ผู้ใช้:Jacobba

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระรอกบินเล็กแก้มขาว[แก้]

กระรอกบินเล็กแก้มขาว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Rodentia
วงศ์: Sciuridae
สกุล: Hylopetes
สปีชีส์: Hylopetes phayrei
ชื่อทวินาม
Hylopetes phayrei
(Blyth, 1859) [1]

กระรอกบินเล็กแก้มขาว (Phayre's Flying Squirrel) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในกลุ่มฟันแทะ(Rodents)ชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Sciuridae มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากกระรอกจำพวกอื่น คือ มีแผ่นหนังลักษณะคล้ายพังผืดที่บริเวณข้างลำตัวตั้งแต่ขาหน้าถึงขาหลัง

ข้อมูลทางชีววิทยา[แก้]

กระรอกบินเล็กแก้มขาว (อังกฤษ: Phayre's Flying Squirrel) ขนาดความยาวลำตัวและหัว 17 - 19 ซม. หางยาว 13 - 17 ซม. เป็นกระรอกบินขนาดกลาง ขนาดใหญ่กว่ากระรอกบินแก้มดง ตาค่อนข้างกลมและโต ลักษณะเด่นคือ ขนบริเวณแก้มมีสีขาว ขนหลังสีเทาหรือสีน้ำตาลเข้ม ด้านท้องมีสีขาวครีม ขนหางแบนเรียบสีเทาหรือสีน้ำตาลเข้ม[2] ถิ่นที่อยู่อาศัย ส่วนมากอยู่ในป่าดงดิบเขาระดับต่ำ และป่าเบญจพรรณในระดับความสูงไม่เกิน ๑, ๐๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล การกระจายพันธุ์พบตามแนวป่าตะวันตกเหนือคอคอดกระ ภาคเหนือ และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย [3] กระรอกบินผสมพันธุ์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน และจะออกลูกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม มีระยะเวลาตั้งท้องนาน 3-6 สัปดาห์ ตกลูกครั้งละ 1-2 ตัว ลูกอ่อนของกระรอกบินมีพัฒนาการที่ช้ามากเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นที่มีขนาดเท่ากัน ลูกอ่อนจะอยู่ภายใต้การดูแลของแม่ประมาณ 60-70 วัน เนื่องจากกระรอกบินอาศัยอยู่ในป่าที่มีเรือนยอดหนาทึบ และทำรังตามโพรงต้นไม้ ดังนั้นการบุกรุกทำลายป่าจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระรอกบินมีประชากรลดลงอย่างรวดเร็วมากกว่าการถูกล่า ถ้าต้องการอนุรักษ์สัตว์ชนิดนี้แล้ว ก็ควรที่จะช่วยกันรักษาป่าไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ศัตรูธรรมชาติของกระรอกบินมีหลายชนิด เช่น หมาไม้ นกเค้าแมว นกเหยี่ยว เป็นต้น[4]


ความสำคัญเชิงนิเวศวิทยา[แก้]

มีรายงานที่ชี้ให้เห็นว่า นอกจากบทบาทหน้าที่ในการทำให้ห่วงโซ่อาหารยามค่ำคืนเกิดความสมดุลแล้วการดำเนินชีวิตของบรรดากระรอกบินยังส่งผลต่อความสมบูรณ์ของผืนป่าอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะจากการช่วยผสมเกสรดอกไม้ป่าขณะที่มันกำลังกินน้ำหวาน การเลือกกินลูกไม้ป่าบางชนิดที่ถือเป็นการตัดแต่งลูกไม้จากช่อที่ดกเกินไปเพื่อให้ลูกที่เหลือเติบโตต่อไปอย่างสมบูรณ์ และเป็นการควบคุมไม่ให้มีพันธุ์ไม้บางชนิดเกิดขึ้นมากเกินไปในป่า นอกจากนี้การร่อนไปไหนต่อไหนเป็นระยะทางไกลๆของมันยังช่วยในการกระจายพันธุ์ไม้บางชนิด อย่างเช่นมะเดื่อ ไทร อีกด้วย [5]

ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของกระรอกบินกับสัตว์ในเครือญาติ[แก้]

แต่เดิมนักอนุกรมวิธานสัตว์ได้จัดให้อยู่วงศ์ Sciuridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับกระรอก (squirrels) เพราะมีความเชื่อว่า มีสายวิวัฒนาการจากบรรพบุรุษร่วมกับกระรอกแต่ภายหลังบางตำราได้จัดให้อยู่ในวงศ์ Pteromyidae เพราะว่ามีลักษณะข้อมือและการพยุงแผ่นหนังสำหรับร่อนเป็นจุด ที่ชี้ให้เห็นว่ามีสายวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษที่ต่างจากกระรอก และไม่ได้มีความสัมพันธ์กับสัตว์ที่มีแผ่นหนังสำหรับร่อนในกลุ่มอื่น ๆ [6]หลังจากนั้นมีการศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของกระรอกบินละญาติใกล้เคียงมากขึ้น เช่น มีการใช้ 12S rRNA ของ nuclear gene มาวิเคราะห์ พบว่ากระรอกบินมีสายสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการที่ใกล้ชิดกับกระรอกต้นไม้(tree squirrel)[7] โดยมีรายงานว่ากระรอกต้นไม้เริ่มเกิดขึ้น สมัยOligocene และ Miocene ส่วนกระรอกบินเริ่มมีการวิวัฒนาการแยกออกจากบรรพบุรุษกระรอกต้นไม้และเริ่มปรากฏในช่วงสมัย Eocene จากการศึกษาของThorington and Darrow’s (2000)และสร้างเป็นPhylogenetic tree พบว่า กระรอกบินในสกุล Hylopetes มีความใกล้ชิดทางวิวัฒนาการกับสกุลPetinomys มากที่สุด [8]

การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการของกระรอกบิน (Evolutionary adaptation of the Flying squirrel)[แก้]

การมีโครงสร้างในการร่อนบิน[แก้]

ลักษณะสำคัญของกระรอกบินคือ มีแผ่นหนังที่ปกคลุมด้วยขนที่อ่อนนุ่ม เชื่อมต่อระหว่างขาหน้ากับขาหลัง ละบริเวณขาหลังกับโคนหาง มีแผ่นหนังสำหรับร่อนจะทำหน้าที่คล้านร่มชูชีพ ส่วนหางทำหน้าที่บังคับทิศทางคล้ายกับหางเสือของเรือ ขณะที่กำลังร่อนอยู่ในอากาศ กระรอกบินสามารถเปลี่ยนทิศทางได้โดยการปรับมุมปะทะของแผ่นหนังละการเปลี่ยนตำหน่งของหาง เมื่อจะลงเกาะจะยกขาหน้าละหางขึ้น ทำให้ลำตัวตั้งตรง ซึ่งจะช่วยลดแรงกระแทกขณะลงเกาะ [9]จึงเป็นการเพิ่มความสามารถในการหลบหนีศัตรูละหาอาหารได้ดียิ่งขึ้นคลิปการกินอาหารละการร่อนบิน

โครงสร้างฟันละกรงเล็บที่ข็งรง[แก้]

สัตว์ในกลุ่มกระรอกมีฟันหน้าที่ใหญ่ และแข็งแรง อยู่สองคู่ อยู่ด้านบนหนึ่งคู่ และด้านล่างอีกหนึ่งคู่ ไม่มีฟันเขี้ยว ไว้ใช้กินอาหารที่หลากหลายเช่น พวกผลไม้ ใบไม้ ยอดไม้ รวมทั้งแมลง นอกจากนี้เท้าหน้าของกระรอกบินมี 4 นิ้ว เท้าหลังมี 5 นิ้ว แต่ละนิ้วมีเล็บที่โค้งและแข็งแรง ทำให้เกาะต้นไม้หรือกิ่งไม้ได้ดี [10]

ดวงตาขนาดใหญ่[แก้]

ตามีขนาดใหญ่ซึ่งเป็นลักษณะที่บ่งชี้ว่าเป็นสัตว์ที่ออกหากินในตอนกลางคืน ช่วยในการมองเห็นในเวลากลางคืน[11]

References[แก้]

  1. [ http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt?search_topic=TSN&search_value=632499]
  2. Charles M. ,Francis. 2008. A Field Guide to the Mammals of Thailand and South-East Asia. Editor or Krystyna Mager. Asia Books CO.,Ltd : Publishers(uk) Ltd.
  3. http://siamensis.org/category/tags/hylopetes-phayrei
  4. http://bicycle2011.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99/
  5. http://zooacademy.wordpress.com/2011/12/21/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B3/
  6. http://bicycle2011.com/กระรอกบิน/
  7. http://tolweb.org/Sciuridae
  8. Richard W. Thorington, Jr., Diane Pitassy, and Sharon A. Jansa. 2002.Phylogenies of Flying Squirrels (Pteromyinae). Journal of Mammalian Evolution, Vol. 9, No. 1/ 2.< http://link.springer.com/article/10.1023%2FA%3A1021335912016#page-1>
  9. http://bicycle2011.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99/
  10. http://student.nu.ac.th/aomtato/web/2_.html
  11. http://bicycle2011.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99/