ผู้ใช้:Ponsayom/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Software-Defined Anything[แก้]

แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง[แก้]


1. Software-Defined Anything

2. Cloud Computing

3. Open Source software

4. Green IT

5. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


แนวคิด ทฤษฎี ที่ 1 Software-Defined Anything
[แก้]

แนวคิด ทฤษฎี ที่ 1 Software-Defined Anything ( ฟรอสต์ฯ ชี้ “ศูนย์ข้อมูลที่ควบคุมด้วยซอฟต์แวร์” SDDC ) เพื่อความเข้าใจการพยากรณ์ในข้อนี้ จำเป็นต้องเข้าใจที่มาที่ไปของ Software-Defined Anything (SDx) ในยุคของคลาวด์คอมพิวติง ศูนย์ข้อมูลของผู้ให้บริการรายสำคัญ ๆ มักจะเป็นศูนย์ขนาดใหญ่มาก มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ตู้บันทึกข้อมูล และตู้ควบคุมการทำงานของระบบเครือข่ายจำนวนมาก ไม่เพียง 10-20 ตู้ แต่อาจมีถึงพัน ๆ หมื่น ๆ หรือแสน ๆ ตู้ การบริหารจัดการให้ระบบไอซีทีที่มีอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ จำนวนมหาศาลนี้ให้ทำงานอย่างราบรื่น มีวิธีบำรุงรักษา และแก้ไขปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่เรื่องทำได้ง่าย ๆ การบริหารศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่มากนี้ ไม่ง่ายเหมือนเช่นบริหารศูนย์ คอมพิวเตอร์ Mainframe เมื่อ 30-40 ปีก่อน แม้แต่ศูนย์คอมพิวเตอร์ของภาคธุรกิจธรรมดาในปัจจุบัน เช่นสถาบันการเงิน ก็ยังมีตู้คอมคอมพิวเตอร์ Servers, Data storage, Network และอุปกรณ์อื่น ๆ เป็นจำนวนมากกว่ายุคก่อน ๆ จนการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลแบบเดิม ที่อาศัยความชำนาญของวิศวกรและเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์นั้นทำไม่ได้อีกต่อไป ลองจินตนาการดูว่าเรากำลังทำงานกับระบบงานภายใต้ Virtualizationเมื่อเกิดติดขัด มีปัญหาขัดข้องทางเทคนิคด้วยประการใดก็ตาม เราจะแก้ไขสถานการณ์อย่างไร อะไรคือจุดเริ่มต้นของฐานข้อมูล โปรแกรมที่เกี่ยวข้องทำงานอยู่กับเครื่อง Server ตัวไหนในขณะเกิดเหตุ Node ของเครือข่ายเริ่มที่จุดไหน การวินิจฉัยปัญหาด้วยวิธีการโดยผู้ชำนาญการอย่างเดียวแบบเดิมไม่มีทางทำได้อย่างแน่นอน ทางออกคือต้องอาศัยซอฟต์แวร์เป็นตัวช่วย ซอฟต์แวร์พิเศษจะถูกสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่ควบคุม ประสานงานระหว่างส่วนต่าง ๆ ของระบบจำนวนมากที่กระจายอยู่ทั่วโลก พร้อมติดตามและจดจำงานทุกขั้นตอน เก็บข้อมูลไว้เพื่อช่วยการวินิจฉัยปัญหาและวิเคราะห์หาทางแก้ไขได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดความจำเป็น นี่คือที่มาของคำว่า Software-defined ซึ่งหมายความถึงมีซอฟต์แวร์กำหนดวิธีการทำงานและติดตามการทำงานทุกขั้นตอนของอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะการประสานงานและร่วมทำงานกันระหว่างกลุ่มทรัพยากรไอซีที เรามี Software-defined network (SDN) คือระบบเครือข่ายที่มีซอฟต์แวร์ทำหน้าที่จัดรูปแบบ (Configure) และควบคุมการทำงานของระบบเครือข่ายจากจุดเดียว เรามี SDDC (Software-defined data center) ที่มีซอฟต์แวร์ทำหน้าที่สนับสนุนการจัดการการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลที่อาศัย Virtualization เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรไอที นอกจากนี้ยังมีระบบซอฟต์แวร์ทำหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัย การจัดการระบบเครือข่าย การจัดการระบบฐานข้อมูล ฯลฯ เรายังมี SDS (Software-defined storage) ที่มีหลักการเดียวกันกับ SDN คืออาศัยซอฟต์แวร์จัดการและควบคุมการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูล และจัดการให้กลุ่มเครื่องบันทึกข้อมูลทำงานภายใต้หลักการของ Virtual Storage จากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ และการดำเนินงานภายในศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มีอุปกรณ์ต่าง ๆ จำนวนมาก ต้องอาศัยซอฟต์แวร์เพื่อควบคุมและประสานการทำงานในทุกขั้นตอน นี่คือความหมายของ Software-defined Anything หรือ SDx โดยย่อ การแก้ไขปัญหาและการกู้คืนระบบงานบางระบบในบางขณะจากจำนวนงานนับร้อยนับพันงานที่ทำพร้อมกันในขณะเกิดเหตุนั้น ปัญหาอาจไม่ได้เกิดจากระบบฮาร์ดแวร์ แต่เกิดจากระบบซอฟต์แวร์ชุดหนึ่งชุดใด การแกะรอยและการวินิจฉัยปัญหาจึงต้องอาศัยความรู้ทั้งขั้นตอนการทำงานและกระแสงานที่ไหลเวียนอยู่ในอุปกรณ์ต่าง ๆ และความรู้เกี่ยวกับตัวระบบซอฟต์แวร์ประยุกต์ และซอฟต์แวร์ระดับ Middleware ทุกระบบ ซึ่งจะเพิ่มความยุ่งยากให้แก่ผู้มีหน้าที่แกะรอยเพื่อหาทางแก้ไข Software-defined Anything จึงรวมถึง Software-defined Application ด้วย Software-defined Application เป็นการสร้างซอฟต์แวร์ที่กำหนดแนวทางดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบซอฟต์แวร์ประยุกต์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้น ในระหว่างการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Development) จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ที่ชำนาญด้าน Operation อยู่ในทีมคอยให้คำปรึกษาในด้าน Operation กระบวนการเช่นนี้รู้จักกันในชื่อว่าDevOp หรือการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Development) ที่รวมขั้นตอนด้านการดำเนินงานในศูนย์ข้อมูล (Operation) ผลที่ได้คือมี Software-defined Operation เป็นส่วนหนึ่งของระบบซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นผลให้ได้ Software-defined Application

(Gartner) Software-Defined Anything จำเป็นต้องอาศัยมาตรฐานเพื่อให้อุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีของศูนย์ข้อมูลและระบบซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถทำงานบูรณาการอย่างเป็นระบบกลมกลืนกัน เพื่อให้การซ่อมบำรุงรักษา และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่าง ๆ ทำได้ง่ายและรวดเร็ว มาตรฐานของการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างยี่ห้อต่างรุ่นมีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ เป็นประโยชน์แก่ทุกคนที่เกี่ยวข้อง

ในเรื่องนี้ Gartner ได้พยากรณ์ว่า Open Source software จะมีบทบาทมากเพื่อขับเคลื่อนเรื่องมาตรฐานการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ด้วยซอฟต์แวร์ ดังจะเห็นจากความพยายามผลักดันของกลุ่ม Open source ในโครงการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้หลายโครงการ ตัวอย่างเช่น 1) OpenStack เป็นโครงการเกี่ยวกับมาตรฐานเทคโนโลยีของคลาวด์คอมพิวติง เน้นบริการ Infrastructure as a Service (IaaS) 2) OpenFlow เป็นโครงการเกี่ยวกับมาตรการการสื่อสารข้อมูล (Communications protocol) สนับสนุน Software-Defined Network (SDN) 3) OpenCompute เป็นโครงการที่ริเริ่มโดย Facebook เพื่อกำหนดมาตรฐานการออกแบบและการสร้างศูนย์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาก รวมทั้งมาตรฐานต่าง ๆ ของอุปกรณ์ไอซีที ที่จะเป็นส่วนประกอบของศูนย์ข้อมูล 4) OpenRack เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ OpenCompute เกี่ยวกับข้อกำหนดมาตรฐานของตู้ชั้นวางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของ Servers, data storage unit, routers, power supply, ฯลฯ Gartner กล่าวว่า ถึงแม้จะมีการก่อตัวของกลุ่ม Consortiums เพื่อร่วมกันพัฒนามาตรฐานอย่างจริงจังก็ตาม แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงจะร่วมมืออย่างจริงใจและจริงจัง เนื่องจากบริษัทกลุ่มนี้เป็นผู้ครอบงำด้านราคาซึ่งสร้างกำไรได้ดีอยู่ การใช้มาตรฐานร่วมกันหมายถึงการมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น และการแข่งขันที่รุนแรงจะทำให้กำไรของตัวเองลดลง ซึ่งพวกเขายังไม่พร้อมที่จะเสี่ยงในช่วงที่ยังเป็นผู้นำตลาดอยู่

(นายธีระ  กนกกาญจนรัตน์ นักวิเคราะห์อาวุโส  บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก)“ซอฟต์แวร์เป็นตัวกำหนดทุกอย่าง” หรือ Software Defined Anything (SDx) เป็นหนึ่งในเทรนด์เทคโนโลยีแห่งปีที่ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวาง ในมุมกว้างแนวคิดเรื่อง Software Defined Anything นั้นหมายถึงการนำซอฟต์แวร์พิเศษที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อมาทำหน้าที่ควบคุม กำหนดวิธี และติดตามการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งช่วยประงานงานระหว่างกลุ่มทรัพยากรทางด้านไอทีที่มีอยู่ภายในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด “แม้ว่าแนวคิดนี้จะยังใหม่และต้องอาศัยเวลาสำหรับการตอบรับจากภาคธุรกิจ แต่ผู้เล่นหลักในอุตสาหกรรมไอซีทีโลกต่างให้ความสำคัญและมีความเห็นตรงกันว่า SDx จะเป็น 

รูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรไอทีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอนาคต ซึ่งปัจจุบัน หลายบริษัทได้เริ่มต่อยอดแนวคิดนี้เข้าไปในส่วนของ Product Development อาทิเช่น เครือข่ายเน็ตเวิร์ค Software Defined Network (SDN) และหน่วยจัดเก็บข้อมูล Software Defined Storage (SDS) ซึ่งทำให้ภาพรวมในอนาคตอันใกล้เราจะได้เห็น “ศูนย์ข้อมูลที่ควบคุมด้วยซอฟต์แวร์” หรือ Software Defined Data Center (SDDC) อย่างแน่นอน”“ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา SDDC ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในกลุ่มผู้นำนวัตกรรมทางไอซีที โดยมีบริษัทชั้นนำเช่น EMC, VmWare, TrendMicro, และ Cisco เป็นผู้นำด้านการพัฒนาแนวคิด จึงเป็นที่คาดว่า SDDC จะยังคงเป็นเทรนด์หลักของอุตสาหกรรมไอซีทีในปีต่อๆไป”อย่างไรก็ตาม นายธีระ ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า “ขณะเดียวกันโจทย์ของภาคธุรกิจกลับเป็นเรื่องความกังวลในด้านการปรับโครงสร้างองค์กร และหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของ CIO ทีมงานผู้ดูแลด้านเทคนิคไอที และหน่วยธุรกิจผู้เป็นเจ้าของ Business Application ต่างๆ ในองค์กร”“บุคลากรในตำแหน่งเหล่านี้ล้วนต้องปรับรูปแบบการทำงานและบทบาทหน้าที่ โดยเน้นการเป็นผู้นำนวัตกรรมในองค์กรและนำผลประโยชน์ที่ได้รับจากความคล่องตัวทางด้าน IT มาใช้ให้เกิดผลตอบแทนทางธุรกิจให้ได้มากที่สุด” “สิ่งที่ทำให้ SDDC แตกต่างจากการใช้งานระบบ Cloud ที่ให้บริการแบบ Infrastructure-as-a-Service หมายถึง IaaS คือ บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นการให้บริการฮาร์ดแวร์สำหรับ เซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ ระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัย ในรูปแบบเวอร์ชวลไลเซชั่น (virtualization) ซึ่งทำให้เราสามารถจัดสรรทรัพยากรได้แบบไดนามิก เช่น การเพิ่ม-ลดขนาดของซีพียู ฮาร์ดดิสก์ หรือแรมของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น คือความสามารถในการรองรับทั้งระบบซอฟท์แวร์บริหารองค์กรแบบเก่า (Legacy Enterprise Application) แอฟพลิเคชั่นบนคลาวด์แพลตฟอร์ม (Cloud based Application) ซึ่งซอฟต์แวร์ที่ใช้งานในองค์กรจำนวนมากไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานบน Cloud Platform และหลายหน่วยงานก็ยังไม่พร้อมที่จะรื้อเพื่อทำระบบใหม่ SDDC จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่ทำให้เราสามารถนำความคล่องตัวและความยืดหยุ่นในการใช้งานแบบ Cloud Computing มาเพิ่มศักยภาพให้กับแอฟพลิเคชั่นแบบดั้งเดิมภาย ในองค์กรได้”

แนวคิด ทฤษฎี ที่ 2 Cloud Computing[แก้]

นิยามความหมายของคำหลักๆ 3 คำที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing ความต้องการ (Requirement) ปัญหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ไขปัญหาหรือตอบปัญหาตาม ที่ผู้ใช้กำหนดได้ ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาด 1,000,000 GB, ความต้องการประมวลผลโปรแกรมแบบขนานเพื่อค้นหายารักษาโรคไข้หวัดนกให้ได้สูตร ยาภายใน 90 วัน, ความต้องการโปรแกรมและพลังการประมวลผลสำหรับสร้างภาพยนตร์แอนนิเมชันความยาว 2 ชั่วโมงให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน, และความต้องการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวแลโปรแกรมทัวร์ในประเทศอิตาลีในราคา ที่ถูกที่สุดในโลกแต่ปลอดภัยในการเดินทางด้วย เป็นต้น ทรัพยากร (Resource) หมายถึง ปัจจัยหรือสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหรือเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาตามโจทย์ที่ความต้องการของผู้ใช้ได้ระบุไว้ อาทิเช่น CPU, Memory (เช่น RAM), Storage (เช่น harddisk), Database, Information, Data, Network, Application Software, Remote Sensor เป็นต้น บริการ (Service) ถือว่าเป็นทรัพยากร และในทางกลับกันก็สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรก็คือบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านCloud Computingแล้ว เราจะใช้คำว่าบริการแทนคำว่าทรัพยากร คำว่าบริการหมายถึงการกระทำ (operation) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองต่อความต้องการ (requirement) แต่การกระทำของบริการจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากร โดยการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดผลลัพธ์สนองต่อความต้องการ มีการให้คำจำกัดความจากบริษัทต่างๆไว้ ดังนี้ บริษัท Gartner กล่าวว่า ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆคือ แนวทางการประมวลผลที่พลังของโครงสร้างทางไอทีขนาดใหญ่ที่ขยายตัวได้ถูกนำ เสนอยังลูกค้าภายนอกจำนวนมหาศาลในรูปแบบของบริการ ฟอเรสเตอร์กรุ๊ป กล่าวว่า การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆคือ กลุ่มของโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกบริหารจัดการและขยายตัวได้อย่างมาก ซึ่งมีขีดความสามารถในการรองรับโปรแกรมประยุกต์ต่างๆของผู้ใช้และเก็บค่า บริการตามการใช้งาน โดยการอิงหลักการของ Grid Computing, Utility Computing และSaaS อะไรคือ Grid Computing, Utility Computing และ SaaS Grid Computing คือวิธีการประมวลผลที่เกิดจากการแชร์ทรัพยากร(อย่างเช่น CPU สำหรับการประมวลผล)ระหว่างองค์กรหรือหน่วยงานที่ใช้นโยบายแตกต่างกันไป (คนละบริษัทหรือคนละแผนก) อย่างเช่น องค์กร A กับองค์กร B ต้องการแชร์คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งเพื่อประมวลผลโปรแกรมหรือระบบงานเดียวกัน เมื่อองค์กรที่แตกต่างแชร์ทรัพยากรร่วมกันย่อมมีนโยบายที่ไม่เหมือนกัน เช่นการกำหนดสิทธิและขอบเขตในการใช้ทรัพยากรที่แตกต่างกัน เป็นต้น และจำเป็นต้องอาศัยระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงความต้องการระบบ Single-Sign-On (หรือการล็อกอินครั้งเดียว แต่สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้หลายเครื่อง หรือใช้โปรแกรมได้หลายโปรแกรม) ทั้งนี้ เนื่องจากมีคอมพิวเตอร์ขององค์กรที่แตกต่างกันเข้ามาเกี่ยวข้องระบบuser accountในการล็อกอินเข้าใช้งานระบบย่อมไม่เหมือนกัน จึงต้องพึ่งพาระบบ Single-Sign-On นั่นเอง การประมวลผลแบบอุทิศ (Volunteer Computing) คือรูปแบบหนึ่งของการกระจายการประมวลผล (distributed computing) โดยผู้คนสามารถอุทิศทรัพยากรคอมพิวเตอร์ส่วนตัวเพื่อใช้ในการประมวลผลงาน (หรือโปรแกรม)ของโครงการหนึ่งๆได้ Utility Computing เป็นหลักการแชร์ทรัพยากรที่คล้ายกับGrid Computing เพียงแต่ว่าทรัพยากรจะถูกมองเสมือนว่าเป็นบริการสาธารณูปโภค (เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา และโทรศัพท์) โดยบริการเหล่านี้ ผู้ใช้สามารถจ่ายเงินเพื่อใช้งานได้ตามที่ต้องการ และเวลาจ่ายเงิน ก็จ่ายตามจำนวนหรือช่วงเวลาที่ใช้งานจริง SaaS ย่อมาจาก Software as a Service เป็นรูปแบบการให้บริการซอฟต์แวร์หรือ applicationบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าที่ออนไลน์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตใช้บริการซอฟต์แวร์เหล่านี้ ได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ไว้ที่หน่วยงานหรือคอมพิวเตอร์ของลูกค้าโดย SaaS เป็นหลักการที่ตรงกันข้ามกับOn-premise software อันเป็นการติดตั้งซอฟต์แวร์ไว้ที่ทำงานหรือคอมพิวเตอร์ของลูกค้า โดยสถาปัตยกรรมพื้นฐานของ Volunteer Computing จะประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์หนึ่งเครื่องหรือหนึ่งกลุ่ม ที่ทำหน้าที่ในการกระจายการประมวลผลไปให้คอมพิวเตอร์ที่อุทิศตัวเองอยู่บน เครือข่าย นอกจากนี้ เซิร์ฟเวอร์ยังทำหน้าที่ในการรวบรวมและบันทึกผลลัพธ์จากการประมวล ผลอีกด้วย โครงการแรกๆที่จัดได้ว่าเป็น Volunteer Computing คือ Great Internet Mersenne Prime Search (GIMPS) สำหรับค้นหาจำนวนเฉพาะประเภท Mersenne Prime โครงการนี้เปิดตัวเมื่อปี 1996 จากนั้นในปี 1999 ก็เกิดโครงการ SETI@home ขึ้นมา ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่สร้างความโด่งดังให้กับการประมวลผลแบบ Volunteer Computing เลยทีเดียว หลังจากนั้น SETI@home หรือโครงการอื่นๆที่เป็น Volunteer Computing ก็เกิดขึ้นตามมา หลายโครงการทีเดียวลงท้ายด้วยคำว่า @home ส่วนใหญ่ใช้โปรโตตอลและไลบราลีในการพัฒนาของโครงการที่ชื่อว่า BOINC นอกจากนี้แล้ว ยังมีซอฟต์แวร์อื่นๆที่มีลักษณะเช่นเดียวกับ BOINC อาทิเช่น Xgrid ของ Apple และ Grid MP ของ United Devices ย้อนไปหา Grid Computing เรามักจะได้ยินว่า SETI@home รวมถึงซอฟต์แวร์ในตระกูล Volunteer Computing เป็น Grid Computing แม้กระทั่งชื่อก็ยังมีคำว่า Grid เลย อย่างเช่น Xgrid กับ Grid MP เป็นต้น ทำไมเราไม่ใช้คำว่า Volunteer Computing แทน Grid Computing ล่ะ Grid Computing นี้เพื่ออะไร ? คำตอบคือ Grid Computing ไม่เหมือนกับ Volunteer Compuing เพราะ Volunteer Computing หมายถึงการอุทิศที่เกิดจากคนที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ ต่างจาก Grid Computing โดย Grid Computing สามารถจัดการทรัพยากรที่แชร์ระหว่างองค์กร (หรืออาจจะบุคคลก็ได้) ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้จะถูกควบคุมให้ผู้ที่มีสิทธิ์เท่านั้นที่สามารถเข้ามา ใช้งานได้ ถ้าเรามองในมุมมองเรื่องความเป็นเจ้าของทรัพยากรคอมพิวเตอร์แล้ว จะพบว่า Volunteer Computing คนที่เป็นผู้ใช้ทรัพยากรคือ โครงการ (เซิร์ฟเวอร์ที่จ่ายการประมวลผลของโครงการ) ส่วนเจ้าของทรัพยากร คือ ผู้อุทิศ (Volunteer) แต่ถ้าเป็น Grid Computing แล้ว จะมีองค์กรรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อแชร์ทรัพยากร แต่ละองค์กรมีทรัพยากรเป็นของตน และก็แชร์ทรัพยากรเหล่านั้นร่วมกับองค์กรอื่นๆในกลุ่ม โดยแต่ละองค์กรก็เป็นเจ้าของทรัพยากรของตนเองเท่านั้น (ไม่ใช่ของทั้งหมด) ส่วนผู้ใช้อาจจะเป็นสมาชิกขององค์กรที่แชร์ทรัพยากรร่วมกัน หรืออาจจะเป็นบุคคลภายนอกองค์กรที่ไม่ได้แชร์ทรัพยากรอะไรให้เลยก็ได้ แต่ Grid Computing จะมีกลไกในการกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้ เพื่อความปลอดภัยของทรัพยากร Ian Foster ซึ่งเป็นเจ้าพ่อด้าน Grid Computing ขอเอาความหมายที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางนิยามในปี 2000 โดย Ian Foster, Carl Kesselman, และ Steve Tuecke ว่า Grid Computing คือสิ่งต่อไปนี้โดยทั้งสามท่านนี้ได้เน้นไปที่ 1. Coordinated resource sharing 2. Problem solving in dynamic, multi-institutional organization กล่าวรวบยอดคือ เป็นการแชร์ทรัพยากรร่วมกันระหว่างบุคคลและองค์กร (หรือสถาบัน) โดยกลุ่มขององค์กรและสถาบันที่ใช้หรือแชร์ทรัพยากรร่วมกันนั้น จะถูกกำหนดและควบคุมภายใต้กฎขององค์กรที่เรียกว่า “องค์กรเสมือน” (Virtual organization) เกิดจากองค์กรหรือบุคคลจริงๆที่เป็นผู้แชร์ทรัพยากร ตลอดไปถึงเป็นผู้ดูแลและใช้ทรัพยากร Grid Computing สามารถเชื่อมโยง (ทรัพยากรของ) องค์กรให้เกิดเป็นองค์กรเสมือนเดียวกันขึ้นมาได้ ระบบประมวลผลกลุ่มเมฆเป็นแนวคิดสำหรับแพลทฟอร์มของระบบคอมพิวเตอร์ในยุคหน้า เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ใช้ในการลดภาระด้านการลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) ทั้งการใช้งานในระดับองค์กรธุรกิจ (Corporate Users) และ ผู้ใช้ระดับส่วนบุคคล (Individual Users) โดยเป็นหลักการนำทรัพยากรของระบบไอที ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์มาแบ่งปันในรูปแบบการให้บริการ(Software As A Services: saas) ในระดับการประมวลผลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง หรือติดตั้งซอฟต์แวร์ระบบ ตลอดจนซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นจำนวนมาก ๆ เพื่อการทำงานที่ซับซ้อน แต่สามารถใช้บริการประมวลผล และแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ จากผู้ให้บริการระบบประมวลผลกลุ่มเมฆและชำระค่าบริการตามอัตราการใช้งานที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้นในอนาคตบริการด้านไอทีจะมีลักษณะเป็นบริการสาธารณูปโภคพื้นฐานเช่นเดียวกับบริการไฟฟ้าหรือโทรศัพท์(Utilities Services) ตัวอย่างเช่นบริการโฮสต์เว็บไซต์ ในอดีตจะถูกกำหนดด้วยขนาดของพื้นที่ และความสามารถในการรองรับจำนวนผู้เข้าชมพร้อมกัน แต่ในสภาพแวดล้อมการให้บริการโอสต์เว็บไซต์บนกลุ่มเมฆ ขนาดของพื้นที่และความสามารถในการรองรับจำนวนผู้เข้าชมจะสามารถปรับเพิ่มลดขนาดได้มาก ๆ (Massively Scalable)และอัตราค่าบริการจะถูกคำนวณตามขนาดพื้นที่ที่ใช้งานจริง และจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่เกิดขึ้นจริง ในแต่ละรอบบิล สภาพแวดล้อมของระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ จำเป็นต้องพัฒนาประสิทธิภาพและความสามารถของการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้มีศักยภาพด้านอัตราความเร็วและเสถียรภาเพื่อยกระดับการแลกเปลี่ยน (Share) จากระดับการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Data Share) บนสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน สู่การแลกเปลี่ยนในระดับแอพพลิเคชั่น (Application Share) บนสภาพแวดล้อมแบบกลุ่มเมฆในอนาคต ลักษณะของระบบ ลดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนในระบบไอที โดยผู้ให้บริการจะเป็นผู้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของระบบไอที และผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องลงทุนติดตั้งหรือซื้อไลเซนส์ของซอฟต์แวร์ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นหากองค์กรธุรกิจจะเพิ่มจำนวนพนักงาน (ผู้ใช้) หรือต้องการอัพเกรดซอฟต์แวร์ เพิ่มความสามารถในการแบ่งปันทรัพยากรแบบ Multitenancy เป็นการรวมศูนย์ของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดต้นทุนทั้งค่าเช่าสถานที่ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และเพิ่มความสามารถรองรับช่วงเวลาทำงานหนัก (Peak-load capacity) รวมทั้งช่วยปรับปรุงประโยชน์ใช้สอยและประสิทธิภาพ (Utilization and efficiency) ของทรัพยากรไอที ความสามารถในการปรับเปลี่ยนขนาด (Scalability) สามารถเลือกใช้ทรัพยากรได้อย่างยืดหยุ่นตามความต้องการใช้งานจริงในแต่ละช่วงเวลา ความเชื่อถือได้ (Reliability)การมีมาตรการป้องกันระบบล่ม เพื่อให้ระบบพร้อมให้บริการตลอดเวลา (Redundant) ความปลอดภัย (Security) สำหรับข้อมูลและทรัพยากรของระบบ อย่างไรก็ตามยังมีความกังวลเกี่ยวกับการสูญเสียความสามารถในการกำกับดูแลการเข้าถึงและความปลอดภัยของข้อมูลอ่อนไหว


ประสิทธิภาพ (Performance) สามารถกำกับดูแลและมีความเสถียร แต่อาจได้รับผลกระทบจากการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือช่วงเวลาที่มีการใช้งานพร้อมกันจำนวนมาก อุปกรณ์และสถานที่ตั้งไม่ขึ้นต่อกัน (Device and location independence) ผู้ใช้สามารถเข้าถึงระบบจากสถานที่ใดก็ตาม และสามารถใช้อุปกรณ์ได้หลากหลายรูปแบบ (คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่) องค์ประกอบของระบบ Cloud Computing ระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญคือ อินเตอร์เน็ตที่มีช่องสัญญาณสูงจนเกือบจะไม่มีจำกัด (Nearly unlimited bandwidth) เทคโนโลยีระบบเสมือนจริง (Increasingly sophisticated virtualization technologies) สถาปัตยกรรมเครือข่ายที่รองรับการเข้าถึงพร้อมกันจำนวนมาก (Multitenant Architectures) ลักษณะการใช้งานได้ของเซิรฟ์เวอร์ประสิทธิภาพสูง (Availability of extremely powerful servers) ข้อดี ขึ้นกับงาน/ธุรกิจ เพราะ Cloud ไม่ได้เหมาะกับทุกๆงาน 1. ลดต้นทุน – ค่าดูแลรักษา หรือ TCO เช่น ค่าจ้างพนักงาน, ค่าซ่อมแซม, ค่าลิขสิทธิ์, ค่าไฟ/ค่าแอร์, ค่าอัพเกรด,ค่าเช่าสาย leased line / ค่าต่อ net, ค่าโน่นค่านี่ 2. ลดความเสี่ยงด้วยวิธีการจ่ายเงินแบบรายเดือน/แบบ pay-per-use หากธุรกิจต้องการเริ่มต้นหรือทดลองโครงการ เช่น เช่าเซิร์ฟเวอร์จาก EC2 แล้วก็ดูว่าลูกค้าตอบรับเท่าไหร่ เป็นต้น เราไม่รู้ว่าเริ่มแรกของโครงการต้องลงทุนเท่าไหร่ ดังนั้น ก็ลงทุน ตามแต่โหลดของงาน/ลูกค้าที่เข้ามา 3. เพิ่ม/ลดระบบ หรือ ความต้องการได้อย่างยืดหยุ่น 4. ได้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น ได้เซิร์ฟเวอร์ hi-end, มีระบบ backup ที่ดี, มีเครือข่ายความเร็วสูง 5. มีผู้เชี่ยวชาญดูแลระบบสารสนเทศให้เรา 24 ชั่วโมง พร้อมให้ความช่วยเหลือ ตอบคำถามเราได้ 6. ปลอดภัยกว่า hosting ทั่วๆไป ข้อเสีย 1. ช้ากว่าการโฮสต์บน local หรือบนบริษัทของเราเอง ยิ่งถ้า link ที่เชื่อมกับ internet มันช้า การติดต่อกับ cloudก็ช้าไปด้วย 2. รับประกันความปลอดภัยและเชื่อมั่นไม่ได้ 100% ดั่งที่ลูกค้าอยากได้ แต่ … ไม่มีระบบอะไรที่ประกันได้100% 3. ระบบที่ไม่ใช่ IaaS ทำให้ลูกค้ามีตัวเลือกในการพัฒนาหรือติดตั้งระบบในขอบเขตที่จำกัดมาก ตัวอย่าง IaaS เช่น Amazon EC2, GoGrid เป็นต้น ระบบพวกนี้ทำให้ลูกค้าเลือก OS รวมถึงซอฟต์แวร์ จำนวนซีพียู ขนาดดิสก์ที่ต้องการได้ โครงสร้างพื้นฐาน Cloud Infrastructure ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน เป็นระดับเริ่มต้นของสภาพแวดล้อมระบบประมวลผลกลุ่มเมฆในลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) ให้บริการด้านการจัดสมดุลปริมาณงาน (Loadbalancing) และพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Storage) รองรับแพลทฟอร์มกลุ่มเมฆ และแอพพลิเคชั่นกลุ่มเมฆ ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานสามารถปรับเปลี่ยนคุณสมบัติ บริการ และควบคุมระบบประมวลผล Cloud Computingได้สูงสุด โดยเป็นผู้ให้บริการระดับควบคุมทั้งหมดของโครงสร้างเซิร์ฟเวอร์ตัวอย่างผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น Amazon's EC2 GoGrid RightScale Cloud Platform ผู้ให้บริการแพลทฟอร์มจะกำหนดมาตรฐานของแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้พัฒนา แต่แพลทฟอร์มจำเป็นต้องขึ้นกับลักษณะของโครงสร้างพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน ตัวอย่างผู้ให้บริการ Cloud Platform เช่น Google App Engine Heroku Mosso Engine Yard Joyent force.com(Saleforce platform) Cloud Application การให้บริการซอฟต์แวร์บนเครือข่ายในลักษณะ SAAS (Software As A Service) โดยรูปแบบให้บริการเป็นลักษณะ Virtualization กล่าวคือเป็นเว็บแอพพลิเคชั่น มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (User interface) บนหน้าเว็บเบราว์เซอร์ โดยแยกส่วนโปรแกรมและส่วนประมวลผลอยู่บนเครือข่าย ผู้ใช้จึงไม่จำเป็นต้องติดตั้งแอพพลิเคชั่นในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นบริการ Hotmail Gmail Quicken Online Google Doc. SalesForce Online banking service มาตรฐานของระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ ระบบประมวลผลกลุ่มเมฆใช้มาตรฐานแบบเปิด (open standard) เช่น Browsers (Ajax) Communications (HTTP, XMPP) Data (XML,JSON) Offline (HTML5) Management (OVF) Security (OAuth, OpenID, TLS) Solution stacks (LAMP) Syndication (Atom) Web Service (REST) ทิศทางการเคลื่อนไหวของ Cloud Computing และบทสรุป Cloud Computing มียักษ์ใหญ่หลายค่ายให้ความสนใจ และทำวิจัยเรื่องนี้ โดยเฉพาะไอบีเอ็มยักษ์สีฟ้า กล่าวถึงเรื่องนี้อย่างมากทีเดียว Cloud Computing เป็นการใช้บริการระบบสารสนเทศผ่านเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้หรือองค์กรไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่อง เช่นเซิร์ฟเวอร์, สตอเรจ แต่สามารถเช่าใช้บริการจากผู้ให้บริการได้ โดยผู้ให้บริการจะทำการบำรุงรักษา ดูแลระบบให้ผู้ใช้ด้วย คอนเซ็ปต์นี้คล้ายๆ กับ Software as a Service บริการเช่าใช้ซอฟต์แวร์ มีจุดเด่นก็คือ ผู้ใช้ไม่ต้องเสียเงินก้อนเพื่อซื้อซอฟต์แวร์ และไม่ต้องปวดหัวกับการอัพเดต แถมยังได้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่ตลอด คอนเซ็ปต์ของ Cloud Computing ก็เช่นกัน คือ ผู้ใช้ไม่ต้องตั้งงบประมาณในแต่ละปีเพื่อพัฒนาระบบไอทีโดยที่แต่ละปีใช้งบ ประมาณไม่น้อย ไม่ต้องมีพนักงานฝ่ายไอทีจำนวนมากๆเพื่อดูแลระบบทั้งหมด ไม่ต้องปวดหัวกับการอัพเกรดเทคโนโลยี ไม่ต้องคิดว่าตัดสินใจถูกหรือผิดหากเลือกใช้เทคโนโลยีนี้ แถมยังได้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่เสมอด้วย เพียงผู้ใช้จ่ายเป็น ค่าบริการ เช่น จ่ายเป็นรายเดือน หรือเป็นรายปีก็เท่านั้น ดูๆ แล้ว Cloud Computing จะอำนวยความสะดวกให้กับองค์กรธุรกิจหลายด้าน ไม่ต้องมานั่งเสียเวลากับงานที่ไม่ใช่ Core Business ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารมุ่งพัฒนาธุรกิจได้อย่างจริงจังโดยไม่ต้องกังวลว่าถ้า ต้องทำโปรโมชันที่ซับซ้อนแล้วระบบสารสนเทศที่มีอยู่จะรองรับได้หรือไม่อย่าง ไร ซึ่งขณะนี้เองก็มีผู้ให้บริการ Cloud Computing เกิดขึ้นแล้ว เช่น Amazon,AOL และ Google ในอนาคตมีแนวโน้มว่า Cloud Computing จะเข้ามาอำนวยความสะดวกต่อการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์อย่างมาก เหมือนอย่างที่อินเทอร์เน็ตเข้ามาอำนวยความสะดวกต่อการติดต่อสื่อสารและการสืบค้นข้อมูลมาแล้ว Cloud Computing ทางเลือกสำหรับ SME ใช้ไอทีเสริมแกร่ง ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจคอมพิวเตอร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่าแนวโน้มทางธุรกิจกับการเติบโตของ Cloud Computing นั้น เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน จากผลการวิจัยล่าสุด ไอบีเอ็มคาดว่า Cloud Computing จะถูกใช้งานเพิ่มมากขึ้นและมีบทบาทอย่างมากในช่วง 3-5 ปีข้างหน้าด้วยเทคโนโลยีนี้ทรัพยากรทางด้านไอทีจะถูกผนวกรวมศูนย์เข้าด้วยกัน เพื่อช่วยองค์กรประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และช่วยให้องค์กรเพิ่มหรือลดขนาดของระบบไอทีได้ตามต้องการให้มีความสามารถมากขึ้น ทั้งด้านการติดตั้ง การบูรณาการระบบ และการจัดเก็บข้อมูล เหมาะสำหรับธุรกิจทุกประเภท มีบริการช่วยเหลือทางโทรศัพท์ ให้พื้นที่สำหรับจัดเก็บอีเมล์สูงถึง 10 กิกะไบต์ และมี API พร้อมสำหรับเชื่อมต่อ นอกจากนี้ยังมี Google Apps Education Edition: ใช้งานฟรีสำหรับโรงเรียน มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา พร้อมด้วยฟังก์ชั่นต่างๆ ครบถ้วนทั้งด้านการช่วยเหลือ การจัดเก็บข้อมูล และ API สำหรับงานพัฒนาต่อยอด โดยปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ Google Apps ในประเทศไทยแล้วนับร้อยราย ไมโครซอฟท์เตรียมส่งบริการบน Cloud Computing ลงตลาดไทยครึ่งปีหลัง ทั้งนี้ ลักษณะบริการ Cloud Computing ไม่เพียงจะเป็นคู่แข่งสำคัญต่อไมโครซอฟท์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายใหญ่อื่นๆ เช่น ออราเคิล และเอสเอพี ซึ่งมักสร้างรายได้จากการขายไลเซนส์การใช้งานซอฟต์แวร์ที่คิดตามการติดตั้ง ลงบนเครื่องแต่ละครั้ง รวมถึงค่าธรรมเนียมที่ได้จากการดูแล ปรับปรุงระบบให้ในภายหลังดังนั้น ไมโครซอฟท์ จึงได้กระโดดเข้าสู่สมรภูมิของ Cloud Computing ด้วยการเปิดตัว Windows Azureวินโดวส์เวอร์ชั่นใหม่ที่รันบนอินเทอร์เน็ตที่ถูกหมายมั่นปั้นมือให้เป็น Cloud OS โดย Windows Azureสนับสนุนเทคโนโลยีหลักขอไมโครซอฟท์เช่น .NET Framework และ Visual Studio 2008 ไมโครซอฟท์ตั้งใจให้ Windows Azure เป็นแพลตฟอร์มหรือรูปแบบมาตรฐานของเทคโนโลยี Cloud Computing เหมือนกับที่วินโดวส์โมบายล์ (Windows Mobile) เป็นแพลตฟอร์มของโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือ ดร.ประสบโชค ประมงกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าไมโครซอฟท์ได้เตรียมความพร้อมการให้บริการ Cloud Computing ทั่วโลก ล่าสุดดาต้าเซ็นเตอร์ได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว 5 ศูนย์ ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยศูนย์ทั้งหมดสามารถให้บริการผู้ใช้ได้ทั่วโลก สำหรับตลาดเมืองไทยนั้นมีแนวโน้มว่าจะมีบริการบน Cloud Computing ให้บริการประมาณครึ่งหลังของปี 2552 อย่างแน่นอน โดยกลุ่มเป้าหมายคือธุรกิจทุกขนาด ซึ่งการให้บริการแอพพลิเคชั่นบน Cloud Computing นับเป็นกลยุทธ์ล่าสุดของไมโครซอฟท์ที่เปลี่ยนนิยามตัวเองจากบริษัทซอฟต์แวร์ (Software Company) เป็นบริการซอฟต์แวร์และบริการ (Software Plus Service Company) ตัวอย่างบริการแอ พพลิเคชั่นบน Cloud Computing ของไมโครซอฟท์ ได้แก่ ชุดซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ ทั้ง Microsoft Word และ Excel รวมถึง Exchange และ Share Point ในรูปแบบออนไลน์ โดยผู้ใช้สามารถใช้งานผ่านเว็บเบราเซอร์ โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมบนเครื่องพีซี ซึ่งไมโครซอฟท์คาดหวังที่จะให้บริการโปรแกรมออฟฟิศออนไลน์ชนิดเต็มรูปแบบ ตั้งแต่โปรแกรมที่ทันสมัยมากที่สุดจนถึงเวอร์ชั่นธรรมดาในหลากหลายทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นแบบพ่วงโฆษณาไปกับตัวโปรแกรม ระบบสมาชิก และแบบมีค่าไลเซ่นส์ Cloud Computing: ความท้าทายครั้งใหม่ของซอฟต์แวร์เฮ้าส์ไทย สมเกียรติ อึงอารี นายกสมาคมผู้ประกอบการซอฟต์แวร์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า Cloud Computing อาจดูเป็นเหมือนปัจจัยลบต่อผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจซอฟต์แวร์จากการขายสินค้าเป็นไลเซ่นส์มาสู่การขาย บริการ ซึ่งในระยะแรก Cloud Computing ถือเป็น Killer ที่จะมาทำลายระบบการขายแบบเดิมแต่ในระยะยาวจะให้ประโยชน์ต่อผู้ประกอบการซอ ฟตแวร์ไทย เพราะ Cloud Computing เหมาะสำหรับแอพพลิเคชั่นพื้นฐานที่มีผู้ใช้จำนวนมาก อาทิ Excel และ Office แต่ไม่เหมาะกับแอพพลิเคชั่นที่เป็นระบบหลักอย่าง Core Banking ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยจึงต้องปรับตัวและเร่งพัฒนาตัวเองไปสู่การพัฒนา ซอฟต์แวร์โดยคำนึงถึงลูกค้าเป็นศูนย์กลางแทนความคิดแบบเดิมๆ ที่คิดถึงสินค้าเป็นหลัก นอกจากนี้ในระยะยาว Cloud Computing จะมีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยในเรื่องของต้นทุนเพราะไม่ต้องลง ทุนสร้างเครือข่ายในการขาย และสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ได้เป็นโมดุลๆ ขายได้ทันที แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงให้มากคือบริการหลังการขาย เพราะเมื่อมีผู้ใช้บริการหันมาซื้อซอฟต์แวร์ผ่าน Cloud Computingมากขึ้น จึงต้องมั่นใจว่าสามารถให้บริการหลังการขายได้อย่างดี ในด้านผู้ใช้บริการก็จะได้ประโยชน์เพราะCloud Computing จะช่วยลดภาระค่าไลเซ่นส์มาสู่การจ่ายตามการใช้งานจริง “Cloud Computing มีทั้งความเสี่ยงและโอกาส ถือเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยที่ต้องเรียนรู้เพื่อที่สร้าง เงินจากเทคโนโลยีใหม่นี้ให้ได้”



แนวคิด ทฤษฎี ที่ 3 Open Source software[แก้]

ซอฟต์แวร์เสรี (Free Software) และโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ (Open Source Software) (http://opensource.thai.net/) โอเพนซอร์ส คือซอฟต์แวร์ ที่สามารถนำไปใช้งาน ศึกษา แก้ไข และเผยแพร่ (ไม่ว่าจะแก้ไขหรือไม่ ไม่ว่าจะคิดราคาหรือไม่) ได้อย่างเสรี ปราศจากเงื่อนไขเพิ่มเติม (เช่นคิดค่า license หรือต้องเซ็นสัญญาพิเศษ) การพัฒนาที่เปิดเผยซอร์สโค้ด (รหัสต้นฉบับ) ให้สาธารณะนำไปพัฒนาต่อยอดได้ ทำให้เกิดการร่วมมือกันทำงานอย่างไร้พรมแดนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ข้อสังเกต - หลักการทั้งหมดบังคับด้วยเงื่อนไขที่ชัดเจนของ license ที่เรียกว่า open-source license (เช่น GPL, BSD) การจะเป็นซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์ส หรือไม่ ดูได้อย่างชัดเจนจาก license ที่ใช้ว่าตรงตามเกณฑ์ข้างต้น หรือไม่ - เงื่อนไขในการต้องเปิดให้ศึกษาและแก้ไขได้อย่างเสรี ทำให้ต้องเปิดโอกาสให้เข้าถึง ซอร์สโค้ดไปกับการเผยแพร่เสมอ - ผู้ที่ได้รับซอฟต์แวร์ตาม license นั้นไปจะได้รับสิทธิข้างต้นไปทั้งหมด เช่นสามารถนำไปลงกี่ครื่องก็ได้ หรือทำซ้ำกี่ชุดเพื่อการใช้งานหรือขายก็ได้ หรือปรับปรุงแล้วเผยแพร่ต่อไปก็ได้ ซอฟต์แวร์เสรี (Free Software) http://www.gnu.org/philosophy/free-sw.html กล่าวว่า มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีก่อตั้งขึ้นเมื่อปี1985 คำว่า Free Software คำว่า Free หมายถึงทั้งเสรี (Freedom) และ Free ในความหมายด้านราคาคือไม่เสียเงิน ไม่ได้หมายถึง Free ในด้านราคาเพียงอย่างเดียว จริงๆ ผู้ใช้มีเสรีในการใช้โปรแกรมการสำเนา การแจกจ่าย การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงซอฟต์แวร์เสรีนี้ ลักษณะของซอฟต์แวร์เสรีจะมีความเสรีใน 4 ประการคือ - มีเสรีภาพในการใช้งานโปรแกรม (freedom 0) - มีเสรีภาพในการศึกษาว่าโปรแกรมทำงานได้อย่างไรและจะปรับให้ตรงกับความต้องการของตนเองได้อย่างไร (Freedom 1) ซึ่งประเด็นนี้การอนุญาตให้เข้าถึงต้นฉบับรหัสโปรแกรม(Source Code) จะต้องอนุญาตไว้แล้ว - มีเสรีภาพในการแจกจ่ายสำเนาให้กับผู้อื่นได้ (Freedom 2) - มีเสรีภาพในการปรับเพิ่มความสามารถของโปรแกรมและแจกจ่ายสู่สาธารณะเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะได้ (Freedom 3) ซึ่งประเด็นนี้การอนุญาตให้เข้าถึงต้นฉบับรหัสโปรแกรม (Source Code) จะต้องอนุญาตไว้แล้ว

โอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ (Open Source Software) Richard Stallman (http://www.gnu.org/gnu/thegnuproject.html) กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา การสอนหรือแนะนำผู้ใช้ใหม่ๆ ให้รู้จักซอฟต์แวร์เสรียากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อบางส่วนของชุมชนที่ใช้ซอฟต์แวร์เสรี เริ่มใช้คำว่า “โอเพนซอร์สซอฟต์แวร์” แทนคำว่า “ซอฟต์แวร์เสรี” คำว่า “โอเพนซอร์สซอฟต์แวร์” เป็นคำที่มักมุ่งเน้นกล่าวถึง ซอฟต์แวร์นั้น มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ มีพลัง แต่หลีกเลี่ยงที่จะเน้นแนวคิด ชุมชนที่ใช้งาน และหลักการของ“ซอฟต์แวร์เสรี” แบบดั้งเดิม การสนับสนุนจากภาคธุรกิจต่อชุมชนนั้น ทำได้หลายทาง และมีผลพอๆ กัน แต่การไม่พูดถึง หรือพูดถึงน้อยเกี่ยวกับหลักการของซอฟต์แวร์เสรี อาจทำให้ในที่สุดแนวคิดของซอฟต์แวร์เสรีอาจจะบิดเบือนหรือสูญหายไป “ซอฟต์แวร์เสรี” และ “โอเพนซอร์สซอฟต์แวร์” เป็นคำที่ใช้กล่าวถึงกลุ่มโปรแกรมที่มีลักษณะเดียวกัน แต่พูดกันไปคนละประเด็นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์นั้น อย่างไรก็ตาม โครงการ GNU ก็ ยังคงใช้ คำว่า “ซอฟต์แวร์เสรี” ต่อไป

ซอฟต์แวร์เสรีและโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ http://www.gnu.org/philosophy/free-software-for-freedom.html กล่าวว่าตั้งแต่ปี 1998 บางคนในชุมชนผู้ใช้ซอฟต์แวร์เสรี เริ่มใช้คำว่า “โอเพนซอร์สซอฟต์แวร์” แทนคำว่า “ซอฟต์แวร์เสรี” ซึ่งแม้ดูจะคล้ายกันและทำงานร่วมกันไปได้ในบางโครงการ แต่จริงๆ แล้วแตกต่างกันทั้งในด้าน ปรัชญา คุณค่า หลักการ มุมมอง และเป้าหมาย การเคลื่อนไหวของแต่ละกลุ่มในปัจจุบันนี้ เป็นไปในลักษณะต่างคนต่างดำเนินไป ความแตกต่างที่พบ เช่น โอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ เป็นเพียงวิธีการหนึ่งในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ขณะที่ซอฟต์แวร์เสรีเป็นวิถีการดำเนินไปของสังคมผู้ใช้ซอฟต์แวร์ในวิถีทางของโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ที่ไม่ฟรี (ต้องซื้อ) ก็เป็นทางออกทางหนึ่งในการใช้งาน โดยอาจถูกจำกัดสิทธิ์ในการใช้ในบางเรื่องจากซอฟต์แวร์ไม่ฟรีนั้นได้ แต่ในวิถีทางของซอฟต์แวร์เสรี ทุกอย่างยังคงเสรีการนำซอฟต์แวร์ไม่ฟรี และมีการจำกัดสิทธิ์มาใช้งานถือเป็นปัญหาในวิถีทางของซอฟต์แวร์เสรี ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีทางแบบซอฟต์แวร์เสรีและแบบโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ แนวคิดของทั้ง 2 วิถีทางแตกต่างกันในหลักการพื้นฐาน แต่ก็มีส่วนที่เหมือกันบ้างในบางเรื่อง ทั้งสองวิถีทางทำงานร่วมกันได้ในบางโครงการ และไม่ได้มองกันและกันแบบศัตรู วิถีทางที่ตรงข้ามกับวิถีทางแบบซอฟต์แวร์เสรีคือวิถีทางแบบซอฟต์แวร์เชิงการค้าเฉพาะด้าน (proprietary software) อย่างไรก็ตามกลุ่มซอฟต์แวร์เสรีก็ยังไม่ต้องการที่เป็นกลุ่มหรือประเภทเดียวกับกลุ่มโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ เช่น มักเรียกระบบปฏิบัติการ Linux ที่หากพัฒนาต่อด้วยกลุ่มซอฟต์แวร์เสรีว่าGNU/Linux ไม่เรียกว่า Linux เพียงอย่างเดียว3 การมีหลายความหมายหรือความหมายคลุมเครือ คำว่า Free Software ฟังดูอาจมีความหมายว่า คือการได้มาซึ่งโปรแกรมโดยไม่ต้องซื้อ ซึ่งผู้คนมักคิดว่านี่เป็นความหมายหลัก ซึ่งเป็นความหมายที่ไม่ตรงกับความตั้งใจของกลุ่มที่ก่อตั้ง ซึ่งจริงๆ ตั้งใจให้หมายถึง ซอฟต์แวร์เสรี โดยการได้มาโดยไม่เสียเงินถือเป็นส่วนหนึ่งของความหมายเท่านั้น ไม่ประเด็นหลักของความหมาย GNU General Public License (GNU GPL) เป็นรูปแบบสัญญาอนุญาต ที่อนุญาตให้สามารถทำสำเนา แจกจ่าย หรือแก้ไขดัดแปลง โปรแกรมได้


แนวคิด ทฤษฎี ที่ 4 Green IT[แก้]

หลักการด้านกรีนไอที (Green IT principle) การใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว นับเป็นสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน ดังนั้นองค์กรต่างๆ ทั่วโลกรณรงค์ในเรื่องการสร้างความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม การปรับปรุง แก้ไข และลดปัญหาของสินค้าและบริการด้านไอทีที่จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคม เทคโนโลยีสีเขียวหรือกรีนไอที (Green IT) จึงเป็นแนวทางในการใช้เทคโนโลยีเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด (บริษัท เมอร์ลินส์โซลูชั่นส์ อินเตอร์แนชั่นนัล จำกัด [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.merlinssolutions.com/2014/01/ green-it-solutions/)

1. ความหมายของกรีนไอที ทรงยศ สุรีรัตนันท์ (2553 : 393) กล่าวว่า กรีนไอที (Green IT) หรือกรีน คอมพิวติ้ง (Green Computing) คือ การศึกษาและการปฏิบัติในการใช้ไอทีและทรัพยากร คอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพลดการใช้วัสดุภัณฑ์ที่เป็นอันตรายประหยัดพลังงานตลอด วงจรชีพ (Life Cycle) ส่งเสริมการนำกลับมาใช้หรือก็คือการใช้ไอทีโดยใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมการใช้ไอทีในแนวทางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน บริษัท เมอร์ลินส์โซลูชั่นส์ อินเตอร์แนชั่นนัล จำกัด ([ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.merlinssolutions.com/2014/01/green-it-solutions/) กล่าวว่า กรีนไอที คือ แนวคิดในการบริหารจัดการและเลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการใช้พลังงาน ลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการสร้างขยะ รวมถึงการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มารีไซเคิลใหม่ บริษัท เค เอส ซี คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เนต จำกัด (ออนไลน์ เข้าถึงได้จาก http://www.ksc.net/greenit/) กล่าวว่า กรีนไอที คือ การใช้ไอทีโดยใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งนอกจากจะครอบคลุมถึงอุปกรณ์ของระบบประมวลผลที่ประหยัดพลังงานไฟฟ้า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังครอบคลุมไปถึงนโยบายในการควบคุมการใช้งาน และประสิทธิภาพที่ได้จากอุปกรณ์ต่อการใช้พลังงานไฟฟ้าหนึ่งหน่วยวัด CGI Group Cooperation (2010 ออนไลน์ เข้าถึงได้จาก http://www.cgi. com) กล่าวว่า กรีนไอที คือ การศึกษา และการปฏิบัติการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่ลดการใช้พลังงาน และค่าใช้จ่ายองค์กร ส่งผลให้ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม Melanie Pinola (ออนไลน์ เข้าถึงได้จาก http://www.ksc.net/greenit/) กล่าวว่า กรีนไอที คือ การปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากที่กล่าวมา สรุปได้ว่า กรีนไอที หมายถึง การบริหารจัดการการใช้ไอทีและทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพลดการใช้วัสดุภัณฑ์ที่เป็นอันตรายประหยัดพลังงานตลอดวงจรชีพ โดยการลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการสร้างขยะ รวมถึงการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มารีไซเคิลใหม่

2. ความสำคัญของกรีนไอที ทรงยศ สุรีรัตนันท์ (2553 : หน้า 393) กล่าวว่าการใช้ไอทีได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในหลาย ๆ ด้าน เช่น การปรับปรุงคุณภาพชีวิตและการทำงานอีกทั้งยังให้ความสะดวกสบายควบคู่ไปกับประโยชน์ที่หลากหลายอย่างไรก็ตามไอทีได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเนื่องจากคอมพิวเตอร์และโครงสร้างไอทีอื่นๆใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวนมากดังนั้นการดำเนินงานด้านกรีนไอที จึงมีความสำคัญดังต่อไปนี้ 2.1 การลดปัญหามลภาวะเป็นพิษ วิรินทร์ เมฆประดิษฐสิน (2011 : หน้า 63) กล่าวว่า การดำเนินงานกรีนไอทีจะช่วยลดการเกิดปัญหาด้านมลภาวะเป็นพิษ เนื่องจากคอมพิวเตอร์ มีโหละหนักหลายชนิดเป็นส่วนประกอบ เช่น สารตะกั่ว สารแคดเมี่ยม สารหนู เป็นต้น ถ้าจัดการไม่ดีพอ จะเกิดการระเหิดออกสู่สิ่งแวดล้อมได้ 2.2 การลดการใช้พลังงานไฟฟ้า วิรินทร์ เมฆประดิษฐสิน (2011 : หน้า 63) กล่าว ว่าการดำเนินงานกรีนไอทีจะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า เนื่องจากการใช้กระแสไฟในปริมาณที่มาก เช่น เครื่องพีซี จะใช้ไฟ 588 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี และมีความสูญเปล่าจากการเปิดเครื่องทิ้งไว้ประมาณ 400 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี หรือจอแอลซีดี ขนาด 17 นิ้ว ใช้กระแสไฟประมาณ 35 วัตต์ เป็นต้น และปัญหาภาวะโลกร้อน เนื่องจากเครื่องพีซี จำนวน 15 เครื่องสามารถปล่อยก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ เทียบเท่ารถยนต์ขนาดกลาง 1 คัน วิ่งบนถนนในเวลา 1 ปีสอดคล้องกับ ทรงยศ สุรีรัตนันท์ (2553: หน้า 393-394) กล่าวว่า พลังงานในการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไอทีอื่นๆ คิดเป็น 4-5% ของพลังงานโลกที่ใช้ไป และประมาณ 10% ของงบไอทีแต่ละปีเป็นค่าไฟฟ้า โดยแหล่งที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดก็คือ ศูนย์ข้อมูล (Data Center) ซึ่งเป็นแหล่งรวมคอมพิวเตอร์ มีการปล่อยความร้อนจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และจากเครื่องปรับอากาศ ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นต้นเหตุของโลกร้อน ทั้งนี้การบริโภคพลังงานในระดับเครื่องแม่ข่าย ระหว่างเครื่องที่มีสมรรถนะสูงและเครื่องที่มีสมรรถนะต่ำกว่า พบว่าการบริโภคพลังงานจะเพิ่มขึ้นตามสมรรถนะที่สูงขึ้น ในแต่ละปีการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ พีซี (Personal Computer : PC) ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ปริมาณเป็นตัน สำหรับจอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube : CRT) เครื่องแฟกซ์ แป้นควบคุมเกมส์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และของเสียทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ สร้างมลพิษถึงปีละ 40 ล้านตัน 2.3 การลดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ทรงยศ สุรีรัตนันท์ (2553: หน้า 393-394) กล่าวว่า ไอทีมีผลกระทบต่อสุขภาวะของมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ใช้งาน ปัจจุบันมีอาการและกลุ่มอาการของโรคที่เป็นผลจากไอทีเกิดขึ้น ได้แก่ คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม หรือ โรคซีวีเอส (Computer Vision Syndrome) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่กระดูกข้อมือ การเจ็บปวดกล้ามเนื้อ หรือหากใช้สายตาจ้องหน้าจอนานๆ มักมีอาการปวดแสบตา ตามัว และบ่อยครั้งที่จะมีอาการปวดหัวร่วมด้วย ทั้งนี้อาการเหล่านี้ เกิดจากการจ้องดูข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป 2.4 การลดค่าใช้จ่ายขององค์กร เทวา คำปาเชื้อ (2552 : หน้า 64) กล่าวว่า การดำเนินงานกรีนไอทีจะส่งผลให้องค์กรเกิดผลพลอยได้ของประโยชน์ในเชิงเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสังคม ได้แก่ การลดความซับซ้อนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การลดค่าใช้จ่ายการทำงานที่มีคุณภาพ ขยายระยะเวลาในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

3. ขอบข่ายของการทำกรีนไอที ขอบข่ายของการทำกรีนไอที สามารถจัดแบ่งเป็นหลายด้าน ดังนี้ 3.1 กรอบการดำเนินงานกรีนไอที มีนักวิชาการและนักวิจัย เสนอไว้ดัง รายละเอียดดังนี้ 3.1.1 Murugesan และ Harnessing (2008 : 24-33) กำหนดกรอบใน 4 ด้าน ดังแสดงในภาพที่ 2.1





ภาพที่ 2.1 หลักการของกรีนไอที ที่มา : Murugesan และ Harnessing (2008 : 24-33)

จากภาพที่ 2.1 อธิบายได้ดังนี้ Green Disposal เป็นหลักการในการนำคอมพิวเตอร์เก่ามาใช้งานใหม่ และทำการรีไซเคิ้ล (Recycle) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ต้องการอย่างเหมาะสม Green Design เป็นหลักการในการออกแบบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์แม่ข่ายและอุปกรณ์ทำความเย็นโดยประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม Green Manufacturing เป็นหลักการในการประดิษฐ์และสร้างอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์และระบบย่อยอื่นๆที่มีส่วนเชื่อมโยงกันโดยมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย Green Use เป็นหลักการในการใช้ไอทีโดยมีเป้าหมายเพื่อลดการใช้ พลังงาน 3.1.2 Graem Philipson ([online] http://www.totalexec.com. au/totalexec-views/2010/8/30/latest-research-green-it-performance-internationally .html) กล่าวว่า กรอบของการดำเนินงานกรีนไอที โดยมีองค์ประกอบจำนวน 5 ด้าน ดังแสดงในภาพที่ 2.2





ภาพที่ 2.2 กรอบของการดำเนินงานกรีนไอที ที่มา : Graem Philipson ([online] http://www.totalexec.com.au/totalexec-views/

        /2010/8/30/latest-research-green-it-performance-internationally.html)

จากภาพที่ 2.2 อธิบายได้ดังนี้ กรอบการดำเนินงานประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านทัศนคติ (Attitude) 2) ด้านนโยบายขององค์กร (Policy) 3) ด้านแนวปฏิบัติ (Practice) 4) ด้านเทคโนโลยี (Technology) และ5) การวัด (Metrics) โดยที่แต่ละองค์ประกอบจะประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เหมือนกันได้แก่ 1) ประสิทธิภาพการใช้งานไอทีของบุคลากร(End User IT Efficiencies) ทั้งแบบตั้งโต๊ะ (Desktop) แบบเคลื่อนที่ (Mobile Devices) และการพิมพ์งาน (Printing & Consumables) 2) ประสิทธิภาพการใช้งานไอทีขององค์กร (Enterprise IT Efficiencies) ประกอบด้วย อุปกรณ์ของศูนย์ข้อมูล (Data Center IT Equipment) สภาพแวดล้อมและการใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูล (Data Center Power & Environment) การสื่อสารข้อมูล (Communication) การกระจายระบบไอที (Distributed & Dept IT Systems) และการใช้ระบบผู้รับงานจากนอกหน่วยงาน (Outsourced IT Systems) 3) วัฎจักรอายุการใช้งานและการจัดหา (Lifecycle & Procurement) ประกอบด้วย การจัดหา (Procurement) การดำเนินงาน (Operation) และการจัดการอุปกรณ์ (Disposal) และ 4) การใช้ไอทีช่วยลดคาร์บอน (IT as Low- Carbon Enabler) ประกอบด้วย การปฏิบัติและการกำกับดูแล (Compliance & Governance) การทำงานแบบทางไกล (Teleworking) การจัดการกระบวนการทางธุรกิจ (Business Project Management) การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) และประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมเฉพาะ (Industry-specific Efficiencies) อย่างไรก็ตาม ได้มีการปรับกรอบของการดำเนินงานกรีนไอทีไหม่ ตาม ภาพที่ 2.3 ซึ่งปรับจำนวน 2 หน่วยย่อย ได้แก่ 1) ด้านการใช้งานไอทีของบุคลากร มีการปรับใหม่ ประกอบด้วย การใช้งานระดับบุคคล (Personal Computing) ระบบแผนก (Department Computing) และ 2) ด้านวัฏจักรชีวิตของอุปกรณ์ ปรับภายในใหม่เป็นการนำกลับไปใช้ใหม่ (Recycle & Reuse)





ภาพที่ 2.3 กรอบของการดำเนินงานกรีนไอที ที่มา : Graem Philipson ([online] http://www.totalexec.com.au/totalexec-views/

        2010/8/30/latest-research-green-it-performance-internationally.html)

3.2 การปฏิบัติการในองค์กร เทวา คำปาเชื้อ (2552 : หน้า 65) กล่าวว่า แนวทางปฏิบัติกรีนไอที สามารถพิจารณาได้หลายมุมมองด้วยกัน ถ้ามองในเชิงของการใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับ ได้แก่ การใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงาน การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร และการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างองค์กร รายละเอียดของแนวทางปฏิบัติของแต่ละระดับ แสดงได้ดังตารางที่ 2.1 ตารางที่ 2.1 ระดับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

ระดับการใช้งาน สถาปัตยกรรม เทคโนโลยี แนวทางปฏิบัติ การใช้งานส่วนบุคคล Distributed Standalone PC 1. เลือกใช้โน้ตบุคที่ประหยัดพลังงานไฟฟ้ามากกว่าพีซีถึงร้อยละ 90 Local disk 2. เลือกใช้รุ่นที่เหมาะสมกับการทำงานและมี Energy Star 4.0 3. ตั้งโหมดประหยัดพลังงานและปิดเครื่องเมื่อเลิกทำงานหรือเวลาพัก 4. ถ้าต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ควรมอบให้คนที่ต้องการเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ การใช้งานในหน่วยงาน Centralized Client/Server,N-tier 1. เลือกใช้เซิร์ฟเวอร์ที่รองรับเทคโนโลยี Virtualization DB Server 2. ติดตั้งระบบควบคุมการใช้พลังไฟฟ้าแบบอัตโนมัติในห้องเซิร์ฟเวอร์ LAN 3. ใช้ Wireless เพื่อลดการใช้สาย 4. เลือกใช้อุปกรณ์แบบ Multi-function 5. จัดสรรอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน การใช้งานในองค์กร Centralized Server Virtualization 1. รวมเซิร์ฟเวอร์ให้เป็นศูนย์ข้อมูล

2. ใช้เซิร์ฟเวอร์แบบ Virtualization 3. กำหนดรูปแบบการจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพภายในศูนย์ข้อมูลที่ PUE~3 การใช้งานระหว่างองค์กร Virtual Cloud platform 1. สามารถเลือกขอใช้บริการบางอย่างที่ซับซ้อนจากผู้บริการภายนอกองค์กรเพื่อลดต้นทุน Cloud storage Internet ที่มา : เทวา คำปาเชื้อ (2552 : หน้า 65)

4. แนวทางการส่งเสริมการทำกรีนไอที ทรงยศ สุรีรัตนันท์ (2553: หน้า 397) กล่าวว่า การผลักดันให้เกิดกรีนไอที ควรพิจารณาแนวทางที่ครอบคลุมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรต่าง ๆ ได้แก่ทรัพยากรมนุษย์สุขภาวะทางกายสุขภาวะทางใจอารมณ์ความคิดและคุณธรรมจริยธรรมแนวทางการส่งเสริมและพัฒนากรีน ไอที มีหลายประการดังนี้ 4.1 ควรมีการอบรมให้ความรู้เรื่องกรีนไอที เพื่อกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกร่วมของ พนักงานทุกระดับในองค์กร 4.2 ควรปรับภูมิทัศน์ให้เป็นสีเขียว เช่น จัดหาไม้ใบที่แลดูชุมชื่นตา ปรับเปลี่ยน โทนสีของฉากกั้นห้องทำงานให้เป็นสีที่สบายตาผ่อนคลาย เป็นต้น 4.3 ควรมีการรณรงค์ในเรื่องกรีนไอที เช่น จัดโครงการประกวดคำขวัญ จัด บอร์ดประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมรณรงค์ประจำส่วนงาน และมีการประกวดแข่งขันความคิดสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรมต่างๆ 4.4 การปฏิบัติตนเป็นต้นแบบให้แก่องค์กรอื่นๆ 4.5 การปฏิบัติตามแนวทางกรีนไอที เช่น การลดกระดาษการแปรรูปเพื่อนำ กลับไปใช้การจัดการระบบไอทีแบบองค์รวม ตั้งแต่ขั้นการวางแผนจัดทำระบบเป็นต้นไปสำหรับระบบงานใหม่ และการปรับปรุงระบบงานเดิมให้เข้าสู่คุณภาพการรักษาสิ่งแวดล้อม 4.6 จัดทำโครงการวิจัยเพื่อสำรวจความรู้ และทัศนคติของบุคลากรในเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับนโยบายต่าง ๆ ทั้งที่กำหนดเป็นแผนงานและที่ดำเนินการแล้ว 4.7 ควรส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบและสาเหตุของไอทีกับการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในเชิงลบทั้งด้านความคิดการพูดการกระทำตลอดจนจิตใจและอารมณ์ของมนุษย์เพื่อแสวงหาแนวทางป้องกันและแก้ไขต่อไป 4.8 ควรรณรงค์ให้สมาชิกของสังคมตระหนักถึงคุณค่าและความจำเป็นของการ ปลูกฝังและรักษาไว้ซึ่งคุณธรรมจริยธรรมในตนเองเพื่อให้เป็นเครื่องกำกับในการกระทำการใดๆรวมถึงการพัฒนาและการใช้ไอทีให้เป็นไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวม

5. การบริหารองค์กรด้านกรีนไอที เทวา คำปาเชื้อ (2552 : หน้า 65) กล่าวว่า การริเริ่มนำเอาแนวคิดหรือแนวทาง ปฏิบัติมาใช้ในองค์กร ควรเริ่มต้นจากการสร้างแผนเชิงปฏิบัติการของแต่ละองค์กรก่อนถึงแม้ว่าจะมีเอกสารเผยแพร่แนวทางการปฏิบัติเทคโนโลยีสารสนเทศสีเขียวจากองค์กรที่ประสบความสำเร็จแล้วก็ใช่ว่าจะสามารถนำเอามาใช้ในองค์กรของได้เลยในทันทีเนื่องจากแต่ละองค์กรมีเป้าหมายคุณลักษณะและสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม แนวทางการบริหารองค์กรด้านกรีน ไอที มีแนวปฏิบัติดังนี้ 5.1 แนวทางการปรับเปลี่ยนองค์กร เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ([ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.vcharkarn.com/varticle/42045#chapter1) กล่าวว่า การนำแนวทางของกรีนไอทีเข้ามาใช้งานกันในแต่ละองค์กร จะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นทุกองค์กรที่มีการนำระบบไอทีเข้ามาใช้งาน จะต้องมีการประเมินระบบของตนเองใหม่ เพื่อนำแนวความคิดของ กรีนไอทีเข้ามาปรับเปลี่ยนการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นด้านของอุปกรณ์หรือด้านนโยบายการใช้งาน แนวทางปฏิบัติในการนำแนวคิดกรีนไอทีเข้ามาใช้งานมีอยู่ 3 แบบด้วยกันคือ


5.1.1 ปรับเพิ่มการใช้งานอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Pilot Study) แบบนี้ จะเน้นการคงไว้ซึ่งโครงสร้างของระบบไอที และนโยบายการใช้งานที่มีอยู่เดิมไว้ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มเสริมโซลูชั่นทางด้านรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้ามาให้รวมเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันกับระบบเก่า เช่น การเลือกนโยบายในการจัดการด้านพลังงานสำหรับอุปกรณ์ประมวลผล การปรับเปลี่ยนทางด้านนี้เป็นเรื่องที่ไม่ยากมากนัก ไม่ต้องสร้างเป็นแผนงานที่เฉพาะเจาะจง และต้องการเพียงแค่การปรับเปลี่ยนนโยบายทีละเล็กน้อย 5.1.2 เพิ่มแผนการปรับเปลี่ยนเข้าไปในกลยุทธ์ขององค์กร (Parallel Strategy)แบบนี้จะมองว่า ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมและการรับผิดชอบต่อสังคม เป็นแนวทางหลักหนึ่งในกลยุทธ์ของการดำเนินธุรกิจ และมองเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง และนโยบายทางด้านระบบประมวลผลหรือไอทีในแบบเก่าออกไปเลย โดยอาศัยเหตุผลทางด้านความคุ้มค่าจากค่าใช้จ่ายที่ลงทุน (เปลี่ยนระบบ) ไป เช่น แผนกไอทีตัดสินใจเปลี่ยนคอมพิวเตอร์แบบเดสก์ท้อปออกไปจากแผนกใดๆ เลย แล้วปรับเปลี่ยนมาใช้แพลตฟอร์มแบบ Thin Client แทน เป็นต้น 5.1.3 ปรับเปลี่ยนทั้งหมดในคราวเดียว (Direct Cut Over) แบบนี้จะ มองว่าอุปกรณ์ระบบประมวลผลในองค์กรของตน ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด โดยเฉพาะในองค์กรที่มีการนำระบบไอทีมาใช้งานเป็นเวลานาน และอุปกรณ์ที่ใช้งานเหล่านั้นเป็นอุปกรณ์รุ่นเก่าที่ไร้ประสิทธิภาพทางด้าน การใช้พลังงานโดยสิ้นเชิงจึงมีความคุ้มค่าที่จะลงทุนปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ ทั้งหมด 5.2 วิกร ปรัชญพฤทธิ์ ([ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://compcenter.bu.ac. th/index.php?option=com_content&task=view&id=72&Itemid=172) กล่าวว่าการนำแนวคิดหรือแนวทางปฏิบัติของกรีนไอทีมาใช้ในองค์กรได้แก่ การปฏิบัติตามแนวทางขององค์กรที่ประสบความสำเร็จด้านกรีนไอที โดยที่การนำแนวทางปฏิบัตินั้นมาปรับให้เหมาะกับเป้าหมาย และนโยบายขององค์กร ซึ่งเราสามารถสรุปเป็นขั้นตอนของการสร้างแผนเชิงปฏิบัติการไว้ 4 ขั้นตอนด้วยกันคือ 5.2.1 การกำหนดนโยบาย และเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งเป้าหมาย ของการนำกรีนไอที มาใช้ในองค์กรต้องเป้าหมายชัดเจนว่ามุ่งเน้นถึงสิ่งใด และมีขอบเขตแค่ไหน โดยส่วนใหญ่มักมีเป้าหมายเดียวกันคือ ลดการใช้พลังงานโดยรวมขององค์กร ปรับปรุงการใช้งานอุปกรณ์ทางด้านไอทีให้เต็มความสามารถ ทำให้การดำเนินกิจกรรมนั้นสอดคล้องกับสังคมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนด 5.2.2 ประเมินนโยบายกรีนไอที ที่ต้องการดำเนินการ กับนโยบายเดิม ว่ามีกิจกรรมที่อยู่ภายใต้แนวทางการปฏิบัติกรีนไอที อยู่แล้ว และกิจกรรมใดยังไม่อยู่ภายใต้แนว ทางการปฏิบัติ โดยจะพิจารณากิจกรรมที่ยังไม่เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติ ถ้ากิจกรรมใดต้องการ มาตรวัดเชิงปริมาณก็ควรมีการกำหนดเกณฑ์ที่อ้างอิงจากเกณฑ์มาตรฐานจากหน่วยงานภายนอก เช่น ค่าประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (PUE) หรือ เกณฑ์มาตรฐานในการจัดซื้ออุปกรณ์ทางด้านไอที เป็นต้น และองค์กรต้องกำหนดบทบาท และหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับกลุ่มบุคลากรที่เกี่ยวของกับแนวทางการปฏิบัติกรีนไอที 5.2.3 ดำเนินนโยบายที่เป็นแผนระยะสั้น โดยเริ่มจากสิ่งที่สามารถ ดำเนินการได้ง่ายก่อนเพื่อเป็นการทำให้เกิดการตื่นตัวต่อผู้ที่มีส่วนร่วม เช่น การปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งาน หรือการใช้กระดาษรียูส เป็นต้น 5.2.4 ดำเนินนโยบายที่เป็นแผนระยะยาว อย่างจริงจังและเผยแพร่ นโยบายให้กับบุคลากรในองค์กร เพื่อให้ทุกคนได้เกิดความเข้าใจในแนวคิดและกิจกรรมอย่างชัดเจน พยายามให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมมากที่สุดเพื่อให้เขามีความรู้สึกว่าได้เป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลง อาจจะมีการคิดกิจกรรมเสริมแรงจูงใจในรูปแบบของการแข่งขัน และเมื่อการดำเนินกิจกรรมใดที่ประสบผลสำเร็จหรือเป็นไปตามที่คาดหวัง แนวทางปฏิบัติทางกรีนไอที นี้จะถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการขององค์กรไปโดยปริยาย

6. เทคโนโลยีที่ใช้ในกรีนไอที บริษัท เมอร์ลินส์โซลูชั่นส์ อินเตอร์แนชั่นนัล จำกัด([ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.merlinssolutions.com/2014/01/green-it-solutions/) กล่าวว่า ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถนำไปใช้ในการทำกรีนไอที โดยมีหลายประเภท ดังนี้ 6.1 ซอฟท์แวร์ช่วยประหยัดพลังงาน (Energy Saving Software)คือ ซอฟท์แวร์ที่ช่วยในการบริหารจัดการการทำงานภายในศูนย์ข้อมูล (Data Center) โดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ใดๆเพิ่มเติม ซอฟท์แวร์ดังกล่าวสามารถแสดงสถานะการทำงานของอุปกรณ์ภายในศูนย์ข้อมูล ได้ทั้งหมด พร้อมทั้งสามารถวิเคราะห์แนวโน้มของอุปกรณ์ต่างๆเพื่อการแก้ไข ซ่อมแซมหรือจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติมได้อย่างทันท่วงที ซอฟท์แวร์นี้จะช่วยเพิ่มอายุการใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในศูนย์ข้อมูล และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้เชี่ยวชาญมาดูแลโดยตรง 6.2 ซอฟท์แวร์สำหรับบริการ (Software as a Service (SaaS) หรือ ODS (On Demand Software)คือ ซอฟท์แวร์บนเว็บที่ผู้ใช้สามารถเรียกใช้บริการได้ โดยซอฟท์แวร์ประเภทนี้จะไม่ถูกจัดเก็บเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ หรือไม่ถูกติดตั้งลงในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องที่ใช้งาน และสามารถเรียกใช้งานได้เมื่อทำการเชื่อมต่ออินเทอร์เนต โดยทำการเรียกผ่าน เบราเซอร์ (Browser)ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น ผู้ให้บริการซอฟท์แวร์สามารถเลือกทำการติดตั้ง ซอฟท์แวร์ลงบนเว็บเซิร์ฟเวอร์(Web Server)หรือทำการติดตั้งลงบนอุปกรณ์ของลูกค้า ซอฟท์แวร์ดังกล่าวจะหมดอายุลงหลังจากใช้งานหรือหลังจากสัญญาที่ผู้ใช้งานซื้อหมดอายุซอฟท์แวร์นี้จะช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์ พร้อมทั้งช่วยให้การบริหารจัดการเกี่ยวกับซอฟท์แวร์ทำได้สะดวกสบายยิ่งขึ้นเพราะเจ้าของลิขสิทธิ์จะปรับปรุงเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องของซอฟท์แวร์ให้เองโดยอัตโนมัติทำให้ผู้ใช้งานได้ใช้ ซอฟท์แวร์ที่ใหม่อยู่เสมอ 6.3 การประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing) เป็นนวัตกรรมทางด้าน ศูนย์ข้อมูลรูปแบบใหม่แห่งอนาคต เกิดจากแนวคิดการให้บริการโดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ทำงานเชื่อมโยงกัน โดยมี เซิร์ฟเวอร์จำนวนมากทำงานสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อให้บริการซอฟท์แวร์ต่างๆ โดยคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในกลุ่มคลาวด์อาจไม่จำเป็นมี ฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการเหมือนกันไปทั้งหมด และอาจไม่จำเป็นต้องติดตั้งอยู่ในสถานที่เดียวกัน แต่อาจมีการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายสื่อสารความเร็วสูงการประมวลผลแบบคลาวด์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ 6.3.1 การประมวลผลแบบคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud Computing) เป็นการใช้งานภายในองค์กร โดยเป็นการใช้สมรรถนะของศูนย์ข้อมูลภายในองค์กรนั้นๆ 6.3.2 การประมวลผลแบบคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud Computing) เป็นการใช้บริการการเข้าถึงข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตผ่านการให้บริการของผู้ให้บริการสาธารณะ 6.3.3 การประมวลผลแบบคลาวด์ผสม (Hybrid Cloud Computing) เป็นการผสมผสานกันระหว่างการใช้งานภายในองค์กร (Private Cloud Computing) และการใช้บริการการเข้าถึงข้อมูลรูปแบบต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตผ่านการให้บริการของผู้ให้บริการสาธารณะ (Public Cloud Computing) 6.4 ธิน ไคลแอนต์ (Thin Client) คือ เทคโนโลยีการทำงานของระบบการ บริการแบบเทอร์มินอล (Terminal Service) ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ที่มีประสิทธิภาพในปัจจุบัน ซึ่งมีจุดเด่นคือตัวโปรแกรมที่ใช้งาน และการประมวลผลส่วนใหญ่ จะอยู่ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ ส่วนตัวเครื่องธิน ไคลแอนต์จะทำหน้าที่เสมือนเทอร์มินอล และจะมีฮาร์ดแวร์ ที่ซับซ้อนน้อยกว่า โดยหลังจากเข้าสู่ระบบแล้ว ระบบจะส่งหน้าจอให้กับผู้ใช้งานแต่ละคน โดยผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถทำงานกับโปรแกรมต่างๆ ของตนได้อย่างอิสระต่อกันโดยธิน ไคลแอนต์ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ 6.4.1 เครื่องธิน ไคลแอนต์ 6.4.2 ระบบเซิร์ฟเวอร์ที่รองรับการทำงานของเครื่องธิน ไคลแอนต์ 6.4.3 ระบบเครือข่าย

                6.5 เบลดเซิร์ฟเวอร์ (Blade Server)  เป็นเทคโนโลยีใหม่ของเซิร์ฟเวอร์ซึ่งเป็น

การนำแนวคิดของเมนเฟรมเดิมมาประยุกต์ใช้กับเครื่องพีซีในปัจจุบัน โดยแต่ละหน่วยจะเรียกว่า เบลด (Blade)และประกอบด้วยเมนบอร์ด ซีพียู หน่วยความจำ อุปกรณ์บันทึกข้อมูล และอุปกรณ์ในการติดต่อกับเครือข่ายเท่านั้น ซึ่งแต่ละเบลดจะใช้อุปกรณ์จ่ายพลังงาน (Power Supply) และระบบระบายความร้อนร่วมกัน องค์ประกอบหลักๆ ของเบลดเซิร์ฟเวอร์ได้แก่ 6.5.1 คลาสซิส (Chassis) คือ อุปกรณ์ที่เป็นเหมือนห้องศูนย์ข้อมูล ขนาดเล็กที่จะจ่ายไฟและทำความเย็นให้กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ภายใน รวมไปถึงอุปกรณ์เครือข่ายที่อยู่ภายในตู้เดียวกัน 6.5.2 อุปกรณ์สวิตส์ (Switch Modules) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการ ติดต่อกับโลกภายนอกไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายข้อมูล (Data network) หรือ เครือข่ายสื่อบันทึกข้อมูล (Storage Network)

6.5.3 เบลดเซิร์ฟเวอร์ที่มีส่วนประกอบภายในได้แก่ เมนบอร์ด ซีพียู หน่วยความจำ อุปกรณ์บันทึกข้อมูล 6.6 เทคโนโลยีเสมือนหรือเวอร์ซวล (Virtualization) คือ เทคโนโลยีที่ช่วยให้ สามารถใช้ทรัพยากร (Resource) ร่วมกัน เช่น ซีพียู หน่วยความจำ อุปกรณ์บันทึกข้อมูลเป็นต้น ของคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องหรือมากกว่านั้น ให้สามารถใช้งานซอฟท์แวร์และแอฟพลิเคชั่น(Application) ในจำนวนมากๆ หรือแม้แต่ใช้งานหลายระบบปฏิบัติการพร้อมกันได้ แม้ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม (Platform) ที่แตกต่างกันการทำเวอร์ซวลแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ 6.6.1 การแบ่งย่อยทรัพยากรโดยเฉพาะบนฮาร์ดแวร์ขนาดใหญ่ให้เป็น อุปกรณ์เสมือนขนาดเล็ก ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การรวมศูนย์การทำงานของระบบเครื่องแม่ข่าย (Server Consolidation) แล้วนำมาติดตั้งบนเครื่องเสมือน (Virtual Machine) หลายเครื่อง โดยใช้เครื่องหลักหนึ่งเครื่องที่มีสมรรถนะของเครื่องสูง 6.6.2 การนำอุปกรณ์ขนาดเล็ก มาทำงานร่วมกันเสมือนเป็นฮาร์ดแวร์ ขนาดใหญ่ เช่น การทำการประมวลผลประสิทธิภาพสูง (High performance Computing) ซึ่งการประมวลผลแบบนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ร่วมกันประมวลผลงานส่งผลให้งานเสร็จเร็วขึ้น

7. แนวทางปฏิบัติสำหรับอุปกรณ์ไอทีเพื่อการดำเนินงานกรีนไอที หน่วยงาน SOCITM (Society of Information Technology Management) ได้ประกาศแนวทางปฏิบัติการใช้อุปกรณ์ไอทีที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล สำหรับหน่วยงานท้องถิ่นและทั่วไปในประเทศอังกฤษ ดังรายละเอียดตารางที่ 2.2 (Gary Hird, 2010 : 103-112)

ตารางที่ 2.2 แนวทางปฏิบัติอุปกรณ์ไอทีสำหรับการดำเนินงานกรีนไอที อุปกรณ์ ความต้องการหรือเป้าหมาย แนวทางปฏิบัติ 1. อุปกรณ์ไอทีในสำนักงาน คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ การลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และลดการปล่อยความร้อน 1. ติดสติ้กเกอร์ “Not Standby OFF Please” 2. ชัตดาวน์คอมพิวเตอร์หลังจากเลิกงานหรือในกรณีที่ไม่ได้ล้อคออน (log on) 3. กำหนดเวลาใช้งานในช่วงวันหยุด 4. ให้มีการใช้โปรแกรมจัดการการใช้พลังงาน เช่น มีการกำหนดให้คอมพิวเตอร์เข้าสู่โหมดหยุดการทำงาน (Standby) ตามเวลาที่กำหนด เป็นต้น คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค การลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และลดการปล่อยความร้อน ให้มีการใช้โปรแกรมจัดการการใช้พลังงาน เช่น มีการกำหนดให้คอมพิวเตอร์เข้าสู่โหมดหยุดการทำงาน (Standby) ตามเวลาที่กำหนด เป็นต้น จอภาพ การลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และลดการปล่อยความร้อน 1. ปรับเปลี่ยนจอแบบซีอาร์ทีเป็นจอแบบแอลซีดี 2. ปิดสภาวะการพักหน้าจอ (Screensaver) 3. กำหนดให้จอภาพปิดตัวเองอัตโนมัติหลังไม่ได้ใช้งานหรือไม่มีความเคลื่อนไหวตามเวลาที่กำหนด โทรทัศน์ การลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และลดการปล่อยความร้อน 1. ปรับเปลี่ยนจอแบบซีอาร์ทีเป็นจอแบบแอลซีดี 2. ปิดสวิตซ์ทีวีหลังการใช้งาน เครื่องพิมพ์ ลดการใช้กระดาษ 1. ติดตั้งการพิมพ์แบบสองหน้า และการพิมพ์ในโหมดประหยัด 2. ในกรณีที่เครื่องพิมพ์หมดอายุการใช้งาน ให้จัดหาเครื่องพิมพ์แบบพิมพ์กระดาษสองหน้าแทน 3. ก่อนการพิมพ์ทุกครั้งให้มีข้อความยืนยัน เช่น “Are you sure you want to print” 4. พิจารณาการใช้รหัสในการพิมพ์ (ID Card) และงบประมาณในการพิมพ์ เครื่องพิมพ์ เครื่องสำเนา เครื่องสแกน เครื่องแฟกส์ การลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และลดการปล่อยความร้อน 1. ให้ใช้เครื่องพิมพ์ เครื่องสำเนา เครื่องสแกนและ เครื่องแฟกส์ แบบมัลติฟังก์ชั่น แทนแบบใช้ส่วนบุคคล 2. ปิดเครื่องในช่วงเวลากลางคืน 3. มีเครื่องวัดการใช้พลังงาน 4. ใช้อีเมลแทนเครื่องแฟกส์ 5. กำหนดให้เครื่องปิดตัวเองอัตโนมัติหลังไม่ได้ใช้งานหรือไม่มีความเคลื่อนไหวตามเวลาที่กำหนด 2. อุปกรณ์ในศูนย์ข้อมูล (Data Centre) เซิร์ฟเวอร์, อุปกรณ์เก็บข้อมูล และเครือข่าย การลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และลดการปล่อยความร้อน ตลอดจนการลดจำนวนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ไม่จำเป็น 1. ปิดเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่รันอยู่ แต่ไม่มีการบริการใดใด 2. เพิ่มประสิทธิภาพระบบเซิร์ฟเวอร์ โดยมีการรวมเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Consolidate Servers) 3. รวมการทำงานของการบริการต่าง ๆ ที่กระจายบนเซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ เครื่อง ให้เป็นระบบเซิร์ฟเวอร์เดี่ยว หรือน้อยเครื่องเท่าที่จะเป็นไปได้ 4. ใช้เทคโนโลยีระบบเซิร์ฟเวอร์เสมือน (Virtualization) 5. ปรับปรุงระบบการจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิ ภาพเพื่อลดการจัดเก็บข้อมูล เข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น 6. ใช้/ปรับอุปกรณ์จ่ายระบบไฟที่มีประสิทธิภาพสูง (Power Supple Unit : PSU) มีคุณสมบัติการประหยัดพลังงาน 7. ใช้/ปรับใช้ซีพียูที่ใช้กำลังไฟที่ต่ำกว่า 8. ปิดระบบเซิร์ฟเวอร์ไม่ใช้งานในช่วงเวลาใดใด 9. จัดการระบบการจ่ายไฟของหน่วยบันทึกข้อมูล เช่น มีการลดกระแสไฟฟ้าเมื่อหน่วยบันทึกไม่มีการทำงาน เป็นต้น 10. ใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานรักษาสิ่งแวดล้อม 11. ใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน ประหยัดพลังงาน เช่น มาตรฐาน Energy Star หรือ EPEAT เป็นต้น 13. กำหนดการใช้ระบบความเย็น โดยใช้อากาศภายนอกแทนในกรณีฤดูหนาว 14. พิจารณาการติดตั้งระบบแอร์แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ 15. ปรับเปลี่ยนตำแหน่งหรือจุดที่ติดตั้ง Hotspot 3. การวางแผนระยะการใช้งานของอุปกรณ์ไอที การกำจัด (Disposal) เงื่อนไขหรือข้อกำหนด 1. บริษัทผู้ผลิตหรือจำหน่าย รับอุปกรณ์ที่หมดอายุการใช้งานคืนเพื่อกำจัดหรือนำกลับไปใช้ใหม่ 2. สามารถตรวจสอบหรือติดตามอุปกรณ์ที่กำจัดหรือนำกลับมาใช้ใหม่ 3. การกำจัดหรือนำกลับมาใช้ใหม่จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย หรือมาตรฐาน เช่น RoHS เป็นต้น

8. มาตรฐานสำหรับการดำเนินงานกรีนไอที ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้อุปกรณ์สารสนเทศและคอมพิวเตอร์สูงขึ้น ก่อให้เกิดการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นและปริมาณขยะอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นตามมา อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชากร ดังนั้นในการใช้งานในปัจจุบันจึงเกิดมาตรฐานในการปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม มาตรฐานต่าง ๆ ที่สำคัญมีดังนี้ (คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ออนไลน์ เข้าถึงได้จาก http://g08.spusama.com/index.php/2013-11-11-11-56-28) 8.1 มาตรฐาน Energy Star เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน โครงการ Energy Star ก่อกำเนิดขึ้นในปี 1992 โดย United States Environmental Protection Agency (EPA) แห่งสหรัฐอเมริกา และมาตรฐาน Energy Star 4.0 ได้มีการกำหนดการประกาศ ใช้เป็นสองขั้น (Tier) ซึ่งในขั้นแรก (1st Tier) ได้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมาและในขั้นที่สอง (2nd Tier) ที่คาดว่าจะประกาศใช้ในเดือนมกราคม พ.ศ.2552 ซึ่ง EPA ตั้งเป้าหมายว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่วางจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯ จะต้องมีระบบ Power Management ที่ 40% ภายในปี พ.ศ.2553 60% ภายในปี พ.ศ.2555 และมากกว่า 80% ภายในปี พ.ศ.2557 8.2 มาตรฐาน TCO ที่เน้นความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาตรฐาน TCO เป็น มาตรฐานที่ถือกำเนิดจากภาคพื้นยุโรป โดย TCO Development ที่ก่อตั้งโดย Swedish Confederation of Professional Employees ประกาศใช้ครั้งแรกในปี 1992 (TCO 92) และมีหลาย Version แต่มาตรฐาน TCO 05 เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อยอดมาจากมาตรฐาน TCO 99 ซึ่งเน้นที่ความสะดวกและปลอดภัยของผู้ใช้งาน (Workload Ergonomics) ระบบนิเวศวิทยา (Ecology) และการใช้พลังงาน (Energy) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งแบบ Desktop และ Notebook มาตรฐาน TCO นั้นจะมีหลายเวอร์ชันด้วยกัน โดยแต่ละเวอร์ชันจะเป็นข้อกำหนดของแต่ละอุปกรณ์ ดังนี้ 8.2.1 TCO 99 มาตรฐาน TCO 99 เป็นมาตรฐานที่เน้นความสะดวก และปลอดภัยของผู้ใช้งาน (Workload Ergonomics) ระบบนิเวศวิทยา (Ecology) และการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า (Energy) โดย TCO 99 จะครอบคลุมอุปกรณ์ 3 รายการ คือ จอภาพคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Desktop และ คีย์บอร์ด 8.2.2 TCO 01 เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ TCO 03 8.2.3 TCO 03 เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องเฉพาะจอภาพคอมพิวเตอร์ เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐาน TCO 99 โดยเน้นที่ความสะดวกและปลอดภัยของผู้ใช้งาน (Workload Ergonomics) ระบบนิเวศวิทยา (Ecology) และการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า (Energy) 8.2.4 TCO 04 เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวกับข้องเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน 8.2.5 TCO 05 เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Desktop และ Notebook เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐาน TCO 99 โดยเน้นที่ความสะดวกและปลอดภัยของผู้ใช้งาน (Workload Ergonomics) ระบบนิเวศวิทยา (Ecology) และการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า (Energy) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งแบบ Desktop และ Notebook 8.2.6 TCO 06 เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ Media Displays 8.2.7 TCO 07 เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ Headsets 8.3 มาตรฐาน RoHS เป็นข้อกำหนดที่บังคับใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่ซื้อขาย ในสหภาพยุโรป ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 2006 ที่ผ่านมา สำหรับในประเทศอื่น ๆ เช่น สหรัฐอมริกา ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ในปัจจุบันก็เริ่มมีการกำหนดข้อบังคับในลักษณะนี้เช่นกัน

              		มาตรฐาน RoHS ย่อมาจาก Restriction of Hazardous Substances เป็นข้อกำหนดที่ 2002/95/EC ของสหภาพยุโรป (EU) ว่าด้วยเรื่องของการใช้สารที่เป็นอันตรายในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหมายความรวมถึงเครื่องใช้ทุกชนิด ที่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการทำงาน เช่น โทรทัศน์ เตาอบไมโครเวฟ วิทยุ เป็นต้น ซึ่งหมายความว่า ชิ้นส่วนทุกอย่างที่ประกอบเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ตั้งแต่แผงวงจร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงสายไฟ จะต้องผ่านตามข้อกำหนดดังกล่าว โดยสารที่จำกัดปริมาณในปัจจุบัน กำหนดไว้ 6 ชนิด ดังนี้
              		8.3.1. ตะกั่ว (Pb) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
             		8.3.2. ปรอท (Hg) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
             		8.3.3. แคดเมียม (Cd) ไม่เกิน 0.01% โดยน้ำหนัก
              		8.3.4. เฮกชะวาเลนท์ (Cr-VI) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
              		8.3.5. โพลีโบรมิเนต ไบเฟนนิลส์ (PBB) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
              		8.3.6. โพลีโบรมิเนต ไดเฟนนิล อีเธอร์ (PBDE) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก

8.4 มาตรฐาน EPEAT (Electronic Product Environmental Assessment Tool) เป็นองค์กรไม่หวังผลกำไร ภายใต้การกำกับดูแลขององค์กร Green Electronics Council ซึ่งเป็นสมาชิกของสถาบัน Institute of Electrical and Electronic Engineers (IEEE) ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ดีที่สุด การรับรองฉลาก EPEAT ครอบ คลุมสินค้าคอมพิวเตอร์ Desktop, Laptop, Thin Clients, Workstations และ Computer Display และมีแนวโน้มจะขยายไปในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น อุปกรณ์เกี่ยวกับภาพ และโทรทัศน์ การใช้ฉลากสิ่งแวดล้อม EPEAT ซึ่งได้ริเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2549 เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถประเมิน เปรียบเทียบ และเลือกซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ EPEAT ได้ปรับปรุงมาตรฐานคอมพิวเตอร์ในปี 2554 และตัวบริการ (Server) และอุปกรณ์มือถือ (Mobile device) ในปี 2555 สำหรับเครื่องหมาย EPEAT จะถูกแบ่งระดับความเข้มข้นออกเป็นสามสี ได้แก่ สีทองแดง หมายถึง สินค้า มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐาน สีเงิน หมายถึง สินค้ามีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานรวมกับ หลักเกณฑ์ทางเลือกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 และ

    สีทอง หมายถึง สินค้ามีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐาน รวมกับ

หลักเกณฑ์ทางเลือกร้อยละ 75 ขึ้นไป

   ผู้ผลิตสินค้าคอมพิวเตอร์ Desktop, laptop และจอมอนิเตอร์ที่ผ่าน 

หลักเกณฑ์ดังกล่าวขององค์กร Green Electronics Council สามารถขอขึ้นทะเบียนรับรองเครื่องหมาย EPEAT ในกว่า 40 ประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ออสเตรีย เบลเยี่ยม บราซิล บัลแกเรีย แคนาดา จีน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮ่องกง ฮังการี ไอซ์แลนด์ อิตาลี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ สิงคโปร์ สวีเดน และไต้หวัน เป็นต้น (MASCI ออนไลน์ เข้าถึงได้จากhttp://www.masci.or.th/intelligence_ article_detail_th.php?articleid=548) 8.5 มาตรฐาน 80 Plus เป็นมาตรฐานของอเมริกา กำหนดจากหน่วยงาน ชื่อว่า U.S. Energy Information Administration (EIA) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงพลังงาน (DOE) ของอเมริกา มาตรฐาน 80 Plus ถือว่าเป็นมาตรฐานประหยัดพลังงานของคอมพิวเตอร์เพาเวอร์ซัพพลายที่มีความเข้มงวดที่สุด (Gview ออนไลน์ เข้าถึงได้จาก http://www.hualian. co.th/detail_art.php?id=34&id-art=34#.U-taMv_lp2M) ในขณะเดียวกันในปี 2006 Energy Star ซึ่งเป็นโครงการของหน่วยงานด้านการป้องกันมลพิษสิ่งแวดล้อมของอเมริกา ได้มีการเพิ่มเติมคุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะได้รับการรองรับมาตรฐาน Energy Star 4.0 จะต้องใช้เพาเวอร์ซัพพลายที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานของ 80 Plus ด้วย ส่งผลให้ผู้ผลิตพาวเวอร์ซัพพลายจำนวนมากทำการผลิตพาวเวอร์ซัพพลายเพื่อให้ผ่านมาตรฐานของ 80 Plus มากยิ่งขึ้น ใบรับรองของหรือมาตรฐานของ 80 Plus มีอยู่ด้วยกัน 4 ระดับ ได้แก่ 80 Plus E-Star 4.0, 80 Plus Bronze, 80 Plus Silver และ 80 Plus Gold ดังตารางที่ 2.3 และได้มีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานที่จะผ่านการรับรองของ 80 Plus ใหม่ โดยมีการแบ่งดังแสดงในตารางที่ 2.4 (QuickPC ออนไลน์ เข้าถึงได้จาก http://www.quickpcextreme.com/blog/?p=5121)

ตารางที่ 2.3 ระดับมาตรฐานของ 80 Plus ระดับ ภาระโหลด 20% 50% 100% 80 Plus E-Star 4.0 80% 80% 80% 80 Plus Bronze 82% 85% 82% 80 Plus Silver 85% 88% 85% 80 Plus Gold 87% 90% 87%

ตารางที่ 2.4 ระดับมาตรฐานของ 80 Plus ที่มีการปรับใหม่ ระดับ ภาระโหลด 20% 50% 100% 80 PLUS 80% 80% 80% 80 PLUS Bronze 82% 85% 82% 80 PLUS Silver 85% 88% 85% 80 PLUS Gold 87% 90% 87% 80 PLUS Platinum 90% 94% 91%

9. อัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ 1 ชุดหรือ 1 เครื่อง ประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ตัวเครื่อง คอมพิวเตอร์ และจอภาพ การใช้พลังงานของคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และความละเอียดการแสดงผลของจอภาพเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์ ยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเช่นกัน ดังนั้นโดยประมาณคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 300 วัตต์ พลังงานที่ใช้มีรายละเอียดดังตารางที่ 2.5 (ออนไลน์ เข้าถึงได้จาก http://www.alro.go.th/alro/project/save_energy/document/computer.pdf)

ตารางที่ 2.5 อัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบ กำลังไฟฟ้าที่ใช้ (วัตต์) 1. จอภาพ

   1.1 CRT	80-100
   1.2 LCD	35-50
   1.3 LED	30-45

2. อุปกรณ์มัลติมีเดีย

   2.1 การ์ดควบคุมการแสดงผลจอภาพ	30
   2.2 การ์ดควบคุมการแสดงผลทางเสียง	10
   2.3 ลำโพง	10

3. อุปกรณ์รับข้อมูล

   3.1 แป้นพิมพ์	<1
   3.2 เม้าส์ 	<1

4. อุปกรณ์อ่านข้อมูล

   4.1 เครื่องอ่าน/เขียน CD	20
   4.2 ฮาร์ดดิสก์	5

5. ส่วนประมวลผล

   5.1 ซีพียู	80
   5.2 พัดลมระบายความร้อน	<5

6. อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร

  6.1 โมเด็ม 	5
  6.2 การ์ดเครือข่าย	<1

7. บอร์ดหลัก

  7.1 แผงวงจรหลัก	20
  7.2 หน่วยความจำหลัก	6

8. ตัวจ่ายกำลังไฟฟ้าหรือเพาเวอร์ซัพพลาย 60 9. อุปกรณ์อื่น ๆ 5

จากเอกสารที่กล่าวมาสรุปได้ว่า การดำเนินการกรีนไอทีเป็นการบริหารจัดการการใช้ไอทีและทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้วัสดุภัณฑ์ที่เป็นอันตราย ประหยัดพลังงานตลอดวงจรชีพ โดยการลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการสร้างขยะ รวมถึงการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มารีไซเคิลใหม่ กรอบการดำเนินงานกรีนไอทีประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ Green Disposal เป็นหลักการในการนำคอมพิวเตอร์เก่ามาใช้งานใหม่ และทำการรีไซเคิ้ล (Recycle) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ต้องการอย่างเหมาะสม Green Design เป็นหลักการในการออกแบบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์แม่ข่ายและอุปกรณ์ทำความเย็นโดยประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม Green Manufacturing เป็นหลักการในการประดิษฐ์และสร้างอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์และระบบย่อยอื่นๆที่มีส่วนเชื่อมโยงกันโดยมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย และ Green Use เป็นหลักการในการใช้ไอทีโดยมีเป้าหมายเพื่อลดการใช้พลังงาน ในขณะเดียวกันในการดำเนินงานกรีนไอที ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านทัศนคติ (Attitude) 2) ด้านนโยบายขององค์กร (Policy) 3) ด้านแนวปฏิบัติ (Practice) 4) ด้านเทคโนโลยี (Technology) และ 5) การวัด (Metrics) การนำแนวคิดหรือแนวทางปฏิบัติของกรีนไอทีมาใช้ในองค์กร ได้แก่ การปฏิบัติตามแนวทางขององค์กรที่ประสบความสำเร็จด้านกรีนไอที โดยที่การนำแนวทางปฏิบัตินั้นมาปรับให้เหมาะกับเป้าหมาย และนโยบายขององค์กร ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถนำไปใช้ในการทำกรีนไอที โดยมีหลายประเภท ได้แก่ ซอฟท์แวร์ช่วยประหยัดพลังงาน ซอฟท์แวร์สำหรับบริการ การประมวลผลแบบคลาวด์ ธิน ไคลแอนต์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการทำงานของระบบการบริการแบบเทอร์มินอล เบลดเซิร์ฟเวอร์ เทคโนโลยีเสมือนหรือเวอร์ซวล นอกจากนี้ได้มีการพัฒนามาตรฐานในการปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มาตรฐาน Energy Star มาตรฐาน TCO มาตรฐาน RoHS มาตรฐาน EPEAT และมาตรฐาน 80 Plus


แนวคิด ทฤษฎี ที่ 5 ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง[แก้]

ผลงานวิจัยที่เกียวข้อง

สมิทธ์ ธรรมบํารุง (บทคัดย่อ : 2552)(http://www.bc.msu.ac.th/project_file/chapter%202(2).pdf) ได้ทําวิทยานิพนธ์เรื่อง การพัฒนาเฟรมเวิร์ค ระบบคลาวด์ส่วนบุคคลสําหรับอุปกรณ์เคลื่อนย้ายได้ โดยงานวิจัยนี้ทําการนําเสนอเฟรมเวิร์คระบบ แฟ้มคลาวด์ส่วนบุคคล โดยคุณลักษณะเด่นของเฟรมเวิร์คระบบแฟ้มคลาวด์ส่วนบุคคลอยู่ที่การ นําเสนอแฟ้มข้อมูล (file) ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกัน แต่ต่างโฟลเดอร์ (folder) หรือแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในต่างเครื่อง ในลักษณะที่ผู้ใช้งานนั้นจะเห็นเสมือนกับ ว่าแฟ้มข้อมูลเหล่านี้นั้นอยู่รวมกันในเมาท์พอยต์ (mount point) ของเฟรมเวิร์คระบบแฟ้มคลาวด์ ส่วนบุคคลโดยเฟรมเวิร์คระบบแฟ้มคลาวด์ส่วนบุคคลได้มีการใช้เทคนิกของระบบแฟ้มข้อมูลรวม (unification file system) เพื่อที่จะทําการรวมแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในต่างโฟลเดอร์เข้าด้วยกันนอกจากนี้ เฟรมเวิร์คระบบแฟ้มคลาวด์ส่วนบุคคลถูกออกแบบมาให้สนับสนุนการทํางานแบบนอกสาย (disconnected operation) โดยระบบจะทําการแคช (cache) ไฟล์มาเก็บไว้เพื่อใช้งานในช่วงที่ เครือข่าย (network) ใช้งานไม่ได้โดยอัตโนมัติสถาปัตยกรรมของเฟรมเวิร์คระบบแฟ้มคลาวด์ส่วน บุคคลมีลักษณะเป็นแบบมอดูลาร์ (modular) สามารถที่จะปรับเปลี่ยนการทํางานและเพิ่ม ความสามารถให้กับระบบได้ผ่านทาง IO Module นอกจากนี้เฟรมเวิร์คระบบแฟ้มคลาวด์ส่วนบุคคล ยังได้ทําการเพิ่มกลไกที่มีชื่อว่า Branch Tag ซึ่งเป็นกลไกที่ทําให้ผู้ใช้งานนั้นสามารถที่จะระบุ แฟ้มข้อมูลและโฟลเดอร์ที่ต้องการที่จะใช้งานได้โดยตรงผู้ใช้งานยังสามารถที่จะใช้ Branch Tag เพื่อ แสดงแฟ้มข้อมูลที่ถูกระบบซ่อนระหว่างขั้นตอนการรวมโฟลเดอร์ได้อีกด้วยระบบต้นแบบ (prototype) ของเฟรมเวิร์คระบบแฟ้มคลาวด์ส่วนบุคคลที่มีชื่อว่า Simple Protocol Agnostic File System 2 (SPAFS2) ได้ถูกพัฒนาขึ้นบนระบบปฎิบัติการลินุกซ์ (Linux) ผลจากการทดสอบการ ทํางานของระบบต้นแบบชี้ให้เห็นว่าระบบต้นแบบของเฟรมเวิร์คระบบแฟ้มคลาวด์ส่วนบุคคลนั้นมี ประสิทธิภาพในการทํางานเที่ยบเท่าและในบางกรณีก็สูงกว่าระบบแฟ้ม (file system) อื่นๆ ที่มี คุณสมบัติและความซับซ้อนน้อยกว่าระบบต้นแบบของเฟรมเวิร์คระบบแฟ้มคลาวด์ส่วนบุคคล

วีเอ็มแวร์ (http://www.vmware.com)(ผลการวิจัย: 2554)ได้วิจัยเรื่ององค์กรไทยปรับใช้ ไฮบริดคลาวด์ผู้ให้บริการเวอร์ช่วลไลเซชั่นและคลาวด์โซลูชั่นเผยข้อมูลผลการวิจัยดัชนีชี้วัดพัฒนาการ ของการใช้งานคลาวด์ในทวีปเอเชียแปซิฟิกประจําปี 2554 ( Cloud Computing in Asia Pacific: The Annual Cloud Maturity Index ) ที่ระบุว่าองค์กรธุรกิจในประเทศไทย สนใจปรับใช้คลาวด์ใน องค์กรเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากช่วยประหยัดต้นทุนการบริหารจัดการ ทั้งยังแสดงความสนใจในการ ประยุกต์ใช้คลาวด์แบบผสมผสาน (Hybrid Cloud ) เนื่องจากยังมีความกังวลด้านความปลอดภัยของ ข้อมูล

ฟอร์เรสเตอร์ คอนซัลติ้ง (http://windowsitpro.in.th/?p=1447)ผู้ทําวิจัยในนามของวีเอ็มแวร์ ชี้แจงว่ากว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของ องค์กรในเมืองไทยเชื่อว่าคลาวด์คอมพิวติ้งนั้นจําเป็นที่จะต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับบริษัทของตนอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยมีองค์กร 32 เปอร์เซ็นต์ระบุว่ากําลังดําเนินโครงการคลาวด์อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเผยว่า 40 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรกําลังวางแผนอย่างจริงจังสําหรับการดําเนินโครงการ คลาวด์ ถือเป็นหนึ่งในอัตราที่สูงที่สุดจาก ประเทศในเอเชีย แปซิฟิกทั้งหมดที่ทําการศึกษาทั้งนี้ บริษัท ส่วนใหญ่ในเมืองไทยกว่า 39 เปอร์เซ็นต์ระบุถึงแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นสําหรับการนําเอาระบบคลาวด์แบบ Private Cloud และ Public Cloud มาใช้งานร่วมกันในลักษณะของ 'Hybrid Cloud' ซึ่งจะช่วยลด ความเสี่ยงในเรื่องของการเก็บรักษาความปลอดภัยข้อมูลรวมถึงเพิ่มความสามารถในการควบคุม แอพพลิเคชั่นที่ใช้งานภายในองค์กรได้มากกว่าเลือกใช้ระบบใดระบบหนึ่ง

คุณารักษ์ โอสถาภิรัตน์(บทคัดย่อ : 2553)(http://thesis.grad.chula.ac.th/current.php?mode=show&id=5270736321)(http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Kanchana_Kunarak_Doctor/fulltext.pdf) ได้วิจัยเรื่องระบบแนะนําโดยใช้แท็กคลาวด์ เสมือน โดยผู้ใช้งานในสังคมออนไลน์ใช้โซเชียลแท็กกิ้งสําหรับกํากับแหล่งข้อมูลด้วยคําอิสระใน รูปแบบของเมทาดาตา ซึ่งอธิบายลักษณะหรือความสนใจของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ตาม ระบบแนะนํา ส่วนใหญ่ในปัจจุบันได้ใช้พฤติกรรมการแท็กของผู้ใช้งานเพื่อทําการแนะนําเนื้อหาโดยมุ่งเน้นที่แท็กที่ ผู้ใช้งานระบุซึ่งเป็นความสนใจทางตรงของผู้ใช้งานเท่านั้น งานวิจัยนี้ได้นําเสนอแนวทางในการดักจับ ความสนใจทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยใช้แท็กคลาวด์เสมือนหรือวีทีซีสําหรับระบบแนะนําอิงการติด แท็ก การสร้างแท็กคลาวด์เสมือนและแบบจําลองการแนะนําแหล่งข้อมูลโดยการวิเคราะห์จากแท็ก คลาวด์เสมือนได้ถูกอธิบายไว้ในงานนี้ ประสิทธิผลของวิธีการที่นําเสนอถูกประเมินด้วยค่าตัววัดเอฟ

คําพูนแสนโคตร(บทคัดย่อ : 2553)(http://www.bc.msu.ac.th/project_file/chapter%202(2).pdf) ได้ทําการวิจัยเรื่องเทคนิคการจัดการทรัพยากร ร่วมกันสําหรับการทํางานข้ามคลาวด์ (Cross Cloud Federation Model หรือ CCFM) เปิดโอกาส ให้มีการแลกเปลี่ยนการใช้บริการทรัพยากรของผู้ให้บริกาคลาวด์เพื่อแชร์ทรัพยากรร่วมกันอย่างไรก็ ตามการสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการยังมีประเด็นทางด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยงาน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นําเสนอเทคนิคการแลกเปลี่ยนและจัดสรรการใช้งานทรัพยากรของผู้ให้บริการ คลาวด์ที่เหมาะสมเน้นทางด้านคุณสมบัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่จําเป็นในการร้องขอใช้ ทรัพยากรตามสิทธิ์ที่ต้องการใช้และทรัพยากรที่ต้องเข้าถึงเท่านั้นผลที่ได้จากการทําวิทยานิพนธ์ทําให้ เกิดความคุ้มค่ามากที่สุดในการร้องขอใช้ทรัพยากรร่วมกันและการรักษาความความมั่นคงปลอดภัย ด้วยการพิสูจน์ตัวจริงของผู้ใช้บริการโดยมีการลงนามรับรองการร้องขอของบุคคลที่เชื่อถือตรงกันก่อน เข้าใช้ทรัพยากรร่วมกันและลดขั้นตอนการร้องขอใช้ทรัพยากรในการทํางานให้น้อยลง

Youry Khmelevsky และ Volodymyr Voytenko (2010)(http://dl.acm.org/citation.cfm?id=1806524) นําเสนอต้นแบบโครงสร้างพื5นฐานของ Cloud computing สําหรับรองรับการศึกษาและการวิจัยในมหาวิทยาลัย การ จัดทําระบบใช้ซอฟต์แวร์ VMware เซิร์ฟเวอร์ และ ESX เซิร์ฟเวอร์ โดยอยูในขั ่ 5นตอนของการทดลอง Bo Dong et al. (2009) นําเสนอระบบนิเวศอีเลิร์นนิงที& ทํางานบน Cloud computing โดยมีสถาปั ตยกรรม ซอฟต์แวร์ชั5นโครงสร้างพื5นฐาน และ ชั5นโปรแกรม ประยุกต์

อ้างอิงแหล่งที่มา[แก้]

[1] [2] [3] [4] [5] [6]

  1. (http://www.bc.msu.ac.th/project_file/chapter%202(2).pdf)
  2. (http://thesis.grad.chula.ac.th/current.php?mode=show&id=5270736321)
  3. (http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Kanchana_Kunarak_Doctor/fulltext.pdf)
  4. (http://windowsitpro.in.th/?p=1447)
  5. (http://www.bc.msu.ac.th/project_file/chapter%202(2).pdf)
  6. (http://dl.acm.org/citation.cfm?id=1806524)