ผู้ใช้:Inf233infantry/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 23 ประวัติ กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๒๓ ๑. ที่ตั้งหน่วย

          กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่  ๒๓  ที่ตั้งปกติ ค่ายวีรวัฒน์โยธิน  ถนนสุรินทร์ - ปราสาท   

ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ มีพื้นที่ ๗,๔๐๓ ไร่ ๒. ประวัติความเป็นมาของหน่วย เมื่อ ปี ๒๔๘๓ ประเทศไทยเกิดกรณีพิพาทในสงครามอินโดจีนกองทัพไทยได้ขยายกำลังเพื่อปฏิบัติภารกิจในการป้องกันประเทศและในจำนวนกองพลต่าง ๆ มีกองพลสุรินทร์ซึ่งได้แยกกำลังส่วนหนึ่งออกจากกองทัพบูรพาตั้งอยู่ที่จังหวัดสุรินทร์โดยมี พันเอกวีรวัฒน์โยธิน เป็นผู้บัญชาการกองพล ต่อมากองพลสุรินทร์ ได้แปรสภาพเป็นกรมทหารราบที่ ๘ และจังหวัดทหารบกสุรินทร์ เมื่อปลาย เดือน กรกฎาคม ปี ๒๔๘๕ สงครามมหาเอเชียบูรพาได้ปะทุขึ้นทางด้านพายัพหน่วยทหารต่าง ๆ ของไทยได้ส่งกำลังเข้าร่วมปฏิบัติการรบได้แยกกำลังขึ้นไปปฏิบัติการรบในแขวงเมืองเชียงตุงกำลังที่เหลือบางส่วนทำหน้าที่รักษาค่ายและเรียกพลเข้ารับการฝึกเป็นกำลังทดแทน ต่อมา เมื่อปี ๒๔๘๖ กำลังส่วนที่เหลือของกรมทหารราบที่ ๘ ดังกล่าว ได้เรียกเกณฑ์และระดมพลเพิ่มขึ้น จึงได้ขยายกำลังออกแล้วย้ายไปประจำที่จังหวัดอุดรธานีตั้งเป็นกรมทหารราบ ที่ ๑๐๘ ส่วนกำลังที่เหลืออยู่ที่จังหวัดสุรินทร์ได้ใช้ชื่อหน่วยว่า ร.พัน.๑๘ ขึ้นบังคับบัญชากับ พล.๓ จังหวัดนครราชสีมา ต่อมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี ๒๔๘๙ กรมทหารราบที่ ๘ ได้เคลื่อนย้ายหน่วยกลับมาประจำที่จังหวัดสุรินทร์ ภายหลังสงครามสงบลงได้แปรสภาพหน่วย เป็น ร.๓ พัน.๒ และถูกยุบหน่วยเพื่อทำการปลด ปล่อยทหารให้กลับภูมิลำเนา ต่อมาเมื่อ ปี ๒๔๙๑ กองทัพบกได้ปรับปรุงอัตราการจัดหน่วยทหารแล้วเสร็จ และมีแนวความคิดในการจัดตั้งหน่วยทหารที่จังหวัดสุรินทร์ขึ้นอีกครั้ง โดยอาศัยพื้นที่เดิมด้านทิศตะวันตกของถนนสายสุรินทร์ – ปราสาท ริมฝั่งหนองศาลายาวไปทางทิศใต้แล้วทำการสร้างอาคารโรงทหารซึ่งทำด้วยไม้ทุบเปลือกหลังคามุงด้วยจาก เมื่อปี ๒๔๙๓ หน่วย ร.๑๖ พัน.๑ จังหวัดอุบลราชธานี ได้เคลื่อนย้ายหน่วยเข้าประจำที่ จังหวัดสุรินทร์ โดยได้เปลี่ยนนามหน่วยเป็นจังหวัดทหารบกสุรินทร์ และ ร.๑๖ พัน.๑ เป็นกองพันอิสระขึ้นตรงต่อ พล.๖ และได้เปลี่ยนนามหน่วยเป็น ร. ๖ พัน.๓ เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ปี ๒๔๙๕ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ปี๒๔๙๗ ได้เปลี่ยนนามหน่วยเป็น ร.๓ พัน.๓ ขึ้นการบังคับบัญชากับ ร.๓ จังหวัดนครราชสีมา และเมื่อเดือน พฤศจิกายน ปี ๒๔๙๘ ได้เปลี่ยนหน่วยเป็น กรมผสมที่ ๓ ร.พัน.๓ ต่อมาเมื่อ วันที่ ๒ พฤศจิกายนปี ๒๕๑๘ เปลี่ยนเป็น กรมผสมที่ ๒๓ ร.พัน.๓ ขึ้นการบังคับบัญชากับกรมผสมที่ ๒๓ และเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคมปี ๒๕๒๒ กองทัพบกได้มีคำสั่งให้แปรสภาพจาก กรมผสมที่ ๒๓ ร.พัน.๓ เป็น ร.๒๓ พัน.๓ จึงยึดถือวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันสถาปนาหน่วยสืบมาจนถึงปัจจุบัน ๓. การจัดตั้งหน่วยปัจจุบัน (อจย.๗ - ๑๕ พัน.ร. ลง ๒๕ ก.พ.๕๒)

	๓.๑ บก. และ ร้อย.สสก. (อจย. ๗ – ๑๖ ลง ๒๕ ก.พ.๕๒)

๔. การเปลี่ยนแปลงนามหน่วย ดังนี้.-

	๔.๑ เริ่มจัดตั้ง พ.ศ.๒๔๘๓                           นามหน่วย ร.พัน.๘
	๔.๒ ปรับการบังคับบัญชาครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๔๘๓	นามหน่วย ร.๑๖ พัน.๑
	๔.๓ ปรับการบังคับบัญชาครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๙๔	นามหน่วย ร.๖ พัน.๓
	๔.๔ ปรับการบังคับบัญชาครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๔๙๗	นามหน่วย ร.พัน.๓
	๔.๕ ปรับการบังคับบัญชาครั้งที่ ๔ พ.ศ.๒๔๙๘	นามหน่วย ผส.๓ ร.พัน.๓
	๔.๖ ปรับการบังคับบัญชาครั้งที่ ๕ พ.ศ.๒๕๑๘	นามหน่วย ผส.๒๓ ร.พัน.๓

ปรับการบังคับบัญชาครั้งที่ ๖ พ.ศ.๒๕๒๒ นามหน่วย ร.๒๓ พัน.๓ ๕. เกียรติประวัติของหน่วย

	๕.๑ เกียรติประวัติครั้งที่สำคัญ
       		ครั้งที่ ๑ การปฏิบัติของ ร.พัน.๘ กรม.ร.๘ (ร.๒๓ พัน.๓ เมื่อเริ่มจัดตั้ง) สามารถเข้าตีดอยเหมย    ซึ่งเป็นฐานทัพของจักรภพอังกฤษ หน่วยหนึ่งอยู่ในพื้นที่เมืองเชียงตุง สหรัฐไทยเดิมไว้ได้เมื่อวันที่ ๕ พ.ค.  พ.ศ.๒๔๘๕ เวลา ๐๔๐๐ โดยบุกเข้าล้อมอย่างจู่โจมสามารถทำลายข้าศึกก่อนแตกพ่ายไปและยึดพื้นที่ไว้ได้เมื่อ ๐๖๐๐ 
       		ครั้งที่ ๒ การปฏิบัติ ของ ร.พัน.๑๘   ในการเข้าตีเป็นส่วนหนึ่งของ กรม.ร.๘  สามารถยึดเมืองเชียงตุง  ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสหรัฐไทยเดิมไว้ได้  เมื่อเช้าตรู่ของวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๘๕  และยึดรักษาไว้นานถึง  ๕ เดือน  โดยสามารถป้องกันและขัดขวางไม่ให้ข้าศึกเข้าตีกลับคืนไปได้
     		ครั้งที่ ๓ การปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ของ ร้อย.ร.ของ ร.๒๓ พัน.๓  ซึ่งขึ้นบังคับบัญชากับ ชค.๒๓  เมื่อปี  ๒๕๑๘  - ๒๕๑๙  ร.ต.เฉลิมพล   เงินศรี   ขณะนั้นเป็น  ผบ.มว.ปล.  ได้นำกำลังออกลาดตระเวนและได้ปะทะกับกำลังของ ผกค.ประมาณ ๒๐-๓๐ คน บริเวณดงพระเจ้า อ.สว่างแดนดิน  จ.สกลนคร ผลการปะทะ ร.ต.เฉลิมพล ฯ  ได้ปฏิบัติการนำหน่วยอย่างกล้าหาญ  จนได้เสียชีวิตไปในระหว่างปะทะ แต่ทำให้หน่วยสามารถสังหาร ผกค.ได้หลายศพ และยืดยุทโธปกรณ์ได้จำนวนมาก ต่อมาภายหลัง              ร.ต.เฉลิมพล   เงินศรี  ได้รับพระราชทานเลื่อนยศ เป็น ร.อ. และได้รับพระราชทานเหรียญรามาธิบดี เพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลสืบไป
    		ครั้งที่ ๔  ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๒๕  ร.๒๓ พัน.๓  ได้จัดกำลัง  ๑  ร้อย.ร.  ขึ้นการบังคับบัญชากับ กกล.รบร่วม ร.๒๓ ภารกิจป้องกันชายแดนและต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ในพื้นที่รับผิดชอบของ กกล.รบร่วม ร.๒๓ ตั้งแต่ชายแดนกัมพูชาด้านสุรินทร์ถึงอำเภอบ้านกรวด อำเภอละหานทราย  และ กิ่งอำเภอประคำ  จังหวัดบุรีรัมย์   และในการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ อ.ละหานทราย ร้อย.ร. ของ ร.๒๓  พัน.๓  ได้เข้าร่วมปฏิบัติทางการทหาร  ตามแผนของ พตท. ๒๐๒๑  มีผลทำให้สามารถขัดขวางและปิดเขต  การดำเนินการของ ผกค. เขตงาน ๓๐  ลงไปได้ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐   และเป็นผลให้ พตท.๒๐๒๑ สามารถส่งมอบพื้นที่รับผิดชอบคืนให้กับ กอ.รมน.สุรินทร์  ได้ในเวลาต่อมาส่วนในพื้นที่                 อ.ละหานทราย นั้น  ได้ส่งกำลัง ๑ ร้อย.ร. เข้าร่วมปฏิบัติการทางการทหารกับ  พตท. ๒๐๒๑   และสามารถเข้ายึดทำลายกำลังและฐานที่มั่นของ ผกค.เขต  ๒๐๓  บริเวณเขาสกล หรือเขาเนินหิน  ได้ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๓ และสามารถปิดเขตการดำเนินงานของ ผกค. เขตงานของ ๒๐๓ ลงไปได้ผลให้ พตท.๒๐๒๑  สามารถส่งมอบพื้นที่รับผิดชอบกลับคืนให้กับ  กอ.รมน.จว.บ.ร.  ได้ในเวลาต่อมา ซึ่งการปฏิบัติการของหน่วยดังกล่าวได้สร้างความสูญเสียทางยุทธศาสตร์ให้กับ ผกค. อย่างมากมาย จนอาจกล่าวได้ว่า ผกค.สูญเสียพื้นที่อิทธิพลในเขต จ.สุรินทร์ และ จ.บุรีรัมย์ ไปอย่างสิ้นเชิง  

ครั้งที่ ๕ การปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบในกรุงเทพมหานคร ระหว่างห้วงระยะ ๑ – ๓ เม.ย.๒๔ เนื่องจามีคณะผู้นำทางทหารกลุ่มหนึ่งได้ใช้กำลังก่อความไม่สงบขึ้นในกรุงเทพมหานคร ร.๒๓ ได้สั่งการให้ ร.๒๓ พัน.๓ จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร. เคลื่อนย้ายด้วยยานยนต์ เข้าที่รวมพล ณ บก.ร.๒๓ ค่ายเฟรนชีพ จ.นครราชสีมา ๐๑๐๓๐๐ เม.ย.๒๔ ปฏิบัติการร่วมกับ ร้อย.ร.ของกองพันใน ร.๒๓ จัดเป็น พัน.ร ของกองพันใน ร.๒๓ จัดเป็น พัน.ร.ฉก. ขึ้น พัน.ร.ฉก. ได้รับการสนับสนุนการเคลื่อนย้ายทางอากาศเครื่องบิน ซี – ๑๓๐ จากสนามบินกองบิน ๑ นครราชสีมา ไปเข้าที่รวมพลขั้นสุดท้ายที่กองบินน้อยที่ ๖ ดอนเมือง กทม. เมื่อ ๐๒๐๕๐๐ เม.ย.๒๔ หลังจากนั้นได้ทำการเคลื่อนย้ายด้วยยานยนต์ไปยังพื้นที่ฝ่ายก่อความไม่สงบยึดไว้ และได้เข้ายึดพื้นที่และสถานการณ์ที่สำคัญของทางราชการกลับคืนมา ได้อย่างรวดเร็ว ภายใน ๒ เม.ย.๒๔ ในการร่วมปฏิบัติการแก้ไขเหตุการณ์ไม่สงบครั้งนี้ หน่วยได้ปฏิบัติการด้วยความสุขุมรอบคอบโดยไม่ได้เสียชีวิตและเลือดเนื้อ เนื่องจาก ผบ.หน่วย เตือนผู้บังคับบัญชาทุกคนได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสำนึก และตระหนักในหน้าที่ จึงทำให้เหตุกลับคืนเข้าสู่ภาวะปกติ ได้ในวันที่ ๓ เม.ย.๒๔ การปฏิบัติของหน่วยเป็นส่วนประกอบอันหนึ่งที่ทำให้ กองทัพภาคที่ ๒ ได้รับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่หน่วยที่เข้าร่วมปฏิบัติการเพื่อความสงบสุขของประเทศในครั้งนี้ ๕.๒ การปฏิบัติราชการสนามอดีต – ปัจจุบัน

พ.ศ.๒๕๐๗ – พ.ศ.๒๕๑๑จัดชุดปฏิบัติการพิเศษที่ ๒๓ ที่ ต.บ้านพลวง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ และ ต่อมาย้ายชุดปฏิบัติการไปปฏิบัติการในพื้นที่ จ.นครราชสีมา - จัดกำลัง ๑ มว.ปล. ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ บริเวณ ทม.๑๑ บ.หินโดนดง กิ่ง อ.ประคำ จ.บุรีรัมย์ สามารถทำให้หน่วยเหนือบรรลุภารกิจได้ พ.ศ.๒๕๑๑ - จัดกำลังพลบางส่วนอาสาสมัครรบร่วมกับพันธมิตรในกองพล อสส. ณ ประเทศสาธารณรัฐเวียดนามใต้ พ.ศ.๒๕๑๒ - จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร. ร่วมกับ ร้อย.ร. ร.๓ พัน.๒ โดยควบคุมทางยุทธการกับ ฉก.๑๒๓ ปฏิบัติการบริเวณ ทม.๑๑ และจัด ๑ ร้อย.ร. ประจำศูนย์เฝ้าตรวจชายแดน อ.บ้านแพง จ.นครพนม พ.ศ.๒๕๑๓ – พ.ศ.๒๕๑๕- จัดกำลังบางส่วนอาสาสมัครร่วมรบ กับ สัมพันธมิตร ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ.๒๕๑๗- จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร.ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ “แผนประชาชัย” พื้นที่ อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ พ.ศ.๒๕๑๘ – พ.ศ.๒๕๑๙- จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร. ปฏิบัติงานร่วมกับ ชค.๒๓ อ.สว่าง-แดนดิน จ.สกลนคร และจัดกำลังเข้ากับศูนย์เฝ้าตรวจชายแดน พ.ศ.๒๕๒๐- จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร. ๑ มว.ป้องกัน ร่วมกับ บก.กองกำลังร่วมรบ ร.๒๓ - จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร. ปฏิบัติการต่อสู้ เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ บ.โนนดินแดง อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ - จัดกำลังพลบางส่วนปฏิบัติงานในกองบัญชาการผสม พลเรือน ตำรวจ ทหาร ๒๐๒๑ ณ บก.ชั่วคราว ชั้นบนของ บก.ร.๒๓ พัน.๓ พ.ศ.๒๕๒๑ – พ.ศ.๒๕๒๓- จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร. และกำลังพลบางส่วนร่มปฏิบัติงาน ภายใต้การควบคุมของ พตท.๒๐๒๑ และจัดทำกำลังพลบางส่วนหมุนเวียนปฏิบัติหน้าที่ จนท.โครง ของ ร้อย. อสจ.สุรินทร์ พ.ศ.๒๕๒๔- จัดกำลัง ๑ ร้อย ร. ๑ มว. ป้องกัน ๑ ตอน ปรส.๑๐๖ ร่วมกับ กองกำลังรบร่วม ร.๒๓ - จัดกำลังบางส่วนปฏิบัติหน้าที่ชุด จนท.โครง อาสาสมัครทหารพราน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๓ จนถึงปัจจุบัน เม.ย.๒๕๒๔- จัดกำลัง ๑ ร้อย.อวบ. ร่วมกับร้อย.อวบ. จาก ร.๖ และ ร.๒๓ ปฏิบัติการภายใต้คำสั่งของ กองทัพภาคที่ ๒ เพื่อรักษาความสงบภายในเขต จ.กรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๒๕- จัดกำลัง ๑ พัน.ร. ขึ้นการควบคุมทางยุทธการ กับ บก.กกล.ร่วมรบ ร.๒๓ ตามแผนปี ๒๕ พ.ศ.๒๕๒๖- จัด ๑ ร้อย.ร. ๑ มว.ป้องกัน ๑ ตอน ปรส.๑๐๖ มม. ร่วมกับ บก.กกล.ร่วมรบ ร.๒๓ มี.ค.๒๗ – เม.ย.๒๗- จัดกำลัง ๑ พัน.ร.ผสม เข้าร่วมปฏิบัติการตอบโต้ ผลักดันกำลังทหารเวียดนาม ที่รุกล้ำอธิปไตยบริเวณ ช่องพระพะลัย อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ เม.ย.๒๗ – ต.ค.๒๗- จัดกำลัง บก.ชค.๒๓๓ ๑ ร้อย.อวบ.เข้าร่วมปฏิบัติการกับ ฉก.๒๓๑ ในพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา ด้าน จ.สุรินทร์ เพื่อปกป้องและแจ้งเตือนข่าวสารการรุกล้ำอธิปไตย ของประเทศบริเวณช่องพริก พ.ศ.๒๕๒๗- จัดกำลัง ๒ ร้อย.อวบ. ขึ้นควบคุมบังคับบัญชา กับ กกล. รบร่วมและปฏิบัติการร่วมกับ พัน.ร.ฉก.๒๓๑ ตอบโต้ ผลักดันค้นหาและช่วยชีวิตกำลังฝ่ายเรา ที่ถูกทหารฝ่ายเวียดนามโจมตี ที่ บริเวณช่องพริก ทิศใต้ บ.ตระเวง อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ พ.ศ.๒๕๒๘- ร.๒๓ พัน.๓ ร่วมกับ ร.๖ , พล ร.๓ และกองพันสัตว์ตางๆ เข้าทำการผลักดัน กกล. ต่างชาติบริเวณเนิน ๓๑๖ บ.ตาตูม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ พ.ศ.๒๕๓๐- จัดกำลัง ๒ ร้อย.ร. ๑ มว.ปล.อาสาสมัคร สมทบให้กับ ฉก.พัน.ร.๒๓๔ เข้าทำการผลักดัน กกล.ต่างชาติในพื้นที่ ช่องบก อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี พ.ศ.๒๕๓๒- จัดกำลัง ๑ ร้อย.บก.สนับสนุน กกล.สุรนารี พ.ศ.๒๕๓๓- จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร. เป็น พัน.ร.ผสม เตรียมพร้อม ของ ทภ.๒ พ.ศ.๒๕๓๔- จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร. ปฏิบัติการในพื้นที่ ช่องโอบก อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ พ.ศ.๒๕๓๗- จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร. ปฏิบัติการในพื้นที่ อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ พ.ศ.๒๕๓๙- จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร. ปฏิบัติการในพื้นที่ อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ พ.ศ.๒๕๔๑- จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร. ปฏิบัติการในพื้นที่ อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ พ.ศ.๒๕๔๒- จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร. ปฏิบัติการในพื้นที่ อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ พ.ศ.๒๕๔๓- จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร. ปฏิบัติการในพื้นที่ อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ พ.ศ.๒๕๔๕- จัดกำลัง ๑ พัน.ร.ผสม ปฏิบัติการในพื้นที่ อ.พบพระ และ อ.อุ้มผาง จ.ตาก พ.ศ.๒๕๕๐- จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร.สมทบ ร.๒๓ พัน.๑ ปฏิบัติการในพื้นที่ จชต. จ.ปัตตานี พ.ศ.๒๕๕๒- จัดกำลัง ๑ พัน.ร. ปฏิบัติการในพื้นที่ จชต. จ.ปัตตานี พ.ศ.๒๕๕๓ – พ.ศ.๒๕๕๔- จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร. สมทบ ร.๒๓ พัน.๑ ปฏิบัติการในพื้นที่ บ.ภูมิซลอน ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ พ.ศ.๒๕๕๔- จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร.สมทบ ร.๒๓ พัน.๔ ภารกิจป้องกันประเทศ ด้าน อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ พ.ศ.๒๕๕๔ – พ.ศ.๒๕๕๕- จัดกำลัง ๒ ร้อย.ร. ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศตามแนวชายแดน ไทย – กัมพูชา ด้าน อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์- จัดกำลัง ๑ พัน.ร. (พัน.ร.๒๓๓) ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศตามแนวชายแดน ไทย – กัมพูชา พื้นที่ช่างกร่าง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ พ.ศ.๒๕๕๖ - จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร. สมทบ ร.๒๓ พัน.๑ ภารกิจป้องกันประเทศตามแนวชายแดน ไทย – กัมพูชา พื้นที่ปราสาทตาเมือน อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ พ.ศ.๒๕๕๗ – พ.ศ.๒๕๕๘ - จัดกำลัง ๑ พัน.ร.(พัน.ร.๒๑) ภารกิจป้องกันประเทศตามแนวชายแดน ไทย – กัมพูชา พื้นที่ปราสาทตาเมือน อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ผลการปฏิบัติที่สำคัญ เมื่อ วันที่ ๕ มี.ค.๒๘ เวลาประมาณ ๐๕๑๘ ทหารเวียดนาม กำลังประมาณ ๑ กองพันเพิ่มเติมกำลัง ๕๐๐ – ๗๐๐ ได้เข้าตีฐานปฏิบัติการ ร้อย.ร.๒๓๓๒ ที่บริเวณเนิน ๓๖๑ ทิศใต้ของ บ.ตาตุม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ การเข้าตีกระทำภายใต้การสนับสนุนของอาวุธในอัตราทุกชนิดและอาวุธเพิ่มเติมเป็นระลอกๆ ติดต่อกัน ๕ – ๖ ระลอก ตั้งแต่ ๐๕๐๕๑๕ มี.ค.๒๘ – ๐๖๐๓๐๐ มี.ค. ๒๘ กำลังฝ่ายเราได้กระทำการตอบโต้อย่างเหนียวแน่น พร้อมทั้งร้องขอการยิงของปืนใหญ่ และกำลังทางอากาศสนับสนุนเพื่อผลักดันและทำลายข้าศึกได้เป็นจำนวนมาก โดยสามารถทำลายข้าศึกได้ประมาณ ๔๐ ศพ ในจำนวนนี้ยึดศพไว้ได้ ๑๐ ศพ พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ติดตัวมา โดยที่ฝ่ายเราได้เสียสละ ชีวิตไป ๖ นาย และบาดเจ็บ ๑๐ นาย ได้รักษาพื้นที่ไว้ได้อย่างสมศักดิ์ศรีของหน่วยและเกียรติภูมิของทหารไทย ๕.๓ สรุปยอดกำลังพลที่สละชีพเพื่อชาติ ๑) ป้องกันประเทศ ปี ๒๕๑๘ จำนวน ๑ ราย ๒) ป้องกันประเทศ ปี ๒๕๑๗ จำนวน ๓ ราย ๓) ป้องกันประเทศ ปี ๒๕๑๑ จำนวน ๑ ราย ๔) ร่วมรบเวียดนาม ปี ๒๕๑๒ จำนวน ๕ ราย ๕) ร่วมรบเวียดนาม ปี ๒๕๑๓ จำนวน ๓ ราย ๖) ร่วมรบลาว ปี ๒๕๑๔ จำนวน ๕๒ ราย ๗) ร่วมรบปราบ ผกค. ปี ๒๕๑๕ จำนวน ๓ ราย ๘) ร่วมรบปราบ ผกค. ปี ๒๕๑๖ จำนวน ๒ ราย ๙) ร่วมรบปราบ ผกค. ปี ๒๕๑๘ จำนวน ๒๒ ราย ๑๐) ร่วมรบปราบ ผกค. ปี ๒๕๑๙ จำนวน ๕ ราย ๑๑) ร่วมรบปราบ ผกค. ปี ๒๕๒๐ จำนวน ๑๔ ราย ๑๒) ร่วมรบปราบ ผกค. ปี ๒๕๒๑ จำนวน ๑๓ ราย ๑๓) ร่วมรบปราบ ผกค. ปี ๒๕๒๒ จำนวน ๓ ราย ๑๔) ร่วมรบปราบ ผกค. ปี ๒๕๒๓ จำนวน ๓ ราย ๑๕) ร่วมรบปราบ ผกค. ปี ๒๕๒๔ จำนวน ๕ ราย ๑๖) ป้องกันประเทศ ปี ๒๕๒๖ จำนวน ๔ ราย ๑๗) ป้องกันประเทศ ปี ๒๕๒๘ จำนวน ๘ ราย ๑๘) ป้องกันประเทศ ปี ๒๕๓๐ จำนวน ๘ ราย ๑๙) ป้องกันประเทศ ปี ๒๕๓๔ จำนวน ๓ ราย ๒๐) ป้องกันประเทศ ปี ๒๕๔๐ จำนวน ๑ ราย รวมทั้งสิ้น ๑๖๐ ราย พ.ศ.๒๕๕๙- จัดกำลัง ๒ ร้อย.ร. สมทบ ร.๒๓ พัน.๑ ภารกิจป้องกันประเทศตามแนวชายแดน ไทย – กัมพูชา พื้นที่ปราสาทตาเมือน อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ๖. รายนามผู้บังคับกองพัน ๖.๑ พ.ท.สวัสดิ์ โสติบำรุง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๓ – ๒๔๙๖ ๖.๒ พ.ท.ชัย วนมงคล ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๖ - ๒๕๐๐ ๖.๓ พ.ท.พร้อม ผิวนวล ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐ - ๒๕๐๓ ๖.๔ พ.ท.ชัย ถิระกิจ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๓ - ๒๕๐๗ .๖.๕ พ.ท.ชัช รัตนสมบูรณ์ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๗ – ๒๕๑๒ ๖.๖ พ.ท.เจริญ วงศ์สวัสดิ์ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๒ – ๒๕๑๔ ๖.๗ พ.ท.โสภณ กนกนาค ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๔ – ๒๕๑๖ ๖.๘ พ.ท.ประเสริฐ วัฒนวงศ์ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๖ – ๒๕๑๙ ๖.๙ พ.ท.อนันต์ นอบไทย ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๙ - ๒๕๒๓ ๖.๑๐ พ.ท.จิรศักดิ์ พรหโมปกรณ์ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๓ – ๒๕๒๗ ๖.๑๑ พ.ท.สุภนิตย์ วีระเธียร ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๗ – ๒๕๓๑ ๖.๑๒ พ.ท.โสภณ ดิษฐ์แย้ม ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๑ - ๒๕๓๓ ๖.๑๓ พ.ท.ธีระ กรใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๓ – ๒๕๓๘ ๖.๑๔ พ.ท.วินัย คำชุ่ม ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๘ - ๒๕๔๐ ๖.๑๕ พ.ท. ธรากร ธรรมวินทร ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๐ - ๒๕๔๔ ๖.๑๖ พ.ท.ธัญญา เกียรติสาร ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๔ - ๒๕๔๕ ๖.๑๗ พ.ท.พงษ์ศักดิ์ มาอินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๕ - ๒๕๔๙ ๖.๑๘ พ.ท.ทัศน์พล สุพีสุนทร ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๙ - ๒๕๕๓ ๖.๑๙ พ.ท.จิรัฏฐ์ ช่วงฉ่ำ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓ - ๒๕๕๕ ๖.๒๐ พ.ท.ปิยะ นงค์ชะนา ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ ๖.๒๑ พ.ท.อุทัย แฝงกระโทก ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๙ - ๒๕๖๑ ๖.๒๒ พ.ท.ที เพิ่มผล ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๕๖๒ ๖.๒๓ พ.ท.พงษ์พัฒน์ เตือนขุนทด ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๖๓ – ปัจจุบัน