ผู้ใช้:Newtechinsulation/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เมื่อไรที่ต้องใช้แผ่นซับเสียง เมื่อเราต้องการลดเสียงก้องกังวานหรือเสียงสะท้อนภายในห้อง การติดตั้งแผ่นซับเสียงหรือวัสดุซับเสียง ดูจะเป็นแนวทางการลดปัญหาเสียงก้องเสียงสะท้อนที่ประหยัดเงินสุด และได้ผลค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจหรือได้ผลดีเลิศในหลายๆกรณี เช่น ติดตั้งแผ่นซับเสียงในห้องประชุม การติดตั้งวัสดุซับเสียงในห้องอบรมหรือห้องสัมมนา การเพิ่มวัสดุที่มีพื้นที่ในการดูดซับเสียง ไม่ว่าจะเป็นพรม เก้าอี้ที่มีฟองน้ำ รวมไปถึงผ้าม่านที่หน้าต่างหรือประตูห้อง เหล่านี้ล้วนเพิ่มพื้นที่ดูดซับพลังงานเสียง ทำให้ค่าการสะท้อนของเสียงลดลง ส่งผลให้สื่อสารกันได้โดยไม่ต้องตะโกนหรือเสียสมาธิในการใช้ห้องหรือพื้นที่นั้นๆ

แผ่นซับเสียงมีกี่แบบ วัสดุที่ใช้ในการลดเสียงโดยส่วนมากจะถูกผลิตขึ้นจากวัตถุดิบไม่กี่ประเภท โดยเฉพาะวัสดุซับเสียงหรือแผ่นซับเสียงที่เราเรียกกัน จะผลิตจากวัสดุที่มีเส้นใยสั้นๆหรือมีความพรุนอยู่ด้านใน ไม่แข็งจนเป็นเนื้อเดียวกันไปหมด แผ่นซับเสียง ที่มีจำหน่ายในเมืองไทยส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุประเภท ใยแก้ว (fiberglass) ใยหิน (rockwool) ใยโปลีเอสเตอร์ (polyester felt) ยางสังเคราะห์ (synthetic rubber) ใยสแตนเลส (stainless steel wool) ใยอลูมิเนียม (aluminum wool) พียูโฟม (polyurethane foam) เยื่อไม้ (wood wool) เป็นต้น ซึ่งวัสดุดังกล่าวจะมีขนาด ความหนาแน่น น้ำหนัก และราคาที่ค่อนข้างต่างกันพอสมควร เช่น ใยสแตนเลส ที่ใช้สำหรับซับเสียงที่ปลายท่อไอเสียรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ จะมีน้ำหนักต่อตารางเมตรและราคาต่อหน่วยสูงกว่าแผ่นซับเสียงใยแก้วที่ใช้ลดเสียงสะท้อน ในห้องหรืออาคารบ้านพักอาศัยทั่วไป

ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพแผ่นซับเสียง เช่นเดียวกับวัสดุทางวิศวกรรมหลายรายการ แผ่นซับเสียงจากผู้ผลิตแต่ละค่าย จะมีความพิเศษและคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป แต่คุณสมบัติประการหนึ่งที่จะต้องแจ้งให้ผู้ใช้งานหรือผู้ออกแบบทราบก็คือ “ค่าสัมประสิทธิ์การซับเสียง” หรือ Sound Absorption Coefficient (SAC) โดยมีค่าเต็มคือ 1.0 และหากแต่ละความถี่เสียง (frequencies) มีค่า SAC เข้าใกล้ 1.0 เท่าไร ก็แสดงว่าแผ่นซับเสียงหรือวัสดุนั้นมีคุณสมบัติซับเสียงหรือลดพลังงานเสียงในย่านความถี่นั้นได้ดี เช่น หากมีค่า SAC ที่ 2000Hz คือ 0.95 แสดงว่าวัสดุนั้นสามารถดูดซับพลังงานเสียงที่ความถี่ 2000Hz ได้ร้อยละ 95 นั่นเอง ตัวชี้วัดต่อมาก็คือค่า Noise Reduction Coefficient (NRC) หรือ “ค่าสัมประสิทธิ์การลดเสียง” จะมีค่าเต็มคือ 1.0 เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ค่า NRC ของแผ่นซับเสียงยี่ห้อหนึ่ง ได้ถูกระบุว่า NRC 0.80 จะหมายถึงค่าเฉลี่ยของ SAC ที่ 250Hz 500Hz 1000Hz 2000Hz และ 4000Hz ของแผ่นซับเสียงนั้นนั่นเอง

ทำไมเลือกแผ่นซับเสียงที่มี ค่า SAC และ NRC สูงๆ แล้วเสียงยังไม่ลดลงหรือลดลงน้อยมาก ข้อผิดพลาดประการหนึ่งในการนำแผ่นซับเสียงมาใช้ในงานลดเสียงดังจากเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีพลังงานเสียงสูง คือการพิจารณาค่า NRC และค่า SAC ของวัสดุเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้คำนวณหรือวิเคราะห์ต่อไปในเรื่องของ พลังงานเสียง ความเข้มเสียง ความสั่นสะเทือนของแหล่งกำเนิดเสียง ความสั่นสะเทือนของโครงสร้าง ระยะความสูงของแหล่งกำเนิดเสียง ทิศทางที่เสียงเดินผ่าน รวมไปถึงการสอดแทรกของเสียงอื่นในบริเวณนั้น เพราะปัญหาเสียงดังรบกวนหรือเสียงดังเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดในบางกรณี ไม่สามารถลดเสียงหรือแก้ปัญหามลภาวะทางเสียงนั้นได้ด้วยแผ่นซับเสียงเท่านั้น จะต้องเป็นระบบผสมที่ช่วยให้การลดเสียงในส่วนต่างๆได้ผลพร้อมๆกันในคราวเดียว ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ของสตีมเทอร์ไบน์ที่มีระดับเสียงเกินกว่า 95 dBA จะไม่สามารถลดเสียงในบริเวณนั้นได้ โดยการทำห้องครอบและใช้แผ่นซับเสียงที่มีค่า NRC 0.80 แต่เพียงอย่างเดียวได้ จะต้องมีการลดเสียงที่ตัวสตีมเทอร์ไบน์และระบบต่อพ่วงเช่น ท่อ พัดลม หม้อพัก รวมไปถึงเสียงจากมอเตอร์ลงก่อน จึงจะไปคำนวณเลือกแผ่นซับเสียงที่สามารถลดเสียงส่วนที่เหลือได้

คุณสมบัติอื่นๆของแผ่นซับเสียงที่ควรพิจารณา นอกเหนือไปจากค่า SAC และ NRC แล้ว ควรพิจารณาถึงคุณสมบัติด้านอื่นด้วย เช่น วัสดุซับเสียงที่ไม่ลามไฟ กันน้ำ ทนต่อแสงยูวีหรือการกัดกร่อนของสารเคมี น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ไม่เป็นอันตรายต่อระบบหายใจ เป็นต้น การที่แผ่นซับเสียงมีคุณสมบัติเด่นด้านอื่นเพิ่มเติมเข้ามา ย่อมทำให้ราคาของแผ่นซับเสียงนั้นสูงขึ้นไปด้วย ซึ่งจะมีความสำคัญจำเป็นแค่ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และเงื่อนไขในการใช้งานของผู้ออกแบบหรือเจ้าของพื้นที่นั่นเอง [1] [2] [3]

  1. Newtechinsulation
  2. https://www.noisecontrol.company/services/
  3. https://www.ฉนวนกันเสียง.com