ผู้ใช้:Phrasakda suchato/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ประวัติวัดบางกง

              วัดบางกง  ตั้งอยู่ ณ บ้านบางกง หมู่ที่ ๙ ตำบลวิหารแดง อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี สังกัดสงฆ์ มหานิกาย มีพื้นที่ตั้งวัด  ๔๔ ไร่ ๓ งาน ๔๙ ตารางวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังสุดเมื่อ วันที่   ๑๔  ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕[1]

             ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดบางกงเป็นพื้นที่ราบเรียบจากการถมขึ้นมา มีถนนหมู่บ้านตัดผ่าน มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

                     ทิศเหนือ              ติดที่ดินของ  นายรำพึง เสวกพันธ์

                     ทิศใต้                   ติดคลอง

                      ทิศตะวันออก      ติดที่ดินจับจอง

                      ทิศตะวันตก         ติดที่ดินของนายสมควร วายุโชติ


ประวัติการตั้งวัด

       หลังจากทางวัดบางกงได้ทำการถมดินบริเวณวัดเสร็จแล้ว ทางวัดพร้อมด้วยชาวบ้านจึงได้ทำการสร้างกุฎีสงฆ์ และ พระอุโบสถหลังเก่า สร้างในปี พ.ศ.๒๓๗๖ ซึ่งใบประกาศวิสุงคามสีมาชาวคณะสงฆ์และกรรมการวัดได้สันนิฐานว่าได้ชำรุดสูญหายไปเพราะมีอายุนับกว่า ๑๐๐ปี สร้างในสมัยพระยอด ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และเจ้าอาวาสองค์ต่อๆมาก็ได้ร่วมกับชาวบ้านสร้าง หอสวดมนต์ และสร้างศาลาการเปรียญตามลำดับ จนถึงในสมัยในสมัยของพระอธิการ วุ้น พรหมฺโชติ ซึ่งมีความเจริญเกิดขึ้นมากเนื่องจากได้รับความศรัทธาจากญาติโยมในเขตจังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครนายกในสมัยนั้นเป็นจำนวนมาก ก็ได้สร้างกุฎี หอสวดมนต์ ห้องน้ำ และศาลาการเปรียญหลังใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งหลังรวมเป็น ๒ หลัง และในสมัยของพระอธิการวุ้น พรหมฺโชติ ก็ได้เปิดโรงเรียนทำการเรียนการสอน ณ ศาลาการเปรียญวัดบางกง เป็นเวลาถึง ๒๓ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ถึง พ.ศ. ๒๕๐๖ เปิดเรียนครั้งแรกมีครู ๒ คน คือ ๑ นายเพ็ง มาลัยศรี รักษาการครูใหญ่ ๒. นายหลี เอกเจริญ ครูน้อย เดิมชื่อโรงเรียนประชาบาลตำบลบ้านลำ โดยได้รับการอุปถัมภ์จากพระอธิการวุ้น พรหมฺโชติ มาโดยตลอด ปัจจุบันได้ย้ายไปเปิดการเรียนการสอนอยู่ปากทางเข้าวัดบางกง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๖ ใช้ชื่อว่าโรงเรียนบ้านบางกง หลังจากพระอธิการวุ้น พรหมฺโชติ ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสถึง ๕๐ ปี ได้มรณภาพลง ในปี พ.ศ.๒๕๑๔ ก็ได้มีการแต่งตั้ง พระครูกิตติสรคุณ ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดบางกง ก็ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆภายในวัดที่ชำรุดทรุดโทรมลงอย่างมากโดยเฉพาะพระอุโบสถ พระครูกิตติสรคุณ ได้ดำเนินการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ หลังจากได้รับพระราชทาน ประกาศวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๕ โดยมีเขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๗ เมตร ยาว ๔๑ เมตร สร้างแล้วเสร็จและทำการผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๗    ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๗ หลังจากสร้างพระอุโบสถเสร็จ ก็ได้สร้างเมรุขึ้นใหม่แทนเชิงตะกอนของเก่า  ในปี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้ดำเนินการสร้างกุฎีเจ้าอาวาสหลังใหม่ ในปี พ.ศ.๒๕๓๖ ได้ดำการก่อสร้างศาลาเอนกประสงค์  และต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๗ ก็ได้ทำการรื้อศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์หลังเก่าลง ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก สร้างมาก่อนสมัยพระอธิการวุ้น พรหมฺโชติ เป็นเจ้าอาวาส และได้ดำเนินการสร้างขึ้นมาใหม่แต่ยังไม่ทันเสร็จ พระครูกิตติสรคุณ ก็ได้มรณภาพลงในปีเดียวกันนั้นเอง และต่อมาก็ได้มีการแต่งตั้ง พระครูพิบูลโชติธรรม ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสองค์ใหม่ ได้ก่อสร้างศาลาการเปรียญจนเสร็จ ในปี พ.ศ.๒๕๔๙ ได้สร้างห้องน้ำ ๑ หลังจำนวน ๑๔ห้อง ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ ได้ดำเนินการสร้างวิหารขึ้นมา ๑ หลัง ปี พ.ศ.๒๕๕๕ สร้างศาลาธรรมสังเวช ๑ หลัง  และบูรณะปฎิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ [2]


ประวัติเจ้าอาวาส วัดบางกง ( อดีต – ปัจจุบัน )

ลำดับเจ้าอาวาสเท่าที่บันทึกไว้ในอดีตถึงปัจจุบัน

         ๑.     พระยอด                                                                                                     พ.ศ.     ๒๓๗๖ – ๒๓๗๙

         ๒.     พระหิน                                                                                                     พ.ศ.     ๒๓๗๙ – ๒๔๐๐

          ๓.    พระเฉย                                                                                                     พ.ศ.     ๒๔๐๐ – ๒๔๐๙

          ๔.    พระแห                                                                                                      พ.ศ.     ๒๔๐๙ – ๒๔๑๘

          ๕.    พระสี                                                                                                         พ.ศ.     ๒๔๑๘ – ๒๔๖๔

          ๖.    พระอธิการวุ้น พรหมฺโชติ                                                                            พ.ศ.    ๒๔๖๔ – ๒๕๑๔

          ๗.    พระครูชินานุศาสตร์ ( กิ้ม ชินปุตฺโต )                                                        พ.ศ.    ๒๕๑๔ – ๒๕๒๔

          ๘.    พระครูกิตฺติสรคุณ ( อุ่น กิตฺติสาโร )                                                           พ.ศ.    ๒๕๒๔ – ๒๕๔๗

          ๙.    พระครูพิบูลโชติธรรม ( วินัย ชุตินฺธโร )                                                     พ.ศ.     ๒๕๔๗ – ปัจจุบัน[3]


อ้างอิง

  1. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๕ กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒๕๕๓:๘๗.
  2. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๕ กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒๕๕๓:๘๗.
  3. หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๕ กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒๕๕๓:๘๗.