ผู้ใช้:Maczza

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติส่วนตัว[แก้]

  • ชื่อ ชยุต จากโคกสูง ชื่อเล่น แม็ค
  • Name Chayut Last name Chakkhoksung Nick name Mac
  • ที่อยู่ปัจจุบัน 1831 ถนนมุขมนตรี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
  • ประวัติการศึกษา
    • จบ ประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลเมืองนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
    • จบ มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนโคราชพิทยาคม อำเภอมเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
    • จบ มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
    • จบ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) วิทยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ อำเภอเมืองนครราชสีมา นครราชสีมา
  • ตำแหน่งงาน IT ที่สนใจ
    • Programmer เพราะการพัฒนาโปรแกรมสามารถช่วยอำนวยความสะดวกและยังแก้ปัญหาของผู้ใช้งานอย่างเป็นระบบ
  • ความสามารถอื่น
    • ความสามารถทางดนตรี (ร้องเพลง)
    • ความสามารถทางกีฬา (ว่ายน้ำ)

บทความทาง IT ที่สนใจ[แก้]

  • 5 เทรนด์เทคโนโลยีที่มีผลต่อธุรกิจดิจิตอลในอนาคต

บริษัท เอคเซนเชอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านจัดการการบริหารเทคโนโลยี จัดแถลงข่าวการประเมินแนวโน้มเทคโนโลยีประจำปี2558 โดย นายนิค จอห์น ซามูเอล เทเลอร์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีของเอคเซนเชอร์ภูมิภาคอาเซียน และกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก เปิดเผยว่า ภายในปี 2020 ตลาดในภูมิภาคอาเซียนจะมีขนาดเศรษฐกิจสูงถึง 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลกและมีผู้บริโภคใหม่สูงถึง100 ล้านคน ส่งผลให้เกิดการใช้จ่ายเพิ่มอีก 7.7แสนล้านเหรียญฯ ส่งผลให้องค์กรธุรกิจจำนวนมากกำลังปรับตัวนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์เพื่อปรับตัวเข้าสู่ธุรกิจดิจิตอล พร้อมพัฒนาความสัมพันธ์ด้านดิจิตอลทั้งกับลูกค้าผู้ใช้สินค้าหรือบริการซัพพลายเออร์ พันธมิตรทางการค้าแหล่งข้อมูลต่างๆเพื่อให้เกิดการพัฒนาตลาดใหม่ๆ

สำหรับในประเทศไทยก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกันโดยมีจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือถึง 96 ล้านเลขหมาย และมีจำนวน 73%เข้าถึงช่องทางออนไลน์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ และมีจำนวน 99% ที่ใช้ช่องทางออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งช่องทาง และมีจำนวน 47% ที่อ่านข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการทางเว็บไซต์ของสังคมออนไลน์เป็นประจำ ขณะที่จำนวน 45% ที่จะเปลี่ยนแบรนด์ทันทีถ้าบริการหรือโซลูชั่นที่มาซัพพอร์ตไม่ตรงกับความต้องการ

น.ส.นิธินันท์ สมบูรณ์วิทย์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีเอคเซนเชอร์ ประเทศไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจกำลังปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบที่เรียกว่าเศรษฐกิจแบบผนึกกำลัง หรือ WE Economy ที่มุ่งเน้นการสร้างพันธมิตรระหว่างอุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตลาดวิธีการทำงาน นำอุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อยอดกับเครือข่ายที่มีร่วมกันสร้างระบบใหม่ที่เรียกว่า“ระบบนิเวศด้านดิจิตอล”

สำหรับแนวโน้มแทคโนโลยีที่กำลังมาแรง 5 เทรนด์ คือ 1.The Internet of Me หรือ โลกที่รู้จักและเข้าใจความต้องการของคุณคือยุคที่อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆมีระบบที่เชื่อมต่อกันผู้บริโภคต้องการเทคโนโลยีที่ฉลาดและเข้าใจความต้องการของตนมากขึ้นองค์กรต่างๆจึงต้องเสนอประสบการณ์นั้นก่อนคู่แข่งซึ่งจะส่งผลให้องค์กรมีชื่อติดปากลูกค้าและสามารถเข้าถึงลูกค้าทุกระดับ

2.เศรษฐกิจที่เน้นผลสัมฤทธิ์ คือ การทำให้คุณภาพของสินค้าและบริการเปลี่ยนไปองค์กรยุคใหม่ต้องหาความร่วมมือจากพันธมิตรโดยฮาร์แวร์ที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายจะช่วยให้ธุรกิจรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไรซึ่งอาจไม่ใช่สินค้าและบริการแต่เป็นผลลัพธ์ในแบบที่ลูกค้าต้องการซึ่งการเสนอผลลัพธ์ที่ดีกว่าจะเป็นการเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ

3.การปฏิวัติแพลตฟอร์ม โดยแพลตฟอร์มดิจิตอลจะทำหน้าที่ให้องค์กรสร้างออกแบบ และพัฒนาและนำเสนอแอพพลิเคชั่นที่สอดรับกับความท้าทายในอุตสาหกรรมต่างๆที่จะช่วยให้มีโอกาสทางธุรกิจและทำกำไรได้มากขึ้น

4.องค์กรอัจฉริยะ ซึ่งปัจจุบันซอฟต์แวร์ได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยให้พนักงานตัดสินใจได้เร็วและแม่นยำยิ่งขึ้นองค์กรที่มีวิสัยทัศน์จะใช้ประโยชน์จากศักยภาพและซอฟท์แวร์อัจฉริยะช่วยยกระดับมาตรฐานและประสิทธิภาพขององค์กร และ 5.ทีมงานพันธุ์ใหม่ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างคนและเครื่องจักรอัจริยะที่ต้องมีความสามารถมากขึ้นธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จต้องนำเอาศักยภาพของทั้งสองมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด.

Credit www.dailynews.co.th/Content/IT

  • Google Street View พาชมด้านในรถไฟชินกังเซน เส้นทางใหม่ โตเกียว-คานาซาว่า


ประเทศญี่ปุ่นเริ่มให้บริการเส้นทางรถไฟใหม่ โตเกียว-คานาซาว่า ด้วยรถไฟ Hokuriku Shinkansen เป็นวันแรก ซึ่งเส้นทางนี้รถไฟวิ่งด้วยความเร็ว 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง 2ชั่วโมง 28 นาที แต่ที่ไม่ธรรมดาคือ Google Street View ได้ถ่ายภาพภายในตัวรถไฟ Hokuriku Shinkansen ด้วย ซึ่งภายในนั้นหรูมากทีเดียวสามารถชมภาพภายในตัวรถไฟชินกังเซน เดินหน้า ถอยหลัง มองซ้าย มองขวา ได้ 360 องศา ซึ่งขบวนรถไฟชินกังเซน รุ่น E7 เส้นทางใหม่ โตเกียว-คานาซาว่า นี้ ให้บริการผู้โดยสารภายในรถไฟมากถึง 934 คน ทั้งนี้เบื้องหลังในการถ่ายภายในตัวรถไฟนั้น Google Japan ได้รับอนุญาตจากทาง JR East Railway ให้สามารถเผยแพร่ภาพภายในตัวรถไฟชินกังเซน ผ่านทาง Google Street View ได้ ซึ่งทำให้คนทั่วโลกได้มีโอกาสได้เห็นภายในตัวรถไฟความเร็วสูงนี้ได้เลย

Credit www.it24hrs.com

  • Samsung Pay ระบบชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานง่ายและปลอดภัย


ซัมซุง เพย์ (Samsung Pay) คือบริการชำระเงินผ่านมือถือรูปแบบใหม่ที่ใช้งานง่ายและจะใช้งานได้ในพื้นที่อันหลากหลายกว่าผู้ให้บริการรายอื่นๆ โดย Samsung Pay กำลังจะเปิดตัวออกสู่ตลาดเพื่อใช้งานร่วมกับ Galaxy S6 และ Galaxy S6 edge ในสหรัฐอเมริกาในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้บริการชำระเงินนี้มีความปลอดภัยสูงเพราะใช้เทคโนโลยี Samsung KNOX ผสมผสานกับระบบสแกนลายนิ้วมือ ระบบรักษาความปลอดภัยแบบ tokenization ขั้นก้าวหน้า ทั้งนี้ Samsung Pay ใช้เทคโนโลยี Near Field Communication (NFC) และ Magnetic Secure Transmission (MST) ด้วยเพื่อให้รองรับการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ ผู้ค้าและผู้ออกบัตรเครดิตได้หลากหลาย

Credit www.itday.in.th

LAN Technology[แก้]

รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้



1.1โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้ ข้อดี - ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก

ข้อเสีย - อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย - การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้



1.2 โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป

ข้อดี - ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่ - การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป - คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน

ข้อเสีย - ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้ - ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง


1.3 โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป

ข้อดี - การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย

ข้อเสีย - เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ


1.4โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก

WAN (Wide Area Network) Technology[แก้]

เทคนิควิธีการสวิตชิ่งมีอยู่ 3 วิธีสำคัญๆ คือ เซอร์กิตสวิตชิ่ง (Circuit Switching) เมสเสจสวิตชิ่ง (Message Switching) และแพ็กเก็ตสวิตชิ่ง (Packet Switching)

เซอร์กิตสวิตชิ่ง (Circuit Switching)

เป็นกลไกสื่อสารข้อมูล ที่สร้างเส้นทางข้อมูลระหว่างสถานีส่งก่อนที่จะทำการส่งข้อมูลเมื่อเส้นทางดังกล่าวนี้สร้างแล้วจะใช้ในการส่งข้อมูลได้เฉพาะสองสถานีนี้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของระบบเซอร์กิตสวิตชิ่ง ได้แก่ ระบบโทรศัพท์นั่นเอง โทรศัพท์แต่ละหมายเลขจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อมายังชุมสายโทรศัพท์ หรือCO (Central Office) ซึ่งมีสวิตช์ติดตั้งอยู่ ระหว่างชุมสายโทรศัพท์จะมีการเชื่อมต่อกัน ทำให้สามารถโทรศัพท์ไปเบอร์อื่น ๆ ได้ บางครั้งอาจผ่านชุมสายโทรศัพท์หลาย ๆ ชุมสาย ทุกครั้งที่ใช้โทรศัพท์จะมีเส้นทางสัญญาณที่ถูกจองไว้สำหรับใช้ในการสนทนาแต่ละครั้ง เมื่อเลิกใช้โทรศัพท์เส้นทางนี้จะถูกยกเลิกและพร้อมสำหรับการใช้งานครั้งต่อไป การสร้างเส้นทางผ่านข้อมูลเซอร์กิตสวิตชิ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญในระบบส่งสัญญาณแบบเซอร์กิตสวิตชิ่ง เฟรมข้อมูลที่ส่งแต่ละการเชื่อมต่อจะถูกส่งผ่านเครือข่าย โดยใช้เส้นทางเดียวกันทั้งหมด สำหรับหลักการทำงาน ให้พิจารณาจากรูปที่ 1-(a) ฝั่งต้นทางในที่นี้คือ S ซึ่งต้องการสื่อสารกับฝั่งปลายทางคือ T ผ่านเครือข่าย และด้วยวิธีเซอร์กิตสวิตชิ่ง นั้นจะสร้างเส้นทางเพื่อการส่งข้อมูลแบบตายตัว (Dedicated Path) ดังนั้นการเชื่อมต่อจากฝั่งต้นทาง S ไปยังปลายทางT ในที่นี้ก็ได้มีการจับจองเส้นทางตามนี้คือ


รูปที่ 1 เปรียบเทียบการสื่อสารแบบเซอร์กิตสวิตชิ่งและเมสเสจสวิตชิ่ง

    (a) เซอร์กิตสวิตชิ่งมีการจับจองเส้นทางเพื่อถือครองตลอดระยะเวลาสื่อสาร
    (b) เมสเสจสวิตชิ่งมีการจับจองหนึ่งเส้นทางเพื่อถือครองในช่วงเวลาหนึ่ง

เส้นทางดังกล่าวจะถูกถือครองในระหว่างการสื่อสารตลอดจนกระทั่งยุติการสื่อสาร ถึงจะถูกปลดออก (Release) กล่าวคือ ตลอดในช่วงเวลาของการถือครองเพื่อการสื่อสารระหว่างฝั่งต้นทางและฝั่งปลายทาง เส้นทางนี้จะถูกโฮลด์ไว้ โดยผู้อื่นจะไม่สามารถใช้งานเส้นทางเหล่านั้นได้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อเสีย ส่วนข้อดีของวิธีเซอร์กิตสวิตชิ่งนี้ก็คือ หลังจากที่ฝั่งต้นทางสามารถสร้างคอนเน็ก-ชันเพื่อเชื่อมต่อกับฝั่งปลายทางได้แล้ว การรับส่งข้อมูลก็จะดำเนินการได้ทันทีโดยผ่านเส้นทางที่เปรียบเทียบเสมือนกับท่อที่ได้วางไว้ ดังนั้น การถ่ายโอนข้อมูลจึงกระทำได้อย่างรวดเร็ว โดยมีค่าหน่วยเวลาหรือ Delay น้อยมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกของการสื่อสารอาจจำเป็นต้องรอคอยก่อน เนื่องจากจำเป็นต้องมีการสร้างคอนเน็กชัน เพื่อวางเส้นทางไปยังโฮสปลายทางระบบส่งสัญญาณแบบเซอร์กิตสวิตชิ่งที่ใช้ในเครือข่าย WAN มีดังนี้

• โมเด็มและระบบโทรศัพท์ (Modem and Telephone System)
• สายคู่เช่า (Leased Line)
• ISDN (Integrated Services Digital Network)
• DSL (Digital Subscriber line)
• เคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)


เมสเสจสวิตชิ่ง (Message Switching)

วิธีการสื่อสารแบบเมสเสจสวิตชิ่งนั้น เมสเสจจะถูกส่งจากฝั่งต้นทาง S ไปยังปลายทาง T ในลักษณะเป็นขั้นๆ โดยจะมีการถือครองเส้นทางในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น จากรูปภาพที่ 1-(b) จะเห็นได้ว่า ในขั้นตอนแรก S ได้มีการส่งผ่านเส้นทางไปยัง a จากนั้น a ก็จะมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราว ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเส้นทาง จาก S ไปยัง a นั้นจะถูกปลดออก (Release) ทำให้ผู้อื่นสามารถใช้เส้นทางนี้ในการลำเลียงข้อมูล จากนั้น a ก็ได้ดำเนินการส่งเมสเสจนั้นต่อไปยัง c และดำเนินการเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงปลายทาง T จะเห็นได้ว่า วิธีนี้จะมีการถือครองเส้นทางในการลำเลียงข้อมูลในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น โดยเมื่อโหนดใดโหนดหนึ่งได้จัดเก็บเมสเสจเหล่านั้นไว้ชั่วคราวแล้ว เส้นทางนั้นก็จะถูกปลดออกเพื่อให้ผู้อื่นใช้งานต่อไป วิธีนี้ถือว่าเป็นการใช้เส้นทางในการลำเลียงข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม เมสเสจสวิตชิ่งนี้ก็มีข้อเสียคือ ค่าหน่วงเวลามีค่อนข้างสูง เนื่องจากข้อมูลที่ส่งไปในระหว่างทางนั้นจะถูกจัดเก็บไว้ชั่วคราวในแต่ละจุดบนเครือข่าย ซึ่งอุปกรณ์ที่จัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นจะประมวลผลค่อนข้างช้าทีเดียว เช่น ดิสก์ หรือดรัมแม่เหล็ก ในขณะที่ในยุคก่อนนั้นใช้เทปกระดาษก็จะยิ่งทำให้ล่าช้าขึ้นไปอีก และหากข้อมูลมีขนาดใหญ่ ซึ่งปกติก็จะมีการแบ่งข้องมูลออกเป็นส่วนๆ ก็จะทำให้ใช้เวลาส่งมากขึ้น รวมถึงจำนวนโหนดที่ส่งต่อระหว่างกันบนเครือข่าย หากมีโหนดที่ส่งต่อจำนวนมาก ก็จะทำให้เกิดความล่าช้ามากขึ้นตามมาด้วย

แพ็กเก็ตสวิตชิ่ง (Packet Switching)

การสื่อสารแบบวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิ่งนั้น จัดเป็นกรณีพิเศษของเมสเสจสวิตชิ่ง ด้วยการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษเข้าไป โดยในขั้นแรกเมื่อต้องการส่งหน่วยข้อมูล และด้วยแพ็กเก็ตมีขนาดที่จำกัดดังนั้น หากเมสเสจมีขนาดใหญ่กว่าขนาดสูงสุดของแพ็กเก็ต จะมีการแตกออกเป็นหลาย ๆ แพ็กเก็ตขั้นที่สอง เมื่อแพ็กเก็ตได้ส่งผ่านจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งบนเครือข่าย จะมีการจัดเก็บแพ็กเก็ตเหล่านั้นไว้ชั่วคราวบนหน่วยความจำความเร็วสูง เช่น RAM ซึ่งในเวลาในการประมวลผลได้รวดเร็วกว่าอุปกรณ์ที่ใช้งานบนระบบเมสเสจสวิตชิ่ง ข้อดีของการสื่อสารด้วยวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิ่งก็คือ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเมสเสจสวิตชิ่งแล้วค่าหน่วงเวลาของแพ็กเก็ตสวิตชิ่งนั้นมีค่าน้อยกว่า โดยค่าหน่วงเวลาของแพ็กเก็ตแรก จะเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่ในขณะที่แพ็กเก็ตแรกนั้นผ่านจำนวนจุดต่าง ๆบนเส้นทางที่ใช้ หลังจากนั้นแพ็กเก็ตที่ส่งตามมาทีหลังก็จะทยอยส่งตามกันมาอย่างรวดเร็ว และหากมีการสื่อสารบนช่องทางความเร็วสูงแล้ว ค่าหน่วงเวลาที่เกิดขึ้นจะมีค่าที่ต่ำทีเดียวโดยการสื่อสารด้วยวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิ่งนี้ยังแบ่งออกเป็น 2 วิธีด้วยกันคือ วิธีดาต้าแกรม (Datagram Approach)และ เวอร์ชวลเซอร์กิต (Virtual-Circuit Approach)



รูปที่ 2 แพ็กเก็ตสวิตชิง : วิธีส่งแบบดาต้าแกรม (Datagram Approach)



รูปที่ 3 แพ็กเก็ตสวิตชิง : วิธีส่งแบบเวอร์ชวลเซอร์กิต (Virtual-Circuit Approach)

เทคโนโลยี WAN ที่ใช้ระบบส่งข้อมูลแบบแพ็กเก็ตสวิตช์มีดังนี้

• x.25 • เฟรมรีเลย์ (Frame Relay) • ATM (Asynchronous Transfer Mode)


OSI Model และ TCP/IP Model

  • TCP/IP กับ OSI Model
    • 1. Process Layer จะเป็น Application Protocal ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ
    • 2. Host – to – Host Layer จะเป็น TCP ที่ทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 4 ของ OSI Model คือควบคุมการรับส่งข้อมูลจากปลายด้านส่งถึงปลายทางด้านรับข้อมูล
    • 3. Internetwork Layer ได้แก่ส่วนของโปรโตคอล IP ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 3 ของ OSI Model คือเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายที่อยู่ชั้นล่างลงไป
    • 4. Network Interface เป็นส่วนที่ควบคุมฮาร์ดแวร์การรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย เปรียบได้กับชั้นที่ 1 และ2 ของ OSI Model

OSI model + TCP/IP model[แก้]

TCP/IP model OSI model
Application Layer Application Layer
- Presentation Layer
- Session Layer
Transport Layer Transport Layer
Internet Layer Network Layer
Network Access Layer Data Link Layer
- Physical Layer