ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Prasodabandrrk

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การพัฒนาสุขภาพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง[แก้]

แท้จริงแล้วสุขภาพมิได้หมายถึง สุขภาพทางกายเท่านั้น สุขภาพที่ดี หมายถึง สุขภาวะที่สุขสมบูรณ์ในทุกมิติของสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย จิตใจ สังคม และคุณธรรม (จิตวิญญาณ) การทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี สามารถทำได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ปฏิบัติตนเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี มีความรักตนเอง รักสังคม อยากมีสุขภาพ สุขภาวะทีดี

         การมีสุขภาพที่ดีมิใช่การมีร่างกายที่แข็งแรงเท่านั้น แต่ต้องมีสุขภาพจิต หรือจิตใจที่ดีมีความสุข มีความพอเพียง 

ต้องร่วมกันสร้างและมีครอบครัวที่มีความสุข สามารถทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้เป็นอย่างดี มีเมตตา มีความรัก ความจริงใจ ร่วมกันสร้างสังคมที่ดี ส่งผลให้มีสุขภาวะทางสังคมที่ดี และมีการพัฒนาคุณธรรมหรือสุขภาพทางจิตวิญญาณอย่างต่อเนื่อง

"การพัฒนาระบบสุขภาพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง" มีตัวอย่างการดำเนินงานของ

ร.ต.อ.นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้นำเครือข่ายสุขภาพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งท่านได้ปฏิบัติงานในหลายด้านและประสบความสำเร็จ ตามพระบรมราโชวาท รวมถึงการเข้าใจระบบสุขภาพอย่างแท้จริงในการแก้ปัญหาสาธารณสุข

 ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ คุณหมอรุ่งเรืองเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องการักษาในแนวทางสุขภาพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 

ปัจจุบันได้รับการคัดเลือกจากเครือข่ายสุขภาพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ดำรงตำแหน่ง "ประธานมูลนิธิสุขภาพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง" (www.thainht.org) ซึ่งเน้นการให้ความรู้ผู้ป่วยและประชาชน ให้การักษาในแนวทางการดูแลสุขภาพ ให้เกิดสุขภาวะที่ดี อาศัยหลักการพึ่งตนเอง ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ หลักทางสายกลาง ความมีเหตุผล (รอบรู้ รอบคอบ) มีคุณธรรมที่ดี และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี คุณหมอรุ่งเรืองได้พัฒนาการรักษาวิชา "กายบำบัดองค์รวม (Holistic Physical Treatment) ซึ่งเน้นการรักษาด้วยกายบำบัดและมีการฝึกอานาปานสติ โดยมีการนำมิติการดูแลรักษาสุขภาพมาร่วด้วย คือการรักษากาย ใจ ครอบครัว สังคม และปัญญา โดยเน้นการบูรณาการสหสาขาวิชา และประสิทธภาพและคุณภาพที่จะเกิดกับผู้ป่วยเป็นหลัก ด้วยมาตรฐานทางการแพทย์ วิขากายบำบัดองค์รวม ได้รับการสอนให้กับแพทย์เฉพาะทางด้านต่างๆ เช่น ศัลยกรรมกระดูกและข้อ กายภาพบำบัด โดยเป็นวิชาหลีกในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเซี้ยไฮ้ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ โดยมีการอบรมไปแล้ว จำนวน ๑ รุ่น เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๓ พบว่า ได้รับการยอมรับจากแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ และผ่านมาตรฐานทางการแพทย์ในเรื่องความปลอดภัย

 นอกจากนี้ ในชีวิตรับราชการที่กระทรวงสาธารณสุข คุณหมอรุ่งเรืองเป็นที่รู้จักในวงการระบาดวิทยาชันสูตร มีผลงานสำคัญคือ 

การพัฒนาระบบระบบประสานบริหารจัดการเครือห้องปฏิบัติการสุขภาพแห่งชาติ กับเครือข่ายองค์สุขภาพ เพื่อเตือนภัยและร่วมแก้ไขปัญหาสาธารณสุข

    หลังจากคุณหมอรุ่งเรือง กิจผาติ จบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ 

ได้เข้ารับราชการสถาบันนิติเวชวิทยา กรมตำรวจ มีผลงานได้รับรางวัลโล่เกียรติยศจากการปฏิบัติราชการตำรวจ ปี พ.ศ. 2538 จาก C.I.D. กรมตำรวจ ประเทศสิงคโปร์ และรางวัลโล่เกียรติยศจากการปฏิบัติราชการตำรวจ ปี พ.ศ. 2539 จากสถานทูตแคนาดา ประจำประเทศไทย หมอรุ่งเรืองลาออกจากราชการตำรวจเมื่อมียศ “ร้อยตำรวจเอก” จึงมีคำนำหน้าชื่อ ร.ต.อ.รุ่งเรือง กิจผาติ ติดมาจนถึงปัจจุบัน หลังจากนั้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ คุณหมอมาสมัครเข้ารับราชการที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กับท่านผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จนถึงปัจจุบัน และท่านส่งคุณหมอรุ่งเรืองให้ไปเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ป้องกัน (ระบาดวิทยา) หลักสูตร International Field Epidemiology Training Program with the Collaboration of Ministry of Public Health, Thailand, WHO and Centers for Disease Control and Prevention, USA. เนี่องจากความรู้ด้านนิติเวชวิทยา โดยเฉพาะงานด้านพิสูจน์หลักฐานเกี่ยวกับบุคคล รวมถึงการได้เป็นพยานแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศาล สาขานิติเวชวิทยา (Forensic Medicine) โดยได้รับการแต่งตั้งจากศาลอาญาประเทศสิงคโปร์ ขณะปฏิบัติราชการตำรวจ นั้น ความรู้ดังกล่าวอาจไม่เพียงพอ หรือไม่มีประโยชน์มากนักกับงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และงานสาธารณสุข หลังจากนั้น คุณหมอสอบผ่านได้รับ หนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชิพเวชกรรมจากแพทยสภา ในสาขาต่างๆ ได้แก่ สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว (Family Medicine), ระบาดวิทยา (Epidemiology), สาธารณสุขศาสตร์ (Public Health), สุขภาพจิตชุมชน (Community Mental Health) และเวชศาสตร์ป้องกันคลินิก (Clinical Preventive Medicine)

เมื่อคุณหมอรุ่งเรืองกลับมาปฏิบัติงาน ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เห็นความสำคัญของการเชื่อมต่อ 

ประสานและบริหารจัดการงานด้านห้องปฏิบัติการสุขภาพกับงานด้านการควบคุมป้องกันโรค และงานด้านการแพทย์ (Tripartite) จึงได้เริ่มพัฒนางานดังกล่าวในทุกมิติ ตั้งแต่ การพัฒนาระบบประสานงาน จนถึงการก่อตั้ง "ศูนย์ประสานงานการตรวจวิเคราะห์และเฝ้าระวังโรคทางห้องปฏิบัติการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์" ในขณะนั้น ไม่มีงบประมาณสนับสนุนการก่อตั้งเลย เนื่องจากอยู่ในช่วงกลางปีงบประมาณ แต่ก็สามารถดำเนินการได้สำเร็จ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรับมือกับการระบาดของโรคอุบัติใหม่ที่สำคัญ ปัญหาสุขภาพ และภัยพิบัติ เช่น โรคไข้หวัดนก โรคไข้เลือดออก สถานการณ์สึนามิ

  จากผลงานที่ปรากฏ อาจกล่าวได้ว่าคุณหมอรุ่งเรืองเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาชันสูตร (Laboratory epidemiologist) 

คุณหมอได้พัฒนาหลักสูตร “ระบาดวิทยาด้านห้องปฏิบัติการสุขภาพ” หลักสูตร “การเก็บและส่งตัวอย่าง” ให้มีคุณภาพ เพื่อสอนแพทย์ประจำบ้านหลักสูตรแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ป้องกัน (ระบาดวิทยา) และบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับต่างๆ คุณหมอได้พัฒนาหน่วยปฏิบัติการพิเศษด้านห้องปฏิบัติการ และมีการขอผู้เชี่ยวชาญพิเศษสนับสนุนเป็นกรณีๆไป คุณหมอเป็นหนึ่งในทีมผ่าชันสูตรศพผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก ซึ่งนับเป็นการผ่าศพผู้ป่วยไข้หวัดนกรายแรกของโลก ทำให้ได้องค์ความรู้ด้านการแพทย์มากมาย (ในทีมประกอบด้วย ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ผศ.นพ. มงคล อุยประเสริฐกุล พยาธิแพทย์ ทั้งสองท่านเป็นอาจารย์อยู่ที่คณแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และคุณหมอรุ่งเรือง กิจผาติ ) ซึ่งเป็นแพทย์ด้านระบาดวิทยาชันสูตรที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ) ทำให้เกิดการชันสูตรผู้ป่วยต้องสงสัยที่เสียชีวิตจากโรคอุบัติใหม่แพร่หลายในปัจจุบัน นอกจากนี้ เมื่อมีปัญหาการเก็บตัวอย่าง หรือการชันสูตร หน่วยปฏิบัติการพิเศษของคุณหมอรุ่งเรืองพร้อมเข้าปฏิบัติการได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

 เมื่อเกิดสถานการณ์การระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ๒๐๐๙ ในประเทศไทย 

คุณหมอรุ่งเรืองก็เป็นคนแรกที่เก็บตัวอย่างผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ๒๐๐๙ รายแรกและรายที่สองของประเทศ การทำงานลักษณะดังกล่าว เป็นการประสานบริหารจัดการที่ดี เพือใชทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดที่สุดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    คุณหมอได้พัฒนาระบบประสานงานห้องปฏิบัติการสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และมีวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนา 

“ระบบประสานบริหารจัดการห้องปฏิบัติการสุขภาพแห่งชาติ เชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรสุขภาพ เพื่อเตือนภัยและร่วมแก้ไขปัญญหาสาธารณสุข ด้วยการบริหารจัดการที่ดีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” จนสามารถพัฒนา “ระบบประสานงานการตรวจวิเคราะห์โรคไข้หวัดนกแห่งชาติ” ซึ่งเป็นโครงการต้นแบบ (Model project) ให้กับปัญหาสุขภาพอื่นๆ

   ปัจจุบัน คุณหมอรุ่งเรืองไม่ได้มองการมีส่วนร่วมเพียง งานด้านห้องปฏิบัติการสุขภาพกับงานด้านการควบคุมป้องกันโรค 

และงานด้านการแพทย์ (Tripartite) เท่านั้น แต่ได้มองเครือข่ายองค์กรสุขภาพอื่นๆ และเครือข่ายภาคประชาชน รวมถึง การทำอย่างไรให้เกิดการทำงานที่เป็น เครือข่ายที่มีคุณภาพ (The Quality Network)

นอกจากนี้คุณหมอยังเป็นอาจารย์พิเศษในสาขาต่างๆดังนี้
    - อาจารย์พิเศษด้านเวชศาสตร์ป้องกันคลินิก ให้กับนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
    - อาจารย์พิเศษ หลักสูตร International Field Epidemiology Training Program 
   with the Collaboration of Ministry of  Public  
   Health, Thailand, WHO and Centers for Disease Control and Prevention, USA. 
 - อาจารย์พิเศษวิชาระบาดวิทยา ระบาดวิทยาห้องปฏิบัติการ และสาธารณสุขศาสตร์ให้กับหน่วยราชการต่างๆ 
        นอกจากนื คุณหมอรุ่งเรือง ยังมีความรู้ความสามารถพิเศษด้านการแพทย์องค์รวม การแพทย์ตะวันออกและเป็น
      -อาจารย์พิเศษด้านการแพทย์ตะวันออก การแพทย์องค์รวม ในหัวข้อ “กายบำบัดองค์รวม” ให้กับ มหาวิทยาลัยมหิดล 
        และหลักสูตรแพทย์ของสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

การทำงานในลักษณะดังกล่าวจะเน้นการสร้างเครือข่าย ลดการใช้ทรัพยากร สร้างความสามัคคี ประสานบริหารจัดการ และมุ่งประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

   คุณหมอมีผลงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมาย เท่าที่พบในระบบสืบค้นอย่างน้อย ๓๕ เรื่อง

เมื่อมารับราชการที่กระทรวงสาธารณสุข ได้รับรางวัล"บุคคลดีเด่นแห่งปี" ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๕ และ พ.ศ. ๒๕๔๗ จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รางวัล "คนดีศรีกรม" ในวันข้าราชการพลเรือน ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนได้รับรางวัลยอดเยี่ยมระดับประเทศของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ จากผลงานเรื่อง “ ระบบการตรวจวิเคราะห์โรคไข้หวัดนกทางห้องปฏิบัติการ”

รวมถึงตั้งแตสมัยเป็นนักศึกษาแพทย์คุณหมอได้รับรางวัล นักศึกษาตัวอย่างด้านบำเพ็ญประโยชน์ 

ประจำปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๕ จากมหาวิทยาแลัยสงขลานครินทร์ รางวัลนักศึกษาแพทย์ดีเด่น ด้านผู้นำสร้างสรรกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ประจำปี การศึกษา พ.ศ.๒๕๓๕ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์