ผู้ใช้:Krittima Chuemak

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อมูลส่วนตัว[แก้]

Krittima Chuemak

ชื่อ นางสาวกฤติมา เชื้อมาก
Miss Krittima Chuemak
ชื่อเล่น กวาง
วัน เดือน ปีเกิด 13กันยายน2534

ประวัติการศึกษา[แก้]

พ.ศ.2556 -2558 การศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชา ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
พ.ศ.2553 -2555 การศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกคอมพิวเตอร์ สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีมารีย์บริหารธุรกิจ
พ.ศ.2549 -2552 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสุรนารีวิทยา ๒
พ.ศ.2547 -2550 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนนางรอง

ตำแหน่งด้านไอทีที่สนใจ[แก้]

เว็บมาสเตอร์ (Webmaster)
มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องต่างๆของเว็บไซต์ ทั้งด้านการสร้างและออกแบบเว็บไซต์ การพัฒนาปรับปรุงคุณสมบัติใหม่ๆ การปรับแต่งเว็บไซต์ให้รองรับมาตรฐานใหม่ๆ
การซ่อมบำรุงข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ของเว็บไซต์ การอัพเดทเนื้อหา การสำรองข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการดูแลการตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์ และการหารายได้ เป็นต้น
Wbmaster อาจจะเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า ผู้ดูแลเว็บไซต์ (Website administrator)


บทความด้านไอทีที่สนใจ[แก้]

เรื่องที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ (Computer) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับข้อมูล และคำสั่งแล้วนำไปประมวลผล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
คอมพิวเตอร์มีลักษณะอย่างไร ?
ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีรูปร่างหลายแบบด้วยกัน มีทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่โดยแต่ละแบบจะมีความสามารถและวิธีใช้งานไม่เหมือนกัน ดังนี้
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer)หรือเรียกสั้นๆว่า เครื่องพีซี (PC) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมมาก
ราคาถูกส่วนใหญ่จะใช้ภายในบ้านพัก สำนักงาน โรงเรียนต่างๆ ไม่เหมาะกับการเคลื่อนย้ายบ่อยๆ
[1]

เรื่องที่ 2 ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีจุดเด่น 4 ประการ เพื่อทดแทนข้อจำกัดของมนุษย์ เรียกว่า 4 S special ดังนี้
1. หน่วยเก็บ (Storage)
หมายถึง ความสามารถในการเก็บข้อมูลจำนวนมากและเป็นเวลานาน นับเป็น
จุดเด่นทางโครงสร้างและเป็นหัวใจของการทำงานแบบอัตโนมัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องด้วย
2. ความเร็ว (Speed)
หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล (Processing Speed)
โดยใช้เวลาน้อย เป็นจุดเด่นทางโครงสร้างที่ผู้ใช้ทั่วไปมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยที่สุดเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญส่วนหนึ่งเช่นกัน
3. ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting)
หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลตามลำดับขั้นตอนได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องอย่างอัตโนมัติ โดยมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องเฉพาะในขั้นตอน
การกำหนดโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลก่อนการประมวลผลเท่านั้น
4. ความน่าเชื่อถือ (Sure)
หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ความน่าเชื่อถือนับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความสามารถนี้เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคำสั่งและข้อมูล
ที่มนุษย์กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง กล่าวคือ หากมนุษย์ป้อนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ย่อมได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน
[2]

เรื่องที่ 3 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ
เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้
1. งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม
ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร
ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ
หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
3. งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ
อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร
ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
4. งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
5. งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ
มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ
กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น
6. การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน
ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด
[3]

LAN Technology (bus,star,ring,mesh)[แก้]

ระบบ Bus

ไฟล์:ระบบ Bus Topology.gif
ระบบ Bus

การเชื่อมต่อแบบบัสจะมีสายหลัก 1 เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์
จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์เครื่องที่หนึ่ง (Node A) ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องที่สอง (Node C) จะต้องส่งข้อมูล และแอดเดรสของ Node C
ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องที่ Node C ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูล ไปทำงานต่อทันที

แบบ Star(แบบดาว)

ไฟล์:ระบบบ Star Topology.gif
ระบบ Star Topology

การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์ Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยที่ทุกเครื่องจะต้องผ่าน Hub สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป็น UTP และ Fiber Optic
ในการส่งข้อมูล Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ปัจจุบันมีการใช้ Switch เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า
แบบ Starจะเป็นลักษณะของการต่อเครือข่ายที่ Work station แต่ละตัวต่อรวมเข้าสู่ศูนย์กลางสวิตซ์ เพื่อสลับตำแหน่งของเส้นทางของข้อมูลใด ๆ
ในระบบ ดังนั้นใน โทโปโลยี แบบดาว คอมพิวเตอร์จะติดต่อกันได้ใน 1 ครั้ง ต่อ 1 คู่สถานีเท่านั้น เมื่อสถานีใดต้องการส่งข้องมูลมันจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์
กลางสวิทซ์ก่อน เพื่อบอกให้ศูนย์กลาง สวิตซ์มันสลับตำแหน่งของคู่สถานีไปยังสถานีที่ต้องการติดต่อด้วย ดังนั้นข้อมูลจึงไม่เกิดการชนกันเอง ทำให้การสื่อสาร ได้รวดเร็วเมื่อสถานีใดสถานีหนึ่งเสีย ทั้งระบบจึงยังคงใช้งานได้ ในการค้นหาข้อบกพร่องจุดเสียต่างๆ จึงหาได้ง่ายตามไปด้วย แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าต้องใช้
งบประมาณสูงในการติดตั้งครั้งแรก

แบบ Ring

ไฟล์:ระบบ Star Topology.gif
ระบบ Ring Topology

การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่ง
ผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
ระบบ Ringมีการใช้งานบนเครื่องตระกูล IBM กันมาก เป็นเครื่องข่าย Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูก
ข่ายบนระบบการเชื่อมต่อแบบวงแหวน ถูกออกแบบให้ใช้ Media Access Units (MAU) ต่อรวมกันแบบเรียงลำดับเป็นวงแหวน แล้วจึงต่อ คอมพิวเตอร์ (PC)
ที่เป็น Workstation หรือ Server เข้ากับMAU ใน MAU 1 ตัวจะสามารถต่อออกไปได้ถึง 8 สถานี เมื่อสถานีถัดไปนั้นรับรู้ว่าต้องรับข้อมูล แล้วมันจึงส่งข้อมูล
กลับ เป็นการตอบรับ เมื่อสถานีที่จะส่งข้อมูลได้รัยสัญญาณตอบรับแล้วมันจึงส่งข้อมูลครั้งแรก แล้วมันจะลบข้อมูลออกจากระบบ เพื่อให้ได้ใช้ข้อมูลอื่นๆ ต่อไป
ดังนั้นทุกสถานีบน โทโปโลยี วงแหวนจะได้ทำงานทั้งหมดซึ่งจะคอยเป็นผู้รับและผู้ส่งแล้วยังเป็นรีพีทเตอร์ในตัวอีกด้วย ข้อมูลที่ผ่านไปแต่ละสถานี นั้น ข้อมูล
ที่เป็นตำแหน่งที่อยู่ตรงกับ สถานีใด สถานีนั้นจะรับข้อมูลเก็บไว้ แต่มันจะไม่ลบข้อมูลออกจากระบบ มันยังคงส่งข้อมูลต่อไป ดังนั้นผู้ส่งข้อมูลครั้งแรกเท่านั้นที่
จะเป็นผู้ลบข้อมูลออกจากระบบ ครั้นเมื่อสถานีส่ง TOKEN มาถามสถานีถัดไปแล้วแต่กลับไม่ได้รับคำตอบ สถานีส่ง TOKEN จะทวนซ้ำข้อมูลเป็นครั้งที่สอง
ถ้ายังคงไม่ได้รับคำตอบ จึงส่งข้อมูลออกไปได้ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาที่ไม่ให้ระบบหยุดชะงักการทำงานลงของระบบ
เนื่องจากสถานีหนึ่งเกิดการเสียหาย หรือชำรุด ระบบจึงยังคงสามารถทำงานต่อไปได้


MESH

ไฟล์:ระบบ Mesh Topology.jpg
ระบบ Mesh Topology

เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่อง
ในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก
[4]

WAN Technology[แก้]

WAN (Wide Area Network) เป็นเทคโนโลยีใช้สำหรับการเชื่อมต่อ LAN (Local Area Network) ที่อยู่ห่างไกลกัน และไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยเทคโนโลยี LAN
ตัวอย่างเครือข่าย WAN ที่รู้จักกันดีและเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็คือ อินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ข้อจำกัดในการออกแบบเครือข่าย WAN
นั่นคือ ระยะทาง เพราะไม่ว่าจะเป็นสัญญาณประเภทใดก็แล้วแต่เมื่อต้องส่งไประยะไกลๆกำลังของสัญญาณนั้นๆก็จะอ่อนลง ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล
การออกแบบ WAN น้อยกว่าของ LAN มาก แต่รับส่งข้อมูลได้ระยะไกลกว่าเทคโนโลยี WAN มีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในช่วงเริ่มแรกความต้องการในการเชื่อมต่อ
คอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกันมาก เป็นแค่การต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ไม่กี่เครื่องเท่านั้น แต่ปัจจุบันจะเป็นการเชื่อมต่อ LAN หลายๆวงที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งเอื้ออำนวย
ให้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่าง LAN กันสามารถสื่อสารกันผ่านเครือข่าย WAN ได้ เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานย่อยเข้ากับเครือข่ายของสำนักงานใหญ่ที่อยู่
ในคนละเมืองได้ ในปัจจุบันหลายๆองค์กรมีเครือข่ายอินทราเน็ต และมีความต้องการที่จะเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ตด้วยเหตุผลทางธุรกิจ เช่น เป็นจุดติดต่อลูกค้า
เป็นต้น การเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นต้องใช้เทคโนโลยี WAN รูปที่ 2.45 แสดงการเชื่อมต่อเครือข่าย LANการเชื่อมต่อ WAN ด้วย LANเทคโนโลยี
WAN นั้นจะแตกต่างกับเทคโนโลยี LAN มาก เทคโนโลยี LAN นั้นส่วนใหญ่จะมีมาตรฐานรองรับ แต่เทคโนโลยี WAN จะประกอบด้วยส่วนต่างๆที่สร้างจากหลายบริษัท
บางส่วนก็มีมาตรฐาน บางส่วนก็เป็นเทคโนโลยีเฉพาะบริษัท ซึ่งจะแตกต่างกันทั้งทางด้านลักษณะ ประสิทธิภาพ และราคาที่อยากที่สุดในการสร้างเครือข่าย WAN
คือการเลือกเทคโนโลยีที่สามารถทำงานร่วมกันได้ และสนองความต้องการของธุรกิจ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าใจทุกๆส่วนของเทคโนโลยี WAN เทคโนโลยี WAN
มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้

- ระบบส่งสัญญาณ (Transmission Facility)
- อุปกรณ์เครือข่าย เช่น เราท์เตอร์, สวิตช์, CSU/DSU (Channel Service Unit/Data Service Unit)
- ระบบจัดการที่อยู่ (Internetwork Sddressing)
- โปรโตคอลจัดเส้นทาง (Routing Protocol)
[5]

Circuit switching
Circuit switching เทคนิคในการสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เมื่อมีการเชื่อมต่อกันแล้วจะติดต่อกันได้ตลอดเวลา ผู้อื่นจะแทรกเข้ามาไม่ได้เลย
จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปลดวงจรออก ตัวอย่างง่าย ๆ เช่นการติดต่อทางสายโทรศัพท์ เมื่อเริ่มพูดกันได้แล้ว คนอื่นจะต่อสายแทรกเข้ามาไม่ได้ จนกว่าฝ่ายใด
ฝ่ายหนึ่งจะวางหูลง (ปลดวงจร)

หลักการทำงาน
1) เมื่อสถานีA ต้องการส่งข้อมูลให้กับ สถานีB จะต้องมีการสร้างเส้นทางเสียก่อนโดยที่ฝั่งที่รับข้อมูลจะต้องตอบว่าพร้อมรับข่าวสาร (Establishment/ Connection
2) เมื่อสร้างเส้นทางการส่งข้อมูลเรียบร้อย ตลอดเวลาของการสื่อสารจะใช้เส้นทางเดิมตลอดและไม่มีบุคคลอื่นมาใช้เส้นทาง
3) มีอัตราความเร็วในการส่งเท่ากันทั้งด้านรับและด้านส่ง
4) มีการทำ Error Control และ Flow Control ทุกๆ ชุมสาย
5) ในขณะทำการส่งข้อมูล ข้อมูลจะถูกส่งด้วยความเร็วคงที่ และไม่มีการหน่วงเวลา(Delay)
6) เมื่อส่งข้อมูลเสร็จจะยกเลิกเส้นทางที่ได้เชื่อมต่อขึ้นมาเพื่อให้เครื่องอื่นได้ใช้เส้นทางได้

Circuit switching

ตัวอย่างระบบ
-โมเด็มและระบบโทรศัพท์ (Modem and Telephone System)
- สายคู่เช่า (Leased Line)
- ISDN (Integrated Services Digital Network)
- DSL (Digital Subscriber line)
- เคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)
ลักษณะการเชื่อมต่อ
Circuit switching เชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรระหว่างจุดต่อจุด (point-to-point)
วิธีการคิดเงินค่าบริการ
Circuit switching การคิดเงินจะขึ้นกับระยะทาง และระยะเวลาเท่านั้น ไม่ขึ้นกับปริมาณการสื่อสาร
ข้อดี
- ปริมาณในการส่งข้อมูลได้ อัตราการส่งข้อมูล ความเร็วในการส่งข้อมูลจะคงที่ อัตราเดิม
- Delay ที่เกิดขึ้นจะเรียกว่า propagation delay คือเวลาที่ข้อมูลวิ่งอยู่ในสายสัญญาณ – เร็วเท่าแสง
- Delay ที่ node คือเวลาที่ข้อมูลวิ่งระหว่าง node อาจเป็น delay ที่เกิดเนื่องจากการประมวลผลอะไรบางอย่าง ถือว่าน้อยมากจนถือว่าไม่สำคัญ เพราะว่ามันแทบจะไม่เกิด
ข้อเสีย
-หากคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลติดต่อกับศูนย์ข้อมูล ในการเรียกค้นข้อมูลเป็นระยะจะทำให้มีช่วงเวลาที่สายสัญญาณ ไม่มีการใช้และผู้อื่นก็ใช้ไม่ได้ ธรรมชาติของการใช้งาน
ไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้งานพร้อมกันอย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น ระบบโทรศัพท์ 100 เลขหมาย จะสามารถใช้งานพร้อมๆกันได้ไม่ถึง 50%
-การเชื่อมโยงอุปกรณ์ระหว่างสถานีต้นทางกับปลายทางต้องตกลงและใช้มาตรฐานเดียวกัน
-การติดต่อสื่อสารข้อมูลนี้ผู้ใช้จะต้องมีระบบซอฟต์แวร์ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเอง เพราะชุมสายจะไม่มีระบบตรวจสอบข้อมูลในชุมสายทำหน้าที่เพียงการสวิตช์
วงจรให้เท่านั้น Circuit Switching นั้นออกแบบมาเพื่อส่งข้อมูลทางเสียง
-อัตราการส่งข้อมูลจะเป็นตัวจำกัดอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเนื่องจากถูกออกแบบมาเพื่อส่งข้อมูลทางเสียงในอัตราที่มนุษย์สามารถรับรู้ ได้
- มีขีดจำกัดแน่นอนอยู่แล้วที่ระบบ Hardware
- ยากและลงทุนสูงในการ Upgrade backbone
สรุป
เครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit–Switching Network)
เป็นบริการระบบเครือข่ายสาธารณะขั้นพื้นฐาน เช่น ระบบโทรศัพท์และระบบสายเช่า (leased line) ระบบเครือข่ายแบบสลับวงจรจะเป็นการเชื่อมต่อทางกายภาพของวงจร
ระหว่างจุดต่อจุด (point-to-point) เพื่อให้สามารถติดต่อส่งข้อมูล (หรือเสียง) กัน โดยการเชื่อมวงจรอาจเชื่อมอยู่ตลอดเวลาเช่นสายเช่าหรือเชื่อมต่อเมื่อมีการติดต่อ
เช่นโทรศัพท์ก็ได้ รวมทั้งอาจเป็นเครือข่ายอนาลอกเช่น โทรศัพท์หรือเครือข่ายดิจิตอลเช่น ISDN ก็ได้ จึงมีข้อดีคือมีอัตราความเร็วในการสื่อสารที่คงที่อยู่ ตลอดเวลา
เนื่องจากไม่ต้องทำการแบ่งช่องทางกับผู้อื่นแต่จุดด้อยคือต้องมีการเชื่อมต่อกันทุกๆ จุด ที่มีการติดต่อกัน
Packet switching
Packet switching เทคนิคในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม (Packet) แต่ละกลุ่มจะมีความยาวเท่ากัน (ปกติ 100บิต)ข้อมูลจะหาทิศทางเดินไปได้เอง โดยที่สายหนึ่ง ๆ
จะสามารถใช้กันได้หลายคน เมื่อถึงที่ปลายทางข้อมูลก็จะกลับ ไปรวมกันเอง
หลักการทำงาน
1) เมื่อ สถานี A ต้องการส่งข้อมูลให้กับสถานีB จะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็น Packet ย่อยก่อนจะถูก ส่งออกไป
2) ส่งข้อมูลโดยใช้ชุมสาย PSE (Packet switching exchange) ควบคุมการรับส่ง
3) ทำ Error control หรือ Flow Control ที่ PSE
4) ด้านรับและด้านส่งมีอัตราความเร็วที่ไม่เท่ากันได้
5) ใช้เทคนิค Store - and - Forward ในการส่งข้อมูล ผ่าน PSE
ตัวอย่างระบบ
เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ใช้ในการ ส่งข้อมูลภายในสำหรับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน ระบบที่เป็น Package switch เช่น Frame relay เป็นระบบโทรศัพท์แบบดิจิตอล
และATM เป็นระบบการส่งข้อมูลประเภท ภาพและเสียง (multimedia) ลักษณะการเชื่อมต่อ Packet switching ส่งแต่ละแพกเกตด้วยเส้นทางต่างๆที่เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย
และทำการรวมแต่ละแพคเกตกลับคืนเมื่อถึงจุดหมายแล้ว
วิธีการคิดเงินค่าบริการ
Packet switching จะคิดค่าบริการตามจำนวน Byte หรือ Packet ที่ส่งออกไป โดยส่วนใหญ่ไม่ขึ้นกับระยะทาง ยกเว้นเป็นการส่งข้ามประเทศ
ข้อดี
- Flexibility โครงข่ายดังกล่าวนี้ทำให้ใช้งานพร้อมกันหลาย ๆ ระบบได้ โดยงานประยุกต์แต่ละระบบไม่ยุ่งเกี่ยวกัน แต่ใช้ผ่านชุมสายเดียวกัน Robustness มีความแข็งแกร่ง
ถ้าเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งเสียหายก็สามารถใช้เส้นทางอื่นได้ อุปกรณ์ต้นทางกับปลายทาง สามารถส่งด้วยความเร็วที่ต่างกันได้เพราะชุมสายจะเป็นผู้แปลงสัญญาณ ให้ความเร็วเข้ากันได้
- Responsiveness มีการรับประกันความถูกต้องของข้อมูลที่รับส่งทำให้ระบบมีความเชื่อถือสูง สามารถใช้ในระบบที่โต้ตอบด้วยความเร็วได้ ตัว IMP สามารถที่จะทำงานเพิ่มเติมบางอย่างได้
เช่น การตรวจสอบความ ผิดพลาดก่อนที่จะส่งต่อไป หรืออาจทำการเปลี่ยนรหัสก่อนก็ได้
ข้อเสีย
Packet switching
-บางครั้งถ้ามีปริมาณPacket จำนวนมากเข้ามาพร้อมกันจะทำให้ IMPทำงานไม่ทัน อาจทำให้มีบางPacket สูญหายไปได้ - มี delay
เกิดขึ้นในระหว่างที่ส่งข้อมูล = ความยาวของpackage / ขนาดของ overhead datarate ขนาดของ package มีขนาดไม่แน่นอน
-Package แต่ละ package อาจวิ่งไปคนละเส้นทางได้ แต่ละเส้นทางจะมี delay ไม่เท่ากัน ซึ่งทำให้เกิดปัญหา package ที่ส่งมาที่หลังมาถึงก่อน
ฝ่ายรับต้องมีวิธีจัดการกับ package ที่ยุ่งยากขึ้น
-ถ้ามี delay มากจะเกิดความแออัดในเครือข่าย
- มี overhead เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล โดย overhead ที่เกิดขึ้นคือที่อยู่ของปลายทาง, sequence ซึ่งทำให้ส่งข้อมูลได้น้อย ทำให้ประสิทธิภาพในการส่งลดลง
สรุป
เครือข่ายแบบสลับแพคเกต (Packet Switching Data Network) เป็นระบบเครือข่ายที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน มีการทำงานโดยใช้วิธีแบ่งข้อมูลที่ต้องการ
ส่งระหว่างจุดสองจุดออกเป็นชิ้น (packet) เล็กๆ เพื่อทำการส่งไปยังจุดหมายที่ต้องการ การแบ่งข้อมูลออกเป็นแพกเกตมีข้อดีคือ ทำให้สามารถใช้ช่องทางการสื่อสาร
ข้อมูลเพียงช่องทางเดียวในการเชื่อมเข้าสู่เครือข่าย ไม่ว่าจะมีการติดต่อกันระหว่างกี่จุดก็ตาม รวมทั้งสามารถส่งแต่ละแพกเกตด้วยเส้นทางต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย
และทำการรวมแต่ละแพคเกตกลับคืนเมื่อถึงจุดหมายแล้ว จึงเป็นการใช้ทรัพยากร (resource) ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
[6]

เปรียบเทียบ TCP/IP กับ OSI Model[แก้]

TCP/IP OSI Model
Process Layer จะเป็น Application protocol ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ เช่น FTP, Telnet, SNMPฯลฯ Application Layer เชื่อมต่อกับผู้ใช้ และแปลคำสั่งต่างๆให้กับคอมฯ อย่างถูกต้องตามกฎ
Process Layer จะเป็น Application protocol ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ เช่น FTP, Telnet, SNMPฯลฯ Presentation Layer แปลงคำสั่งตามกฎที่ได้รับออกเป็นขั้นตอนย่อยๆแต่ละขั้นตอน
Process Layer จะเป็น Application protocol ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ เช่น FTP, Telnet, SNMPฯลฯ Session Layer ควบคุมจังหวะการรับส่งข้อมูลของคอมพิวเตอร์ทั้งสองด้านให้โต้ตอบกันตามวิธีที่กำหนด
Host-to-Host Layer ควบคุมการรับส่งข้อมูลจากปลายด้านส่งถึงปลายด้านรับข้อมูล Transport Layer เชื่อมต่อรับส่งข้อมูลจากปลายด้านหนึ่งกับปลายทาง รวมทั้งควบคุมข้อผิดพลาดและตัดข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย
Internetwork Layer ทำหน้าที่เลือกเส้นทางการรับส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ จนไปถึงผู้รับข้อมูล Network Layer ติดต่อกำหนดเส้นทางการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย และตรวจสอบ Address ของผู้รับ
Network Interface คือชั้นที่ควบคุม Hardware การรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย ซึ่งเทียบได้กับชั้นที่ 1 และ 2 ของ OSI Data Link Layer ควบคุมการรับส่งข้อมูลในระดับ Hardware และตรวจสอบข้อผิดพลาดในการรับส่งข้อมูล
Network Interface คือชั้นที่ควบคุม Hardware การรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย ซึ่งเทียบได้กับชั้นที่ 1 และ 2 ของ OSI Physical Layer กำหนดคุณสมบัติของการเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลทาง Hardware ความเร็ว-การเชื่อมต่อกับสาย
  1. ที่มาของอ้างอิง http://www.krubird.com/catalog.php?idp=165
  2. ที่มาของอ้างอิง http://www.krubird.com/catalog.php?idp=172
  3. ที่มาของอ้างอิง http://www.krubird.com/catalog.php?idp=171
  4. ที่มาของอ้างอิง http://kanjana-aon.blogspot.com/2009/06/topology.html
  5. ที่มาของอ้างอิง http://student.nu.ac.th/namtarnbc/network/wan.html
  6. ที่มาของอ้างอิง http://nooplemonic.exteen.com/20090706/circuit-switching-packet-switching