ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Lengsankeng

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาลเจ้าเล้งสั้นเก้ง (宫山龍) เล่ง สั้น เก้ง สำเนียงฮกเกี้ยน (堈待) ไท่บ้อง หรือท้ายเหมือง ตั้งอยู่เลขที่ 182 หมู่ที่4 ตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีพระเฉ้งจุยจ้อสู้ (師祖水清) เป็นพระประธาน อายุกว่า 100ปี

ประวัติความเป็นมา[แก้]

ศาลเจ้าเล่งสั้นเก้ง 宫山龍 ก่อตั้งขึ้นเมื่อใดไม่ทราบชัด ในปีพ.ศ. 2415 ได้มีการจัดตั้งขึ้นทะเบียน อย่างเป็นทางการตามกฏหมาย เลขที่ 182 หมู่ที่ 4 ต.ท้ายเหมือง อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา จากคำบอกเล่าของนายหลิมเช้งสุ่น ศาลเจ้าเล่งสั้นเก้งในยุคแรกเริ่มเดิมที ปลูกสร้างด้วยเสาไม้กลม หลังคามุงจาก ฝาผนังกั้นด้วยไม้กระดาน พื้นดินอัดเรียบ สภาพคล้ายกงซี่ (ขนำ หรือ กระท่อมในสมัยโบราณ) มีขนาดพื้นที่ 25 ตารางเมตร โดยประมาณ ภายในประดิษฐาน องค์พระเฉ้งจุ้ยจ้อสู้ 師祖水清(จ้อสู้ก๊ง) เป็นพระประธาน เพียงองค์เดียว ในสมัยนั้นมีชาวจีนโพ้นทะเลมาตั้งถิ่นฐาน และมาใช้แรงงานทำเหมืองแร่ที่อำเภอท้ายเหมือง ได้ร่วมมือร่วมใจจัดงานตรุษจีน ขึ้น 10 วัน 10 คืน เป็นประจำทุกปี

การประทับทรง[แก้]

องค์จ้อสู้ก๊งได้ประทับทรงครั้งแรกกับร่างทรง ชื่อ นายฉั่วเจียวฮับ

นายฉั่วเจียวฮับ[แก้]

เป็นคนจีนฮกเกี้ยน เกิดเมื่อปี พ.ศ.2398 โพ้นทะเลมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ท้ายเหมือง ในสมัยนั้นองค์จ้อสู้ก๊งได้สร้างบารมีเป็นที่ศรัทธาจำนวนมาก ทั้งในด้านออกยารักษาอาการป่วย แก้คุณไสยต่างๆ ทำพิธีโก้ยโห้ย (ลุยไฟ) 72 กระสอบ ทำพิธีอาบน้ำมันที่กำลังเดือดหน้าศาลเจ้า และล่าสุดก่อนเสียชีวิตได้องค์จ้อสู้ก๊งได้ทำพิธีผ่าท้องจนไส้ทะลัก บนศาลเจ้าถ้ำ วัดสุวรรณคูหา (วัดถ้ำ) อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เมื่อวันตรุษจีน(เจี่ยโหง้ยโช่ยอิด) ปีพ.ศ. 2473 ในพิธีเฉี้ยโห้ย(อันเชิญไฟศักดิ์สิทธิ์)เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชาวท้ายเหมือง มีผู้เห็นเหตุการณ์จริงคือ 1.นายลิ่มบุนเอ้ง(ประธานศาลเจ้าในขณะนั้น) 2.นายเตี่ยวสามตั๋น (พี่เลี้ยงพระ) 3.นายเล่าโห้ย 4.นายเอี๋ยวอาพี้ 5.ตั๋นเข้เที่ยง (คนตีกลอง) 6.นายกั่วเอี๋ยน บุตรชายม้าทรง(ถือเคี่ยมบี้) 7.ตั๋นจุ้ยตี่ (ถือออเหล่ง) ที่แปลกประหลาดคือไม่ต้องปฐมพยาบาล ไม่ต้องเย็บแผล หรือล้างแผลเพียงปิดกอเอี๊ยะที่บาดแผล กากบาทด้วยผ้ายันต์(ฮู่) และสั่งให้ต้มน้ำสนิมตาปูดื่มกิน ต้นโสม นม และเนย ห้ามกินอาหารหนักนอกจากน้ำข้าว กักบริเวณไว้ในห้องจ้อสู้ก๊งภายในศาลเจ้า 6วัน เมื่อครบ 6 วันตามกำหนด ตรงกับพิธีอิ่วเก้ง (เจี่ยโหง้ยโช่ยหลั๊ก) องค์จ้อสู้ก๊งก็ประทับทรงแห่รอบตลาดจนเสร็จพิธีราวกับไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น หลังจากเหตุการณ์นี้เพียง6ปี นายฉั่วเจียวฮับ ก็ได้เสียชีวิตอย่างสงบด้วยโรคชรา จึงไม่มีการประทับทรงขององค์จ้อสู้ก๊งเป็นเวลา 18 ปี แต่การจัดงานตรุษจีนก็ยังคงดำเนินต่อไปเป็นประจำทุกปี จนกระทั่งองค์จ้อสู้ก๊งมาประทับทรงกับม้าทรงคนที่สอง ในสมัยนั้น ขุนอาจบุรันตะการ (ตั๋นจ่องผ่าย) เป็นประธานศาลเจ้า มีคณะกรรมการซึ่งเป็นคนจีนทั้งสิ้น ได้ร่วมปรึกษาหารือกับฝ่ายพิธีกรรม(ฮวดกั้ว) เพื่อที่จะอัญเชิญองค์จ้อสู้ก๊งให้มาประทับกับ ม้าทรงคนใหม่โดยไม่จำกัดผู้หนึ่งผู้ใด จนได้ม้าทรงคนใหม่ คือนายเอียบออบัก

นายเอียบออบัก[แก้]

เป็นคนจีนฮกเกี้ยน  โพ้นทะเลมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในท้ายเหมือง เป็นม้าทรงคนที่สองขององค์จ้อสู้ก๊ง  องค์จ้อสู้ก๊งในร่างทรงคนที่2 ได้สร้างบารมีมากมายในด้านพิธีกรรมทางพระ  และประกอบยารักษาโรคภัยจนเป็นที่เลื่องลือและศรัทธาเป็นจำนวนมาก และยังได้เชิญ นายจึ่งโป้เหลียน มาอยู่ประจำศาลเจ้า  นายจึ่งโปเหลียน ชาวจีนโพ้นทะเลมาอาศัยอยู่บนมณฑลภูเก็จ จากนั้นได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ท้ายเหมือง (หน้าศาลเจ้า) ด้วยความศรัทธาในองค์จ้อสู้ก๊ง แปะโปเหลียน เข้ามาช่วยเหลืองานต่างๆโดยไม่มีเงินเดือน ในยุคนั้นแปะโปเหลียนได้เข้ามามีบทบาทในการริเริ่มไหว้สารทจีนหรือ(ชิดโหง้ยปั่ว) ด้วยอุปนิสัยเป็นคนถือศีลภาวนาใช้ชีวิตเหมือนนักบวช จึงได้รับหน้าที่เป็นผู้ซ่งเก้งประจำศาลเจ้า กิจวัตรประจำวันของท่านคือการซ่งเก้ง(สวดมนต์) เช้า-เย็น เป็นอย่างนี้ทุกวัน นอกจากนี้แปะโปเหลียนยังมีความสามารถในการขวั่นเทียนไข หรือหล่อเทียน โดยอาศัยเวลาว่างจากการทำงานมาหล่อเทียนไขไว้ใช้ในศาลเจ้า เพราะยุคนั้นไม่มีไฟฟ้าใช้ โดยใช้พื้นที่หลังศาลเจ้าเป็นสถานที่หล่อเทียน สมัยนั้นบริเวณหลังศาลเจ้าถือเป็นเขตห้ามเข้า . หลังจากได้ม้าทรงจ้อสู้ก๊งได้ไม่นาน ก็มีม้าทรงองค์เทพอื่นๆเพิ่มขึ้นมาก  อาทิเช่น  นายเที่ยนจู่   ม้าทรงพระจ่องตั๋นหงวนโซ่ย   นายจิ้นสอง  ม้าทรงพระกิมเฉี้ย  นายขาว  ม้าทรงพระบกเฉี้ย ฯลฯ  

ต่อมาในสมัยนายอมร พรหมพงศ์(กำนันโป) เป็นประธานศาลเจ้า คณะกรรมการศาลเจ้าได้ปรึกษาหารือเพื่อจะก่อสร้างอาคารศาลเจ้าใหม่ บนที่ดินผืนเดิม จึงได้อัญเชิญองค์จ้อสู้ก๊งมาประทับทรง เพื่อแจ้งความจำนงให้องค์จ้อสู้ก๊งรับทราบเป็นที่เรียบร้อย และเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2518 โดยศาลเจ้าสร้างด้วยเสาคอนกรีตเสาเหล็ก เครื่องบนทำด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ฝาผนังก่ออิฐถือปูน บนหลังคาประดับประดาด้วยมังกร 2 ตัว หงส์ 2 ตัว สร้างเสร็จสวยงามในปี 2519 องค์จ้อสู้ก๊งจึงได้มีคำสั่งให้จัดงานฉลองเปิดศาลเจ้าขึ้น ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2519 เป็นเวลา 5 วัน 5 คืน และให้คณะสงฆ์นิกายมหายาน จำนวน 5 รูป จากวัดโพธิ์แมน กรุงเทพฯ ทำพิธีสวดมนต์(ซ่งเก้ง) ทุกคืน นอกจากนี้ยังมีคณะงิ้วมาแสดงทุกคืนตลอดการจัดงาน ในพิธีเปิดศาลเจ้านั้นองค์จ้อสู้ก๊ง มีคำสั่งให้นายอมร พรหมพงศ์ (กำนันโป) และภริยา แต่งกายด้วยชุดเครื่องทรงขององค์จักรพรรดิ์(ฮ่องเต้-ฮองเฮา) เป็นผู้เปิดประตูเล้งสั้นเก้ง ซึ่งเป็นประตูใหญ่ของศาลเจ้า และให้นายประทาน ไพรคณะฮก (หลิมเฉ้งซุ่น) และภรรยา แต่งกายชุดจ่องหงวน-ฮูหยิน เป็นผู้เปิดประตูต่าวโบ้เก้ง ซึ่งเป็นประตูฝั่งตั๋วเล่าเอี๋ย พร้อมด้วยหัวหน้าคณะงิ้วที่มาแสดงเป็นผู้ทำพิธีเปิด ในวันนั้นศาลเจ้าได้ส่งหนังสือเชิญศาลเจ้าต่างๆในจังหวัดพังงาและภูเก็ต มาร่วมพิธีสำคัญในครั้งนั้นอีกด้วย นอกจากนี้องค์จ้อสู้ก๊งได้มีคำสั่งให้ทำเหรียญองค์จ้อสู้ก๊ง รุ่นแรก(2519) ซึ่งปัจจุบันไม่มีให้เช่าบูชาอีกแล้ว ในปี2535 นายเอียบออบักได้ถึงแก่กรรม ผู้ที่มีบทบาทในฝ่ายพิธีกรรมการทรงพระคือนายส้อจำนงค์ (ม้าทรงพระเตี่ยนฮู้หงวนโซ่ย หรือพระเล่าเอี๋ย)

นายส้อจำนงค์[แก้]

เป็นม้าทรงพระเตี่ยนฮู้หงวนโส่ย

นายโฮ่หล่ำหยอก[แก้]

ม้าทรงจ้อสู้ก๊งคนปัจจุบัน