ผู้ใช้:Ozoneaumm/กระบะทราย
เครื่องฉาย(Visual Equipment)
เครื่องฉายเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขยายภาพ และฉายภาพให้ไปปรากฏชัดบนจอ นิยมใช้ในการเรียนการสอนหรือการประชุม เนื่องจากสามารถนำเสนอข้อมูลให้ผู้ชม จำนวนมากเห็นพร้อม ๆ กันกลุ่มคนขนาดต่างๆ ได้ศึกษาส่วนประกอบสำคัญในเครื่องฉายที่เกี่ยวกับการทำให้เกิดภาพนั้นประกอบด้วย แหล่งกำเนิดแสงหรือหลอดฉาย เลนส์ และฉากรับภาพหรือจอ อุปกรณ์ฉายภาพในปัจจุบันจะมีอยู่หลายแบบ ทั้งที่สามารถต่อสัญญาณจาก คอมพิวเตอร์โดยตรง หรือใช้อุปกรณ์พิเศษในการวางลงบนเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector) ธรรมดา เหมือนกับอุปกรณ์นั้นเป็นแผ่นใสแผ่นหนึ่ง อุปกรณ์ฉายภาพก็จะมีข้อแตกต่างกันมากในเรื่องของกำลังส่องสว่าง เนื่องจากยิ่งมีกำลังส่องสว่างสูง ภาพที่ได้ก็จะชัดเจนมากขึ้น ขนาดจอภาพไว้คงที่คือ 40 นิ้ว(หากไม่กำหนด การวัดค่าความสว่างจะสูงขึ้นเมื่อจอภาพมีขนาดเล็กลง)
ระบบการฉาย (Projection System)
ระบบการฉาย คือ กระบวนการที่เครื่องฉายต่างๆ ฉายภาพจากเครื่องฉายไปปรากฏชัดบนจอฉาย ระบบการส่งผ่านของแสงจากหลอดฉายผ่านภาพหรือฟิล์มที่นำมาฉายผ่านเลนส์ฉาย ระบบการฉายของเครื่องฉายทั้งหลายแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ
- ระบบการฉายตรง (Direct Projection system)
- ระบบการฉายสะท้อนแสง (Indirect or Reflected Projection system)
- ระบบฉายอ้อม (Indirect Projection System)
1. ระบบการฉายตรง (Direct Projection system) เครื่องฉายระบบนี้แสงสว่างจากหลอดฉายจะส่องผ่านวัสดุฉายและเลนส์ ไปยังจอ ในแนวเส้นตรงเวลาใส่วัสดุฉาย ให้วางกลับหัวโดยหันด้านหน้าหรือด้านที่ถูกต้องของภาพนั้นไปทางหลอดฉายเหตุที่ต้องกลับหัวภาพก่อน ภาพสะท้อนกลับไปทางด้านหน้าโดยอาศัยแผ่นสะท้อนแสง ซึ่งอยู่หลังหลอดฉายลำแสงจะส่องผ่านเลนส์รวมแสง ซึ่งเป็นเลนส์นูน 2 ตัว หันด้านนูนเข้ากัน เลนส์นูนชุดนี้ทำหน้าที่บีบลำแสงเพื่อให้แสงมีความเข้มมากขึ้นและไปตกกระทบวัสดุฉายพอดี แสงจะผ่ายวัสดุฉายผ่านเลนส์ฉายซึ่งเป็นเลนส์นูนเช่นกัน ภาพที่ปรากฏบนจอจึงจะเห็นภาพหัวกลับ เนื่องจากคุณสมบัติของเลนส์นูน ซึ่งให้ภาพกลับหัวลง จะเห็นว่าเครื่องฉายระบบนี้ แสงจากหลอดฉายผ่านเลนส์รวมแสง ผ่านวัสดุฉาย ไปยังจอเป็นเส้นตรง จึงเรียกเครื่องฉายระบบนี้ว่า ระบบฉายตรง ดังนั้นจึงต้องกลับหัวของภาพเสียก่อนใส่เข้าไปในเครื่องเครื่องฉายที่ใช้ระบบการฉายตรงได้แก่ เครื่องฉายสไลด์ (Slide Projection) เครื่องฉายฟิล์มสตริป (Filmstrip Projection) เครื่องฉายภาพยนตร์(Film Projection) เป็นต้น
2. ระบบการฉายสะท้อนแสง (Indirect or Reflected Projection system) เครื่องฉายระบบนี้ ไม่ใช้เลนส์รวมแสง ฉายโดยระบบการสะท้อนแสงของกระจกเงารอบๆ เครื่อง(รอบๆ วัสดุฉาย) ลำแสงจากหลอดฉายจะหักเหเป็นมุมฉาก แสงที่สะท้อนไปยังกระจกเงาอีกตัวหนึ่งซึ่งอยู่ด้านบนของวัสดุฉาย และสะท้อนฝ่าเลนส์ออกสู่จอ การใส่วัสดุฉายให้วางในแนวราบ โดยหันขอบล่างของภาพไปยังจอ โดยไม่ต้องกลับภาพเครื่องฉายในระบบนี้ มักจะฉายภาพใกล้ๆ กับจอ การฉายระบบนี้มีการสูญเสียความเข้มของแสงมาก อีกทั้งแสงไม่ได้ผ่านวัสดุฉายโดยตรงทำให้ภาพบนจอภาพไม่สว่างเท่าที่ควร จึงต้องฉายให้ห้องฉายที่มีความมืดมากๆ ภาพจึงดูชัดเจน เครื่องฉายระบบนี้ได้แก่ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ(Overhead Projector) และเครื่องฉายวัสดุทึบแสง (Opaque Projector)
3.ระบบฉายอ้อม (Indirect Projection System) ฉายระบบนี้ ไม่ใช่เลนส์รวมแสง ฉายโดยระบบการสะท้อนแสงของกระจกเงารอบๆ เครื่อง (รอบๆ วัสดุฉาย) แสงที่สะท้อนไปยังกระจกเงาอีกตัวหนึ่งซึ่งอยู่ด้านบนของวัสดุฉาย และสะท้อนฝ่ายเลนส์ออกสู่จอ การฉายระบบนี้มีการสูญเสียความเข้มของแสงมาก อีกทั้งแสงไม่ได้ผ่านวัสดุฉายโดยตรง ทำให้ภาพบนจอไม่สว่างเท่าที่ควร จึงต้องฉายให้ห้องฉายที่ความมืดมากๆ ภาพจึงจะดูชัดเจน เครื่องฉายระบบนี้ได้แก่ เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projector)
องค์ประกอบสำคัญของเครื่องฉาย มีอยู่ 7 อย่าง
1. หลอดฉาย (Projection Lamp) เป็นหลอดไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่ให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไฟฟ้าธรรมดาที่ใช้ตามบ้านเรือนประมาณ 3-10 เท่า แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด
1.1 หลอดอินแคนเดสเซนต์ (Incandescent) ลักษณะหลอดใหญ่ไส้หลอดทำด้วยโลหะทังสเตน ภายในบรรจุก๊าซไนโตรเจน หรือก๊าซอาร์กอน กินไฟมาก มีความร้อนสูง กำ ลังส่องสว่างประมาณ 500-1000 วัตต์ มีอายุการใช้งานประมาณ 1000 ชั่วโมง ใช้กับเครื่องฉายทึบแสงและเครื่องฉายภาพยนตร์รุ่นเก่าๆ 1.2 หลอดแฮโลเจน (Halogen Lamp) พัฒนามาจากหลอดอินแคนเดสเซนต์ แต่มีขนาดเล็กกว่า ไส้หลอดทำ ด้วยโลหะทังสเตน ภายในบรรจุก๊าซฮาโลเจน หรือก๊าซไอโอดีนทำ ให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น ทนความร้อนได้สูง ทำ ให้ความสว่างขาวนวล ทั้งๆ ที่มีกำ ลังส่องสว่างน้อยกว่าหลอดแบบเก่า คือประมาณ 250-650 วัตต์ ใช้กับเครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะเครื่องฉายภาพยนตร์ และหลอดไฟสำ หรับให้แสงสว่างในการถ่ายภาพ ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ 1.3 หลอดคว๊อต (Quartz) พัฒนามาจากหลอดแฮโลเจนขนาดเล็กทัดเทียมกัน ไส้หลอดทำ ด้วยโลหะทังสเตน ภายในหลอดบรรจุก๊าซฮาโลเจน หรือก๊าซไอโอดีนแต่มีปริมาณต่างกันทำ ให้มีแสงสว่างขาวนวลและมีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดชนิดอื่นๆ สามารถทนความร้อนได้สูงใช้กับเครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพยนตร์ มีขนาด 150-250 วัตต์
2. แผ่นสะท้อนแสง (Reflector) เป็นโลหะขัดมันหรือกระจกโค้ง ฉาบด้วยเงินหรือปรอท อยู่ด้านหลังหลอดฉาย โดยรับแสงจากหลอดฉายแล้วสะท้อนกลับ เพื่อเพิ่มพลังส่องสว่างมาจากด้านหลังของหลอดฉายให้กลับไปยังด้านหน้า เพิ่มกำ ลังการส่องสว่างให้มีความเข้มมากขึ้น
3. เลนส์ ควบแสง (Condenser Lens) และกระจกกรองความร้อน (Heat Filter) เป็นชุดเลนส์นูนหน้าเดียวอีกหน้าหนึ่งแบนเรียบ ส่วนมากมักจะมี 2 ชิ้น ทำ หน้าที่รวมแสงให้พุ่งไปยังวัสดุหรือฟิล์มที่นำ มาฉายเพื่อให้มีความเข้มสูงขึ้นและไปตกยังหลังวัสดุฉายโดยตรง ซึ่งจะต้องมีขนาดลำ แสงพอดีกับพื้นที่ภาคตัดขวางของวัสดุฉาย ทั้งนี้เพื่อให้ได้ภาพที่มีความเข้มและชัดเท่าๆกันทั้งภาพ ส่วนกระจกกรองความร้อน (Heat Filter) เป็นกระจกใสเรียบหนาประมาณ 6 มม. ทำ จากแก้วพิเศษที่สามารถกั้นความร้อนจากหลอดฉายไม่ให้ไปถูกวัสดุฉายมากเกินไป มักวางไว้ตำแหน่งตรงกลางระหว่างเลนส์ควบแสงทั้ง 2 อัน ทำ หน้าที่ช่วยลดความร้อนจากหลอดฉายไม่ให้วัสดุฉายถูกความร้อนสูง
4. พัดลม (Electric fan) เป็นชิ้นส่วนที่ประกอบด้วยใบพัด และมอเตอร์ไฟฟ้า อยู่ด้านหลังของเครื่องฉาย ใช้ยืดอายุของหลอดฉายและวัสดุฉาย โดยจะทำ งานในขณะที่ใช้เครื่องฉาย และอาจเปิดทิ้งไว้สักครู่เมื่อทำ การฉายเสร็จแล้วเพื่อช่วยให้เครื่องเย็นลงเร็วขึ้น
5. เลนส์ฉาย (Objective lens or Focusing lens) เป็นส่วนที่อยู่ด้านหน้าของเลนส์ฉายทุกประเภท ลักษณะของเลนส์ฉายเป็นเลนส์นูน ซึ่งอาจมีชิ้นเดียวหรือเป็นชุดมีหลายชิ้นประกอบกันก็ได้ ต้องยึดอยู่กับกระบอกเลนส์ เลนส์ฉายที่ใช้กับเครื่องฉายปัจจุบันพอแยกได้ 2 ประเภท คือ
5.1 เปลี่ยนทางยาวโฟกัสไม่ได้ (Fix focus lens) หมายถึง เลนส์ฉายที่มีทางยาวโฟกัสคงที่ เช่น 35 มม. 55มม. 150 มม. เป็นต้น ถ้าต้องการขนาดภาพที่ปรากฏบนจอภาพเล็กหรือใหญ่ก็ต้องเคลื่อนย้ายเปลี่ยนแปลงระยะทางระหว่างจอฉายกับเครื่องฉายให้ใกล้หรือห่างกัน เพื่อให้ได้ขนาดภาพที่ปรากฏบนจอภาพตามต้องการ
5.2 เปลี่ยนทางยาวโฟกัสได้ (Zoom lens) หมายถึง เลนส์ฉายที่มีทางยาวโฟกัสต่างระยะสามารถปรับเปลี่ยนได้ เช่น 70-120 มม. ที่กระบอกเลนส์จะมีวงแหวนสำ หรับปรับหมุนเพื่อเลือกขนาดภาพได้ตามต้องการ วงแหวนวงนอกสุดใช้ปรับเลือกขนาดของภาพ ส่วนวงแหวนวงในใช้ปรับความคมชัดของภาพที่ปรากฏบนจอฉายเครื่องฉายที่มีเลนส์ฉายทางยาวโฟกัสสั้น ระยะทางจากเครื่องฉายถึงจอฉายจะสั้นหรือใกล้ เหมาะกับห้องขนาดเล็ก ส่วนเครื่องฉายที่มีทางยาวโฟกัสยาว โฟกัสจะยาว ระยะทางจากเครื่องฉายถึงจอฉายจะมากหรือไกลออกไปด้วยเหมาะกับห้องขนาดใหญ่หน้าที่ของเลนส์ฉาย ทำ หน้าที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ ขยายภาพจากภาพขนาดเล็กให้มีขนาดโตขึ้นกลับภาพจากภาพหัวกลับ เมื่อฉายขึ้นบนจอจะเป็นภาพหัวตั้ง และปรับความชัดของภาพที่ปรากฏบนจอฉาย ซึ่งจะขยายให้ภาพโตและมีความคมชัดในระยะใดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของเลนส์ ขนาดทางยาวโฟกัสของเลนส์ และขึ้นอยู่กับระยะทาง ระหว่างเครื่องฉายกับจอฉายได้
6. วัสดุฉาย (Subject) อาจเป็นแผ่นสไลด์ ม้วนฟิล์ม หรือหนังสือ
7. จอฉาย
แบ่งตามลักษณะภาพที่ปรากฏบนจอ
- เครื่องฉายภาพนิ่ง (slide projector) จะให้ภาพนิ่งปรากฏบนจอ ได้แก่ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพทึบแสง และเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (เครื่องฉายภาพโปร่งใส) เป็นต้น
- เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว (Movie Projector) ภาพที่ปรากฏบนจอจะทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่าเคลื่อนเหมือนภาพที่เป็นจริงได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มลูป เครื่องฉายดิจิตอล
แบ่งตามลักษณะของวัสดุฉาย
- เครื่องฉายภาพโปร่งใส (transparency projector) ซึ่งวัสดุฉายจะเป็นวัสดุโปร่งใสหรือโปร่งแสง เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพยนตร์ และเครื่องฉายไมโครฟิล์ม เป็นต้น
- เครื่องฉายทึบแสง (Opaque Projector) เป็นเครื่องฉายที่ฉายวัสดุทึบแสง ซึ่งแสงจะไม่สามารถผ่านวัสดุฉายได้ แต่จะใช้หลักการสะท้อนขิงภาพแทน
- เครื่องฉายภาพดิจิตอล (Digital Projector) เป็นเครื่องฉายที่ใช้วัสดุจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเหมือนกับวัดสุฉายที่เป็นลักษณะโปร่งแสงหรือทึบแสง