ผู้ใช้:Neranutnut/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อมูลและประวัติความเป็นมาของ ตำบลหนองงูเหลือ อ.เมือง จ.นครปฐม

ลักษณะที่ตั้ง[แก้]


ตำบลหนองงูเหลือม เดิมขึ้นอยู่กับตำบลทัพหลวง หมู่ที่ ๑๖ ต่อมามีประชาชนเข้ามาทำมาหากินในพื้นที่หมู่บ้านมากขึ้น เนื่องจากมีที่ดินเป็นที่รกร้างว่างเปล่ามากและราคาถูก ผู้ที่มาตั้งรกรากร่ำรวยขึ้น ก็ย้ายไปอยู่ที่เจริญกว่า โดยขายที่ดินให้ผู้ที่มาอยู่ใหม่ในราคาถูก จึงทำให้ผู้มาจากท้องถิ่นอื่นมีจำนวนเพิ่มขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๑ พระราชกฤษฎีกาแยกตำบลทัพหลวงเป็นตำบลหนองงูเหลือม เพราะว่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตำบลทัพหลวง มีหนองน้ำเนื้อที่ประมาณ ๘ ไร่เศษ มีน้ำขังตลอดปี มีกอไผ่ขึ้นหนาทึบ มีปลาชุกชุม และมีงูเหลือมจำนวนมาก บางตัวมีขนาดใหญ่มากเท่าต้นกล้วยขนาดใหญ่ ๆ เพราะในหนองน้ำใหญ่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ จึงได้เรียกว่าตำบลหนองงูเหลือม ต่อมากรมชลประทานได้ขุดลอกและระบายน้ำทิ้ง จึงทำให้กลายเป็นไร่นาไปหมด
ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๓๙ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๙ ลงวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๓๙ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๓๙ เป็นต้นไป ทั้งนี้ได้จัดตั้งสภาตำบลหนองงูเหลือมเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม องค์การบริหารส่วนตำบลชั้นที่ ๔ ขนาดเล็ก ต่อมาในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๑ คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดนครปฐม (ก.อบต.จังหวัดนครปฐม) มีมติเห็นชอบให้องค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือมปรับขนาดองค์กรเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม ได้ประกาศกำหนดขนาดองค์การบริหารส่วนตำบลจากขนาดเล็กเป็นขนาดกลาง เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๑
ปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม พัฒนาขีดความสามารถองค์กรได้จนสามารถปรับขนาดองค์กรจากขนาดกลาง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่ โดยมติเห็นชอบของคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดนครปฐม (ก.อบต.จังหวัดนครปฐม) ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม ได้ประกาศกำหนดขนาดองค์การบริหารส่วนตำบลจากขนาดกลางเป็นขนาดใหญ่ ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔

ประชากร[แก้]

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม มีจำนวนครัวเรือนและประชากรทั้งสิ้น ดังนี้
จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 2,772 ครัวเรือน
จำนวนประชากรทั้งสิ้น 10,281 คน แยกเป็น

  • ชาย 4,905 คน
  • หญิง 5,376 คน
  • ความหนาแน่นเฉลี่ย 352 คน / ตารางกิโลเมตร
ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม
หมู่ 1 บ้านแปดโรง 254 416 505 921
หมู่ 2 บ้านหนองงูเหลือม 280 506 560 1,066
หมู่ 3 บ้านรางกระทุ่ม 349 581 621 1,202
หมู่ 4 บ้านหนองหม้อแตก 250 496 549 1,045
หมู่ 5 บ้านหนองไผ่ล้อม 175 382 437 819
หมู่ 6 บ้านหนองงูเหลือม 313 451 489 940
หมู่ 7 บ้านตลาดใหม่หนองงูเหลือม 331 614 678 1,292
หมู่ 8 บ้านหนองแก 256 486 476 962
หมู่ 9 บ้านหนองแก 250 407 460 867
หมู่ 10 บ้านไร่ใหม่ 205 326 383 709
หมู่ 11 บ้านหนองพงษ์ 109 240 218 458
รวมทั้งสิ้น 2,772 4,905 5,376 10,281


ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]


ลักษณะภูมิอากาศ แบ่งเป็น ๓ ฤดู คือ

  • ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนพฤษภาคม
  • ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนมกราคม

ลักษณะของแหล่งน้ำ[แก้]

  • สระเก็บน้ำ 1 แห่ง
  • หอถังประปา 38 แห่ง

สภาพทางสังคม[แก้]

สถานศึกษา[แก้]

  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองงูเหลือม ๑ แห่ง
  • โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครปฐม 1 แห่ง
  • โรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม

สาธารณสุข[แก้]

  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองงูเหลือม ๑ แห่ง
  • สถานพยาบาลเอกชน ๒ แห่ง

ระบบบริการพื้นฐาน[แก้]

การคมนาคมขนส่ง[แก้]


ถนนลาดยาง จำนวน 61 สาย เส้นทางการคมนาคมซึ่งเป็นถนนสายหลักที่ใช้สัญจรไปมาภายในตำบลหรือระหว่างหมู่บ้าน คือ

  • ถนนบุญญานุสาสน์
  • ถนนสายทัพหลวง – หนองงูเหลือม,
  • ถนนสายทัพหลวง – หนองแก
  • ถนนสายหนองงูเหลือม – ดอนขุนวิเศษ
  • ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) จำนวน 24 สาย
  • ถนนหินคลุกบดอัดแน่น และลูกรัง จำนวน 10 สาย

การไฟฟ้า[แก้]

  • ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน

การประปา[แก้]

  • หอถังประปา 38 แห่ง

โทรศัพท์[แก้]

  • โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 10 แห่ง
  • โทรศัพท์ประจำบ้าน ประมาณ 40 %

ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่งและวัสดุ ครุภัณฑ์[แก้]

  • ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขชั่วคราว จำนวน 1 แห่ง
  • สถานีโทรคมนาคมอื่น ๆ (เคลื่อนที่) จำนวน 4 แห่ง

ระบบเศรษฐกิจ[แก้]

การเกษตร[แก้]

  • ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม
  • อาชีพการเกษตร 80 %

การประมง[แก้]

  • ประชาชนในพื้นที่ไม่ประกอบอาชีพประมง

การบริการ[แก้]

  • ปั้มน้ำมันและก๊าซ (ขนาดเล็ก) จำนวน ๖ แห่ง (หมู่ ๒, ๖, ๗, ๘ และ ๙)
  • ร้านขายของชำ
  • ร้านสะดวกซื้อ

อุสาหกรรม[แก้]

  • โรงงานพลาสติก จำนวน ๒ แห่ง
  • โรงงานยางรถยนต์ จำนวน ๑ แห่ง
  • โรงงานปลากระป๋อง จำนวน ๑ แห่ง
  • โรงงานปูนพลาสเตอร์ จำนวน ๑ แห่ง

ศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม[แก้]

การนับถือศาสนา[แก้]

  • ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ


สถาบันและองค์กรทางศาสนา

  • วัด จำนวน ๑ แห่ง คือ วัดหนองงูเหลือม ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๕ บ้านหนองไผ่ล้อม
  • สุสานคริสต์ จำนวน ๑ แห่ง ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๓ บ้านรางกระทุ่ม
  • ศาลเจ้า จำนวน ๖ แห่ง

ประเพณีและงานประจำปี[แก้]

  • ประเพณีสงกรานต์
  • ประเพณีลอยกระทง
  • ประเพณีแห่เทียนพรรษา

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น[แก้]

  • ประชาชนใช้ภาษากลางเป็นส่วนใหญ่

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก[แก้]

  • กระเป๋าป่านศรนารายณ์ (ทรงปุ้มปุ้ยหูหนัง)
  • ปลาอินทรีย์เค็ม
  • ลูกไม้ประดิษฐ์และไม้ประดิษฐ์
  • หน่อไม้ฝรั่ง

ทรัพยากรธรรมชาติ[แก้]

น้ำ[แก้]

  • คลอง ๒ สาย
  • คลองระบายน้ำ ๑๙ สาย

ป่าไม้[แก้]

  • มีพื้นที่ป่าไม้บางส่วน

ภูเขา[แก้]

  • ไม่มีภูเขาในพื้นที่

อ้างอิง[แก้]

https://www.thaitambon.com/tambon/730124 http://www.ngl-npt.go.th/index.php/welcome/detail/670/menu