ผู้ใช้:Pop ka you/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฟังชันนัลฟูดส์[แก้]

ฟังชันนัลฟูดส์ หรือ อาหารสุขภาพ คือ อาหารที่มนุษย์บริโภคเข้าไปแล้วเป็นประโยชน์ต่อร่างกายหรือให้คุณสมบัติอื่นๆนอกเหนือจากคุณค่าทางโภชนาการพิ้นฐานคือ คาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ช่วยในการลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่น ลอคอเรสเตอร์รอลในเส้นเลือด ลดอัตราเสียงจากโรคกระดูกพรุน (Osteroporosis) มีผลต่อการป้องกันโรคอ้วน โรคเบาหวาน ตลอดจนเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกาย อาหารที่นับว่าเป็นฟังชันนัลฟูดส์มีหลายชนิด

ประเภทฟังชันนัลฟูดส์[แก้]

1. กลุ่มของสารอาหารตามหลักโภชนาการ เช่น โพรไบโอติกส์ พรีไบโอติกส์ ธัญพืช เส้นใยอาหาร ตลอดจนสารเคมีพืช หรือที่เรียกว่าไฟโทเคมีคัล (Phytochemicals) หลายชนิด 2. กลุ่มที่ไม่จัดเป็นสารอาหาร เช่น สารไฟโทเคมีคัล สารต้านออกซิเดชัน เป็นต้น

พีระมิดแนะแนวอาหารเพื่อสุขภาพ[แก้]

พีระมิดแนะแนวอาหารจัดทำขึ้นโดยกระทรวงเกษตรแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา วัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้บริโภครู้จักการเลือกกินอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อความต้องการในแต่ละวัน อีกทั้งยังเน้นให้ผู้บริโภคเลือกอาหารหลักทั้ง 5 หมู่ให้มีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดประโยชน์และเกิดความสมดุลของสารอาหารที่ร่างกายแต่ละคนต้องการ

หมวดอาหารประเภทไขมันและของหวาน[แก้]

บนยอดสูงสุดของพีระมิด คือ หมวดอาหารประเภทไขมันและของหวาน หมวดนี้รวมไปถึงน้ำสลัด ครีม เนย เนย-เทียม น้ำตาล น้ำอัดลม ลูกอมและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นอาหารที่ให้พลังงานและไขมันสูง เพิ่มน้ำหนักได้ดี ควรเลือกอาหารหมวดนี้น้อยที่สุด ยิ่งหลีกเลี่ยงได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นการดีต่อสุขภาพเท่านั้น เพราะการจำกัดอาหารในหมวดนี้จะช่วยป้องกันความอ้วน เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น

หมวดของนมและผลิตภัณฑ์นม[แก้]

ส่วนที่ต่ำลงมา คือ หมวดของนมและผลิตภัณฑ์นม เช่น โยเกิร์ต เนยแข็ง หรือชีส ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีน วิตามินและเกลือแร่ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 2 และวิตามินดี ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งของแคลเซียมที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อกระดูกและฟัน

การดื่มนมวันละ 2-3 แก้ว จะให้ผลในการป้องกันโรคกระดูกพรุน ความดันโลหิตสูงและโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ สำหรับผู้ใหญ่ควรเลือกดื่มนมพร่องมันเนยหรือนมขาดไขมันเพื่อจำกัดปริมาณไขมันที่ร่างกายได้รับไปด้วยในตัว

หมวดเนื้อสัตว์[แก้]

หมวดเนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อหมู เนื้อวัว สัตว์ปีก ปลา ไข่และถั่วต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีน วิตามินเอ บี 1 บี 6 บี 12 ดี เค ธาตุเหล็ก ไนอะซิน สังกะสี และฟอสฟอรัส แต่เราควรจำกัดปริมาณโปรตีนสัตว์ตามที่พีระมิดอาหารกำหนดและเลือกโปรตีนชนิดที่มีไขมันต่ำเพราะจะช่วยลดปริมาณไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันโรคหัวใจ นอกจากนี้โปรตีนจากพืชซึ่งได้แก่ ถ่วเหลือง และถั่วต่างๆ ยังเป็นแหล่งของวิตามินอี กรดโฟลิค เส้นใยอาหาร สารต้านมะเร็งและสารอาหารอื่นๆ

หมวดผัก[แก้]

หมวดผัก เป็นแหล่งวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ เช่น วิตามินบี 2 และบี 6 กรดโฟลิค แมกนีเซียม แคลเซียม ธาตุเหล็ก ทองแดงและโพแทสเซียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น บีตา-แคโรทีน หรือ วิตามินเอ ซีและอี ซึ่งจะช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกายและผิวพรรณ ป้องกันโรคหัวใจ โตคต้อกระจก (โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ) โรคข้อเสื่อม เพิ่มภูมิต้านทาน และป้องกันโรค โพแทสเซียมช่วยลดความดัน แคลเซียมป้องกันโรคกระดูกพรุน ธาตุเหล็กป้องกันโรคโลหิตจาง นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารและในพืชยังมีสารเฉพาะที่เรียกว่าสารไฟโตเค็มมิคอล (phytochemicals) หรือพฤกาเคมี ซึ่งสามารถป้องกันโรคมะเร็งได้หลายชนิด อาหารที่สารพฤกษเคมี เช่น ถั่วเหลืองจะมีสารไอโซเฟลโวนส์ ที่ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคกระดูกพรุนและอาการร้อนวูบวาบในหญิงหมดประจำเดือนนอกจากนี้โปรตีนถั่วเหลืองยังช่วยลดคอเลสเตอรอล

หมวดผลไม้[แก้]

หมวดผลไม้ เป็นแหล่งของบีตา-แคโรทีน วิตามินเอ บี 6 และซี กรดโฟลิค โพแทสเซียม เส้นใยอาหารและสารไฟโตเค็มมิคอล ที่จะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เช่น ส้ม แอปเปิ้ล พรุน สับปะรด ฝรั่ง มะละกอ

หมวดข้าว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว แป้งและเมล็ตธัญพืช[แก้]

หมวดข้าว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว แป้งและเมล็ตธัญพืช ซึ่งอยู่ที่ฐานของพีระมิด เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต เป็นหมวดที่จะต้องกินมากที่สุดในแต่ละวันเมื่อเทียบกับอาหารหมดอื่นๆ เพราะเป็นแหล่งที่ให้พลังงานที่ร่างกายใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังมีวิตามินบี 1 บี 2 บี 6 อี กรดโฟลิค ไนอะซินและเกลือแร่ เช่น แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม สังกะสี ทองแดง และสารไฟโตเค็มมิตคอล

ใยอาหาร[แก้]

ใยอาหาร คือกากของพืช เป็นส่วนที่ระบบย่อยของร่างกายคนเราไม่สามารถย่อยได้และไม่ให้พลังงาน ใยอาหารมี 2 ชนิด คือ ใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคอ้วนและโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ใยอาหารอีกชนิดคือ ใยอาหารชนิดละลายน้ำ ช่วยชะลอการดูดซึมของน้ำตาล ลดคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจ

ควรเลือกคาร์โบไฮเดรคชนิดที่มีกากใยอาหารสูง เช่น ข้าวซ้อมมือ ขนมปัง โฮลวีท ข้าวโอ๊ตและธัญพืชอื่นๆ เช่น ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ลูกเดือย เป็นต้น