ผู้ใช้:Lusifer1404

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ต่อมหมวกไต [[1]] << ลิ้งรูปภาพ

ต่อมหมวกไต จะอยู่เหนือไต ทั้ง 2 ข้าง ลักษณะต่อมทางขวาเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนทางซ้ายเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ต่อมนี้ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชนิด คือ อะดรีนัลคอร์เทกซ์ เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกของต่อม เจริญมาจากเนื้อชั้นกลาง (mesoderm) และ อะดรีนันเมดัลลา เป็นเนื้อเยื่อชั้นใน เจริญมาจากส่วนชั้นเอกโตเดิร์ม ดังนั้นการทำงานของ ต่อมหมวกไตชั้นเมดัลลาจึงเกี่ยวข้องกับระบบประสาทประสาทซิมพาเทติก

ต่อมหมวกไตชั้นนอก (Adrenal cortex) สร้างฮอร์โมน steroid 3 กลุ่ม ปัจจุบันพบว่า อะดรีนัลคอร์เทกซ์ เป็นต่อมไร้ท่อที่สามารถสร้างฮอร์โมนได้มากชนิดที่สุด มากกว่า 50 ชนิด ฮอร์โมนที่ผลิตขึ้น 3 กลุ่มทำหน้าที่คือ 1.กลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoid) ทำหน้าที่ ควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตเป็นสำคัญ และนอกจากนั้นยังควบคุมเมแทบอลิซึมและไขมัน รวมทั้งสมดุลเกลือแร่ ตัวอย่างฮอร์โมนในกลุ่มนี้พบในธรรมชาติ คือ คอร์ติซอล (Cortisol) คาร์ติโคสเตอโรน (Corticosterone) ในฮอร์โมนกลุ่มนี้ คาร์ติซอลจะมีความสำคัญและมีฤทธิ์แรงที่สุดโดยทำหน้าที่ดังนี้ 1.กระตุ้นการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตและไกลโคเจน เป็นกลูโคสทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของคอร์ติซอล 2.ควบคุมสมดุลเกลือแร่โดยทำให้มีการดูดซึมโซเดียมและ ขับโพแทสเซียมกับคลอไรด์แลกเปลี่ยนแต่มีผลน้อยกว่าอัลโคสเตอโรน 3.ผลต่อการเผาผลาญไขมัน ทำให้กรดไขมันอิสระถูกปล่อยออกมาจากเซลล์ไขมัน

    • ข้อควรทราบ
ในสภาพวะเครียดจะมีการหลั่งคอร์ติซอลมากขึ้น ถ้าระดับคอร์ติซอลสูงตลอดเวลาในร่างกายอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร นอนไม่หลับ กระวนกระวาย
ร่างกายขาดความต้านทานโรค มีอาการทางประสาทและเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูงได้

2.มิเนราโลคอร์ติคอยด์ (mineralocorticoids) ทำหน้าที่ ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ตัวอย่างฮอร์โมในกลุ่มนี้ เช่น อัลโดสเตอโรน (Aldosterone) และ 11-ดีออกซีคอร์ติโคสเตอโรน (11-deoxycorticosterone) โดย ฮอร์โมนอัลโดสเตอโรนมีความสำคัญและมีฤทธิ์แรงที่สุด ซึ่งมีผลเด่นต่อการรักษาสมดุลของโซเดียม และ โพแทสเซียม โดยไปออกฤทธิ์ที่ Distal convoluted tubule ของไตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากที่สุด ผลของอัลโดสเตอโรน 1.เร่งการดูดซึมโซเดียมกลับที่หลอดเลือกฝอยของไตส่วนปลาย ( Distal convoluted tubule ) เป็นหน้าที่สำคัญที่สุด ทำให้น้ำถูกดึงกลับมาพร้อมกับโซเดียม 2.เพิ่มการขับโพแทสเซียมออกที่หลอดเลือดฝอยของไตส่วนปลาย ทำให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมในปัสสาวะมากขึ้น 3.เพิ่มการขนส่งโซเดียมจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ แลกเปลี่ยนกับโพแทสเซียมออกจากเซลล์ ทำให้มีการขับโพแทสเซียสมออกจากเซลล์มากขึ้น

ถ้าไม่มีอัลโดสเตอโรน จะทำให้เกิดการสูญเสียโซเดียม แต่เกิดการสะสมโพแทสเซียมมากขึ้น ทำให้ปริมาณน้ำนอกเซลล์ลดลง ทำให้ช้อคตาย 
และถ้าอัลโดสเตอโรนมากเกินไปจะเกิดผลตรงข้ามคือทำให้เกิดการบวมน้ำ ความดันเลือดสูง

3.ฮอร์โมนเพศ (sex hormone) เป็นฮอร์โมนเพศ ซึ่งมีจำนวนเล็กน้อย เช่น Estrogen และ Androgen มีปริมาณเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับฮอร์โมนเพศจากอัณฑะและรังไข่ ความผิดปกตติเนื่อจากอะดรีนัล คอร์เทกซ์ 1.ถ้าอะดรีนัลคอร์เทกซ์ถูกทำลาย จนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ หรือต่อมทำงานได้น้อยกว่าปกติ จะทำให้เกิดโรคแอดดิสัน ซึ่งมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนเพลีย คนไข้จะซูบผอม มีรงควัตถุขึ้นตามผิวหนังและตามเยื่อเมือกหรือผิวหนังตกกระ ร่ายกายไม่สามารถรักษาสมดุลย์ของเกลือแร่ได้ หน้าที่ของอวัยวะเพศลดลง ฮอร์โมนสำคัญที่เกี่ยวกับอาการโรคแอดดิสัน คือ การขาดอัลโดสเตอโรน 2.ถ้าอะดรีนัล คอร์เทกซ์ ทำงานมากผิดปกติ ซึ่งอาจมีสาเหตจากเกิดเนื้อ งอกของต่อมทำให้สร้างฮอร์โมนมากเกินไป จะทำให้เกิด คัชชิ่ง ซินโดม (Cushing’s syndrome) ซึ่งหมายถึงภาวะที่มีฮอร์โมนจากอะดรีนัล คอร์เทกซ์โดยเพราะ คอร์ติซอลและแอนโดรเจน หลั่งมากผิดปกติ ส่วนอัลโดสเตอโรนมักไม่เปลี่ยนแปลง มักเกิดในหญิงมากกว่าชาย จะมีการคั่งของไขมันอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างหาย เช่น ที่หน้า ใบหน้าจึงกลมเหมือนดวงจันทร์ ถ้าเกิดในเด็ก ทำให้มีการเจริญเติบโตทางเพศก่อนวัย มีคลิตอริส (Clitoris) ขนาดใหญ่และมีอวัยวะเพศนอกคล้ายถุงอัณฑะเรียก Adrenogenital syndrome

ต่อมหมวกไตชั้นใน (Adrenal medulla) สร้างฮอร์โมน amine (อะมีน) 2 ชนิด คือ อะดรีนาลิน และ นอร์อะดรีนาลิน ปกติฮอร์โมนจาก อะดรีนัล เมดัลลา จะมีอะดรีนาลินประมาณร้อยละ 70 และ นอร์อะดรีนาลินเพียงร้อยละ 10 ในผู้ใหญ่จะพบฮอร์โมนทั้งสองชนิด แต่ในเด็กมีเฉพาะนอร์อะดรีนาลินเท่านั้น 1.ฮอร์โมนอะดรีนาลิน ฮอร์โมนอะดรีนาลินแสดงผลต่อร่างกายดังนี้ 1.มีผลในการกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง โดยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ การสูบฉีดโลหิตเพิ่มขึ้น 2.ทำให้หลอดเลือดอาร์เทอรีขนาดเล็กที่บริเวณอวัยวะต่างๆขยายตัว 3.เพิ่มน้ำตาลในเลือด โดยกระตุ้นให้ตับปล่อยกลูโคสออกมามาก 4.เพิ่มการใช้ออกซิเจนและอัตราเมแทบอลิซึมพื้นฐาน 2.ฮอร์โมนนอร์อะดรีนาลิน ฮอร์โมนนอร์อะครีนาลินแสดงผลต่อร่างกายคล้ายกับผลของอะครีนาลิน แต่อะดรีนาลินมีผลดีกว่า เช่น 1.มีผลในการกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจและเพิ่มความดันเลือดไดแอสโตลิกได้ 2.ทำให้เกิดการบีบตัวจของหลอดเลือดอาร์เทอรีที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ยกเว้นหลอดเลือดหัวใจ มีผลทำให้ขยายตัว 3.มีผลในการกระตุ้นให้ตับปล่อยน้ำตาลกลูโคสและเพิ่มการใช้ออกซิเจน แต่กรณีทั้งสองนี้แสดงผลน้อยมาก เมื่อเทียบกับ อะดรีนาลิน 4.สามารถกระตตุ้นการปล่อยกรดไขมันออกจากเยื่อไขมันได้ซึ่งผลอันนี้คล้ายกับผลของฮอร์โมน ACTH (adrenocorticotropic hormone : อะดริโนคอร์ติโคโทปิก ฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างจาก pituitary grand กระตุ้นการสร้าง adrenal cortical hormone (อะดรีนัลคอร์เทกซ์ )ที่ต่อมหมวกไต )

    • ข้อควรทราบ
1.การหลั่งฮอร์โมนจากอะดรีนัล เมดัลลา จะมีส่วนสัมพันธ์กับประสาทซิมพาเทติกมาก โดยจะหลั่งออกมาเมื่อเส้นประสาทซิมพาเทติกถูกกระตุ้น และการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติส่วนนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับศูนย์กลาง 
ประสาทภายในซีรีบรัม  สมองส่วนกลาง และ ไฮโพทาลามัสด้วย ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงทางอารมรณ์อย่างรุนแรง เช่น โกรธ กรือ กลัว หรือ ร่างกกายอยู่ในภาวะฉุกเฉิน อะดรีนัลเมดัลลา จะถูก กระตุ้นจากไฮโพทาลามัส
ให้หลั่ง ทั้งอะดรีนาลิน และ นอร์อะดรีนาลิน การหลั่งอะดรีนาลินออกมามากกว่าระดับปกติในภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ ช่วยให้สิ่งมีชีวิตเผชิญกับเหตุการณ์นั้นๆได้ดี เช่น มีส่วนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จึงทำให้ร่างกายแก้ไข 
เหตุการณ์เฉพาะหน้า ทั้งในการใช้พลังงานและใช่ความคิดยับยั้งใจไว้ได้ ดังนั้นอาจจะเรียก อะดรีนัล เมดัลลา เป็นต่อมฉุกเฉิน หรือ The gland of Emergency
2.ฮอร์โมน นอร์อะดรีนาลิน สามารถหลั่งออกมาจากเส้นประสาทซิมพาเทติกได้ด้วย แต่จะถูกทำลายเสียก่อนที่จะนำเข้าสู่กระแสโลหิต แต่อาจทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนเฉพาะแห่ง โดยช่วยในการรักษาความดันเลือดที่บริเวณ 
หลอดเลือดอาร์เทอรีเล็กๆตามอวัยวะต่างๆ เพราะช่วยทำให้หลอดเลือดเหล่านี้บีบตัว ยกเว้น หลอดเลือดโคโรนารี อาร์เทอรี ที่ไปเลี้ยงหัวใจ