ผู้ใช้:JUTATIP WONGTUM/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สภาท้องถิ่น[แก้]

ที่มาของสภาท้องถิ่น[แก้]

  สภาท้องถิ่นเป็นองค์กรที่มีความสำคัญต่อการปกครองท้องถิ่น เนื่องจากมีภารกิจหน้าที่หลายอย่างเกี่ยวกับกิจการในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งสภาท้องถิ่นได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในท้องถิ่น[1]

ความสำคัญของสภาท้องถิ่น[แก้]

  สภาท้องถิ่นเป็นสภาเดียวที่ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ การควบคุมการบริหาร รวมถึงติดตามและตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารให้เป็นไปตามนโยบาย และยังมีบทบาทในการสร้างความสัมพันธ์กับประชาชน โดยทำหน้าที่สะท้อนความคิดเห็นของประชาชน แลกเปลี่ยนข้อมูล รวมไปถึงเป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างองค์กรกับประชาชน ซึ่งหัวใจสำคัญของการบริหารงานของสภาท้องถิ่นคือการมีกลไกตรวจสอบและถ่วงดุลที่เข้มแข็ง เพื่อควบคุมอำนาจ และป้องกันการใช้อำนาจเกินขอบเขตขององค์กรปกครองท้องถิ่น

ลักษณะของสภาท้องถิ่น[แก้]

  สภาท้องถิ่นมีลักษณะเป็นองค์กรนิติบัญญัติ มีภารกิจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ภารกิจของสภาท้องถิ่น[แก้]

ภารกิจหน้าที่ของสภาท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่[แก้]

  1. ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับเทศบัญญัติ หรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย หรืองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมภายในองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น
  2. ตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารในส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามแผนพัฒนาตามที่กฎหมายและระเบียบได้กำหนดไว้ และปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  3. พิจารณางบประมาณอย่างรอบคอบตามขั้นตอนกฎหมาย

สมาชิกสภาท้องถิ่น[แก้]

  สภาท้องถิ่นเป็นองค์กรนิติบัญญัติ ดังนั้นสมาชิกสภาท้องถิ่นขึงมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ โดยสมาชิกสภาท้องถิ่นนี้ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ซึ่งผู้ที่มีสิทธิ์ลงรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
  1. มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
  3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับสมัครเลือกตั้ง หรือได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือภาษีว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นเวลาติดต่อกัน 3 ปี นับถึงปีที่สมัครรับเลือกตั้ง
  4. มีคุณสมบัติอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด[2]
  นอกจากคุณสมบัติที่ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นควรมีแล้ว ยังมีลักษณะต้องห้ามของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป้นสมาชิกสภาท้องถิ่น ซึ่งถือว่าหากผู้ใดมีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ ถือว่าบุคคลนั้นย่อมไม่มีสิทธิ์ในการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น ลักษณะต้องห้ามมีดังต่อไปนี้
  1. เป็นผู้เสพยาเสพติดให้โทษ
  2. เป็นบุคคลล้มละลาย
  3. เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามมาตรา 34 (1) (2) หรือ (4) ตามพระราชบัญญัติฯ นี้
  4. เป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล
  5. ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป และได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยความประมาท
  6. ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะได้รับโทษหรือไม่ โดยได้พ้นโทษหรือต้องคำพิพากษามายังไม่ถึง 5 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง แล้วแต่กรณี
  7. เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงการราชการ
  8. เคยต้องคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือร่ำรวยขึ้นผิดปกติ
  9. เคยถูกถอนออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้แทนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี มายังไม่ถึง 5 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง
  10. อยู่ในระหว่าเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นตามมาตรา 37 หรือตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
  11. เคยถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง มายังไม่ถึง 1 ปีนับแต่วันที่คณะกรรมการเลือกตั้งมีคำสั่ง อันเนื่องมาจากการกระทำโดยไม่สุจริต ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับเลือกตั้ง หรือได้รับเลือกตั้งมาโดยไมาสุจริต
  12. เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
  13. เป้นผู้สมัครรับเลืแกตั้งเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา หรือเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกันหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
  14. เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่ง และมีเงินเดือนประจำ
  15. เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
  16. เป็นกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการสิทธิมนุษย์แห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
  17. ลักษณะอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด[3]
  สำหรับการเข้าสู่ตำแหน่งของสมาชิกสภาท้องถิ่นนั้น จะมีการพิจารณาตามหลักกฎหมาย นั่นก็คือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งท้องถิ่น และกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และในส่วนของการสิ้นสุดสภาพของการเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือการพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งในส่วนนี้ได้มีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจนในกฎหมายการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทบาทของสมาชิกสภาท้องถิ่น[แก้]

  บทบาทของสมาชิกสภาท้องถิ่น มีบทบาทในการดำเนินงานหลักๆ 3 บทบาท ได้แก่ บทบาททางด้านนิติบัญญัติ บทบาททางด้านความสัมพันธ์ในการบริหารงาน และบทบทาทางด้านความสัมพันธ์กับประชาชน


บทบาททางด้านนิติบัญญัติ[แก้]

  สมาชิกสภาท้องถิ่นสามารถเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นสู่การพิจารณาของสภาท้องถิ่น ในกรณีที่เห็นว่าเรื่องนั้นจำเป็นต้องมีการกฎหมายออกมาบังคับ และสมาชิกสภาท้องถิ่นมีบทบาทในการพิจารณาร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น ที่เสนอโดยฝ่ายบริหารและประชาชน ซึ่งในปัจจุบันช่องทางในการเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นสู่การพิจารณา สามารถทำได้ 3 ทาง คือ เสนอโดยสมาชิกสภาท้องถิ่น เสนอโดยฝ่ายบริหาร และเสนอโดยประชาชน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ.2542 ให้สิทธิผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกินกว่ากึ่งหนึ่ง สามารถเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นสู่การพิจารณาของสภาท้องถิ่นได้[4]

บทบาททางด้านความสัมพันธ์ในการบริหารงาน[แก้]

  คือการควบคุมการบริหาร รวมถึงการติดตามและตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารให้เป็นไปตามนโยบาย ทั้งนี้เพื่อถ่วงดุลอำนาจการทำงานของฝ่ายบริหาร ซึ่งหลักการบริหารงานของสภาท้องถิ่นที่สำคัญ คือ มีกลไกตรวจสอบ และถ่วงดุลที่เข้มแข็ง เพื่อนควบคุมอำนาจ และป้องกันการใช้อำนาจเกินขอบเขต

บทบาททางด้านความสัมพันธ์กับประชาชน[แก้]

  สมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ดังนั้นจึงมีความจำเป้นที่จะต้องดำเนินบทบาทในฐานะที่เป็นตัวแทนของประชาชน โดยทำหน้าที่สะท้อนปัญหา ความต้องการ และความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ รวมไปถึงเป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสาร และการกระจายข้อมูลข่าวสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประชาชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

จุดอ่อนของสภาท้องถิ่นไทย[แก้]

  ในขั้นตอนพิจารณางบประมาณของสภาท้องถิ่น และในการพิจารณางบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติอยู่จริง กับขั้นตอนกระบวนการที่กำหนดไว้ตามกฎหมายยังไม่สอดคล้องกันมากนัก ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องงถิ่นส่วนใหญ่ในประเทศไทยยังมีการปฏิบัติงานไม่สอดคล้องกับขั้นตอนกระบวนการที่กฎหมายกำหนดไว้ และมีเพียงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนน้อยเท่านั้น ที่มีการปฏิบัติตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดไว้ครบทุกขั้นตอน

จุดแข็งของสภาท้องถิ่นไทย[แก้]

  สมาชิกสภาท้องถิ่น ซึ่งได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ดังนั้นการดำเนินงานของสภาท้องถิ่นจึงตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของประชาชนอย่างตรงจุด[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. วรารัตน์ จารนาเพียง. (2553). วารสารบริหารท้องถิ่น. จังหวัดขอนแก่น. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. หน้า 57
  2. อรทัย ก๊กผล. (2551). คู่มือสมาชิกสภาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ธรรมดาเพลส จำกัด. หน้า 31
  3. บัญญัติ พุ่มพันธ์. (2554). รวมกฎหมายเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ. บริษัท เอ็กเปอร์เน็ท จำกัด. หน้า 229
  4. ณรงค์ เกียรติคุณวงศ์. (2559). รวมพระราชบัญญัติและคำพิพากษาที่เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เล่มที่1. จังหวัดขอนแก่น. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. หน้า 50
  5. โกวิทย์ พวงงาม. (2554). การปกครองท้องถิ่นว่าด้วยทฤษฎี แนวคิด และหลักการ. กรุงเทพฯ. บริษัท ส.เอเชียพาส(1989) จำกัด. หน้า 73