ผู้ใช้:Jutarat Karakate

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์[แก้]

เกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2527 ผู้เขียนบทละครโทรทัศน์ คอลัมนิสต์ นักเขียน อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยรัฐบาลและเอกชน หลังจากบ่มเพาะประสบการณ์ทั้งงานเขียนจนได้รับโอกาสการเขียนบทละครซึ่งผลงานบทละครโทรทัศน์ที่ทำให้เริ่มเป็นที่รู้จัก คือเรื่อง “อำแดงเหมือนกับนายริด” และสร้างชื่อด้วยผลงานเขียนบทละครโทรทัศน์มากมาย อาทิ บทละครโทรทัศน์เรื่อง “พิภพหิมพานต์” (2561) ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 บทประพันธ์ซีรีส์ “ปลายจวัก” (2561) ทางช่องไทยพีบีเอส บทละครโทรทัศน์ซีรีส์ “The Mirror กระจกสะท้อนกรรม” ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ตอน งมงาย, หาย, ชอปจนช็อต ,หญิงชรา, ฆาตกร (2561-2562) บทละครโทรทัศน์เรื่อง “เพลิงนาคา” (2560) ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 บทละครโทรทัศน์ซีรีส์ “เลือดมังกร” ตอน “หงส์” (2558) ของบริษัทแอคอาร์ตเจเนอเรชั่นจำกัด ทางช่อง 3 โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานบทละครโทรทัศน์เรื่อง “นาคี” (2558) ของบริษัทแอคอาร์ตเจเนอเรชั่นจำกัดทางช่อง 3 นาคี ฯลฯ
นอกจากนี้สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ ยังมีความสนใจในศาสตร์ของงานวิชาการ จึงเป็นทั้งวิทยากรบรรยายและผู้ร่วมเสวนาด้านละครโทรทัศน์ ให้ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และอาจารย์พิเศษให้แก่สถาบันการศึกษา

สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์
Jutarat Karakate
เกิด1 สิงหาคม พ.ศ. 2527
อาชีพผู้เขียนบทละครโทรทัศน์ คอลัมนิสต์ นักเขียน
องค์การสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
มีชื่อเสียงจากสรรัตน์

ประวัติการศึกษา

    สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม ในปี พ.ศ. 2545 จากนั้นได้เข้าเรียนต่อที่อักษรศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิตจากนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาสื่อสารการแสดง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามลำดับ

จุดเริ่มต้นการทำงาน[แก้]

    สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ เป็นนักเขียนบทละครโทรทัศน์หน้าใหม่ที่ความมุ่งมั่นในการเป็นนักเขียนบทละคร โดยจุดเริ่มต้นของการเป็นนักเขียนเริ่มจากเป็นคนชอบวิชาภาษาไทย ชอบอ่านหนังสือและดูละครโทรทัศน์มาตั้งแต่เด็ก  เมื่อแรกเริ่มตอนเรียนในระดับ ม.3 สรรัตน์ส่งเรื่องสั้นแนวผีๆ ลงนิตยสารครั้งแรก (ประมาณปี พ.ศ. 2542) เรื่องแรกตีพิมพ์ได้รับค่าต้นฉบับ 150 บาท หลังจากนั้นก็เลยส่งเรื่องสั้นเป็นประจำ และด้วยความใฝ่ฝันอยากเป็นนักเขียน จึงเลือกศึกษาคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย แต่เมื่อเรียนจบได้ทำงานในตำแหน่งครีเอทีฟรายการโทรทัศน์ ทำให้เรียนรู้การทำสคริปต์รายการและภาษามุมกล้อง พร้อมกับการพัฒนาตนเองในฐานะการเป็นนักเขียนด้วยหนังสือสาระความรู้สำหรับเด็ก เช่น นิทานพื้นบ้าน 4 ภาค ประวัติศาสตร์ และตำนานบุคคลสำคัญจนมีผลงานออกมาทั้งสิ้น 22 เล่ม แล้วก็เป็นคอลัมนิสต์เรื่องสั้นแนวลึกลับให้กับนิตยสาร “เล่มโปรด” แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่เลิกล้มความตั้งใจที่จะเป็นนักเขียนบทละครโทรทัศน์  


    หลังจากเป็นนักเขียนประจำที่สำนักพิมพ์ได้ประมาณ 2 ปีกว่าก็ตัดสินใจศึกษาต่อปริญญาโทที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาสื่อสารการแสดง ในระหว่างนั้นสรรัตน์เข้าร่วมโครงการ “ค้นหาคนเขียนบท” ในปีพ.ศ. 2552 จนกระทั่งผลปรากฏว่าเข้ารอบทั้ง 2 ที่ และเริ่มเข้ามาทำงานด้านบทละครโทรทัศน์ทางช่อง 7 โดยเขียนบทละครโทรทัศน์เรื่อง “เหนือมนุษย์” (2554) เป็นเรื่องแรกโดยมีพี่หนึ่ง คฑาหัสต์ บุษปะเกศ เป็นหัวหน้าทีม ในระหว่างนั้นก็เขียนบทโทรทัศน์ไปด้วยและเรียนปริญญาโทไปด้วย ได้รับโอกาสจาก คุณไพรัช สังวริบุตร เมตตาให้เขียนบทโทรทัศน์ให้กับช่องจ๊ะทิงจา เป็นละครสั้นๆ สำหรับเด็ก และบทการ์ตูนแอนิเมชั่นเอื้อยอ้าย ทางช่อง 9 อสมท.  


     ต่อมาในปีพ.ศ. 2553  สรรัตน์โอกาสได้ร่วมเขียนบทละครกึ่งสารคดีเรื่อง “ธิราชเจ้าจอมสยาม” ทางช่องไทยพีบีเอสร่วมกับคุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ (ทมยันตี) ทำให้ได้วิชาความรู้ในการถ่ายทอดเรื่องราวจากท่าน ส่วนผลงานบทละครโทรทัศน์ที่ทำให้เริ่มเป็นที่รู้จักคือเรื่อง “อำแดงเหมือนกับนายริด” (2555) ที่มีคุณสถาพร นาควิไลโรจน์ เป็นผู้กำกับ ระหว่างนั้นก็ทำพล็อตนิยายเรื่อง “คุ้มนางครวญ” (2556) เพื่อเสนอให้กับทาง บริษัท เอ็กแซกท์ ทำเป็นบทละครโทรทัศน์ไปด้วย 


     หลังจากนั้นจึงมาเขียนให้กับทางช่อง 3 เริ่มจากบทละครโทรทัศน์เรื่อง “เวียงร้อยดาว” ในปีพ.ศ. 2556 และบทละครโทรทัศน์เรื่อง “นาคี” และบทละครโทรทัศน์ซีรีส์ “เลือดมังกร” ตอน “หงส์” ร่วมกับบริษัทแอคอาร์ตเจเนอเรชั่นจำกัดช่อง 3  ที่ทำให้ชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น หลังจากนั้นสรรัตน์ได้สร้างผลงานมากมายอย่างในงานละครเชิงประวัติศาสตร์และตำนาน อาทิ บทละครโทรทัศน์เรื่อง “เพลิงนาคา” (2560) บทละครโทรทัศน์เรื่อง “พิภพหิมพานต์” (2561)  และบทละครโทรทัศน์เชิงสร้างสรรค์สังคม อย่างซีรีส์ “The Mirror กระจกสะท้อนกรรม” (2562) เป็นต้น

ผลงานด้านบทละคร[แก้]

พ.ศ. 2562 บทละครโทรทัศน์ซีรีส์ “The Mirror กระจกสะท้อนกรรม” ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ตอน หญิงชรา, ฆาตกร
พ.ศ. 2561 บทละครโทรทัศน์เรื่อง “พิภพหิมพานต์” ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, บทประพันธ์ซีรีส์ “ปลายจวัก” ทางช่องไทยพีบีเอสบทละครโทรทัศน์ซีรีส์ “The Mirror กระจกสะท้อนกรรม” ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ตอน งมงาย, หาย, ชอปจนช็อต
พ.ศ. 2560 บทละครโทรทัศน์เรื่อง “เพลิงนาคา” ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 บทประพันธ์ซีรีส์ “ฤดูกาลแห่งรัก : ผลิ ร้อน ฝน หนาว” ทางช่องไทยพีบีเอส
พ.ศ. 2559 บทละครโทรทัศน์เรื่อง “เล่ห์ลับสลับร่าง” ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
พ.ศ. 2558 บทละครโทรทัศน์เรื่อง “นาคี” ของบริษัทแอคอาร์ตเจเนอเรชั่นจำกัดทางช่อง 3 , บทละครโทรทัศน์ซีรีส์ “เลือดมังกร” ตอน “หงส์” ของบริษัทแอคอาร์ตเจเนอเรชั่นจำกัด ทางช่อง 3 c]tบทละครโทรทัศน์เรื่อง “แสงปลายฟ้า” ทางช่องไทยพีบีเอส
พ.ศ. 2557 หนังสือออนไลน์ (E-Book) รวมเรื่องสั้น “หัว-หาย-ตาย-เฮี้ยน” , นวนิยายเรื่อง “คุ้มนางครวญ” ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์อรุณในเครืออมรินทร์ และบทละครโทรทัศน์เรื่อง “ธิดาแดนซ์” ของบริษัทเพ็ญพุธจำกัดทางช่อง 3
พ.ศ. 2556 บทละครโทรทัศน์เรื่อง “เวียงร้อยดาว” บริษัทแอคอาร์ตเจเนอเรชั่นจำกัดช่อง 3 , บทประพันธ์สำหรับละครโทรทัศน์เรื่อง “คุ้มนางครวญ” ของบริษัทเอ็กแซ็กท์ จำกัด ทางช่อง 5 และกองบรรณาธิการและคอลัมนิสต์นิตยสารแนวประวัติศาสตร์ “ร้อยเรื่อง” ของสำนักพิมพ์ยอดพยัญชนะจำกัด
พ.ศ. 2555 บทละครโทรทัศน์เรื่อง “อำแดงเหมือนกับนายริด” ของบริษัท ๙ แสนสตูดิโอ จำกัด ทางช่องไทยพีบีเอส , บทการ์ตูนอนิเมชั่นเรื่อง “เอื้อยกับอ้าย” ของบริษัทดีด้าแฟนตาซีทาวน์จำกัด ทางช่อง 9 และบทละครเวทีเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่อง “ฝนของพ่อเดอะมิวสิคัล” แสดงโดยคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
พ.ศ. 2554 บทละครโทรทัศน์เรื่อง “เหนือมนุษย์” ของบริษัทดาราวีดีโอโปรดักชั่น จำกัด ออกอากาศหลังข่าวทุกวันศุกร์-อาทิตย์ ทางช่อง 7 (เขียนเป็นทีม) บทละครโทรทัศน์ชุด “กฎแห่งกรรม” ออกอากาศทางช่องดาวเทียม จ๊ะทิงจาทีวี ตอน วิญญาณคะนอง, มารศาสนา, เซียนพระ, ชะตาขาด บทรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กเรื่อง “ลูกมดปิ๊งๆกับนิยายในกระจก” ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ ทางช่องดาวเทียม จ๊ะทิงจาทีวี นักแสดงเรื่อง “ลูกมดปิ๊งๆกับนิยายในกระจก” รับบทเป็น “พ่อมดอัคคี” ออกอากาศทางช่องดาวเทียม จ๊ะทิงจาทีวี บทละครเวทีเรื่อง “นางพญาหลวง” แสดงโดยคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต (restage)
พ.ศ. 2553 บทโทรทัศน์เรื่อง “ธิราชเจ้าจอมสยาม” ออกอากาศทางช่องไทยพีบีเอส พิธีกรรายการ “สดชื่นรื่นรมย์” ออกอากาศทางช่องดาวเทียม จ๊ะทิงจาทีวี บทละครเวทีเรื่อง “นางพญาหลวง” แสดงโดยชมรมล้านนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2552 เข้ารอบสุดท้ายโครงการ “ค้นหาคนเขียนบท” จัดโดยสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เข้ารอบสุดท้ายโครงการ “คนเขียนบทหน้าใหม่” ประเภทเดี่ยวทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 บทการ์ตูนความรู้เรื่อง “แผ่นดินมหัศจรรย์บ้านฉันบ้านเธอ” ตอน ชุลมุนบุญสองบ้าน เล่ม 1-2 , ผจญภัยยอดภู / ผจญภัยกลางสายน้ำ, อลหม่านบ้านเด็กวัง / อลหม่านบ้านเด็กดอย วรรณกรรมเยาวชนพื้นบ้าน สำนักอุทยานการเรียนรู้ (TK PARK) มีผลงานหนังสือ ดังนี้ ผจญภัยเมืองฟ้าแดด และ อภินิหารบาดาลนคร
พ.ศ. 2551 บทการ์ตูนความรู้สำหรับเด็กและเยาวชน สำนักพิมพ์อาทมาตพับลิชชิ่ง ดังนี้ - แก๊งป่วนก๊วนหิมพานต์ ชุด สำนวนไทยอะไรกันนี่ ? - แก๊งป่วนก๊วนหิมพานต์ ตอน ศึกมนตราจ้าวบาดาล - ขบวนการนักสืบจิ๋ว ตอนผจญปราสาทพ่อมดอัคคี และถล่มวังราชินีอสูร - ครอบครัวกึ๊กกึ๋ย ตอน แม่โพสพใจน้อย และเข็มทิศกายสิทธิ์ - นิทานอมยิ้ม - รวมเรื่องสั้น ‘หนูในตู้เสื้อผ้า’
พ.ศ. 2550 เรื่องสั้นแนวลึกลับสยองขวัญในนิตยสาร ‘เล่มโปรด’ บริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด อาทิเรื่อง คืนขวัญผวา ภาพอาถรรพ์ แท็กซี่ระทึกขวัญ
พ.ศ. 2550 นักแสดงละครจักรๆวงศ์ๆเรื่อง ‘พระทิณวงศ์’ รับบทเป็น ‘เทพรักษา’ บริษัท สามเศียร จำกัด ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ที่ปรึกษาบทละครเวที ละครสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ เรื่อง ‘เกราะเพชรเจ็ดสี’ ชนะเลิศการแข่งขันรายการแฟนพันธุ์แท้ ตอน ละครจักรๆวงศ์ๆ บริษัทเวิร์คพ้อยท์เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ทาง ททบ.5 นักเขียนวรรณกรรมเยาวชน สำนักพิมพ์ไอคิวดี ในเครือบริษัทสยามอินเตอร์มัลติมีเดีย จำกัด (มหาชน) และมีผลงานหนังสือ ดังนี้ ตำนานที่ราบสูง ตำนานยอดดอย ตำนานลุ่มน้ำ ตำนานคาบสมุทร นเรศวรมหาราช นักเขียนวรรณกรรมเยาวชนสำนักพิมพ์อาทมาตพับลิชชิ่ง มีผลงานหนังสือดังนี้ พระเจ้าตาก เล่ม 1 และเล่ม 2 , หนานทิพย์ช้าง วีรบุรุษแห่งเขลางค์นคร และบทความ ‘ย้อนประวัติขุนรองปลัดชู’ ตีพิมพ์ในหนังสือ ‘อาทมาต’
พ.ศ. 2548 คอลัมนิสต์ นิตยสาร GAMEMAG สำนักพิมพ์อนิเมทกรุ๊ป บทการ์ตูนเรื่อง “จอมซนผจญภัย” เล่ม 2 ตอน “ไปทะเลกันดีกว่า”
พ.ศ. 2549 เรื่องสั้นแนวลึกลับสยองขวัญนิตยสาร Shock Story บริษัทสยาม อินเตอร์มัลติมีเดีย จำกัด (มหาชน) อาทิเรื่อง มนต์นางกวัก เพรงบุญ สืบชะตา พินัยกรรมอำมหิต ฯลฯ
พ.ศ. 2546 ชนะการประกวดเรื่องสั้นกฎแห่งกรรมเรื่อง ‘บวชใช้บาป’ ตีพิมพ์ในหนังสือ ‘กรรมส่งตรงคนส่งกรรม’ สำนักพิมพ์กันตนา พับลิชชิ่ง จำกัด
พ.ศ. 2545 เรื่องสั้น ‘แม่มดพลัดถิ่น’ ตีพิมพ์ใน ‘การ์ตูนมหาสนุก รายสัปดาห์’ ฉบับที่ 580 (12-18 มิถุนายน 2545) หน้า 54-66
พ.ศ. 2544 เรื่องสั้นแนวสยองขวัญนิตยสาร ‘เรื่องผี’

ประวัติการเป็นวิทยากร[แก้]

เป็นวิทยากรบรรยายและผู้ร่วมเสวนาให้ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา
พ.ศ. 2562 นักวิจัยองค์ความรู้ด้านการเขียนบทโครงการ “นวัตกรรมละคร โทรทัศน์เพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรมไทย 4.0” โดยศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2562 คอร์สอบรม “เขียนบทอย่างไรให้ปัง: ศาสตร์และศิลป์แห่งบทละครโทรทัศน์ รุ่นที่ 3” จัดโดย DD Content
พ.ศ. 2562 คอร์สอบรม “เรื่องเล่ากับนักเล่าเรื่อง รุ่นที่ 3” จัดโดย DD Content
พ.ศ. 2561 อาจารย์พิเศษวิชา “ภาษาเพื่อการสื่อสาร” ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2561 ผู้บรรยายพิเศษหัวข้อ “การเขียนบทละครโทรทัศน์” คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
พ.ศ. 2561 วิทยากรคอร์สอบรม “การทำโครงเรื่อง ย่อเรื่องและการแต่งเสริมเติมพลอต” จัดที่โรงแรม KU HOME มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
พ.ศ. 2561 อาจารย์พิเศษบรรยายหัวข้อ “กว่าจะเป็น...บทละคร” คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (ศูนย์เทเวศร์)
พ.ศ. 2561 สัมภาษณ์รายการ “จับจ้องมองสื่อ ตอน ละครข้นคนดู (ไม่) จาง” จัดโดยสถานีวิทยุจุฬาฯ 101.5 MHz (CU Radio) คลื่นความรู้สู่ประชาชน
พ.ศ. 2561 วิทยากร “อ่าน เขียน พูดไทยอย่างถูกใจและถูกต้อง” จัดโดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
พ.ศ. 2561 คอร์สอบรม “เรื่องเล่ากับนักเล่าเรื่อง รุ่นที่ 2” จัดโดย DD Content
พ.ศ. 2561 วิทยากรงานสัมมนาปฏิบัติการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อสร้างสรรค์สื่อบันเทิง “ปั้นอดีตให้เป็นตัว” จัดโดยกสทช. และชมรมนักเขียนบทละครโทรทัศน์
พ.ศ. 2561 สัมภาษณ์รายการ “จับจ้องมองสื่อ ตอน ออเจ้าฟีเวอร์” จัดโดยสถานีวิทยุจุฬาฯ 101.5 MHz (CU Radio) คลื่นความรู้สู่ประชาชน
พ.ศ. 2561 วิทยากรโครงการอบรม “การเพิ่มพูนความรู้และพีฒนาทักษะการใช้ภาษาไทย” จัดโดยสำนักวิชาการศึกษาทั่วไปและนวัตกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
พ.ศ. 2560 ผู้เขียนบทรายการ “EduTech Tomorrow by Lannacom: 21st Century Tech Solutions to Empowering Higher Education” งานสัมมนาและนำเสนอสุดยอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21
พ.ศ. 2560 ผู้บรรยายพิเศษหัวข้อ “การเขียนบทละครโทรทัศน์” คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
พ.ศ. 2560 คอร์สอบรม “เรื่องเล่ากับนักเล่าเรื่อง” จัดโดย DD Content
พ.ศ. 2560 “เปิดตำราสามก๊ก” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
พ.ศ. 2560 “การเขียนบทหนังสั้นในหัวข้อ ‘Definition of Beauty’ นิยามแห่งความสวย” จัดโดยธนพรคลินิก
พ.ศ. 2559 “กระบวนการสร้างสรรค์บทละครโทรทัศน์ไทยในยุคปัจจุบัน” จัดโดยภาควิชาสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
พ.ศ. 2559 “การสร้างสรรค์บทการ์ตูนอนิเมชั่น” จัดโดยภาควิชาสื่อดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
พ.ศ. 2559 “ละครจักรๆวงศ์ๆบนเส้นทางที่แปรเปลี่ยน” จัดโดยคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
พ.ศ. 2558 “จากวรรณกรรม สู่ละครจอแก้วในยุคดิจิทัล” จัดโดยฝ่ายศูนย์การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.)
พ.ศ. 2558 “ละครยุคดิจิทัล ไม่ฮิต ไม่เปรี้ยง อยู่ไม่ได้จริงหรือ?” รายการ”คมชัดลึก” ออกอาการทางช่อง Nation TV
พ.ศ. 2558 เขียนอย่างไรเป็นหนังสือดี เป็นละครดัง" งาน "คิดอ่านเขียนฝัน ครั้งที่ 3" จัดโดยสำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์
พ.ศ. 2558 “เส้นทางเข้าสู่อาชีพนักเขียนบทโทรทัศน์รุ่นใหม่” จัดโดยภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2555 “เกิดเป็นอำแดง” จัดโดยฝ่ายสาระละคร สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
พ.ศ. 2554 “พัฒนาการและสุนทรียทัศน์ในการสร้างสรรค์บทละครในโทรทัศน์ไทย” จัดโดยสาขาสื่อสารการแสดง ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2552 “หลักสูตรการ์ตูนสร้างชาติ : เปิดมิติสังคมแห่งการเรียนรู้” ค่ายการ์ตูนทีเคการ์ตูนนิสต์ จัดโดยสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park) และสถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก

บทความและผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่[แก้]


พ.ศ.2554 พัฒนาการและสุนทรียทัศน์ในการสร้างสรรค์บทละครในโทรทัศน์ไทย
พ.ศ.2561 จินตนาการเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาครั้ง ‘บ้านเมืองยังดี’ ในละครโทรทัศน์เรื่อง ‘บุพเพสันนิวาส’
พ.ศ.2562
ปรากฏการณ์โหยหาอดีตยุคดิจิทัลในละคร ‘บุพเพสันนิวาส’
สุนทรียทัศน์ของผู้ชมชาวจีนที่มีต่อละครโทรทัศน์เรื่อง ‘บุพเพสันนิวาส’
พลและวัตและการสืบสานตำนานแม่นาคพระโขนงในสื่อบันเทิง


อ้างอิง[แก้]


พัฒนาการและสุนทรียทัศน์ในการสร้างสรรค์บทละครในโทรทัศน์ไทย.<ref>[1],
สุนทรียทัศน์ของผู้ชมชาวจีนที่มีต่อละครโทรทัศน์ เรื่อง “บุพเพสันนิวาส".<ref>[2]
สุนทรีย์ทัศน์ของผู้ชมชาวจีนที่มีต่อละครโทรทัศน์ เรื่อง“บุพเพสันนิวาส”.<ref>[3]
ท่องโลกอักษร - "กอล์ฟ สรรัตน์" กับบทพิสูจน์เส้นทางนักเขียนบทละครรุ่นใหม่.<ref>[4]
วิถีล่าฝัน ของ สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ นักเขียนบทละครโทรทัศน์เลือดใหม่.<ref>[5],
รายการ คมชัดลึก ผู้ร่วมรายการ นันทวรรณ รุ่งวงศ์พาณิชย์ นักเขียนบทละครโทรทัศน์ และสรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ นักเขียนบทละครโทรทัศน์ และพิชชาพัทธ อาจพงษา หัวหน้าข่าวบันเทิง เนชั่นทีวี.<ref>[6],
ศิลป์สโมสร ชวนพูดคุยถึงเบื้องหลังละคร “ปลายจวัก” ที่ออกอากาศทางไทยพีบีเอส กับผู้เขียนบทประพันธ์ “กอล์ฟ - สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์”.<ref>[7],
จากความเชื่อและแรงศรัทธาสู่บทละคร "เพลิงนาคา".<ref>[8].
Jutarat Karakate (คุย) 22:47, 27 มิถุนายน 2563 (+07)