a scalable and flexible enforcement mechanism Exceptional Experiences Cisco BYOD Smart Solution provides a mission-critical wireless infrastructure and industry-leading, all-in-one collaboration tools to increase employee productivity, including:

33 percent faster mobile device connection Modular building-block approach that supports a unified workspace Transparent access from any location and across any connectivity type Simple end-user onboarding and device registration Predictable, high-performance workspace and application delivery optimized for voice, video, and data Consistent workspace delivery across various device types Simplified Operations The BYOD Smart Solution helps simplify deployment, accelerate troubleshooting, and lower operating costs so that your IT organization can focus on innovation. Cisco and its partners help you plan, build, and manage an architecture to support your BYOD environment.

The Cisco Services portfolio for BYOD helps you:

Manage total cost of ownership Improve operational efficiency Deliver predictable performance Cisco design guides:

Span a wide range of use cases and scenarios Speed deployment of workspace and business services Reduce risk when evolving your infrastructure The "one network, one policy, and one management" approach:

Accelerates troubleshooting Provides end-to-end network visibility Supports zero-touch onboarding for new devices Accommodates a wide range of personal and IT devices Optimizes application performance [13]

3.Mobile Iron[แก้]

Building “Bring-Your-Own-Device” (BYOD) Strategies

This is the first part in a series designed to help organizations develop their “BYOD” (bring-your-own-device) strategies for personally-owned smartphones and tablets. This chapter provides an overview of eight components that our customers have found to be the foundation of a secure and scalable BYOD program. Many organizations are considering personally-owned mobile devices for business apps. Their goal is to drive employee satisfaction and productivity through the use of new technologies, while simultaneously reducing mobile expenses. This BYOD trend is one of the more dramatic results of the consumerization of IT, in which consumer preference, not corporate initiative, drives the adoption of technologies in the enterprise. However, many of these technologies were not built with enterprise requirements in mind, so IT teams often feel uncomfortable about security and supportability.

Within the MobileIron customer base, we have seen a broad spectrum of BYOD approaches, ranging from top-of-the-pyramid, where a small set of executives or technical staff get to use their own devices, to broad-scale, where BYOD opened up to a larger of the employee base. In many organisations, employee are now offered a choice between a corporate-funded BlackBerry or a personally-funded iOS, Android or other new-generation device. In her spring 2011 presentation, "Bring your own mobility:Planing for innovation and Risk Management," Monica Basso,Research VP at Gartner,Inc.,predicted that by 2014 "90% of organisations will support corporate application on personal devices" As a result, IT teams are preparing for a mix-ownership mobile environment. But BYOD is more than just shifting ownership of the device to the employee. It has many complex and hidden implications for which a strategy needs to be defined in advance if implementation. Based on the experience of our customers, this paper outlines eight major components for successful BYOD strategies:

-Sustainability

-Liability

-Economics

-Device choice

-User experience and privacy

-International marketing

-Trust model

-App design and governance [14]


4.ForeScout[แก้]

โดยความสามารถของ ForeScout ที่สนับสนุนการทำ BYOD มีดังต่อไปนี้

สามารถตรวจจับอุปกรณ์ที่กำลังใช้งานระบบเครือข่ายได้แบบ Real-time พร้อมทั้งจำแนกประเภทระบบปฏิบัติการว่าเป็น Microsoft Windows, Linux, Unix, Apple iOS, Google Android, Black Berry, Nokia Symbian รวมถึง Cisco IOS ด้วย สามารถบังคับใช้นโยบายความปลอดภัยเช่นการยืนยันตัวตน, การกำหนดสิทธิ์ และการตรวจสอบเชิงลึกได้ตามประเภทของอุปกรณ์ที่ตรวจพบ, สถานะความปลอดภัยของอุปกรณ์ และตำแหน่งที่ตรวจพบในระบบเครือข่าย สามารถจำแนกอุปกรณ์ได้ตามความเป็นเจ้าของของอุปกรณ์เหล่านั้น จากการยืนยันตัวตน, การกำหนด White List, การกำหนด MAC Address และการตรวจสอบ Software ที่ติดตั้งอยู่ได้ สามารถทำการจำกัด (Limit) และยับยั้ง (Block) การใช้งานระบบเครือข่ายของอุปกรณ์ได้ตามประเภทของการจำแนก และระดับความปลอดภัยตามนโยบายความปลอดภัยที่กำหนด สามารถทำการแจ้งเตือน (Notify) ผ่านทางหน้า HTTP เพื่อแจ้งข่าวสาร หรือส่งซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ไปติดตั้งยังเครื่องลูกข่ายได้ มีช่องทางสำหรับให้ผู้ใช้งานทำการลงทะเบียน (Registration) เพื่อให้สามารถเข้าใช้ระบบเครือข่ายได้โดยสะดวก และสามารถจัดสรรหน้าที่ในการอนุญาตการเข้าใช้งานระบบเครือข่ายของบุคคลภายนอกให้แก่คนในองค์กรที่นอกเหนือไปจากฝ่าย IT ได้ ตรวจสอบและยับยั้งการแพร่กระจายและการโจมตีของ Worm และ Virus จากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายทั้งหมดโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องติดตั้ง Software ที่เครื่องลูกข่าย [15]

แนวโน้มกระแส Bring your own devices (BYOD)[แก้]

จากนโยบายการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในสถานที่ทำงานนำไปสู่ความสะดวกสบาย การลดค่าใช้จ่าย ข้อดีและประสิทธิภาพของการนำอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้ช่วยให้หลายองค์กรก้าวผ่านขีดจำกัดแบบเดิมที่เคยมี นำไปสู่การพัฒนาทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็พบว่าหลักการนี้มีผลเสียในด้านความมั่นคง ความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กร ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้องค์กรต้องมีการพัฒนาด้านความปลอดภัยของข้อมูลมากขึ้น และอีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นคือการที่องค์กรไม่มีความพร้อมในการรับมือกับความหลากหลายของอุปกรณ์ เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นซอฟท์แวร์(Software) ระบบปฏิบัติการ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งนี้ผู้ใช้ส่วนใหญ่เองไม่ได้มีความรู้มากพออาจนำไปสู่การรั่วไหลของข้อมูลองค์กรได้โดยไม่ได้ตั้งใจ และปัญหาการเชื่อมระหว่างกันภายใต้ความหลากหลายของอุปกรณ์ดังเกล่า นอกจากนี้ยังพบว่ามีเพียง 12% ขององค์กรที่เลือกใช้นโยบาย BYOD เพียงอย่างเดียว ในขณะที่ 88% ขององค์กรเลือกใช้นโยบายแบบผสมผสานกันเพื่อรองรับการทำงานที่หลากหลายภายในองค์กร และแก้ปัญที่แตกต่างกันของแต่ละนโยบาย เช่น การนำ CLEO (Corporate Liable, Employee Owned) มาใช้ คือการที่องค์กรต้องรองรับค่าใช้จ่ายจากอุปกรณ์ต่างๆ แต่อุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นสิทธิของพนักงานทำให้พนักงานมีความสะดวกในการทำงานมากขึ้นเมื่อเทียบกับการที่ไม่มีอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการทำงาน แต่ส่งผลเสียต่อองค์กรที่ต้องแบกรับภาระค่าใช้ที่มากขึ้น
นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์และทำให้เกิดกระแสใหม่ภายใต้ชื่อ "Choose Your Own Device : CYOD" มีความคล้ายคลึงกับ MBYOD (Managed Bring Your Own Device) คือนโยบายแบบเก่าที่อนุญาติให้พนักงานนำอุปกรณ์ของตนเองมาใช้ภายใต้ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของบริษัท โดยนโยบาย MYBD ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เพราะพนักงานต้องเผชิญกับข้อจำกัดหลายด้านทำให้ขาดความสะดวกสบาย ความคล่องตัวในการทำงาน เช่น ความหลายหลายในการเลือกใช้อุปกรณ์มีน้อย เป็นต้น ทำให้นโยบายนี้ไม่ตอบสนองเป้าหมายในการพัฒนาได้ แต่ Choose Your Own Device : CYOD จะมีการกำหนดคุณสมบัติของอุปกรณ์ต่างๆไว้อย่างชัดเจน ทำให้จัดการ เชื่อมต่อได้ง่ายขึ้น เพราะในปัจจุบันหลายบริษัทที่เป็นผู้ผลิตด้านเทคโนโลยีต่างมีการนำอุปกร์ หรือระบบต่างๆมาเสนอขายให้แก่องค์กรทำให้องค์กรมีความสะดวกมากยิ่งขึ้นในการจัดการด้านต้นทุน และยังได้รับบริการหลังการขายจากการแข่งขันกันของบริษัทผู้ผลิตเหล่านั้นด้วย การนำนโยบาย Choose Your Own Device : CYOD ช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัดในคุณสมบัติ ยี่ห้อ ชนิดสินค้าหรือระบบต่างๆโดยการที่พนักงานสามารถเลือกอุปกรณ์ชนิด หรือยี่ห้อได้ กระทั่งระดับการรักษาความปลอดภัยก็สามารถเลือกได้เช่นกันในบางองค์กร มีความหลากหลายมากขึ้นแต่ก็ยังคงความปลอดภัยแก่องค์กร นอกจากนี้บางองค์กรยังมีนโยบายกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจพนักงานโดยการโอนกรรมสิทธิ์ของอุปกรณืเหล่านี้ให้เมื่อครบตามระยะเวลาหนึ่ง
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า นโยบาย Bring your own devices (BYOD) ก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการขององค์กรได้ดีที่สุดภายใต้โลกที่มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากความหลากหลายของอุปกร์และซอฟท์แวร์ต่างๆ ทำให้องค์กรต้องมีการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นเนื่องจากมีความเสี่ยงมากขึ้น อีกทั้งแม้ว่าในปัจจุบันพบว่าประชาชนส่วนมากมีความสามารถในการซื้ออุปกร์เหล่านี้มากขึ้น แต่ก็ยังคงมีปัญหาสำหรับพนักงานบางกลุ่มที่มีฐานะรายได้แตกต่างจากคนอื่นและไม่สามารถหลีกเลี่ยงการซื้ออุปกร์เหล่านี้ได้เนื่องจากจะทำให้การทำงานไม่สอดรับกับผู้อื่นในองค์กร ดังนั้นกระแสใหม่ที่กำลังก้าวเข้ามาแทนที่ Bring your own devices (BYOD) คือกระแส Choose Your Own Device : CYOD ทั้งนี้เองการใช้นโยบายต่างๆจะมีประสิทธิภาพสูงสุดหรือไม่ขึ้นอยู่กับการที่ตัวผู้ใช้มีความสามารถในการจัดการ การใช้งานได้อย่างเหมาะสมหรือไม่และโครงสร้างพื้นฐานการรองรับด้านเทคโนโลยีและนโยบายของไทยก็ยังมีข้อจำกัดในหลายด้าน ดังนั้นผู้นำองค์กรควรมีการจัดการด้านโยบายต่างๆให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงต่อไป[16]

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ การพูดคุยถกเถียงในเรื่องของ BYOD เป็นประเด็นที่เข้มข้นยิ่งขึ้น ในขณะที่บริษัทต่างๆ ได้เปรียบเทียบถึงประโยชน์ของอุปกรณ์บริษัทกับอุปกรณ์ส่วนตัวภายในที่ทำงาน สถิติใหม่ๆ เริ่มแสดงให้เห็นว่าบริษัทและพนักงานจำนวนมากต่างเสาะแสวงหาทางเลือกสำหรับตัวเองอย่างจริงจัง รายงานจากการสำรวจโดย Harris Interactive เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 แสดงให้เห็นว่าผู้ใหญ่จำนวน 81% ใช้อุปกรณ์ส่วนตัวเพื่อธุรกิจอย่างน้อยหนึ่งเครื่อง การเปลี่ยนจากการใช้อุปกรณ์บริษัทมาเป็นอุปกรณ์ส่วนตัวนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากการเติบโตเต็มที่ของโซลูชันสำหรับจัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Device Management) ที่สามารถตอบโจทย์ด้านความปลอดภัย ซึ่งเป็นข้อกังวลสำคัญของทุกๆ คน แต่เรายังคงอยู่ในระยะเริ่มแรกของกระบวนการ ”Bring Your Own” ในปัจจุบันนี้ และเราทราบถึงกระบวนการนี้เนื่องจากบริษัทต่างๆ ของสหรัฐอเมริกาได้เคยใช้แนวทาง "BYO" นี้มาก่อน ดังนั้น ในขณะที่นโยบายและขั้นตอน BYOD ของเราพัฒนาไปเรื่อยๆ การคาดหวังให้หลายความท้าทายใหม่ๆ เริ่มปรากฏและแทนที่ความปลอดภัยซึ่งเป็นความท้าทายข้อหลักในจุดสำคัญของกระบวนการจึงเป็นไปตามสมควร ในขณะที่ความปลอดภัยเป็นอุปสรรคขัดขวางน้อยลง อะไรที่เป็นอุปสรรคถัดไป จากประสบการณ์หลายปีในโครงการ Bring Your Own Vehicle (BYOV) ของเรา ซึ่งเป็นกระบวนการที่เริ่มขึ้นในทศวรรษ 1930 อีกก้าวของความท้าทายครั้งใหญ่จะมุ่งไปที่การใช้งานของผู้ใช้ และเมื่อมาคำนึงถึง จะเห็นได้ว่าการถกเถียงเกี่ยวกับการใช้งานของผู้ใช้นั้นเป็นความต่อเนื่องที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น บริษัทต่างๆ จะเริ่มเสาะหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพของเงินลงทุนที่ใช้ไปใน BYOD และผู้ใช้ที่นิยมชมชอบใน BYOD (ได้แก่ กลุ่มวัยรุ่นยุคมิลเลนเนียลส์) จะพยายามขยายขีดความสามารถอย่างต่อเนื่องในการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ ซึ่งผูกประสานเข้ากับชีวิตส่วนตัวของพวกเขาอย่างเหนียวแน่น แต่ก่อนที่คุณจะเริ่มแสดงความเบื่อหน่ายและมองข้ามความต้องการ (หรือความจำเป็นที่สัมผัสได้) ของวัยรุ่นยุคใหม่นี้ โปรดคำนึงว่าเราต่างอยู่ท่ามกลางสงครามครั้งใหญ่ในการแย่งชิงบุคลากร ในปัจจุบันมีบุคลากรยุคเบบี้บูมที่เกษียณอายุการทำงานวันละมากกว่าหนึ่งหมื่นคน และตามข้อมูลของ Pew Research Center แนวโน้มดังกล่าวจะดำเนินต่อไปอีกสิบเก้าปี ทุกๆ บริษัทจึงจะต้องแข่งขันกันมากขึ้นเพื่อรักษาพนักงานที่มีความรู้ ทักษะ และความสามารถที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ที่มีความซับซ้อน ในอีกไม่นาน ผู้ร่วมงานของคุณในแผนก HR อาจขอให้คุณจัดทำโครงการ BYOD ที่ไม่เพียงเพิ่มประสิทธิภาพ ROI เท่านั้น แต่ยังสร้างประสบการณ์ใช้งานที่สนุกสนานให้แก่ผู้ใช้ เพื่อให้คุณสามารถจูงใจและรักษาบุคลากรผู้เปี่ยมความสามารถในอนาคตไว้กับบริษัท[17]

  1. http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-search-all-x.asp
  2. http://www.oknation.net/blog/kang1989/2008/06/30/entry-3
  3. http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-search-all-x.asp
  4. http://www.thairath.co.th/content/393132
  5. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%95
  6. https://en.wikipedia.org/wiki/Smart_device
  7. http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413368332
  8. http://www.manager.co.th/ibizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000136511
  9. https://eset.co.th/th/about-eset/press-center/article/byod-bring-your-own-device/
  10. http://www.iwannabewebmaster.com/2013/08/%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%AA-byod-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1/
  11. http://www.chanthaburi.go.th/redcross/article/IT.htm
  12. http://www.dtaczone.com/byod-smart-business-solution-2013/
  13. http://www.cisco.com/web/solutions/trends/byod_smart_solution/indepth.html
  14. http://www.cisco.com/web/solutions/trends/byod_smart_solution/docs/byod_smart_solution_aag.pdf
  15. http://www.throughwave.co.th/2012/10/15/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81-forescout-byod-mdm/
  16. http://www.uih.co.th/knowledge/view/688
  17. http://www.microsoft.com/enterprise/th-th/it-trends/mobility/articles/next-challenges-for-byod.aspx#fbid=sKWPGzRZgCJ