ผู้ใช้:Piacere/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


John Cage
John Cage


จอห์น เคจ (อังกฤษ: John Cage) เกิดที่เมืองลอส แองเจลิส (อังกฤษ: Los Angeles) ในปี พ.ศ. 2455 และสิ้นอายุลงที่ 80 ปี พ.ศ. 2535 ที่เมืองนิวยอร์ก (อังกฤษ: New York) เขาเป็นบุคคลหนึ่งที่ริเริ่มการทำดนตรีแนวทดลอง (เริ่มมีการทำการทดลองกันในช่วงปี พ.ศ. 2493 - พ.ศ. 2503) เขาทดลองที่จะแตกต่างจากขนบประเพณีนิยมที่มีในการประพันธ์เพลง
การประพันธ์เพลงของเขาเริ่มด้วยแรงบันดาลใจที่เกิดจากความสนใจดนตรีในวัยเยาว์ มาสู่การเริ่มเรียนรู้การประพันธ์ดนตรีอย่างจริงจัง จนช่วงหนึ่งก็มาสู่ความหักเหของชีวิตที่เขาเกิดความไม่เข้าใจว่าทำไมจะต้องประพันธ์เพลงตามอย่างประเพณีนิยมเท่านั้น จึงทำให้การประพันธ์ดนตรีของเขามาสู่การทดลองเพื่อหาทางออก และในที่สุดแล้วจึงเกิดเป็นผลงานการทดลองที่ทำให้หลายๆ คนต้องจดจำชื่อของเค้าในฐานะนักประดิษฐ์ทางดนตรี

Arnold Schoenberg : ไม่มีนักเรียนชาวอเมริกันคนใดที่จะทำให้ฉันรู้สึกสนใจได้นอกจาก จอห์น เคจ เป็นเรื่องที่แน่นอนว่า จอห์น เคจ ไม่ใช่นักประพันธ์ดนตรี แต่เขาเป็นนักประดิษฐ์ที่เป็นอัจฉริยะ [1]



จุดเริ่มต้นของการประพันธ์ดนตรีและการทำดนตรีแนวทดลอง[แก้]

ผู้ที่ทำให้เขาสนใจในเรื่องดนตรีคนแรกคือป้าของเขา 'Phobe Harvey James' เขาได้เริ่มเรียนการเล่นเปียโนครั้งแรกเมื่อเค้าศึกษาอยู่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในตอนนั้นถึงแม้ว่าเขาจะมีความสนใจในดนตรีเป็นอย่างมาก แต่สิ่งที่เขาสนใจจะศึกษานั้นก็เป็นการอ่านมากกว่าการจะฝึกฝนการเล่นดรตรีให้ชำนาญ [2] ในตอนศึกษาระดับมัธยมปลายเขาได้ชนะการแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ในเรื่อง 'A Day of Quiet for all Americans.' โดยสิ่งที่เขาได้เสนอคือ "ให้อยู่โดยการจุ๊ปาก และไม่ส่งเสียง โดยที่เขาให้เหตุผลว่า "เราควรที่จะได้มีโอกาสฟังเสียงที่เป็นความคิดของผู้อื่นบ้าง" [3] จากวลีนี้ทำให้หลายๆ คนสันนิษฐานว่าอาจเป็นแรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลง 4'33" ในอีกกว่า 30 ปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2471 เขาได้เข้ารับการศึกษาที่ Ponoma College ใน Claremont ในสาขาศาสนศาสตร์ (Theology) แต่ก็หยุดการเรียนลงในเวลา 3 ปีต่อมา ด้วยเหตุผลที่ว่าสิ่งที่เรียนอยู่นั้นไม่ได้เป็นประโยชน์ต่องานเขียนของเขา


หลังจากออกจากการศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้วเขาจึงตัดสินใจออกเดินทางท่องเที่ยวในยุโรปเพื่อเก็บเกี่ยวสิ่งต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่องานเขียนของเขา [4] เขาได้เดินทางออกไปหลายพื้นที่ทั้งฝรั่งเศส เยอรมัน และ สเปน โดยเมืองที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ Majorca ซึ่งเป็นที่แรกในการเริ่มประพันธ์ทางดนตรีของเขา

ในขณะที่ยังอยู่ในยุโรปนั้นเขาได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของภาพยนตร์ ซึ่งทำให้เขาเกิดเป็นแนวความคิดหนึ่งขึ้นมาว่า "การที่สร้างความสุขให้คนดูโดยการสร้างภาพที่เร้าใจ และเสียงที่ไพเราะควบคู่กันไปนั้น เป็นการสร้างความสุขที่ทวีคูณ" [5]


ในปี พ.ศ. 2474 เขาได้เดินทางกลับสู่อเมริกาและใช้ชีวิตอยู่ใน Santa Monica รัฐแคลิฟอร์เนีย (California) เขาจัดบรรยายเกี่ยวกับศิลปะร่วมสมัย (Contemporary Art) จึงส่งผลให้เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะของแคลิฟอร์เนียเป็นอย่างมาก และได้รู้จักนักเปียโนอย่าง Richard Buhig [6]) ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 เขาจึงได้ตัดสินใจที่จะให้ความสนใจมุ่งมั่นอยู่กับดนตรีมากกว่างานจิตรกรรม โดยเขาได้ให้ความเห็นเอาไว้ว่า "เสียงดนตรีของฉันนั้นดูจะทำให้ผู้ฟังมีความสุขมากกว่างานจิตรกรรมของฉัน"[6] และในปีเดียวกันนั้นเองเขาได้ลองส่งผลงานการประพันธ์เพลงของเขาให้กับให้กับเฮนรี่ คอร์เวล (Henry Corwell) โดยบทเพลงนั้นมีการใช้ระดับเสียงถึง 25 แถว (25-tone row) (คล้ายกับผลงานการประพันธ์ของ Arnold Schoenberg ในผลงาน twelve-tone row[7]) จากการส่งผลงานของเขาไปในครั้งนั้นคอร์เวลล์ได้แนะนำกลับมาว่าเขาควรที่จะเรียนการประพันธ์กับ Schoenberg เนื่องด้วยการมีแนวทางในการประพันธ์ดนตรีที่คล้ายกัน แต่ก่อนหน้านั้นเขาควรที่จะเรียนการประพันธ์เพลงเบื้องต้นเสียก่อน โดยคอร์เวลล์ได้แนะนำลูกศิษฐ์ของ Schoenberg อย่าง Adolph Weiss ให้ด้วย


จากคำแนะนำของคอร์เวลล์เขาจึงเดินทางไปยังเมืองนิวยอร์ก ในปี พ.ศ. 2476 และเริ่มต้นเรียนรู้กับ Adolph Weiss ที่ The New School และยังเรียนรู้จากคอร์เวลล์ไปพร้อมๆ กันด้วย [6] หลายเดือนต่อมาเขาจึงมีความสามารถมากพอที่จะแต่งเพลงได้ในแนวทางอย่าง Schoenberg อย่างไรก็ตามด้วยทุนทรัพย์ที่เขามีในตอนนั้นไม่เพียงพอที่จะจ่ายค่าเล่าเรียนกับ Schoenberg ได้ เมื่อเขาได้เอ่ยปากเรื่องนี้ออกมาก Schoenberg จึงถามเขาว่า "เขาจะอุทิศชีวิตให้กับการประพันธ์ดนตรีหรือไม่" เขาตอบว่า "เขาจะทำเช่นนั้น" Schoenberg จึงรับเขาเข้ามาให้การศึกษาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย


เขาเรียนกับ Schoenberg ที่แคลิฟอร์เนีย และ Schoenberg ได้เป็นผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจในการแต่งเพลงให้กับเขาเป็นอย่างมาก[6] อย่างไรก็ตามเขาได้ให้ความเห็นกับการเรียนครั้งนี้เอาไว้ในการบรรยายของเขาในปี พ.ศ. 2501 ในเรื่อง Indeterminancy เอาไว้ว่า

"...หลังจากที่ฉันได้เรียนกับ Shoenberg เป็นเวลา 2 ปี เขาได้กล่าวกับฉันว่า "ในการที่จะประพันธ์บทเพลงคุณควรที่จะทำให้เกิดความรู้สึกของความกลมกลืน (harmony)" ฉันได้ตอบเขาไปว่า "ฉันไม่มีความรู้สึกนั้น" เขาจึงตอบกลับมาว่า "คุณจะต้องพบกับอุปสรรคอยู่เสมอ เหมือนกับคุณต้องก้าวข้ามผ่านกำแพงที่คุณไม่สามารถผ่านมันไปได้" ฉันจึงตอบกลับไปว่า "ฉันจะอุทิศชีวิตของฉันเพื่อที่จะฝ่าฟันหาหนทางก้าวข้ามกำแพงนั้น"..."[8]


เขาตัดสินใจที่จะเลิกเรียนกับ Shoenberg หลังจากผ่านไป 2 ปี เนื่องจาก Schoenberg กล่าวกับนักเรียนคนอื่นๆ ว่าเขาพยายามที่จะสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ด้วยเหตุนั้นเขาตั้งใจที่จะล้มล้างสิ่งที่ Schoenberg ได้กล่าวไว้ และปฏิญาณตนที่จะตั้งมั่นแต่งเพลงถึงที่สุด [1] อย่างไรก็ตามถึงแม้ Shoenberg จะไม่เคยชื่นชมผลงานการแต่งเพลงของเขาในตลอดช่วง 2 ปีนั้น แต่ Shoenbetg ก็ได้เคยให้ความเห็นในเวลาต่อมาว่า ไม่มีนักเรียนชาวอเมริกันคนใดที่จะทำให้ฉันรู้สึกสนใจได้นอกจาก จอห์น เคจ เป็นเรื่องที่แน่นอนว่า จอห์น เคจ ไม่ใช่นักประพันธ์ดนตรี แต่เขาเป็นนักประดิษฐ์ที่เป็นอัจฉริยะ [1]


ในปี พ.ศ. 2479 - 2481 เขาได้เปลี่ยนงานเป็นจำนวนมาก และหนึ่งในงานนั้นคือการทำงานร่วมกับกลุ่มนักเต้นแบบสมัยใหม่ (Modern Dance) ในตำแหน่งผู้ประพันธ์บทเพลงเต้นรำที่ UCLA เขาได้ผลิตเพลงสำหรับการออกแบบท่าเต้น และครั้งหนึ่งเขาได้สอนเกี่ยวกับ 'การใช้ดนตรีในการคลอประกอบเพื่อการถ่ายทอดอย่างเป็นจังหวะ' ที่ UCLA ร่วมกับคุณป้าของเขา Phobe Harvey James [9] ในช่วงที่เขาทำงานอยู่ที่นี้นั้นเอง การทำดนตรีแนวทดลองครั้งแรกของเขาก็ได้เกิดขึ้น เขาได้ทำการทดลองครั้งแรกของเขากับเครื่องดนตรีนอกรีต อย่างเช่น อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน แผ่นโลหะ และอื่นๆ อีกมากมาย โดยแรงบันดาลใจในการใช้เครื่องดนตรีนอกรีตนี้ ได้มากจาก Oskar Fischinger ที่บอกกับเขาว่า "ทุกอย่างบนโลกใบนี้มีจิตวิญญาณ และสามารถปลดปล่อยออกมาได้จากเสียงของมัน" ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้เห็นด้วยกับเรื่องที่ว่าทุกสิ่งมีจิตวิญญาณแต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นให้เขาได้เริ่มทำการสำรวจการผลิตเสียงออกมาโดยการทดลองตีสิ่งของต่างๆ ที่ไม่ใช่เครื่องดนตรี[1]


ไฟล์:Percussion concert.jpg
Percussion concert


ในปี พ.ศ. 2481 เขาได้จัดตั้งวงเพอร์คัสชั่น (Percussion Essemble) ซึ่งได้ออกแสดงใน West Coast และนำมาซึ่งชื่อเสียงครั้งแรกสำหรับการประพันธ์เพลงของเขา ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 ชื่อเสียงของเขาได้เพิ่มมากขึ้นไปอีกจากที่เค้าได้ทำการประดิษฐ์ Prepared Piano (เปียโนที่ถูกปรับเสียงโดยการนำเอาวัตถุต่างๆ ไปใส่ไว้ข้างใต้หรือระหว่างสตริงเปียโน) ซึ่งแนวความคิดในการทำ Prepared Piano ของเขานั้นเกิดจากการตั้งใจจะทำเวทีการแสดงในห้องที่เล็กเกินไปกว่าจะใส่เครื่องดนตรีวงเพอร์คัสชั่นลงไปทั้งชุดได้


จากที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประพันธ์ดนตรีและการทำดนตรีแนวทดลองของเขา และจากการได้รับแรงบรรดาลใจจากหลายๆ อย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเขาจึงเกิดออกมาเป็นผลงานดนตรีแนวทดลองอย่างหลากหลาย ดังจะกล่าวถึงในส่วนต่อไป



แรงบันดาลใจในการทำดนตรีแนวทดลอง[แก้]


แรงบันดาลใจในการใช้เครื่องดนตรีนอกรีต[แก้]

จากที่กล่าวมาในข้างต้นแล้วว่าแรงบันดาลใจในการใช้เครื่องดนตรีนอกรีตของเขานั้น เกิดมาจากวลีเด็ดของ Oskar Fischinger ที่กล่าวว่า "ทุกอย่างบนโลกใบนี้มีจิตวิญญาณ และสามารถปลดปล่อยออกมาได้จากเสียงของมัน" ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้เห็นด้วยกับเรื่องที่ว่าทุกสิ่งมีจิตวิญญาณแต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นให้เขาได้เริ่มทำการสำรวจการผลิตเสียงออกมาโดยการทดลองตีสิ่งของต่างๆ ที่ไม่ใช่เครื่องดนตรี[1] เขาเริ่มทำการทดลองครั้งแรกของเขากับ อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน แผ่นโลหะ และอื่นๆ อีกมากมาย ตัวอย่างผลงานที่สำคัญเช่น Water Walk


แรงบันดาลใจจากศึกษาดนตรีของประเทศอินเดีย[แก้]

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2489 เขาได้พบกับ Gita Sarabhai นักดนตรีชาวอินเดียที่เดินทางมาอเมริกาเพื่อศึกษาดนตรีแบบตะวันตก เขาได้ขอให้เธอสอนเขาเกี่ยวกับดนตรีของประเทศอินเดียและปรัชญา [10] โดยแนวทางความสำเร็จที่ Sarabhai แนะนำให้กับเขาคือ "ทำจิตใจให้สงบ จากนั้นจึงปล่อยให้ความอ่อนไหวนำมาซึ่งแรงบันดาลใจอันศักดิ์สิทธิ์"[11] ซึ่งผลิตผลอย่างแรกของเขาที่ได้รับแรงบัลดาลใจนี้คือ Sonatas and Interludes for Prepared Piano, String Quarter in Four Parts [6] ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากสาธารณชน หลังจากที่เขาจัดแสดงที่ Carnegie Hall ในเมืองนิวยอร์ก ปี พ.ศ. 2492


แรงบันดาลใจจากศาสนาพุทธลัทธิเซน[แก้]

ในช่วง พ.ศ. 2483 - 2493 เขาได้เรียนเกี่ยวกับศาสนาพุทธนิกายเซน(Zen Buddhism) จากการบรรยายของ D.T. Suzuki [10] และศึกษาเพิ่มเติมจาก Coomaraswamy


Suzuki ได้สอนเขาเกี่ยวกับบางสิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการทำให้แตกออกของขอบเขตของวัฒนธรรมตะวันตก

"....ปัญหาอยู่ที่อัตลักษณ์ของเราและอัตตาของเรา (สิ่งต่างๆ ที่เป็นตัวเรา, มุมมองที่จำกัดของสิ่งต่างๆ 'พวกเรานั้นใช้ตัวเราเป็นสูญกลางมากเกินไป'...เปลือกของอัตตาที่เรามีอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ยากที่จะทะลุออกไป พวกเราแบกมันเอาไว้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กจนกระทั่งเราตายจากไป..." Suzuki กล่าวต่อจอห์น เคจ[12]


มีผู้หนึ่งได้ถาม จอห์น เคจ เอาไว้ว่า "นับตั้งแต่อัตตาของคุณ ความชอบ และความไม่ชอบ ได้ถูกนำออกไปจากการประพันธ์ของคุณ คุณยังคงรู้สึกว่ามันเป็นบทประพันธ์ของคุณอยู่หรือไม่ในฐานะที่คุณเป็นผู้ประพันธ์บทเพลงนั้นออกมา?" จอห์น เคจ ได้ตอบว่า "อารมณ์ เป็นเหมือนกับรสชาติของความทรงจำและเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดต่อความเป็นตนเองและต่ออัตตา อารมณ์จะแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่อยู่ในตัวเราได้ถูกสัมผัส และการได้ลิ้มรสก็เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการถูกสัมผัสโดยสิ่งภายนอก เราได้สร้างอัตตาให้เป็นกำแพงและกำแพงเหล่านั้นก็ไม่มีประตูให้สิ่งที่อยู่ภายในและสิ่งที่อยู่ภายนอกได้สื่อสารกัน Suzuki ได้สอนให้ฉันทลายกำแพงเหล่านั้นซึ่งสิ่งสำคัญอยู่ที่การใส่ความเป็นอัตลักษณ์ลงไปสู่สิ่งที่เป็นปัจจุบัน และในการที่จะทำสิ่งเหล่านั้นได้กำแพงจะต้องถูกทำให้พังทลายอย่างยับเยิน รสชาติิ ความทรงจำ และความรู้สึกจะต้องทำให้อ่อนลง กำแพงทั้งหมดจะต้องถูกรื้อถอน...คุณสามารถรู้สึกถึงอารมณ์ได้ แต่คุณจะต้องไม่ตระหนักว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งสำคัญ...ทำให้มันมีคุณค่าลดลง เหยียดหยามมัน มันก็เป็นเหมือนแค่เนื้อไก่ที่ถูกสั่งมาในร้านอาหาร....ถ้าเราเก็บเอาอารมณ์เอาไว้และส่งเสริมมันให้มีมากขึ้น สิ่งเหล่านั้นสามารถสร้างภาวะคับขันให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้...แน่นอนที่สุดแล้วในตอนนี้สถานการณ์เหล่านั้นในทุกๆ สังคม ได้ถูกทำให้ตกหลุมพลางแล้ว!" [13]


ในการที่จะปลดปล่อยตัวเขาออกจากภาระของอัตตาเขาจึงเปลี่ยนมาประพันธ์เพลงโดยใช้เรื่องของโอกาสเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการใช้บทประพันธ์คลาสสิค I Ching (หนังสือของการเปลี่ยนแปลง) เป็นดังกุญแจไปสู่การสร้างอุปกรณ์ในการประพันธ์เพลง



แรงบันดาลใจจากบทความ I Ching [แก้]

ในช่วงต้นของปี พ.ศ. 2494 Kurt Wolf ได้นำเอา I Ching มาให้เขาอ่าน[14] I ching คือบทความคลาสสิคของจีนซึ่งอธิบายถึงระบบสัญลักษณ์ที่ใช้อธิบายเนื่องในโอกาสต่างๆ ซึ่งฉบับที่เขาอ่านนั้นเป็นฉบับที่ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกโดยบิดาของ Wolf โดยปกติแล้ว I Chinhg จะใช้สำหรับการดูดวงชะตา แต่สำหรับเขานั้น เขาได้นำมาใช้ในการประพันธ์เพลงที่ใช้เรื่องของความบังเอิญเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยใช้แนวความคิดว่า "เลียนแบบธรรมชาติในลักษณะการทำงานของมัน" [15] [16]


"..."เวลาฉันได้ยินสิ่งที่คนเราเรียกกันว่าดนตรีแล้ว สำหรับฉันแล้วมันเหมือนใครสักคนกำลังพูดอยู่ และพูดถึงเรื่องความรู้สึก หรือแนวความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ แต่เมื่อฉันได้ยินเสียงของการจราจรฉันก็รู้สึกว่ามันเป็นเสียงของการจราจร ตัวอย่างเช่นฉันไม่มีความรู้สึกอะไรเลยเวลาใครสักคนกำลังพูดคุย ฉันรู้สึกว่าเสียงมันกำลังแสดงอยู่ และฉันก็รักกิจกรรมที่เสียงกระทำ ฉันไม่ได้อยากให้เสียงมาคุยกับฉัน"..." จากวลีนี้ของเขาที่ได้กล่าวไว้นั้น คงเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ใช้ในการอธิบายแนวความคิดในการที่จะทำดนตรีแนวทดลองของเขาได้เช่นกัน


ฉันรู้สึกเป็นอิสระโดย I Ching ดังที่คุณสามารถกล่าวได้ว่าฉันเห็นว่าสิ่งต่างๆ นั้นล้วนแต่สัมพันธ์กันทั้งสิ้น เราไม่จำเป็นที่จะต้องนำมาทำให้สิ่งเหล่านั้นสัมพันธ์กัน [17]




ตัวอย่างผลงานการทำดนตรีแนวทดลอง[แก้]


การประพันธ์ให้เกิดความซับซ้อน[แก้]

Imaginary Landscape No.1 ประพันธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2482 โดยมีการแบ่งโน้ตเพลงออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ คือ 16, 17, 18, และ 19 ห้อง และแต่ละส่วนถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนย่อย โดย 3 ส่วนแรกนั้นจะบรรเลง 5 ห้อง เขาประพันธ์ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2482 เขาประพันธ์ขึ้นมาในรูปแบบที่แบ่งโน้ตเพลงออกเป็น 5 ส่วน 4, 3, 2, 3 และ 4 ตามลำดับ แต่ละส่วนจะมี 16 ห้อง และจะถูกแบ่งออกอีกเหมือนๆ กันคือ 4 ห้อง, 3 ห้อง, 2 ห้อง ฯลฯ และในที่สุดเนื้อหาของเพลงนี้ก็จะถูกบรรเลงโดยการหมุนวน 16 รอบ[18] "จึงเกิดเป็นสัดส่วนที่ซ้อนกันขึ้น"


เทคนิคนี้ถูกพัฒนาไปสู่ความซับซ้อนที่มากขึ้นในภายหลัง ตัวอย่างเช่นผลงาน Sonatas and Interludes for Prepared Piano ในปี พ.ศ. 2489 - 2491 ซึ่งการแบ่งส่วนของโน้ตเพลงนั้นถูกแบ่งออกโดยจำนวนที่เป็นตัวเลขที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม (1¼, ¾, 1¼, ¾, 1½, and 1½ สำหรับ Sonata I)[19] หรืออีกตัวอย่างหนึ่งเช่น A Flower ที่ใช้การเล่นสองส่วนพร้อมๆ กัน


บทประพันธ์ที่เกิดจากการสุ่มหรืออาศัยโชค[แก้]

ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2485-2489 เขาได้เริ่มคิดค้นวิธีการที่จะหักรูปแบบของความกลมกลืนของบทเพลงที่เป็นแบบประเพณีนิยมลง In String Quartet in Four Parts' ที่ประพันธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2493 คือตัวอย่างหนึ่งในนั้น ในการประพันธ์เพลงนี้เขาใช้การประพันธ์โดยกำหนดตัวเลขให้กับแต่ละช่วงเสียง (การบรรเลงจะบรรเลงประสานกันโดยโน้ตเพลงที่ถูกกำหนดตายตัวเอาไว้แล้ว) โดยบรรเลงจากช่วงเสียงหนึ่งไปยังช่วงเสียงอื่นๆ ในแต่ละช่วงเสียงนั้นจะถูกเลือกในการบรรเลงเพียงแค่ตัวโน้ตที่มีความสำคัญต่อบทเพลงเท่านั้น และโน้ตตัวอื่นๆ นั้นจะไม่ถูกกำหนดเอาไว้ในการที่จะทำให้เกิดความกลมกลืนในเพลงของเขา[20]


การร้องประสานเสียงโดยใช้ prepared piano ในปี พ.ศ. 2493 - 2494 นั้น เขาใช้ระบบการทำแผนภาพของระยะเวลา(durations), พลวัตร(dynamics), และทำนองเพลง(melodies), ฯลฯ โดยการคัดเลือกมาใช้ในการประพันธ์นั้นเขาใช้วิธีการเลือกจากลวดลายเรขาคณิต[21] และในช่วงท้ายของการร้องประสานเสียงเขาก็เปลี่ยนวิธีการประพันธ์มาเป็นการอาศัยการสุ่มเลือกหรือการใช้โชคในการประพันธ์แทน


ระบบแผนภาพ(เพื่อทำให้เกิดความซับซ้อน) ถูกนำมาใช้กับการทำผลงานชิ้นโตที่บรรเลงโดยเปียโนปี พ.ศ. 2494 Music of Changes ซึ่งในการประพันธ์ครั้งนี้เขาได้คัดเลือกวัสดุที่จะนำมาใช้โดยวิธีการเลือกจากแผนภาพโดยการใช้I Chingในการเลือก


นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 มานั้น บทเพลงของเขาทั้งหมดก็ใช้วิธีการสุ่มหรือการใช้โชคช่วยทั้งสิ้น ซึ่งผลงานส่วนใหญ่ก็มักจะใช้ I Ching ในการประพันธ์ ตัวอย่างเช่น การแต่งบทประพันธ์โดยใช้การบรรเลงโดยเปียโนโดยอาศัยความไม่สมบูรณ์ของกระดาษ (ซึ่่งความไม่สมบูรณ์ของกระดาษนั้นจะทำให้เกิดระดับเสียงหลายๆ ระดับ) และจากนั้นจึงใช้ I Ching ในการกำหนดกระบวรการของการทำให้เกิดเสียง, จังหวะ, และอื่นๆ [22] นอกจากนั้นแล้วยังมีวิธีการทำการสุ่มโดยดการทำแผนภาพรูปดาวและวิธีการอื่นๆ อีกด้วย


ตัวอย่างผลงานที่ใช้การสุ่มหรือใช้โชคช่วยในการประพันธ์เพลงเช่น Altas Edupticalis (พ.ศ. 2504-2505) และในการฝึกซ้อมทั้งหลาย(etudes) Etudes Australes (พ.ศ. 2517 - 2518), Freeman Etudes (พ.ศ. 2519 - 2533), และ Etudes Boreales' (พ.ศ. 2521)[23]


บทประพันธ์ความเงียบ โน้ตเพลง 0'00" หรือที่รู้จักกันในชื่อ 4'33"[แก้]

4'33"

จอห์น เคท ได้ประพันธ์บทเพลงขึ้นในปี พ.ศ. 2495 โน้ตเพลงถูกกำหนดเอาไว้ให้นักดนตรีไม่ต้องทำการบรรเลงเนื้อเพลงใดๆ ทั้งสิ้นตลอดเวลา 4 นาที 33 วินาที นั่นหมายความว่าเสียงที่จะได้ยินนั้นคือเสียงของสิ่งต่างๆ ที่อยู่แวดล้อม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนผ่านจากผู้ฟังไปเป็นผู้แสดงแทน เขาได้แต่งบทเพลงของความเงียบขึ้น ก่อนหน้านี้มาเป็นเวลาหลายปีแล้วแต่ไม่ได้เขียนลงเป็นโน้ตเพลง


ในการบรรเลงเพลงนี้ในรอบปฐมทัศน์ที่จัดขึ้นโดย David Tudor ในวันที่ 29 สิงหาคม 2495 ที่ Woodstock เมืองนิวยอร์ก ก็เป็นที่เรียกเสียงฮือฮาและเกิดความโกลาหลขึ้นในหมู่ชม[24][25]





เครื่องดนตรีนอกรีต[แก้]


Prepared Piano คือเปียโนที่ถูกปรับเสียงโดยการนำเอาวัตถุต่างๆ ไปใส่ไว้ข้างใต้หรือระหว่างสตริงเปียโน จึงทำให้เกิดเป็นเสียงดนตรีแบบใหม่ขึ้น ซึ่งแนวความคิดในการทำ Prepared Piano ของเขานั้นเกิดจากการตั้งใจจะทำเวทีการแสดงในห้องที่เล็กเกินไปกว่าจะใส่เครื่องดนตรีวงเพอร์คัสชั่นลงไปทั้งชุดได้


Prepared Piano


Water Walk การประพันธ์ครั้งนี้เป็นการประพันธ์เพื่อใช้ในการออกรายการทีวีของอิตาลี่ "Lascia O Radddoppia" ในการแสดงเขาใช้อุปกรณ์ 34 ชิ้น ใช้เวลาในการแสดง 34 นาที อุปกรณ์แต่ละชิ้นถูกทำให้สัมพันธ์กันโดยน้ำ ตัวอย่างเช่น อ่างอาบน้ำ ปลาของเล่น แกรนด์เปียโน ไอน้ำที่ดันออกมาจากหม้อต้มน้ำ น้ำแข็งก้อน เครื่องปั่น เป็ดยาง ห่านนกหวีด วิทยุ 5 ตัว และอื่นๆ โน้ตเพลงประกอบด้วยลำดับของสรรพคุณต่างๆ ของอุปกรณ์ แผนภาพแสดงตำแหน่งของเครื่องดนตรีและวัตถุต่างๆ และลำดับในการเล่น ในเรื่องของเวลาในการเล่นนั้นไม่ได้ถูกกำหนดเอาไว้อย่างแม่นยำ "กดเริ่มนาฬิกาจากนั้นการบรรเลงจะถูกทำให้ใกล้เคียงกับที่อยู่ในโน้ตเพลงมากที่สุด" [26][27]


Water Walk
Water walk



การเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินร่วมสมัยและศิลปินรุ่นหลัง[แก้]

กลุ่ม Fluxus[แก้]

ผลงานการทำดนตรีแนวทดลองของเขา ในช่วงนับแต่ปี พ.ศ. 2493 มา ได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินกลุ่ม Fluxus โดยการจัดการบรรยายของเค้าที่ New York School for Social Research ที่เมืองนิวยอร์ก ในช่วงปี พ.ศ. 2500 - 2502 ซึ่งเป็นการจัดบรรยายที่เกิดจากการสำรวจความคิดเห็นของการสร้างข้อกำหนดให้กับงานศิลปะ ต่อมาภายหลังการบรรยายได้มีการบรรยายโดย Richard Maxfield ซึ่งผู้ที่มาเข้าร่วมรับฟังการบรรยายนั้นก็ล้วนเป็นศิลปินและนักดนตรีที่ต่อมาล้วนกลายมาเป็นศิลปินในกลุ่ม Fluxus ทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น Jackson Mac Low, La Monte Young[28], George Brecht, Dick Higgins, and Geoge Macinas

Creative[แก้]

คุณประภาส ชลศรานนท์ ครีเอทิฟ(Creative) แนวหน้าของไทย ได้แนะแนวความคิดในการ "คิด" ของเขาเอาไว้อย่างหลากหลาย หนึ่งในวิธีการคิดของเขาคือ "การมองย้อนศร" ซึ่งเขาได้ยกเอาจอห์น เคจ ในการอธิบายเรื่องของแนวความคิดนี้เอาไว้ว่า

"จอห์น เคจ คีตกวีชาวอเมริกัน ซึ่งเล่นคอนเสิร์ตด้วยความเงียบ โดยบอกว่าโน้ตเพลงของเขาทั้งหมดเป็นตัวหยุด นี่คือการคิดในมุมกลับ หรืออย่างคำว่า LISTEN (ฟัง) กับคำว่าSILENT (เงียบ) สองคำนี้มีตัวอักษรพยัญชนะที่เหมือนกัน เพียงแต่สลับที่กันเท่านั้น ความหมายก็เปลี่ยนไป"


อ่านเพิ่มเติมได้ในนิตยสาร "คิด" Creative Thinking วันที่ 31 มกราคม 2552 [29]



เชิงอรรถ[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Kostelanetz 2003, 6.
  2. Kostelanetz 2003, 2.
  3. [1]
  4. Nicholls 2002, 8.
  5. Cage quoated in Perloff, Junkerman 1994, 81.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Pritchett, Grove.
  7. Kostelanetz 2003, 61.
  8. cage 1973, 260.
  9. Revill 1993, 55.
  10. 10.0 10.1 Cage 1973, 127. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Sarabhai" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  11. Cage 1973, 158.
  12. Where the Heart Beats: John Cage, Zen Buddhism, and the Inner Life of Artists, Available On [2]
  13. Where the Heart Beats: John Cage, Zen Buddhism, and the Inner Life of Artists, Available On [3]
  14. Kostalanetz 2003, 68.
  15. Pritchett 1993,97.
  16. Revill 1993, 91.
  17. Where the Heart Beats: John Cage, Zen Buddhism, and the Inner Life of Artists, Available On [4]
  18. Nicholls 2002, 71–74.
  19. Pritchett 1993, 29–33.
  20. Pritchett, Grove.
  21. Pritchett, Grove.
  22. Pritchett 1993, 94.
  23. Nicholls 2002, 139.
  24. 4'33" Available online [5]
  25. Revill 1993, 166.
  26. Available Online [6]
  27. Water Walk [7]
  28. La Monte Young Biography, Pierro Scaruffi, Available Online [8]
  29. นิตยสาร คิด Creative Thinking , Available Online [9]



แหล่งข้อมูลภายนอก[แก้]

แหล่งข้อมูลภายนอกที่นำมาใช้ในการศึกษาและรวบรวมข้อมูล ผู้อ่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Website เหล่านี้
1. Where the Heart Beats: John Cage,Zen Buddhism, and the Inner Life of Artists[10]
2. John Cage and Philosophy of Experimental Music [11]
3. John Cage [12]
4. John Cage - 4'33" by David Tudor [13]
5. David Greilsammer - John Cage - "prepared piano" [14]
6. John Cage - Water Walk [15]
7. Water Walk [16]




บรรณานุกรม[แก้]


1. Cage, John. Silence: Lectures and Writings, Wesleyan University Press Paperback (first edition 1961), 1973.
2. edited by Julia Robinson. John Cage, Imprint Cambridge, Mass. : MIT Press, c2011.
3. Kostelanetz, Richard. Conversing with John Cage, Routledge, 2003.
4. Nicholls, David. The Cambridge Companion to John Cage, Cambridge University Press, 2002.
5. Perloff, Marjorie, and Junkerman, Charles. John Cage: Composed in America, University of Chicago Press, 1994.
6. Pritchett, James, and Kuhn, Laura. "John Cage", Grove Music Online, ed. L. Macy (accessed December 15 2006), grovemusic.com
7. Pritchett, James. The Music of John Cage. Cambridge University Press, 1993.
8. Revill, David. The Roaring Silence: John Cage – a Life. Arcade Publishing, 1993.