ผู้ใช้:Oaskku/หน้าทดลอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[แก้]

สำนักบริการวิชาการ เดิมชื่อว่า ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง เป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะ ก่อตั้งขึ้นตามประกาศพระราชกฤษฏีกา เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2532 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์บริการวิชาการ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2542

และปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักบริการวิชาการ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2558 สถานที่ทำการปัจจุบัน คือ อาคารพิมล กลกิจ ชั้น 5 มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ประวัติ[แก้]

ไฟล์:OASlogo.png
Office of Academic Service KKU

สำนักบริการวิชาการ เดิมชื่อว่า ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง เป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะ ก่อตั้งขึ้นตามประกาศพระราชกฤษฏีกา เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2532 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์บริการวิชาการ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2542

และปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักบริการวิชาการ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2558 สถานที่ทำการปัจจุบัน คือ อาคารพิมล กลกิจ ชั้น 5 มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัตถุประสงค์การก่อตั้งหน่วยงาน[แก้]

  1. เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานและระดมทรัพยากร ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อจัดบริการให้การศึกษาและอบรมแก่ประชาชนระดับต่าง ๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ในหัวข้อวิชาการและวิชาชีพที่ผู้เข้ารับการศึกษาและอบรมสนใจ เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ ทักษะ และค่านิยมต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ
  2. ร่วมมือกับคณะและหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการให้บริการแก่ชุมชน
  3. สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน
  4. เผยแพร่และประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย

หน่วยงานภายในสำนัก[แก้]

1. งานบริหารและสื่อสารองค์กร[แก้]

มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการบริหารงานทั่วไปภายในสำนักบริการวิชาการ งานสารบรรณ การติดต่อประสานงานและวางแผนกับฝ่ายต่าง ๆ ภายในสำนักบริการวิชาการ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ การบริการสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การจัดทำแผนปฏิบัติการ การให้บริการข้อมูลสารสนเทศ การจัดทำระบบฐานข้อมูล การรวบรวมข้อมูลเพื่อการจัดทำระบบประกันคุณภาพ รวมถึงการบริการห้องประชุม สื่อและโสตทัศนูปกรณ์ เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจของสำนักบริการวิชาการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

2. งานบริการวิชาการ[แก้]

มีหน้าที่รับผิดชอบหลักสูตรการจัดการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education) ที่มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายแหล่งความรู้ที่เข้าถึงได้ง่ายและเปิดกว้างสำหรับผู้เรียนทุกช่วงวัย สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยการ reskill/upskill ให้แก่ผู้เรียนทุกช่วงวัย เน้นหลักสูตรอบรมระยะสั้นที่มีการรับรองสมรรถนะหรือสะสมหน่วยกิตการเรียนรู้ในคลังหน่วยกิต (credit bank) เพื่อสนองตอบต่อยุทธศาสตร์ชาติทั้งในด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ สร้างโอกาสทางการศึกษาและความเสมอภาคทางสังคมให้เพิ่มมากขึ้น

3. งานแผนยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ[แก้]

มีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือ

1) จัดการหลักสูตรการจัดการศึกษาหลักสูตรปกติใหม่ (New Normal Curriculum) ตามความต้องการของสังคม โดยจัดทำหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่นจัดการเรียนการสอนตามกระบวนทัศน์ใหม่ (New Learning Paradigm) ซึ่งมีทั้งหลักสูตรอนุมัติปริญญา (Degree) และหลักสูตรที่อนุมัติวุฒิบัตร (Certificate or Non-Degree) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในหลากหลายรูปแบบ มีการเรียนการสอนที่ผสมผสาน (Hybrid/Blended Learning) ทั้งการเรียนในห้องเรียน และการเรียนผ่านสื่อออนไลน์ (On-Site/On-Line Learning) สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มทักษะ ความรู้เพิ่มเติม และมีหลักสูตรที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและเน้นทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต (Future Skill) ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

2)ประสานบริการวิชาการสู่สังคม (Community outreach) ดำเนินการให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อร่วมขับเคลื่อนการให้บริการวิชาการในรูปแบบของการสร้างคุณค่าร่วมกัน (CSV; Creating Shared Value) มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อการพัฒนาสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)

วิสัยทัศน์[แก้]

องค์กรชั้นนำระดับชาติในการบูรณาการศิลปวิทยาการสู่สังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

คำขวัญ[แก้]

ประสานศิลปวิทยาการสู่สังคม

ค่านิยมองค์กร[แก้]

อุทิศและรับผิดชอบต่อสังคม

เป้าประสงค์[แก้]

1.มีหลักสูตรการจัดการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong education) ที่มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย แหล่งความรู้ที่เข้าถึงได้ง่ายและเปิดกว้างสำหรับผู้เรียนทุกช่วงวัย สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยการ reskill/upskill ให้แก่ผู้เรียนทุกช่วงวัย เน้นหลักสูตรอบรมระยะสั้นที่มีการรับรองสมรรถนะหรือสะสมหน่วยกิตการเรียนรู้ในคลังหน่วยกิต (credit bank) เพื่อสนองตอบต่อยุทธศาสตร์ชาติทั้งในด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ สร้างโอกาสทางการศึกษาและความเสมอภาคทางสังคมให้เพิ่มมากขึ้น

2. มีหลักสูตรการจัดการศึกษาหลักสูตรปกติใหม่ (New normal curriculum) ตามความต้องการของสังคม โดยจัดทำหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่นจัดการเรียนการสอนตามกระบวนทัศน์ใหม่ (New learning paradigm) ซึ่งมีทั้งหลักสูตรอนุมัติปริญญา (Degree) และหลักสูตรที่อนุมัติวุฒิบัตร (Certificate or non-degree) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในหลากหลายรูปแบบ มีการเรียนการสอนที่ผสมผสาน (Hybrid/Blended learning) ทั้งการเรียนในห้องเรียน และการเรียนผ่านสื่อออนไลน์ (On-site/on-line learning) สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มทักษะ ความรู้เพิ่มเติม และมีหลักสูตรที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และเน้นทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต (future skill) ในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

3. ประสานบริการวิชาการสู่สังคม (Community outreach) ดำเนินการให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อร่วมขับเคลื่อนการให้บริการวิชาการในรูปแบบของการสร้างคุณค่าร่วมกัน (CSV; Creating Shared Value) มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อการพัฒนาสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)

พันธกิจ[แก้]

1.จัดการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong education) แก่ผู้เรียนทุกช่วงวัยในรูปแบบที่หลากหลาย

2.จัดการศึกษาหลักสูตรปกติใหม่ (New normal curriculum) ตามความต้องการของสังคม ตามกระบวนทัศน์ใหม่ (New learning paradigm)

3.ประสานบริการวิชาการสู่สังคม (Community outreach)ในรูปแบบของการสร้างคุณค่าร่วมกัน (CSV)เพื่อการพัฒนาสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)

ส่วนอ้างอิง[แก้]

ส่วนแหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แหล่งข้อมูลเว็บไซต์ตัวอย่าง



กลับหน้าสอนการใช้งาน