ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Dvin

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทที่ 1 แม่บทที่การบัญชี ลักษณะของการบัญชี และงบการเงิน

แม่บทการบัญชี

          แม่บทการบัญชีไม่ถือเป็นมาตรฐานการบัญชี แต่เป็นกรอบหรือแนวคิดขั้นพื้นฐานในการจัดทำาและนำาเสนอ

งบการเงิน ตลอดจนการกำาหนดและนำามาตรฐานการบัญชีมาปฏิบัติ นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำาหรับ เรื่องที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีรองรับ เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินทุกฝ่ายมีความเข้าใจและนำาไปปฏิบัติในแนวทาง เดียวกัน แม่บทการบัญชีโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ขอบเขต 1. วัตถุประสงค์ของงบการเงิน งบการเงินจัดทำาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำาเนินงานการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ ซึ่งแสดงไว้ในงบดุล งบกำาไรขาดทุน และ งบกระแสเงินสด ตามลำาดับ รวมถึง หมายเหตุประกอบงบการเงิน รายละเอียดประกอบ และข้อมูลอื่น ๆ ซึ่งระบุไว้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน โดยฝ่ายบริหารของกิจการมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำา และนำาเสนองบการเงินของกิจการข้อมูลในงบการเงินต้องมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงินทุกประเภท กล่าวคือข้อมูลที่นำาเสนอจะต้องมีลักษณะร่วม ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการทั่วไปของผู้ใช้งบการเงินได้ทุกกลุ่มแม่บทการบัญชีมิได้เน้นถึงความสำาคัญของผู้ใช้งบการเงินกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ แต่โดยนัยแล้วให้ถือความต้องการของผู้ลงทุนเป็นเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม งบการเงินไม่อาจให้ข้อมูลทุกประเภทที่ผู้ใช้งบการเงินต้องการได้เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่แสดงถึงผลกระทบทางการเงินจากเหตุการณ์ในอดีต โดยที่งบการเงินไม่จำาเป็นต้องแสดงข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงินแม่บทการบัญชีเน้นว่า แม้ข้อมูลในงบการเงินจะเป็นข้อมูลในอดีต แต่สามารถช่วยผู้ใช้งบการเงินในการประมาณการและการคาดการณ์ในอนาคต เพื่อใช้ตัดสินใจทางเศรษฐกิจได้ การตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงินนั้น รวมถึงการประเมินผลการบริหารงาน คามสามารถในการทำากำาไร และการก่อกระแสเงินสดของกิจการ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในกรณีใดกรณีหนึ่ง เช่น การตัดสินใจโยกย้าย หรือเปลี่ยนผู้บริหาร การขายหรือถือเงินลงทุนในกิจการต่อไป การอนุมัติวงสินเชื่อ การดำาเนินงานต่อเนื่องของกิจการ และการกำากับดูแลของหน่วยงานราชการ เป็นต้นเพื่อให้การจัดทำางบการเงินบรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น แม่บทการบัญชีได้กำาหนดข้อสมมุติไว้ 2 ข้อ คือ

                   - เกณฑ์คงค้าง  การบันทึกรายการทางบัญชี จะบันทึกก็ต่อเมื่อรายการนั้นได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่บันทึกเมื่อมีการรับหรือจ่ายเงินสด หรือรายการเทียบเท่าเงินสด โดยบันทึกถูกต้องตรงตามงวดบัญชีที่เกี่ยวข้อง
                   - การดำาเนินงานต่อเนื่อง  งบการเงินจัดทำาขึ้นภายใต้ข้อสมมุติที่ว่า กิจการจะดำาเนินงานอข่างต่อเนื่อง และดำาเนินอยู่ต่อไปในอนาคต โดยไม่มีเจตนาหรือความจำาเป็นที่จะเลิกกิจการหรือลดขนาดของการดำาเนินงานอย่างมีนัยสำาคัญ

2. ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน งบการเงินจะมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินตามวัตถุประสงค์ที่วางไวย้ก็ต่อเมื่อ งบการเงินนั้นมีลักษณะเชิงคุณภาพ ตามที่แม่บทการบัญชีกำาหนดไว้ดังนี้ ความเข้าใจได้ ข้อมูลในงบการเงินต้องสามารถเข้าใจได้ในทันทีที่ผุ้ใช้งบการเงินใช้ข้อมูลดังกล่าว ภายใต้ข้อสมมติที่ว่าผุ้ใช้งบการเงินมีความรู้ตามควรเกี่ยวกับธุรกิจ กิจกรรมเชิงเศรษฐกิจ แลการบัญชี รวมทั้งมีความตั้งใจตามควรที่จะศึกษาข้อมูลดังกล่าว ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจข้อมูลจะมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงินได้นั้น ต้องเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมทั้งช่วยยืนยันหรือชี้ข้อผิดพลาดของผลการประเมินที่ผ่านมาของผู้ใช้งบการเงินได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งบการเงินควรคำานึงถึงความมีนัยสำาคัญในการพัฒนาความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของข้อมูลนั้น ข้อมูลจะถือว่ามีนัยสำาคัญ เมื่อการละเว้นที่จะแสดงข้อมูลนั้น หรือการแสดงข้อมูลนั้นอย่างผิดพลาด ทำาให้ผู้ใช้งบการเงินตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจผิดพลาด หรือตัดสินใจแตกต่างไปจากที่ควรจะเป็น หากผู้ใช้งบการเงินได้ทราบข้อมูลนั้น ความเชื่อถือได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต้องเชื่อถือได้ โดยเป็นข้อมูลที่ปราศจากความผิดพลาดที่มีนัยสำาคัญและความลำาเอียง ซึ่งประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้

                   1 การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม หมายถึงข้อมูลควรแสดงตามเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นแล้ว นั่นคือเป็นข้อมูลที่เข้าเกณฑ์การรับรู้รายการ ณ วันที่เสนอรายงาน
                   2 เนื้อหาสำาคัญกว่ารูปแบบ หมายถึง ข้อมูลต้องบันทึกและแสดงตามเนื้อหาและความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจไม่ใช่ตามรูปแบบทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว
                   3 ความเป็นกลาง หมายถึง ข้อมูลที่แสดงต้องมีความเป็นกลาง หรือปราศจากความลำาเอียง โดยไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะชี้นำาผู้ใช้งบการเงิน
                   4 ความระมัดระวัง หมายถึง การใช้ดุลยพินิจที่จำาเป็นในการประมาณการภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้งบการเงินมีความน่าเชื่อถือ
                   5 ความครบถ้วน หมายถึง ข้อมูลในงบการเงินต้องมีความครบถ้วน โดยพิจารณาความมีนัยสำาคัญและต้นทุนในการจัดทำา เพื่อมิให้มีความผิดพลาด หรือทำาให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิด

การเปรียบเทียบกันได้ผู้ใช้งบการเงินต้องสามารถเปรียบเทียบงบการเงินในรอบระยะเวลาต่างกันของกิจการเดียวกัน และงบการเงินในรอบระยะเวลาเดียวกันของกิจการแต่ละกิจการได้ แต่มิได้หมายความว่าข้อมูลต้องอยู่ในรูปแบบเดียวกันตลอดไป และไม่สามารถยกเป็นข้ออ้สงที่จะไม่นำามาตรฐานการบัญชีที่เหมาะสมกว่ามาถือปฏิบัติ เพื่อให้ข้อมูลสามารถเปรียบเทียบกันได้ กาเปรียบเทียบกันได้ของข้อมูลช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถคาดคะเนถึงแนวโน้มของฐานะการเงิน และผลการดำาเนินงานของกิจการนั้น รวมทั้งเปรียบเทียบแนวโน้มกับกิจการอื่นก่อนที่จะตัดสิน ใจลงทุน

3. คำานิยาม การรับรู้และการวัดมูลค่าขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นงบการเงิน

            องค์ประกอบของงบการเงิน คือ ประเภทของรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีตามลักษณะเชิงเศรษฐกิจของรายการและเหตุการณ์นั่นที่แสดงไว้ในงบการเงิน ซึ่งแม่บทการบัญชีได้ให้คำนิยามองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการใช้คำานิยามดังกล่าวในการตีความเพื่อจำาแนกรายการต่าง ๆ ในงบการเงิน โดยมีรายละเอียดดังนี้

- องค์ประกอบซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการวัดฐานะการเงินในงบดุล 1. สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต

                   การรับรู้สินทรัพย์สินทรัพย์ควรรับรู้ในงบดุลเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจะเข้าสู่กิจการ และสินทรัพย์นั้นมีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ
                   สินทรัพย์ไม่ควรรับรู้ในงบดุลหากไม่น่าเป็นไปได้ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากรายจ่ายที่เกิดขึ้นเกินกว่ารอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายจ่ายนั้น รายจ่ายดังกล่าวควรรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน รายจ่ายที่เกิดขึ้นมิได้แสดงว่าฝ่ายบริหารมิได้มุ่งหวังประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตหรือแสดงว่าฝ่ายบริหารผิดพลาดในการจ่ายรายจ่ายนั้นเพียงแต่แสดงว่าระดับความแน่นอนที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเกินกว่ารอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันนั้นไม่เพียงพอที่กิจการจะรับรู้รายจ่ายเป็นสินทรัพย์ในงบดุล
                   

2. หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าว เป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งการชำาระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ

                    การรับรู้หนี้สินหนี้สินควรรับรู้ในงบดุลเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากรจะออกจากกิจการเพื่อชำระภาระผูกพันในปัจจุบัน และเมื่อมูลค่าของภาระผูกพันที่ต้องชำระนั้นสามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการไม่ต้องรับรู้ภาระผูกพันเป็นหนี้สินในงบดุล หากคู่สัญญายังมิได้ปฏิบัติตามภาระผูกพันในสัญญา เช่น กิจการไม่ต้องรับรู้รายการที่เกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าที่ยังมิได้รับเป็นหนี้สินในงบดุล แต่ในบางกรณีภาระผูกพันดังกล่าวอาจเป็นหนี้สินตามคำนิยามและเข้าเกณฑ์การรับรู้รายการซึ่งกิจการควรรับรู้ในงบดุล ในกรณีนี้การรับรู้หนี้สินอาจทำให้เกิดการรับรู้สินทรัพย์หรือค่าใช้จ่ายในเวลาเดียวกัน
                   

3. ส่วนของเจ้าของ หมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการ หลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว

- องค์ประกอบซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการวัดผลการดำาเนินงานในงบกำาไรขาดทุน 1. รายได้ หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสเข้าหรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้ของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ

                   การรับรู้รายได้กิจการควรรับรู้รายได้ในงบกำไรขาดทุนเมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือการลดลงของหนี้สินและเมื่อกิจการสามารถวัดค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ อีกนัยหนึ่งคือ การรับรู้รายได้จะเกิดขึ้นพร้อมกับการรับรู้ส่วนที่เพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือส่วนที่ลดลงของหนี้สิน ตัวอย่างเช่น สินทรัพย์สุทธิจะเพิ่มขึ้นเมื่อกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ หรือหนี้สินจะลดลงเมื่อเจ้าหนี้ยกหนี้ให้
                   แม่บทการบัญชีกำหนดเกณฑ์การรับรู้รายได้ไว้เป็นขั้นตอนเพื่อประโยชน์ในทางปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น รายได้จะรับรู้ต่อเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ขั้นตอนดังกล่าวกำหนดให้กิจการรับรู้รายได้เฉพาะรายการที่มีความแน่นอนเพียงพอที่จะเกิดขึ้นและสามารถวัดค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ

2. ค่าใช้จ่าย หมายถึง การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสออกหรือการลดค่าของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สินอันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ

                   การรับรู้ค่าใช้จ่ายกิจการควรรับรู้ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนเมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตลดลงเนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน และเมื่อกิจการสามารถวัดค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ อีกนัยหนึ่งการรับรู้ค่าใช้จ่ายจะเกิดขึ้นพร้อมกับการรับรู้ส่วนที่เพิ่มขึ้นของหนี้สินหรือส่วนที่ลดลงของสินทรัพย์ ตัวอย่างเช่น การตั้งค่าแรงค้างจ่ายหรือการตัดค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์
                   ค่าใช้จ่ายให้รับรู้ในงบกำไรขาดทุนโดยใช้เกณฑ์ความเกี่ยวพันโดยตรงระหว่างต้นทุนที่เกิดขึ้นกับรายได้ที่ได้มาจากรายการเดียวกัน เกณฑ์นี้ เรียกว่า การจับคู่รายได้และค่าใช้จ่าย ซึ่งกำหนดให้กิจการรับรู้รายได้พร้อมกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากรายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชีเดียวกัน ตัวอย่างเช่น กิจการจะรับรู้ต้นทุนขายพร้อมกับรายได้ที่เกิดจากการขายสินค้า อย่างไรก็ตามแม่บทการบัญชีนี้ไม่อนุญาตให้นำแนวคิดของการจับคู่รายได้และค่าใช้จ่าย มาใช้เพื่อบันทึกรายการในงบดุลหากรายการนั้นไม่เป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินตามคำนิยาม

เมื่อกิจการคาดว่าประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของรายการจะเกิดในหลายรอบระยะเวลาบัญชีและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นไม่สัมพันธ์โดยตรงกับรายได้ กิจการควรรับรู้ค่าใช้จ่ายนั้นในงบกำไรขาดทุนตามเกณฑ์การปันส่วนอย่างเป็นระบบและสมเหตุสมผล การปันส่วนเป็นสิ่งจำเป็นในการรับรู้ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการใช้สินทรัพย์ เช่น อาคาร อุปกรณ์ ค่าความนิยม สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า ค่าใช้จ่ายดังกล่าว เรียกว่า ค่าเสื่อมราคาหรือค่าตัดจำหน่าย ขั้นตอนในการปันส่วนมุ่งที่จะรับรู้ค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่กิจการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของสินทรัพย์หรือในรอบระยะเวลาบัญชีที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจดังกล่าวหมดอายุลง

                   กิจการควรรับรู้ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันทีที่รายจ่ายนั้นไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต หรือเมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตส่วนนั้นไม่เข้าเกณฑ์การรับรู้เป็นสินทรัพย์ในงบดุลอีกต่อไป
                   กิจการควรรับรู้ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนเมื่อกิจการต้องรับรู้หนี้สินโดยไม่มีการรับรู้สินทรัพย์ เช่น การรับรู้หนี้สินที่เกิดจากการรับประกันสินค้า

ดังนั้นจึงให้สมการทางการบัญชีได้ว่า สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ โดยที่รายได้และค่าใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่งของ ส่วนของเจ้าของ และมีกระทบผลต่อการเพิ่มขึ้นและลดลง ของ สินทรัพย์ และหนึ้สิน

การรับรู้องค์ประกอบของงบการเงิน  การรับรู้รายการ หมายถึง การรวมรายการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงบดุล และงบกำาไรขาดทุน หากรายการนั้นเป็นไปตามคำานิยามขององค์ประกอบและเข้าเกณฑ์การรับรู้รายการทุกข้อดังต่อไปนี้
                  1. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของรายการดังกล่าจะเข้าหรือออกจากกิจการ ซึ่งหลักเกณฑ์นี้ยึดหลัก ความน่าจะเป็น ในการพิจารณาการบันทึกรายการในงบการเงิน
                  2. รายการดังกล่าวมีราคาทุน หรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ ซึ่งหลักเกณฑ์นี้ยึดหลักการประมาณ ที่สมเหตุสมผลในการพิจารณาการบันทึกรายการในงบการเงินสำาหรับรายการที่ไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าว กิจการไม่ควรรับรู้รายการนั้นแต่ควรเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือคำาอธิบายเพิ่มเติม หากรายการนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผุ้ใช้งบการเงินของกิจการ

4.การวัดมูลค่าองค์ประกอบของงบการเงิน การวัดมูลค่า คือ การกำาหนดจำานวนเงินเพื่อรับรู้องค์ประกอบของงบการเงินในงบดุล และงบกำาไรขาดทุน การวัดมูลค่าจะเกี่ยวข้องกับการเลือกใช้เกณฑ์ในการวัดค่าต่าง ๆ ดังนี้

                   1. ราคาทุนเดิม หมายถึง การบันทึกราคาสินทรัพย์ด้วยจำานวนเงินที่จ่ายไป หรือบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ่งของที่นำาไปแลกสินทรัพย์มา ณ วันที่เกิดรายการ และการบันทึกหนี้สินด้วยจำานวนเงินที่คาดว่าจะต้องจ่าย เพื่อชำาระหนี้ที่เกิดจากการดำาเนินงานตามปกติของกิจการ
                   2. ราคาทุนปัจจุบัน หมายถึง การแสดงสินทรัพย์ด้วยราคาในปัจจุบัน โดยเทียบกับจำานวนเงินที่ต้องกจ่ายในขณะนั้น สำาหรับสินทรัพย์ชนิดเดียวกัน หรือสินทรัพย์ที่เท่าเทียมกัน และการแสดงหนี้สินด้วยราคาที่ควรเป็นในปัจจุบัน โดยเทียบกับจำานวนเงินที่ต้องใช้ชำาระภาระผูกพันในขณะนั้น
                   3. มูลค่าที่จะได้รับ หมายถึง การแสดงสินทรัพย์ด้วยจำานวนเงินที่อาจได้มาในขณะนั้น หากกิจการขายสินทรัพย์โดยมิใช่การบังคับขาย การแสดงหนี้สินด้วยมูลค่าที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อชำาระหนี้สินที่เกิดจากการดำาเนินงานตามปกติ
                   4. มูลค่าปัจจุบัน หมายถึง การแสดงสินทรัพย์ และหนี้สินด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคตภายใต้การดำาเนินงานตามปกติของกิจการ

ผู้ใช้งบการเงินและความต้องการข้อมูลผู้ใช้งบการเงินประกอบด้วย ผู้ลงทุน (ทั้งผู้ลงทุนในปัจจุบันและผู้ที่อาจตัดสินใจลงทุนในอนาคต) ลูกจ้าง ผู้ให้กู้ ผู้ขายสินค้าและเจ้าหนี้อื่น ลูกค้า รัฐบาลและหน่วยงานราชการและสาธารณชน ผู้ใช้งบการเงินเหล่านี้ใช้งบการเงินเพื่อตอบสนองความต้องการข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยผู้ใช้งบการเงินมีดังต่อไปนี้

                   1 ผู้ลงทุน หมายถึง ผู้เป็นเจ้าของเงินทุนรวมทั้งที่ปรึกษาซึ่งต้องการทราบถึงความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการลงทุน ผู้ลงทุนต้องการข้อมูลที่จะช่วยในการพิจารณาตัดสินใจ ซื้อ ขาย หรือถือเงินลงทุนนั้นต่อไป นอกจากข้อมูลดังกล่าว ผู้ลงทุนที่เป็นผู้ถือหุ้นยังต้องการข้อมูลที่จะช่วยในการประเมินความสามารถของกิจการในการจ่ายเงินปันผลด้วย
                   2 ลูกจ้าง หมายถึง ลูกจ้าง รวมทั้งกลุ่มตัวแทนซึ่งต้องการข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงและความสามารถในการทำกำไรของนายจ้าง นอกจากนั้นยังต้องการข้อมูลที่จะช่วยให้สามารถประเมินความสามารถของกิจการในการจ่ายค่าตอบแทน บำเหน็จ บำนาญ และโอกาสในการจ้างงาน
                   3 ผู้ให้กู้ หมายถึง ผู้ซึ่งต้องการข้อมูลที่จะช่วยในการพิจารณาว่าเงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจะได้รับชำระเมื่อครบกำหนด
                   4 ผู้ขายสินค้าและเจ้าหนี้อื่น หมายถึง ผู้ซึ่งต้องการข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจว่าหนี้สินจะได้รับชำระเมื่อครบกำหนด เจ้าหนี้การค้าอาจให้ความสนใจข้อมูลของกิจการในระยะเวลาที่สั้นกว่าผู้ให้กู้ นอกจากว่าการดำเนินงานของเจ้าหนี้นั้นขึ้นอยู่กับการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่
                   5 ลูกค้า หมายถึง ผู้ซึ่งต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการ โดยเฉพาะกรณีที่มีความสัมพันธ์อันยาวนานหรือต้องพึ่งพากิจการนั้น
                   6 รัฐบาลและหน่วยงานราชการ หมายถึง หน่วยงานที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของกิจการในการจัดสรรทรัพยากร การกำกับดูแล การพิจารณากำหนดนโยบายทางภาษีและเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณรายได้ประชาชาติและจัดทำสถิติในด้านต่าง ๆ
                   

ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงินหมายถึง คุณสมบัติที่ทำให้ข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน ลักษณะเชิงคุณภาพหลักของงบการเงินมีสี่ประการ ได้แก่ ความเข้าใจได้ ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ความเชื่อถือได้ และการเปรียบเทียบกันได้ 1.ความเข้าใจได้ข้อมูลในงบการเงินต้องสามารถเข้าใจได้ดีในทันทีที่ผู้ใช้งบการเงินใช้ข้อมูลดังกล่าว ดังนั้น จึงต้องมีข้อสมมุติว่าผู้ใช้งบการเงินมีความรู้ตามควรเกี่ยวกับธุรกิจ กิจกรรมเชิงเศรษฐกิจและการบัญชีรวมทั้งมีความตั้งใจตามควรที่จะศึกษาข้อมูลดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ข้อมูลแม้ว่าจะมีความซับซ้อนแต่ถ้าเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจก็ไม่ควรละเว้นที่จะแสดงในงบการเงินเพียงเหตุผลที่ว่าข้อมูลดังกล่าวยากเกินกว่าที่ผู้ใช้งบการเงินบางคนจะเข้าใจได้ 2.ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจข้อมูลที่มีประโยชน์ต้องเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน ข้อมูลจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจได้ก็ต่อเมื่อข้อมูลนั้นช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมทั้งช่วยยืนยันหรือชี้ข้อผิดพลาดของผลการประเมินที่ผ่านมาของผู้ใช้งบการเงินได้

              ความมีนัยสำคัญความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของข้อมูลขึ้นอยู่กับลักษณะและความมีนัยสำคัญของข้อมูลนั้นในบางกรณี ลักษณะของข้อมูลเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอที่จะใช้ตัดสินว่าข้อมูลมีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจหรือไม่ ตัวอย่างเช่น การรายงานส่วนงานใหม่อาจส่งผลกระทบต่อการประเมินความเสี่ยงและโอกาสของกิจการ แม้ว่าผลการดำเนินงานของส่วนงานในงวดนั้นจะไม่มีนัยสำคัญในกรณีอื่น ทั้งลักษณะและความมีนัยสำคัญของข้อมูลล้วนมีส่วนสำคัญในการตัดสินว่าข้อมูลมีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจหรือไม่ ตัวอย่างเช่น มูลค่าของสินค้าคงเหลือแยกตามประเภทหลักที่เหมาะสมกับธุรกิจ หากมูลค่าของสินค้าคงเหลือไม่มีนัยสำคัญ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือนั้นก็ไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
                    ข้อมูลจะถือว่ามีนัยสำคัญหากการไม่แสดงข้อมูลหรือการแสดงข้อมูลผิดพลาดมีผลกระทบต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ ความมีนัยสำคัญขึ้นอยู่กับขนาดของรายการหรือขนาดของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นภายใต้สภาพการณ์เฉพาะซึ่งต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป ดังนั้น ความมีนัยสำคัญจึงถือเป็นข้อพิจารณามากกว่าจะเป็นลักษณะเชิงคุณภาพซึ่งข้อมูลต้องมีหากข้อมูลนั้นจะถือว่ามีประโยชน์

3.ความเชื่อถือได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต้องเชื่อถือได้ ข้อมูลจะมีคุณสมบัติของความเชื่อถือได้หากปราศจากความผิดพลาดที่มีนัยสำคัญและความลำเอียง ซึ่งทำให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถเชื่อได้ว่าข้อมูลนั้นเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของข้อมูลที่ต้องการให้แสดงหรือควรแสดง

                   การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมข้อมูลจะมีความเชื่อถือได้เมื่อรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีได้แสดงอย่างเที่ยงธรรมตามที่ต้องการให้แสดงหรือควรจะแสดง ดังนั้น งบดุลควรแสดงสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเฉพาะรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่เข้าเกณฑ์การรับรู้รายการ ณ วันที่เสนอรายงาน
                   เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบข้อมูลเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของรายการและเหตุการณ์ทางบัญชี ดังนั้น ข้อมูลต้องบันทึกและแสดงตามเนื้อหาและความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจมิใช่ตามรูปแบบทางกฎหมายเพียงอย่างเดียวเนื้อหาของรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีอาจไม่ตรงกับรูปแบบทางกฎหมายหรือรูปแบบที่ทำขึ้น ตัวอย่างเช่น กิจการอาจโอนสินทรัพย์ให้กับบุคคลอื่นโดยมีเอกสารยืนยันว่าได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายไปให้กับบุคคลนั้นแล้ว แต่ในสัญญาระบุให้กิจการยังคงได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากสินทรัพย์นั้นต่อไป ในกรณีดังกล่าว การที่กิจการรายงานว่าได้ขายสินทรัพย์จึงไม่เป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของรายการที่เกิดขึ้น
                   ความเป็นกลางข้อมูลที่แสดงอยู่ในงบการเงินมีความน่าเชื่อถือเมื่อมีความเป็นกลางหรือปราศจากความลำเอียง งบการเงินจะขาดความเป็นกลางหากการเลือกข้อมูลหรือการแสดงข้อมูลในงบการเงินนั้นมีผลทำให้ผู้ใช้งบการเงินตัดสินใจหรือใช้ดุลยพินิจตามเจตนาของกิจการ
                   ความระมัดระวังโดยทั่วไปผู้จัดทำงบการเงินต้องประสบกับความไม่แน่นอนอันหลีกเลี่ยงไม่ได้เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ความสามารถในการเก็บหนี้ การประมาณอายุการใช้งานของสินทรัพย์ที่มีตัวตน และจำนวนการเรียกร้องค่าเสียหายที่อาจเกิดขึ้นตามสัญญารับประกัน กิจการอาจแสดงความไม่แน่นอนดังกล่าวโดยการเปิดเผยถึงลักษณะผลกระทบ และหลักความระมัดระวังที่กิจการใช้ในการจัดทำงบการเงิน หลักความระมัดระวังนี้รวมถึงการใช้ดุลยพินิจที่จำเป็นในการประมาณการภายใต้ความไม่แน่นอนเพื่อมิให้สินทรัพย์หรือรายได้แสดงจำนวนสูงเกินไป และหนี้สินหรือค่าใช้จ่ายแสดงจำนวนต่ำเกินไป อย่างไรก็ตาม การใช้หลักความระมัดระวังมิได้อนุญาตให้กิจการตั้งสำรองลับหรือตั้งค่าเผื่อไว้สูงเกินไป การแสดงสินทรัพย์หรือรายได้ให้ต่ำเกินไปหรือแสดงหนี้สินหรือ
                   ความครบถ้วนข้อมูลในงบการเงินที่เชื่อถือได้ต้องครบถ้วนภายใต้ข้อจำกัดของความมีนัยสำคัญและต้นทุนในการจัดทำ รายการบางรายการหากไม่แสดงในงบการเงินจะทำให้ข้อมูลมีความผิดพลาดหรือทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิด ดังนั้น ข้อมูลดังกล่าวจะมีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจน้อยลงและขาดความน่าเชื่อถือได้

4.การเปรียบเทียบกันได้ผู้ใช้งบการเงินต้องสามารถเปรียบเทียบงบการเงินของกิจการในรอบระยะเวลาต่างกันเพื่อคาดคะเนถึงแนวโน้มของฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการนั้น นอกจากนี้ผู้ใช้งบการเงินยังต้องสามารถเปรียบเทียบงบการเงินระหว่างกิจการเพื่อประเมินฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน ดังนั้น การวัดมูลค่าและการแสดงผลกระทบทางการเงินของรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันจึงจำเป็นต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติภายในกิจการเดียวกันแต่ต่างรอบระยะเวลา หรือเป็นการปฏิบัติของกิจการแต่ละกิจการก็ตาม

                  การเปรียบเทียบกันได้เป็นลักษณะเชิงคุณภาพที่สำคัญกล่าวคือ ผู้ใช้งบการเงินจำเป็นต้องได้รับข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการบัญชีที่ใช้ในการจัดทำงบการเงิน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ผู้ใช้งบการเงินต้องสามารถระบุความแตกต่างระหว่างนโยบายการบัญชีที่กิจการใช้สำหรับรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่คล้ายคลึงกันในรอบระยะเวลาบัญชีที่ต่างกัน และความแตกต่างระหว่างนโยบายการบัญชีที่ใช้ของกิจการแต่ละกิจการได้ การปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีซึ่งรวมถึงการเปิดเผยนโยบายการบัญชีจะช่วยให้งบการเงินมีคุณสมบัติในการเปรียบเทียบกันได้
                   การที่ข้อมูลจำเป็นต้องเปรียบเทียบกันได้มิได้หมายความว่าข้อมูลต้องอยู่ในรูปแบบเดียวกันตลอดไป และไม่ใช่ข้ออ้างอันสมควรที่จะไม่นำมาตรฐานการบัญชีที่เหมาะสมกว่ามาถือปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น กิจการไม่ควรใช้นโยบายการบัญชีต่อไปสำหรับรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีหากนโยบายการบัญชีนั้นไม่สามารถทำให้ข้อมูลมีลักษณะเชิงคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและความเชื่อถือได้ นอกจากนั้นกิจการควรเลือกใช้นโยบายการบัญชีอื่น หากทำให้ข้อมูลเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและเชื่อถือได้มากขึ้น
                   เนื่องจากผู้ใช้งบการเงินต้องการเปรียบเทียบฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการสำหรับรอบระยะเวลาที่ต่างกัน ดังนั้น งบการเงินจึงควรแสดงข้อมูลของรอบระยะเวลาที่ผ่านมาด้วยเพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ

ข้อจำกัดของข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและความเชื่อถือได้ 1.ทันต่อเวลา กิจการต้องเสนอข้อมูลที่ทันเวลาเพื่อนให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจได้ในเวลาที่ต้องใช้ข้อมูลนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม การจัดทำข้อมูลให้ทันเวลา อาจจะทำให้ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูลลดลง เนื่องจากต้องอาศัยการประมาณการบางอย่างในการจัดทำข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลมีความครบถ้วน 2.ความสมดุลระหว่างประโยชน์ที่ได้รับกับต้นทุนที่เสียไป ความสมดุลระหว่างประโยชน์ที่ได้รับกับต้นทุนที่เสียไปถือเป็นข้อจำกัดที่สำคัญของงบการเงินมากกว่าจะถือเป็นลักษณะเชิงคุณภาพ โดยทั่วไป ประโยชน์ที่ได้รับจากข้อมูลควรมากกว่าต้นทุนในการจัดหาข้อมูลนั้น การประเมินประโยชน์และต้นทุนจำเป็นต้องใช้ดุลยพินิจเป็นหลัก โดยเฉพาะเมื่อผู้ที่ได้รับประโยชน์จากข้อมูลไม่ต้องรับผิดชอบต่อต้นทุนในการจัดหาข้อมูลนั้นและข้อมูลอาจให้ประโยชน์แก่บุคคลอื่นนอกเหนือจากผู้ที่กิจการต้องการเสนอข้อมูล ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะกำหนดสูตรสำเร็จในการหาความสมดุลระหว่างประโยชน์ที่ได้รับกับต้นทุนที่เสียไปเพื่อให้นำมาปฏิบัติได้ในทุกกรณี อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีจะไม่ละเลยข้อจำกัดดังกล่าวในการออกกฎและผู้ใช้งบการเงินต้องตระหนักว่าผู้จัดทำงบการเงินมีข้อจำกัดเดียวกันในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน 3.ความสมดุลของลักษณะเชิงคุณภาพ ในทางปฏิบัติ การสร้างความสมดุลระหว่างลักษณะเชิงคุณภาพต่าง ๆ ถือเป็นสิ่งจำเป็น ผู้จัดทำงบการเงินต้องหาความสมดุลของลักษณะเชิงคุณภาพต่าง ๆ เพื่อให้งบการเงินบรรลุวัตถุประสงค์แต่ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเชิงคุณภาพจะแตกต่างกันไปในแต่ละกรณี ผู้จัดทำงบการเงินจึงจำเป็นต้องใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในการตัดสินใจเลือกความสมดุลดังกล่าว

การแสดงข้อมูลที่ถูกต้องตามควร โดยทั่วไป งบการเงินแสดงข้อมูลที่ถูกต้องตามควรเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ แม้ว่าแม่บทการบัญชีนี้ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับแนวคิดในการแสดงข้อมูลที่ถูกต้องตามควร แต่การนำลักษณะเชิงคุณภาพและมาตรฐานการบัญชีที่เหมาะสมมาปฏิบัติก็สามารถส่งผลให้งบการเงินแสดงข้อมูลที่ถูกต้องและยุติธรรมได้ หรืออีกนัยหนึ่งงบการเงินนั้นให้ข้อมูลที่ถูกต้องตามควรนั่นเอง

แนวคิดเกี่ยวกับทุน

         แนวคิดเกี่ยวกับทุนมี 2 แนวคิดคือ

1. แนวคิดทางการเงิน ซึ่งตามแนวคิดนี้ ทุนทางการเงินซึ่งรวมถึงเงินที่ลงทุนหรืออำนาจซื้อที่ลงทุนมีความหมายเทียบเท่ากับสินทรัพย์สุทธิหรือส่วนของเจ้าของ และสามารถวัดมูลค่าเป็นหน่วยเงินตราได้ 2. แนวคิดทางการผลิ ตามแนวคิดนี้ ทุนอยู่ในรูปของกำลังการผลิตที่สามารถใช้ในการผลิตหรือที่ใช้ผลิตจริงและสามารถวัดได้ในรูปของผลผลิต เป็นต้นว่าจำนวนที่ผลิตได้ต่อวัน

แนวคิดเกี่ยวกับการรักษาระดับทุนและการวัดผลกำไร

          จากแนวคิดที่เกี่ยวกับทุนที่กล่าวมาแล้ว  ทำให้เกิดแนวความคิดที่เกี่ยวกับการรักษาระดับทุน 2 แนวคิดคือ

1. การรักษาระดับทุนทางการเงิน ตามแนวคิดนี้กำไรเกิดขึ้นเมื่อจำนวนที่เป็นตัวเงินของสินทรัพย์สุทธิเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีสูงกว่าจำนวนที่เป็นตัวเงินของสินทรัพย์สุทธิเมื่อเริ่มรอบระยะเวลาบัญชี จำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้จะต้องไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นระหว่างกิจการกับเจ้าของในระหว่างรอบบัญชีนั้น เช่น การแบ่งปันส่วนทุนให้กับเจ้าของหรือเงินทุนที่ได้รับจากเจ้าของ การรักษาระดับทุนทางการเงินสามารถวัดค่าได้ในลักษณะของหน่วยเงินตามอำนาจซื้อเดิมหรือหน่วยเงินตามอำนาจซื้อคงที่ 2. การรักษาระดับทุนทางการผลิต ตามแนวคิดนี้ กำไรเกิดขึ้นเมื่อกำลังการผลิตที่กิจการสามารถใช้ในการผลิตหรือที่ใช้ผลิตจริงเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีสูงกว่ากำลังการผลิตเมื่อเริ่มรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งกำลังการผลิตอาจแสดงในรูปของทรัพยากรหรือเงินทุนที่ต้องจ่ายเพื่อให้ได้กำลังการผลิตนั้น ทั้งนี้ไม่รวมการแบ่งปันส่วนทุนให้กับเจ้าของหรือเงินทุนที่รับจากเจ้าของในรอบระยะเวลาเดียวกัน

[1]

  1. แม่บทการบัญชี สภาวิชชีพบัญชี 2542