ผู้ใช้:PM BENTEN

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติวัดประชานิมิต[แก้]

วัดประชานิมิต ตำบลท่าโรง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์[แก้]

วัดประชานิมิต ตั้งอยู่เลขที่ ๓๔๒ หมู่ที่ ๗ บ้านหนองไข่น้ำ ตำบลท่าโรง อำเภอวิเซียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ในเขตเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย รอบบริเวณวัดมีหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกันคือบ้านนาไร่เดียว หมู่ที่ ๖ หมู่ที่๑๐. และหมู่ที่ ๑๑ ส่วนบ้าน หนองไข่น้ำแบ่งออกเป็น ๓ หมู่ คือ หมู่ที่ ๗,หมู่ที่๙ และหมู่ที่๑๕ เดิมชาวบ้านเรียกว่า " วัดหนองสองห้อง'' เพราะ มีสระน้ำ ๒ สระ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าขุดตั้งแต่เมือใด ทั้ง ๖ หมู่บ้านจะร่วมกันทำบุญที่วัดประชานิมิต เริ่มสร้างวัดครั้งแรก เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ .กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนาเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๑๖ ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๐ ตอนที่ ๑๔๒ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๑๖ โดยมี นายบุญมา พรหมสูงเนิน เป็นผู้ดำเนินการขอสร้างวัดและตั้งวัด ตามโฉนดเลขที่ ๔๒๗๘๖ มีเนื้อที่ ๔๓ ไร่ ๗๑ ตารางวา ได้รับพระราชทาน- วิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๒ ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๖ ตอนที่ ๑๘๖ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๒

วัดประชานิมิตก่อนตั้งเป็นวัด[แก้]

วัดประชานิมิตก่อนตั้งเป็นวัด เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ประชาชนชาวบ้านหนองไข่น้ำและนาไร่เดียว ได้ประชุมปรีกษาหารือกันเพื่อจะสร้างวัดตามวิสัยของชาวพุทธ เมือไปอยู่ทีใดก็จะต้องสร้างวัดขึ้น มีพระพุทธเจ้าพระสงฆ์เป็นที่เคารพกราบไหวับูชา เป็นสถานที่ทำบุญทำทาน เป็นหลักเป็นที่พึ่งทางใจ ยึดมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ บุคคลสำคัญที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการสร้างวัดครั้งแรกมีดังนี้ ๑. นายบุญมา พรหมสูงเนิน ผู้ใหญ่บ้านหนองไข่น้ำ หมู่ที่ ๗ (สมัยนั้น) ๒. นายมิ่ง ตุลาพัฒน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๖ (สมัยนั้น) ๓. นายโส ระเวงวรรณ ๔ นายกอง แปดสูงเนิน บุคคลเหล่านี้พร้อมด้วยชาวบ้านหนองใข่น้ำ นาไร่เดียว ใด้ประชุมกันเพื่อหาสถานที่ตั้งวัดและมีมติเห็นชอบให้สร้างวัดขึ้นบนที่ตั้งวัดในปัจจุบันนี้ และมีมติให้ นายบุญมา พรหมสูงเนิน ไปดำเนินการให้ได้ น.ส. ๓ เพราะเดิมทีสถานที่ตั้งวัดเป็นที่รกร้างว่างเปล่า เมื่อได้ น.ส.๓ มาแล้วได้ดำเนินการขออนุญาตสร้างวัดและตั้งเป็นวัดต่อไป ในที่สุดได้รับการประกาศให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ


ที่วัดประชานิมิตนี้มีสระน้ำอยู่ ๒ สระ เป็น สระโบราณ ขุดตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฎ หลักฐาน ปัจจุบันนี้ได้ขุดลอกให้ลึกลงกว่าเดิมเพื่อใช้เป็นที่่เก็บน้ำไว้ใข้อุปโภคบริโภค สำหรับพระภิกษุสามเณรและประชาชนชาวบ้านทั่วไป แต่ทางวัดยังได้คงสภาพสระทั้ง ๒ ไว้ เหมือนเดิม คนเก่าคนแก่ของวิเชียรบุรี มักจะเรียกวัดนี้ว่า " วัดหนองสองห้อง " ต่อมาจึง ได้ขออนุญาตตั้งวัด คณะสงฆ์ และชาวบ้านได้มีมติเห็นชอบให้ ตั้งชื่อวัดว่า " วัดประชานิมิต "


เจ้าอาวาสวัดประชานิมิต[แก้]

พระครูอดุลพัชราภรณ์ ( หลวงปู่อำคา ถาวโร ) ชาติภูมิ อายุ 84 ปี พรรษา 64 เดิมชื่อ อำคา นามสกุล หอมมาลา โยมบิดาชื่อ นายบาง โยมมารดาชื่อ นางไฝ เกิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2470 ตรงกับวันเสาร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ณ บ้านเลขที่ 97 หมู่ 8 ตำบลหนองพลวง อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา

อุปสมบท เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2490 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ค่ำ ปีกุน ที่่วัดหันห้วยทราย ตำบลหันห้วยทราย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา โดยมีพระครูวิโรจนคุณ วัดหันห้วยทราย ตำบลหันห้วยทราย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นพระอุปัชณาย์

การศึกษา

ทางโลก สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านหนองคึม อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2484

ทางธรรม สอบไ่ล่ได้นักธรรมชั้นเอก สำนักศาสนศึกษาวัดสวัสดี สำนักเรียนคณะจังหวัดของแก่น เมื่อ พ.ศ. 2494

ตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2497 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองค่าย ตำบลหนองค่าย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2497 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลประทาย เขต 2 อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา หลังจากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2502 หลวงพ่อได้ย้ายจากอำเภอประทาย มาจำพรรษาที่ัวัดหนองสองห้อง (ในขณะนั้น) อำเภอวิเีชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ต่อมาหลวงพ่อได้รับความไว้วางใจแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ต่างๆ ดังนี้ พ.ศ. 2507 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลท่าโรง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2518 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดประชานิมิต ตำบลท่าโรง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2518 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอวิเชียรบุรี อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จนถึงปัจจุบัน

พระครูอดุลพัชราภรณ์ เป็นพระมหาเถระผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล งานการศึกษาท่านได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาของพระภิกษุสามเณรเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากมโนปณิธานของท่านว่า ท่านไม่ได้เรียนสูง จบเพียงนักธรรมชั้นเอก แต่ขอให้ลูกศิษย์ลูกหาได้เล่าเรียนอย่างเต็มความสามารถที่จะเรียนได้ จึงได้เปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม บาลี และแผนกสามัญศึกษา และส่งเสริมสนับสนุนให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โท เอก อย่างต่อเนื่อง

งานการปกครอง ท่านเป็นพระมหาเถระผู้มีเมตตาสูงยิ่ง ได้ใช้กุสโลบายในการปกครองพระภิกษุสามเณร คือ การปกครองโดยทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ปกครองแบบพ่อปกครองลูก ท่านดำรงตนอยู่ในพรหมวิหารธรรมทั้ง 4 ประการ และประพฤติตนตามหลักของครูที่ดี ข้อวัตรปฎิบัติของท่านนั้นเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนผู้พบเห็น จนได้รับการถวายปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพระพุทธศาสนา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2554

การทุ่มเททำงานของท่านตลอดระยะเวลา 64 พรรษาของท่านที่ดำรงเพศบรรพชิต ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา พระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนผู้เคารพศรัทธาในตัวของท่าน หลวงปู่ท่านมักจะสอนลูกศิษย์เสมอว่า ความเป็นศิริมงคล คุณงามความดีต่างๆ นั้น ต้องเกิดจากตัวเราเองก่อน ถ้าหากเราทำดีแล้ว พระก็จะอยู่กับตัวเรา ความดีก็จะเกิดกับตัวเรา แล้วเราจะได้รับผลของการทำดีนั้น แต่ถ้าหากเราทำชั่ว พระก็จะไม่อยู่กับเรา ความไม่ดีก็จะเกิดกับตัวเรา เราก็จะต้องได้รับผลของความชั่วนั้นไม่ช้าก็เร็ว