ผู้ใช้:Fafahmui

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สวนไม้หอม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขต กำแพงแสน[แก้]

[1]



ไม้หอมคือพันธุ์ไม้ที่ส่วนประกอบ เช่น ใบ ดอก ผล ลำต้น เปลือก และอื่นๆ มีกลิ่นหอม สามารถให้ประโยชน์กับมนุษย์เราในหลายๆ ด้าน เช่น ดอก ให้ความสวยงาม เช่น ไม้ดอกหอมชนิดต่างๆใบ ใช้เป็นอาหารได้ เช่น ต้นธัมมัง (ต้นแมงดา) ใช้ใบใส่ในน้ำพริกทำให้มีกลิ่นคล้ายแมงดา เตยหอม ใช้ใส่ในขนมหวานหลายชนิด ผล ใช้เป็นอาหารและให้ความหอมพร้อมกันไป เช่น ผลของต้นอิน-จัน นมแมว ลำต้น เปลือก ใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคตามตำรารักษาโรคแผนโบราณได้ เช่น กรรณิการ์ ขมิ้นต้น พิกุล เป็นต้น


จากที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า ไม้หอมมีความผูกพันกับชีวิตประจำวันของคนไทยเรามายาวนาน ซึ่งฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนที่ได้รวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์ไม้หอม ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่บรรพชน จึงได้ทำการรวบรวมพันธุ์ไม้หอมที่สามารถปลูกได้ในพื้นที่บริเวณด้านหน้าของฝ่ายปฏิบัติการวิจัยฯ สวนไม้หอม


ความเป็นมา[แก้]

สวนไม้หอมได้ริเริ่มมาจากอาจารย์อาวุโส อาทิ รศ.กรึก นฤทุม ดร.วิชัย ก่อประดิษฐ์สกุล ดร.สุพัฒน์ อรรถธรรม และอีกหลายท่าน ได้ร่วมกันก่อตั้งมานานกว่า 20 ปี มีพันธุ์ไม้หอมเดิมอยู่ 39 ชนิด และมีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ จำปีสิรินธร ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกเมื่อปี พ.ศ. 2543 และ พุดน้ำบุษย์ ปลูกโดย ศ.ดร. ธีระ สูตะบุตร (อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) เมื่อปี พ.ศ. 2544 ปัจจุบันมีการปลูกไม้หอมเพื่อเพิ่มความหลากหลายของพันธุ์ไม้ขึ้นอีก 120 ชนิด โดยโครงการวิจัยการรวบรวมพันธุกรรมไม้หอม ศูนย์การเรียนรู้สวนไม้หอมของฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มีพันธุ์ไม้หอมมากกว่า 258 ชนิด เป็นแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์พันธุ์ให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ซึ่งไม้หอมเหล่านี้มีประโยชน์มากมายหลายประการ สามารถปลูกประดับบ้านเรือนให้สวยงามให้กลิ่นหอม ไม้หอมหลายชนิดมีสรรพคุณด้านสมุนไพรใช้บำบัดและรักษาโรคได้ตามตำรายาไทยแผนโบราณอีกด้วย และยังสามารถสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยนำมาทำน้ำหอม ธูปหอม ยาหอม ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และธุรกิจสปา สุวคนธบำบัด เพื่อการผ่อนคลาย เป็นต้น นอกจากนี้ไม้หอมบ้างชนิดมีศักยภาพ เช่น พะยอม กรรณิการ์ ปีบ มะพูด ฯลฯ สามารถนำ เปลือก ใบ ราก และดอก มาสกัดเป็นสีธรรมชาติ เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการย้อมผ้าชนิดต่างๆ






สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกจำปีสิรินทร เมื่อปี พ.ศ. 2543[แก้]

แผนที่ไปสวนไม้หอม[แก้]

อ้างอิงผิดพลาด: ตัวแปรเสริมไม่ถูกต้องในป้ายระบุ <references>

แหล่งข้อมุลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]


1. http://www.oknation.net/blog/buzz/2007/09/06/entry-1