ผู้ใช้:Pearchadatan/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คุณหญิงดำรงธรรมสาร (ใหญ่ วิเศษศิริ) ๒๔๒๙ - ๒๔๘๗[แก้]

นักฏิบัติธรรมหญิงที่โดดเด่นแต่ถูกลืม[แก้]

จากบ้านมาวัด (เพื่อ) บวชชีหนีทุกข์ภัยในวัฏฏสงสาร[แก้]

จาก สถานถิ่นทิ้ง ทั้งผอง
บ้าน สิไป่คิดปอง ปกป้อง
มา สร้างกุศลสนอง หนีหน่าย ทุกข์แฮ
วัด วิเวกเวิกวุ่นจ้อง จักพ้นมลทิน ฯ
บวช เรียนเพียรเพื่อพ้น ภัยมหันต์
ชี วิตจิตต์ใจหัน ห่างร้าย
หนี ภัยเพื่อพรหมจรรย์ จิตต์สงบ สุขเฮย
ทุกข์ โทษโหดหายได้ เพราะด้วยความเพียร ฯ”
ใหญ่ ดำรงธรรมสาร

จากบันทึกของพระเทพสุเมธี (หยวก จตตมโล, พ.ศ. ๒๔๕๗-๒๕๔๕) วัดสัตตนารถปริวัตร อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ผู้เคยพบคุณหญิงใหญ่ที่วัดธรรมิการามวรวิหารในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ เล่าไว้ว่า “ท่าน [คุณหญิงใหญ่] มีอุปนิสัยรักทางธรรมตั้งแต่อายุยังน้อย เคยรู้จักและฝากตัวเป็นศิษย์ของ สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ)  เจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร ต่อมาก็เป็นศิษย์ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส” นอกจากนี้พระเทพสุเมธียังเล่าต่อว่า คุณหญิงใหญ่แสดงธรรม “อย่างละเอียดลึกซึ้ง” แก่พระที่วัดธรรมิการามวรวิหาร และ ก็ได้ทรงจำหลักธรรมได้มากแม้คาถาในพระธรรมบททั้งแปดภาคก็สามารถทรงจำได้ตั้งแต่อายุยังอยู่วัยรุ่น”

อย่างไรก็ตาม ตามบันทึกของพระเทพสุเมธี คุณหญิงใหญ่ ไม่ใช่เพียงเป็นนักปฏิบัติที่โดดเด่นเท่านั้น หากแต่แต่มีความรู้ด้านปริยัติธรรมอันกว้างและลึก ในส่วนของการเป็นนักปฏิบัติธรรม คุณหญิงใหญ่ (เคย) เล่าถึงประสบการณ์ขณะปฏิบัติธรรมว่าสามารถระลึกชาติและเห็นวิบากกรรมของคนอื่นได้ด้วย และจากการสัมภาษณ์ผู้ที่รู้จักคุณหญิงใหญ่ ล้วนประทับใจท่านในฐานะที่เป็นทั้งนักปริยัติและนักปฏิบัติธรรมที่โดดเด่นมาก กระทั่งมีคนเชื่อว่า ท่านได้ถึงระดับอริยบุคคลชั้นหนึ่งชั้นใด

นอกจากนี้แล้วยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่เด่นและมีความสำคัญในชีวประวัติของคุณหญิงใหญ่ คือ ความใกล้ชิดหรือความเป็นสหธรรมิกระหว่างท่านกับคุณนายถาง คชะสุต (พ.ศ. ๒๔๐๑-๘๗) ซึ่งเป็นชาวราชบุรี คุณนายถาง หรือที่คนสมัยนั้นเรียกขานท่านด้วยความเคารพนับถือว่า “นายถาง” ก็เป็นนักปฏิบัติธรรมคนสำคัญร่วมสมัย อุบาสิกากี นานายน (ก. เขาสวนหลวง, พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๕๒๑) นักปฏิบัติธรรมหญิงอีกท่านหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก เคยกล่าวชมคุณนายถางว่า เป็นผู้ “ปฏิบัติธรรมขั้นสูง”  คุณนายถาง “ได้ละเคหสถานมาปลูกกุฏิอยู่ที่หน้าวัดสัตนาถปริวัตร” อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี นานกว่า ๓๐ ปี จวบจนสิ้นชีวิต ในหนังสืองานศพของคุณนายถางเล่าไว้ว่า ท่านเป็นผู้ที่ “ศึกษาและปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด” นอกจากนั้นยังกล่าวอีกว่า “วัยของท่านชราลงเพียงใด ก็ดูเหมือนท่านทวีการปฏิบัติธรรมมากขึ้นเพียงนั้น...ท่านทำการติดต่อกับพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิในการปฏิบัติธรรมมากขึ้น เพื่อศึกษาข้อปฏิบัติจากท่านเหล่านั้น และยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติของท่าน” และ “รับอุปัฏฐากบำรุงพระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมาก”

ชีวิตในบั้นปลาย[แก้]

ภายหลังเสร็จสิ้นงานศพของสามีในปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๓ คุณหญิงใหญ่ได้ปลงผมบวชชีพร้อมปลูกบ้านไม้สักใหญ่ ๖ หลัง ทางทิศเหนือติดกำแพงวัดธรรมิการามวรวิหาร “คณะเหนือ” ท่านใช้ชีวิตบั้นปลายในเรือนดังกล่าว พร้อมเข้ามาปฏิบัติธรรมในวัด ในชีวประวัติของคุณประสพ บุตรบุญธรรมของท่าน คุณประสพกล่าวว่า “คุณแม่หมดห่วงกังวลในการเลี้ยงดูข้าพเจ้า ท่านจึงโกนผมบวชชี” สมัยนั้นที่วัดธรรมิการามวรวิหารมีพระภิกษุไม่เกิน ๑๐ รูป และแม่ชี ๓-๔ รูป แม่ชีเหล่านั้นก็ปฏิบัติธรรม คาดว่าคุณหญิงใหญ่ได้เดินทางระหว่างจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กับทางวัดสัตตนารถปริวัตร จังหวัดราชบุรี วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรี วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม จนกระทั่งถึงปีที่ท่านมรณภาพ พ.ศ. ๒๔๘๗๓๙

ระหว่างที่ท่านเดินทางมาร่วมงานศพสหธรรมิกที่สนิทกันคือ คุณนายถาง คชะสุต ซึ่งสมัยนั้นถือว่าเป็นงานใหญ่ หลังประชุมเพลิงเสร็จแล้ว ท่านก็ถึงแก่มรณภาพอย่างกะทันหัน ท่านสิ้นชีพในขณะที่เป็นแม่ชี เหตุการณ์ในช่วงมรณภาพของท่าน ผู้เขียนค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ได้ดังนี้ สาเหตุการมรณภาพที่กุฏิแม่ชีในวัดสัตตนารถปริวัตร จังหวัดราชบุรี ไม่แน่ชัด

หมอเอิบ ณ บางช้าง (พ.ศ. ๒๔๕๒-๒๕๔๗) นายแพทย์ผู้มีชื่อเสียงของจังหวัดราชบุรีในสมัยนั้น ตรวจสุขภาพท่านและวินิจฉัยว่า “ยังอยู่ได้นาน” ทว่าคุณหญิงใหญ่กลับตอบว่า “คุณหมอไม่ต้องมาปลอบ” ในคืนที่ท่านกำลังจะละสังขาร เวลาประมาณ ๒ ทุ่ม คุณหญิงใหญ่ให้คนไปนิมนต์พระมหาทองเปลว (บ้างก็ว่าพระมหาวิชัย) มาสวดมนต์ พร้อมทั้งสนทนาธรรม คุณหญิงใหญ่เจาะจงให้พระภิกษุสวดมนต์ “บทที่ท่านต้องการ” หลังสนทนาธรรมเสร็จแล้ว คุณหญิงใหญ่กราบพระพร้อมกล่าวลาว่า “ขอทิ้งสังขารไว้ที่นี่” ครั้นกราบเสร็จก็ฟุบลง พระมหาทองเปลวยังนึกไม่ถึงว่าท่านเสียไปแล้ว อุทานว่า “ตายจริงๆ หรือนี่” จากการบอกกล่าวต่อกันมา สรุปได้ว่า เนื่องด้วยขณะนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ร่างของท่านจำเป็นต้องเก็บไว้ที่วัดสัตตนารถปริวัตร จังหวัดราชบุรี

หลังสิ้นสงครามโลกที่ ๒ ร่างของท่านถูกนำกลับมายังจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และคุณประสพ บุตรบุญธรรมของท่าน ได้จัดฌาปนกิจศพที่วัดธรรมิการามวรวิหารในปีพ.ศ. ๒๔๘๘ ๔๐ โดยจัดงานอย่างเรียบง่าย ตั้งเมรุสี่เสาไม่มีการแสดงพระธรรมเทศนา ทั้งยังไม่ปรากฏว่ามีหนังสือที่ระลึก มีผู้มาร่วมงานประมาณ ๑๐๐-๒๐๐ คน พระเถระผู้ใหญ่จากกรุงเทพฯ และจังหวัดราชบุรีก็มาร่วมงานฌาปนกิจศพนี้ด้วย คุณประสพ บุตรบุญธรรมของท่าน ได้บรรจุอัฐิของท่านไว้ใต้ฐานพระประธานในพระอุโบสถวัดธรรมิการามวรวิหาร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งคุณหญิงใหญ่ได้มอบมรดกที่ดินบางส่วนในกรุงเทพฯ ให้เป็นทรัพย์สินของทางวัดธรรมิการามวรวิหารแห่งนี้ด้วย๔๑

ชื่อเสียงเรียงนามของคุณหญิงใหญ่เป็นที่รู้จักกันน้อยมาก เพียงในฐานะผู้อุปถัมภ์ก่อสร้างศาสนวัตถุ เช่น วัดธรรมิการามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขณะที่ชื่อของวัดเป็นที่รู้จักในสังคมจากคดีดังสนามกอล์ฟอัลไพน์ ซึ่งเชื่อมโยงกับมรดกของ คุณเนื่อม ชำนาญชาติศักดา ผู้เป็นน้องสาวต่างมารดาของคุณหญิงใหญ่ ทั้งยังเป็นผู้ทำนุบำรุงวัดคนสำคัญทั้งก่อนและหลังมรณกรรมของคุณหญิงใหญ่

เป็นที่น่าเสียดายว่าในวงวรรณกรรมพุทธศาสนาไม่ปรากฏผลงานประพันธ์ของคุณหญิงใหญ่ งานประพันธ์ของท่าน ดูเหมือนว่าจะจงใจให้เป็นงานเขียน “นิรนาม” หลายคำถามยังคงเหลือไว้ให้ขบคิด จักด้วยบทบาทสตรีที่ถูกจำกัดในยุคดังกล่าว หรือธรรมะชั้นสูงมีเพียงแต่พระสงฆ์เท่านั้นที่จะเป็นผู้ถ่ายทอด หรือความอ่อนน้อมถ่อมตนของท่าน ฯลฯ แต่ไม่ว่าจักด้วยเหตุผลใดๆ ในบริบทนั้นๆ ถ้าบทสนทนาธรรมต่างๆ ในหนังสือ “ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ” เขียนขึ้นมาโดยคุณหญิงใหญ่ (จากหลักฐานที่ยกขึ้นมาพิจารณาในบทความนี้ผู้เขียนค่อนข้างเชื่อมั่นเช่นนั้น) บทสนทนาธรรมทั้ง ๕ บทนี้ พร้อมทั้งคำประพันธ์ต่างๆ ที่พิมพ์ในหนังสือ “ตัดบ่วงกรรม” และเกร็ดประวัติอันเล็กน้อยของท่าน ได้ช่วยเพิ่มมิติให้กับวงการพุทธศาสนาเมืองไทย ทั้งในยุคของท่านเองจนกระทั่งถึงปัจจุบัน จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าคุณหญิงใหญ่ ดำรงธรรมสาร (ใหญู่ วิเศษศิริ) เป็นนักปฏิบัติธรรมหญิงที่โดดเด่นเพียงใด

สตรีผู้แต่งหนังสือธรรมะในยุคแรก[แก้]

ชีวิตในเบื้องต้น[แก้]

ชาติตระกูลและฐานะทางสังคม[1][แก้]

คุณหญิงใหญ่ ดำรงธรรมสาร (วิเศษศิริ) เป็นธิดาคนเดียวของพระยาเกษตรรักษา (ช่วง) เสนาบดีกระทรวงเกษตร และคุณหญิงเกษตรรักษา เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ ช่วงกลางสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ต่อมาได้สมรสกับพระยาดำรงธรรมสาร (ส่าง วิเศษศิริ, พ.ศ. ๒๔๑๐-๘๓) ซึ่งเกษียณอายุราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัดสมุทรปราการในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ และมีบุตรสาวเพียงคนเดียว แต่บุตรสาวและบุตรเขยได้เสียชีวิตแต่ยังเยาว์วัย คุณหญิงใหญ่ ฯ จึงได้อุปการะเลี้ยงดูคุณประสพ วิเศษศิริ ผู้ซึ่งเป็นบุตรพระยาดำรงธรรมสารกับคุณเจริญ วิเศษศิริ เป็นบุตรบุญธรรม

คุณูปการทางธรรมที่คุณหญิงใหญ่ ดำรงธรรมสารได้สร้างไว้เพื่อเป็นมรดกแด่ชนรุ่นหลังมีทั้งในส่วนที่เป็นการสร้างศาสนสถาน การประพันธ์หนังสือและการเป็นแรงบันดาลใจและต้นแบบของการปฏิบัติธรรม วัดธรรมิการามวรวิหารคือวัดที่คุณหญิงใหญ่และสามีสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ที่อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค (พระเจ้าพี่นางเธอในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖) เจ้านายที่เสด็จแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เสด็จมาในพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างพระอุโบสถ ปัจจุบัน วัดธรรมิการามวรวิหารนี้ยังคงเป็นวัดธรรมยุติกนิกายที่ใหญ่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ศาสนธรรมวัดธรรมิการาม[แก้]

จุดเริ่มต้นของการศาสนสถานหรือวัดธรรมิการามวรวิหารนี้มาจากภาพในความฝัน คุณหญิงใหญ่เคยฝันถึงสถานที่แห่งหนึ่งอยู่ติดชายทะเล ที่มีจุดเด่นคือการเป็นยอดเขาที่สูง ๒๔๕ เมตร เหนือระดับน้ำทะเล และมีช่องทะลุโปร่งคล้ายกรอบกระจกรายรอบ ท่านจึงขอให้เพื่อนๆและคนรู้จักพยายามช่วยหาสถานที่ในความฝัน จนกระทั่งได้พบจริงๆ ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์บริเวณยอดเขาสูง ณ เขาช่องกระจก ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ท่านเห็นในความฝัน ยังมีข้อมูลอีกแหล่งหนึ่งซึ่งเป็นการบอกเล่าของผู้ที่รู้จักครอบครัวพระยาดำรงธรรมสารว่า เมื่อบุตรคนเดียวของคุณหญิงใหญ่และสามีเสียชีวิต ด้วยความรักความผูกพันอย่างลึกซึ้ง จึงเชื่อตามที่มีผู้บอกเล่าว่า บุตรของท่านมาเกิดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงดั้นด้นมายังที่แถบนี้ ในบทบาทของความเป็นพี่สาวนั้น ท่านเป็นแรงบันดาลใจให้น้องสาวซึ่งคือคุณเนื่อม ชำนาญชาติศักดา (พ.ศ. ๒๔๓๙-๒๕๑๔) ผู้เป็นน้องสาวต่างมารดา ปวารณาตนเป็นอุปัฏฐายิกาของวัดธรรมิการามวรวิหาร และคุณเนื่อมได้มอบทรัพย์สินมรดกจำนวนมากให้วัดธรรมิการามวรวิหารภายหลังอนิจกรรม

การประพันธ์หนังสือธัมมานุธัมมปฏิปัตติ[แก้]

งานประพันธ์หนังสือของผู้หญิงก่อนยุคประมาณพ.ศ. ๒๔๗๐ไม่ค่อยมีหลักฐานบันทึกไว้มาก ก่อนหน้านี้ผู้หญิงในสังคมไทยไม่ได้มีโอกาสที่จะเรียนในวัด ซึ่งแตกต่างกับผู้ชายที่บวชเป็นพระเป็นเณรได้ และได้รับการศึกษาในวัดจนกระทั่งช่วงปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ผู้หญิงที่อ่านออกเขียนได้ คงมีแต่กลุ่มชนเล็กๆ ในแวดวงของหญิงชาววัง เอนก นาวิกมูล อธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า เท่าที่ทราบมาในสมัยก่อนผู้หญิงที่แต่งหนังสือ เป็นชิ้นเป็นอัน มีเพียง ๖ ท่าน ยิ่งเมื่อจำกัดเฉพาะงานประเภทธรรมะนิพนธ์ด้วยแล้ว แวดวงนี้ดูแทบจะไม่เหลือเนื้อที่สำหรับสตรีในยุคนั้นเลยทีเดียว งานประพันธ์ดังกล่าวที่คาดว่าเป็นงานชิ้นแรกๆ ได้แก่หนังสือ “สาสนคุณ” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล (พ.ศ. ๒๔๓๘-๒๕๓๓) แต่งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ เพื่อส่งประกวดหนังสือสอนพุทธศาสนาแก่เด็ก บทประพันธ์ชิ้นนี้ได้รับรางวัลที่ ๑

ในรอบหลายปีที่ผ่านมาในวงการหนังสือธรรมะปรากฏว่ามีการพิมพ์หนังสือแนวปุจฉา-วิสัชนา บทสนทนาธรรมชุดหนึ่งในรูปแบบต่างๆ บางครั้งใช้ชื่อว่า “ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ”๑๘ บ้างใช้ชื่อว่า "๗ วันบรรลุธรรม ปุจฉา-วิสัชนา ว่าด้วยการปฏิบัติธรรม”๑๙ หนังสือ ๒ เล่มนี้ประกอบด้วยธรรมะ ๕ บท ซึ่งมีชื่อดังต่อไปนี้คือ ๑. "ปฏิปัตตินิเทศ" ๒. “ปฏิปัตติวิภาค” ๓. “ปฏิปัตติวิภังค์” ๔. “ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา” ๕. “ปฏิปัตติวิภัชน์” ชุดธรรมะดังกล่าวถูกนำมาพิมพ์ครบชุดทั้งเล่ม หรือบางครั้งถูกคัดเลือกเพียงบางบทก็มี (บางครั้งบทความก็ถูกปรับเปลี่ยนไปบ้าง)

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะพิมพ์ในรูปแบบไหน ในวงการหนังสือธรรมะเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่า บทสนทนาธรรมเหล่านี้มีคุณค่ามาก และผู้ประพันธ์ต้องเป็นคนที่รอบรู้ธรรมะขั้นสูง แต่เมื่อเปรียบเทียบหนังสือเหล่านี้ มีข้อสังเกตที่เด่นว่า ในขณะที่บางเล่มไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าใครเป็นผู้ประพันธ์อย่างน้อยมี ๒ เล่มระบุชัดเจนว่าเป็นการสนทนาธรรมระหว่าง พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต (พ.ศ. ๒๔๑๓-๙๒) กับพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล, พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๕๐๕) หนังสือ ๒ เล่มนี้ประกอบด้วยบท “ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา๒๐

ในขณะที่อีกเล่มหนึ่งระบุว่า เขียนโดยพระอาจารย์ลี (ธมฺมธโร, พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๕๐๔) เล่มนี้ประกอบด้วยบทความ “ปฏิปัตตินิเทศ” และ “ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา”๒๑ หนังสือที่ใช้ชื่อว่า “ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ” พิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ทว่าไม่ได้ระบุชัดเจนว่า ใครเป็นผู้เขียน แต่มีรูปภาพของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต กับพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ปรากฏอยู่บนปก เหมือนต้องการสื่อแก่ผู้อ่านว่า หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานจากการสนทนาธรรมระหว่างพระอาจารย์ทั้ง ๒ ท่านกระนั้นก็ตามในอารัมภบทของหนังสือ “ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ” ฉบับพิมพ์เล่มนี้ก็ยังเขียนไว้ว่า “เป็นฉบับรวมปุจฉา-วิสัชนา อันทรงคุณค่าของพ่อแม่ครูบาอาจารย์” โดยไม่ได้บอกว่า “พ่อแม่ครูบาอาจารย์” หมายถึงใคร เท่าที่ผู้เขียนค้นคว้ามาได้ ผลงานดังกล่าวไม่ปรากฏชื่อผู้ประพันธ์นับจากปีที่แต่ง ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลา พ.ศ. ๒๔๗๕-๗๗ (ปีพิมพ์ที่ปรากฏในธรรมะชุดนี้ ฉบับต่างๆ ตรงกันหมด) กระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ยังคงไม่ปรากฏชื่อผู้ประพันธ์เพียงแต่รวมพิมพ์ภายใต้ชื่อหนังสือว่า “ปัญญาพลานุสรณ์” ทั้งยังปรากฏในหนังสืองานอนุสรณ์ต่างๆ ในเวลาต่อมา๒๒ หรือที่ว่ามาข้างบนนี้

อย่างไรก็ตาม สมัยที่บวชเป็นพระภิกษุ คุณประสพ วิเศษศิริ บุตรบุญธรรมของคุณหญิงใหญ่ได้กล่าวไว้ในอารัมภบทหนังสือ “ตัดบ่วงกรรม” ซึ่งพิมพ์เป็นอนุสรณ์อายุครบ ๖๐ ปี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ว่า “สำหรับบทความธรรมะที่คุณแม่ คุณหญิงใหญ่ ดำรงธรรมสาร ได้เขียนขึ้นนี้ ได้มีท่านผู้มีจิตศรัทธาในพระธรรมที่คุณแม่เขียนขึ้นโดยนำไปจัดพิมพ์ออกเผยแพร่ที่เป็นมหากุศลยิ่ง เป็นที่น่าเสียดายและเสียใจที่ผู้นำไปพิมพ์เผยแพร่มิได้ใส่ชื่อของคุณแม่ลงพิมพ์ไว้ เพื่อเป็นอนุสรณ์และเป็นเกียรติประวัติในผลงานของทานด้วย ฉะนั้น ในอนาคตหากท่านผู้ใดมีความประสงค์จะนำไปพิมพ์เผยแพร่เป็นการกุศลแล้ว ข้าพเจ้าใคร่ขอความกรุณาได้พิมพ์ชื่อผู้เขียน คือคุณแม่ของข้าพเจ้า (คุณหญิงใหญ่ ดำรงธรรมสาร) ไว้ด้วยก็จักเป็นเกียรติแก่ผู้เขียน ซึ่งล่วงลับไปแล้ว”

การประพันธ์หนังสือตัดบ่วงกรรม[แก้]

ในหนังสือ “ตัดบ่วงกรรม” นี้ คุณประสพลงพิมพ์บทสนทนาธรรมทั้ง ๕ บทพร้อมด้วยคำประพันธ์ที่คุณหญิงใหญ่เขียนขึ้นมา (โปรดดูโคลง ๒ บทที่อยู่ในตอนต้นของบทความนี้) นอกจากการบอกเล่าสืบต่อกันมา นี่เป็นเพียงหลักฐานชิ้นเดียวที่ปรากฏชื่อผู้ประพันธ์ในงานดังกล่าว ทั้งที่จากการค้นพบตัวหนังสือต้นฉบับ ก็ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งแต่ประการใด ผลงานที่ได้ชื่อว่าเป็นของคุณหญิงใหญ่ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๕-๗๗ จำนวนทั้ง ๕ บทมีรูปแบบการประพันธ์ในแนว “ปุจฉา-วิสัชนา” เนื้อหาล้วนเป็นธรรมะแนวปฏิบัติภาวนา มีคำศัพท์เฉพาะทาง และอ้างอิงคัมภีร์พระไตรปิฎกตลอด แนวทางดังกล่าวจะพอพบเห็นได้ในงานของพระเถระร่วมสมัยกับท่าน เช่น ในผลงานต่างๆ ของท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)๒๕  นอกจากนั้นยังสันนิษฐานได้ว่า ท่านได้รับอิทธิพลจากพระเถระร่วมสมัยอีก ๒ ท่าน อีกทั้งจากประวัติการสร้างวัดธรรมิการามวรวิหารจากบันทึกของคุณประสพ และจากหนังสืองานศพของสามีท่าน แสดงให้เห็นว่าคุณหญิงใหญ่ให้ความศรัทธาและเข้าฟังเทศน์ในสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) แห่งวัดเทพศิรินทราวาส และสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี, พ.ศ. ๒๔๒๔-๘๖) แห่งวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ซึ่งพระสงฆ์ทั้ง ๒ รูปถือว่าเป็นพระผู้ใหญ่ที่ขึ้นชื่อในความรู้ด้านปริยัติและปฏิบัติแห่งยุค๒๖

ในมุมที่อ้างว่าเป็นการบันทึกการสนทนาธรรมระหว่างพระอาจารย์มั่นและพระธรรมเจดีย์นั้น ก็มีข้อพิจารณาดังนี้ ถ้าศึกษาบทสนทนาธรรมทั้ง ๕ บทโดยตรง จะเห็นว่า การสนทนาไม่น่าจะเป็นการสนทนาระหว่างพระสงฆ์ หากเป็นบทสนทนาระหว่างฆราวาสมากกว่า (ทางด้านภาษาไม่สามารถสรุปได้ว่า ผู้ที่สนทนากันเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย) ตามตัวอย่างสำนวนดังนี้ ประโยคที่สนทนากันดูเหมือนว่าไม่น่าจะเป็นภาษาพระสงฆ์ เช่น "ท่านนับถือศาสนาอะไร"๒๗ "ข้าพเจ้านึกถึงตัวแล้วน่าสลดใจ เข้าวัดทำบุญมานานแล้ว"๒๘ "ภ.กับ ม. เสนทนากัน] วันพระไปวัดรักษาอุโบสถ เวลาเพลแล้วชวนไปสนทนาธรรมที่ศาลาข้างโบสถ์"๒๙ "ส่วนท่านศึกษามาก เข้าวัดมานานกว่าข้าพเจ้า"๓๐ ดูท่านผู้ย้ายบ้านเข้ามาอยู่ในวัด”๓๑ เป็นต้น และอีกอย่างหนึ่ง ในหนังสือที่แจกในงานฌาปนกิจของหลวงปู่มั่นในปี พ.ศ. ๒๔๙๓๓๒ ซึ่งครั้งนั้นพระธรรมเจดีย์เองเป็นอาวุโสฝ่ายพระสงฆ์อยู่ด้วย ก็มิได้ระบุชิ้นงานดังกล่าวไว้ กระทั่งถึงผลงานชีวประวัติของหลวงปู่มั่นสำคัญ ๒ ชิ้น เขียนโดยหลวงตามหาบัว พระธรรมวิสุทธิมงคล (ญาณสมฺปนฺโน, พ.ศ. ๒๔๕๖-๒๕๕๔) ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒๓๓ จนถึงงานของพระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร พ.ศ. ๒๔๖๓- ) เองก็มิได้กล่าวอ้างถึงบทสนทนาธรรมนี้เลย๓๔

หลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่สนับสนุนข้อสันนิษฐานว่า คุณหญิงใหญ่น่าจะเป็นผู้ประพันธ์ที่แท้จริงของบทสนทนาธรรมทั้ง ๕ บทนี้เป็นการบอกเล่าของท่านพุทธทาสภิกขุ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ, พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๕๓๖) ในอัตชีวประวัติของท่านเอง ท่านพุทธทาสเล่าว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) “มักเล่าให้ฟังเรื่อย เรื่องท่านหญิงใหญ่ ดูเหมือนจะชื่อดำรงธรรมสารแต่งปุจฉาวิปัสสนาท่านสนับสนุนให้พิมพ์”๓๕ ท่า่นพุทธทาสยังกล่าวต่อว่า ท่านเคยเอาบทความของคุณหญิงใหญ่มาพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “พุทธสาสนา”๓๖ ของท่านเองด้วยซ้ำ๓๗

ในเมื่อมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าคุณหญิงใหญ่น่าจะเป็นผู้ประพันธ์ที่แท้จริงของบทสนทนาธรรมทั้ง ๕ บทนี้ จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า ทำไมท่านถึงไม่เอ่ยชื่อตนเองในฐานะเป็นผู้ประพันธ์หนังสือต้นฉบับ เนื่องจากไม่มีคำนำในหนังสือต้นฉบับที่ผู้เขียนหามาได้ เรื่องนี้จึงเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน เป็นไปได้หรือไม่ว่า ท่านอาจคิดว่า ไม่ควรระบุชื่อของตนเอง เพราะในสมัยนั้นยังไม่เหมาะสมที่ผู้หญิงถ่ายทอดธรรมะขั้นสูง (ในบทสนทนาธรรมเหล่านั้นพูดถึงโลกุตรธรรมบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องข้อธรรมที่เนื่องด้วยสังโยชน์ ๑๐ และอริยบุคคล) หรือท่านอาจไม่ได้ลงชื่อเพราะเห็นว่า เรื่องธรรมะไม่ควรขึ้นอยู่กับบุคคล หรืออาจเป็นเพราะนิสัยถ่อมตัวก็ได้ อาจมีเหตุผลหลายอย่าง และเหตุผลอย่างอื่นที่ยังนึกไม่ถึง อีกประการหนึ่ง เป็นไปได้หรือไม่ว่า บทสนทนาธรรมดังกล่าวสะท้อนการสนทนาที่เกิดขึ้นจริง (อย่างน้อยส่วนหนึ่ง) ในกลุ่มผู้หญิงที่พบกับท่านและคุณนายถาง (เพราะการสนทนาบางตอน อ่านแล้วดูเหมือนว่าเกิดขึ้นจริงๆ )

หนังสือดำรงธรรม[แก้]

คำนำของหนังสือดังกล่าวมีความว่า “ข้าพเจ้าทราบว่าคุณหญิงดำรงธรรมสาร (ใหญ่ วิเศษศิริ) มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแต่ในปฐมวัยจนถึงมรณะ ท่องมหาสติปัฏฐานสูตรในหนังสือสวดมนต์บาลี 30 หน้าครึ่ง แลท่องความแปลได้ตลอด แลจำโสฬสปัญหาได้ทั้ง 16 ปัญหาทั้งแปลด้วย แลธรรมอื่นอีก เวลาเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้บอกให้คนเขียนตามคำบอกตลอดเล่ม เสร็จแล้วนำมาให้ข้าพเจ้าช่วยตรวจ ข้าพเจ้าแก้นิดหน่อย เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสทำนุบำรุงศาสนามาก เช่นสร้างวัดธรรมิการาม เมืองประจวบคีรีขันธ์ เกื้อกูลภิกษุสามเณร พิมพ์หนังสือธรรมแจกแก่ผู้ปฏิบัติเป็นต้น จนตลอดชีวิต”

ท่านดำเนินชีวิตใบบรรยากาศวัดจนบั้นปลายโดยสร้างกุฏิที่อาศัยอยู่ในวัด คุณนายถางสร้างหน้าวัดสัตตนารถปริวัตร ในขณะที่คุณหญิงใหญ่สร้างกุฏิหลังวัดธรรมิการามวรวิหาร (ซึ่งตรงจุดนี้ปัจจุบันเป็นร้านอาหาร) ทั้ง ๒ ท่านเป็นโยมอุปัฏฐากของพระสงฆ์ ท่านศึกษาธรรมจากพระสงฆ์ที่นับถือกันว่าเป็นผู้ปฏิบัติดี และประการสุดท้ายคือ มีนิสัยถ่อมตัว

จากการค้นคว้าของผู้เขียนสรุปได้ว่า คุณหญิงใหญ่พบคุณนายถางที่กุฏิท่านบ่อยๆ เพื่อแลกเปลี่ยนสนทนาธรรม ทั้ง ๒ ท่านศึกษาและปฏิบัติธรรมในวงแคบๆ ในกลุ่มผู้หญิงท้องถิ่นที่สนใจศึกษาธรรมะ กลุ่มนี้พบกันในตอนหัวค่ำ เพื่อทำวัตร สวดมนต์ นั่งสมาธิ และสนทนาธรรม อุบาสีกากี นานายน (ก. เขาสวนหลวง) ได้เล่าให้หลานของคุณนายถางฟังว่า สมัยที่ท่านยังเป็นฆราวาสเคยไปฟังการสนทนาธรรมที่กุฏิคุณนายถาง ในช่วงเวลาที่พบกัน บางท่านคงแสดงธรรมต่อหน้าผู้สนใจใฝ่ธรรม อาจจะมีการสนทนาธรรมในลักษณะปุจฉา-วิสัชนา โดยการนำธรรมะที่ได้ฟังจากพระสงฆ์ผู้มีชื่อเสียงทางด้านปฏิบัติในสมัยนั้นมาเล่าสู่กันฟัง นอกจากนั้นคงได้อ่านธรรมะจากพระไตรปิฎกด้วยกัน

นอกจากอิทธิพลทางหลักธรรมที่ได้จากสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทธสิริ, พ.ศ. ๒๓๔๙-๒๔๓๔)๑๓ และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร, พ.ศ. ๒๔๑๕-๙๔) ทั้งจากการศึกษาผนวกความรอบรู้ในพระไตรปิฎก ท่านก็ยังศึกษาธรรมะของท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท, พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๗๕) วัดบรมนิวาสราชวรวิหารอีกด้วย

เมื่อคุณหญิงใหญ่อยู่ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในช่วงบั้นปลายชีวิต ท่านไม่ได้มีคำบรรยายทิ้งไว้ และไม่ได้สอนธรรมะ หากแต่ปฏิบัติเพียงลำพัง ท่านมักจะอยู่ในโบสถ์ทั้งวันทั้งคืน ดูเหมือนว่า ยิ่งอายุมากขึ้น ท่านก็ยิ่งปฏิบัติธรรมมากขึ้น ซึ่งข้อนี้คล้ายๆ กับแนวทางการปฏิบัติของคุณนายถางเหมือนกัน

อนุสรณ์หนังสืองานศพคือจิ๊กซอว์สำคัญเพื่อค้นคว้าหาความจริง[แก้]

หนังสืออนุสรณ์งานศพของคุณหญิงใหญ่จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยยืนยันสิ่งที่ทั้งสองคนช่วยกันค้นคว้า

“มันเป็นกุญแจทุกอย่าง เราเจอคุณหญิงใหญ่อย่างนี้ โอ๊ย! ทำมาสามสี่ปี คุยแบบสนุกๆ ปาฏิหาริย์เลยนะ ถ้าท่านให้เล่มนี้ผมมาตั้งแต่วันแรก เป๊งแรก ปุ๊บอนุสรณ์งานศพก็โอเคก็จบ แต่ท่านมาเนี่ยทุกอย่างสมมติฐาน hypothesis ที่เราสร้างเนี่ยครบหมดแล้ว อนุสรณ์งานศพมาช่วยคอนเฟิร์ม คำนำของอนุสรณ์งานศพของคุณหญิงดำรงธรรมสารมายืนยันทุกอย่างที่เราทำไปสี่ปี และงานของคุณหญิงใหญ่ (ช่วง 2475-77) ก็นับว่าเป็นงานเกี่ยวกับธรรมะที่ “แต่ง” โดยสตรีที่เก่าที่สุดชิ้นหนึ่งของไทยในสมัยที่การศึกษาของผู้หญิงยังมีข้อจำกัดค่อนข้างมาก[2]

  1. http://www.dharma-gateway.com/ubasika/ky-yai/history/ky-yai-hist-01.htm
  2. https://thepeople.co/lady-yai-damrongdhammasarn-early-female-dhamma-author/