ผู้ใช้:Popomama111

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อมูลทั่วไปของตำบลช่องเม็ก ประวัติความเป็นมาของตำบลช่องเม็ก มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2หน่วยงานคือ อบต.ช่องเม็กและเทศบาลช่องเม็ก                               แต่ดั้งแต่เดิมตำบลช่องเม็ก  มีหมู่บ้านทั้งสิ้น  8  หมู่บ้าน  ได้แก่                               หมู่ที่  1  บ้านหนองเม็ก                               หมู่ที่  2  บ้านโป่งดินดำ                               หมู่ที่  3  บ้านเหล่าอินทร์แปลง                               หมู่ที่  4  บ้านทุ่งหนองบัว                               หมู่ที่  5  บ้านหินสูง                               หมู่ที่  6  บ้านอ่างประดู่                               หมู่ที่  7  บ้านห้วยน้ำใส                               หมู่ที่  8  บ้านทุ่งหนองใหญ่                               ต่อมาได้มีการแยกหมู่บ้าน  โดยแยกออกตามลำดับดังนี้                               หมู่ที่ 9  บ้านคำลือชา  โดยแยกออกมาจาก  หมู่ที่ 6 บ้านอ่างประดู่                               หมู่ที่ 10 บ้านด่านเม่น  โดยแยกออกมาจาก  หมู่ที่  3  บ้านเหล่าอินทร์แปลง                               หมู่ที่  11  บ้านสวนป่า  โดยแยกออกมาจาก  หมู่ที่  7  บ้านห้วยน้ำใส                               หมู่ที่  12  บ้านดอนกลาง  โดยแยกออกมาจาก  หมู่ที่  9  บ้านคำลือชา                               หมู่ที่  13  บ้านช่องเม็ก  โดยแยกออกมาจาก  หมู่ที่  3  บ้านเหล่าอินทร์แปลง ประวัติความเป็นมาขององค์การบริหารส่วนตำบลช่องเม็ก องค์การบริหารส่วนตำบลช่องเม็ก  ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล  ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย  และมีผลบังคับใช้  เมื่อวันที่  16  ธันวาคม  2539    และที่ตั้งเดิมที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล  ตั้งอยู่ที่  บ้านเหล่าอินแปลง  ต่อมาในปี  2546  ได้ก่อสร้างอาคารที่ทำการหลังใหม่  ตั้งอยู่ที่  หมู่ที่  13  ถนนสถิตนิมานการ  ระหว่างกิโลเมตรที่ 86  ตำบลช่องเม็ก  อำเภอสิรินธร  จังหวัดอุบลราชธานี   ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อวันที่   10  มีนาคม  2546   อยู่ห่างจากอำเภอสิรินธร  ประมาณ  18  กิโลเมตร  และอยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี  ประมาณ  90  กิโลเมตร  มีหมู่บ้านในเขตพื้นที่การปกครองทั้งสิ้นจำนวน  10  หมู่บ้าน  ได้แก่  หมู่ที่  4  บ้านทุ่งหนองบัว  หมู่ที่  5  บ้านหินสูง  หมู่ที่  6  บ้านอ่างประดู่  หมู่ที่ี 7  บ้านห้วยน้ำใส  หมู่ที่  8  บ้านทุ่งหนองใหญ่  หมู่ที่  9  บ้านคำลือชา  หมู่ที่  10  บ้านด่านเม่น  หมู่ที่  11  บ้านสวนป่า  หมู่ที่  12  บ้านดอนกลาง  หมู่ที่  13  บ้านช่องเม็ก  ส่วนหมู่ที่  1-3  จะอยู่ในเขตรับผิดชอบของเทศบาลตำบลช่องเม็ก  

สภาพทั่วไปของตำบล      ลักษณะภูมิประเทศของตำบลช่องเม็ก  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง  พื้นที่เนิน  มีภูเขาและป่าไม้  ลักษณะธรณีวิทยาเป็นดินร่วนปนทราย  มีความหนาของชั้นดินต่ำ  ชั้นหินส่วนใหญ่จะเป็นหินภูเขา  สภาพรอบด้านส่วนใหญ่เป็นภูเขาติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  องค์การบริหารส่วนตำบลช่องเม็ก  มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ  41,550  ไร่  หรือประมาณ  76.61  ตารางกิโลเมตร  อยู่ในชั้นความสูงระดับน้ำทะเลประมาณ  183.5  เมตร  มีหมู่บ้านจำนวน  5  หมู่บ้านที่อยู่ติดกับเขื่อนสิรินธร  ซึ่งเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและการประมง   อาณาเขตตำบล       ทิศเหนือ  ติดต่อกับ ตำบลคำเขื่อนแก้ว  อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี       ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ เมืองโพนทอง   แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว       ทิศใต้  ติดต่อกับ ตำบลโนนก่อ  อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี       ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร   อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี        ลักษณะภูมิประเทศ         ลักษณะภูมิประเทศ  เป็นพื้นที่เนิน  มีภูเขาและป่าไม้  ลักษณะธรณีวิทยาเป็นดินร่วนปนทรายมีความหนาของชั้นดินต่ำ  ชั้นหินส่วนใหญ่จะเป็นหินภูเขา สภาพรอบด้านของตำบลส่วนใหญ่เป็นภูเขา และติดกับสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อาชีพ         ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลช่องเม็ก ประกอบอาชีพหลายอาชีพ  เช่น ค้าขาย รับจ้างการเกษตร  ทำนา รับราชการ ฯลฯ   ประชากร         องค์การบริหารส่วนตำบลช่องเม็ก  มีประชากรทั้งสิ้น  จำนวน  5,439  คน  โดยแยกเป็นชาย  2,867  คน  แยกเป็นหญิง  2,572  และมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น  2,041  ครัวเรือน  (ข้อมูลจากฝ่ายทะเบียนราษฎรอำเภอสิรินธร  ณ เดือนเมษายน  พ.ศ.2555   )

วิสัยทัศน์ 

    “เมืองน่าอยู่  คุณภาพชีวิตดี  มีวิถีเศรษฐกิจพอเพียง  ส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี  ประตูการค้าการท่องเที่ยวสู่ประชาคมอาเซียน”

 เทศบาลตำบลช่องเม็ก

            เทศบาลตำบลช่องเม็กอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการยกฐานะจาก สุขาภิบาลช่องเม็ก เป็นเทศบาลตำบลช่องเม็ก เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 เทศบาลตำบลช่องเม็กตั้งอยู่ที่ 399 ถนนสถิตนิมานกาล เป็นเทศบาลขนาดเล็ก ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสิรินธรไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 14 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 95 กิโลเมตร

ข้อมูลทั่วไป

1. สภาพทั่วไป 1.1 ที่ตั้ง เทศบาลตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการยกฐานะจาก สุขาภิบาลช่องเม็ก เป็นเทศบาลตำบลช่องเม็ก เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 เทศบาลตำบลช่องเม็กตั้งอยู่ที่ 399 ถนนสถิตนิมานกาล เป็นเทศบาลขนาดเล็ก ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสิรินธรไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 14 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 95 กิโลเมตร 1.2 เนื้อที่ เทศบาลตำบลช่องเม็กมีพื้นที่ประมาณ 10.13 ตารางกิโลเมตรครอบคลุมพื้นที่ 8 ชุมชนดังต่อไปนี้ ชุมชนบ้านหนองเม็ก ชุมชนบ้านโป่งดินดำ ชุมชนบ้านเหล่าอินทร์แปลง ชุมชนช่องเม็ก ชุมชนสิทธิอุดม ชุมชนพักภู ชุมชนเสรีภาพ ชุมชนเอื้ออาทร 1.3 อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับห้วยหลวงและป่าสงวนแห่งชาติ ป่าช่องเม็ก ทิศใต้ ติดต่อกับภูมดง่ามและห้วยอินทร์แปลง ทิศตะวันออก ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขื่อนสิรินธร 1.4 ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศของเทศบาลตำบลช่องเม็กเป็นที่ราบเชิงเขา สภาพพื้นที่มีลักษณะเชิงเขาและที่ราบ โดยมีที่ราบลาดเอียงลงไปทางทิศตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ ดินในเขตเทศบาลส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ในการเกษตรกรรม สภาพภูมิอากาศ จำแนกได้ 3 ฤดูกาล ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมิถุนายน ในระยะนี้เป็นช่วงที่ว่างจากลมมรสุม อากาศจะร้อนอบอ้าวทั่วไป ฤดูฝน เริ่มปลายเดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นลมร้อนและชื้น ร่องความกดอากาศต่ำพัดผ่านบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยทำให้มีฝนตกชุก ฤดูหนาว เริ่มปลายเดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นฤดูที่มีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านมา ทำให้มีอากาศหนาวเย็นทั่วไป

  เขตการปกครอง

  ลำดับที่ ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน ชื่อผู้น้ำหมู่บ้าน/ชุมชน ตำแหน่ง หมายเลขโทรศัพท์ 1 ชุมชนหนองเม็ก นายสมพร ทรายทอง นางสุขสม โคแก้ว ผู้ใหญ่บ้าน ประธานชุมชน   2 ชุมชนโป่งดินดำ นายเยาวพร ใจแก้ว นางสมคิด นาแพง นางมะลิ มูลชาติ ผู้ใหญ่บ้าน ประธานชุมชน ประธาน อสม.   3 ชุมชนเหล่าอินทร์แปลง นายสมบูรณ์ ทวีผล นางสุรณี ไชยอุย นายธรรมรงค์ ดวงคำ ผู้ใหญ่บ้าน ประธานชุมชน ประธาน อสม. 081-5482039 4 ชุมชนช่องเม็ก นายนิวัตร เกรียงศรี นางสมรัก ทองปัน ประธานชุมชน ประธาน อสม. 086-8742914 5 ชุมชนสิทธิอุดม นายบุญมี นามพันธ์ ประธานชุมชน   6 ชุมชนพักภู นายจุมพล คงคูณ ประธานชุมชน   7 ชุมชนเสรีภาพ นายสราวุฒ แซ่อุย ประธานชุมชน   8 ชุมชนเอื้ออาทร นายสราวุฒ แซ่อุย นายณัฐพงษ์ เหลาวหวนิช นายอาทิตย์ขจรปฐพี คูณแก้ว ประธานชุมชน ประธานชุมชน กำนันตำบลช่องเม็ก (ม.5 บ้านหินสูง)เขต เทศบาล   1.6 อาชีพ/ผลิตภัณฑ์มวลรวมรายได้ ประชากรในเขตเทศบาลตำบลช่องเม็ก ประกอบอาชีพหลายอาชีพ เช่น รับราชการ รับจ้างทั่วไป ทำการเกษตร ทำนา ทำธุรกิจ ค้าขาย ฯลฯ ธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลช่องเม็ก มีหน่วยธุรกิจอยู่ในพื้นที่ ดังนี้ โรงไม้ จำนวน 7 แห่ง ปั๊มน้ำมัน(ปั๊มหัวฉีด) จำนวน 2 แห่ง ปั๊มน้ำมัน(ปั๊มหลอด) จำนวน 5 แห่ง 1.7 ประชากร เทศบาลตำบลช่องเม็ก มีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 3,747 คน โดยแยกเป็นชาย จำนวน 1,849 คน แยกเป็นหญิง จำนวน 1,898 คน มีจำนวนครัวเรือน 1,795 ครัวเรือน ( ข้อมูลจากฝ่ายทะเบียนราษฎรอำเภอสิรินธร ณ วันที่ 31 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558 ) โดยแยกเป็นหมู่บ้านต่าง ๆ ดังนี้   หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน/ชุมชน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร ชาย หญิง 1 ชุมชนบ้านหนองเม็ก 301 672 291 381 2 ชุมชนบ้านโป่งดินดำ 221 552 251 301 3 ชุมชนบ้านเหล่าฯ 401 733 291 442 4 ชุมชนช่องเม็ก 261 432 231 201 5 ชุมชนสิทธิอุดม 191 392 201 191 6 ชุมชนพักภู 131 372 181 191 7 ชุมชนเสรีภาพ 209 362 171 191 8 ชุมชนเอื้ออาทร 80 232 121 111   รวม 1,795 3,747 1,849 1,898   2. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

2.1 การคมนาคม เทศบาลตำบลช่องเม็ก เป็นพื้นที่รองรับโครงการพัฒนาด่านช่องเม็ก ผลพวงจากโครงการดังกล่าวทำให้การก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการขั้นพื้นฐาน จึงได้รับผลตอบสนองในจุดหนึ่งโดยเฉพาะบริเวณด่านชายแดนช่องเม็ก ซึ่งตามโครงการฯ จะมีระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ถนนลาดยาง และคอนกรีต เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณชุมชนช่องเม็ก แต่ยังมีพื้นที่อีก 2 ใน 3 ที่ยังไม่มีสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพที่ดีพอ จึงจำเป็นต้องขยายการพัฒนาไปยังจุดดังกล่าวต่อไป ซึงสามารถสรุปข้อมูลด้านคมนาคมของเทศบาลตำบลช่องเม็ก ได้ดังนี้ ถนนทางหลวงจังหวัด ทางหลวงแผ่นดินมีทั้งสิ้น 2 สาย คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 (สถิตย์นิมานกาล) ทางหลวงจังหวัดสายช่องเม็ก – บุณฑริก ทางหลวงท้องถิ่นประเภทคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 16 สาย ทางหลวงท้องถิ่นประเภทลูกรังและถมดิน จำนวน 10 สาย ใช้สำหรับติดต่อภายในชุมชนในเขตเทศบาล การบริการรถโดยสาร มีรถโดยสารประจำทางรับส่งผู้โดยสารและติดต่อกับอำเภอใกล้เคียงโดยมีสถานีขนส่งผู้โดยสารบริเวณตลาดชุมชนช่องเม็ก ดังนี้ รถยนต์โดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ – ช่องเม็ก รถยนต์โดยสารประจำทางสายอำเภอสิรินธร - ช่องเม็ก รถยนต์โดยสารประจำทางสายอำเภอสิรินธร - ช่องเม็ก นอกจากนี้ ยังมีรถยนต์โดยสารระหว่างประเทศ ระหว่าง จังหวดอุบลราชธานี และ เมืองปากเซ ของ สปป.ลาว วันละ 4 เที่ยว   3. ด้านเศรษฐกิจ

สภาพเศรษฐกิจทั่ว ๆ ไป ภายในเขตเทศบาลตำบลช่องเม็ก รายได้ส่วนใหญ่มาจากการเกษตรกรรม การรับจ้าง และการค้าขายแต่เป็นการค้าขายขนาดเล็ก โดยใช้ที่อยู่อาศัยเป็นสถานที่ประกอบกิจการ ประชาชนอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลโดยแยกออกเป็น 8 ชุมชน คือ ชุมชนช่องเม็ก ประมาณ 250 ครอบครัว ประกอบอาชีพค้าขาย ชุมชนบ้านเหล่าอินทร์แปลง ชุมชนบ้านหนองเม็ก และชุมชนบ้านโป่งดินดำ ชุมชนสิทธิอุดม ชุมชนพักภู ชุมชนเสรีภาพ และชุมชนบ้านเอื้ออาทร ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ประมงและรับจ้างมีรายได้พอเลี้ยงครอบครัว จากแผนพัฒนาที่ผ่านมา เทศบาลตำบลช่องเม็กได้เป็นหน่วยงานหนึ่งซึ่งสามารถส่งเสริมให้ประชาชนในเขตเทศบาลและท้องถิ่นใกล้เคียงได้มีรายได้เพิ่มขึ้น การรับจ้าง จากการค้าขาย และด้านการเกษตร และจากแผนงานโครงการของรัฐบาลที่ได้อนุมัติให้มีการสร้างโครงการพัฒนาในด่านช่องเม็ก โดยมีการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและมีการก่อสร้างสถานที่ราชการหลายแห่งในเขตเทศบาล จึงทำให้เกิดการจ้างแรงงานประชาชนได้งานทำและมีรายได้สามารถจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น จึงสามารถทำให้ เทศบาลสามารถจัดเก็บรายได้สูงขึ้นด้วย เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ทำให้มีรายได้ที่จะนำไปพัฒนาด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ให้แก่ประชาชนมากขึ้น แต่ทั้งนี้ ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขอรับงบประมาณอุดหนุน จากทางส่วนกลางต่อไป   4. ด้านสังคม

การศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประชาชนในเขตเทศบาล ได้มีการปรับตัวและปรับสภาวะความเป็นอยู่ไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป เนื่องจากประชาชนก็ได้ส่งผลให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ มีการป้องกันและรักษาโรคที่ถูกวิธี ประชาชนสามารถรับรู้ข่าวสารมากขึ้น นอกจากนั้นในด้านการศึกษา ประชาชนก็ได้ให้ความสำคัญและส่งเสริมให้บุตรหลานเรียนรู้สูงขึ้น ประชาชนมีความรู้และมีความเข้าใจ ตลอดจนทั้งมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะการที่เปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจปัจจุบันได้เป็นอย่างดี 4.1 การศึกษา มีสถานศึกษาตั้งอยู่ในเขตเทศบาล จำนวน 3 แห่ง เป็นสถานบริการทางการศึกษาของรัฐระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ดังนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเหล่าอินทร์แปลง(เทศบาลตำบลช่องเม็กดูแลรับผิดชอบ) โรงเรียนบ้านเหล่าอินทร์แปลง โรงเรียนบ้านหนองเม็ก (โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา) 4.2 การศาสนา ประชาชนในตำบลช่องเม็ก จะนับถือศาสนาพุทธ โดยมีศาสนสถาน 4 แห่ง คือ วัดบ้านหนองเม็ก ตั้งอยู่ บ้านหนองเม็ก หมู่ที่ 1 วัดโพธิ์สว่าง ตั้งอยู่ บ้านโป่งดินดำ หมู่ที่ 2 วัดสามัคคีสังฆราม ตั้งอยู่ บ้านเหล่าอินทร์แปลง หมู่ที่ 3 วัดภูมดง่าม ตั้งอยู่ ชุมชนช่องเม็ก หมู่ที่ 3 4.3 วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณีทุกหมู่บ้านมีประเพณีท้องถิ่นอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง 4.4 ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลช่องเม็ก ชุมชนเขตเมืองกึ่งชนบท จะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับหมู่บ้านในชนบท ประชากรมีการประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม ประมง เลี้ยงสัตว์ มีรายได้น้อย ความรู้เกี่ยวกับการโภชนาการ สุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมยังไม่เพียงพอ ยังมีประชาชนที่ด้อยโอกาส ว่างงานละทิ้งถิ่นฐานไปประกอบอาชีพอื่น สาธารณูปโภคและสาธารณูปการยังไม่ทั่วถึง มีปัญหาการบุกรุกที่สาธารณะ 4.5 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เทศบาลตำบลช่องเม็กมีหน่วยงานที่พิทักษ์ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีสถานีตำรวจภูธรช่องเม็ก จำนวน 1 แห่ง และหน่วยงานของตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 1 แห่ง ที่มีอยู่ในพื้นที่ของเทศบาลที่ให้บริการประชาชนในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของราษฎร นอกจากนี้ในด้านการจัดระเบียบชุมชน เทศบาลตำบลช่องเม็กยังมีชุดเทศกิจ งานรักษาความสงบเรียบร้อย สังกัดสำนักปลัดเทศบาล เป็นผู้รับผิดชอบการจัดระเบียบชุมชนรวมทั้งงานรักษาความสงบภายในเขตเทศบาล โดยประสานความร่วมมือกับส่วนราชการในพื้นที่และหน่วยงานข้างเคียงในการปฏิบัติงาน   5. ระบบสาธารณูปโภค

5.1 การโทรคมนาคม โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 6 แห่ง 5.2 การไฟฟ้า เขตตำบลช่องเม็ก เป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท ระบบการไฟฟ้าขยายทั่วถึงทั้งตำบล ประชากรมีไฟฟ้าใช้ร้อยละ 80 ทำให้ประชาชนมีสิ่งอำนวยความสะดวก คือมีเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เกือบครบทุกครัวเรือนสรุปได้ดังนี้ 5.3 ระบบประปา ประชาชน ส่วนใหญ่ได้รับการบริการด้านการประปาจากการประปาส่วนภูมิภาคทุกชุมชน   6. ด้านการสาธารณสุข

เทศบาลตำบลช่องเม็ก มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช่องเม็ก ตั้งอยู่ที่ บ้านเหล่าอินทร์แปลง หมู่ที่ 3   7. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Popomama111 (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 12:03, 13 สิงหาคม 2560 (ICT)

เทศบาลตำบลช่องเม็ก มีชุมชน 8 ชุมชน โดยมีชุมชนแออัด 1 แห่ง คือชุมชนช่องเม็ก และกำลังจะได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้สภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น ตามโครงการพัฒนาด่านช่องเม็ก โครงการสร้างที่อาศัย และจัดให้มีที่กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ตลอดจนสิ่งปลูกสร้างและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจซึ่งโครงการได้รับอนุมัติจากคณะเทศมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 7.1 ทรัพยากรดิน ดินในเขตเทศบาลตำบลช่องเม็ก ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ การใช้พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ในการเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ และประมงขนาดเล็ก 7.2 ทรัพยากรน้ำ แหล่งน้ำที่สำคัญที่ประชาชนใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภค ดังนี้ แหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญคือ เขื่อนสิรินธร ทางด้านทิศตะวันตกที่ติดต่อกับเขื่อนสิรินธร ประชาชนใช้ประโยชน์ในการอุปโภคและประกอบอาชีพการประมง และอาชีพเกษตรกรรม แหล่งน้ำใต้ดิน แหล่งน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลอยู่ตามชุมชนเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคแหล่งน้ำนี้ไม่เหมาะแก่การเกษตรกรรม 7.3 สิ่งแวดล้อม สภาวะของสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลช่องเม็ก เริ่มมีผลกระทบต่อประชาชนและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ เนื่องจากเริ่มมีแหล่งชุมชนแออัด มีการบุกรุกป่าไม้ธรรมชาติ และการจัดสร้างอาคารพาณิชย์ บ้านเอื้ออาทร และ ธุรกิจรีสอร์ท เป็นต้น --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Popomama111 (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 12:03, 13 สิงหาคม 2560 (ICT)