ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Ningphai/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บุญ วนาสิน[แก้]

บุญ วนาสิน
เกิด28 พฤษภาคม พ.ศ. 2481 (86 ปี)
กรุงเทพฯ ประเทศไทย
สัญชาติไทย
การศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต

มหาวิทยาลัยมหิดล อายุรศาสตร์และทางเดินอาหาร Johns Hopkins University

School of Medicine
คู่สมรสนางจารุวรรณ วนาสิน
บุตร2 คน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


นายแพทย์บุญ วนาสิน หรือที่รู้จักกันในนาม หมอบุญ (เกิด 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2481) ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน

หมอบุญ เป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลธนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2519 เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกในฝั่งธนบุรีที่ให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนด้านธนบุรี จนปัจจุบันขยายเป็นเครือธุรกิจโรงพยาบาล และธุรกิจด้านสุขภาพอื่น ๆ ภายใต้การบริหารงานของบริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG ประกอบด้วยธุรกิจให้บริการทางการแพทย์ เป็นธุรกิจหลัก มีโรงพยาบาลทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงดำเนินกิจกรรมผ่านบริษัทในเครือ กิจกรรมร่วมค้า และโรงพยาบาลที่รับจ้างบริหาร ธุรกิจบริบาลผู้ป่วยและเครื่องมือแพทย์ และธุรกิจอื่น ๆ

นอกจากดำเนินธุรกิจโรงพยาบาล หมอบุญยังเป็นผู้ร่วมผลักดันการก่อตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เป็นโรงเรียนแห่งแรกของประเทศไทย ที่เน้นการสอนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (STEM ED) ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์

หมอบุญ เกิดในครอบครัวที่ทำธุรกิจค้าขายข้าวและสินค้าเกษตร ทำให้มีทักษะด้านการค้าติดตัวมาตั้งแต่เด็ก เริ่มต้นการศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ (บางรัก) จบแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้นไปศึกษาต่อด้านวิชาชีพสาขาอายุรศาสตร์ และทางเดินอาหาร Johns Hopkins University School of Medicine, USA

เริ่มงานแพทย์ที่โรงพยาบาลศิริราช และเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยมหิดล จนขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาลงทุนก่อตั้งโรงพยาบาลธนบุรีในปี พ.ศ. 2519 เพื่อรองรับผู้ป่วยในฝั่งธนบุรี สามารถขยายกิจการทั้งในประเทศและต่างประเทศ นับเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรก ๆ ของประเทศไทยที่ดำเนินงานต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 45 ปี มีเครือข่ายโรงพยาบาลในประเทศ 18 แห่ง มีขนาดเตียงจดทะเบียนรวมกว่า 1,100 เตียง รองรับผู้ป่วยนอกได้มากกว่า 5,800 คนต่อวัน และมีธุรกิจโรงพยาบาลในประเทศเมียนมา อีก 1 แห่ง


นายแพทย์บุญ วนาสิน สมรสกับนางจารุวรรณ วนาสิน มีบุตร-ธิดา จำนวน 2 คน คือ นายจอน วนาสิน และ นางสาวนลิน วนาสิน

ประวัติการศึกษา[แก้]

  • พ.ศ. 2501     ระดับปริญญาตรี พบ. จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2507     Internship Medical College of Virginia, USA
  • พ.ศ. 2508     Resident Sinai Hospital, Baltimore, USA
  • พ.ศ. 2510     Post graduate training Johns Hopkins University School of Medicine
  • พ.ศ. 2512     Guest Scientist Gerontology National Institute of Health Baltimore MD

ประวัติการทำงาน[แก้]

  • Assistant in Medicine at Johns Hopkins University School of Medicine (Gastroenterology), USA (พ.ศ.2514-2515)
  • ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และอาจารย์ประจำสาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2517-2521)
  • ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2525-2538)
  • ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2525-2538)
  • อาจารย์พิเศษ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2525-ปัจจุบัน)
  • นายกสมาคมผู้ปกครอง โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (พ.ศ. 2534-ปัจจุบัน)
  • กรรมการผู้จัดการ ศิริราชมูลนิธิ (พ.ศ. 2535-2550)
  • กรรมการ ศิริราชมูลนิธิ (พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน)
  • ประธานกรรมการ บริษัท ทันตสยาม จำกัด (Dental Siam Co., Ltd.) (พ.ศ. 2556-ปัจจุบัน)
  • ประธานกรรมการ บริษัท ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลธนบุรี จำกัด (พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน)      
  • ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
  •   ประธานกรรมการ บริษัท แอสซิส อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์วิสเซส จำกัด
  • ประธานกรรมการ บริษัท โลจิคอล อินฟอร์เมชั่น เนทเวอร์ค จำกัด
  • ประธานกรรมการ บริษัท ราชธานีพัฒนาการ (2014) จำกัด
  • ประธานกรรมการ บริษัท ราชธานี เรียลตี้ จำกัด
  • ประธานกรรมการ บริษัท ราชธานีบ้านและที่ดิน จำกัด
  • ประธานกรรมการ บริษัท ไทยเมดิคอลโกลฟ จำกัด

ตำแหน่งทางการเมือง (อดีต)[แก้]

  • ที่ปรึกษาผู้แทนการค้าไทย (นางลินดา เชิดชัย)
  • หัวหน้าที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ)
  • ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายยงยุทธ วิชัยศิษฐ)
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา)
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นายไพฑูรย์ แก้วทอง)
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายไพฑูรย์ แก้วทอง)
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (ปัจจุบัน)

เกียรติประวัติ[แก้]

  • ผู้ร่วมก่อตั้งโรงรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
  • ผู้ก่อตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • ผลงานในศิริราชมูลนิธิ
  • ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการคนแรกของ ศูนย์ประยุกต์และบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • The American Board of Internal Medicine, Subspecialty of Gastroenterologist, USA (พ.ศ. 2515)
  • Certified to practice Medicine and Surgery, The Board of Medical Examiners of The State of Maryland, USA (พ.ศ. 2514-2515)
  • Member of American Society of Contemporary Medicine and Surgery, USA (พ.ศ. 2514-2515)
  • Diplomate American Board of Internal Medicine, USA (พ.ศ 2514)
  • Fellowship in Medicine, The Johns Hopkins University School of Medicine, USA (พ.ศ. 2511-2514)
  • Assistant Resident in Medicine, Sinai Hospital of Baltimore, Inc. (พ.ศ. 2509-2511)
  • Straight Medical Internship Medical College of Virginia, USA (พ.ศ. 2508-2509)

งานที่ตีพิมพ์[แก้]

  • Bass, D., Vanasin, B., Ustach, T., and Schuster, M.M. “In vitro demonstration of specialized pharmacologic and electrophysiological properties of sphincteric smooth muscle” (Abstract) Gastroenterology 56: 1137, 1969
  • Vanasin, B., Bass, D.D., Mendeloff, A.I., and Schuster, M.M. “Effects and site of action of DPH on G.I. Smooth Muscle” Clinical Research 17: 597, 1969
  • Vanasin, B., Bass, D.D., Mendeloff, A.I., and Schuster, M.M. “Effect of DPH on mechanical and electrical activities of the colon” Clinical Research 18:391, 1970
  • Vanasin, B., Greenough, W., and Schuster, M.M. “Effect of prostaglandins on electrical and motor activities of isolated colonic muscle” Gastroenterology (Abstract) 58: 1004, 1970
  • Vanasin, B., Greenough, W., and Schuster, M.M. “Action and site of action of prostaglandins on colonic smooth muscle” Clinical Research 18: 682, 1970
  • Vanasin, B., Ustach, T.J., and Schuster, M.M., “Motor and electrical activities in human colon in vitro and in vivo” Gastroenterology June 1971
  • Nothmann, B.J., Vanasin, B., Schuster, M.M. “Demonstration of Diazepam effect on both striated and smooth muscle of the distal gut” Gastroenterology (Abstract) June 1971
  • Nothmann, B.J., Vanasin, B., Schuster, M.M. “Endoscopic diagonosis of a potential curable esophageal malignancy” Gastroenterology (Abstract) June 1971
  • Vanasin, B., Wright, J., and Schuster, M.M. “Pneumatosis cystoides esophagu: Case report supporting theory of submucosal spred” JAMA J.A.M.A. 217: 76-77. 1971
  • Vanasin B., Colmer M., and Davis J.P., “Hypocalcemia, hypomagnesaemia and hypokalemia during treatment of pulmonary tuberculosis.” Chest 61: 496-499, 1972
  • Vanasin, B., Nothmann B., and Schuster M.M. “Carcino-sarcoma of the esophagus” Gastrointestinal Endoscopy 18: 169-171. 1971
  • Bass D., Vanasin, B., and Schuster M.M. “Electrical Stimulation of Sphincter IC muscle” Johns Hopkins Bull 131: 436-440, 1972
  • Vanasin, B., Bass D.D., Mendeloff AI and Schuster M.M. “Alteration of electrical and Motor Activity of Human and Dog Colon by Diphenyhydantoin” American J. Of Digest. Disease May, 18: 403-409, 1973
  • Nickoomanesh, P., Engel. BT, Vanasin, B., and Schuster M.M. “Biofeedback Control of Sphincter Reflexes to Treat Fecal Incontinence” Gastroenterology (Abstract) April 64: A95/778, 1973
  • Vanasin, B., Ustach T.J., and Schuster M.M. “Characteristics and Correlation of Electrical and Motor Activity of Human and Oda Colon in vitro” Johns Hopkins Bull. March, 1974
  • Vanasin B., Ustach T.J., and Schuster “Electrical Stimulation as a treatment of fecal incontinence” Johns Hopkins Med J. Apr. 134 (4) 1974.
  • Editor C.P.C. “The hypereosinophilic syndrome” Siriraj Hospital Gazette 26: 2375-2382, 1974
  • Vanasin, B. Plengvanit U. and Viranuvatti, V. “Diagnosis and management of acute gastrointestinal bleeding” J Med Assoc. Thai, Aug, 60(8) 374-75, 1977

บทบาทในช่วงสถานการณ์โควิด-19[แก้]

ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 โรงพยาบาลธนบุรี เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรก ที่จัดตั้งโรงพยาบาลสนามที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์การรักษา จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสนาม มทบ.11 จำนวน 494 เตียง โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ 2 จำนวน 168 เตียง และโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน จำนวน 177 เตียง สร้างฮอสพิเทลอีก 10 แห่ง สามารถรองรับผู้ป่วยในกลุ่มสีเขียว เหลือง และแดง รวมกันได้มากกว่า 4,000 เตียง ควบคู่กับการดึงบุคลากรวิชาชีพอื่น เช่น สจ๊วต แอร์โฮสเตส แพทย์ พยาบาล จากคลินิกความงาม ฯลฯ ที่ได้รับผลกระทบในการประกอบอาชีพ เข้ามาช่วยทำงานในโรงพยาบาล

หมอบุญยังมีบทบาทในการขับเคลื่อนการใช้วัคซีนชนิด mRNA และะนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA เข้ามาด้วยตนเองจำนวน 20 ล้านโดส มุมมองในกรณีการนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ของรัฐบาลในปี พ.ศ. 2564 ทำให้หมอบุญกลายเป็นที่รู้จักในฐานะผู้เปิดเผยรายละเอียดเรื่องสถานการณ์โควิด-19 อย่างตรงไปตรงมา อาทิ

  • สถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ถือว่าหนัก เชื้อกระจายไปทุกบ้าน มีผู้ติดเชื้อเพิ่มต่อเนื่อง ส่งผลให้ระบบสาธารณสุขเริ่มรองรับไม่ไหว ตัวแปรที่เป็นทางออกของวิกฤตคือ การเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้เข้าสู่กลุ่มประชาชนให้เกิน 80% ถ้ายังไม่ได้ฉีดวัคซีนให้มีภูมิคุ้มกันถึง 70-80% ทุกอย่างก็จะวนกลับมา เชื้อจะยังอยู่และกระจายไปเรื่อย ๆ ประกอบกับสายพันธุ์โควิดตัวหลักในไทย คือ เดลต้าที่ติดเชื้อง่ายขึ้น และมีคนเสียชีวิตมากขึ้น ดังนั้นควรใช้วัคซีนชนิด mRNA ที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพป้องกันโควิดสายพันธุ์ต่าง ๆได้สูง
  • บุคลากรทางการแพทย์ของไทย จำนวนประมาณ 7 แสนคน ควรได้รับวัคซีน mRNA ก่อนเป็นกลุ่มแรก เพราะขณะนี้คนทำงานติดเชื้อค่อนข้างมากและเสียชีวิตบางส่วน จำเป็นต้องรักษาคนกลุ่มนี้ไว้ก่อน มิฉะนั้นถ้าคนหนึ่งติดเชื่อ ต้องล็อคดาวน์อีกร้อยคน อาจทำให้ต้องปิดโรงพยาบาล อีกประการหนึ่ง แต่ละวันบุคลากรทางการแพทย์ต้องพบปะผู้คนจำนวนมาก ถ้าเป็นผู้ติดเชื้อเสียเอง ก็จะขยายไปสู่ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย หรือผู้ที่มีการพบปะกัน
  • กลุ่มต่อมาที่ควรได้รับวัคซีน คือกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ แต่ที่น่าห่วงคือกลุ่มเด็ก ซึ่งมีจำนวนประมาณ 8 ล้านคน ควรจะให้ได้ฉีดวัคซีนเร็วที่สุด จากผลการศึกษาพบแล้วว่า เด็กที่ได้รับเชื้อ แม้ไม่มีอาการ แต่มีผลข้างเคียงระยะยาวในอนาคต ทั้งสมอง หัวใจ และไต
  • ผู้ที่มีโอกาสดี ควรช่วยเหลือผู้ที่ขาดโอกาส เช่น คนที่สามารถใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน หรือสามารถจ่ายเงินซื้อวัคซีนได้ ควรให้โอกาสในเรื่องนี้ เพื่อให้คนที่ลำบากกว่าได้รับโอกาสเข้าถึงวัคซีนมากขึ้น เป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาล

ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการเปิดศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19  [แก้]

-         เปิดหน่วยบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 กับหอการค้าไทย ไทยพีบีเอส โดยเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนผ่านระบบไทยร่วมใจ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไป ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

-         โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง เปิดให้บุคคลทั่วไปลงทะเบียนฉีดวัคซีนไฟเซอร์ "เข็ม 3 Booster Dose" สำหรับประชาชนที่สนใจ และยังมีหน่วยวัคซีนเคลื่อนที่ ให้บริการกับผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง

-         โครงการวัคซีนใกล้บ้าน โดยโรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง สำหรับประชาชนในเขตสัมพันธวงศ์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตพระนครสถานที่ฉีด โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ชั้น 7 สำหรับ“เข็ม Booster”

-         เปิดศูนย์ฉีดวัคซีน Pfizer “เข็ม Booster” สำหรับประชาชนทั่วไป ณ.ศูนย์การค้า The Market Bangkok ราชประสงค์ ชั้น 2 ตรงข้าม Central World

-         ร่วมมือกับกระทรวงเกษตรฯ บริการฉีดวัคซีนไฟเซอร์แก่ประชาชนในเขตบางพลัด บางกอกน้อย และพื้นที่ใกล้เคียง ศูนย์ฉีดวัคซีนสำนักการยาง ห้องประชุมกันตัง ชั้น 5 ของการยางแห่งประเทศไทย ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย

-         เปิดลงทะเบียนฉีดวัคซีนไฟเซอร์ “เข็ม Booster” กับศูนย์การค้า เดอะ พาซิโอ พาร์ค สาขากาญจนาภิเษก สำหรับบุคคลทั่วไป

-         บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ณ.โรบินสัน ลาดกระบัง สำหรับประชาชนผู้มีความประสงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

1.     https://www.set.or.th/set/newsdetails.do?newsId=15125173933901&language=th&country=TH

2.     https://www.thg.co.th/th/about/thg-network+thg.co.th

3.     https://www.thg.co.th/th/management/board-of-directors

4.     https://mgronline.com/crime/detail/9640000053549 "หมอบุญ วนาสิน" ผู้กล้าสั่งสอนรัฐบาล MGR Online

5.     https://www.springnews.co.th/news/812479 รู้จัก ประวัติ หมอบุญ หรือ นพ.บุญ วนาสิน หมอผู้ขับเคลื่อนวัคซีน mRNA เข้าไทย สปริงนิวส์

6.     https://www.komchadluek.net/news/474509 "หมอบุญคือใคร" เปิดเส้นทางชีวิตก่อนมีวันนี้ คมชัดลึก

7.     https://www.bangkokbiznews.com/news/949595 ส่องเส้นทาง 'หมอบุญ' ริชแมนวงการแพทย์ ก่อนมหากาพย์ดีลวัคซีน 'โมเดอร์นา-ไฟเซอร์' กรุงเทพธุรกิจ

8.     https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2964562 ซีอีโอ ธนบุรี กรุ๊ป ย้ำ! โควิดจุดเปลี่ยนธุรกิจสุขภาพ มั่นใจ เมดิคัล ฮับ ไทยยังไปได้ มติชน

9.     https://www.prachachat.net/marketing/news-773650 นพ.ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ “คิดเร็วทำเร็ว” กุญแจสู้โควิด THG ประชาชาติธุรกิจ

10.  https://praew.com/people/praew-interview/409397.html คุยวิกฤตวัคซีนไทยกับ นพ.บุญ วนาสิน “เราไม่อยากหากินกับเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วย!” แพรว

11.  https://www.bangkokbiznews.com/social/975791 ถอดรหัส "THG" ฝ่าทุกวิกฤติ สู่เป้า "Smart Hospital" กรุงเทพธุรกิจ

12.  https://www.naewna.com/lady/508321 ลงนามความร่วมมือโครงการผลิตพืชกัญชา เพื่อใช้ในการวิจัย และรักษาผู้ป่วย แนวหน้า