ผู้ใช้:Jarbman.PF/หน้าทดลอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สื่อในลิฟต์ หรือสื่อโฆษณาในลิฟต์ (Lift Media or Lift Media Advertisings) คือ สื่อโฆษณานอกบ้านประเภทหนึ่งที่ถูกติดตั้งไว้บริเวณพื้นที่รอลิฟต์และในห้องโดยสาร ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ผู้ใช้งานสามารถมองเห็นได้ตั้งแต่เดินผ่าน หยุดรอ และโดยสารลิฟต์ในการขึ้นลงอาคาร ตัวอย่างของรูปแบบโฆษณาในลิฟต์ เช่น โปสเตอร์ ดิจิทัลสกรีน และสติ๊กเกอร์โฆษณาขนาดใหญ่สำหรับติดทั่วห้องโดยสาร เป็นต้น

สื่อโฆษณาในลิฟต์[แก้]

สื่อโฆษณาในลิฟต์เป็นสื่อโฆษณานอกที่พักอาศัยที่สามารถเข้าถึงชีวิตประจำวันของผู้บริโภคได้อย่างแนบเนียน มีศักยภาพในการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างใกล้ชิดและมียอดการมองเห็นเฉลี่ยมากกว่า 5 ล้านครั้งต่อเดือน (ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้คนของสถานที่ที่มีการติดตั้งลิฟต์โดยสาร ยิ่งเป็นพื้นที่ที่มีการสัญจรจำนวนมาก ยิ่งสามารถมองเห็นได้มากขึ้น) เมื่อเก็บข้อมูลจากจำนวนประชากรที่มาใช้บริการหรือพักอาศัยในอาคารที่มีการติดตั้งลิฟต์ โดยผู้บริโภค 1 คน มีค่าเฉลี่ยในการใช้งานลิฟต์อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน และใช้เวลารอลิฟต์และโดยสารลิฟต์อย่างน้อย 3 - 5 นาที ต่อคน[1] สื่อในลิฟต์จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือของนักการตลาดที่สามารถช่วยสร้างการรับรู้แบรนด์ ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ หรือประชาสัมพันธ์โครงการต่าง ๆ ไปยังผู้บริโภคได้อย่างง่ายและมีความถี่สูง

ในมุมมองของนักการตลาด การสื่อสารผ่านสื่อโฆษณาในลิฟต์เปรียบเสมือนกับการสื่อสารกับ Captive Audiences[2] หรือผู้รับสารแบบเชลย เนื่องจากผู้โดยสารในลิฟต์จำเป็นต้องใช้เวลารอและโดยสารลิฟต์จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงข้อความจากการโฆษณาได้จนกว่าจะถึงชั้นปลายทาง ขณะเดียวกันในฝั่งของผู้บริโภค สื่อในลิฟต์สามารถช่วยเปลี่ยนช่วงเวลาขณะรอหรือโดยสารลิฟต์ให้กลายเป็นความบันเทิงจากเนื้อหาของแบรนด์ ช่วยลดความรู้สึกอึดอัดขณะอยู่ในที่แคบ ไม่ว่าจะเป็นการโดยสารลิฟต์เพียงลำพังหรือโดยสารร่วมกับผู้อื่น รวมถึงมีจุดวางสายตาไปที่โฆษณา มีเสียงดนตรีที่ช่วยทำลายความเงียบ และทำให้เกิดความรู้สึกว่าระยะเวลาในการใช้งานลิฟต์สั้นลงเนื่องจากถูกแทรกด้วยความบันเทิงจากโฆษณาได้อีกด้วย

ช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการใช้สื่อในลิฟต์เป็นเครื่องมือทางการตลาด คือ ช่วงที่ผู้ประกอบการกำลังเริ่มทำธุรกิจใหม่และต้องการให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก ช่วงที่แบรนด์กำลังนำสินค้าตัวใหม่เข้าสู่ตลาดและต้องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่กำลังจะออกมาไม่ว่าจะเป็นตัวผลิตภัณฑ์ ราคา สถานที่จัดจำหน่าย และโปรโมชัน ช่วงเวลาก่อนเริ่มแคมเปญทางการตลาดของตราสินค้า และช่วงที่กำลังดำเนินแคมเปญทางการตลาด เป็นต้น

ภายหลังการเผชิญกับโรคโควิด-19 มาเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 3 ปี ในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2566 องค์การอนามัยโลกประกาศว่าสถานการณ์ฉุกเฉินเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ได้ยุติลงแล้ว[3] ส่งผลให้ผู้บริโภคผ่อนคลายความกังวลและออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านตามปกติมากขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ต่างขยับตัวและฟื้นฟูกิจการ ทุ่มเงินลงทุนในการทำการตลาดมากกว่าเดิมส่งผลให้เม็ดเงินในตลาดโฆษณาสะพัดขึ้น โดยเฉพาะสื่อโฆษณานอกที่พักอาศัย ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวตั้งแต่ที่มีการปลดล็อคมาตรการล็อคดาวน์และผู้บริโภคออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านกันตามปกติ ถือเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบธุรกิจ ในการค้นหาเครื่องมือทางการตลาดรูปแบบอื่น ๆ นอกเหนือจากรูปแบบของโฆษณาออนไลน์ ที่เหมาะสมกับแบรนด์ของตนเองและสร้างการรับรู้ไปยังกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายได้อย่างตรงจุดและมีความถี่สูง

ปัจจุบันมีผู้ให้บริการสื่อโฆษณาในลิฟต์เพียงไม่กี่รายในประเทศไทย โดยบริษัท อัพ มีเดีย ไทยแลนด์ จำกัด เป็นบริษัทไทยที่จดทะเบียนรายแรกที่เชี่ยวชาญและให้บริการด้านสื่อในลิฟต์ บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 2565 และและดำเนินกิจการมาจนถึงปัจจุบัน[4]

  1. http://www.elevatordesigner.com/documents/02.pdf
  2. https://www.mbaskool.com/business-concepts/marketing-and-strategy-terms/11748-captive-audience.html
  3. "โควิด : องค์การอนามัยโลกประกาศยุติสถานการณ์ฉุกเฉินโควิด-19". BBC News ไทย. 2023-05-05.
  4. "HOME". Up↑Media (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).