ผู้ใช้:Khompeeraphat/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดพระบาทน้ำพุ[แก้]

วัดพระบาทน้ำพุ
ที่ตั้ง ต.เขาสามยอด อ.เมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
ความสำคัญ สถานรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ รอยพระพุทธบาท
สังกัด มหานิกาย
เว็บไซต์ www.phrabatnampu.org


วัดพระบาทน้ำพุ[แก้]

วัดพระบาทน้ำพุมีสิ่งสำคัญในวัดได้แก่ รอยพระพุทธบาทถูกครอบอยู่ภายใต้มณฑปโดยอยู่ห่างจากอาคารสำนักงานมูลนิธิธรรมรักษ์ประมาณ 150 เมตร โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ที่ฟักฟื้นและรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้ายที่อาจจะกล่าวได้ว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก [1] ในอุโบสถมีพระประธานขนาดพระเพลากว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร พร้อมด้วยพระอัครสาวก นอกจากนี้ในถ้ำบนเขาที่อยู่ในวัดภายในมีหลวงพ่อดำ ปางมารวิชัยสมัยอยุธยา และพระโพธิสัตว์ 9 องค์ส่วนบนยอดภูเขาพระอุทัย อโนโม สร้างหลวงพ่อขาวขึ้นเมื่อพ.ศ. 2523

ประวัติวัดพระบาทน้ำพุ[แก้]

วัดพระบาทน้ำพุเริ่มเปิดเป็นศูนย์กลางการดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ตามความคิดริเริ่มของท่านเจ้าคุณพระราชวิสุทธิประชานาถเจ้าอาวาส ปัจจุบันแบ่งสถานที่ดูแลผู้ป่วยชัดเจนเป็น 2 แห่งด้วยกันคือ โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 1 และโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 2 โดยตั้งอยู่ห่างกัน 85 กิโลเมตร ได้รับโอกาสให้เข้าเยือนโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์1 ที่มีผู้ป่วยโรคเอดส์พักอยู่รวม 140 คน ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองได้ จะอยู่ในบ้านพัก ขณะที่ผู้ป่วยที่ร่างกายไม่แข็งแรง แต่ไม่มีโรคแทรกซ้อน จะถูกแยกไปอยู่อีกตึก ส่วนสุดท้ายคือผู้ป่วยที่ร่างกายไม่แข็งแรง แต่มีโรคแทรกซ้อนอาทิเช่นวัณโรค จะถูกแยกไว้ต่างหาก ผู้ป่วยจะได้รับยา 2 เวลา คือเช้าและเย็น ซึ่งมาจากโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ด้านชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่แข็งแรงแต่ละคนได้รับมอบหมายหน้าที่ต่างกัน ขณะที่ผู้ป่วยที่ไม่แข็งแรง แต่ไม่มีโรคแทรกซ้อน บางรายก็จะอาศัยเวลาในช่วงหลังเที่ยง เพื่อออกกำลังกายทำกายภาพบำบัด โดยมีผู้ป่วยด้วยกันที่ร่างกายแข็งแรงเป็นเทรนเนอร์ให้ส่วนสถานการณ์โรคเอดส์ในประเทศไทย ณ ปัจจุบันคาดว่ามีผู้ติดเชื้อเอดส์โดยประมาณ 420,000 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ติดเชื้อเอดส์รายใหม่ 6,304 คน โดยในตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ พบเป็นกลุ่มชายรักชายสูงที่สุดคือร้อยละ 53 จากการให้สัมภาษณ์ของ นพ.สมาน ฟูตระกูล ผอ.สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ขณะที่กรมควบคุมโรคเอดส์ฯ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งเป้าให้ภายในอีก 18 ปีข้างหน้าหรือ พ.ศ.2579 ประเทศไทยจะต้องมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ปีละไม่เกิน 1,000 คน

ข้อมูลวัด[แก้]

วัดพระบาทน้ำพุมีสิ่งสำคัญในวัดได้แก่ รอยพระพุทธบาทถูกครอบอยู่ภายใต้มณฑปโดยอยู่ห่างจากอาคารสำนักงานมูลนิธิธรรมรักษ์ประมาณ 150 เมตร โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ที่ฟักฟื้นและรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้ายที่อาจจะกล่าวได้ว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก [1] ในอุโบสถมีพระประธานขนาดพระเพลากว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร พร้อมด้วยพระอัครสาวก นอกจากนี้ในถ้ำบนเขาที่อยู่ในวัดภายในมีหลวงพ่อดำ ปางมารวิชัยอาณาจักรอยุธยา สมัยอยุธยา และพระโพธิสัตว์ 9 องค์ส่วนบนยอดภูเขาพระอุทัย อโนโม สร้างหลวงพ่อขาวขึ้นเมื่อพ.ศ. 2523

บทบาทในฐานะสถานพยาบาลผู้ป่วยโรคเอดส์[แก้]

วัดแห่งนี้เริ่มต้นรับรักษาและฟักฟื้นผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์โรคเอดส์ครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2535 และดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ผู้ริเริ่มโครงการคือเจ้าอาวาส พระราชวิสุทธิประชานาถ (อลงกต ติกฺขปญฺโญ) การดำเนินการเกี่ยวกับโรคเอดส์มีสองส่วน ส่วนแรกคือรับดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยโรคเอดส์ทั่วไปจากทั่วประเทศ ส่วนที่สองคือการรับอุปการะเด็กกำพร้าที่ได้รับผลกระทบโรคเอดส์จากบิดามารดา ทั้งสองส่วนอยู่ในการดูแลของวัดประมาณ 2,000 คน แบ่งเป็นเด็กประมาณ 1,300 คน[1] ในแต่ละเดือนวัดจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 4 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าอาหาร ยารักษาโรค ค่าบริหารจัดการภายในวัด และค่าเผาศพ ปัจจุบันได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลไทยเดือนละ 100,000 บาท ส่วนที่เหลือเป็นการรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา ส่วนยาต้านไวรัสเอดส์และอาสาสมัครได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ [2]

วิกฤตทางการเงินที่เกิดขึ้น[แก้]

ปัญหาทางการเงินของวัด เนื่องจากเงินทุนโดยเฉพาะที่ใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลนั้นไม่เพียงพอ ได้เกิดขึ้นสองครั้งด้วยกัน โดยครั้งแรกเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 วิกฤตทางการเงินในประเทศไทย พ.ศ. 2540 แต่หลังจากได้รับการบริจาคเพิ่มมากขึ้น ทางวัดขึ้นสามารถผ่านวิกฤตนี้ไปได้ อีกครั้งในปีพ.ศ. 2549 เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ถดถอย และวิกฤตราคาน้ำมันเป็นเหตุให้ยอดเงินบริจาคลดลง อีกทั้งค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเนื่องจากราคาที่น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้วัดมีเงินไม่พอเพียงกับค่าใช้จ่าย แต่ด้วยการประชาสัมพันธ์ข่าวทั้งในประเทศ[3]และต่างประเทศ[4]ทำให้ทางวัดได้รับการบริจาคจนสามารถพ้นวิกฤตทางการเงินไปได้อีกครั้งหนึ่ง


อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ชาญยุทธ ปะวะขัง, คมชัดลึก City Life, 2549, หน้า4-5
  2. นสพ.คมชัดลึก, ปัญหาโรคเอดส์ไม่ได้ลดลงแม้แต่น้อย ข้อเท็จจริงจากพระอาจารย์อลงกตวัดพระบาทน้ำพุ, 2547
  3. น.ส.พ.ไทยรัฐ, วิกฤติเอดส์วัดน้ำพุ อีก 3 เดือนปิดตัว, ทีมข่าวไทยรัฐ, 23 สิงหาคม 2549, หน้า 1
  4. http://www.kaisernetwork.org/daily_reports/rep_index.cfm?hint=1&DR_ID=40425


แหล่งข้อมูล[แก้]