ผู้ใช้:MUSCPL361-6205031/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หนามแดง[แก้]

ชื่อ [1][2][แก้]

ชื่อไทย: หนามแดง

ชื่อท้องถิ่น: มะนาวไม่รู้โห่ (ภาคกลาง), หนามขี้แฮด (ภาคเหนือ), มะนาวโห่ (ภาคใต้)

ชื่อสามัญ: Bengal-Currants, Carandas-plum, Karanda

ชื่อวิทยาศาสตร์ (ชื่อทวินาม): Carissa carandas L.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ [3][แก้]

  • Domain: Eukaryota
  •    Kingdom: Plantae
  •        Phylum: Spermatophyta
  •            Subphylum: Angiospermae
  •                Class: Dicotyledonae
  •                    Order: Gentianales
  •                        Family: Apocynaceae
  •                            Genus: Carissa
  •                                Species: Carissa carandas L.

การกระจายพันธุ์ [4][แก้]

เป็นพืชพื้นเมืองของ:[แก้]

Bangladesh (บังกลาเทศ), India (อินเดีย)

เป็นพืชที่ถูกกระจายพันธุ์ไปที่:[แก้]

Caroline Is., China South-Central, China Southeast, East Himalaya, Hainan, Jawa, Lesser Sunda Is., Malaya, Mauritius, Myanmar, Nepal, Pakistan, Philippines, Puerto Rico, Sri Lanka, Taiwan, Thailand (ไทย), Trinidad-Tobago, Vietnam, West Himalaya, Windward Is.

มูลค่าทางเศรษฐกิจ [5][6][7][แก้]

จากหนังสือ Under-Utilized Tropical Fruits of Thailand โดย Suranant Subhadrabandhu ในปี 2543 (2001) จัดกลุ่มหนามแดง (Naam daeng (Carissa carandas L.)) ไว้ในพืชที่กลุ่ม SPECIES WITHOUT CURRENT DEVELOPMENT POTENTIAL FOR ECONOMIC USES นั่นคือ พืชที่ในเวลานั้น (ปี 2543) ไม่มีศักยภาพที่เพียงพอในการนำมาพัฒนาในทางการค้า ซึ่งการใช้ประโยชน์ในเวลานั้นเป็นเพียงการใช้โดยชาวบ้านชนบทในทางสมุนไพร ซึ่งพืชนี้อาจมีคุณค่าในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ต่อไป

จากงานวิจัยการศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อน้ำมะม่วงหาวมะนาวโห่สกัดเข้มข้น โดยกัลย์สุดา ส่งสวัสดิ์ ในปี 2561 โดยทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งหมด 404 คน โดยใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละในการวิเคราะห์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคส่วนใหญ่รู้จักมะม่วงหาวมะนาวโห่ ร้อยละ 89.60 แต่มีเพียงร้อยละ 65.10 ที่รู้จักน้ำมะม่วงหาวมะนาวโห่สกัดเข้มข้น ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อมะม่วงหาวมะนาวโห่สกัดเข้มข้น กลยุทธ์ที่เหมาะสมมากที่สุด คือ กลยุทธ์ด้านบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับปัจจัยลักษณะทางกายภาพของสินค้ามากที่สุด ผู้ประกอบธุรกิจจึงควรปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถกระตุ้นความสนใจ ในผลิตภัณฑ์จากผู้บริโภคได้

จากงานวิจัยการรับรู้และพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์มะม่วงหาวมะนาวโห่ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น โดยสมิทธ์ จุมพลพงษ์ และปริชาติ แสงคำเฉลียง ในปี 2562 รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2561 ซึ่งมีผู้บริโภคตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน พบว่า ผู้บริโภคที่รู้จักมะม่วงหาวมะนาวโห่คิดเป็นร้อยละ 76.25 ผู้บริโภคที่เคยรับประทานมะม่วงหาวมะนาวโห่ผลสดคิด เป็นร้อยละ 50.25 และมีผู้บริโภคที่เคยซื้อมีเพียงร้อยละ 26.50 ซึ่งผู้บริโภครู้จักมะม่วงหาวมะนาวโห่แปรรูปและซื้อประเภทแช่อิ่มมากที่สุด

โดยสามารถสรุปแนวโน้มทางการตลาดของหนามแดง (หรือมะม่วงหาวมะนาวโห่) ในประเทศไทย ได้ว่า ช่วงเวลาที่ผ่านมาหนามแดงเป็นพืชที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทย แต่ไม่ใช่พืชที่ได้รับความนิยมและได้รับการสนับสนุนในการพัฒนาทางการตลาดมากนัก ถึงแม้มีคุณค่าทางโภชนาการและสมุนไพร ซึ่งหากในอนาคตประเทศไทยมีแนวโน้มตลาดเกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น อาจทำให้หนามแดงถูกสนับสนุนให้เป็นพืชที่มีความนิยมได้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ [2][8][9][10][แก้]

ต้น[แก้]

ไม้พุ่มรอเลื้อย หรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-3 ม. สามารถสูงได้ถึง 5 ม. มีน้ำยางสีขาว เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นริ้ว กิ่งก้านมีหนามยาวประมาณ 4 ซม. สีแดง

ใบ[แก้]

ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามสลับตั้งฉาก (opposite decussate) รูปไข่กลับ รูปวงรี หรือรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-4 ซม. ยาว 3-7 ซม. ปลายใบมน หรือเว้าบุ๋ม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง เรียบ เป็นมัน ใต้ท้องใบมีเส้นใบมากและเห็นได้ชัด เส้นใบย่อยเรียงตัวแบบร่างแหแบบขนนก

ดอก[แก้]

ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ปลายยอด ยาว 3.5-5.5 ซม. ดอกสีขาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 16-21.5 มม. สีชมพูแกมแดง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ รูปใบหอก ยาวประมาณ 1 ซม. สีขาว ด้านในหลอดกลีบดอกมีเกสรเพศผู้ 5 เกสร เกสรเพศเมีย 1 เกสร มีกลิ่นหอม

ผล[แก้]

ผลมีเนื้อหลายเมล็ด รูปไข่ กว้าง 12-17 มม. ยาว 15-23 มม. ผลอ่อนมีสีแดง ชมพู เมื่อสุกสีม่วงดำ มี 4-6 เมล็ด

ประวัติศาสตร์การใช้งานประโยชน์ [11][12][แก้]

ประวัติการใช้ประโยชน์ในประเทศอินเดีย[แก้]

Carissa carandas ถูกใช้ประโยชน์ทางด้านอาหารและพืชสมุนไพรในประเทศอินเดียเป็นเวลากว่า 1000 ปีมาแล้ว ในรูปแบบการรักษาโรคแบบพื้นเมืองและการนำมาทำเป็นยาในแบบต่าง ๆ เช่น Ayurvedic, Unani, และ Homoeopathic ซึ่งสารสำคัญที่ให้คุณค่าทางสมุนไพร ได้แก่ alkaloids, flavonoids, saponins, cardiac glycosides, triterpenoids, phenolic compounds และ tannins.

ในอดีตมีการใช้พืชในการรักษาโรคหิด, หนอนในลำไส้, อาการคัน, biliousness และยังใช้เป็น antiscorbutic, anthelmintic นอกจากนี้ มีการรายงานว่าสามารถใช้เป็นยาแก้ปวด, ต้านการอักเสบ, ต่อต้าน pyretic, คาร์ดิโอโทนิก และฮีสตามีนได้

ประวัติการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย[แก้]

มะนาวโห่เป็นผลไม้ในวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ ที่มีความแปลกทั้งชื่อและลักษณะประจำพันธุ์ชนิดหนึ่งของไทย มีความเกี่ยวเนื่องกับนิทานและวรรณคดีพื้นบ้านหลายเรื่อง ทั้งเรื่องนางสิบสอง ตอน พระรถ-เมรี รามเกียรติ์ สังข์ทอง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้บ่งชี้ว่า มะนาวโห่เป็นพืชที่มีคุณสมบัติดีเด่น พืชชนิดนี้หายไปจากชีวิตคนไทยไปนาน จนกระทั่งมีนักวิจัย และแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพออกมาระบุว่ามะนาวโห่เป็นผลไม้ที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณทาง ยาสมุนไพร สามารถใช้บำบัดรักษาโรคควบคู่กับยาแผนปัจจุบันได้ ผู้คนจึงเริ่มมองเห็นคุณค่าของพืช แปลกพันธุ์โบราณชนิดนี้อีกครั้ง

Etymology [13][14][แก้]

Carissa เป็นภาษาละติน ที่มีรากศัพท์มาจากภาษาถิ่นอินเดีย ซึ่งนำมาเป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ Apocynaceae

carandas ซึ่งถูกนำมาใช้เป็น specific epithet เป็นคำที่มาจากคนอเมริกาที่ใช้ภาษาสเปน โดยมีต้นกำเนิดคำมาจาก คำว่า caranday ในภาษา Guarani ของชาว Guaranian ซึ่งในภาษาอังกฤษ คำว่า caranday เป็น Synonym ของคำว่า carnauba มีหมายความว่าการมียางจากใบของพืชชนิดนี้

L. หมายถึง Carl Linnaeus เป็นผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชนี้

ดังนั้น ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carissa carandas จึงหมายถึงพืชในวงศ์ Apocynaceae ในสกุล Carissa ที่มียางจากใบ

ตำนาน เรื่องเล่า ความเชื่อ [15][แก้]

ตำนานเกี่ยวกับที่มาของชื่อมะม่วงหาวมะนาวโห่

ชื่อ มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ มีที่มาจากการที่นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ได้เรียกชื่อผลไม้ชนิดดังกล่าว ให้สอดคล้องกับผลไม้ในวรรณคดีไทย เรื่องนางสิบสอง ตอน พระรถเมรี ซึ่งเป็นตอนที่พระรถสิทธิ์องค์ราชา ได้รู้ว่าพระรถเสนเป็นลูกซึ่งเกิดจากเมียคนที่ 12 นางยักษ์ซึ่งเป็นเมียใหม่ของพระรถสิทธิ์ จึงหาทางกำจัดรถเสน โดยออกอุบายแสร้งทำเป็นป่วย จนต้องหายาคือ "มะม่วงหาว มะนาวโห่" จากเมืองที่นางเมรี ลูกสาวของตนเองอยู่มากินให้ได้ ซึ่ง "มะม่วงหาว มะนาวโห่" ที่กล่าวถึงในเรื่อง คือผลไม้สดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีรสชาติเปรี้ยวจัด จนทำให้ผู้ที่กำลังง่วงนอน เมื่อรับประทานผลไม้ชนิดนี้เข้าไปแล้ว จะรู้สึกกระชุ่มกระชวยและตื่นตัวขึ้นมาทันที

ในปัจจุบันมีการเรียกชื่อ มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ เพียงสั้น ๆ ว่า มะม่วงหาว มะนาวโห่ แต่สำหรับพืชที่ระบุในวรรณคดี แท้จริงแล้ว มะม่วงหาวกับมะหนาวโห่ เป็นพืชคนละชนิดกัน โดยมะม่วงหาว คือ มะม่วงหิมพานต์ ขณะที่มะนาวโห่ คือ หนามแดง ดังนั้น ในปัจจุบันจึงมีการเรียกชื่อหนามแดงเป็น มะนาวไม่รู้โห่ ในภาคกลาง หรือมะนาวโห่ ในภาคใต้ได้

การใช้ประโยชน์ [2][8][16][17][18][แก้]

อาหาร[แก้]

ผลที่รับประทานสด นำมาล้างให้สะอาดแล้วรับประทานสด เนื้อให้รสเปรี้ยว

ผลนำใส่แกงประเภทต้มยำ ต้มแซ่บ โดยทุบหรือผ่าผลเป็นซีก ใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อเพิ่มความเปรี้ยว หรือนำน้ำของผลมาใช้ปรุงอาหารแทนมะนาวได้

ผลนำมาแปรรูปเป็นผลไม้ดอง แช่อิ่ม

เครื่องดื่ม[แก้]

ผลที่สุกแล้วสามารถนำมาทำเป็นน้ำมะม่วงหาวมะนาวโห่

ผลนำมาแปรรูปเป็นแยม ไวน์ และน้ำผลไม้บรรจุขวด

สมุนไพร[แก้]

ราก นำมาต้มดื่ม เป็นยาขับพยาธิ บำรุงธาตุ ช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร, นำมาตำผสมกับสุรา ใช้ใส่พอกแผล, นำมาตำผสมกับมะนาวหรือการบูร ใช้ทาแก้คัน

เนื้อไม้ นำมาต้มดื่ม ช่วยบำรุงไขมันในร่างกายให้แข็งแรง บำรุงธาตุ เป็นยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง

ใบ นำมาต้มดื่ม เป็นยาแก้ท้องร่วง เจ็บคอ เจ็บในปาก แก้ปวดหู แก้ไข้

ผล ทานเป็นยาฝาดสมาน ช่วยรักษาเลือดออกตามไรฟัน แก้โรคลักปิดลักเปิด สมานแผลในช่องปาก ช่วยบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ ช่วยขับเสมหะ บรรเทาอาการไอ

น้ำยาง ใช้ทา ช่วยรักษาแผลเนื้องอก ช่วยรักษาหูด ช่วยทำลายตาปลาและช่วยกัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต

ผลิตภัณฑ์อื่นๆ[แก้]

น้ำหมักนำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม เช่น สบู่ แชมพู  และโลชั่น  (วิตามินสูงทำให้ผิวชุ่มชื่นและลดอาการคันศีรษะ)

เปลือกผลที่มีสีแดงอมชมพูหรือสีแดงดำ นำมาสกัดเป็นสีผสมอาหาร

คุณค่าทางโภชนาการ [19][แก้]

ข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการ ต่อ 100 กรัม

พลังงาน 42 กิโลแคลอรี่

คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม

น้ำตาล 15.48 กรัม

ใยอาหาร 1 กรัม

ไขมัน 3 กรัม

โปรตีน 1 กรัม

วิตามินซี 11 มิลลิกรัม

วิตามินอี 0.19 มิลลิกรัม

วิตามินเอ 1619 UI

แคลเซียม 21 มิลลิกรัม

ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม

ฟอสฟอรัส 28 มิลลิกรัม

สารสำคัญที่พบ [8][16][17][แก้]

สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ไบโอฟลาวานอยด์

สารจำพวกแอนโทไซยานิน ได้แก่ cyanidin-3-O-rhamnoside, pelargonidin-3-Oglucoside, cyanidin-3-O-glucoside

รากมีสารกลุ่ม cardiac glycoside ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้ทำงานมากขึ้น

อ้างอิง[แก้]

[1]http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-34145

[2]http://hort.ezathai.org/?p=4138

[3]https://www.cabi.org/isc/datasheet/13652

[4]https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:77691-1#distribution-map

[5]https://www.fao.org/3/ab777e/ab777e06.htm

[6]http://mab.eco.ku.ac.th/wp-content/uploads/2015/06/5914750440.pdf

[7]https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/download/251220/171769/883793

[8]http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2525#

[9]http://www.qsbg.org/Database/plantdb/mdp/medicinal-specimen.asp?id=355

[10]https://www.samunpri.com/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87/

[11]https://www.researchgate.net/publication/315811584_Hidden_Potential_of_Natural_Herb_Carissa_Carandas_Karonda#:~:text=Carissa%20carandas%20is%20a%20useful,and%20Homoeopathic%20system%20of%20medicine.

[12]https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=20%20Sakunkan.pdf&id=2581&keeptrack=18

[13]https://antropocene.it/en/2020/07/30/carissa-carandas/

[14]https://www.wordsense.eu/caranday/

[15]https://www.tnews.co.th/social/446652

[16]http://www.herbaltreatmentguru.com/tag/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87/

[17]https://puechkaset.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B9%88/

[18]https://sites.google.com/site/tonnamdaeng12554/srrphkhun-laea-prayochn

[19]https://www.xn--12cg3cq6bmlr1hc3fujdh.com/1032

  1. 1.0 1.1 "Carissa carandas L. — The Plant List". www.theplantlist.org.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "หนามแดง". ฐานข้อมูลพันธุกรรมพืชสวน.
  3. 3.0 3.1 "Carissa carandas (caranda (plum))". www.cabi.org.
  4. 4.0 4.1 "Carissa carandas L. | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
  5. 5.0 5.1 "PART 3. - SPECIES WITHOUT CURRENT DEVELOPMENT POTENTIAL FOR ECONOMIC USES". www.fao.org.
  6. 6.0 6.1 http://mab.eco.ku.ac.th/wp-content/uploads/2015/06/5914750440.pdf
  7. 7.0 7.1 https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/download/251220/171769/883793
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "หนามแดง | Carissa carandas L. : BGO Plant Database-ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์". www.qsbg.org.
  9. 9.0 9.1 "qsbgplant-db". QSBG Database.
  10. 10.0 10.1 admin (2006-12-19). "หนามแดง » สมุนไพรไทย ฐานข้อมูลสมุนไพร". สมุนไพรไทย.
  11. 11.0 11.1 Virmani, Reshu; Virmani, Tarun; Singh, Charan; Sorout, Geeta; Gupta, Jyoti (2017-04-07). "Hidden Potential of Natural Herb Carissa Carandas (Karonda)". Research in Pharmacy and Health Sciences. 2: 294–302. doi:10.32463/rphs.2017.v03i02.08.
  12. 12.0 12.1 https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=20%20Sakunkan.pdf&id=2581&keeptrack=18
  13. 13.0 13.1 "(Italiano) Carissa carandas: Sistematica, Etimologia, Habitat, Coltivazione ..." Un Mondo Ecosostenibile (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-07-30.
  14. 14.0 14.1 "caranday - WordSense Dictionary". www.wordsense.eu (ภาษาอังกฤษ).
  15. 15.0 15.1 "ตามรอยนาง12 ตามหา "ยาวิเศษ"... "มะม่วงหาว มะนาวโห่" ผลไม้ที่นางยักษ์ใช้เป็นอุบายกำจัดรถเสน...ที่แท้เป็นสมุนไพร ที่แก้ได้สารพัดโรค !!". tnews. 2018-05-01.
  16. 16.0 16.1 16.2 "หนามแดง – สมุนไพร สุขภาพ ความงาม" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  17. 17.0 17.1 17.2 puechkaset (2016-05-25). "มะม่วงหาวมะนาวโห่/หนามแดง และสรรพคุณมะม่วงหาวมะนาวโห่ | พืชเกษตร.คอม".
  18. 18.0 18.1 "สรรพคุณของหนามแดง - ต้นหนามแดง". sites.google.com.
  19. 19.0 19.1 fluke39711 (2018-09-28). "มะม่วงหาวมะนาวโห่ ผลไม้ในวรรณคดีกับประโยชน์ที่คุณไม่รู้". ต้นกล้าความรู้.