ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Lamphun pattana school

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนลำพูนพัฒนา[แก้]

ประวัติย่อของโรงเรียน[แก้]

               นายนริศ  มหาพรหมวัน มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดลำพูน แต่ได้ไปเรียนหนังสือและเติบโตอยู่ที่กรุงเทพฯ เป็นเวลาหลายสิบปี 
        โดยได้ทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการหลายโรงเรียนจึงมีความคิดที่จะกลับบ้านภูมิลำเนาเดิม 
        จึงได้ปรึกษากับนางสาววิชาดา  มหาพรหมวันซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าว่าอยากจะกลับมาพัฒนาด้านการศึกษาที่ตัวเองมีความเชี่ยวชาญ 
        เหตุเพราะว่าการศึกษาเป็นความเจริญงอกงามของมนุษย์พร้อมทั้งมองไกลไปจนถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กซึ่งเป็นเยาวชนที่ต่อไปในอนาคต 
        จะได้ เติบโตกลับมาช่วยกันสร้างสรรค์สังคม บริหารงานบ้านเมืองให้เจริญถาวรสืบต่อไป 
              ดังนั้นจึงเกิดความคิดที่จะได้สร้างสถานศึกษา  เพื่อที่จะได้เป็นสถานศึกษาอีกทางเลือกหนึ่งให้แก่กุลบุตร กุลธิดาในจังหวัดลำพูน และพื้นที่ใกล้เคียง ได้มีโอกาสมากยิ่งขึ้น
                   - วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ได้ซื้อที่ดิน จำนวน 12 ไร่ เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน บนถนนสายเลี่ยงเมือง – ป่าซาง ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
                   - วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556 ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยนายพินิจ หาญพานิชย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนเป็นประธานในพิธี
                   - วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ได้ประกอบพิธียกเสาเอก
               ในปีพ.ศ. 2557 โรงเรียนลำพูนพัฒนาได้ขออนุญาตเปิดทำการสอน ตั้งแต่ระดับชั้น ปฐมวัย ถึงระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โดยในปีการศึกษาแรกนี้ ได้เปิดรับสมัครตั้งแต่ ระดับชั้น อนุบาล 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยมีนางสาววิชาดา  มหาพรหมวัน เป็นผู้รับใบอนุญาต/ผู้จัดการ และนายนริศ  มหาพรหมวัน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ

จำนวนพื้นที่ และอาคารเรียนและอาคารประกอบ[แก้]

               1.	อาคารเรียน	ขนาด 18 ห้องเรียน
               2. โรงอาหารและห้องพยาบาล	
               3. ห้องประชุม ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์	
               4. ห้องบริหารและธุรการ	
               5. อาคารป้อมยาม	
               6. ห้องพัสดุ	
               7. บริเวณที่พักนักเรียน	

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน (VISION)[แก้]

               โรงเรียนลำพูนพัฒนา มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทย และเป็นพลเมืองโลก
ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน มีความสามารถในการใช้ภาษา ก้าวทันเทคโนโลยีสู่ความเป็นสากล และดำรงตนอยู่ในสังคม
อย่างมีความสุข รวมทั้ง เจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ

ปรัชญาของโรงเรียน (MOTTO)[แก้]

                          	“ยึดมั่นคุณธรรม  เลิศล้ำวิชาการ  มาตรฐานกิจกรรม  นำสู่สากล”

พันธกิจ (MISSION)[แก้]

                 1. ส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตอนุรักษ์ และสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี
                 2. ส่งเสริมให้นักเรียนมีความเป็นเลิศทางวิชาการ ภาษาและเทคโนโลยี
                 3. ส่งเสริม พัฒนา ครูและบุคลากรสู่ความเป็นมืออาชีพ 
                 4. พัฒนาระบบการบริหารและการจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและหลักธรรมาภิบาล 
                 5. ส่งเสริมความสัมพันธ์กับชุมชนและสนับสนุนการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

เป้าหมาย (GOAL)[แก้]

                 1. นักเรียน และบุคลากรมีคุณธรรม จริยธรรมค่านิยมที่ดีงาม มีความเป็นประชาธิปไตย ปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ
                 2. นักเรียนมีจิตสำนึกในความเป็นไทย สามารถสืบสานวัฒนธรรมไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
                 3. นักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตและภูมิคุ้มกันที่ดี สามรถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
                 4. นักเรียนได้รับการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ และพัฒนาความสามารถเต็มตามศักยภาพเป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น
                 5. นักเรียนมีทักษะการใช้ภาษาอย่างน้อย 3 ภาษา และสามารถใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน และการสืบค้นข้อมูล
                 6. ครูและบุคลากรมีความเป็นมืออาชีพ
                 7. โรงเรียนมีการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และหลักธรรมาภิบาลอย่างเป็นระบบ
                 8. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่สะอาด ร่มรื่น สวยงาม ปลอดภัย ทันสมัย ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และการปฏิบัติงาน
                 9. โรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและพัฒนาสภาพแวดล้อม ตลอดจนสนับสนุนการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น