ผู้ใช้:Pintip/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิณทิพย์ ที่รัก
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดพิณทิพย์ ที่รัก
เกิด07 มีนาคม พ.ศ. 2536 (31 ปี)
ที่เกิดประเทศไทย [[[บุรีรัมย์]] ประเทศไทย

ประวัติส่วนตัว[แก้]

ชื่อ นางสาวพิณทิพย์ ที่รัก ชื่อเล่น ทิพย์ วันเกิด 7 เดือนมีนาคม 2536 อายุ 22 ปี

ภูมิลำเนา หมู่ 7 ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 31190

ประวัติการศึกษา – ปัจจุบัน[แก้]

ระดับชั้น สถานศึกษา
อนุบาลและประถมศึกษา โรงเรียนบ้านสระบัว
มัธยมศึกษา โรงเรียนพระครูพิทยาคม
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ศูนย์กลางนครราชสีมา

คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชา ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์

ตำแหน่งงานด้านไอทีที่สนใจ [แก้]


นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)


เหตุผลเพราะ ชอบงานในด้านการวิเคราะห์ระบบ และออกแบบเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นหรือระบบงานต่าง ๆ ทางด้านสารสนเทศ

บทความด้าน IT[แก้]


เคล็ดไม่ลับเพิ่มประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์[แก้]

วิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ของคุณ เคล็ดลับในการเร่งความเร็วคอมพิวเตอร์ของคุณ การทำงานกับคอมพิวเตอร์ช้า ๆ อืด ๆ คงเป็นสิ่งที่น่ารำคาญใจของเรา ๆ ในเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ซึ่งก็เคยทำงานได้ดี แต่เมื่อเวลาผ่านไป แต่ประสิทธิภาพการทำงานเริ่มเลวร้ายลง ซึ่งมันเกิดขึ้นจากสาเหตุ หลายประการ แต่สาเหตุที่ใหญ่ที่สุดจะเกิดจาก พวกโปรแกรมสปายแวร์ แอดแวร์ และ ภัยคุกคามด้านคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่ถูกดาวน์โหลดและติดตั้งโดยที่เราไม่รู้ตัว ในขณะที่ออนไลน์ เช่นจากการดาวน์โหลด MP3, ภาพยนตร์ หรือรายการอื่น ๆ จึงขอแนะนำ 5 เทคนิคการทำให้มันกลับมาทำงานได้ดี หรือดีกว่าเดิม

  1. 1 : ทำความสะอาด Registry ของคุณ

ข้อผิดพลาดและปัญหาภายในของรีจิสทรี เป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้เครื่องช้าสุด ๆ เดาได้เลยว่าพวกโปรแกรมสปายแวร์แอดแวร์และภัยคุกคามอื่น ๆ มักจะกำหนดเป้าหมายที่รีจิสทรี ควรทำความสะอาดรีจิสทรีบ่อย ๆ แต่ไม่ควรที่จะทำได้ด้วยตนเอง เพราะมีโอกาสสูงที่จะทกให้สร้างความเสียหายต่อระบบปฏิบัติการของเครื่องพีซี สิ่งที่แนะนำคือหาพวกโปรแกรม Windows registry cleanup ให้มันจัดการทำความสะอาดให้เราโปรแกรมแนวนี้ก็มีเยอะมาก และก็ทำงานแบบเดียวกัน ถ้ายังไงบทความต่อ ๆ ไปจะหามาฝากกัน หรือใครที่ลงโปรแกรม USB Security Disk มันจะมีออฟชั่้นนี้อยู๋แล้ว

  1. 2 : ลบไฟล์ที่ไม่จำเป็น

ทุกครั้งที่คุณเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตหรือใช้คอมพิวเตอร์ของคุณ ไฟล์ชั่วคราวจะถูกสร้างขึ้น พวกเขามักจะใช้เพียงครั้งเดียว แต่อย่างไรก็ตามไฟล์พวกนี้ไม่ได้ลบออกไปเวลาเลิกใช้งาน แต่จะสะสมไปเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ ก็จะมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน ในขณะที่การจะทำการลบไฟล์เหล่านี้ง่ายมาก ซึ่งควรที่จะทำเช่นนั้นประมาณหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ของคุณทำงานได้ดีขึ้น การลบไฟล์ขยะ พวกนี้ก็เคยนำการลงไว้แล้วเ่ช่นกันครับ ลองหาดูในเว็บเราได้เลย สำหรับคนที่ยังไม่รู้

  1. 3 : เอาโปรแกรมที่ไม่จำเป็น

คุณอาจจะดาวน์โหลดและลองใช้โปรแกรมที่แตกต่างกันในแต่ละเดือน แต่จริง ๆ แล้วได้ใช้เป็นประจำหรือไม่ การถอนการติดตั้งโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้และไม่จำเป็นออก จะทำให้จัดการระบบแฟ้มของคอมพิวเตอร์ ให้ดีขึ้นไม่กระจัดกระจาย ทำให้ลดเวลาในการหาข้อมูล เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะดีขึ้นอย่างมาก มันทำได้ง่ายด้วย โดยใช้ Add / Remove Programs ของ Control Panel การทำก็หาในเว็บได้เลยครับ

  1. 4 : ลบ ไฟล์ขยะใน Recycle Bin

เมื่อ "ลบ" แฟ้มหรือโปรแกรมมันไม่ได้หายไปเล่ย แต่จะตั้งอยู่ใน Recycle Bin ซึ่งความรกของมันอาจทำให้ครื่องคอมพิวเตอร์ของสามารถเริ่มต้นการแสดงปัญหาที่น่ารำคาญได้มากมาย ดังนั้นควรทำให้เป็นนิสัยโดยการลบประมาณหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ มันดูง่าย ๆ แต่ที่สำคัญสามารถสร้างความแตกต่าง ได้มากมาย ซึ่งผมก็ทำทุกวัน

  1. 5 : ดำเนินการจัดระเบียบดิสก์

Windows ไม่ได้ฉลาดมากนักในการจัดเก็บไฟล์ มันจะจัดเก็บไฟล์ลงบนช่องว่างที่มีอยู่ โดยอาจเว้นระยะห่างกันมากในแต่ละชิ้นส่วนของไฟล์ เมื่อเรียกไฟล์มาทำงาน ถ้าเป็นไฟล์ขนาดใหญ่คงใช้เวลานาน หน่อย กว่ามันจะเรียกมาได้ การทำ Disk Defragmentation เป็นทางออกเพื่อจัดเรียงไฟล์ให้เรียบร้อย ทำสัก สี่เดือนครั้ง ก็จะเห็นความแต่งต่าง ได้ชัดเจนมาก การบำรุงรักษาเล็ก ๆ แต่มันเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ ซึ่งผมเองก็ทำอยู่ บางครั้ง บางคนถามว่าจะทำไปทำไม ไม่เห็นมีข้อแตกต่างอะไรเลย แต่คำตอบรออยู่อีก ห้าเดือนข้างหน้าตอนที่คนถามลงวินโดวส์ใหม่ แต่ของเรายังไวเท่าเดิม ลองไปศึกษาทำดูครับ

ข้อควรระวังการใช้ Copy+Paste[แก้]

บางท่านที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านเว็บบราวเซอร์ของ IE อาจไม่รุ้ถึงอันตรายจากการใช้ Copy+Paste ดังนั้นเรามาระวังไว้ไม่เสียหลายนะคะ ท่านทั้งหลายส่วนมากคงเคยชิดกับการใช้คีย์ลัดบนแป้นคีย์บอร์ดของเราเป็นส่วนหนึ่งที่ ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการทำงานต่างๆของเราได้มาก แต่ในบางกรณี ความสะดวกสบายเหล่านี้กลับต้องแลกมาด้วยความไม่ปลอดภัยมาด้วยนะคะ ขอแนะนำว่า อย่าใช้การ Copy & Paste กับข้อมูลที่มีความสำคัญ เช่น หมายเลขบัตรเครดิต รหัสผ่านต่าง ๆ etc. เพราะการใช้ Ctrl+C หรือ Copy จะมีการเก็บค่าไว้ใน Clipboard ของ Windows ซึ่งสามารถถูกอ่านผ่าน Web site ได้ด้วย Javascript + ASP ซึ่งโค๊ดพวกนี้มีแจกกันให้เกลือนพูดง่าย ๆ คือ ไม่ต้องมีความรู้ด้านโปรแกรม ก็เอาข้อมูลเราไปได้แล้วแค่รู้ขั้นตอนการใช้งานก็พอ ซึ่งนี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่โดนแฮ็คข้อมูลต่าง กัน ไป ลอง copy text อะไรก็ได้บนเครื่องแล้วเปิด URL ต่อไปนี้ดู http://www.friendlycanadian.com/applications/clipboard.htm หากเว็บนี้แสดงข้อความบนคลิปบอร์ดที่เราก๊อปปี้ไว้ แสดงว่าคุณยังไม่ได้ป้องกัน มันเป็นสคริปทดสอบ

มาดุวิธีการป้องกันค่ะ 1. เปิด Internet Explorer ขึ้นมา, ไปยังเมนู Tools -> Internet Options -> Security 2. Click ที่ปุ่ม Custom Level 3. เปิดไปที่ Tab ที่ชื่อว่า security แล้วตั้งค่าโดยกดปุ่ม Custom Level. แล้วหาคำว่า Allow Paste Operations via Script จากนั้นเลือกที่ Disable เพื่อป้องกันการถูกล้วงข้อมูลจากคลิปบอร์ดของท่าน

      • หมายเหตุ โปรแกรมเปิดเว็บนั้ FireFox และ Opera , Google Chrome ไม่พบปัญหาดังกล่าวแต่ก็อาจโดนได้นะครับนะครับ แต่ IE โดนแน่ ๆ ป้องกันไว้ดีมาแก้ทีหลังนะครับ เจอข้อมูลดี ๆ เลยเอามาฝากกันค่ะ

LAN Technology[แก้]

โครงสร้างของเครือข่ายหรือภาษาทางเทคนิคเรียกว่า “Topology” คือลักษณะการเชื่อต่อทางกายภาพระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย ซึ่งหากจะแบ่งประเภทของโครงสร้างเครือข่ายกันจริง ๆ ตามหลักวิชาการที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยก่อน ๆ นั้น ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 แบบคือ

เครือข่ายคอมแบบดาว(Star Network)[แก้]





ลักษณะการเชื่อมต่อของโครงสร้างแบบสตาร์จะคล้าย ๆ กับดาวกระจาย ดังรูปที่ได้แสดงไว้ คือมีอุปกรณ์ประเภท Hub หรือ Switch เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อแบบนี้มีประโยชน์คือ เวลาที่มีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลต่อการทำงานของระบบโดยรวมแต่อย่างใด นอกจากนี้หากต้องการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่ายก็สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องหยุดการทำงานของเครือข่ายก่อน การต่อแบบสตาร์นี้เป็นแบบที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากราคาอุปกรณ์ที่มาใช้เป็นศูนย์กลางอย่าง Hub หรือ Switch ลดลงมากในขณะที่ประสิทธิภาพหรือความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันได้ความเร็วถึงระดับของกิกาบิต ( 1,000 Mbps) แล้ว ข้อดี ติดตั้งและดูแลง่าย แม้ว่าสายที่เชื่อมต่อไปยังบางโหลดจะขาด โหลดที่เหลืออยู่ก็ยังจะสามารถทำงานได้ ทำให้ระบบเน็ตเวิร์กยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติ การมี Central node อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมระบบ ถ้าระบบเกิดทำงานบกพร่องเสียหาย ทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าจะไปแก้ปัญหาที่ใด

ข้อเสีย เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น central node และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในสถานีงาน การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้งจะต้องเกี่ยวเนื่องกับโหลดอื่นๆ ทั้งระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง แบบวงแหวน (Ring Network)

เครือข่ายแบบบัส (bus topology)[แก้]





เครือข่ายแบบบัส (bus topology) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัปเครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มี ข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา ข้อจำกัด คือ จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของสัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้

เครือข่ายแบบวงแหวน (ring topology)[แก้]





โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว(Star Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน ข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย ข้อจำกัด ถ้าฮับเสียหายจะทำให้ทั้งระบบต้องหยุดซะงัก และมีความสิ้นเปลืองสายสัญญาณมากกว่าแบบอื่นๆ ข้อดี ใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน ข้อเสีย หากโหลดใดโหลดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก

เครือข่ายแบบเมซ (Mesh Topology)[แก้]





MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก ข้อดี อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล ความเชื่อถือได้ของระบบ ง่ายต่อการตรวจสอบความผิดพลาด ข้อมูลมีความปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัว

ข้อเสีย จำนวนจุดที่ต้องใช้ในการเชื่อมต่อ และจำนวน Port I/O ของแต่ละโหนดมีจำนวนมาก (ตามสูตรข้างต้น) ถ้าในกรณีที่จำนวนโหนดมาก เช่นถ้าจำนวนโหนดทั้งหมดในเครือข่ายมีอยู่ 100 โหนด จะต้องมีจำนวนจุดเชื่อมต่อถึง 4,950 เส้น เป็นต้น3

WAN Technology[แก้]

Circuit switching เทคนิคในการสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เมื่อมีการเชื่อมต่อกันแล้วจะติดต่อกันได้ตลอดเวลา ผู้อื่นจะแทรกเข้ามาไม่ได้เลย จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปลดวงจรออก ตัวอย่างง่าย ๆ เช่นการติดต่อทางสายโทรศัพท์ เมื่อเริ่มพูดกันได้แล้ว คนอื่นจะต่อสายแทรกเข้ามาไม่ได้ จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะวางหูลง (ปลดวงจร)

Packet switching เทคนิคในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม (Packet) แต่ละกลุ่มจะมีความยาวเท่ากัน (ปกติ 100บิต)ข้อมูลจะหาทิศทางเดินไปได้เอง โดยที่สายหนึ่ง ๆ จะสามารถใช้กันได้หลายคน เมื่อถึงที่ปลายทางข้อมูลก็จะกลับ ไปรวมกันเอง

หลักการทำงาน

Circuit switching

ไฟล์:=283535ffgg.png

1) เมื่อสถานีA ต้องการส่งข้อมูลให้กับ สถานีB จะต้องมีการสร้างเส้นทางเสียก่อน

   โดยที่ฝั่งที่รับข้อมูลจะต้องตอบว่าพร้อมรับข่าวสาร (Establishment/ Connection)     

2) เมื่อสร้างเส้นทางการส่งข้อมูลเรียบร้อย ตลอดเวลาของการสื่อสารจะใช้เส้นทางเดิมตลอด

    และไม่มีบุคคลอื่นมาใช้เส้นทาง  

3) มีอัตราความเร็วในการส่งเท่ากันทั้งด้านรับและด้านส่ง 4) มีการทำ Error Control และ Flow Control ทุกๆ ชุมสาย 5) ในขณะทำการส่งข้อมูล ข้อมูลจะถูกส่งด้วยความเร็วคงที่ และไม่มีการหน่วงเวลา(Delay) 6) เมื่อส่งข้อมูลเสร็จจะยกเลิกเส้นทางที่ได้เชื่อมต่อขึ้นมาเพื่อให้เครื่องอื่นได้ใช้เส้นทางได้

Packet switching

ไฟล์:=Packetdvn.JPG

1) เมื่อ สถานี A ต้องการส่งข้อมูลให้กับสถานีB จะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็น Packet ย่อยก่อนจะถูก ส่งออกไป 2) ส่งข้อมูลโดยใช้ชุมสาย PSE (Packet switching exchange) ควบคุมการรับส่ง 3) ทำ Error control หรือ Flow Control ที่ PSE 4) ด้านรับและด้านส่งมีอัตราความเร็วที่ไม่เท่ากันได้ 5) ใช้เทคนิค Store - and - Forward ในการส่งข้อมูล ผ่าน PSE

    ลักษณะการเชื่อมต่อ 

Circuit switching เชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรระหว่างจุดต่อจุด (point-to-point) Packet switching ส่งแต่ละแพกเกตด้วยเส้นทางต่างๆที่เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย และทำการรวมแต่ละแพคเกตกลับคืนเมื่อถึงจุดหมายแล้ว

OSI model + TCP/IP model[แก้]

TCP/IP model OSI model
Application Layer Application Layer
- Presentation Layer
- Session Layer
Transport Layer Transport Layer
Internet Layer Network Layer
Network Access Layer Data Link Layer
- Physical Layer

OSI Model[แก้]

คือ องค์ประกอบ ที่สามารถพัฒนาขึ้นมาเพียงชั้นเดียวจากจำนวน 7 ชั้นแล้วนำไปใช้งานร่วมกับชั้นอื่นที่มีการพัฒนาไว้แล้วโดยหลักการแต่ละชั้นจะติดต่อกับชั้น
ในระดับเดียวกันที่อยู่บนเครื่องอีกเครื่องหนึ่ง

Open Systems Interconnection (OSI)
จัดตั้งและกำหนดโดย องค์การกำหนดมาตรฐานสากล หรือ ISO ( International Standards Organization ) เริ่มนำมาใช้งานราว ๆ กลางปี ค.ศ. 1970 และใช้อ้างอิงมาจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมาย
เพื่อเปิดช่องทางให้ข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ รับส่งไปยังคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบเดียวกันหรือต่างระบบได้โดยอิสระ ไม่ขึ้นกับผู้ผลิตสร้างการทำงานที่เป็นระบบเปิด (Open System)

แนวคิดของการกำหนดมาตรฐานเป็นแบบชั้นสื่อสาร (layers) คือ
1.ชั้นสื่อสารแต่ละชั้นถูกกำหนดขึ้นมาตามบทบาที่แตกต่างกัน
2.แต่ละชั้นสื่อสารจะต้องทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างดียิ่ง
3.แต่ละฟังก์ชั่นในชั้นสื่อสารใดๆจะต้องกำหนดขึ้นมาโดยใช้แนวความคิดใน ระดับสากลเป็นวัตถุประสงค์หลัก

TCP/IP[แก้]

TCP/IP Model มีแนวคิดพื้นฐานแตกต่างจาก OSI Model คือไม่ได้มีพื้นฐานของการสื่อสารแบบการสนทนา TCP/IP Model เป็นภาพแสดงถึงโลกของระบบเครื่อข่ายสากล (Internetworking)
จะพบว่ามีบางเลเยอร์ที่มีการกำหนดคุณสมบัติที่เทียบได้ไกล้เคียงกัน แต่บางเลเยอร์ก็ไม่สามารถเทียบหาความสัมพันธ์กัน

1. Process Layer จะเป็น Application Protocal ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ
2. Host – to – Host Layer จะเป็น TCP ที่ทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 4 ของ OSI Model คือควบคุมการรับส่งข้อมูลจากปลายด้านส่งถึงปลายทางด้านรับข้อมูล
3. Internetwork Layer ได้แก่ส่วนของโปรโตคอล IP ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 3 ของ OSI Model คือเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายที่อยู่ชั้นล่างลงไป
4. Network Interface เป็นส่วนที่ควบคุมฮาร์ดแวร์การรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย เปรียบได้กับชั้นที่ 1 และ2 ของ OSI Model

อ้างอิง[แก้]

http://www.superict.com/component/viewall_section.php?section_id=1 http://nooplemonic.exteen.com/20090706/circuit-switching-packet-switching