ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:MFU-Archives/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ[แก้]

สถานที่เกิด : จังหวัดนครนายก วันบรรจุเข้ารับราชการครั้งแรก : 31 ตุลาคม 2510 ตำแหน่งอาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์พิเศษ ในสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2563


การศึกษา[แก้]

- หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 2

- หลักสูตรภูมิพลังแผ่นดิน รุ่นที่ 1

- ประกาศนียบัตร วุฒิบัตรวิทยาลัยตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วตท. รุ่นที่ 8)

- ประกาศนียบัตร วุฒิบัตรหลักสูตรนักบริหารระดับสูง สำนักงาน ก.พ. รุ่นที่ 10

- ปริญญาบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 6 (วปรอ. 366)

- ปริญญาเอก ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (อุดมศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- ปริญญาโท M.S. (Printing Technology), Rochester Institute of Technology, N.Y.

- พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

- ปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- มัธยมศึกษา โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

- ประถมศึกษา โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยและโรงเรียนประชาบาลวัดศรีนาวา


ปริญญากิตติมศักดิ์[แก้]

- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


ประสบการณ์การทำงาน[แก้]

ด้านการบริหาร[แก้]

15 มิถุนายน 2563 – ปัจจุบัน นายกสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และอธิการบดีผู้ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

29 เมษายน 2554 – 28 เมษายน 2562 อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

2 ตุลาคม 2544 – 1 ตุลาคม 2552 อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

พ.ศ. 2551- 2552 ประธานคณะกรรมการบริหารสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออก

พ.ศ. 2550 ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

22 มกราคม 2540 – 1 ตุลาคม 2544 ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย

3 ธันวาคม 2541 – 31 กรกฎาคม 2544 รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

20 พฤศจิกายน 2542 – 21 มีนาคม 2543 รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

31 สิงหาคม 2536 – 21 มกราคม 2540 รองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย

13 ธันวาคม 2533 – 30 สิงหาคม 2536 ผู้ช่วยปลัดทบวงมหาวิทยาลัย

1 มิถุนายน 2536 – 1 กรกฎาคม 2538 รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

พ.ศ. 2533 – 2538 ประธานกรรมการอำนวยการจัดงานแสดงเกษตรและอุตสาหกรรมโลก (World Tech'95 Thailand) โดยรัฐบาลไทย

15 มีนาคม 2536 – 21 พฤษภาคม 2536 รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

17 กันยายน 2533 – 14 มีนาคม 2536 รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

พ.ศ. 2525 - 2532 รองอธิการบดีฝ่ายปฏิบัติการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พ.ศ. 2510 - 2530 อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2530 - 2533 อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พ.ศ. 2529 - 2531 ผู้อำนวยการสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พ.ศ. 2518 - 2533 ผู้จัดการโรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ด้านอื่นๆ[แก้]

1. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2551

2. ประธานกรรมการมูลนิธิต่างๆ 5 มูลนิธิ

3. กรรมการจัดการทรัพย์สิน สภากาชาดไทย

4. นายกสมาคมนักเคมีเครื่องสำอางแห่งประเทศไทย

5. กรรมการบริหารสถาบันขงจื่อ สาธารณรัฐประชาชนจีน

6. ประธานชมรมส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีไทย จีน ดั้งเดิมแห่งประเทศไทย

7. ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ASEAN University Network (AUN) คนแรก

8. ประธาน SEAMEO RIHED


ผลงานด้านการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง[แก้]

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ เป็นผู้ก่อตั้งและอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ท่านมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมาแต่ครั้งท่านเป็นปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งมีบทบาทตั้งแต่การเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัย บุกเบิก สร้างสรรค์ และพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งนี้ให้มีความเจริญก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเป็นผู้มีส่วนร่วมในการเลือกสถานที่สร้างมหาวิทยาลัย การออกแบบผังอาคาร และการเสนอของบประมาณในการก่อสร้าง เป็นผู้ดำริในการเปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษกำหนดให้มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษแก่นักศึกษาเพื่อแก้ปัญหาด้านภาษาและสร้างจุดแข็งให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ร่วมกับส่งเสริมให้มีการเรียนภาษาจีนเป็นพื้นฐาน

ผลงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา[แก้]

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ เป็นผู้บุกเบิกและพัฒนาให้เกิดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ถึงปัจจุบัน และได้ผลักดันให้มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ จนได้รับการประกาศเป็นกฎหมายในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2566 ท่านได้รับโล่ผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ประจำปี 2566 ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ผู้ริเริ่มระบบประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศ และให้โอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนนักศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ

รางวัลเชิดชูเกียรติ[แก้]

1. รางวัลอารีย์ เสมประสาท (ศิษย์เก่าดีเด่น) โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

2. นิสิตเก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3. ศิษย์เก่าอุดมศึกษาดีเด่น คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

4. รางวัลเชิดชู พ่อ-ครู ของแผ่นดิน โดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน

5. โล่ประกาศเกียรติคุณ บุคคลดีเด่นจังหวัดเชียงราย ด้านการพัฒนาการศึกษา

6. โล่ผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ประจำปี 2566


เครื่องราชอิสริยภรณ์[แก้]

1. มหาวิชรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

2. มหาปรมภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

3. เครื่องราชอิสริยภรณ์จากประเทศออสเตรีย (The Decoration Golden Cross of Austria)

4. เครื่องราชอิสริยภรณ์จากประเทศฝรั่งเศส (The Decoration PALMES ACDEMIQUES of France)


หนังสือ[แก้]

ชื่อหนังสือ รายละเอียด
ไม้รอบบ้านอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ไม้รอบบ้านอธิการบดี เป็นหนังสือที่ได้รวบรวมพรรณไม้ชนิดต่างๆ ที่ปลูกรอบบ้านอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งเป็นการปลูกและบำรุงขึ้นมาจนให้ความร่มรื่น สวยงาม ส่วนมากจะเป็นไม้เบญจพรรณ ซึ่งไม่เจาะจงว่าจะปลูกชนิดไหน ในปัจจุบันจึงมีไม้หลากหลายนานาพันธุ์รอบบ้านอธิการบดี
ไม้รอบมอ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ไม้รอบมอ เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับไม้ในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เล่มที่ 2 ที่มหาวิทยาลัยได้จัดพิมพ์ขึ้นต่อจากเล่มที่ 1 คือ “ไม้รอบบ้านอธิการบดี” หนังสือเล่มนี้เน้นเฉพาะไม้ยืนต้นที่มีอยู่เดิมในพื้นที่และไม้ที่นำเข้าปลูกใหม่จำนวนหนึ่ง เพื่อให้ผู้อ่านเห็นความหลากหลายของพรรณไม้ในมหาวิทยาลัย
ใต้ร่มพระบารมี 17 ปี ตามรอยแม่ฟ้าหลวง 2541 - 2558 ใต้ร่มพระบารมี 17 ปี ตามรอยแม่ฟ้าหลวง 2541 - 2558 เป็นหนังสือที่สรุปพัฒนาการด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 จนถึงปี พ.ศ. 2558 เป็นระยะเวลา 17 ปี ของการดำเนินการของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ทั้งทางด้านการบริหาร การพัฒนาทางกายภาพ และการพัฒนาทางด้านวิชาการ รวมทั้งวิสัยทัศน์ในช่วงเวลาต่างๆ
บันทึกความทรงจำ วันชัย ศิริชนะ กว่าจะถึงดอยแง่ม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง บันทึกความทรงจำ วันชัย ศิริชนะ กว่าจะถึงดอยแง่ม เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องเล่าความทรงจำของศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ ตั้งแต่ชีวิตในวัยเด็ก การเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ ชีวิตเริ่มต้นการทำงาน จุดหักเหของชีวิต การเข้ามาเป็นปลัดทบวงมหาวิทยาลัย การได้มาสร้างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และการได้มาเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ข้อคิดจากประสบการณ์ วันชัย ศิริชนะ ข้อคิดจากประสบการณ์ วันชัย ศิริชนะ เป็นหนังสือที่ได้รวบรวมข้อคิดจากประสบการณ์ในการทำงาน ทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว ทั้งในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นลูกน้อง ของศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ แบ่งออกเป็น 4 หัวข้อ คือ 1. ผู้นำ ผู้บริหาร 2. การบริหาร 3. การทำงาน และ 4. นักศึกษา

วิทยานิพนธ์[แก้]

วันชัย ศิริชนะ. (2537). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


บทความ[แก้]

จรินทร์ เทศวานิช และวันชัย ศิริชนะ. (2532). ความต้องการในการฝึกอบรมของบุคลากรในอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 2(3), 73-79.

วันชัย ศิริชนะ. (2531). การศึกษาทางไกลกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 1(1), 31-35.

วันชัย ศิริชนะ, จรินทร์ เทศวานิช และสมพงษ์ อรพินท์. (2532). การพัฒนางานหัตถกรรมพื้นบ้านในเขตภาคกลางตอนบนเพื่อการสร้างงานในชนบท. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 2(2), 94-100.

วันชัย ศิริชนะ. (2534). บทบาทของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 4(2), 10-12.

วันชัย ศิริชนะ. (2547). องค์กรตามรัฐธรรมนูญกับการคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพของประชาชน. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รพี’47, 1-6.


อ้างอิง[แก้]

1. https://www.mfu.ac.th/about-mfu/board-directors.html

2. http://archives.mfu.ac.th/database/items/show/4005

3. https://libraryapp.mfu.ac.th/ebook/