ผู้ใช้:Manuchet/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

จากผลทางประวิติศาสตร์และกฎหมายพื้นฐานของประเทศเยอรมนีที่บัญญัติความสัมพันธ์ระหว่างมลรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยให้การจัดโครงสร้างองค์กรและความรับผิดชอบ ตลอดจนสิทธิและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ในกรอบของกฎหมายปกครองท้องถิ่นของแต่ละมลรัฐ ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสัมพันธ์ทางตรงกับมลรัฐ และส่งผลให้กฎหมายปกครองท้องถิ่นในแต่ละที่แตกต่างกันมาก อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก[1]

โครงสร้างภายนอก[แก้]

โครงสร้างภายนอกการปกครองท้องถิ่นในประเทศเยอรมันเป็นระบบ 2 ชั้น ประกอบด้วย 1.อำเภอ ซึ้งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ อำเภอในเขตชนบท และ อำเภอในเขตเมือง 1.1 อำเภอในเขตชนบท องค์การบริหารส่วนอำเภอในเขตชนบท มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำภารกิจขนาดใหญ่ และต้องใช้ทรัพยากรมากกว่าที่เทศบาลจะดำเนินการได้ อย่างไรก็ตามในส่วนของอำนาจในเขตชนบทจะมีหน่วยการปกครองระดับรองลงมาคือ เทศบาล[2] 1.2 อำเภอในเขตเมือง หมายถึง เขตเมืองใหญ่หรือนคร รับผิดชอบในภารกิจที่เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้เป็นหน่วยการปกครองที่มีอิสระในการจัดการบริหารหรือการปกครองของตนเองโดยไม่ต้องปฏิบัติภายในกรอบของอำเภอในเขตชนบท และยังมีสถานะและความรับผิดชอบที่เท่ากับอำเภอในเขตชนบทอีกด้วย ทั้งในระดับนี้ไม่มีการปกครองรูปแบบเทศบาลอยู่ใต้รองลงมาเหมือนอำเภอในเขตชนบท [3] 2.เทศบาลและเมือง เป็นหน่วยการปกครองที่อยู่ระดับล่างสุดของการบริหารราชการในประเทศเยอรมัน รองลงมาจากอำเภอ (มีอยู่ในเฉพาะในพื้นที่ของอำเภอในเขตชนบท) มีอานาจหน้าที่รับผิดชอบภารกิจในพื้นที่ของตนเอง ภารกิจหน้าที่หลักของเทศบาลมีอยู่ 3 ประการคือ 1.ประการที่หนึ่ง จัดทาภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลสหพันธ์และมลรัฐ เช่น จัดทำโครงการเกี่ยวกับเยาวชน การสาธารณสุข และการสวัสดิการสังคม เป็นต้น 2.ประการที่สอง ออกกฎระเบียบทีเกี่ยวข้องกับการดาเนินภารกิจในพื้นที่ ซึ่งตามมาตรา 28(2) ของกฎหมายพื้นฐานก็ได้รับรองสิทธินี้ไว้โดยไม่ขัดต่อกฎหมายของสหพันธรัฐและกฎหมายของมลรัฐ ซึ่งภายใต้การออกกฎหมายนี้ทาให้เทศบาลมีภารกิจหน้าที่อย่างกว้างขวาง ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ 3.ประการที่สาม การจัดบริการสาธารณะอื่นๆ เช่น การกาจัดขยะ การไฟฟ้า การขนส่งสาธารณะ เป็นต้น[4]

โครงสร้างภายใน[แก้]

โครงสร้างภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่มีรูปแบบหลากหลายแตกต่างกันไป 1.สภาเทศบาล ขนาดของเทศบาลแต่ละแห่งในประเทศเยอรมันนั้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละมลรัฐจะบัญญัติไว้และขึ้นอยู่กับจานวนประชากรที่อาศัยอยู่ภายในพื้นที่นั้นๆ ทั้งนี้ตามกฎหมายแห่งมลรัฐได้กำหนดให้สมาชิกสภาเทศบาลมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และมีวาระ 4 หรือ 5 ปี นอกจากนี้อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาลยังมีความหลากหลายตามกฎหมายของมลรัฐอีกด้วย[5] 2.ฝ่ายบริหาร รูปแบบการจัดโครงสร้างองค์กรของฝ่ายบริหารของเทศบาลนั้นมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับรูปแบบโครงสร้างของสภาเทศบาล หัวหน้าฝ่ายบริหารอาจมีตาแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี (Mayor) หรือเรียกเป็นชื่ออื่นก็ได้ [6] การจัดโครงสร้างภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจาแนกออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้ 1.การปกครองท้องถิ่นรูปแบบคณะบริหาร รูปแบบนี้มีการแบ่งหน้าที่งานระหว่างสภาท้องถิ่นที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนกับคณะบริหารที่เรียกว่า สภาประชุมเมือง เป็นองค์กรสูงสุดในเทศบาลสภานี้จะเลือกตั้งประธานของตน สภาท้องถิ่นมีหน้าที่ดูแลงานท้องถิ่นทั้งหลายยกเว้นแต่เรื่องที่กฎหมายกำหนดให้เป็นงานของฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริหารได้แก่ คณะบริหารซึ่งทำงานในรูปคณะบุคคล ทำหน้าที่ดูแลการบริหารงานหน่วยการปกครองท้องถิ่น คณะบริหารนี้ประกอบด้วยสมาชิกจากสายวิชาชีพต่างๆ ได้รับเลือกโดยสภาท้องถิ่นคณะบริหารเป็นองค์กรบริหารของเมืองขึ้นตรงต่อสภา และรับผิดชอบในการนำนโยบายของสภาไปปฏิบัติ นายกเทศมนตรีซึ่งปัจจุบันได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน เป็นประธานของคณะบริหาร แต่ไม่ได้เป็นประธานของสภาท้องถิ่น[7] 2.การปกครองท้องถิ่นรูปแบบนายกเทศมนตรี การปกครองรูปแบบนี้เป็นระบบที่นายกเทศมนตรีเป็นทั้งประมุขของฝ่ายบริหารเทศบาล และเป็นทั้งประธานสภาเทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนด้วย แต่เดิมนายกเทศมนตรีระบบนี้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่มาจากการเลือกของสภาเมือง แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ลักษณะที่แปลกอย่างหนึ่งของการปกครองรูปแบบนี้คือ ในเทศบาลที่มีประชากรกว่า 15,000 คนขึ้นไป มีองค์กรอีกหนึ่งองค์กรที่อยู่ควบคู่ไปกับนายกเทศมนตรีและสภาท้องถิ่น คือคณะกรรมการเมือง คณะกรรมการนี้ประกอบไปด้วยนายกเทศมนตรีและผู้ช่วยกิตติมศักดิ์(ไม่มีเงินเดือน) และเป็นมืออาชีพทั้งหลาย คณะกรรมการเมืองนี้มีหน้าที่เตรียมการตัดสินใจให้กับสภาเมืองในส่วนที่เกี่ยวกับแผนงบประมาณ ข้อบัญญัติท้องถิ่น การบริหารบุคคล แผนการเงิน แผนพัฒนาชุมชนเมือง การจัดเมืองใหม่ เป็นต้น นายกเทศมนตรียังต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการเมืองในเรื่องเร่งด่วนด้วยการใช้ระบบคณะกรรมการเมืองส่งผลให้รูปแบบนี้คล้ายกับรูปแบบคณะบริหารมากขึ้น แต่นายกเทศมนตรียังมาจากการเลือกตั้งโดยตรง[8] 3.การปกครองท้องถิ่นในเยอรมนีเหนือ การปกครองท้องถิ่นรูปแบบสภาในเยอรมนีเหนือกครองท้องถิ่นรูปแบบสภามีลักษณะเด่นที่ให้ผู้นำการปกครองท้องถิ่นสองคน คือ นายกเทศมนตรีและปลัดเทศบาลหรือปลัดเมือง เมืองที่ไม่ได้ขึ้นกับอำเภอเรียกตำแหน่งทั้งสองว่า Lord Mayor และ Chief Town Clerk มีลักษณะเหมือนเป็นรัฐบาลท้องถิ่นมีสองหัว หรือมีหัวหน้าสองคนนายกเทศมนตรีเป็นประธานสภาเมืองหรือเทศบาลและได้รับการเลือกจากสภาให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว นายกเทศมนตรีเป็นตำแหน่งเกียรติยศได้รับค่าใช้จ่ายตอบแทนมากน้อยขึ้นกับขนาดของเทศบาล ในฐานะประธานสภาท้องถิ่น นายกเทศมนตรีมีหน้าที่เตรียมการและจัดประชุมสภาท้องถิ่นกำหนดไปใช้ เป็นตัวแทนของสภาท้องถิ่นในการประสานงานกับปลัดเทศบาลและดูแลการบริหารงานของปลัดเทศบาล นอกจากนี้ยังมีอำนาจเรียกข้อมูลหรือรายงานเกี่ยวกับกิจการเทศบาลจากปลัดเทศบาลได้ทุกเวลา ในกรณีรีบด่วนนายกเทศมนตรีและสมาชิกอีกคนหนึ่งของสภาท้องถิ่นมีอำนาจตัดสินใจแทนสภาได้ นอกจากนี้ นายกเทศมนตรีเป็นตัวแทนของสภาท้องถิ่นในการติดต่อกับภายนอกเทศบาล สำหรับปลัดเทศบาลหรือปลัดเมืองเป็นประมุขฝ่ายบริหาร เป็นตำแหน่งนักบริหารมืออาชีพ มีอำนาจในการบริหารจัดการงานของท้องถิ่นหรือการบริหารกิจการอื่นที่ได้รับโอนมาหรือมอบหมายจากสภา ปลัดเทศบาลมีสิทธิหน้าที่ในการคัดค้านการตัดสินใจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของสภาและคณะกรรมการของสภา มีหน้าที่บริหารงานบุคคล เป็นตัวแทนสภานอกเขตเทศบาลในเรื่องกฎหมายและการบริหาร รวมทั้งทำหน้าที่อื่นตามกฎหมายกาหนด นอกจากนี้ สภาอาจมอบโอนอานาจอื่นๆ ให้แก่ปลัดเทศบาลได้อีกแต่อาจเรียกคืนเมื่อไหร่ก็ได้ สิทธิเพิกถอนอานาจรวมไปถึงการเพิกถอนอานาจบริหารงานปกติประจำวันด้วย แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดรูปแบบการปกครองท้องถิ่นลักษณะนี้ สภาท้องถิ่นมีอำนาจมากเพราะมีอำนาจในการเลือกนายกเทศมนตรีและปลัดเทศบาลหรือปลัดเมืองและมีสิทธิเพิกถอนหน้าที่ หรือสิทธิบางอย่างของปลัดเทศบาลด้วย การปกครองท้องถิ่นรูปแบบนี้มีลักษณะแตกต่างกันออกไปบ้าง เช่น Lower Saxony ซึ่งมีคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยสมาชิกสภาท้องถิ่นโดยมีนายกเทศมนตรีเป็นประธานและเป็นหัวหน้าบริหารแต่ไม่มีสิทธิลงคะแนนเสียง คณะกรรมการบริหารทำหน้าที่ประสานงานเฉพาะเรื่องเทศบาล และทำหน้าที่บริหารจัดการให้กับฝ่ายบริหารจึงถือเป็นกลไกเสริมของสภาท้องถิ่นในการบริหารงาน นอกจากนี้ ได้มีการเปลี่ยนลักษณะบางอย่างของงานและหน้าที่ของนายกเทศมนตรี โอกาสมีส่วนร่วมของประชาชน กรอบเงื่อนไขคุณสมบัติของสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้ง และขอบเขตอานาจหน้าที่ของพนักงานท้องถิ่นการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้รูปแบบการปกครองท้องถิ่นของสภาเยอรมนีเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องพันธะและหน้าที่ของนายกเทศมนตรี[9] 4.การปกครองท้องถิ่นรูปแบบสภาของเยอรมนีใต้ การปกครองท้องถิ่นรูปแบบนี้ใช้อยู่ในบาวาเรีย และมลรัฐของเยอรมนีตะวันออกหลายมลรัฐ รูปแบบนี้ให้อำนาจแก่นายกเทศมนตรีอย่างมาก โดยเป็นองค์กรของเทศบาลควบคู่ไปกับสภาเทศบาล ได้รับมอบภาวะผู้นำสำคัญทั้งหมดเป็นประธานสภาท้องถิ่นโดยมีสิทธิออกเสียงเป็นประมุขฝ่ายบริหาร เป็นตัวแทนและเป็นผู้แทนตามกฎหมายของเทศบาล สภาท้องถิ่นยังคงเป็นองค์กรตัดสินใจ สภาท้องถิ่นประกอบด้วยนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาซึ่งได้รับจากการเลือกตั้งของประชาชน สมาชิกสภาไม่มีเงื่อนไขต้องทำตามคำแนะนาหรือมอบหมายจากผู้เลือกตนขึ้นมา สภาท้องถิ่นรับผิดชอบกิจการเทศบาลทั้งหลาย ยกเว้นแต่เรื่องที่เป็นการมอบหมายให้นายกเทศมนตรีตามกฎหมายเป็นการเฉพาะ นายกเทศมนตรีได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน การเลือกตั้งโดยตรงนี้มิใช่เป็นเพียงกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นการให้อานาจแก่นายกเทศมนตรีในฐานะที่เป็นผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน การกระทำของนายกเทศมนตรีถือว่าสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนนอกจากอานาจเหล่านี้แล้ว นายกเทศมนตรียังรับผิดชอบเรื่องที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งสภาท้องถิ่นมอบให้ทาอย่างเป็นอิสระเมื่อมอบแล้ว สภาท้องถิ่นไม่สามารถเพิกถอนอานาจในแต่กรณีได้ หากจะเพิกถอนต้องเพิกถอนอานาจในเรื่องนั้นทั้งหมด[10]

เกณฑ์การจัดตั้งอาเภอกับเทศบาลของเยอรมัน[แก้]

การจัดตั้งอำเภอ อำเภอเป็นหน่วยของปกครองท้องถิ่นที่อยู่ในระดับรองลงมาจากรัฐบาลมลรัฐ การจัดตั้งหรือการแบ่งพื้นที่เป็นอำเภอมาจากมลรัฐมีวัตถุประสงค์เพื่อมาแบ่งเบา ภารกิจที่มลรัฐไม่ต้องดำเนินการและจัดทำภารกิจที่เทศบาลไม่สามารถดำเนินการได้ (ในกรีณีของอำเภอในเขตชนบท) ในกรณีของอำเภอซึ่งอยู่ในเขตเมืองหรือเรียกง่ายๆ ว่านครนั้นไม่มีความจำเป็นในการมีองค์กรปกครองระดับเทศบาล เนื่องจากมีศักยภาพและมีทรัพยากรเพียงพอที่จะจัดทำบริการต่างๆ ด้วยตนเอง ดังนั้นเกณฑ์การจัดตั้งอำเภอระหว่างการเป็นอำเภอที่อยู่ในเขตชนบทกับอำเภอที่อยู่ในเขตเมืองนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่และจำนวนของประชากรรวมถึงความเจริญในเขตพื้นที่ การจัดตั้งเทศบาล เทศบาลเป็นหน่วยของการปกครองท้องถิ่นที่รับผิดชอบในการจัดการบริการสาธารณะต่างๆในพื้นที่การจัดตั้งเทศบาลขึ้นอยู่กับกฎหมายของมลรัฐแต่ละแห่ง แต่ไม่ได้มีข้อกำหนดอย่างชัดเจนอย่างไรก็ตามมีข้อพิจรณา คือ เทศบาลในเยอรมันมีขนาดเล็กมากซึ่งเทศบาลที่มีชนาดเล็กนั้นมีสถานะเป็นเพียง เมือง เท่านั้นกล่าวได้ว่าเกณฑ์การพิจารณาการจัดตั้งเทศบาลและเมืองนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร

[11]  

การบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

สำหรับในระดับท้องถิ่น มี 3 รูปแบบ ซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบเท่ากัน แต่ศักยภาพและกิจกรรมต่างกัน 1.จังหวัดท้องถิ่น 2.เมืองท้องถิ่นหรือเทศบาล 3.ชุมชนท้องถิ่น หรือคอมมูน [12]

  1. สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี,3/4/2560,หน้า248
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรีรัตน์ ประจนปัจจนึก,4/4/2560/หน้า5-30
  3. รองศาสตราจารย์นครินทร์ เมฆไตรรัตน์,2546,หน้า292-293
  4. รองศาสตราจารย์นครินทร์ เมฆไตรรัตน์,2546,หน้า293
  5. สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี,3/4/2560/หน้า250
  6. สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี,3/4/2560,หน้า250
  7. ศ.ดร.ปรัชญา เวสารัชช์,2543,หน้า17
  8. ศ.ดร.ปรัชญา เวสารัชช์,2543,หน้า17-18
  9. ศ.ดร.ปรัชญา เวสารัชช์,2543,หน้า18-19
  10. ศ.ดร.ปรัชญา เวสารัชช์,2543,หน้า20-21
  11. รองศาสตราจารย์นครินทร์ เมฆไตรรัตน์,2546,หน้า297
  12. ดร.โกวิทย์ พวงงาม,2543,หน้า65