ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Nonguyen

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฟล์:Uyen1.jpg
โครงการใสสะอาด พอเพียง เพื่อพ่อ สู่สถานศึกษาและชุมชน กิจกรรมเพื่อสรรค์สร้างเยาวชน เป็นพลเมืองเข้มแข็ง ใจอาสา(๑


โครงการใสสะอาด พอเพียง เพื่อพ่อ สู่สถานศึกษาและชุมชน กิจกรรมเพื่อสรรค์สร้างเยาวชน เป็นพลเมืองเข้มแข็ง ใจอาสา(๑)

[แก้]

ภายใต้กรอบความคิด

         ทีมงาม “โครงการใสสะอาด พอเพียง เพื่อพ่อ สู่สถานศึกษาและชุมชน” ได้ริเริ่มการสร้างขบวน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสานต่อความคิดและเชื่อมโยงการขยายผลที่เกิดจากการนำหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย รวมทั้งเพื่อจุดประกายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับ และการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติในครอบครัว สถานศึกษา หน่วยงานราชการ และทุกภาคส่วนของสังคมอย่างจริงจัง
         จากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้คนไทยได้ตระหนักและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาตนเองและครอบครัวตามหลัก เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มากยิ่งขึ้น ทีมงาม “ โครงการใสสะอาด พอเพียง เพื่อพ่อ สู่สถานศึกษาและชุมชน ” จึงได้เข้าพบผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่าง ๆ ร่วมกันวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางสร้างสรรค์ ในการน้อมนำพระราชดำรัสและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้อัญเชิญมาเป็นปรัชญานำทางในการจัดทำแผนเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม สู่สถานศึกษาและหน่วยงานราชการตลอดจนทุกภาคส่วนของสังคม
         เป้าหมายหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง คือ การมุ่งเน้นที่จะพัฒนาความคิดและจิตสำนึกของเด็ก และเยาวชนตลอดจนการสร้างกระแสสังคมให้มีแนวความคิด เพื่อนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นกรอบความคิดหรือส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ของคนไทยทุกคน ผ่านการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ ประชาชนทุกคนสามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม และปลูกฝังปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำรงชีวิตให้อยู่บนพื้นฐานของ เศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนนำไปสู่การปรับแนวทางการพัฒนา ให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีขอบเขตการดำเนินงาน ๔ ด้านควบคู่กันไปกัน คือ เชื่อมโยงเครือข่ายสถานศึกษาพัฒนาความคิดและจิตใจ สร้างความเชื่อมั่นและกระบวนการ การเรียนรู้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์

จุดเริ่มต้น

         ตลอดเวลากว่าครึ่งศตวรรษ นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงราชสมบัติบรมราชาภิเษก ภายใต้นพปฏลมหาเศวตฉัตร ซึ่งได้พระราชทานพระปฐมราชโองการ

“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

         พระองค์ได้ทรงทุ่มเทพระวรกายและพระสติปัญญา ร่วมทุกข์ ร่วมสุขกับพสกนิกรของพระองค์และบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในด้านต่างๆทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงประโยชน์สุข ของพสกนิกรเป็นที่ตั้งโดยใช้หลักคุณธรรมและความรู้ความเข้าใจในทางหลักวิชา ความชำนาญและประสบการณ์เกี่ยวกับวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่ เป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนา
         จากพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระองค์นับตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ เป็นต้นมา พระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนา บนหลักแนวคิดพึ่งตนเองเพื่อให้เกิดความพออยู่ พอกิน พอมี พอใช้ ของคนส่วนใหญ่ โดยใช้หลักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุ มีผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชา และการมีคุณธรรมเป็นกรอบในการปฏิบัติและการดำรงชีวิต ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นที่รู้จักกันดีภายใต้ชื่อว่า

“ เศรษฐกิจพอเพียง ”

         ทีมงาน “โครงการใสสะอาด พอเพียง เพื่อพ่อ สู่สถานศึกษาและชุมชน” ในฐานะหน่วยงานปากกระบอกเสียงภาคเอกชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของพระราชดำริดังกล่าว จึงได้เข้าพบผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่างๆ ร่วมกันพิจารณากลั่นกรองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานในโอกาสต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ได้อัญเชิญมาเป็นปรัชญานำทางในการจัดทำแผนพัฒนาเพื่อชีวิตและสังคม เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับรวมถึงสถานศึกษา และหน่วยราชการทุกภาคส่วนของสังคม มีความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันจะนำไปสู่การพัฒนาความคิดและจิต ใจและสามารถดำรงชีวิต อย่างร่มเย็นเป็นสุขสังคมมีความเข้มแข็งและประเทศชาติมั่นคงในที่สุด
         อย่างไรก็ดี ปัจจุบันแม้ว่าประชาชนทั่วไปจะรู้จักและมีผลงานเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอ เพียง ตลอดจนมีการนำไปประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่างๆ บ้างแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีความหลากหลาย ในการตีความ เนื่องจากอาจจะยังไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจน และไม่มีตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรมมากนัก ทำให้ไม่มีการนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายเท่าที่ควรนอกจากนี้แล้วการ ดำเนินชีวิตหรือกิจกรรมต่างๆ อย่างไม่พอเพียงบนพื้นฐานของความประมาทในภาคส่วนต่างๆ ของสังคม อาจก่อให้เกิดปัญหาที่สะสม และสามารถนำไปสู่วิกฤตทางเศรษฐกิจและสังคมดังที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตได้
         ดังนั้นทีมงาน “ โครงการใสสะอาด พอเพียง เพื่อพ่อ สู่สถานศึกษาและชุมชน ” จึงเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องริเริ่มการสร้าง ขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง แม้จะเป็นการเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ คือสถาบันการศึกษา แต่เพื่อสานต่อความคิดและเชื่อมโยงการขยายผลที่เกิดจากการนำหลักปรัชญาฯ ไปใช้อย่างหลากหลายในปัจจุบัน รวมทั้งจุดประกายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับ และการตระหนักถึงประโยชน์จากการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกระดับและทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงนี้จะเป็นการเสริมพลังให้ประเทศไทยสามารถพัฒนา ไปได้อย่างมั่นคงยั่งยืน และมีศักดิ์ศรีในเวทีโลก ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์เพราะแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศที่เน้นการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับการสร้างฐานรากทางเศรษฐกิจ และสังคมให้เข้มแข็ง รักษาความสมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติต่างๆในขณะที่ส่งเสริมให้มีเสถียรภาพ ในระดับระหว่างประเทศ สามารถปรับตัวเลือกรับสิ่งที่เป็นประโยชน์และพร้อมรับการเปลี่ยน แปลงได้อย่างรู้เท่าทัน และนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทยในที่สุด

เป้าหมายและวัตถุประสงค์

         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ได้ทรงทุ่มเทพระวรกายและพระสติปัญญา ร่วมทุกข์ ร่วมสุขกับพสกนิกรของพระองค์และบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในด้านต่างๆทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงประโยชน์สุข ของพสกนิกรเป็นที่ตั้ง
         จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักที่จะดำเนิน โครงการฯเพื่อให้เกิดเครือข่ายเยาวชนใจอาสา รู้คุณกตัญญูและสามารถเข้าถึงและเข้าใจ ร่วมพัฒนาสังคมอย่างจริงใจ ตามคำในพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๓-๒๕๔๙ ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
         เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในแนวทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน สถานศึกษา จนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศตามแนวทางสายกลาง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการนำสังคมให้สามารถรอดพ้น วิกฤตและดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
         การนำหลักปรัชญาฯ ไปประยุกต์ใช้ตามทางสายกลางนั้นจะต้องอาศัยวิธีการหรือการกระทำที่ยึดหลัก ของความพอประมาณ บนพื้นฐานของความมีเหตุมีผล และมีการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอควบคู่ไปกับการอาศัยเงื่อนไขอีก ๒ ประการ คือ เงื่อนไขความรู้ อันประกอบด้วย การมีความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวัง และเงื่อนไขทางด้านคุณธรรม ทั้งทางด้านจิตใจและการกระทำเป็นสำคัญ

หลักปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ๑. การพึ่งตนเองเป็นหลัก ๒. การพิจารณาถึงความพอดี พอเหมาะ พอควร สมเหตุสมผล ๓. การสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความสมดุล ๔. ความครอบคลุมทั้งทางด้านจิตใจ สังคม เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ

หลักของความพอประมาณ (พอดี) ๕ ประการ ๑. พอดีด้านจิตใจ เข้มแข็ง มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประนีประนอม นึกถึงประโยชน์ ส่วนรวม ๒. พอดีด้านสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูล รู้รักสามัคคี สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน ๓. พอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบและเกิดความยั่งยืนสูงสุด ๔. พอดีด้านเทคโนโลยี รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและสอดคล้องต่อความต้องการเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ๕. พอดีด้านเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่ พอเกิน สมควรตามอัตตาภาพและฐานะของตน

หลักของความมีเหตุผล ๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ ๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพ ๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในทางการค้าขายประกอบอาชีพ แบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง ๔. ไม่หยุดนิ่งที่หาทางในชีวิตให้หลุดพ้นจากความทุกข์ยาก เรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ ๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลด เลิก สิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป ไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่อง ทำลายตัวเอง ทำลายผู้อื่น พยายามเพิ่มพูนรักษาความดีที่มีอยู่ให้งอกงามสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

หลักของการมีภูมิคุ้มกัน ๑. มีความรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ๒. มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต ขยันอดทนและแบ่งปัน

แผนงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

           การสร้างความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติเป็นรูปธรรมในชีวิตประจำวันของทุกครอบครัว เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในวงกว้าง เพื่อปลูกฝังค่านิยม และสร้างจิตสำนึกต่อเด็ก และเยาวชนให้คำนึงถึงเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตนั้น จะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในระดับต่างๆ ได้มากขึ้นในการสื่อที่สอดคล้องกับเนื้อหาและแนวคิดของหลักปรัชญาฯ

ตัวอย่างกิจกรรมประชาสัมพันธ์ รณรงค์เพื่อสร้างกระแสสังคม อาทิ • เผยแพร่และประชาสัมพันธ์เศรษฐกิจพอเพียงผ่านสื่อต่างๆ เช่น จัดทำภาพยนตร์สั้น ประมาณ ๑-๒ นาที เผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์สื่อสาธารณะในช่วงวาระโอกาสที่สำคัญ หรือออกอากาศในรายการสนทนาทางสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ที่กลุ่มเป้าหมายนิยมรับชม • จัดทำสื่อเฉพาะกิจ เช่น โดยการจัดทำการ์ตูนและ Animation เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำเสนอหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง และการจัดทำวารสารรายเดือน • ร่วมมือกันระหว่างเครือข่าย จัดมหกรรมหรือนิทรรศการในโอกาสต่างๆ เพื่อเผยแพร่ ให้ประชาชนทุกระดับเกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง • จัดการประกวดเรียงความทั่วประเทศ การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับมัธยมปลายและนำผลการประกวดที่ชนะเลิศ ไปเผยแพร่ทางสื่อทีวี • พันธมิตรที่เป็นองค์กร ธุรกิจเอกชนที่เห็นด้วยกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง อาจรับเป็นเจ้าภาพในการนำเสนอ ตัวอย่างกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในรูปแบบของการประชาสัมพันธ์ต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้าในสังคม และเสริมสร้างภาพพจน์ขององค์กรในขณะเดียวกัน • ประสานงานภาคเอกชนให้มีส่วนสนับสนุนในการจัดทำเอกสารเพื่อเป็นสื่อการเรียน การสอนอย่างเป็นรูปธรรม เช่น วารสารรายเดือน “ครอบครัวพอเพียง” การเรียนรู้ “ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ในทุกรูปแบบ ซึ่งมีความแตกต่างแล้วแต่บริบทของบุคคลนั้นๆ

หน่วยงานดำเนินการ ทีมงาน บริษัท อริยา พลัส จำกัด โดยการประสานงานกับสำนักพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษาและกิจการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมงานและรายงานผลดำเนินการไปยัง มูลนิธิประเทศไทย ใสสะอาด และสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง , สำนักงานคณะ กรรมการข้าราชการพลเรือน , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


รายละเอียดเพิ่มเติม [1]