ผู้ใช้:Khuntotoh

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไก่ทอดมะแขว่น

ที่มาของ “ไก่ทอดมะแขว่น” สูตรต้นตำรับ สืบเนื่องมาจากในอดีตกาล เกลือสินเธาว์ในพื้นที่ อ. บ่อเกลือนั้นมีความสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริโภค และการค้าขาย จนทำให้เกิดสงครามหลายๆ ครั้งเพื่อแย่งชิงเกลือ เพราะคนโบราณเชื่อกันว่า “การมีเกลือ เหมือนมีทองคำ” ด้วยเหตุนี้ ดร.ทวน อุปจักร์ เจ้าของ บ่อเกลือ วิว รีสอร์ท จึงคิดค้นเมนูอาหารให้เข้ากับพื้นที่ โดยมีเกลือจากบ่อเกลือเป็นส่วนประกอบหลัก และได้คิดค้นเมนูแรกคือ “ไก่ทอดเกลือ” เพราะเกลือที่ อ.บ่อเกลือ เป็นเกลือที่มี บริสุทธิ์มาก โดยเกลือที่ไดจาการต้มมา เนื้อของเกลือ จะเป็นสีขาว มีความละเอียดและเค็มกำลังดี จนบางทีอาจจะเรียกว่าเป็นเกลือ หวานเลยก็ได้ ประจวบกับชาวบ้านบริเวณนี้เลี้ยงไก่พื้นเมืองเป็นจำนวนมากเพื่อเป็นการส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชนก็เลยได้เป็นเมนูนี้ขึ้นมา ต่อมา ดร.ทวน ก็ได้เล็งเห็นว่าทั่วทั้ง อ.บ่อเกลือมี มะแขว่น อยู่เป็นจำนวนมากแต่ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าได้และนิยมบริโภคกันอยู่กลุ่มเล็กๆ จึงนำไก่ทอดเกลือและมะแขว่นมาผสมกัน “ไก่ทอดมะแขว่น” จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2549 และได้จัดขึ้นโต๊ะเสวย ของสมเด็จขนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อปี 2552 ไก่ทอดมะแขว่นจึงเป็นที่รู้จักและแพร่หลาย

เกลือสินเธาว์โบราณบนภูเขา เกลือสินเธาว์บนภูเขาที่มีความโด่งดังในอดีต จากแหล่งเกลือที่มีอายุหลายร้อยปี และเป็นเกลือที่มีความบริสุทธิ์มากมีความละเอียดสูง โดยที่มีค่า NaCL สูงถึง 97.66% เป็นแหล่งเกลือ ที่สำคัญในอดีตที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานจนมาถึงปัจจุบัน เกลือเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้รสชาติของอาหารนั้นดีขึ้น และยิ่งเป็นเกลือสินเธาว์ภูเขา ก็ยิ่งดีเป็นพิเศษ

      • เกลือที่ใช้ในการทำไก่ทอดมะแขว่นนั้นจะต้องเป็นเกลือสินเธาว์จากอ.บ่อเกลือเพราะเป็นเกลือที่มีความบริสุทธิ์สูงและจะช่วยในเรื่องการส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชนคนต้มเกลือ***

มะแขว่น มะแขว่นเป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 20 เมตร มีหนามแหลมตามลำต้น กิ่งก้านใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่หรือคี่ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่หรือ รูปรี ปลายแหลมมาก โคนแหลมและเบี้ยว ขอบใบหยักมีต่อมกลมขนาดเล็กบริเวณหยัก ยอดอ่อนเป็นสีแดงปนเหลือง ดอกออกเป็นช่อแบบแยกแขนงช่อขนาดใหญ่ ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง และ ที่ปลายกิ่ง มีกลีบดอก 4 กลีบ เป็นสีนวล หรือ ขาวอมเขียว มีเกสรตัวผู้ 4 อัน ผลค่อนข้างกลม ผิวขรุขระ ผลแห้งเป็นสีดำคล้ายพริกไทย มีกลิ่นหอมและเผ็ดร้อน ติดผลแก่ช่วงฤดูหนาว ดับกลิ่นคาวทำให้มีกลิ่นหอม และเผ็ดร้อน ชาวจีนนิยมใช้ปรุงอาหาร แทนพริกไทยดำเรียกว่า พริกหอม หรือ ชวงเจีย ในประเทศมาเลเซีย อินเดีย และพม่า ใช้เมล็ดแห้งของมะแขว่นเป็นเครื่องเทศปรุงอาหาร ชาวเขาบนดอยสูงของประเทศไทยจะรู้จักมะแขว่นเป็นอย่างดี ใบนำมาขยี้อุดฟันแก้รำมะนาด แก้ปวดฟัน เมล็ดกินแก้ลมวิงเวียน บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ถอนพิษฟกบวม แก้หนองใน รากกับเนื้อไม้ต้มน้ำดื่มขับลมในลำไส้ แก้ลม หน้ามืดตาลาย และขับระดู มะแขว่นหรือลูกกำจัดในภาษาไทยกลาง เป็นเครื่องเทศทางเหนือที่มีอยู่ทั่วไป และในสมัยโบราณก็เคยเป็นเครื่องบรรณาการที่อาณาจักร วรนคร หรือ จ. น่าน ในปัจจุบัน ส่งไปยังสยามประเทศ พร้อมกับเกลือสินเธาว์จาก อ.บ่อเกลือ