ผู้ใช้:Noo nymph

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โทโพโลยีบัส (Bus Topology)[แก้]

โทโพโลยีแบบบัส จะเป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในแนวเส้นตรง โดยจะมีสายสัญญาณทำหน้าที่เป็น ตัวกลาง(Medium)หลัก 1 สาย เรียกว่า แบ๊กโบน(BackBone) ที่ทุกโหนดในเครือข่าย จะต่อกับสายหลักนี้เมื่อมีสัญญาณข้อมูลวิ่งอยู่ในสายหลักไปถึงปลายสายจะทำให้เกิดการสะท้อนกลับของสัญญาณ ดังนั้นที่ปลายทั้งสองของสายหลักจะมีอุปกรณ์ ที่ใช้เพื่อหยุดสัญญาณเรียกว่า เทอร์มิเนเตอร์(Terminator) ถ้าหากโหนดใดในเครือข่ายต้องการส่งข้อมูลจะต้องตรวจสอบว่าไม่มีโหนดใดที่ส่งข้อมูลอยู่ในขณะนั้นแต่ถ้ามีโหนดอื่นส่ง ข้อมูลอยู่จะทำให้เกิดการชนกันของข้อมูล

   ข้อดีของโทโพโลยีแบบบัส
    - ง่ายต่อการติดตั้งสำหรับเครือข่ายขนาดเล็ก
    - ราคาถูก เนื่องจากใช้สื่อหรือสายนำสัญญาณในการเชื่อมต่อน้อย
    - ถ้าโหนดใดเสีย จะไม่กระทบกับการทำงานของระบบโดยรวม
   
   ข้อเสียของโทโพโลยีแบบบัส
    - หากตัวกลางที่เป็นสายสัญญาณเสียหาย ทั้งเครือข่ายจะไม่สามารถสื่อสารกันได้
    - อาจเกิดการชนของข้อมูล ถ้าโหนดสองโหนดต้องการส่งข้อมูลพร้อมกัน ดังนั้นจะต้องมีอุปกรณ์พิเศษ หรือโปรแกรมสำหรับจัดการเมื่อมีการชนกันของข้อมูล
    - ยากในการตรวจสอบหาจุดที่เกิดความเสียหาย

--Noo nymph (พูดคุย) 09:36, 16 สิงหาคม 2557 (ICT)