ผู้ใช้:Enjoy1515

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติส่วนตัว[แก้]

  • ชื่อ พัสรา มนขุนทด ชื่อเล่น จอย
  • Miss patsara mokhunthod Nick name joy
  • ที่อยู่ปัจจุบัน 276 หมู่ 5 ตำบลด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา 30210
  • ประวัติการศึกษา
    • จบ ประถมศึกษา โรงเรียบ้านใหม่เจริญสุข อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
    • จบ มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียบ้านใหม่เจริญสุข อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
    • จบ มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
    • จบ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) โรงเรียนมารีย์บริหารธุรกิจ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
  • ตำแหน่งงานด้านไอทีสนใจ
    • ผู้ดูแลและบริหารระบบเครือข่าย เพราะได้บริหารและจัดการออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่าย
  • ความสามารถอื่น
    • ร้องเพลง
    • กีฬา(บอลเล่ห์)

บทความไอทีที่สนใจ[แก้]

1. เปลี่ยนข้อมูลระบบเริ่มต้นของ Windows

ใน Windows XP คุณสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบเริ่มต้นของ Windows ในส่วนของข้อมูลระบบ ( Logo ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และข้อมูลอื่น ๆ ) ให้เป็นเอกลักษณ์ส่วนตัวของคุณเอง ซึ่งข้อมูลพวกนี้จะแสดงเมื่อเราคลิกขวาที่ My Computer แล้วเลือก Properties ซึ่งจะแสดงโลโก้ของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์หรือพื้นที่ว่างเปล่าหากเป็นเครื่องที่เราประกอบหรือไม่มียี่ห้อ เราจะบอกถึงวิธีการเพิ่มโลโก้ของคุณเองที่่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเท่ห์อีกแบบ รวมทั้งใส่ชื่อลงไปด้วย ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ในการเปลี่ยนแปลงระบบค่าของส่วนคุณสมบัติ ขั้นแรกให้คลิกที่ปุ่ม Start เลือก Run และพิมพ์ Notepad จากนั้นกด Enter พิมพ์ข้อความต่อไปนี้ใน notepad [General] Manufacturer="ชื่อที่ต้องการ" Model=" ชื่อรุ่น" [Support Information] Line1="ข้อความส่วน Support Information บรรทัดที่ 1" Line2="ข้อความส่วน Support Information บรรทัดที่ 2" คำหลักที่เป็นค่ามาตรฐานจะเปลี่ยนไม่ได้คื่อคำที่อยุ่ก่อนเครื่องหมาย = คือ Manufacturer, Model, Line 1, Line 2 ไม่ควรเปลี่ยนแปลงคำหลักเหล่านี้ได้ ให้เปลี่ยนคำที่อยู่ในเครื่องหมายคำุพูดซึ่งจะเป็นข้อความที่จะแสดงผลออกมา ตอนนี้บันทึกนี้ไฟล์ Notepad ในโฟลเดอร์ c:/windows/system32 โดยตั้งชื่อดังนี้ OEMINFO.INI เลือกภาพที่คุณชื่นชอบตั้งค่าให้เป็นโลโก้โดยใช้โปรแกรมแก้ไขภาพใด ๆ ปรับขนาดประมาณขนาดภาพเป็น 150X150 พิกเซลแล้วบันทึกลงในโฟลเดอร์ c:/windows/system32 ให้มีชื่อไฟล์ว่า OEMLOGO.BMP จะเห็นว่านามสกุลเป็น .BMP รีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณหลังจากที่การเปลี่ยนแปลงค่าต่าง ๆ เสร็จแล้ว ในการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงให้คลิกขวาที่ My Computer แล้วเลือกทีี่ Properties ภายใต้แท็บ General ให้ตรวจสอบคุณสมบัติของระบบที่มีการตั้งค่าใหม่ คลิกบน Support Information เพื่อดูรายละเอียด

2. เคล็ดลับและเทคนิคที่ดีใน Windows 7

ตอนนี้ทุกท่านคงคุ้นเคยและใช้งานกันอย่างคล่องแคล่วแล้วสำหรับ windows 7 วันนี้ผมมีเคล็ดลับและเทคนิคที่ทำให้ Windows 7 เจ๋งขึ้นมาฝากกัน ในบทความนี้เราจะมุ่งเน้นไปที่อินเตอร์เฟซของ Windows 7 ที่ให้คุณเริ่มต้นไปสู่การเป็นผู้ใช้ Windows 7 อย่างเชี่ยวชาญยิ่งขึ้นไปอีก

1 ใช้แป้นพิมพ์เป็นคำสั่งลัด

การใช้เมาส์อาจจำยอดเยี่ยมกว่าีคีย์บอร์ดมากในการใช้งานทั่วๆไป แต่ถ้าหากใช้แป้นพิมพ์ไปด้วยมันคงจะเจ๋งเข้าไปให้ ต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งของคำสั่งที่ใช้ด้วย แป้นพิมพ์ลัด

Win+ลูกศาซ้าย และ Win+ลูกศรขวา เป็นการเลื่อนรายการที่ ที่ dock ของวินโดวส์ไปทางซ้ายหรือขวา Win + ลูกศรบน และ Win + ลูกศรลง เป็นการย่อ หรือเรียกคืนหน้าต่างที่เปิดใช้งานอยู่ Win + M ย่อทุกหน้าต่างที่เปิดอยู่ Alt + ลูกศรขึ้น , Alt + ลูกศรซ้าย , Alt + ลูกศรขวา เป็นการเรียกไปที่โฟลเดอร์หลักหรือเรียกกลับ และส่งต่อผ่านโฟลเดอร์ใน Explorer Win + Home ย่อและเปิดหน้าต่างทั้งหมดยกเว้นหน้าต่างที่ใช้งานอ Alt + Win + # เข้าถึงรายการของโปรแกรม '#' บน task bar เครื่องหมาย # แทนตัวเลขลำดับที่ของโปรแกรมที่เปิดอยู่

2.การเรียงไอคอนบน System Tray

คุณสามารถจัดเรียงไอคอนบนทาสก์บาร์ตามที่คุณต้องการ หรือสลับการทำงาน ของโปรแกรม ยังสามารถจัดเรียงไอคอนถาดระบบ เรียงลำดับหรือย้าย ซึ่งการเรียงลำดับจะเป็นการเรียกใช้งานตามลำดับด้วยซึ่งสามารถซ่อนหรือไม่ แสดงไอคอนที่เราต้องการทำให้เรียกใช้งานได้ง่ายขึ้นด้วย

3 การเข้าถึงรายการทางลัดด้วยปุ่มซ้ายของเมาส์

รายการของโปรแกรมต่างๆที่ task bar จะเรียกขึ้นมาเมื่อคุณคลิกขวาบนไอคอนแถบงาน แต่ยังสามารถเข้าถึงได้โดยคลิกที่ เมาส์ปุ่มซ้ายและลากขึ้นไป หากคุณใช้ทัชแพดแล็ปท็อปหรือหน้าจอสัมผัส จะอำนวยความสะดวกสบายเพราะคุณจะได้ไม่ต้องคลิกปุ่มใด ๆ เพียงลากมัน เจ๋งเลยละ

4 เพิ่มโฟลเดอร์ใด ๆ ในรายการโปรด

คุณสามารถเพิ่มโฟลเดอร์ใด ๆ ไปยังส่วนของรายการโปรดใน Windows Explorer เมื่อต้องการเพิ่มโฟลเดอร์ให้นำทางไปยังใน Explorer, คลิกขวาที่ Favorites รายการในบานหน้าต่างนำทางด้านซ้ายและเลือก Add current location to Favorites เพียงเท่านี้โฟลเดอร์ที่เราใช้บ่อยๆก็จะหาง่ายขึ้นและเรียกใช้ได้สะดวกมากขึ้น

5 ปักหมุด โฟลเดอร์ที่ใช้บ่อยในแถบงาน

เป็นการสร้างทางลัดอีกแบบหนึ่งให้เข้าถึงไฟล์และโฟลเดอร์ที่ใช้บ่อย ๆ ได้ง่ายขึ้น ให้ทำการคลิกขวาลากและโฟลเดอร์ที่ที่ใช้งานบ่อยๆไปไว้ที่ Windows Explorer บนแถบงาน ทีนี้เมื่อคุณคลิกขวาบน Explorer ที่ให้คุณเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วไปยังโฟลเดอร์นั้น ๆ

6 ปักหมุด Control Panel ที่แถบงาน

คุณไม่สามารถ ปักหมุด แผงควบคุมเพื่อใช้งานแถบงานผ่านทางเมนู Start โดยการลากและวางประโยชน์จากการนี้เป็นรายการไปแผงควบคุมที่ช่วยให้การเข้า ถึงอย่างรวดเร็ว

7 สร้างแป้นพิมพ์ลัดสำหรับการเข้าถึงโปรแกรม

คุณสามารถสร้างแป้นพิมพ์ลัดสำหรับการเข้าถึงโปรแกรมใด ๆ ใน Windows 7 โดยให้ทำการคลิกขวาที่ไอคอนของโปรแกรมและเลือก Properties เลือกแท็บ Shortcut จากนั้นในช่อง Shortcut key จะ เป็นการตั้งค่าแป้นพิมพ์ลัดสำหรับโปรแกรมที่ต้องการให้พิมพ์เข้าไปได้เลยดัง แสดงในรูปด้านล่างครับ เราก็จะเข้าถึงโปรแกรมนั้น ๆ ได้ด้วยการพิมพ์ตามที่ได้ตั้งค่าไว้แล้ว

8 ใช้คำสั่ง Command Prompt ในการเปิดในโฟลเดอร์ใด ๆ

หากใครชื่อชอบการใช้งานคำสั่งจัดการแฟ้มผ่าน Command Prompt แล้วละก็ให้ทำการกดปุ่ม Shitft เมื่อคลิกขวาบนโฟลเดอร์ที่จะได้รับตัวเลือกที่ในเมนูขึ้นมา ยังใช้งานบนเดสก์ทอป แต่หากใครที่ไม่รู้จักมันก็ข้ามไปได้เลยสำหรับพวกฮาร์ดคอร์

9 ขยายเมนู 'Send To' ทั้งหมด

บางทีที่เราต้องการจะส่งโปรแกรมหรือไฟล์ใด ๆ ไปด้วยเมนู send to คำสั่งบางอันอาจโดนย่อไว้แ้ก้ได้้ด้วยการกดปุ่ม Shift เมื่อคลิกขวาบนโฟลเดอร์ ก็จะได้รับการขยายตัวคำสั้งทั้งหมดที่ส่งไปยังเมนู


10 ปรับหน้าจอ Clear Type เพื่อการแสดงผลที่ดีขึ้น การปรับแต่งนี้สำหรับบนจอ LCD ของคุณหรือหน้าจอแล็ปท็อปให้เข้าที่ Run จากเมนู Start จากนั้นพิมพ์ว่า cttune.exe ในกล่องค้นหาหรือไปที่ Control Panel และเลือกการ Adjust ClearType Text ก็จะเข้าสู่หน้าปรับแต่งให้เลือกการแสดงผลที่เหมาะกับเรามากที่สุดจะได้ถนอมสายตาด้วย

11 กำหนดค่าของปุ่มเพาเวอร์

ถ้าคุณรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณบ่อยๆ การเปลี่ยนค่าเริ่มต้นการใช้งานปุ่มเพาเวอร์คงจะเป็นสิ่งดีไม่น้อยเพราะค่า เริ่มต้อนของมันก็คือ shutdown ซึ่งเป็นการปิด ให้ทำการโดยคลิกขวาที่ปุ่ม Start ให้เลือก Properties และเลือก Power button action ที่ คุณใช้มากที่สุดในที่นี้คงเป็น restart จากนี้เมื่อคลิกที่ปุ่มปิดมันจะเป็นการรีสตาร์ทแล้ว หรือจะกำหนดออฟชั้นอื่น ๆ เป็นค่าเริ่มต้นก็ได้

12 การกำหนดจำนวนรายการในรายการทางลัดและเมนูเริ่ม

ส่วนนี้คงเหมาะสำหรับคนที่รู้สึกว่าเมนูต่าง ๆ ในรายการทางลัดมันแกะกะ เกินไป หากคุณเป็นเช่นนั้นให้ทำการคลิกขวาที่ Start เลือก Properties ให้คลิก Customize และเลือกจำนวนของโปรแกรมล่าสุดที่จะแสดงในเมนูเริ่ม และจำนวนรายการที่ปรากฏในรายการทางลัดจากเมนู 'เริ่ม' ส่วนขนาดด้านล่าง ในช่อง Jump Lists


13 ค้นหาจากอินเทอร์เน็ตด้วย Start Menu

เปิดใช้งานการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตจากเมนู Start โดยใช้เบราว์เซอร์เริ่มต้นของคุณเรียก gpedit.msc จาก Start Menu ที่กล่องค้นหาเพื่อเริ่มต้นการแก้ไข Group Policy Editor ในบานหน้าต่างด้านซ้ายไปที่ผู้ใช้ User Configuration->Administrative Templates->Start Menu and Taskbar. ในบานหน้าต่างด้านขวาคลิกขวาเพื่อแก้ไขและเปิดใช้งาน Add Search Internet link to Start Menu ด้วยการ Enable มันซะ

14 เพิ่มเมนูวิดีโอในแถบ Start

Windows 7 ไม่ได้สร้างส่วนเชื่อมโยงไปยังวิดีโอของคุณบนเมนูเริ่มในค่าเริ่มต้น ในการ เพิ่มการเชื่อมโยงกับวิดีโอของคุณบนเมนูเริ่มให้คลิกขวาที่ Start เลือก Properties ให้คลิก Customize ในส่วน Videos ที่ด้านล่างเลือกการแสดงผลเป็น Display as a link


3. การเปลี่ยนช่วงเวลากู้คืนอัตโนมัติ Office 2007,2010

คุณสมบัติที่มีประโยชน์ของ Microsoft Office 2007 คือการใช้งานเป็น AutoRecover มันคือการบันทึกข้อมูลทั้งหมดใน Office 2007 ตามเวลาที่ตั้งค่าไว้เพื่อให้สามารถกู้คืนได้ ในกรณีที่มีไฟฟ้าดับหรือผิดพลาดของระบบ ข้อมูลทั้งหมดของคุณใน Office จะถูกบันทึกไว้โดยอัตโนมัติในช่วงเวลาที่ระบุว่า

คุณลักษณะนี้จะช่วยให้ ลดการเสียข้อมูลต่างที่สร้างจาก Office โดยค่าเริ่มต้นช่วง AutoRecover ถูกตั้งค่าเป็น 10 นาที แต่เราสามารถที่จะเปลี่ยนช่วงเวลา AutoRecover ใน Office 2007 ได้

ดังเช่นถ้าคุณเปลี่ยนช่วงเวลาใน AutoRecover Office 2007 จาก 10 ไปเป็นทุกๆ 5 นาที มันก็จะทำการบันทึกข้อมูลอัตโนมัติ ทุก ๆ 5 นาทีซึ่งหากเกิดปัญหาเราก็จะได้ข้อมูลที่กู้กลับ ใหม่ที่สุด ตัวเลือกในการเปลี่ยนช่วง AutoRecover ใน Office 2007 มีทุกโปรแกรมของ Office จะใช้ตัวอย่างของ Excel 2007 ขั้นตอนการทำก็จะเหมือนกัน ให้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้เพื่อเปลี่ยนช่วง AutoRecover ใน Office 2007 1 คลิกที่ปุ่ม Office กังแสดงในรูปด้านล่าง






2 คลิกที่ " Excel Options " สำหรับภาษาไทย " ตัวเลือกของ Excel " จากด้านล่างของเมนู








3 กล่องโต้ตอบตัวเลือก Excel จะปรากฏขึ้น เลือก Save สำหรับภาษาไทยเลือก บันทึก ในเมนูด้านซ้าย 4 ตรวจสอบตัวเลือก "Save AutoRecover information" สำหรับภาษาไทย "บันทึกข้อมูลการกู้คืนอัตโนมัติทุกๆ"
















5 เลือกความถี่ของเวลาการบันทึกข้อมูลการกู้คืน ที่ต้องการสำหรับ AutoRecover
















6 คลิก OK เป็นอันเสร็จสิ้น คุณไม่ควรตั้งเวลาในช่วงเวลาที่สั้นมาก โปรดจำไว้ว่าเมื่อทำงานบนแผ่นงานขนาดใหญ่ แล้วตั้ง AutoRecover ด้วยช่วงเวลาสั้นมากเช่น 1 นาที นั่นอาจทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง เช่นการบันทึกข้อมูลจำนวนมากทุก ๆ นาที

LAN Technology[แก้]

1. แบบบัส ( BUS Topology )

เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS ทีปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Teminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย


2. แบบดาว ( Star topology )

เป็นการเชื่อมต่อสถานีหรือจุดต่าง ๆ ออกจากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เรียกว่า File Server แต่ละสถานีจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง ไม่มีการใช้สายสัญญาณร่วมกัน เมื่อสถานีใดเกิดความเสียหายจะไม่มีผลกระทบกับสถานีอื่น ๆ ปัจจุบันนิยมใช้อุปกรณ์ HUB เป็นตัวเชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง


3. แบบวงแหวน ( Ring Topology )

เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ โดยสถานีแรกเชื่อมต่อกับสถาน สุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานี โดยมีตัวนำสารวิ่งไปบนสายสัญญาณของแต่ละสถานี ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเองต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป


4. แบบตาข่าย (Mesh Topology)

รูปแบบเครือข่ายแบบนี้ ปกติใช้ในระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) ลักษณะการสื่อสารจะมีการต่อสายหรือการเดินของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือโหนดไปยังโหนดอื่น ๆ ทุก ๆ ตัว ทำให้มีทางเดินข้อมูลหลายเส้นและปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่จะเกิดจากการล้มเหลวของระบบ แต่ระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าระบบอื่น ๆ เพราะต้องใช้สายสื่อสารเป็นจำนวนมาก

WAN Technology[แก้]

1. เซอร์กิตสวิตชิ่ง (Circuit Switching)

เป็นกลไกสื่อสารข้อมูล ที่สร้างเส้นทางข้อมูลระหว่างสถานีส่งก่อนที่จะทำการส่งข้อมูลเมื่อเส้นทางดังกล่าวนี้สร้างแล้วจะใช้ในการส่งข้อมูลได้เฉพาะสองสถานีนี้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของระบบเซอร์กิตสวิตชิ่ง ได้แก่ ระบบโทรศัพท์นั่นเอง โทรศัพท์แต่ละหมายเลขจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อมายังชุมสายโทรศัพท์ หรือCO (Central Office) ซึ่งมีสวิตช์ติดตั้งอยู่ ระหว่างชุมสายโทรศัพท์จะมีการเชื่อมต่อกัน ทำให้สามารถโทรศัพท์ไปเบอร์อื่น ๆ ได้ บางครั้งอาจผ่านชุมสายโทรศัพท์หลาย ๆ ชุมสาย ทุกครั้งที่ใช้โทรศัพท์จะมีเส้นทางสัญญาณที่ถูกจองไว้สำหรับใช้ในการสนทนาแต่ละครั้ง เมื่อเลิกใช้โทรศัพท์เส้นทางนี้จะถูกยกเลิกและพร้อมสำหรับการใช้งานครั้งต่อไป การสร้างเส้นทางผ่านข้อมูลเซอร์กิตสวิตชิ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญในระบบส่งสัญญาณแบบเซอร์กิตสวิตชิ่ง เฟรมข้อมูลที่ส่งแต่ละการเชื่อมต่อจะถูกส่งผ่านเครือข่าย โดยใช้เส้นทางเดียวกันทั้งหมด สำหรับหลักการทำงาน ให้พิจารณาจากรูปที่ 1-(a) ฝั่งต้นทางในที่นี้คือ S ซึ่งต้องการสื่อสารกับฝั่งปลายทางคือ T ผ่านเครือข่าย และด้วยวิธีเซอร์กิตสวิตชิ่ง นั้นจะสร้างเส้นทางเพื่อการส่งข้อมูลแบบตายตัว (Dedicated Path) ดังนั้นการเชื่อมต่อจากฝั่งต้นทาง S ไปยังปลายทางT ในที่นี้ก็ได้มีการจับจองเส้นทางตามนี้คือ

ไฟล์:Wind area network.png


เส้นทางดังกล่าวจะถูกถือครองในระหว่างการสื่อสารตลอดจนกระทั่งยุติการสื่อสาร ถึงจะถูกปลดออก (Release) กล่าวคือ ตลอดในช่วงเวลาของการถือครองเพื่อการสื่อสารระหว่างฝั่งต้นทางและฝั่งปลายทาง เส้นทางนี้จะถูกโฮลด์ไว้ โดยผู้อื่นจะไม่สามารถใช้งานเส้นทางเหล่านั้นได้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อเสีย ส่วนข้อดีของวิธีเซอร์กิตสวิตชิ่งนี้ก็คือ หลังจากที่ฝั่งต้นทางสามารถสร้างคอนเน็ก-ชันเพื่อเชื่อมต่อกับฝั่งปลายทางได้แล้ว การรับส่งข้อมูลก็จะดำเนินการได้ทันทีโดยผ่านเส้นทางที่เปรียบเทียบเสมือนกับท่อที่ได้วางไว้ ดังนั้น การถ่ายโอนข้อมูลจึงกระทำได้อย่างรวดเร็ว โดยมีค่าหน่วยเวลาหรือ Delay น้อยมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกของการสื่อสารอาจจำเป็นต้องรอคอยก่อน เนื่องจากจำเป็นต้องมีการสร้างคอนเน็กชัน เพื่อวางเส้นทางไปยังโฮสปลายทางระบบส่งสัญญาณแบบเซอร์กิตสวิตชิ่งที่ใช้ในเครือข่าย WAN มีดังนี้

• โมเด็มและระบบโทรศัพท์ (Modem and Telephone System)

• สายคู่เช่า (Leased Line)

• ISDN (Integrated Services Digital Network)

• DSL (Digital Subscriber line)

• เคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)


2. เมสเสจสวิตชิ่ง (Message Switching)

วิธีการสื่อสารแบบเมสเสจสวิตชิ่งนั้น เมสเสจจะถูกส่งจากฝั่งต้นทาง S ไปยังปลายทาง T ในลักษณะเป็นขั้นๆ โดยจะมีการถือครองเส้นทางในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น จากรูปภาพที่ 1-(b) จะเห็นได้ว่า ในขั้นตอนแรก S ได้มีการส่งผ่านเส้นทางไปยัง a จากนั้น a ก็จะมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราว ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเส้นทาง จาก S ไปยัง a นั้นจะถูกปลดออก (Release) ทำให้ผู้อื่นสามารถใช้เส้นทางนี้ในการลำเลียงข้อมูล จากนั้น a ก็ได้ดำเนินการส่งเมสเสจนั้นต่อไปยัง c และดำเนินการเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงปลายทาง T จะเห็นได้ว่า วิธีนี้จะมีการถือครองเส้นทางในการลำเลียงข้อมูลในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น โดยเมื่อโหนดใดโหนดหนึ่งได้จัดเก็บเมสเสจเหล่านั้นไว้ชั่วคราวแล้ว เส้นทางนั้นก็จะถูกปลดออกเพื่อให้ผู้อื่นใช้งานต่อไป วิธีนี้ถือว่าเป็นการใช้เส้นทางในการลำเลียงข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม เมสเสจสวิตชิ่งนี้ก็มีข้อเสียคือ ค่าหน่วงเวลามีค่อนข้างสูง เนื่องจากข้อมูลที่ส่งไปในระหว่างทางนั้นจะถูกจัดเก็บไว้ชั่วคราวในแต่ละจุดบนเครือข่าย ซึ่งอุปกรณ์ที่จัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นจะประมวลผลค่อนข้างช้าทีเดียว เช่น ดิสก์ หรือดรัมแม่เหล็ก ในขณะที่ในยุคก่อนนั้นใช้เทปกระดาษก็จะยิ่งทำให้ล่าช้าขึ้นไปอีก และหากข้อมูลมีขนาดใหญ่ ซึ่งปกติก็จะมีการแบ่งข้องมูลออกเป็นส่วนๆ ก็จะทำให้ใช้เวลาส่งมากขึ้น รวมถึงจำนวนโหนดที่ส่งต่อระหว่างกันบนเครือข่าย หากมีโหนดที่ส่งต่อจำนวนมาก ก็จะทำให้เกิดความล่าช้ามากขึ้นตามมาด้วย



3. แพ็กเก็ตสวิตชิ่ง (Packet Switching)

การสื่อสารแบบวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิ่งนั้น จัดเป็นกรณีพิเศษของเมสเสจสวิตชิ่ง ด้วยการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษเข้าไป โดยในขั้นแรกเมื่อต้องการส่งหน่วยข้อมูล และด้วยแพ็กเก็ตมีขนาดที่จำกัดดังนั้น หากเมสเสจมีขนาดใหญ่กว่าขนาดสูงสุดของแพ็กเก็ต จะมีการแตกออกเป็นหลาย ๆ แพ็กเก็ตขั้นที่สอง เมื่อแพ็กเก็ตได้ส่งผ่านจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งบนเครือข่าย จะมีการจัดเก็บแพ็กเก็ตเหล่านั้นไว้ชั่วคราวบนหน่วยความจำความเร็วสูง เช่น RAM ซึ่งในเวลาในการประมวลผลได้รวดเร็วกว่าอุปกรณ์ที่ใช้งานบนระบบเมสเสจสวิตชิ่ง ข้อดีของการสื่อสารด้วยวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิ่งก็คือ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเมสเสจสวิตชิ่งแล้วค่าหน่วงเวลาของแพ็กเก็ตสวิตชิ่งนั้นมีค่าน้อยกว่า โดยค่าหน่วงเวลาของแพ็กเก็ตแรก จะเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่ในขณะที่แพ็กเก็ตแรกนั้นผ่านจำนวนจุดต่าง ๆบนเส้นทางที่ใช้ หลังจากนั้นแพ็กเก็ตที่ส่งตามมาทีหลังก็จะทยอยส่งตามกันมาอย่างรวดเร็ว และหากมีการสื่อสารบนช่องทางความเร็วสูงแล้ว ค่าหน่วงเวลาที่เกิดขึ้นจะมีค่าที่ต่ำทีเดียวโดยการสื่อสารด้วยวิธีแพ็กเก็ตสวิตชิ่งนี้ยังแบ่งออกเป็น 2 วิธีด้วยกันคือ วิธีดาต้าแกรม (Datagram Approach)และ เวอร์ชวลเซอร์กิต (Virtual-Circuit Approach)

ไฟล์:Windareanetwork.png


เทคโนโลยี WAN ที่ใช้ระบบส่งข้อมูลแบบแพ็กเก็ตสวิตช์มีดังนี้

• x.25

• เฟรมรีเลย์ (Frame Relay)

• ATM (Asynchronous Transfer Mode)


OSI Model และ TCP/IP Model[แก้]

TCP/IP model OSI model
Application Layer Application Layer
- Presentation Layer
- Session Layer
Transport Layer Transport Layer
Internet Layer Network Layer
Network Access Layer Data Link Layer
- Physical Layer

อ้างอิง[แก้]

http://www.superict.com/component/viewall_section.php?section_id=1