ผู้ใช้:Panupong J/กระบะทราย

นี่คือบทความคุณภาพ คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การสร้างระบบท่อส่งน้ำมัน  ทรานส์-อะลาสก้า ไปป์ไลน์ ซิสเต็ม

การสร้างระบบท่อส่งน้ำมัน  “Trans-Alaska Pipeline System“ งานส่วนใหญ่เสร็จสิ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1975 – 1977 โดยสร้างท่อจาก อ่าวพรัดโฮ (Prudhoe Bay) ไปยัง วัลดีซ, อลาสก้า (Valdez, Alaska) ซึ่งเป็นงานสร้างท่อส่งน้ำมันที่มีความยาวของท่อมากกว่า 800 ไมล์  สร้างสถานีสูบน้ำมัน 12 สถานี รวมทั้งสร้างท่าเรือสำหรับเก็บน้ำมันขึ้นมาใหม่   และส่วนใหญ่จะสร้างอยู่ในเขตที่เรียกว่า  permafrost  (เขตที่พื้นดินมีอุณหภูมิต่ำขนาด 0 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่านั้นติดต่อกันเป็นเวลานานครั้งละหลายปี  เช่น 2 ปีขึ้นไป) ความพยามในการก่อสร้างภายใต้งบประมาณ 8 พันดอลล่าร์นี้ นำมาซึ่งความต้องการคนงานจำนวนนับหมื่นที่บ่อยครั้งต้องทำงานภายใต้ อุณหภูมิ และ สภาวะการทำงานที่อันตราย, ต้องการสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นเทคนิคงานก่อสร้างเฉพาะเป็นพิเศษรวมทั้งการก่อสร้างถนนเส้นใหม่, ทางหลวงดาลตัน

ท่อท่อนแรกถูกวางในปี ค.ศ. 1975 เป็น เวลากว่า 5 ปีหลังจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางกฏหมาย และทางการเมือง ข้อกล่าวหาในความขัดแย้งคือเรื่องความผิดพลาดในการเชื่อมต่อท่อ   ทำให้มีการพิจาณาจากผู้ตรวจการในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศมากขึ้น.  วัฒนธรรมของประเทศโตขึ้นมากับเงื่อนไขของสภาวะการทำงานที่เกี่ยวกับการสร้างท่อส่งน้ำมันซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ  และแต่ละสหภาพที่ทำงานในโครงการนี้ต่างก็มีหน้าที่การทำงานและทัศนคติที่แตกต่างกัน พนักงานของบริษัท Alyeska  Pipeline Service Company หรือ พนักงานสัญญาจ้าง 32 คนถูกฆ่าตายในระหว่างโครงการนี้ ความพยายามในการก่อสร้างยังคงมีอยู่จนถึงปี ค.ศ. 1977 บาเรลล์น้ำมัน แรกถูกส่งมาในวันที่ 28 กรกฎาคมในปีเดียวกันนั้นเอง. หลายๆสถานีสูบน้ำมัน ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเพิ่มอัตราการไหลของน้ำมันเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1980

การสำรวจและการออกแบบ[แก้]

การสุ่มตัวอย่างการทางธรณีวิทยาและการสำรวจอย่างลึกซึ้งในเส้นทางการสร้างท่อส่งน้ำมันเริ่มขึ้นใน ปีค. ศ. 1970 มีการถ่ายภาพทางอากาศ ตรวจพิจารณา และสร้างรายละเอียดเส้นทางหลัก กลุ่มสำรวจขนาดเล็กจะทำการสำรวจลักษณะทางกายภาพของเส้นทาง และตอกหมุดลงในดิน ซึ่งการทำงานนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก   อันตรายจากสัตว์ป่าทำให้คนงานต้องพกอาวุธติดตัว  อีกทั้งยังต้องรับมือกับการอยู่ในพื้นที่ธุระกันดาร

และ ระบบสารณูปโภคที่มีอย่างจำกัดอีกด้วย  นอกจากนี้ความหนาทึบของต้นไม้ในสถานที่แห่งนี้ทำให้ต้องมีการตัดต้นไม้ลง ส่งผลให้ความคืบหน้าของงานถูกจำกัดแค่เพียง  6.1  กิโลเมตรต่อวัน มีการสำรวจเส้นทางผ่านช่องเขาหลายลูก เช่น  ช่องเขาอติกัน (Atigun pass)  ช่องเขาอิสเบล (Isabel pass) ช่องเขาทอมป์สัน (Thompson pass) และช่องเขาคีย์สโตน (Keystone pass) ในการสำรวจทำเลสุดท้าย ผู้สำรวจต้องไต่จากหน้าผาลงมาเพื่อทำให้งานสำเร็จลุล่วง

Pipeline on slider supports where it crosses the Denali Fault.

กลุ่มผู้สำรวจและวางแผนต้องเผชิญกับ   “  Denali Fault “  ( รอยต่อระหว่างทวีปที่เป็นสาเหตุหลักของแผ่นดินไหวในอลาสก้า )  และด้วยจำนวนPermafrost ที่มีปริมาณมาก ในปี ค. ศ. 1969,  หน่วยงานกลุ่มTrans-Alaska Pipeline System ได้ทำการเจาะสำรวจตามแนวเทือกเขาบรู๊กซ์ ทางด้านเหนือและได้เป็นข้อพิสูจน์ว่า Permafrost นั้นมีอยู่ตลอดเส้นทาง  การค้นพบนี้เองผลักดันให้เกิดการออกแบบท่อที่มีคุณภาพสูง ที่ถูกทดสอบ ใน Loop test สูง 300 เมตรที่สร้างอยู่ใกล้กับแบร์โร่  การยกระดับคุณภาพนี้ต้องการท่อที่มีการหุ้มฉนวน  เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นจัดส่งผลให้โลหะเปราะและแตกง่ายเมื่อน้ำมันที่มีอุหภูมิสูงถูกสูบผ่านท่อ.

หลังจากการคัดค้านทางนิเวศวิทยาเกี่ยวกับการเดินท่อใต้ดิน ( เพื่อให้ใช้วิธีเดินท่อผ่าน Caribou) วิศวกรได้ทำการพัฒนาระบบ โดยท่อบริเวณที่อยู่ใกล้กับพื้นดินจะต้องถูกแช่แข็งโดยน้ำเค็ม   ส่วนที่ถูกแช่แข็งนี้ถูกวางตามแนวสนามเพลาะ สไตโรโฟม  (Styrofoam) และถูกห่อหุ้มด้วยกรวดเพื่อค่าความเป็นฉนวน   ทั้งหมดนี้ ท่อในระยะ  5.6 กิโลเมตรถูกออกแบบมาเพื่อวิธีการวางท่อใต้ดิน  ในบริเวณอื่น ที่ปราศจากพื้นดินในลักษณะ permafrost   ค่อนข้างง่ายต่อการเดินท่อได้ดิน โดยสามารถเดินท่อใต้ดินได้โดยท่อไม่ต้องผ่านการแช่แข็งจากโรงแช่แข็ง   มีความต้องการกรวดเป็นจำนวนมากเพื่อนำมาทำเป็นฉนวนของท่อในทุกๆส่วน เพื่อกันความร้อนจากโครงสร้างเหนือพื้นดินที่จะทำให้ permafrost ละลาย นอกจากนี้ยังมีความต้องการใช้กรวดในงานสร้างและบำรุงรักษาถนนอีกด้วย     และผู้สำรวจยังได้มีการระบุ  470  ไซต์งานใน อะลาสก้าที่ต้องการกรวดในปริมาณถึง 50,000,000 ลูกบาศก์เมตร.

ร่างกฏหมายการวางท่อส่งน้ำมัน ต้องการท่อส่งน้ำมันที่สามารถทนต่อแผ่นดินไหวขนาดความแรงสูงสุดที่เคยถูกบันทึกไว้ในบริเวณที่มีการวางท่อ  และเมื่อท่อเดินผ่านรอยต่อ   Denali Fault   จะมีการออกแบบวัสดุที่เรียกว่า   “ Teflon-coated sliders “     มาใช้เพื่อทำให้ท่อสามารถเลื่อนไสด์ได้ขณะเกิดแผ่นดินไหว    และเพื่อป้องกันการกระแทกทั้งด้านหน้าและหลัง รวมทั้งรองรับการขยายตัวของอากาศจากความร้อน  ท่อจึงไม่ได้ถูกออกแบบในลักษณะตรง  แต่ตั้งใจออกแบบในลักษณะรูปตัว S  (S –shape)  ลักษณะการโค้งงอจะทำให้ท่อไม่ถูกทำลายจากการขยายตัวของอากาศจากความร้อน  และการเคลื่อนที่

Radiators atop heat pipes keep permafrost below the pipeline frozen.

เพราะส่วนใหญ่ท่อส่งน้ำมันถูกสร้างให้อยู่เหนือพื้นดิน  แบบ  Permafrost   ท่อแต่ละอันจึงต้องมีการ

ยกสูงในส่วนของท่อที่มีการปิดผนึกด้วยแอมโมเนีย   เนื่องจากพื้นดิน  Permafrost ที่อยู่ภายใต้ท่อจะอุ่น   

แอมโมเนียจะมีทำหน้าที่ดูดซับความร้อนและ  พาความร้อนสู่อุปกรณ์แผ่กระจายความร้อน (Radiator) ที่อยู่ด้านบนของเสาตอม่อแต่ละต้น   แอมโมเนียระบายความร้อนด้วยอากาศภายนอก, ควบแน่น และกลับไปที่ด้านล่างของหลอดเมื่อมีทำกระบวนการซ้้ำ

จากเส้นทางทางสำรวจจะต้องมีการเดินท่อผ่านหลายๆลำธารและแม่น้ำ วิศวกรจึงได้ทำการออกแบบคอนกรีตที่เรียกว่า  “ Jacket “  เพื่อห่อหุ้มท่อไว้โดยรอบและปล่อยให้ท่อจมอยู่ใต้ลำธารหรือแม่น้ำ   เนื่องจากน้ำมันมีคุณสมบัติที่เบากว่าน้ำ  ท่ออาจจะลอยขึ้นมาได้ถ้าไม่มีการห่อหุ่มด้วย Jacket คอนกรีต   อีกทั้งยังเป็นเรื่องที่กับสิ้งแวดล้อม  จึงไม่มีการอณุญาตให้ทำการการขุดลอกแม่น้ำหรือการฝังท่อในลำธาร   ในหลายๆสถานที่  ถึงแม้ว่าจะไม่มีความกำลังเรื่องผลกระทบกับแม่น้ำ หรือแม้แต่ ลักษณะทางธรรมชาติของแม่น้ำเอง   ก็มีการสร้างสะพานวางท่อขึ้นมา  ที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักคือ สะพานข้ามแม่น้ำ  "ยูคอน"   และแม่น้ำ “Tanana“  และเพื่อป้องการสนิมจากสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้น  ท่อจึงถูกออกแบบให้มีการป้องกันแบบ  คาโธดิค  ( Cathodic protection :  เทคนิคควบคุมการขึ้นสนิมบนโลหะโดยการใช้ Cathode) 

ในแง่ของการป้องกันการรั่วไหล  ท่อจะถูกออกแบบด้วยวาล์วทางเดียว (ดังนั้นน้ำมันที่ไหลไปข้างหน้าจะไม่สามารถรั่วไหลออกจากหลุมในจุดนั้นๆ)  มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบการรั่วไหลและคุณสมบัติอื่น ท่อส่งน้ำมันถูกออกแบบให้ทนต่อแรงกดดัน   ดังนั้นการรั่วไหลสามารถตรวจพบได้ทันที จากการลดลงของระดับแรงดันของแต่ละสถานีสูบน้ำมัน ซึ่งจะส่งเป็นเสียงสัญญาณเตือน และจะทำการหยุดการไหลของน้ำมันอย่างรวดเร็ว

เมื่อโครงการถูกเสนอ  ท่อส่งน้ำมันถูกกำหนดให้เริ่มต้นที่กำลังการผลิต 0.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน (95, 000 m3 / วัน) และขยายกำลังการผลิตไปถึง 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน (190,000 m3 / วัน) ภายในระยะเวลา 2 ปี   รวมทั้งเพิ่มกำลังการผลิตไปจนถึง 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน (320,000 m3 / วัน) ภายในระยะเวลาที่ยังไม่กำหนดแน่นอน   การห้ามนำเข้าส่งออกน้ำมันนี้ มีผลให้แผนนี้ต้องถูกยกเลิก   จุดมุ่งหมายของโครงการนี้คือการสร้างท่อที่สามารถรองรับกำลังการผลิตเริ่มต้นที่ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน (190,000 m3 / วัน)   ซึ่งทำให้จำเป็นต้องใช้ 8 สถานีสูบน้ำมัน (แทน 5 สถานี) ที่พร้อมในการเริ่มกระบวนการผลิตรวมทั้งมีความต้องการการเพิ่มกำลังคนเป็นจำนวนมาก

ท่าเรือขนส่ง Valdez

ท่าเรือขนส่งวัลดีซ  ซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดของท่อส่งน้ำมัน  ได้มีการวางแผนให้เป็นส่วนที่ผ่านท่าเรือ Valdez fjord จากวัลดีซอย่างเหมาะสม   การศึกษาเบื้องต้นคาดว่า หินดาน (bedrock) น่าจะอยู่ลึกจากพื้นดิน 6 ฟุต

แต่เมื่อมีการเริ่มขุดก็พบว่าจริงๆแล้วอยู่ลึกลงไปถึง 60 ฟุต และต้องการการขุดเอาผิวดินออกถึง   15,000,000 ลูกบาศก์เมตร ตัวสถานีเองได้ถูกสร้างให้มีท่าเทียบเรือถึง 4 ท่า และพื้นที่สำหรับท่าเทียบเรือที่ 5 ก็กลายเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน    ส่วนของถังน้ำมันได้ออกแบบให้มีความจุเท่าความความจุของท่อน้ำมันและยอมให้ท่อน้ำมันสามารถว่างเปล่าปราศจากน้ำมันได้ในกรณีที่มีความจำเป็น ซึ่งเป็นไปตามร่างกฏหมายการวางท่อ และต้องมีการออกแบบระบบกรองน้ำแบบบัลลาสต์ (ballast-water filtration system) อีกด้วยเช่นกัน   ระบบกรองนี้จะทำการดึงน้ำมันออกจากถังกรองน้ำแบบบัลลาสต์   ดังนั้นมันถึงไปถูกปล่อยออกมาในรูปแบบเสียงเจ้าชายวิลเลียม  (Prince William Sound)  ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวประมงกลัว เมื่อโครงการท่อส่งน้ำมันถูกเสนอ

ขั้นตอนการเตรียมการ[แก้]

Before construction of the Dalton Highway, special vehicles like the Sno-Freighter were needed to take supplies north of the Yukon River.

ไม่นานหลังจากที่มีการเซ็นอนุญาตให้ดำเนินการ    ขบวนของอุปกรณ์ที่อยู่บนรถแทรกเตอร์ลุยหิมะเริ่มมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ ใช้ถนนหิมะที่จับตัวกันแข็งและสะพานที่เป็นน้ำแข็งข้ามแม่น้ำยูคอนไปถึงแคมป์งานก่อสร้างทั้ง 7 แคมป์ ซึ่งอยู่ในสภาพที่สงบตั้งแต่ปี ค. ศ. 1970    ใน 83 วันนับจากกลางเดือนมกราคม จนถึงเวลาที่หิมะและน้ำแข็งละลายในช่วงกลางเดือนเมษายน    คนงาน 680 คนเคลื่อนย้ายรถแทรกเตอร์จำนวนน้ำหนัก 34000 ตันไปยัง แคมป์ก่อสร้างทั้ง 7 และสร้างเพิ่มมาอีก 5 แคมป์ และสร้าง airstrips ชั่วคราวอีก 5 แห่ง

ในเดือนกุมภาพันธ์ สะพานที่เป็นน้ำแข็งและถนนที่ปกคลุมด้วยหิมะจะทำหน้าที่รองรับรถประเภทบรรทุกหิมะจากทางเหนือ   บริษัท  Alyeska ได้รับมอบให้ทำหน้าที่ออกแบบงานก่อสร้างและซ่อมบำรุงถนน ในขณะที่บริษัท  Michael Baker, Jr., Inc.ซึ่งเป็นบริษัทในรัฐเพนซิลวาเนียได้รับมอบให้เป็นบริษัทผู้รับเหมาดูแลในส่วนงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำยูคอน   รัฐอะลาสก้าเป็นผู้ออกแบบสะพานและออกงบประมาณ 2 ใน 3 ของทั้งหมด โดยที่บริษัท  Alyeska  เป็นผู้ออกงบประมาณส่วนที่เหลือ    และสะพานถูกสร้างโดย   บริษัท Manson-Osberg-Ghemm ในวันที่ 5 เมษายน ปัญญาการสร้างถนนถูกหยิบยกขึ้นมา  เบ็ดเสร็จ  ทางหลวงเส้นใหม่ ดาลตันจึงถูกสร้างขึ้นมาด้วยงบประมาณ  185 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ  โดยมี 4 บริษัททำหน้าที่ออกค่าใช้จ่ายร่วมกัน งานก่อสร้างทางหลวงดาลตัน เริ่มขึ้นในวันที่  29 เมษายน  จากการที่มีความพยายามอย่างมากในงานก่อสร้างนี้ จำนวนคนงานทั้งจาก บริษัท  Alyeska   และ จากบริษัทผู้รับเหมาอีก 4 แห่ง จึงมากถึง  3,400 คน  ซึ่งได้มาจากแม่น้ำยูคอน จนถึงอ่าวพรัดโฮว์   ระบบขนส่งทางอากาศขนาดใหญ่ ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับงานก่อสร้างถนนนี้ โดยมีมากกว่า  700 เที่ยวบินต่อวัน   รวมทั้งสิ้นถูกใช้ไปทั้งหมด 170,000 เที่ยวบินก่อนที่งานก่อนสร้างถนนจะเสร็จใน วันที่  29 เดือนกันยายน  ใช้เวลาเพียงแค่  154 วัน ถนนลูกรังความยาว  360ไมล์ก็ถูกสร้างขึ้น การปรับถนนให้เรียบในครั้งสุดท้ายจะต้องเสร็จ และจะต้องมีการก่อสร้างสะพานเล็กแบบถาว ร ในเดือนพฤศจิกายน  ก็ได้มีการเปิดการจราจรขึ้นที่สะพานข้ามแม่น้้ำยูคอนจากบนสะพานน้ำแข็งอีกแห่งหนึ่ง

การบริหารงาน[แก้]

ในการกำกับดูแลการก่อสร้างท่อส่งน้ำมัน   บริษัท Alyeska  มอบหมายให้สองบริษัทผู้รับเหมาบริหารงานก่อสร้าง  ทำหน้าที่ดูแลผู้รับเหมารายอื่นๆทั้งหมดในโครงการ   บริษัท เบคเทลคอร์ปอเรชั่น จากซานฟรานซิสถูกเสนอชื่อให้เป็นบริษัทผู้รับเหมาบริหารงาน ที่ดูแลงานสร้างท่อในส่วนของตัวเอง   บริษัท Fluor Alaska Inc. ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของ Fluor Cooperation ถูกเสนอชื่อให้ดูแลในส่วนของงานก่อสร้างสถานีสูบน้ำมัน และ ท่าเรือวัลเดซ   ซึ่งถือเป็นส่วนงานเดียวที่มีความซับซ้อนมากที่สุดของงานสร้างท่อส่งน้ำมันนี้    เพราะมันเกี่ยวข้องกับการการถ่ายโอนน้ำมันจากท่อไปยัง แท้งค์ บนเรือบรรรทุกน้ำมัน  

ไม่ว่าทั้งสองบริษัทนี้จะดำเนินงานก่อสร้างเองหรือไม่   แต่งานก็ได้มีการกระจายออกไปยังกลุ่มบริษัทผู้รับเหมาตามลำดับ   โดยแต่ละบริษัทในกลุ่มจะรับผิดชอบงาน 1 ส่วน (หรือ 2 ส่วน ) จากทั้งหมด 6 ส่วนของงานสร้างท่อส่งน้ำมันทั้งหมด ( รวมเป็น7 ส่วนถ้านับรวม ท่าเรือทางทะเล )  มีการเปิดให้เสนอราคาจากผู้รับเหมา ในช่วงปลายเดือนมีนาคม  และประกาศสัญญาในวันที่  12  มิถุนายน ค. ศ.1974  

งานก่อสร้างส่วนที่หนึ่ง  มีระยะทาง 153 ไมล์ (246 กิโลเมตร)   จากวัลดีซไปยังแคมป์งาน Sourdough   บริษัท  River Construction Corporation ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมอร์ริสัน-Knudsen, ได้รับการว่าจ้างให้ดูแลรับผิดชอบในส่วนนี้   ส่วนที่สองครอบคลุมระยะทาง 149 ไมล์  (240 กิโลเมตร)  จากแคมป์งาน  Sourdough  ไปยัง แยก Delta อยู่ในความรับผิดชอบของ บริษัท  Perini อาร์กติกซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของ  บริษัท Perini คอร์ปอเรชั่น , บริษัท Majestic Construction ,  บริษัท Wiley Oilfield Hauling Ltd  และบริษัท McKinney Drilling Company  ส่วนที่สามครอบคลุมระยะทาง  144 ไมล์ (232 กิโลเมตร)  เริ่มจาก แยก Delta  ผ่าน Fairbank ไปจนเกือบถึง  ยูคอน  สัญญาการว่าจ้างในส่วนนี้ได้มอบให้กับ  บริษัท H.C. Price,  ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทที่ประกอบด้วย H.C. Price Company (หรือที่รู้จักกันดีในนาม  PPCO) , บริษัท R.B. Potashnick , บริษัท Codell Construction Company  และ บริษัท  Oman Construction Company

งานก่อสร้างในส่วนที่สี่เป็นระยะทาง   143 ไมล์ (240  กิโลเมตร)  เริ่มจากทางตอนใต้ของ ยูคอน ไปจนถึง  Coldfoot และทำการว่าจ้าง บริษัท  Associated-Green เป็นกลุ่มบริษัทที่ประกอบด้วย  บริษัท  Associated Pipeline Contractors Inc.  และ บริษัท  Green Construction Company  โดยที่กลุ่มบริษัทนี้ยังเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทผู้รับเหมาที่ก่อสร้าง ทางหลวง ดาลตันอีกด้วย   ในส่วนที่ห้าครอบคลุมระยะทางจาก  Coldfoot  ไปยังแคมป์ก่อสร้างท่อน้ำมัน  ตูลิค ( Toolik )    และส่งที่หกไปจาก ตูลิคไปจนถึง อ่าวพรัดโฮว์  รวมทั้งหมดสองส่วนนี้ครบอคลุมระยะทาง 230 ไมล์ (340 กิโลเมตร)  และทั้งสองส่วนนี้อยู่ภายใต้การดูแลของ บริษัท Arctic Constructors  ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของบริษัท Brown & Root Inc , บริษัท Ingram Corporation , บริษัท Peter Kiewit Sons Inc , บริษัท Williams Brothers Alaska, Inc., และ บริษัท H.B. Zachry Company

ในวัลดีซ  ซึ่งอยุ่ในความดูแลรับผิดชอบของ บริษัท Fluor นั้น งานถูกแบ่งออกไปยังบริษัทผู้รับเหมารายย่อย หลายๆราย   บริษัท  Morrison-Knudsen ทำหน้าที่เตรียมสถานที่สำหรับงานก่อสร้าง บริษัท Chicago Bridge & และ บริษัท Iron Company ทำหน้าที่สร้าง กลุ่มถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่  (Tank Farms) เทียบเรือบรรทุกน้ำมันถูกสร้างขึ้นโดย บริษัท Kiewest  (บริษัท ร่วมทุนของบริษัท Peter Kiewit Son , บริษัท Willamette-Western Corporation) และ บริษัท General Electric ทำหน้าที่หุ้มฉนวนให้กับท่อ  บริษัท Fluor  ยังทำหน้าที่ดูแลงานก่อสร้างสถานีสูบน้ำมันซึ่งโดยทั่วไปถูกสร้างขึ้นจากบริษัทผู้รับเหมา ที่ทำงานในส่วนที่เฉพาะเจาะจงของท่อส่งน้ำมัน

แคมป์งานสร้างท่อส่งน้ำมัน[แก้]

A map of the Trans-Alaska Pipeline with pump stations and construction camps identified.

เมื่อสัญญามีการประกาศขึ้น  บริษัท Alyeska  นั้นก็ได้มีแคมป์งานสร้างท่อถึง 12 แคมป์ ทั้งที่สร้างเสร็จแล้วและอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ค่ายทั้งหมดนี้ล้วนอยู่ทางตอนเหนือของยูคอน อย่างไรก็ตาม แคมป์งานจะต้องสร้างอยู่ตามระยะเดินท่อทั้งหมดของโครงการนี้   บริษัท  Alyeska วางแผนสร้างแคมป์งานก่อสร้างทั้งหมด 29 แคมป์ แต่แล้วมีแคมป์ถูกสร้างขึ้นถึง 31 แคมป์  7 แคมป์สร้างขึ้นในแนวเดินท่อส่งน้ำมันทางด้านใต้ของยูคอน และมีการสร้างแคมป์ขึ้นในแต่ละ สถานีสูบน้ำมันทั้ง 12 แห่ง ซึ่งอยู่ตามระยะความยาวของเส้นทางแคมป์ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่ที่มีการเทกรวดไว้ค่อนข้างหนา เพื่อให้เป็นฉนวนป้องกันสิ่งที่อยู่ใต้พื้น  permafrost และ ป้องกันมลพิษ  ในช่วงท้ายของโครงการก่อสร้าง ได้มีการย้ายกรวดออกจากบริเวณนั้นตามหลัก ทางทฤษฎีการขจัดการรั่วไหลของน้ำมันรวมทั้งสารพิษในน้ำมัน ด้านบนสุดของก้อนกรวดคือ อาคารก่อสร้างแบบสำเร็จรูป   ซึ่งชิ้นส่วนอาคารมีทั้งการขนส่งทางอากาศ และ ทางรถบรรทุกซึ่งวิ่งผ่านทางหลวงดาลตัน  โครงสร้างมาตรฐานสามารถรองรับผู้อยู่อาศัยได้ถึง 28 คน โดยที่สองอาคารจะเชื่อมถึงกัน เพื่อสร้าง " ปีก" อาคาร ทุกแคมป์จะถูกสร้างในแบบเดียวกัน ยกเว้นที่ วัลดีซ และ แคมป์ที่สถานีสูบน้ำมัน  จะเป็นโครงสร้างจะถูกวางบนพื้นที่อีกแบบ  เนื่องจากพื้นที่มีบริเวณจำกัด นอกเหนือไปจากคุณสมบัติความเป็นฉนวนของกรวดแล้ว  ทั้งอาคาร และ ท่อระบบไฟฟ้า / ประปา จะถูกยกสูงเหนือพื้นดินเพื่อหลีกเลี่ยงความร้อนจาก permafrost 

แคมป์สามารถรองรับผู้อยู่อาศัยได้ 250 คน (ในแต่ละสถานีสูบน้ำมัน) รองรับได้ถึง 3,500 คน (ที่วัลดีซ)  แคมป์ที่สถานีสูบน้ำมันใช้งบประมาณการก่อสร้าง 6 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ   ในขณะที่แคมป์งานที่อยู่ตามเส้นทางเดินท่อหลักใช้งบประมาณการก่อสร้าง 10 ล้านเหรียญญดอลล่าร์สหรัฐ     แคมป์มีเตียงสำหรับคนงานทั้งหมด 16,500 เตียง และ แคมป์ถูกคนงานตั้งชื่อว่า “Skinny City “ โดยชื่อนี้มาจากความจริงทางกายภาพที่ว่า มืองมีความยาว 800 ไมล์ (1, 300 กิโลเมตร) แต่มีความกว้างเพียงไม่กี่ร้อยฟุต

สำนักงานใหญ่การก่อสร้างทั้งหมดอยู่ที่ฟอร์ตเวนไรท์ใกล้กับแฟร์แบงค์  ซึ่งเป็นที่ที่บริษัท  Alyeska   เช่าที่ดินและอาคารจากกองทัพสหรัฐ  โรงทหารที่ไม่ได้ใช้งานถูกดัดแปลงให้เป็นที่อยู่อาศัย และสำนักงานที่ว่างก็ได้ทำการมอบให้กับคนงาน  เนื่องจากการจราจรทางอากาศมีมากขึ้น  บริษัท Alyeska ทำการจัดการเรื่องการใช้งานสนามบิน  ฟอร์ตเวนไรท์  เพื่อลดภาระการขนส่งของสนามบินนานาชาติแฟร์แบงค์ แคมป์ที่เวนไรท์เป็นเพียงแคมป์เดียวที่ไม่ได้ใช้อาคารสำเร็จรูป

คนงาน[แก้]

ระบบท่อส่งน้ำมัน  “ Trans-Alaska Pipeline System “ ทั้งหมดถูกสร้างโดยสภาพแรงงาน เนื่องจากงานก่อสร้างในประเทศสหรัฐอเมริกามีขณะนั้นมีความตกต่ำเป็นส่วนใหญ่ งานสร้างท่อดึงแรงงานมาจากทั่วประเทศ  โดยที่แรงงานเหล่านี้ต้องปฏิบัติตามกระบวนการจ้างงานที่เข้มงวด ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของระบบสหภาพอาวุโสและระบบแรงงานซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก มีการจัดลำดับความสำคัญของการจ้างงานในอะลาสก้าและแรงงานพื้นเมืองในอลาสก้า  ไม่มีการอนุญาติให้ประท้วงหยุดงาน ซึ่งเป็นข้อตกลงทางแรงงานระหว่าง บริษัท  Alyeska  และสหภาพแรงงาน  เพื่อแลกกับการปฏิบัติตามข้อ จำกัดเหล่านี้  คนงานจะได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเป็นอย่างดี  ซึ่งเป็นไปตามสัญญาจ้าง คนงาน ทุกคนจะได้รับประกันการจ่ายค่าจ้าง  40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ถึงแม้ว่าสภาพอากาศจะทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ก็ตาม    นอกจากนี้ ผู้รับเหมายังมีสัญญาค้าจ้างบวกเพิ่มที่ทำไว้กับ บริษัท  Alyeska   อีกด้วย ทำให้ไม่มีความจำเป็นเรื่องลดการอัตราการจ้างงานให้ต่ำ  ปัจจัยนี้มักนำไปสู่การมอบหมายงานให้คนจำนวนมาก เพื่อพยายามชดเชยเวลาที่เกิดจากความล่าช้าเนื่องจากสภาพอากาศ ที่จุดสูงสุดของการก่อสร้างในฤดูใบไม้ร่วงปีค.ศ 1975 มีจำนวนคนงานกว่า 28,000 คนที่ทำงานสร้างท่อส่งน้ำมันนี้  14 ถึง 19 เปอร์เซนต์ของคนงานเป็นกลุ่มคนที่อายุยังน้อยและ 5– 10 เปอร์เซนต์เป็นผู้หญิง และเนื่องจากโครงการนี้มีอัตราการลาออกของแรงงานสูง แรงงานกว่า 70,000 คนจึงได้ทำงานอย่างน้อยส่วนหนึ่งของท่อส่งน้ำมัน    

ช่างเชื่อม[แก้]

ช่างเชื่อมที่ทำงานในท่อตัวมาจาก บริษัท  Pipeliners Local 798  ที่อยู่นอกเมือง  Tulsa, Oklahoma, ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญในการให้บริการเครื่องเชื่อมท่อสำหรับโครงการขนาดใหญ่นี้  บริษัทนี้อยู่ในกลุ่มสมาชิก  Plumbers and Steamfitters Union  บริษัท ดำเนินการเชื่อมทั้งหมดในโครงการ  ไม่ได้เชื่อมเฉพาะตัวท่อ แต่รวมไปถึง  สถานีสูบน้ำมัน  ท่อลำเลียงท่อส่งน้ำมัน ( Feeder pipeline )  และทำงานที่สถานี วัลดีซ ช่างเชื่อมเป็นกลุ่มคนงานที่ได้รับค่าจ้างสูงที่สุดในจำนวนคนงานทั้งหมด โดยที่ได้รับค่าจ้าง 18.25 เหรียญญดอลล่าร์สหรัฐต่อชั่วโมง ซึ่งถือเป็นอัตราค่าจ้างปกติของช่างเชื่อม และเพื่อให้ได้รับการว่าจ้าง ช่างเชื่อมจะต้องผ่านกระบวนการรับรองที่เกี่ยวข้องกับชุดการทดสอบการเชื่อม   ถ้าช่างเชื่อมสอบไม่ผ่านการทดสอบใดๆ ก็จะไม่ได้รับการจ้างงาน และไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการทดสอบใหม่เป็นเวลาหลายสัปดาห์     

“  798ers “  ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องหมาย  แทนสำเนียงใต้  รองเท้าบู๊ทคาวบอย และ หมวกของช่างเชื่อมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ   ช่างเชื่อมเป็นเพียงกลุ่มเดียวที่เชื่อมท่อหน้า 48 นิ้ว ( 122 เซนติเมตร )  ของท่อส่งน้ำมันหลัก  และคนทำงานภายนอกสังเกตุลักษณะนิสัยของพวกเขาว่าเป็นพวก  หยิ่งยะโส และ “ พวกใจแคบ “ ในกลุ่มเพื่อนช่างเชื่อมด้วยกันมีคำกล่าวว่า “  แค่พาช่างเชื่อมของ  798 pipeline welder คุณไปเลี้ยงเครื่องดื่มเล็กๆน้อยๆ เขาอาจจะกล่าวกับคุณว่า เขาคือช่างเชื่อมที่เป็นของขวัญอันยิ่งใหญ่จากพระเจ้า “ทัศนคติแบบนี้สร้างความไม่พอใจแก่คนงานสร้างท่อกลุ่มอื่น และความขัดแย้งนี้เป็นสาเหตุของการทะเลาะวิวาทในบริเวณกว้าง   ซึ่งในบางครั้ง ตำรวจรัฐอลาสก้าจะต้องบินไปถึงแคมป์งานก่อสร้างเพื่อยับยังจลาจลขนาดเล็ก ในช่วงท้ายของโครงการท่อส่งน้ำมัน  ชุดสติ๊กเกอร์ติดกันชนถูกผลิตขึ้นมาด้วยสโลแกน  “Happiness is 10,000 Okies going south with a Texan under each arm” 

คนขับรถบรรทุก[แก้]

กลุ่มสหภาพคนขับรถบรรทุก คือกลุ่มกลไกลสนับสนุนที่ใหญ่ที่สุดและโดดเด่นมากที่สุดของคนงานในโครงการท่อส่งน้ำมัน  คนขับรถบรรทุกทำหน้าที่ในส่วนของการขนส่งและจัดส่งเสบียงของโครงการ รถบรรทุกทั้งหมดจะขับโดยทีมคนขับรถบรรทุก การขนส่งวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆจากคลัง จะดำเนินการโดยทีมคนขับรถบรรทุก  และการขนส่งคนงานจากแคมป์ไปยังไซต์งานต่างๆก็ดำเนินการโดยคนขับรถบรรทุกเช่นกัน  บริษัท Teamsters Local 959 และพนักงานกว่า 28,000 คน คือ กลุ่มกำลังแรงงานที่ขับเคลื่อนโครงการนี้อย่างเห็นแท้จริง มีการกล่าวหาเรื่องทุจริตของทีมคนขับรถบรรทุกในโครงการอยู่บ่อยครั้ง และหนังสือพิมพ์  Anchorage Daily News ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์จาก 15 ชุดซีรีย์ ในเรื่องของการลุกขึ้นต่อสู้ของ ชาว Local 959 ซึ่งมีอิทธิพลต่อสภาพทางการเมือง ข้อกล่าวหาซ้ำๆที่เชื่อมโยงกับการก่ออาชญากรรมไม่เคยได้รับการสนับสนุนทางหลักฐาน แต่ก็มีหัวหน้าทีมคนขับรถบบรรทุก 2 คนถูกฆาตกรรม ในระหว่างที่มีการสืบสวนสอบสวนยาเสพติดในโครงการท่อส่งน้ำมัน ทีมคนขับรถบรรทุกปกิเสธทุกข้อกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมและมุ่งประเด็นไปยังข้อเท็จจริงที่ว่า 80 เปอร์เซนต์ของทีมคนขับรถบรรทุก ในโครงการนี้ระดับการศึกษาระดับวิทยาลัย หรือ มีความเป็นมืออาชีพและมีประสบการณ์ด้านการบริหาร

คนขับรถบรรทุกควบคุมเครื่องมือและอุปกรณ์ในคลังสินค้า  เป็นสาเหตุของความขัดแย้งกับคนงานอื่นๆ ในบางสถาณการณ์  คนขับรถบรรทุกถูกทำร้ายโดยคนงานจากสหภาพแรงงานอื่น  ในสถานการณ์อื่นๆ คนขับรถบรรทุกใช้ตำแหน่งงานของเขาในการแบ่งเขตสัมปทานระหว่าง บริษัท Alyeska และ บริษัทผู้รับเหมาอื่นๆ

แม้ว่าพวกเขาจะถูกห้ามไม่ให้ทำการประท้วงหยุดงาน  แต่เขาก็ได้รับการอนุญาตให้หยุดงานสำหรับการประชุมความปลอดภัย และการอนุญาตเช่นนี้ถูกใช้ในไม่กี่ครั้ง ที่เด่นที่สุดคือในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 หลังจากเหตุการณ์อุบัติเหตุอันร้ายแรงของรถบรรทุกบนทางหลวงเอลเลียต ซึ่งเชื่อมต่อกับอาคารสร้างใหม่ที่ดัลตัน 

ทางหลวงเอลเลียตในขณะนั้นยังไม่ได้รับการปรับปรุง ทำให้การขับรถบรรทุกบนถนนในระยะ 80 ฟุต (24 เมตร) ค่อนข้างไม่ปลอดภัย   หลังจากความพยามยามดึงบริษัท Alyeska มาช่วยปรับปรุงถนนถูกปกิเสธ  หัวหน้าทีมขับรถบรรทุก Jess Carr  หยุดการเดินรถบบรรทุกทั้งหมดในรัฐ ช่วงระยะเวลา 4 วันของการประชุมความปลอดภัย  เมื่อบริษัท Alyeska และรัฐ ให้สัญญาว่าจะทำการปรับปรุงถนน  การเดินรถบรรทุกจึงเกิดขึ้นดังเดิม

คนควบคุมอุปกรณ์จักรกลหนัก (Operators)[แก้]

สหภาพการดำเนินงานวิศวกรนานาชาติ (เรียกสั้นๆว่า โอเปเรเตอร์) เป็นตัวแทนของ กลุ่มชายและหญิง ที่ทำงานตรงส่วนควบคุมเครื่องจักรกลหนักที่ใช้ในโครงการสร้างท่อส่งน้ำมันนี้ อุปกรณ์เหล่านี้ รวมถึง รถแทรกเตอร์, รถเครน, แท่นขุดเจาะ และรถยกที่ทำหน้าที่ยกวัสดุอปกรณ์ข้ามระหว่างรถแทรกเตอร์และรถเครน ทำให้สามารถวางส่วนท่อในร่องที่เป็นแนวขนานกับตัวรถได้    เพราะว่าอุปกรณ์จักรกลหนักต้องระวังเรื่องความร้อน ดังนั้น โอเปเรเตอร์ 6 คน จะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในอุปกรณ์แต่ละชิ้น  และ อนุญาตให้หยุดพักได้บ่อย เรื่องตลกที่นิยมกล่าวกันในงานสร้างท่อมีอยู่ว่าคุณสมบัติเดียวของผู้ที่เป็นโอเปเรเตอร์คือ “ต้องสามารถนั่งอยู่บนรถยกที่อุหภูมิต่ำกว่า 40 ดีกรีเซลเซียลโดยที่ไม่แข็งตายเสียก่อน “  แต่ก็มีเรื่องจริงจากคนงานคนหนึ่งได้เขียนไว้ว่า  ไม่มีอะไรน่ากลัวไปกว่าการที่จะต้องอยู่ในร่อง  และทำงานกับโอเปเรเตอร์ที่อยู่ในสภาพเมาสุรา หรือ ไม่มีทักษะเพียงพอในการว่างท่อ

กลุ่มแรงงาน (Laborers)[แก้]

เนื่องจากมีผู้สมัครตำแหน่งกลุ่มแรงงานเป็นจำนวนมากกว่างานที่มีอยู่     ดังนั้นกระบวนการเลือกคนเข้าทำงานในโครงการซึ่งผ่านกลุ่มแรงงานท้องถิ่น  942 นี้จึงมีกระบวนการหลายชั้น   มีระดับของผู้ที่จะถูกเลือกเข้าทำงานหลายระดับ โดยอยู่บนพื้นฐานของจำนวนผู้ทำงานอาวุโสที่มีอยู่ สมาชิกระดับ A จะได้รับเลืกเข้าทำงานเป็นกลุ่มแรก   แต่พวกเขาจะต้องทำงานได้อย่างน้อย 800 ชั่วโมง กับ สหภาพในอดีต    สมาชิกระดับ B จะต้องทำงานอย่างน้อย 100 – 800 ชั่วโมง กับสหภาพ   สมาชิกระดับ C จะต้องมีประสบการณ์การทำงานนอก รัฐอาลาสก้า หรือ ใน รัฐอลาสก้า อย่างน้อย 2 ปี   ส่วนระดับ D เปิดโอกาสให้คนทั่วๆไป  และผู้ที่อยู่ในระดับ D จะมีโอกาสได้รับเลือกเข้าทำงานน้อยครั้งมากๆ  แต่นั้นก็ไม่สามารถหยุดความพยายามของผู้สมัครได้   เวลา 11 นาฬิกาของวันที่  1 ปี ค.ศ. 1974  ก่อนหน้าที่จะมีการเซ็นลงนามสิทธิผ่านทาง ไม่นาน  ได้มีกลุ่มคน กว่า 100 คน รวมตัวกันค้างคืนอยู่ที่ด้านนอกของสำนักงานสหภาพแรงงานแฟร์แบงค์  เพื่อรอที่จะเป็นแรงงานกลุ่มแรกที่รับเลือกเมื่อสำนักงานเปิดทำการ

การดำเนินชีวิตระหว่างงานสร้างท่อ (Pipe line life)[แก้]

ชีวิตในช่วงการก่อสร้างโครงการสร้างท่อส่งน้ำมันถูกอธิบายโดย  ชั่วโมงที่ยาวนาน  ไร้เงื่อนไข ในการทำงาน   และความบังเทิงที่มีจำกัดซึ่งถูกชดเชยด้วยสวัสดิการและค้าจ้าง   คนงานแต่ละคนจะมีหนังสือเล่มเล็กซึ่งคือ กฎระเบียบของแคมป์งาน 23 ข้อ   แต่กฎระเบียบ (รวมถึงห้ามดื่มสุราสูบบุหรี่) มักจะถูกละเมิดอยู่บ่อยครั้ง และกลายเป็นเป้าหมายของกลุ่มคนที่ไม่เคารพกฏ

ภายในห้องนั่งเล่นที่บรรยากาศคล้ายกับที่หอพักวิทยาลัย.  บริการทำความสะอาดและซักรีดถูกจัดเตรียมไว้ให้  แต่ในห้องสี่เหลี่ยมมีนั้นขนาดเล็ก  และความบันเทิงที่พอหาได้ก็มีอยู่เพียงน้อยนิด  รายการที่ออกอากาศทางโทรทัศน์จะล่าช้า  2 วัน เพรามีความจำเป็นต้องมีการนำส่งเทปส่งทางเครื่องบินมาจากแคลลิฟอเนียร์ และส่วนคนงานส่วนใหญ่ต้องพัฒนาความบันเทิงขึ้นมาเอง ในฤดูหนาว คนงานบางคนจะออกไปเล่นสกีหรือออกไปเที่ยวชมบรรยากาศหน้าหนาว ในฤดูร้อน คนงานบางคนจะออกไปปีนเขา โดยทั่วๆไป เวลาสำหรับสรรทนาการจะมีอยู่น้อย เพราะว่าคนงานส่วนใหญ่จะใช้เวลาทำงานหลายชั่วโมง

ในปีแรกของโครงการ คนงานจะได้รับประทาน ริบ-เสตก อย่างสม่ำเสมอ มีอาหารค่ำคือ เสตก และอาหารที่แปลกใหม่อื่นๆ เนื่องจากมีสัญญาค่าใช้จ่ายบวกเพิ่มระหว่างผู้จัดเตรียมอาหารและบริษัทผู้รับเหมา   ในปีถัดมา สัญญาค่าใช้จ่ายบวกเพิ่มนี้ถูกแทนที่อาหารจากสถาบันทำอาหารและอาหารกล่องกลายเป็นอาหารประจำวันของคนงาน   แต่งบประมาณอาหารในโครงการก็ยังสูงเนื่องจากคนงานมีจำนวนมากเร็วที่สุดของงานตัดถนน หลังจากที่ทางหลวงที่ชื่อว่าดาลตันถูกสร้างขึ้น   อาหารและค่าล่วงเวลาของสหภาพแรงงงานก็เปลี่ยนไป งบประมาณการก่อสร้างทางหลวงตกอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลกลางและรัฐ  และสมควรได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น  ทำให้ไม่มีเสตก มื้อค่ำ  1 – 2 ครั้งต่อสัปดาห์อีกต่อไป  และเมนูหางกุ้งมังกรออสเตรเลียก็หายไปจากมื้ออาหารเช่นกัน  กลุ่มคนงานไฟฟ้าภราดรภาพนานาชาติ (IBEW) LU 1547  คือหนึ่งในกลุ่มของ สหภาพแรงงานที่เคยได้รับค่าล่วงเวลาในวันอาทิตย์ และถูกเปลี่ยน เป็น จากค่าจากสองแรงกลายเป็นแรงเดียวหรือครึ่งเดียว   จนกว่าจะเสร็จสิ้นงานตัดถนน 

ในปี ค.ศ. 1976 ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยจะอยาระหว่าง 11  เหรียญ และ 18 เหรียญต่อชั่วโมง  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของงาน  และถ้าเฉลี่ยชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ จะเป็น  70 – 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งปัญหาของคนทำงานหลายคนจึงกลายมาเป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินพิเศษ    Jerry Thornhill   ตำแหน่งคนขับรถบรรทุก เคยเขียนจดหมายถึงนิตยสารการเงินฉบับหนึ่งเพื่อขอคำแนะนำ   Thornhill  ชี้แจงรายละเอียดว่าได้รับอัตราค่าจ้าง  57,000 เหรียญต่อปี  ในขณะที่สมาชิกสภาคองเกรสได้รับค่าจ้าง  40,000 เหรียญต่อปี รองประธานาธิบดีสหรัฐเนลสันเฟลเลอร์ได้รับค่าจ้าง  62,500 เหรียญดอลลาร์ต่อปี   เงินจำนวนมากในแคมป์งานสร้างท่อส่งน้ำมัน รวมทั้งการขาดสิ่งบันเทิงต่างๆ เป็นสาเหตุทำให้เกิดการเล่นการพนัน ซึ่งบางครั้งจำนวนเงินในวงพนันสูงนับหมื่นเหรียญดอลลาร์หากไม่เล่นการพนันคนงานจะเลือกเก็บเงินเพื่อใช้สำหรับวันหยุดพักผ่านที่ ฮาวาย หรือ  แหล่งท่องเที่ยวที่มีอากาศอบอุ่น  แล้วกลับไปทำงานโดยไม่มีเงินเหลือเลย

[แก้]

Notes[แก้]

References[แก้]

  • Alyeska Pipeline Service Co. The Facts: Trans Alaska Pipeline System (PDF). Alyeska Pipeline Service Co., 2007. (link broken)(see below*)
  • Coates, Peter A. The Trans-Alaska Pipeline Controversy. University of Alaska Press, 1991.
  • Cole, Dermot. Amazing Pipeline Stories. Kenmore, Washington; Epicenter Press, 1997.
  • McGrath, Ed. Inside the Alaska Pipeline. Millbrae, California; Celestial Arts, 1977.
  • Mead, Robert Douglas. Journeys Down the Line: Building the Trans-Alaska Pipeline. Doubleday, 1978.
  • Naske, Claus M. and Slotnick, Herman E. Alaska: A History of the 49th State. Norman, Oklahoma; University of Oklahoma Press, 1987. Second edition.
  • Roscow, James P. 800 Miles to Valdez: The Building of the Alaska Pipeline. Englewood Cliffs, N.J.; Prentice-Hall Inc., 1977.
  • Wickware, Potter. Crazy Money: Nine Months on the Trans-Alaska Pipeline. New York; Random House, 1979.

(*Updated version available at) http://www.alyeska-pipe.com/assets/uploads/pagestructure/TAPS_PipelineFacts/editor_uploads/Factbook09_6.30.pdf

Additional sources[แก้]

  • Allen, Lawrence J. The Trans-Alaska Pipeline. Vol 1: The Beginning. Vol 2: South to Valdez. Seattle; Scribe Publishing Co. 1975 and 1976.
  • Alyeska Pipeline Service Co. Alyeska: A 30-Year Journey. Alyeska Pipeline Service Co., 2007.
  • Dobler, Bruce. The Last Rush North. Boston; Little, Brown and Co., 1976.
  • Fineberg, Richard A. A Pipeline in Peril: A Status Report on the Trans-Alaska Pipeline. Ester, Alaska; Alaska Forum for Environmental Responsibility, 1996.
  • Hanrahan, John and Gruenstein, Peter. Lost Frontier: The Marketing of Alaska. New York; W.W. Norton, 1977.
  • Kruse, John A. Fairbanks Community Survey. Fairbanks; Institute of Social and Economic Research, 1976.
  • Lenzner, Terry F. The Management, Planning and Construction of the Trans-Alaska Pipeline System. Washington, D.C.; Report to the Alaska Pipeline Commission.
  • McGinniss, Joe. Going to Extremes. New York; Alfred A. Knopf, 1980.
  • McPhee, John. Coming Into the Country. New York: Farrar, Straus and Giroux, 1976.
  • Romer, John and Elizabeth. The Seven Wonders of the World: A History of the Modern Imagination. New York; Henry Holt and Co., 1995.

Video[แก้]

  • Armstrong, John. Pipeline Alaska. Pelican Films, 1977.
  • Davis, Mark. The American Experience: The Alaska Pipeline. PBS, Season 18, Episode 11. April 24, 2006.
  • World's Toughest Fixes: Alaska Oil Pipeline. National Geographic Channel. Season 2, Episode 10. August 20, 2009.