ผู้ใช้:Jinapat/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เกาะเดจิมะเป็นเกาะเทียมเล็กๆ ถูกสร้างขึ้นในอ่าวนางาซากิเมื่อปี 1634 ด้วยการคุดคลองผ่านคาบสมุทรเล็กๆ เพื่อให้พ่อค้าชาวโปรตุเกสได้เข้ามาค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม จนเมื่อถึงปี 1638 ชาวโปรตุเกสก็ถูกขับไล่ออกไป และพวกดัตช์ก็เข้ามาแทนที่ โดยเกาะแห่งนี้เป็นสถานที่เดียวที่ญี่ปุ่นจะสามารถรับวิทยาการและวัฒนธรรมแบบตะวันตก ในช่วงก่อนปี 1854

ประวัติ[แก้]

ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและยุโรปเริ่มต้นขึ้นเมื่อกลุ่มพ่อค้าชาวโปรตุเกสเดินทางมาค้าขายที่ทาเนกาชิม่าในปี 1543 หกปีต่อมามิชชันนารีนิกายเยซูอิตฟรานซิสซาเวียร์ก็เดินทางได้มาที่เมืองคะเงะชิมะ ในตอนแรกชาวโปรตุเกสได้ตั้งหลักอยู่ที่เมืองฮิระโดะ แต่พวกเขาต้องการท่าเรือที่ดีกว่า ทำให้ในปี 1570 ไดเมียวโอมุระ ซุมิตะกะ ได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ และได้ทำข้อตกลงให้ชาวโปรตุเกสช่วยพัฒนาเมืองนะงะซะกิ ทำให้ท่าเรือสามารถเปิดทำการค้าขายได้ ต่อมาในปี 1580 ไดเมียวโอมุระ ซุมิตะกะ ได้มอบอำนาจศาลของนะงะซะกิให้กับนิกายเยซูอิต และชาวโปรตุเกสได้รับเอกสิทธิ์ที่จะทำการค้าไหมกับจีนผ่านมาเก๊า


ในปี 1634 โชกุนโทกุงะวะ อิเอะมิสึ มีคำสั่งให้สร้างเกาะเทียมขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพ่อค้าชาวโปรตุเกสที่อาศัยอยู่ในนะงะซะกิและขัดขวางการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของพวกเขา แต่หลังจากการจลาจลของประชากรส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาคริสต์ในชิมาบาระและอะมะคุสะ โชกุนตัดสินใจที่จะขับไล่ชาติตะวันตกทุกชาติออกไป ยกเว้นชาวดัทต์ที่ทำงานในบริษัท Dutch East India Company


ตั้งแต่ปี 1609 ชาวดัทต์ก็ได้ทำการค้าในฮิระโดะ พวกเขาได้รับอนุญาตให้ทำการค้าขายอย่างอิสระ อย่างเต็มที่ ร้านค้าในฮิระโดะกินพื้นที่ไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล จนเมื่อปี 1637 และ 1639 ก็ได้มีการสร้างคลังสินค้าหินขึ้นมาในร้านค้านี้อีก และการที่พวกเขาใช้หินในการก่อสร้างคลังสินค้านี้ ถูกก็นำมาใช้เป็นข้ออ้างในการทำลายสิ่งก่อสร้างในฮิระโดะและย้ายร้านค้าไปยังเมืองนะงะซะกิ


ในปี 1639 ชาวโปรตุเกสกลุ่มสุดท้ายก็ถูกขับไล่ออกจากญี่ปุ่นไป แต่นั้นก็ทำให้เดจิมะเริ่มที่จะล้มเหลวในการลงทุน และเมื่อไม่มีเรือโปรตุเกสที่ทำการค้าจากมาเก๊า เศรษฐกิจของนะงะซะกิได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก ถึงพวกเขาก็ยังสามารถอดทนได้ แต่ด้วยนโยบายอีกมากมายและยังเป็นศัตรูกับสเปนและโปรตุเกส ซึ่งทั้งสองประเทศก็ที่มีทั้งศาสนาและพื้นฐานทางการเมืองที่ต่างจากญี่ปุ่นมาก ชาวดัทต์เป็นคนกลุ่มเดียวที่ได้รับการยกเว้นจากการถูกขับไล่ แต่พวกเขาก็ถูกรัฐบาลญี่ปุ่นย้ายให้ไปอยู่ที่เดจิมะ


ตั้งแต่ปี 1641 มีเพียงเรือจีนและเรือดัทต์เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในญี่ปุ่นและมีทางเข้าเพียงทางเดียวคือท่าเรือนะงะซะกิ

Opperhoofd[แก้]

Janus Henricus Donker Curtius 1862

Opperhoofd เป็นภาษาดัตช์ความหมายว่าผู้ใหญ่บ้านสูงสุด เป็นคำที่ชาวญี่ปุ่นใช้เรียกผู้ที่ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าดูแลร้านค้าในเกาะแห่งนี้ ซึ่งมักจะเป็นชาวโปรตุเกสที่สืบเชื้อสายกันต่อๆมา เป็นตำแหน่งที่มีอำนาจเหมือนกับผู้ว่าการรัฐ

Opperhoofd ที่โดดเด่น

ชื่อ ช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
François Caron 3 กุมพาพันธ์ 1639 – 13 กุมพาพันธ์ 1641
Zacharias Wagenaer 1 พฤศจิกายน 1656 – 27 ตุลาคม 1657
Zacharias Wagenaer 22 ตุลาคม 1658 – 4 พฤศจิกายน 1659
Andreas Cleyer 20 ตุลาคม 1682 – 8 พฤศจิกายน 1683
Andreas Cleyer 17 ตุลาคม 1685 – 5 พฤศจิกายน 1686
Hendrik Godfried Duurkoop 23 พฤศจิกายน 1776 – 11 พฤศจิกายน 1777
Isaac Titsingh 29 พฤศจิกายน 1779 – 5 พฤศจิกายน 1780
Isaac Titsingh 24 พฤศจิกายน 1781 – 26 ตุลาคม 1783
Isaac Titsingh - มิถุนายน 1784 – 30 พฤศจิกายน 1784
Hendrik Doeff 14 พฤศจิกายน 1803 – 6 ธันวาคม 1817
Jan Cock Blomhoff 6 ธันวาคม 1817 – 20 พฤศจิกายน 1823
Janus Henricus Donker Curtius 2 พฤศจิกายน 1852 – 28 กุมพาพันธ์ 1860

อ้างอิง[แก้]