ผู้ใช้:Nut t02

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

History

ภาษาไพธอนได้ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 โดย Guido van Rossum ที่ Stichting Mathematisch Centrum (CWI) ในรัฐ Never land ภาษาไพธอนที่ถูกพัฒนาออกมาเรื่อยๆ จาก CWI จนมาถึง version 1.2 ในปี 1995 จากนั้น Guido van Rossum ได้ย้ายไปทำงานที่ The Corporation for National Research initiatives (CNRI) ในรัฐ Virginia ที่นี่เค้าได้พัฒนาออกมาอีกหลาย version จนถึง version 1.6 ในปี 2000 จากนั้น Guido van Rossum และทีมผู้พัฒนาได้ย้ายไปที่ BeOpen.com แล้วก็พัฒนา จนออกมาเป็น version 2.0 จากนั้น Guido van Rossum และทีมผู้พัฒนาได้ร่วมมือกันกับ Digital Creations เพื่อพัฒนาไพธอน version 2.1


สังเกตได้ว่าในช่วงที่พัฒนา version 1.6 เป็นต้นมา Guido van Rossum ได้ทำงานกับองค์กรที่แสวงหากำไร ทำให้มีการขัดแย้งกันว่า CNRI จะพยายามจดลิขสิทธิ์ แต่ Free Software Foundation (FSF) มีการต่อต้าน ทำให้ CNRI ต้องทำการดัดแปลงจนออกมาเป็น version 1.6.1 แทน โดยมีการแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรมบางจุด และ ไพธอน version 2.1 ก็ได้พัฒนามาจาก version 1.6.1 นั่นเองโดยออกมาพร้อมกับ ไพธอน version 2.0 ที่พัฒนาโดย BeOpen.com จากจุดนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้น ของการพัฒนา ไพธอน version 2.1 (alpha & beta releases) ออกในนามขององค์กรไม่แสวงกำไรที่ชื่อ Python Software Foundation (PSF)


Python เป็นภาษาระดับสูงภาษาหนึ่ง ที่มีความสามารถสูง ซึ่งภาษานี้พัฒนาขึ้นมาโดยไม่ยึดติดกับแพลตฟอร์ม กล่าวคือสามารถรันภาษา Python ได้ทั้งบนระบบ Unix, Linux, Windows NT/2000/XP/2003 หรือแม้แต่ระบบ FreeBSD อีกอย่างหนึ่งภาษาตัว นี้เป็นภาษาลักษณะ Open Source ที่แจกจ่ายให้ใช้งานฟรีอีกด้วย


Philosophy

ไพธอนเป็นภาษา multi-paradigm language (ภาษาที่ในโปรแกรมที่มีการทำงานหนึ่งๆ สามารถมีวิธีการเขียนได้หลากหลายรูปแบบ) เหมือนกับภาษา Perl (Practical Exraction and Report Language) หรือ ภาษา C++ แต่จะไม่เหมือนกันกับภาษา Smalltalk หรือ ภาษา Haskell นั่นหมายความว่าเราสามารถใช้ภาษาไพธอนเขียนโปรแกรมด้วยวิธีการแบบ OOP (Object Oriented Programming) หรือจะเขียนแบบ Structured programming หรือเขียนแบบ Functional programming ก็ได้ และคุณสมบัติที่สำคัญของไพธอนก็คือ dynamic name resolution (การที่ชื่อ method และ variable ถูกผูกเข้ากับ ตำแหน่งใน memory ระหว่างที่โปรแกรมทำงาน) การเขียนโปรแกรมภาษาไพธอนนี้จะเน้นความเข้าใจในความหมาย (semantics) มากกว่าลักษณะโครงสร้างของภาษา(syntax)


ภาษาไพธอนได้ถูกนำมา Implement ใน web search engine อย่าง Google ด้วย และยังได้มีการนำมาใช้ใน application ที่ทำ visual effects ในหนังเรื่อง Star wars อีกเช่นกัน


ไพธอนเป็นภาษาที่นับวันมีผู้นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างผลงาี่นที่สร้างจากไพธอนที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง อาทิ Plone ซึ่งเป็นระบบที่ใช้สร้างไซต์แบบสำเร็จรูป (Content Management Framework: CMF)