ผู้ใช้:Fah9Free

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประกิต วาทีสาธกกิจ[แก้]

ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิจ  (เกิดวันที่  28 มีนาคม  พ.ศ. 2487)  ในฐานะเลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ (พ.ศ. 2540 – ปัจจุบัน) เรียกกันว่า คุณหมอนักรณรงค์ เป็นอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ พ.ศ. 2530-2538 อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (พ.ศ. 2541- 2547) เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร (เม.ย. – ก.ย. 2549) ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการสาธารณสุข  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ก.พ. 2550 – ม.ค. 2551) [แก้]

ประวัติ[แก้]

         ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิจ เติบโตในครอบครัวคนจีน ฐานะค่อนข้างยากจน ทํากิจการค้าขายปูนทราย และรับผ้าจากโรงงานทอผ้ามารีด เมื่อเรียนถึงชั้นประถมปีที่ 4 ต้องเลิกเรียน เพราะทางบ้านไม่มีเงินส่ง และต้องให้โอกาสน้องๆ ได้เรียน จึงต้องออกมาช่วยงานค้าขายท่ีบ้านและทําบัญชี เมื่ออายุ 15 ปี ทางบ้านเริ่มมีรายได้ดีขึ้นจึง ได้ไปเรียนกวดวิชา จนสอบเทียบชั้นมัธยมปีท่ี 1 - 3 ได้ เมื่อสมัครเรียนต่อชั้นมัธยม ปีที่ 4 - 6 สามารถสอบเทียบผ่านได้ในเวลาเพียง 1 ปี ระหว่างท่ีเรียนก็ทํางานไปด้วย เมื่อต่อช้ันมัธยม 7 - 8 สอบเทียบได้อีก จึงได้ตัดสินใจเรียนทางวิชาชีพ[แก้]

ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตสอบ เข้าศึกษาแพทย์ได้ ที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุ่นที่ 19 ระหว่างเป็นนักศึกษาแพทย์ ยังช่วยงานทางบ้านอยู่ตลอด ด้วยนิสัยที่ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค มีความพยายามทําหน้าท่ีทั้งในด้านการงานและส่วนตัว การเป็นคนสมถะ เรียบง่าย ซื่อสัตย์ และมีระเบียบวินัย ทําให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต ประสบความสําเร็จในชีวิต สามารถส่งน้องทั้ง 4 คนศึกษจนจบชั้นมหาวิทยาลัย[แก้]

         เมื่อจบแพทยศาสตรบัณฑิตแล้ว ได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์แพทย์ที่จุฬาฯ แต่เนื่องจากเงินเดือนของข้าราชการ ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายของน้องๆ ท่ียังเรียนอยู่ จึงตัดสินใจไปทํางานและศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา ประกอบกับช่วงนั้นเกิดสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกาต้องการแพทย์จํานวนมาก ระหว่างปี พ.ศ. 2513 - 2516 อาจารย์ได้ไปฝึกอบรมด้านอายุรศาสตร์ท่ัวไปท่ี New Jersey College of Medicine กระทั่งได้ American Board of Internal Medicine จากนั้นไปเรียนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอดที่ โรงพยาบาลในเครือ ของ New York University จนจบปี พ.ศ. 2518[แก้]

         ในการทำงาน ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตเป็นคนเรียบง่ายไม่ถือตัว มีอัธยาศัยไมตรี มีความเป็นกันเองและเป็นมิตรกับผู้คน เป็นนักบริหารแก้ปัญหาได้รวดเร็ว กล้าตัดสินใจ เสียสละ โดยยึดหลักว่า “Honesty is the best policy”[แก้]

การศึกษา[แก้]

พ.ศ. 2512    แพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[แก้]

พ.ศ. 2518   ประกาศนียบัตร Fellow in Pulmonary Disease  สหรัฐอเมริกา[แก้]

พ.ศ. 2523  หนังสืออนุมัติผู้มีความรู้ความชำนาญ แพทยสภาสาขาอายุรศาสตร์(เทียบเท่าปริญญาเอก)[แก้]

พ.ศ. 2532 หนังสืออนุมัติผู้มีความรู้ความชำนาญ แพทยสภาสาขาอายุรศาสตร์ระบบทางเดินหายใจ[แก้]

พ.ศ. 2540   วปอ. รุ่นที่ 39   วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร[แก้]

พ.ศ. 2550    ปปร.10 วิทยาลัยการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า     [แก้]

รับราชการ [แก้]

         ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตได้รับการแนะนําให้รู้จักกับอาจารย์ยศวีร์ สุขุมาลจันทร์ ขณะดำรงตําแหน่งเป็นหัวหน้าหน่วยโรคปอด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นายแพทย์ยศวีร์ทํางานอยู่ ในหน่วยคนเดียว จึงได้ชักชวนให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตเข้ามาเป็น อาจารย์แพทย์ในหน่วยโรคปอดเพิ่มอีกคนหน่ึง จึงได้รับการบรรจุ เข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2519[แก้]

         เมื่อกลับมาเป็นอาจารย์ที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับเลือกให้ดํารงตําแหน่งหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ 2 สมัย ได้รับเลือกให้ดํารงตําแหน่งคณบดี เข้าสู่เส้นทางการเป็นผู้นําในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เมื่อประเทศไทยเป็นชาติแนวหน้าของโลกที่มีแนวทาง ปฏิบัติในการป้องกันพิษภัยของบุหรี่อย่างเป็นรูปธรรม จเป็นท่ียอมรับของนานาชาติ ส่งผลให้ได้รับรางวัลเหรียญเกียรติยศจากองค์การอนามัยโลก ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตได้ช่วยให้คนจํานวนมาก พ้นจากความทุกข์ทรมานท่ีเกิดจากผลร้ายของบุหรี่ท่ีมีต่อสุขภาพของทั้งคนสูบและคนที่อยู่ใกล้เคียง[แก้]

พ.ศ. 2519 – 2520           อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  มหาวิทยาลัยมหิดล[แก้]

พ.ศ. 2520 – 2523           ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล[แก้]

พ.ศ. 2523 – 2530           รองศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล[แก้]

พ.ศ. 2530 – 2549            ศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล[แก้]

ตำแหน่งปัจจุบัน[แก้]

1. เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่[แก้]

2. คณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ  กระทรวงสาธารณสุข[แก้]

3. ที่ปรึกษาสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ  กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข4.  คณะกรรมการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)[แก้]

บทบาทของหมอนักรณรงค์[แก้]

         เมื่อปฏิบัติงานในภาควิชาอายุรศาสตร์ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต สนใจด้านโรคติดเชื้อในปอดและวัณโรคปอด จนปี พ.ศ. 2529 ศาสตราจารย์นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งดํารงตําแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ขณะน้ัน ได้แนะนําและชักชวนให้มาทํางานด้านการ รณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เพราะเล็งเห็นว่า การสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมท่ีแพร่หลายในคนไทย และไม่มีหน่วยงานใดที่ดําเนินการ เพื่อป้องกันไม่ให้คนไทยสูบบุหหรี่มากขึ้น[แก้]

ต่อมาเมื่อศาสตราจารย์นายแพทย์อรรถสิทธ์ิไป รับตําแหน่งคณบดี ด้วยความร่วมมือของศาสตราจารย์นายแพทย์ ประเวศ วะสี จึงได้เกิดโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ข้ึน โดย มอบหมายให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตเป็นผู้ดําเนินการ เร่ิมต้นเปิดโครงการที่โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นคร้ังแรก ได้จัดให้มีการสัมมนา โดยมีพลตรีจําลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ขณะน้ันร่วมงานด้วย[แก้]

         เพื่อขยายการรับรู้พิษภัยบุหรี่ มีการพาสื่อมวลชนไปดูคนไข้ป่วยด้วยโรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดเลือดหัวใจ ท่ีกระทบทางสุขภาพโดยตรง สาเหตุจากการสูบบุหรี่ ปรากฏว่าได้ผลตอบรับดี สื่อนำเสนอให้เป็นที่รับรู้ในสังคมวงกว้าง ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตทุ่มเทกับการรณรงค์เพื่อให้คนไทยพ้นจากความ เจ็บป่วยและความตายจากการสูบบุหรี่ สื่อสารไปยังประชชนให้รู้ข้อมูลถึงผลร้ายของบุหรี่ต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ป่วยจริงเป็นตัวอย่าง[แก้]

ขณะเดียว ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตต้องต่อสู้กับอิทธิพลของกลุ่มนายทุนทั้งในและต่างประเทศ ถูกข่มขู่อยู่เนืองๆ แต่ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต เชื่อเสมอว่า “ความถูกต้องย่อมชนะความ ไม่ถูกต้อง” ทําให้มีกำลังใจเดินหน้าต่อสู้ต่อไป[แก้]

         นอกจากศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต พยายามให้สังคมตระหนักถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่แล้ว ในช่วงที่ ศาสตราจารย​นายแพทย์อรรถสิทธ์ิดํารงตําแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผลักดันมาตรการทางกฎหมาย ท่ีแม้แต่ในต่างประเทศก็ไม่สามารถฝ่าด่านอิทธิพลผู้ผลิตและผู้จําหน่ายบุหรี่ได้ ในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการออกกฎหมายห้าม โฆษณาบุหรี่ และเกิด พ.ร.บ. คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ขึ้น โดยกําหนดให้สถานที่สาธารณะต่างๆ เป็นเขตปลอดบุหรี่ ในขณะท่ีประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น ฝรั่งเศส หรือสหรัฐอเมริกา  ยังมีการสูบบุหรี่ในท่ีสาธารณะอย่างแพร่หลาย[แก้]

สนับสนุนการขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่เป็นระยะ ส่งผลให้อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยลดลงจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 และ อัตราการสูบบุหหรี่ในเพศชายลดลงจากร้อยละ 70 เหลือร้อยละ 50 จนกระทั่งประเทศไทยเป็นประเทศ “ตัวอย่าง” ของโลกของ ความสําเร็จของการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้สนับสนุนให้มูลนิธิเพื่อการไม่สูบบุหรี่ เป็นองค์กรหลัก[แก้]

พ.ศ.  2523 – 2529            หัวหน้าโครงการอบรมแพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาอายุรศาสตร์[แก้]

พ.ศ.  2525 – 2529           ประธานคณะอนุกรรมการโครงการฝึกอบรมแพทย์ฝึกหัด และแพทย์ประจำบ้าน ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี[แก้]

พ.ศ.  2537 – 2538           ผู้ประสานงานพัฒนาการเรียนการสอนระดับปรีคลินิก และคลินิกคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี[แก้]

พ.ศ.  2526 – 2529            กรรมการบริหารหน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี[แก้]

พ.ศ.  2530 – 2538            หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี[แก้]

พ.ศ.  2539 – 2541            กรรมการประจำคณะ จากคณาจารย์ประจำ[แก้]

พ.ศ.  2539 – 2541           ประธานสภาอาจารย์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี[แก้]

พ.ศ.  2541 – 2547            คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี[แก้]

พ.ศ.  2543 – 2547            กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล[แก้]

ผลงาน[แก้]

         ในการประสานงานด้านการรณรงค์ควบคุมการสูบบุหรี่ให้กับ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมูลนิธิฯ ยังได้รับคัดเลือก จากองค์การอนามัยโลกให้เป็นองค์กรประสานงานการร่างกรอบ อนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบ และได้นํากิจกรรม ของมูลนิธิฯ ไปเผยแพร่ในนานาประเทศในวันไม่สูบบุหหรี่โลกปี พ.ศ. 2541 นอกจากรางวัลเหรียญเกียรติยศจากองค์การอนามัยโลกแล้ว ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตยังได้รับรางวัลผู้มีผลงานในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ดีเด่นของภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก จากสมาพันธ์ควบคุมการบริโภค ยาสูบภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก และรางวัลผู้นําที่เป็นแบบอย่างในการ ควบคุมการบริโภคยาสูบจาก American Cancer Society[แก้]

         ในด้านงานภาควิชาอายุรศาสตร์ เมื่อศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตกลับมา จากต่างประเทศใหม่ๆ ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการเรียน การสอน อาจารย์ ริเริ่มกิจกรรม morning report (ซึ่งต่อมาได้ ปรับเปลี่ยนเป็น noon report) เป็นกิจกรรมท่ีแพทย์ประจําบ้าน รายงานผู้ป่วยท่ีรับไว้ในโรงพยาบาลตอนอยู่เวรในคืนก่อน จึงได้เข้าไปเก่ียวข้องกับแพทย์ประจําบ้านค่อนข้างมาก โดยเป็นผู้นําด้านการเรียนการสอนแบบ interactive[แก้]

เมื่อศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต ขึ้นเป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี พ.ศ. 2541 ให้ความสําคัญกับผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ในการศึกษาดูงานต่างประเทศ ก็พยายามหาคําตอบว่า ทำอย่างไรให้คุณภาพการบริการของโรงพยาบาลที่เป็นสถานท่ี ฝึกอบรมแพทยเ์ฉพาะทางเป็นที่ยอมรับ จนได้คำตอบว่า ทุกโรงพยาบาลต้องได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน เดียวกัน ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตจึงนําเสนอต่อแพทยสภาให้มีนโยบายมาตรฐานเดียวกันขึ้นมา นั่นคือ กระบวนการ HA (Hospital Accreditation) ซึ่งเกิดขี้นในระบบสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน ในส่วนของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้กําหนดปรัชญาของคณะฯ ไว้ว่า “คุณภาพคือหัวใจในทุกพันธกิจของเรา”[แก้]

งานด้านอื่นที่น่าภาคภูมิใจคือ ร่วมการผลักดันให้มีการจัด ตั้งสํานักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยอาศัยเงินที่เก็บเพิ่มจากภาษีสุราและบุหรี่ ร้อยละ 2 ต่อปี มาสนับสนุนกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่จัดตั้งกองทุนนี้ได้สําเร็จ เป็นที่ชื่นชมของประเทศอื่นๆ ในสังคมโลก[แก้]

แพทยสภา[แก้]

พ.ศ. 2525 – 2529            กรรมการในคณะอนุกรรมการกลางฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านของแพทยสภา[แก้]

พ.ศ. 2526 – 2534            กองบรรณาธิการแพทยสภาสาร[แก้]

พ.ศ. 2541 – 2547            กรรมการแพทยสภาโดยตำแหน่ง[แก้]

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย[แก้]

พ.ศ. 2529 – 2536            กรรมการบริหารราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย[แก้]

พ.ศ. 2530 – 2538            กรรมการและเลขานุการคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ สาขาอายุรศาสตร์[แก้]

พ.ศ. 2529 – 2531            เลขานุการคณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย[แก้]

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย[แก้]

พ.ศ. 2532 – 2534            กรรมการคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ สาขาโรคระบบทางเดินหายใจ[แก้]

พ.ศ. 2522 – 2526            กรรมการสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย[แก้]

พ.ศ. 2523 – 2525            เลขาธิการสมาคมแพทย์โรคทรวงอกอเมริกันแห่งประเทศไทย[แก้]

พ.ศ. 2523 – 2532            ผู้ช่วยบรรณาธิการ วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก[แก้]

พ.ศ. 2521 – ปัจจุบัน        กรรมการกลางสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย[แก้]

กระทรวงการคลัง[แก้]

พ.ศ. 2539 – 2542            ประธานคณะทำงานจัดหาข้อเสนอมาตรการจัดตั้งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงการคลัง[แก้]

พ.ศ. 2543                 รองประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  [แก้]

กระทรวงสาธารณสุข[แก้]

พ.ศ. 2532 – 2533            ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขในการเจรจาปัญหานำเข้าบุหรี่ กับสหรัฐอเมริกา ภายใต้กฎหมายการค้า มาตรา 301 และที่ประชุมว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากร และการค้า (แกตต์)[แก้]

พ.ศ. 2532 – 2536            กรรมการคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ[แก้]

พ.ศ. 2536 – 2543            กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบ[แก้]

พ.ศ. 2532 – 2536            กรรมการบริหาร สมาพันธ์ควบคุมการบริโภคยาสูบภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกส์[แก้]

พ.ศ. 2534 – 2539            กรรมการคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติด้านยา[แก้]

พ.ศ. 2534 – 2539            ประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมให้มีการใช้ยาที่เหมาะสมคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข[แก้]

พ.ศ. 2534 – 2535            ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ)[แก้]

พ.ศ. 2536 – 2538            ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์)[แก้]

พ.ศ. 2541 – 2543            กรรมการที่ปรึกษาและสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายคำรณ ณ ลำพูน)[แก้]

พ.ศ. 2544 – พ.ค.2549     ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการจัดทำแผนควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติ ตาม พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535[แก้]

พ.ศ. 2544 – พ.ค.2549     ประธานอนุกรรมการประชาสัมพันธ์การควบคุมการบริโภคยาสูบและเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับโทษพิษภัยของบุหรี่[แก้]

พ.ศ. 2544 –พ.ค.2549      อนุกรรมการจัดทำแผนคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535[แก้]

พ.ศ. 2546 – พ.ค.2549     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ[แก้]

พ.ศ. 2546 – พ.ค.2549     อนุกรรมการพิจารณามาตรการการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบและการดำเนินการติดป้ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ[แก้]

พ.ศ. 2546 – พ.ค.2549     คณะกรรมการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ[แก้]

พ.ศ. 2547 – พ.ค.2549     คณะกรรมการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์[แก้]

พ.ศ. 2550                 รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญคนที่สอง  ร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  พ.ศ.. ...สภานิติบัญญัติแห่งชาติ[แก้]

พ.ศ. 2550 – 2551           คณะที่ปรึกษาอาวุโสนายแพทย์มงคล ณ สงขลา  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข[แก้]

พ.ศ. 2551                       หัวหน้าคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมภาคีสมาชิกใหญ่กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบครั้งที่ 3[แก้]

พ.ศ. 2552                       หัวหน้าคณะผู้แทนไทยสำหรับในการดำเนินการระหว่างประเทศ ตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ  กระทรวงสาธารณสุข[แก้]

พ.ศ. 2552-2553              คณะผู้แทนไทยในการเจรจาร่างพิธีสารการควบคุมยาสูบผิดกฎหมายอนุสัญญาควบคุมยาสูบองค์การอนามัยโลก[แก้]

พ.ศ. 2555-2556              เลขาธิการเครือข่ายสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ ( สสส.นานาชาติ)[แก้]

พ.ศ. 2554-2558              ประธานเครือข่ายโรคไม่ติดต่อ ( Thai NCD Net)[แก้]

พ.ศ. 2554 – 2558            ที่ปรึกษาคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและจัดทำร่างกฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบ  กรมควบคุมโรค  กระทรวงสาธารณสุข[แก้]

พ.ศ. 2557 – 2558            ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ศ.นพ.รัชตะ  รัชตะนาวิน[แก้]

สำนักนายกรัฐมนตรี[แก้]

พ.ศ. 2541 – 2543            คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี[แก้]

พ.ศ. 2545 – ก.ค. 2547     รองประธานกรรมการคนที่สอง คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ[แก้]

พ.ศ. 2546 – ก.ค. 2547     คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน[แก้]

                                  - ประธานคณะอนุกรรมการด้านการมีส่วนร่วม[แก้]

พ.ศ. 2548 – 2549           ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ[แก้]

พ.ศ. 2550                        ประธานคณะทำงานศึกษาการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสังคม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์[แก้]

พ.ศ. 2550                       ประธานคณะกรรมการอำนวยการ แผนงานส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดอบายมุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์[แก้]

ทบวงมหาวิทยาลัย[แก้]

พ.ศ. 2534 – 2538            กรรมการคณะกรรมการสอบไล่ภายนอก คณะแพทยศาสตร์รังสิต[แก้]

องค์กรเอกชน[แก้]

พ.ศ. 2529 – 2539            เลขาธิการโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มูลนิธิหมอชาวบ้าน[แก้]

พ.ศ. 2540 – ปัจจุบัน        เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่[แก้]

องค์การอนามัยโลก[แก้]

พ.ศ. 2539 – 2545           คณะที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านบุหรี่และสุขภาพองค์การอนามัยโลก[แก้]

พ.ศ. 2544 - 2546            ที่ปรึกษา Bangladesh Anti-Tobacco Alliance (BATA) ประเทศบังคลาเทศ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พ.ศ. 2532    ประถมาภรณ์มงกุฎไทย[แก้]

พ.ศ. 2535    ประถมาภรณ์ช้างเผือก[แก้]

พ.ศ. 2538    มหาวชิรมงกุฎ (มวม.)[แก้]

พ.ศ. 2543    มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (มปช.)[แก้]

พ.ศ. 2544    เหรียญจักรพรรดิมาลา[แก้]