ผู้ใช้:Gosol2912/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
                     แนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยเรื่องการสอนคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
   ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้ารวบรวมเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เข้าใจแนวทางและหลักการของงานวิจัยต่างๆซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้อง  ดังต่อไปนี้    

แนวคิดเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์[แก้]

สิ่งสำคัญของการสอนคณิตศาสตร์ คือ การให้ความรู้และความเข้าใจ ในหลักการ วิธีการ ทฤษฎี ที่เกี่ยวกับเนื้อหานั้นๆ ส่วนการศึกษาคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ครูจะต้องปรับแนวทางการเรียนการสอน (pedagogy) โดยครูจะต้องทำให้นักเรียนรักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิตครูจะต้องเปลี่ยนตนเองเป็นผู้แนะนำแทนการสอน และมีเป้าหมายในการสอนที่จะทำให้นักเรียนมี ทักษะชีวิต ทักษะการคิดคำนวณ และทักษะด้านไอทีซึ่งหมายถึงนักเรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์หรือไอแพดในการแก้ปัญหาต่าง ๆโดยที่นักเรียนรู้ว่าเมื่อเขาอยากรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งเขาจะไปตามหาข้อมูล (data) เหล่านั้นได้ และการนำสื่อที่หลากหลายที่มีความสัมพันธ์กัน มีคุณค่าในตัวของมันเองสื่อบางชนิดใช้ในการนำเข้าสู่บทเรียนได้ สื่อบางชนิดใช้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง จะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน[1]

ทฤษฏีการสอนคณิตศาสตร์[แก้]

[2] สรุปทฤษฎีที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ 3 ทฤษฎี ดังนี้

ทฤษฎีแห่งการฝึกฝน[แก้]

( Drill    theory )  การสอนคณิตศาสตร์ตามวิธีนี้เน้นในเรื่องของการฝึกฝนให้ทำแบบฝึกหัดมากๆซ้ำๆ จนกว่าจะเคยชินกับวิธีการนั้นๆเพราะทฤษฎีนี้เชื่อว่า    นักเรียนจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้โดยการที่ได้ฝึกทำสิ่งนั้นซ้ำๆกันหลายๆครั้งฉะนั้นการสอนตามทฤษฎีนี้เริ่มโดย      ครูเป็นผู้ให้ตัวอย่างหรือบอกสูตรหรือกฎเกณฑ์แล้วให้นักเรียนฝึกฝนทำแบบฝึกหัดมากๆจนกระทั้งเกิดความชำนาญ          นักการศึกษายอมรับว่าการฝึกฝนมีความจำเป็นในการเรียนคณิตศาสตร์แต่ก็ชี้ให้เห็นว่าทฤษฎีแห่งการฝึกฝนมีข้อบกพร่องหลายประการ


ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้โดยบังเอิญ[แก้]

( Incidental learning theory) มีความเชื่อว่านักเรียนจะเรียนคณิตศาสตร์ได้ดีเมื่อเด็กมีความต้องการหรืออยากรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้น ฉะนั้นกิจกรรมการเรียนนั้นควรจะจัดขึ้นจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนหรือชุมชนซึ่งนักเรียนจะได้ประสบกับตนเองแต่จุดบกพร่องของทฤษฎีนี้ คือในทางปฎิบัติจริงแล้วเหตุการณ์จะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ดังนั้น การเรียนตามทฤษฎีนี้จะใช้ได้เพียงครั้งคราวเท่านั้น

ทฤษฎีแห่งความหมาย[แก้]

( Meaning   theory )ทฤษฎีนี้ตระหนักว่าการคิดคำนวณกับการเป็นอยู่ในสังคมของนักเรียนเป็นหัวใจในการรียนการสอนคณิตศาสตร์และมีความเชื่อว่านักเรียนจะเรียนรู้

และเข้าใจในสิ่งที่เรียนได้ดี เมื่อได้เรียนในสิ่งที่มีความหมายต่อตนเองและเป็นเรื่องที่นักเรียนได้พบเห็นและปฏิบัติในสังคมประจำวัน ทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับว่าเหมาะกับการนำไปสอนกับนักเรียนระดับปฐมศึกษา ได้มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวางในปัจจุบันและผลจากการวิจัยพบว่า ทฤษฎีแห่งความหมายเป็นทฤษฎีที่นักเรียนเรียนคณิตศาสตร์ได้ดีที่สุด

วิธีการสอนคณิตศาสตร์[แก้]

การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ให้ได้ประสบผลสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรนั้นย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถของครู ที่จะพัฒนาเทคนิคและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับ เนื้อหาซึ่งการสอนคณิตศาสตร์นั้นจะต้องใช้หลากหลายวิธีในการจัดการเรียนการสอน[3] ได้แบ่งวิธีการสอนคณิตศาสตร์ออกเป็น 3 ประเภท คือ

วิธีสอนแบบบรรยาย[แก้]

 และแสดงเหตุผลเป็นวิธีสอนที่ครูเป็นผู้บอกเมื่อครูต้องการให้นักเรียนเข้าใจ เรื่องใด  ครูก็จะอธิบายและแสดงเหตุผล  วิเคราะห์ตีความรวมทั้งเป็นผู้สรุป ด้วยวิธีการสอนแบบนี้

จะเน้นที่ตัวครูเป็นสำคัญ นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมน้อยมาก โดยส่วนใหญ่นักเรียนจะเป็นผู้รับฟังและตอบคำถามของครู การใช้การสอนแบบนี้ จุดประสงค์จะสอนนักเรียนกลุ่มใหญ่ๆ เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจอย่างชัดเจนในเรื่องที่ ยังไม่รู้และเพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ กฎหรือสูตรในเวลาอันรวดเร็ว ประโยชน์และข้อจำกัดของวิธีการสอนแบบบรรยายและแสดงเหตุผล คือ ช่วยประหยัด เวลาในการอธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้กับนักเรียนและสอนนักเรียนได้จำนวนมากๆในเวลาเดียวกัน แต่วิธีการสอนแบบนี้เหมาะสำหรับเนื้อหาเพียงบางตอนเท่านั้นและเป็นการสอน ที่ไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน นักเรียนไม่มีโอกาสค้นคว้าและไม่ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

วิธีสอนแบบสาธิต[แก้]

 หมายถึง  วิธีสอนที่ครูมีหน้าที่ในการวางแผนการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่โดยมีการแสดงหรือการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง นักเรียนได้ความรู้จากการสังเกต การกระทำ   การแสดง   อาจเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมบ้าง ประโยชน์ของวิธีการสอนแบบสาธิต คือ ประหยัดเวลาทั้งครูและนักเรียนช่วยเพิ่มทักษะในการสังเกตและการสรุปส่วนข้อจำกัดของวิธีการสอนแบบสาธิตคือถ้าครูอธิบายหรือสาธิตเร็ว เกินไปจะทำให้นักเรียนตามไม่ทันหรือไม่เข้าใจครูควรให้เวลาในการติดตามดูนักเรียนในการ ทำกิจกรรมเพื่อไม่ให้การสาธิตของครูล้มเหลว

วิธีสอนแบบใช้คำถาม[แก้]

      เป็นวิธีการสอนแบบ ถาม  ตอบ  กับนักเรียน  ซึ่งวิธีการสอนแบบนี้ครูอาจใช้คำถามเป็นตอนๆหรือใช้คำถามต่อเนื่องจนจบบทเรียนเพื่อทบทวนบทเรียนและเนื้อหาไปในตัว โดยนักเรียนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม       เพื่อให้นักเรียนรู้จักฟังคิดอย่างมีเหตุผลและสามารถสรุปบทเรียนได้ ประโยชน์ของวิธีสอนแบบใช้คำถาม ให้นักเรียนได้คิด  วิเคราะห์และสามารถสรุป เนื้อหาที่ครูสอนส่วนข้อจำกัดเหมาะกับเนื้อหาเป็นบางเรื่องและครูจะต้องใช้คำถามอย่างถูกต้องและเหมาะสม

ความหมายสื่อในการสอนวิชาคณิตศาสตร์[แก้]

[4] ได้ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้ว่าสื่อทำจากวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆและวิธีการเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการ ใช้สื่อแต่ละประเภทให้ถูกต้องกับเนื้อหาและจุดประสงค์ตามลำดับขั้นตอนด้วย( วรวิทย์ นิเทศศิลป์ ,2551 ) ได้ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้ว่าการนำสื่อที่หลากหลายที่มีความสัมพันธ์กันกับเนื้อหา มีคุณค่าในตัวของมันเอง สื่อบางชนิดใช้ในการนำเข้าสู่บทเรียนได้ดี สื่อบางชนิดใช้เพื่อเสริมความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกันกับเนื้อหาและบทเรียนได้อย่างลงตัว( อิริคสัน Erickson , 1972 ) ได้ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้ว่าการนำเอาสื่อการสอนมาสัมพันธ์กันและมีคุณค่าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันเพื่อเพิ่มความเร้าใจในกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ [5] กล่าวถึงการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้สื่อการว่าการใช้สื่ออย่างเหมาะสม เพื่อนำมาสัมพันธ์กับการเรียน โดยใช้สื่อการสอนได้เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลาที่ใช้ใน 1 คาบ

หลักการในเลือกใช้และผลิตสื่อ[แก้]

[6] ได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้สื่อสรุปได้ดังนี้

เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาวิชาและวิธีการสอน[แก้]

เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับรูปแบบและระบบของการเรียนการสอน เช่น การสอนกลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็ก หรือรายบุคคล ตามลักษณะการสอนและระบบที่ต่างกัน[แก้]

เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน เช่น อายุ เพศ ระดับความรู้[แก้]

เลือกสื่อการสอนตามคุณสมบัติของสื่อ[แก้]

เลือกสื่อการสอนโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์การจัดระบบในกระบวนการเรียนการสอน[แก้]

[7] กล่าวถึงเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกใช้และผลิตสื่อไว้ดังนี้ สื่อที่เลือกและผลิตต้องตอบสนองตามจุดมุ่งหมายอย่างแท้จริงโดยพิจณาจากการจัดการเรียนรู้และการศึกษาเชิงพฤติกรรมและให้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ตอบคำถามและซักถามปัญหาต่างที่สนใจได้อย่างเป็นอิสระ สื่อที่ใช้ควรเป็นสื่อที่ใช้ได้อย่างง่ายเข้าใจในการใช้ง่ายต้องกระตุ้นให้นักเรียนอยากศึกษาและเรียนรู้ไม่ขัดขวางการเรียนรู้ตามเนื้อหาและบทเรียน

จิตวิทยาในการสอนคณิตศาสตร์[แก้]

(สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ , 2540  )ได้เสนอแนะว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ครูผู้สอนจะต้องคำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ที่สำคัญ    ดังนี้             

ความแตกต่างระหว่างบุคคล ทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ลักษณะนิสัยที่ดี สติปัญญา บุคลิกภาพและความสามารถในการเรียนโดยการกระทำ[8]กล่าวว่าในการสอนคณิตศาสตร์ปัจจุบันมีสื่อการเรียนที่เป็นรูปธรรมมากมายครูจะต้องให้นักเรียนได้ลงมือปฎิบัติจริงครูต้องปล่อยให้นักเรียนได้ค้นหาคำตอบด้วยตนเองนักเรียนจะเกิดความเข้าใจและไม่ค่อยลืมการเรียนเพื่อรอบรู้ เป็นการเรียนรู้จริงได้ทำจริงครูผู้สอนจะต้องพิจารณาในเรื่องนี้ให้นักเรียนได้เรียนรู้ครบทุกจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ เมื่อนักเรียนเกิดการเรียนรู้และสำเร็จตามความประสงค์เขาก็จะเกิดความพอใจและเกิดแรงจูงใจอยากเรียนต่อไป การสร้างเจตคติ ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์นั้นเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งดังนั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนครูควรคำนึงถึงด้วยว่าจะสามารถนำนักเรียนไปสู่เจตคติที่ดีต่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์หรือไม่

ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง[แก้]

  ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศ   
 [9]  การศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตสาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องเส้นขนาน โดยการสอนแบบใช้สื่อผสม มหาวิทยาลัย  เกษตรศาสตร์ สาขาการสอนคณิตศาสตร์        วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เรื่องเส้นขนาน โดยการสอนแบบใช้สื่อประสม  โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จังหวัดนครปฐมกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จังหวัดนครปฐมที่เรียนวิชาคณิตสาสตร์ในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2547  จำนวน  38   คน  ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่มจากห้องเรียนทั้งหมด 3  ห้องเรียน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  แผนการสอน  จำนวน  8 คาบ  และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์  เรื่องเส้นขนาน  ซึ่งเป็น ข้อสอบปรนัย

แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ และข้อสอบแบบเติมคำ จำนวน 5 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ match-paired t - test และ t – test ผลการวิจัยปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตสาสตร์ เรื่องเส้นขนาน โดยการสอนแบบใช้สื่อประสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน หลังการเรียนสูงกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องของต่างประเทศ 
      [10]Recent    Research   on   Attitudes   ConcerningMathematics  Education.  53  :  295 -  305.
   วัตถุประสงค์ ศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์โดยใช้สื่อประสม ตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับ มัธยมศึกษา ตอนต้น การสุ่มตัวอย่างใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม  จำนวน  1 ห้องเรียน  ใช้แบบสอบถาม ความพึงพอใจในกิจกรรมวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้สื่อประสมผลการวิจัยพบว่า  เจตคติของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์  โดยใช้สื่อประสม โดยรวมอยู่ ในระดับที่ดี

อ้างอิง[แก้]

  • ( วรวิทย์ นิเทศศิลป์ ,2551 )
  • (โสภณ บำรุงสงฆ์และสมหวัง ไตรต้นวงษ์ ,2543)
  • ( ยุพิน พิพิธกุล ,2525 )
  • ( กิดานันท์ มลิทอง , 2544 )
  • ( อิริคสัน Erickson , 1972 )
  • ( กู๊ด Good ,1973 )
  • ( เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์ , 2545 )
  • ( กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล 2548 )
  • Aiken, R.L. and Aiken D.R. (1977)
  1. ( วรวิทย์ นิเทศศิลป์ ,2551 )
  2. (โสภณ บำรุงสงฆ์และสมหวัง ไตรต้นวงษ์ ,2543)
  3. ( ยุพิน พิพิธกุล ,2525 )
  4. ( กิดานันท์ มลิทอง , 2544 )
  5. ( กู๊ด Good ,1973 )
  6. ( เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์ , 2545 )
  7. ( สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ,2531)
  8. ( จอห์น ดิวอี้ ,2530)
  9. ( กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล 2548 )
  10. Aiken, R.L. and Aiken D.R. (1977).