ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Gudaina/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชื่อ - สกุล :ศรัณย์รัฐ จันทร
ชื่อเล่น : ได้

ข้อมูลส่วนตัว

[แก้]

ที่อยู่ปัจจุบัน

[แก้]

บ้านเลขที่ 1/29 ถนนมุขมนตรี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา นครราชสีมา 30000

ปัจจุบันศึกษาที่

[แก้]

กำลังศึกษาที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3

ตำแหน่งงานที่สนใจ

[แก้]

IT Subport ,Programer

บทความด้านไอที

[แก้]

การประยุกต์ด้านการแพทย์

[แก้]

ประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขและการแพทย์ เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้ ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยา เก็บเงิน การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้ เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกล ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย


บทความประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในปัจจุบัน

[แก้]

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ได้มีการนำมาใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การทำงาน การศึกษาหาความรู้ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานราชการต่างๆ ก็นำเทคโนโลยีสารสนเทศและ ระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการติดต่อประสานงานกับทางราชการ และในธุรกิจเอกชนทางด้านการโรงแรม และการท่องเที่ยว ก็ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการลูกค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์ การประยุกต์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในด้านการศึกษาในปัจจุบันการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประกอบกับการเรียนก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษาหาความรู้ ทำให้ชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น การสอนแบบใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม การสอนแบบนี้ทำให้ผู้เรียนสามารถ สืบค้นข้อมูลและทำให้ผ็เรียนสามารถเรียนรู้ได้เองตลอดเวลา ส่วนการสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว หรือเพื่อนำไปใช้เพื่อประกอบการเรียนการสอน เพื่อหาความรู้หรือข้อมูลเพิ่มเติม และระบบอินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย ในปัจจุบันเราใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในการศึกษากัน ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันนี้มีประโยชน์มากมายไม่ใช่แต่เรื่องการศึกษา แต่ยังมีประโยชน์ทั้งด้านธุรอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ และการทำงาน เทคโนโลยีสมัยนี้มีทั้งให้คุณและให้โทษ แต่ถ้าเรารู้จักใช้มันให้เป็นมันก็เป็นประโยชน์กับตัวเรา แต่ถ้าเราใช้มันไม่เป็นมันก็เป็นโทษกับตัวเราเอง ดั้งนั้นเราควรใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์


เทคโนโลยีสารสนเทศที่คาดว่าจะมีในอนาคต

[แก้]

เทคโนโลยีในยุคปัจจุบันนี้มีความทันสมัยมากเมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีวัสดุ อุปกรณ์ เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ ที่สาทารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด และเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆเหล่านี้ สามรถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกๆ ด้าน เช่นในด้านการศึกษา การจัดการเรียนการสอน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการเรียนการสอนให้มีความก้าวหน้าและมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น (กิดานันท์ มลิทอง, 2540) คอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุคเป็นสิ่งจำเป็นมากในกลุ่มของนิสิตนักศึกษาในยุคปัจจุบัน นอกจากจะใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสืบค้นข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังใช้คอมพิวเตอร์ในการพิมพ์งาน และทำงานต่างๆส่งอาจารย์ผู้สอนอีกด้วย แป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งของคอมพิวเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังใช้คีย์บอร์ดแบบกดพิมพ์อยู่ หากในอนาคตมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากกว่านี้ อาจจะใช้เสียงแทนการพิมพ์บนคีย์บอร์ด หรือที่เรียกว่า คีย์บอร์ดระบบสั่งงานด้วยเสียง ซึ่งแป้นพิมพ์นี้จะใช้เสียงพูดของมนุษย์ในรูปแบบของการอ่านออกเสียง แทนการพิมพ์ลงไปบนคีย์บอร์ด ซึ่งในอนาคตหากเป็นจริงอาจจะช่วยลดระยะเวลาในการพิมพ์งานต่างๆ ลงได้


LAN Technology

[แก้]

แบบบัส ( BUS Topology )

[แก้]

เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS ทีปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Teminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ
คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย


ข้อดี ของการเชื่อแบบบัส คือ


- สามารถติดตั้งได้ง่าย เนื่องจากเป็นโครงสร้างเครือข่ายที่ไม่ซับซ้อน
- การเดินสายเพื่อต่อใช้งาน สามารถทำได้ง่าย
- ประหยัดค่าใช้จ่าย กล่าวคือ ใช้สายส่งข้อมูลน้อยกว่า เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับสายหลักได้ทันที
- ง่ายต่อการเพิ่มสถานีใหม่เข้าไปในระบบ โดยสถานีนี้สามารถใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้


ข้อเสียของการเชื่อแบบบัส คือ


- ถ้ามีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดไปจากสถานีใดสถานีหนึ่ง ก็จะทำให้ระบบเครือข่ายนี้หยุดการทำงานลงทันที
- ถ้าระบบเกิดข้อผิดพลาดจะหาข้อผิดพกลาดได้ยาก โดยเฉพาะถ้าเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่


แบบดาว ( Star topology )

[แก้]

เป็นการเชื่อมต่อสถานีหรือจุดต่าง ๆ ออกจากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เรียกว่า File Server แต่ละสถานีจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง ไม่มีการใช้สายสัญญาณร่วมกัน
เมื่อสถานีใดเกิดความเสียหายจะไม่มีผลกระทบกับสถานีอื่น ๆ ปัจจุบันนิยมใช้อุปกรณ์ HUB เป็นตัวเชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง


ข้อดีของการเชื่อมแบบดาว


- ง่ายต่อการใช้บริการ เพราะมีศูนย์กลางอยู่ที่คอมพิวเตอร์แม่ข่ายอยู่เครื่องเดียวและเมื่อเกิดความเสียหายที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นก็จะไม่มีผลกระทบอันใดเพราะใช้สายคนละเส้น


ข้อเสียของการเชื่อมแบบดาว


- ต้องใช้สายสัญญาณจำนวนมาก เพราะแต่ละสถานีมีสายสัญญาณของตนเองเชื่อมต่อกับศูนย์กลางจึงเหมาะสมกับเครือข่ายระยะใกล้มาก กว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล
การขยายระบบก็ยุ่งยากเพราะต้องเชื่อมต่อสายจากศูนย์กลางออกมา ถ้าศูนย์กลางเสียหายระบบจะใช้การไม่ได้


แบบวงแหวน ( Ring Topology )

[แก้]

เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ โดยสถานีแรกเชื่อมต่อกับสถาน สุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานี โดยมีตัวนำสารวิ่งไปบนสายสัญญาณของแต่ละสถานี
ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเองต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป


ข้อดีของการเชื่อมแบบแหวน


- ใช้สายสัญญาณน้อยกว่าแบบดาว เหมาะกับการเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณใยแก้วนำแสง เพราะส่งข้อมูลทางเดียวกันด้วยความเร็วสูง


ข้อเสียของการเชื่อมแบบแหวน


- ถ้าสถานีใดเสียระบบก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้จนกว่าจะแก้ไขจุดเสียนั้น และยากในการตรวจสอบว่ามีปัญหาที่จุดใดและถ้าต้องการเพิ่มสถานีเข้าไปจะพกหระทำได้ยากด้วย


แบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology)

[แก้]

รูปแบบเครือข่ายแบบนี้ ปกติใช้ในระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) ลักษณะการสื่อสารจะมีการต่อสายหรือการเดินของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือโหนดไปยังโหนดอื่น ๆ ทุก ๆ ตัว
ทำให้มีทางเดินข้อมูลหลายเส้นและปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่จะเกิดจากการล้มเหลวของระบบ แต่ระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าระบบอื่น ๆ เพราะต้องใช้สายสื่อสารเป็นจำนวนมาก


ข้อดีของการเชื่อมแบบเมชหรือแบบตาข่าย


- ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายชำรุด เครือข่ายทั้งหมดยังสมารถใช้ได้ ทำให้ระบบมีเสถียรภาพสูง นิยมใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง และเครือข่ายที่มีความสำคัญ


ข้อเสียของการเชื่อมแบบเมชหรือแบบตาข่าย


- สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่น ๆ
- ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนและบำรุงรักษาระบบเครือข่าย


WAN Technology

[แก้]

Circuit switching

[แก้]

ความหมายของ Circuit switching

[แก้]


Circuit switching เทคนิคในการสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เมื่อมีการเชื่อมต่อกันแล้วจะติดต่อกันได้ตลอดเวลา ผู้อื่นจะแทรกเข้ามาไม่ได้เลย จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปลดวงจรออก ตัวอย่างง่าย ๆ
เช่นการติดต่อทางสายโทรศัพท์ เมื่อเริ่มพูดกันได้แล้ว คนอื่นจะต่อสายแทรกเข้ามาไม่ได้ จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะวางหูลง (ปลดวงจร)

หลักการทำงาน Circuit switching

[แก้]


1) เมื่อสถานีA ต้องการส่งข้อมูลให้กับ สถานีB จะต้องมีการสร้างเส้นทางเสียก่อน โดยที่ฝั่งที่รับข้อมูลจะต้องตอบว่าพร้อมรับข่าวสาร (Establishment/ Connection)
2) เมื่อสร้างเส้นทางการส่งข้อมูลเรียบร้อย ตลอดเวลาของการสื่อสารจะใช้เส้นทางเดิมตลอดและไม่มีบุคคลอื่นมาใช้เส้นทาง
3) มีอัตราความเร็วในการส่งเท่ากันทั้งด้านรับและด้านส่ง
4) มีการทำ Error Control และ Flow Control ทุกๆ ชุมสาย
5) ในขณะทำการส่งข้อมูล ข้อมูลจะถูกส่งด้วยความเร็วคงที่ และไม่มีการหน่วงเวลา(Delay)
6) เมื่อส่งข้อมูลเสร็จจะยกเลิกเส้นทางที่ได้เชื่อมต่อขึ้นมาเพื่อให้เครื่องอื่นได้ใช้เส้นทางได้

ตัวอย่างระบบ Circuit switching

[แก้]


-โมเด็มและระบบโทรศัพท์ (Modem and Telephone System)\
- สายคู่เช่า (Leased Line)
- ISDN (Integrated Services Digital Network)
- DSL (Digital Subscriber line)
- เคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)

ลักษณะการเชื่อมต่อ

[แก้]


เชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรระหว่างจุดต่อจุด (point-to-point)

ข้อดี Circuit switching

[แก้]


- ปริมาณในการส่งข้อมูลได้ อัตราการส่งข้อมูล ความเร็วในการส่งข้อมูลจะคงที่ อัตราเดิม
- Delay ที่เกิดขึ้นจะเรียกว่า propagation delay คือเวลาที่ข้อมูลวิ่งอยู่ในสายสัญญาณ – เร็วเท่าแสง
- Delay ที่ node คือเวลาที่ข้อมูลวิ่งระหว่าง node อาจเป็น delay ที่เกิดเนื่องจากการประมวลผลอะไรบางอย่าง ถือว่าน้อยมากจนถือว่าไม่สำคัญ เพราะว่ามันแทบจะไม่เกิด

ข้อเสีย Circuit switching

[แก้]


-หากคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลติดต่อกับศูนย์ข้อมูล ในการเรียกค้นข้อมูลเป็นระยะจะทำให้มีช่วงเวลาที่สายสัญญาณ ไม่มีการใช้และผู้อื่นก็ใช้ไม่ได้ ธรรมชาติของการใช้งานไม่ได้ออกแบบ
มาให้ใช้งานพร้อมกันอย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น ระบบโทรศัพท์ 100 เลขหมาย จะสามารถใช้งานพร้อมๆกันได้ไม่ถึง 50%
- การเชื่อมโยงอุปกรณ์ระหว่างสถานีต้นทางกับปลายทางต้องตกลงและใช้มาตรฐานเดียวกัน
- การติดต่อสื่อสารข้อมูลนี้ผู้ใช้จะต้องมีระบบซอฟต์แวร์ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเอง เพราะชุมสายจะไม่มีระบบตรวจสอบข้อมูลในชุมสายทำหน้าที่เพียงการสวิตช์วงจรให้เท่านั้น
Circuit Switching นั้นออกแบบมาเพื่อส่งข้อมูลทางเสียง
- อัตราการส่งข้อมูลจะเป็นตัวจำกัดอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเนื่องจากถูกออกแบบมาเพื่อส่งข้อมูลทางเสียงในอัตราที่มนุษย์สามารถรับรู้ ได้
- มีขีดจำกัดแน่นอนอยู่แล้วที่ระบบ Hardware
- ยากและลงทุนสูงในการ Upgrade backbone


Packet switching

[แก้]

ความหมายของ Packet switching

[แก้]


เทคนิคในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม (Packet) แต่ละกลุ่มจะมีความยาวเท่ากัน (ปกติ 100บิต)ข้อมูลจะหาทิศทางเดินไปได้เอง โดยที่สายหนึ่ง ๆ จะสามารถใช้กันได้หลายคน เมื่อถึงที่ปลายทางข้อมูลก็จะกลับ ไปรวมกันเอง

หลักการทำงาน Packet switching

[แก้]


1) เมื่อ สถานี A ต้องการส่งข้อมูลให้กับสถานีB จะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็น Packet ย่อยก่อนจะถูก ส่งออกไป
2) ส่งข้อมูลโดยใช้ชุมสาย PSE (Packet switching exchange) ควบคุมการรับส่ง
3) ทำ Error control หรือ Flow Control ที่ PSE
4) ด้านรับและด้านส่งมีอัตราความเร็วที่ไม่เท่ากันได้
5) ใช้เทคนิค Store - and - Forward ในการส่งข้อมูล ผ่าน PSE

ตัวอย่างระบบ Packet switching

[แก้]


เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ใช้ในการ ส่งข้อมูลภายในสำหรับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน ระบบที่เป็น Package switch เช่น Frame relay เป็นระบบโทรศัพท์แบบดิจิตอล และ ATM
เป็นระบบการส่งข้อมูลประเภท ภาพและเสียง (multimedia)

ลักษณะการเชื่อมต่อ Packet switching

[แก้]


ส่งแต่ละแพกเกตด้วยเส้นทางต่างๆที่เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย และทำการรวมแต่ละแพคเกตกลับคืนเมื่อถึงจุดหมายแล้ว

ข้อดี Packet switching

[แก้]


- Flexibility โครงข่ายดังกล่าวนี้ทำให้ใช้งานพร้อมกันหลาย ๆ ระบบได้ โดยงานประยุกต์แต่ละระบบไม่ยุ่งเกี่ยวกัน แต่ใช้ผ่านชุมสายเดียวกัน
- Robustness มีความแข็งแกร่ง ถ้าเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งเสียหายก็สามารถใช้เส้นทางอื่นได้ อุปกรณ์ต้นทางกับปลายทาง สามารถส่งด้วยความเร็วที่ต่างกันได้เพราะชุมสายจะเป็นผู้แปลงสัญญาณ ให้ความเร็วเข้ากันได้
- Responsiveness มีการรับประกันความถูกต้องของข้อมูลที่รับส่งทำให้ระบบมีความเชื่อถือสูง สามารถใช้ในระบบที่โต้ตอบด้วยความเร็วได้ ตัว IMP สามารถที่จะทำงานเพิ่มเติมบางอย่างได้
เช่น การตรวจสอบความ ผิดพลาดก่อนที่จะส่งต่อไป หรืออาจทำการเปลี่ยนรหัสก่อนก็ได้

ข้อเสีย Packet switching

[แก้]


-บางครั้งถ้ามีปริมาณPacket จำนวนมากเข้ามาพร้อมกันจะทำให้ IMPทำงานไม่ทัน อาจทำให้มีบางPacket สูญหายไปได้ - มี delay เกิดขึ้นในระหว่างที่ส่งข้อมูล
= ความยาวของ package / ขนาดของ overhead datarate ขนาดของ package มีขนาดไม่แน่นอน
-Package แต่ละ package อาจวิ่งไปคนละเส้นทางได้ แต่ละเส้นทางจะมี delay ไม่เท่ากัน ซึ่งทำให้เกิดปัญหา package ที่ส่งมาที่หลังมาถึงก่อน ฝ่ายรับต้องมีวิธีจัดการกับ package ที่ยุ่งยากขึ้น
-ถ้ามี delay มากจะเกิดความแออัดในเครือข่าย
- มี overhead เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล โดย overhead ที่เกิดขึ้นคือที่อยู่ของปลายทาง, sequence ซึ่งทำให้ส่งข้อมูลได้น้อย ทำให้ประสิทธิภาพในการส่งลดลง


OSI model + TCP/ IP mode

[แก้]
_ OSI Model _ _________ TCP/IP __________
7 Application Application FTP,Telnet,HTTP,
SMTP,SNMP,DNS,etc
6 Presentation Application FTP,Telnet,HTTP,
SMTP,SNMP,DNS,etc
5 Session Application
Host-to-Host
TCP UDP
4 Transport Host-to-Host TCP UDP
3 Network Internet ICMP,IGMP
Ip
2 Data link Network Access Not Specified
1 Physical Network Access Not Specified

หน้าที่การทำงานของชั้นสื่อสาร

[แก้]
ลำดับชั้น ชื่อชั้นสื่อสาร หน้าที่ของชั้นสื่อสาร
1. Physical เคลื่อนย้ายข้อมูลระดับบิตจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดถัดไป
2. Data link เคลื่อนย้ายเฟรมจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดถัดไป
3. Network ส่งมอบแพ็กเก็ตจากโฮสต์หนึ่งไปยังโฮสต์ปลายทาง
4. Transport ส่งมอบข่างสารจากโปรเซสต้นทางไปยังโปรเซสปลายทาง
5. Session ควบคุมการสื่อสารและการซิงโครไนซ์
6. Presentation แปลงข้อมูล เข้ารหัสข้อมูล และบีบอัดข้อมูล
7. Application จัดการงานบริการให้แก่ผู้ใช้