ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Kiangphaisan20

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาลเจ้าปู่ย่า อำเภอ พังโคน จังหวัด สกลนคร ศาลเจ้าปู่ย่า พังโคน ตั้งอยู่ในอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

ประวัติความเป็นมา

  ศาลเจ้าปู่ย่า อำเภอพังโคน เริ่มแรกมาจาก คนไทยเชื้อสายจีน มาเรี่ยไรเพื่อจัดงานงิ้วขึ้น ประมาณปี พ.ศ 2510 หลังจากนั้นอีก 5 ปี ก็ได้จัดตั้งศาลเจ้าปู่ย่า อำเภอพังโคน ขึ้น

สิ่งศักดิ์สิทธิ์

ปึงเถ่ากง-ม่า ปึงเถ่ากง-ม่า เป็นเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์และเชื่อว่าเมื่อได้กราบไหว้จะดลบันดาลให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ประกอบกิจการงานลุล่วงด้วยดี เป็นศาลเจ้าที่คนจีนตลอดจนคนไทยเชื้อสายจีนเคารพนับถือและมีความศรัทธามาก เป็นศูนย์รวมน้ำใจแสดงถึงความรัก ความสามัคคี เปรียบเสมือนศาลเจ้าพ่อหลักเมืองของคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีน

     เทพประธานของศาลแห่งนี้ คือ เจ้าพ่อปึงเถ้ากง ความหมายในภาษาไทย คือ ปู่ ตามความเชื่อโบราณเชื่อว่า แต่ละท้องที่มีเทพประจำ ชาวแต้จิ๋วเรียกโดยทั่วไปว่า “ตี่เถ่าเล่าเอี๊ย” หรือ “เทพผู้เป็นใหญ่ ณ ที่นั้น” ไม่ว่าชาวจีนจะอพยพไปอยู่ที่ใดก็ยังยึดมั่นความเชื่อนี้อยู่ จึงได้แกะสลักรูปเคารพของเทพตี่เถ่าเล่าเอี๊ยจากไม้ขึ้นมาเพื่อเคารพบูชา ภายหลังเรียกอย่างง่ายๆ ว่า “ปึงเถ้ากง”

ปึงเถ้ากงเป็นเทพเจ้าองค์เดียวกับแป๊ะกง ซึ่งเป็นเทพเจ้าที่ดิน ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในเมืองจีนตามชุมชนต่างๆ จะมีศาลแป๊ะกงให้เห็นเสมอแป๊ะกงมีบทบาทสำคัญมากในสังคมสมัยก่อน งิ้วหลายเรื่องถ่ายถอดให้เห็นว่ากษัตริย์, ขุนนาง, คนเดินทางใครตกระกำลำบากก็ไปอาศัยศาลแป๊ะกง เป็นที่พักแรม, ที่หลบภัย หรือร้องทุกข์กับเทพเจ้า แป๊ะกง ซึ่งเป็นเทพระดับล่างก็มีหน้าที่ส่งรายงานขึ้นไปเบื้องบนลิ้มเฮียยังเล่าถึงนิทานพื้นบ้านแต้จิ๋วเรื่องหนึ่งซึ่งกล่าวถึงแป๊ะกงว่า สมัยราชวงศ์หมิง เอ็งบ่วงตั๊ก-เสนาบดีกลาโหมชาวแต้จิ๋วยกทัพไปรบ ระหว่างทางแวะพักแรมที่ศาลแป๊ะกง แต่ปรากฏว่าทหารในกองทัพถูกเสือฆ่าตายเอ็งบ่วงตั๊กเดินไปตำหนิแป๊ะกงในศาลว่าเป็นเทพเจ้าที่ไม่ดูแลพื้นที่ให้เรียบร้อยปล่อยให้เสือมาทำร้ายทหารหลวงได้อย่างไร ทั้งสั่งให้แป๊ะกงไปเรียกเสือตัวที่ฆ่าคนตายมารับผิด เมื่อเสือมาพบเอ็งบ่วงตั๊กสั่งให้เสือตัวนั้นถือธงประจำกองทัพแทนทหารที่ตายเป็นการทำคุณไถ่โทษ นิทานเรื่องนี้ทำให้รู้ว่าแป๊ะกง ไม่ได้ดูแลแต่คน หากรวมถึงสรรพสัตว์และสภาพดินฟ้าอากาศของชุมชนอีกด้วยแต่เมื่อคนจีนออกมาทำกินในโพ้นทะเล อาชีพเกษตรที่เคยทำส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นค้าขาย ขณะที่ชื่อของ“ปึงเถ่ากง” ในภาษาแต้จิ๋วนั้นมีความหมายที่ดี คำว่า “ปึง” มาจาก “ปึงจี๊” แปลว่า เงินทุน คำว่า “เถ่า” มาจาก“เถ่าใช่” แปลว่า นิมิตหมายที่ดี ส่วนคำว่า “กง” ใช้เรียกผู้อาวุโส ผู้ชาย หรือหมายถึง ปู่, ตา ปึงเถ่ากงจึงเป็นเทพเจ้าในใจคนที่ทำการค้า ซึ่งลักษณะทั่วไปของคนค้าขายจะอาศัยอยู่ในเมือง หรือ ชุมชนขนาดใหญ่ ประกอบกับการขยายตัวของสังคมเมือง ปึงเถ่ากง จึงกลายเป็นเทพเจ้าของคนในเมือง ขณะที่คนในชนบทที่ห่างไกลออกไปยังคงนับถือและเรียกท่านว่า “แป๊ะกง” เช่นเดิม แป๊ะกงจึงกลายเป็นเทพเจ้าของคนในเมืองขณะที่คนในชนบทที่ห่างไกลออกไปยังคงนับถือและเรียกท่านว่า“แป๊ะกง”เช่นเดิม แป๊ะกงจึงกลายเป็นเทพเจ้าของคนในชนบท ขณะที่ปึงเถ่ากงเป็นเทพเจ้าของคนเมืองไปโดยปริยาย

เทพเจ้ากวนอู ประวัติเทพเจ้ากวนอู

           กวนอู (จีนตัวเต็ม: 關羽; จีนตัวย่อ: 关羽; พินอิน: Guān Yǔ; เวด-ไจลส์: Kuan Yu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงใน ประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือน 6 จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 703 ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั้งซวงตี่ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนที่ 7 จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี พ.ศ. 762 ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั้งเหี่ยงตี่ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (จีน: 云长) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า "ง้าวมังกรเขียว" หรือ "ง้าวมังกรจันทร์ฉงาย" เชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ
          กวนอูเดิมเป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ดินแดนฮอตั๋ง ชื่อเดิมคือเผิงเสียน ชื่อรองโซ่วฉาง รูปร่างสูงใหญ่ สง่างามน่าเกรงขามแก่ผู้พบเห็น มีกำเนิดในครอบครัวนักปราชญ์ เชี่ยวชาญด้านคัมภีร์พิชัยสงครามและคัมภีร์หลี่ซื่อชุนชิว เป็นนักโทษต้องคดีอาญาแผ่นดิน หลบหนีการจับกุมเร่รอนไปทั่วเป็นเวลา 6 ปีจนถึงด่านถงกวน นายด่านพบพิรุธจึงสอบถามชื่อแซ่ กวนอูตกใจจึงชี้ไปที่ชื่อด่านคือ "ถงกวน" ทำให้นายด่านเข้าใจว่ากวนอูนั้นแซ่กวน หลังจากนั้นเป็นต้นมากวนอูจึงเปลี่ยนจากชื่อเดิมคือเผิงเสียนเป็นกวนอู
          ต่อมาได้พบเล่าปี่และเตียวหุยที่ตุ้นก้วนและร่วมสาบานเป็นพี่น้องกัน กวนอูได้ร่วมรบกับเล่าปี่ปราบโจรโพกผ้าเหลืองจนราบคาบในสมัยพระเจ้าเหี้ยน เต้ แต่เล่าปี่กลับได้เพียงตำแหน่งนายอำเภออันห้อก้วน ภายหลังต๊กอิ้วซึ่งเป็นเจ้าเมืองออกตรวจราชการที่อำเภออันห้อก้วน เล่าปี่ไม่มีสินบนมอบให้จึงถูกใส่ความด้วยการเขียนฎีกาถวายพระเจ้าเหี้ยนเต้ ในข้อหากบฏ เตียวหุยโกรธจัดถึงกับพลั้งมือเฆี่ยนตีต๊กอิ้วจนเกือบเสียชีวิต ทำให้เล่าปี่ต้องหลบหนีจากการจับกุมของทางการพร้อมกับกวนอูและเตียวหุย
          วีรกรรมของกวนอูนั้นมีมากมาย เริ่มจากการร่วมปราบปรามโจรโพกผ้าเหลืองร่วมกับทหารหลวงของพระเจ้าเหี้ยนเต้ สังหารฮัวหยงแม่ทัพของตั๋งโต๊ะโดยที่สุราคาราวะจากโจโฉยังอุ่น ๆ ปราบงันเหลียงและบุนทิวสองทหารเอกของอ้วนเสี้ยว บุกเดี่ยวพันลี้หนีจากโจโฉเพื่อหวนกลับคืนสู่เล่าปี่ด้วยคำสัตย์สาบานในสวน ท้อ ทั้งที่โจโฉพยายามทุกวิถีทางเพื่อมัดใจกวนอูแต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ฝ่า 5 ด่าน สังหาร 6 ขุนพลของโจโฉ และในคราวศึกเซ็กเพ็กโจโฉแตกทัพหนีไปตามเส้นทางฮัวหยง กวนอูได้รับมอบหมายจากขงเบ้งให้นำกำลังทหารมาดักรอจับกุม โจโฉว่ากล่าวตักเตือนให้กวนอูระลึกถึงบุญคุณครั้งก่อนจนกวนอูใจอ่อนยอมปล่อย โจโฉหลุดรอดไป โดยยอมรับโทษประหารตามที่ได้ทำทัณฑ์บนไว้กับขงเบ้ง
         เมื่อเล่าปี่สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิครองเสฉวน ได้ให้กวนอูไปกินตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วและแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในห้า ทหารเสือของเล่าปี่ ภายหลังซุนกวนมอบหมายให้โลซกเจรจาขอเกงจิ๋วคืน กวนอูบุกเดี่ยวข้ามฟากไปกังตั๋งเพื่อกินโต๊ะตามคำเชิญโดยที่โลซกและทหารที่ แอบซุ่มรอบ ๆ บริเวณไม่สามารถทำอันตรายได้ ภายหลังซุนกวนเป็นพันธมิตรกับโจโฉนำทัพโจมตีเกงจิ๋ว กวนอูพลาดท่าเสียทีแก่ลิบองและลกซุนสองแม่ทัพแห่งกังตั๋งจนเสียเกงจิ๋ว พยายามตีฝ่ากำลังทหารที่ล้อมเมืองเป๊กเสียเพื่อชิงเกงจิ๋วกลับคืนแต่โดนกล อุบายจับตัวไปได้ ซุนกวนพยายามเกลี้ยกล่อมให้กวนอูยอมจำนนและสวามิภักดิ์แต่ไม่สำเร็จ จึงถูกประหารพร้อมกับกวนเป๋งบุตรบุญธรรมในเดือนสิบสองของปี พ.ศ. 762
         ศีรษะของกวนอูถูกซุนกวนส่งไปมอบให้แก่โจโฉที่ฮูโต๋ ซึ่งเป็นกลอุบายที่หมายจะหลอกให้เล่าปี่หลงเชื่อว่าโจโฉเป็นผู้สั่งประหาร กวนอู และนำกำลังทหารไปทำศึกสงครามกับโจโฉแทน แต่โจโฉเท่าทันกลอุบายของซุนกวนจึงจัดงานศพให้แก่กวนอูอย่างสมเกียรติ นำไม้หอมมาต่อเป็นหีบใส่ศีรษะกวนอู แต่งเครื่องเซ่นไหว้ตามบรรดาศักดิ์ขุนนางผู้ใหญ่รวมทั้งสั่งการให้ทหารทั้ง หมดแต่งกายขาวไว้ทุกข์ให้แก่กวนอู ยกย่องให้เป็นอ๋องแห่งเกงจิ๋วและจารึกอักษรที่หลุมฝังศพว่า "ที่ฝังศพเจ้าเมืองเกงจิ๋ว" ศีรษะของกวนอูถูกฝังไว้ ณ ประตูเมืองลกเอี๋ยงหรือลัวหยางทางด้านทิศใต้

ความเคารพนับถือ

          แต่เดิมจีนโบราณให้ความเคารพนับถืองักฮุยเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ สืบ ต่อกันมาเป็นเวลานานในฐานะเป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อชาติ ด้วยคุณธรรมความดีของงักฮุยส่งผลให้ได้รับการยกย่องเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก ชาติและความจงรักภักดีเป็นที่กล่าวขานกันมาเป็นเวลานาน แต่ปัจจุบันเทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อได้เปลี่ยนมาเป็นกวนอูแทนในหลังยุคสาม ก๊กมานับพันปี กวนอูเป็นเทพเจ้าที่ชาวจีนและคนไทยเชื้อสายจีนให้ความเคารพบูชาและศรัทธา เลื่อมใสเป็นอย่างมาก กวนอูเปรียบเสมือนเทพเจ้าที่ชาวจีนให้ความเคารพกราบไหว้บูชาในฐานะที่เป็น เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ
         จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ของจีนโบราณ กวนอูอาจมีชีวิตก่อนงักฮุยเป็นเวลาเกือบพันปี กล่าวคือกวนอูเป็นบุคคลสำคัญในสมัยยุคสามก๊ก (พ.ศ. 763 - พ.ศ. 823) แต่งักฮุยมีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ซ่ง (พ.ศ. 1503 - พ.ศ. 1822) กวนอูและงักฮุยเป็นวีรบุรุษที่เป็นที่กล่าวขานกันสืบต่อกันมาเป็นเวลานานใน เรื่องของความสัตย์ซื่อและจงรักภักดี ในประเทศไทยชื่อเสียงและกิตติศัพท์ความสัตย์ซื่อ กตัญญูรู้คุณคนของกวนอูอาจจะเป็นที่กล่าวขานและรู้จักกันมากกว่างักฮุย เนื่องจากกวนอูเป็นตัวละครสำคัญในสามก๊กซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นเทพบู๊ (จีน: 武圣) และมีสถานะเทียบกับเทพบุ๋น (จีน: 文圣) คือขงจื๊อ
         ในอดีตบรรพบุรุษของชนเผ่าแมนจู (จีน: 满族) คือพวกเผ่าหนี่ว์เจิน (จีน: 女真族) หรือจิน (พ.ศ. 1658 - พ.ศ. 1777) แมนจูเป็นชนเผ่าที่เรืองอำนาจขึ้นมาในยุคสมัยเดียวกับราชวงศ์ซ่งใต้ ภายหลังจากราชวงศ์ซ่งล่มสลายลงจนถึงราชวงศ์หยวนและราชวงศ์หมิง จนกระทั่งราชวงศ์ชิงที่ก่อตั้งขึ้นโดยชาวแมนจู แม้กาลเวลาจะล่วงเลยผ่านมานานหลายร้อยปี แต่การที่ชาวจีนให้ความเคารพนับถืองักฮุยในฐานะวีรบุรุษต่อต้านเผ่าแมนจู หรือเผ่าจินก็ยังคงอยู่ไม่เสื่อมคลาย ซึ่งการให้การยกย่องและเคารพนับถืองักฮุยนั้น ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติสำหรับราษฎรทั่วไป แต่ในสายตาของขุนนางบู๊และบุ๋นภายในราชสำนักชิง การให้ความเคารพนับถือบูชางักฮุยในฐานะวีรบุรุษต้านชนเผ่าจินเป็นการเปรียบ ได้กับการให้ความเคารพนับถือบูชาผู้ที่ต่อต้านราชวงศ์ชิงนั่นเอง ดังนั้นราชสำนักชิงจึงวางกลอุบายยกย่องกวนอูให้เป็นอีกหนึ่งวีรบุรุษใน ประวัติศาสตร์จีน เพื่อให้กวนอูกลายเป็นที่ศรัทธาเคารพบูชาของสามัญชนทั่วไปในฐานะเทพเจ้าผู้ มีความสัตย์ซื่อ เพื่อเป็นการลดกระแสการเคารพนับถือและเชิดชูงักฮุยให้เบาบางลง

ประวัติเทพเจ้ากวนอู กวนอู article

เทพเจ้ากวนอู

เทพเจ้ากวนอู เทพกวนอู เทพเจ้าจีน กวนอูขี่ม้า กวนอูปางต่างๆ กวนอูปางขี่ม้า กวนอูปางออกศึก

ประวัติเทพเจ้ากวนอู

           กวนอู (จีนตัวเต็ม: 關羽; จีนตัวย่อ: 关羽; พินอิน: Guān Yǔ; เวด-ไจลส์: Kuan Yu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงใน ประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือน 6 จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 703 ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั้งซวงตี่ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนที่ 7 จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี พ.ศ. 762 ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั้งเหี่ยงตี่ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (จีน: 云长) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า "ง้าวมังกรเขียว" หรือ "ง้าวมังกรจันทร์ฉงาย" เชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ
          กวนอูเดิมเป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ดินแดนฮอตั๋ง ชื่อเดิมคือเผิงเสียน ชื่อรองโซ่วฉาง รูปร่างสูงใหญ่ สง่างามน่าเกรงขามแก่ผู้พบเห็น มีกำเนิดในครอบครัวนักปราชญ์ เชี่ยวชาญด้านคัมภีร์พิชัยสงครามและคัมภีร์หลี่ซื่อชุนชิว เป็นนักโทษต้องคดีอาญาแผ่นดิน หลบหนีการจับกุมเร่รอนไปทั่วเป็นเวลา 6 ปีจนถึงด่านถงกวน นายด่านพบพิรุธจึงสอบถามชื่อแซ่ กวนอูตกใจจึงชี้ไปที่ชื่อด่านคือ "ถงกวน" ทำให้นายด่านเข้าใจว่ากวนอูนั้นแซ่กวน หลังจากนั้นเป็นต้นมากวนอูจึงเปลี่ยนจากชื่อเดิมคือเผิงเสียนเป็นกวนอู
          ต่อมาได้พบเล่าปี่และเตียวหุยที่ตุ้นก้วนและร่วมสาบานเป็นพี่น้องกัน กวนอูได้ร่วมรบกับเล่าปี่ปราบโจรโพกผ้าเหลืองจนราบคาบในสมัยพระเจ้าเหี้ยน เต้ แต่เล่าปี่กลับได้เพียงตำแหน่งนายอำเภออันห้อก้วน ภายหลังต๊กอิ้วซึ่งเป็นเจ้าเมืองออกตรวจราชการที่อำเภออันห้อก้วน เล่าปี่ไม่มีสินบนมอบให้จึงถูกใส่ความด้วยการเขียนฎีกาถวายพระเจ้าเหี้ยนเต้ ในข้อหากบฏ เตียวหุยโกรธจัดถึงกับพลั้งมือเฆี่ยนตีต๊กอิ้วจนเกือบเสียชีวิต ทำให้เล่าปี่ต้องหลบหนีจากการจับกุมของทางการพร้อมกับกวนอูและเตียวหุย
          วีรกรรมของกวนอูนั้นมีมากมาย เริ่มจากการร่วมปราบปรามโจรโพกผ้าเหลืองร่วมกับทหารหลวงของพระเจ้าเหี้ยนเต้ สังหารฮัวหยงแม่ทัพของตั๋งโต๊ะโดยที่สุราคาราวะจากโจโฉยังอุ่น ๆ ปราบงันเหลียงและบุนทิวสองทหารเอกของอ้วนเสี้ยว บุกเดี่ยวพันลี้หนีจากโจโฉเพื่อหวนกลับคืนสู่เล่าปี่ด้วยคำสัตย์สาบานในสวน ท้อ ทั้งที่โจโฉพยายามทุกวิถีทางเพื่อมัดใจกวนอูแต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ฝ่า 5 ด่าน สังหาร 6 ขุนพลของโจโฉ และในคราวศึกเซ็กเพ็กโจโฉแตกทัพหนีไปตามเส้นทางฮัวหยง กวนอูได้รับมอบหมายจากขงเบ้งให้นำกำลังทหารมาดักรอจับกุม โจโฉว่ากล่าวตักเตือนให้กวนอูระลึกถึงบุญคุณครั้งก่อนจนกวนอูใจอ่อนยอมปล่อย โจโฉหลุดรอดไป โดยยอมรับโทษประหารตามที่ได้ทำทัณฑ์บนไว้กับขงเบ้ง
         เมื่อเล่าปี่สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิครองเสฉวน ได้ให้กวนอูไปกินตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วและแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในห้า ทหารเสือของเล่าปี่ ภายหลังซุนกวนมอบหมายให้โลซกเจรจาขอเกงจิ๋วคืน กวนอูบุกเดี่ยวข้ามฟากไปกังตั๋งเพื่อกินโต๊ะตามคำเชิญโดยที่โลซกและทหารที่ แอบซุ่มรอบ ๆ บริเวณไม่สามารถทำอันตรายได้ ภายหลังซุนกวนเป็นพันธมิตรกับโจโฉนำทัพโจมตีเกงจิ๋ว กวนอูพลาดท่าเสียทีแก่ลิบองและลกซุนสองแม่ทัพแห่งกังตั๋งจนเสียเกงจิ๋ว พยายามตีฝ่ากำลังทหารที่ล้อมเมืองเป๊กเสียเพื่อชิงเกงจิ๋วกลับคืนแต่โดนกล อุบายจับตัวไปได้ ซุนกวนพยายามเกลี้ยกล่อมให้กวนอูยอมจำนนและสวามิภักดิ์แต่ไม่สำเร็จ จึงถูกประหารพร้อมกับกวนเป๋งบุตรบุญธรรมในเดือนสิบสองของปี พ.ศ. 762
         ศีรษะของกวนอูถูกซุนกวนส่งไปมอบให้แก่โจโฉที่ฮูโต๋ ซึ่งเป็นกลอุบายที่หมายจะหลอกให้เล่าปี่หลงเชื่อว่าโจโฉเป็นผู้สั่งประหาร กวนอู และนำกำลังทหารไปทำศึกสงครามกับโจโฉแทน แต่โจโฉเท่าทันกลอุบายของซุนกวนจึงจัดงานศพให้แก่กวนอูอย่างสมเกียรติ นำไม้หอมมาต่อเป็นหีบใส่ศีรษะกวนอู แต่งเครื่องเซ่นไหว้ตามบรรดาศักดิ์ขุนนางผู้ใหญ่รวมทั้งสั่งการให้ทหารทั้ง หมดแต่งกายขาวไว้ทุกข์ให้แก่กวนอู ยกย่องให้เป็นอ๋องแห่งเกงจิ๋วและจารึกอักษรที่หลุมฝังศพว่า "ที่ฝังศพเจ้าเมืองเกงจิ๋ว" ศีรษะของกวนอูถูกฝังไว้ ณ ประตูเมืองลกเอี๋ยงหรือลัวหยางทางด้านทิศใต้

เทพเจ้ากวนอู กวนอู กวนอูนั่งบัลลังก์ เทพเจ้าจีน เทพเจ้ากวนอูปางนั่งบัลลังก์ เทพเจ้ากวนอูปางนั่งบัญชาการ เทพเจ้ากวนอูนั่ง เทพเจ้ากวนอู กวนอู เทพเจ้าจีน กวนอูยืนถือง้าว เทพเจ้ากวนอูปางต่างๆ เทพเจ้ากวนอูปางยืนถือง้าว เทพเจ้ากวนอูปางสั่งการ เสริมปีชง

ความเคารพนับถือ

          แต่เดิมจีนโบราณให้ความเคารพนับถืองักฮุยเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ สืบ ต่อกันมาเป็นเวลานานในฐานะเป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อชาติ ด้วยคุณธรรมความดีของงักฮุยส่งผลให้ได้รับการยกย่องเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก ชาติและความจงรักภักดีเป็นที่กล่าวขานกันมาเป็นเวลานาน แต่ปัจจุบันเทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อได้เปลี่ยนมาเป็นกวนอูแทนในหลังยุคสาม ก๊กมานับพันปี กวนอูเป็นเทพเจ้าที่ชาวจีนและคนไทยเชื้อสายจีนให้ความเคารพบูชาและศรัทธา เลื่อมใสเป็นอย่างมาก กวนอูเปรียบเสมือนเทพเจ้าที่ชาวจีนให้ความเคารพกราบไหว้บูชาในฐานะที่เป็น เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ
         จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ของจีนโบราณ กวนอูอาจมีชีวิตก่อนงักฮุยเป็นเวลาเกือบพันปี กล่าวคือกวนอูเป็นบุคคลสำคัญในสมัยยุคสามก๊ก (พ.ศ. 763 - พ.ศ. 823) แต่งักฮุยมีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ซ่ง (พ.ศ. 1503 - พ.ศ. 1822) กวนอูและงักฮุยเป็นวีรบุรุษที่เป็นที่กล่าวขานกันสืบต่อกันมาเป็นเวลานานใน เรื่องของความสัตย์ซื่อและจงรักภักดี ในประเทศไทยชื่อเสียงและกิตติศัพท์ความสัตย์ซื่อ กตัญญูรู้คุณคนของกวนอูอาจจะเป็นที่กล่าวขานและรู้จักกันมากกว่างักฮุย เนื่องจากกวนอูเป็นตัวละครสำคัญในสามก๊กซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นเทพบู๊ (จีน: 武圣) และมีสถานะเทียบกับเทพบุ๋น (จีน: 文圣) คือขงจื๊อ
         ในอดีตบรรพบุรุษของชนเผ่าแมนจู (จีน: 满族) คือพวกเผ่าหนี่ว์เจิน (จีน: 女真族) หรือจิน (พ.ศ. 1658 - พ.ศ. 1777) แมนจูเป็นชนเผ่าที่เรืองอำนาจขึ้นมาในยุคสมัยเดียวกับราชวงศ์ซ่งใต้ ภายหลังจากราชวงศ์ซ่งล่มสลายลงจนถึงราชวงศ์หยวนและราชวงศ์หมิง จนกระทั่งราชวงศ์ชิงที่ก่อตั้งขึ้นโดยชาวแมนจู แม้กาลเวลาจะล่วงเลยผ่านมานานหลายร้อยปี แต่การที่ชาวจีนให้ความเคารพนับถืองักฮุยในฐานะวีรบุรุษต่อต้านเผ่าแมนจู หรือเผ่าจินก็ยังคงอยู่ไม่เสื่อมคลาย ซึ่งการให้การยกย่องและเคารพนับถืองักฮุยนั้น ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติสำหรับราษฎรทั่วไป แต่ในสายตาของขุนนางบู๊และบุ๋นภายในราชสำนักชิง การให้ความเคารพนับถือบูชางักฮุยในฐานะวีรบุรุษต้านชนเผ่าจินเป็นการเปรียบ ได้กับการให้ความเคารพนับถือบูชาผู้ที่ต่อต้านราชวงศ์ชิงนั่นเอง ดังนั้นราชสำนักชิงจึงวางกลอุบายยกย่องกวนอูให้เป็นอีกหนึ่งวีรบุรุษใน ประวัติศาสตร์จีน เพื่อให้กวนอูกลายเป็นที่ศรัทธาเคารพบูชาของสามัญชนทั่วไปในฐานะเทพเจ้าผู้ มีความสัตย์ซื่อ เพื่อเป็นการลดกระแสการเคารพนับถือและเชิดชูงักฮุยให้เบาบางลง

งานประเพณี ศาลเจ้าปู่ย่า พังโคน จะมีประเพณีจัดงานงิ้วทุกปี ประมาณ เดือน ธันวาคมของทุกปี


อ้างอิง http://esanwisdom.kku.ac.th/esandb/th/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/2015-09-30-04-32-57/2015-09-30-07-47-26.html https://www.facebook.com/permalink.php?id=861131723907029&story_fbid=865285110158357 https://sites.google.com/site/shrinebuntaogong221/prawati-sal-cea-elea-xngkh-theph http://www.richystar.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A0-%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B9-%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A1-%E0%B9%84%E0%B8%89%E0%B9%88%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2-%E0%B8%AE%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A7-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%8C/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B9-%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B9-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99.html