ผู้ใช้:Oilcon

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โทรทัศน์แบ่งได้เป็น 2 ระบบ คือ[แก้]

1. การแพร่ภาพและเสียงในระบบวงจรเปิด (Open-Circuit Television หรือ Broadcasting Television) ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ระบบย่อย คือ 1.1 ระบบ VHF (Very High Frequency) ใช้ในการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์เพื่อความบันเทิงและการค้า 1.2 ระบบ UHF (Ultra High Frequency) ใช้ในการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์ที่มิใช่เพื่อการค้าและสถานีที่ส่งตามสายเคเบิลนั่นเอง 2. การแพร่ภาพและเสียงในระบบวงจรปิด (Closed-Circuit Television: CCTV) เป็นการแพร่ภาพและเสียงไปตามสายแทนการออกอากาศ เช่น โทรทัศน์วงจรปิดที่ใช้ในมหาวิทยาลัย ประเภทของโทรทัศน์ มี 2 ประเภท คือ 1) โทรทัศน์อนาล็อก (Analog Television) เป็นโทรทัศน์ที่มีระบบการรับ- ส่งสัญญาณภาพและเสียงในรูปสัญญาณอนาล็อกแบบ A.M. และ F.M. โดยมีการส่งเป็นสัญญาณแพร่กระจายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นการผสมคลื่นแบบ Vestigial Sideband (VSB) เป็นสัญญาณโทรทัศน์ที่มีการใช้งานทั่วไป

2) โทรทัศน์ดิจิตอล (Digital Television) เป็นโทรทัศน์ที่มีระบบการรับ – ส่งสัญญาณภาพและเสียงที่มีการพัฒนามาจากโทรทัศน์อนาล็อกมีระบบการส่งสัญญาณภาพและเสียงแบบดิจิตอลคือส่งข้อมูลเป็นบิต การส่งข้อมูลแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบอนาล็อก เป็นการผสมคลื่นแบบ COFDM โดยในหนึ่งช่องสัญญาณสามารถนำมาส่งได้หลายๆรายการโทรทัศน์ (Program) การส่งสัญญาณเป็นแบบดิจิตอลจึงทำให้ได้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าด้วย

หลักการแพร่ภาพของโทรทัศน์[แก้]

การมองเห็นภาพเคลื่อนไหวเกิดจากการที่ตามนุษย์เห็นภาพนิ่งที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อยซ้อนๆเรียงๆกันตั้งแต่ 16 ภาพต่อวินาทีขึ้นไป จึงจะทำให้สายตาของคนจับการเปลี่ยนแปลงของภาพไม่ทัน จึงเกิดลักษณะการมองเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ จากหลักการดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในการแพร่ภาพโทรทัศน์ เนื่องจากการแพร่ภาพคือการส่งภาพและเสียงออกไปในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นสัญญาณโทรทัศน์เพื่อให้เครื่องรับสามารถรับภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่องและเคลื่อนไหว

     	หลักในการแพร่ภาพคือ การส่งสัญญาณภาพในรูปสัญญาณ เอ.เอ็ม.(AM) ผสมคลื่นแบบ Vestigial Sideband และผสมสัญญาณเสียงในรูปสัญญาณ เอฟ.เอ็ม.(FM)โดยที่เครื่องส่งจะทำการเปลี่ยนภาพที่อยู่ในรูปพลังงานแสงให้เป็นพลังงานทางไฟฟ้า (Video Signal-สัญญาณภาพ) แล้วทำการขยายให้มีกำลังมากขึ้น จากนั้นจึงนำไปผสมสัญญาณกับสัญญาณวิทยุและสัญญาณซิงโครไนซ์ แล้วแพร่กระจายออกสู่อากาศในรูปของแม่เหล็กไฟฟ้า สัญญาณที่แพร่ออกไปถึงเครื่องรับโทรทัศน์จะทำการแยกสัญญาณภาพที่ผสมมากับสัญญาณวิทยุ และสัญญาณซิงโครไนซ์ให้กลายเป็นภาพปรากฏที่หน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ โดยการที่เครื่องรับและเครื่องส่งจะทำงานตรงจังหวะกันได้นั้นเกิดจากสัญญาณซิงโครไนซ์ที่ได้ทำการผสมสัญญาณเข้ากับสัญญาณภาพ และสัญญาณวิทยุก่อนส่งเพราะสัญญาณ ซิงโครไนซ์เป็นสัญญาณที่ทำให้การสแกนเป็นไปอย่างถูกต้องทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
Manita

ภาพโทรทัศน์ที่บันทึกไว้หรือแสดงออกทางหน้าจอจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เรียกว่า จุดภาพ(Dot) หรือพิกเซล (Pixel) ซึ่งพิกเซลเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนจากข้อมูลแสง (ความสว่างของภาพ) ให้เป็นค่าทางไฟฟ้าที่เป็นสัญญาณภาพ และแทนสีแดง(R) สีเขียว (G) สีน้ำเงิน (B) ที่เกิดเป็นภาพ โดยการใช้ลำแสงสแกนตามแนวนอนทีละเส้น จากด้านซ้ายไปด้านขวาและจากด้านบนลงด้านล่าง สัญญาณไฟฟ้าที่ได้จะส่งไปแสดงผลที่เครื่องรับทีละเส้นแบบเส้นต่อเส้น ซึ่งเครื่องรับจะใช้สัญญาณภาพเป็นสัญญาณควบคุมลำอิเล็กตรอนเพื่อเขียนภาพที่หน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ตามภาพที่ส่งมานั้น

การส่งสัญญาณโทรทัศน์[แก้]

1) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน

      เป็นการแพร่กระจายคลื่นสัญญาณไปในอากาศเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อติดตั้งเสาอากาศแล้วต่อสายนำสัญญาณเข้าเครื่องรับก็สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์จากสถานีส่งได้ การส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุส่งได้ในช่วงความถี่ 30- 300MHz จะเป็นช่วงของ Very high Frequency (VHF) และช่วงความถี่ 300 - 3000 MHz จะเป็นช่วงของ Ultra high Frequency (UHF)

2) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านช่องนำสัญญาณ

     เป็นการส่งสัญญาณไปตามสายนำสัญญาณหรือสายเคเบิลไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการติดต่อโดยตรงระหว่างสถานีส่งกับผู้รับสัญญาณ การส่งสัญญาณด้วยสายนำสัญญาณแบ่งออกเป็น
     2.1) เคเบิลโทรทัศน์ชุมชน 
     2.2) ระบบเสาอากาศโทรทัศน์ชุมชน
     2.3) ระบบเสาอากาศชุดเดียว

3) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม

     เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยผ่านดาวเทียมซึ่งใช้คลื่นไมโครเวฟเป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณ

4) การส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านอินเตอร์เน็ต

     เป็นการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต www สามารถเปิดใช้งานและรับชมได้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อผ่านระบบเครือข่ายเนตเวิร์ก (Network) แต่อาจจะมีการล่าช้าหรือติดขัดขณะส่งสัญญาณเนื่องจากเครือข่ายไม่เสถียรก็เป็นได้

หลักการทํางานของโทรทัศน์[แก้]

หลักการทํางานของโทรทัศน์

หลักการทำงานของโทรทัศน์ ก็อยากอธิบายแบบง่ายๆ ว่า โทรทัศน์จะมีการส่งสัญญาณ ภาพและเสียงมาด้วยกัน (แต่แยกความถี่ของการส่งที่ต่างกัน) โดยเมื่อมาถึงเครื่องรับ สัญญาณดังกล่าวจะถูกแยกไป โดยสัญญาณของเสียงก็จะไปเข้าที่ภาครับเสียง เพื่อทำการปรับแต่ง ลด และขยายสัญญาณให้มีความเหมาะสม ส่วนสัญญาณภาพจะถูกนำไป ทำการปรับแต่งด้วยเช่นกัน เช่นสัญญาณสี และส่งต่อไปยังภาคขยายโดยการควบคุม ขนาดของภาพให้มีความเหมาะสม โดยการส่งเข้าหน้าจอภาพนั้นจะใช้หลักการของการ ควบคุมภาพตามแนวตั้งและแนวนอน เพื่อให้เกิดการเบี่ยงเบนของลำแสงอิเล็กตรอน เพื่อให้เกิดภาพที่หน้าจอ โดยในแต่ละขั้นตอนและกระบวนการจะถูกควบคุมด้วยแหล่ง จ่ายไฟเพื่อให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำงานได้

อ้างอิง[แก้]

[1] [2] [3] [4]

  1. http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/TV/television.htm
  2. http://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute/%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C
  3.  ประเทศไทย, “ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา,” ดิจิทัล, ๒๕ เมษายน ๒๕๕๐ http://www.ceted.org
  4. http://www.thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/Television_Broadcasting/index.php