ผู้ใช้:Cittavuddho/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คำว่า "ไซอิค" เป็นชื่อย่อซึ่งมาจากคำว่า a Sky Indriya and the Earth King โดยต้นศัพท์มาจากภาษาไทยว่า "อินทรีฟ้ากษัตริย์ปฐพี"

วรรณกรรมนี้มีวัตถุประสงค์ในปัจจุบันไม่ใช่เพื่อการค้าและผลประโยชน์ทางตรงใดๆ แก่บรรณธิการและผู้ประพันธ์ แต่โดยทางอ้อมอาจมีความจำเป็นในค่าใช้จ่ายในการผลิต จึงมีการตีพิมพ์รูปเล่มเป็นหนังสือกระดาษเพื่อเป็นการระดมทุนและต้องมีการทำบัญชีชี้แจ้งต่อผู้เข้าชื่อสั่งจองทุกครั้งตีพิมพ์ลงไปในส่วนท้ายของหนังสือ

อินทรีฟ้ากษัตริย์ปฐพี เป็นวรรณกรรมที่เริ่มมีการตั้งโครงเรื่องในปี พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๔๕ โดยเริ่มได้แรงบันดานใจมาจากวรรณกรรม Harry Potter แต่มีการตั้งโครงเรื่องมาจากตำราบันทึกการเปลี่ยนแปลง หรือก็คือ ตำราอี้จิง ทำในในภาคหลักจึงมีการแบ่งออกเป็น 8 ภาค 64 เล่ม และอีก 8 เล่มซึ่งเป็นเสมือนภาคอวสานที่แท้จริงของ 8 ภาคหลังข้างต้น

นิยายโดยทั่วไปมักจะมีโครงเรื่องในการเตรียมความพร้อมตัวละครเพื่อสู่จุดไคลแมกซ์ มีการวางเงื่อนไขให้คลายที่ละจุดเพื่อเข้าสู่ช่วงท้ายเรื่อง แต่การวางรูปแบบเรื่องเช่นนี้จะมีปัญหากับการสปอย์ หากเงื่อนไขถูกเฉลยไปแล้วก็จะไม่ดึงดูดสู่การอ่านซ้ำ เป็นประการที่ 1 มีการยกระดับอีกแบบโดยการใส่รายละเอียด(the lord of the Ring) ความเสมือนจริง (เพชรพระอุมา) รูปแบบคลาสสิคของกลวิธีต่างๆ(สามก๊ก) ให้ผู้อ่านอ่านซ้ำด้วยอารมณ์ที่พอใจ เป็นประการที่ 2 แต่ยังมีอีกรูปแบบที่เขียนให้ลึกซึ้งถึงที่สุด การกล่าวถึงวิทยาและวิชาที่ยากเข้าใจ ทำให้ผู้อ่านต้องอ่านซ้ำเพื่อทำความเข้าใจ หรือเขียนแบบที่เวลาที่ผู้อ่านมีประสบการณ์อย่างหนึ่งจะเข้าใจอย่างหนึ่ง แต่เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นก็จะเข้าใจได้ลึกซึ้งขึ้นอีก เป็นประการที่ 3

แต่ด้วยไซอิคใช้โครงเรื่องจากอี้จิง ตัวละครไม่จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าไคลแมกซ์ เพราะตัวละครเป็นราชาในทิศทางของตนอยู่แล้ว สิ่งที่ตัวละครจำเป็นต้องทำคือตัดสังโยชน์ในตัวเอง ดังนั้นตอนจบจะไม่ใช่จุดสมบูรณ์ของตัวละคร แต่หากเอาตัวละครในตอนแรกมาเข้าสู่ไคลแมกซ์จะสมบูรณ์มากกว่า เหตุที่เป็นเช่นนี้เพื่อให้คนอ่านย้อนมองตัวเองทั้งปฏิโลมและอนุโลม จึงได้ผลมากสุด หากรอบแรกเป็นสัญชานาติ รอบสองจึงเป็นวิชานาติ จากนั้นหากเป็นไปได้ ผู้อ่านจะเข้าสู่ปชานาติได้เองแม้ในมือจะไม่ถือหนังสือก็ตาม

ภายใต้สภาพของความสุดโต่งสองอย่าง ความทะเยอทะยานไม่สิ้นสุดของกาม(เสรีนิยม) และความสิ้นหวังของวัฏจักรไม่สิ้นสุด(อนุรักษนิยม) การมองกระจ่างในทางทั้งสองแต่ยังรักษาความเป็นมนุษย์ที่ไม่ละเมิดความปกติ 5 ประการ เป็นโครงเรื่องหลักทั้งหมดของนิยาย

๑. สภาวะวิภาค[แก้]

เนื่องมีหลายอย่างในเนื้อเรื่องที่ผิดแปลกจากธรรมเนียมในปัจจุบัน จึงต้องมีการอธิบายสภาวะวิภาค[1]

องค์กรเป็นรูปแบบการจัดตั้งของสังคมมนุษย์โดยการยึดติดบางสิ่งเป็นหัวใจในการจัดตั้งโดยแบ่งเป็น การยึดถืออารมณ์ และ การยึดถือเหตุผล เป็นตราชั่งสองด้านตามการแบ่งของสมองสองซีกของมนุษย์ การยึดถืออารมณ์ เช่น ครอบครัว แก๊ง พรรคการเมือง เป็นต้น การยึดถือเหตุผล เช่น ตระกูล บริษัทเอกชน สภาผู้แทน เป็นต้น [2]

หัวใจสำคัญสำหรับมนุษย์ในการเข้าสังคมล้วนเริ่มจากองค์กรที่ยึดตามอารมณ์เป็นแกนหลักให้มนุษย์รักษาเหตุผลผล หรือก็คือ

  • เด็กวัยพ้น 7 ขวบ เริ่มถูกสอนให้ให้ใช้อารมณ์ในทางที่ถูกในช่วงแรก (7-9 ขวบ)
  • ช่วงที่ 2 (10-12 ปี) เริ่มสอนเหตุผลพื้นฐาน
  • ช่วงที่ 3 (13-15 ปี) สอนให้สร้างเหตุผลของตัวเองเองขึ้นมา
  • ช่วงที่ 4 (16-18 ปี) เริ่มแสวงหาความถนัด
  • ช่วงที่ 5 (19-22 ปี) พัฒนาความถนัดให้กลายเป็นวิชาชีพเพื่อเข้าสู่สังคม


ระบอบการปกครองในไซอิค[แก้]

มีหลายคนเอ๋ยว่า รัฐธรรมนูญไม่ใช่ไม่ดี แต่เป็นนักการเมืองที่เป็นที่น่าหวงมากกว่า

เพราะนักการเมืองขาดอะไรบางอย่างที่สำคัญไปมากกว่า
และบางครั้งคนดีที่น่าเสียดายก็หมดโอกาศที่สำคัญ

พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นพระประมุขนั้นทำหน้าที่เป็นเซฟตี้เบรคตัวสุดท้ายก่อนบ้านเมืองจะเกิดอันตรายไปจนถึงการล่มสลาย ดังนั้นนายกรัฐมนตรีจึงเป็นคนกุมอำนาจตัดสินใจหลักของรัฐเอาไว้ แต่จำต้องให้เหตุผลในการตัดสินใจเป็นเครื่องประกอบ ส่วนรัฐมนตรีย่อมเป็นผู้ตันสินใจเรื่องในด้านต่างๆที่รับผิดชอบ การวางแผนเรื่องนโยบายของรัฐพูดกันตามจริงจะเป็นเรื่องของรัฐบาลฝ่ายเดียวไม่ได้ จึงต้องตั้งองค์กรวางแผนแห่งชาติขึ้นมา เพื่อให้แผ่นการพัฒนาเป็นไปตามแบบแผน และในองค์กรก็ไม่จำเป็นต้องมีแนวความคิดเดียว อาจมีหลายๆแนวความคิดรวมกันเสนอไปที่รัฐมนตรีที่ดูเรื่องนั้นเป็นผู้ตัดสินใจ ดังนั้นจึงเกิดการสถาปนาระบบสภาขึ้นมาและเพื่อในแน่ใจว่าความคิดที่รวมกันคินนั้นเป็นจริงขึ้นมาจึงตรากฏข้อบังคับขึ้นมา และเมื่อมีกฏก็ต้องมีคนตัดสินดังนั้นฝ่ายตุลาการจึงบังเกิดขึ้นมา

แต่ถ้าหากอธิปไตย 3 ถูกแบ่งจากแนวขวางให้กลายเป็นแนวตั้งขึ้นมาอาจกลายเป็น ปกครอง ประกอบด้วย 5 ทำนอง คือ รัฐบาล เสนาบดี ทำเนียบ ผู้ตรวจการ รัฐสภา(พรรคการเมือง สภาอาชีพ นายทหารจากสภากองร้อย) วิทยา เป็นองค์กรการศึกษาขนาดใหญ่เพื่อรวบรวมความหลากหลาย ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนและเพื่อให้ความหลากหลายแตกขยายออกไป ประชาชน เพื่อรวมกลุ่มชนให้เป็นหมู่ก้อน สภากองร้อยขึ้นมา แม้ว่าระบบหมู่บ้านจะมีอยู่แล้ว แต่การรวมกลุ่มกลายเป็นสิทธิมากกว่าควรที่จะเป็นหน้าที่เพราะไม่มีใครเป็นที่พึ่งได้ดีกว่าตัวของเรา

สิทธิ เป็นเรื่องของอารมณ์ หน้าที่ เป็นเรื่องของเหตุผล

พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นพระประมุขนั้นทำหน้าที่เป็นเซฟตี้เบรคตัวสุดท้ายก่อนบ้านเมืองจะเกิดอันตรายไปจนถึงการล่มสลาย ดังนั้นนายกรัฐมนตรีจึงเป็นคนกุมอำนาจตัดสินใจหลักของรัฐเอาไว้ แต่จำต้องให้เหตุผลในการตัดสินใจเป็นเครื่องประกอบ ส่วนรัฐมนตรีย่อมเป็นผู้ตันสินใจเรื่องในด้านต่างๆที่รับผิดชอบ การวางแผนเรื่องนโยบายของรัฐพูดกันตามจริงจะเป็นเรื่องของรัฐบาลฝ่ายเดียวไม่ได้ จึงต้องตั้งองค์กรวางแผนแห่งชาติขึ้นมา เพื่อให้แผ่นการพัฒนาเป็นไปตามแบบแผน และในองค์กรก็ไม่จำเป็นต้องมีแนวความคิดเดียว อาจมีหลายๆแนวความคิดรวมกันเสนอไปที่รัฐมนตรีที่ดูเรื่องนั้นเป็นผู้ตัดสินใจ ดังนั้นจึงเกิดการสถาปนาระบบสภาขึ้นมาและเพื่อในแน่ใจว่าความคิดที่รวมกันคินนั้นเป็นจริงขึ้นมาจึงตรากฏข้อบังคับขึ้นมา และเมื่อมีกฏก็ต้องมีคนตัดสินดังนั้นฝ่ายตุลาการจึงบังเกิดขึ้นมา

แต่ถ้าหากอธิปไตย 3 ถูกแบ่งจากแนวขวางให้กลายเป็นแนวตั้งขึ้นมาอาจกลายเป็น ปกครอง ประกอบด้วย 5 ทำนอง คือ รัฐบาล เสนาบดี ทำเนียบ ผู้ตรวจการ รัฐสภา(พรรคการเมือง สภาอาชีพ นายทหารจากสภากองร้อย) วิทยา เป็นองค์กรการศึกษาขนาดใหญ่เพื่อรวบรวมความหลากหลาย ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนและเพื่อให้ความหลากหลายแตกขยายออกไป ประชาชน เพื่อรวมกลุ่มชนให้เป็นหมู่ก้อน สภากองร้อยขึ้นมา แม้ว่าระบบหมู่บ้านจะมีอยู่แล้ว แต่การรวมกลุ่มกลายเป็นสิทธิมากกว่าควรที่จะเป็นหน้าที่เพราะไม่มีใครเป็นที่พึ่งได้ดีกว่าตัวของเรา

รายละเอียด[แก้]

ในสมัยปัจจุบันระบอบการปกครองอาจสามารถแบ่งแยกได้ 2 แบบใหญ่ๆ กล่าวคือระบอบคอมมิวนิสต์ และ ระบอบประชาธิปไตย

ระบอบคอมมิวนิสต์ นั้นหมายถึง ลัทธิการเมืองที่ถือว่าทรัพย์สินทั้งปวงเป็นของรัฐ (เรื่องนี้ไม่มีเหตุผล เพราะปกติ บุคคลทำเช่นใดย่อมได้ผลเช่นนั้น หากทรัพย์สินทุกสิ่งเป็นของส่วนร่วมแล้วไซร้ อย่างไรจึงจะเป็นของส่วนร่วมได้จริง แม้ทุกสิ่งเป็นของส่วนร่วมแล้วไซร้ ทำไมทุกๆคนจึงมีความแตกต่างกัน มีเรื่องพรสวรรค์เป็นต้น เรื่องนี้เป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า ความเสมอภาพไม่มีในโลกของคนที่ยังถือมั่นตัวตนเปรียบเทียบกัน ความเสมอภาพภายใต้อุดมคติ อันเป็นนโยบายหลักของพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งที่สุดของพรรคคอมมิวนิส์กลายเป็นจุดด่อยที่สุด ภายใต้กฎของโลกแห่งความเป็นจริง)

ระบอบประชาธิปไตย นั้นหมายถึง แบบปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นส่วนใหญ่ (เรื่องนี้เหลวไหลสิ้นดี เพราะปกติ มนุษย์ทุกคนมีคุณลักษณ์ 3 ประการที่ทำให้ดำรงเผ่าพันธู์อยู่ได้ กล่าวคือ ความเห็นแก่ตัว การปฏิเสธในสิ่งที่ตนไม่ปรารถนา และความงมงาย ถ้าทั้ง 3 คุณลักษณ์เกิดทำงานพร้อมกันและกลายเป็นมติของปวงชนส่วนใหญ่ขึ้นมา เราไม่สามารถจิตนาการผลที่เกิดขึ้นได้ นี่ยังไม่รวมเรื่องปัจเจกบุคคลเช่น การคอรัปชั่นทุจริต การซื้อเสียง การแสวงหาอำนาจ และความผิดพลาดในขณะใดขณะหนึ่งอันเป็นลักษณะของบุคคลอีกต่างหาก ถ้าพูดถึงเรื่องเสรีภาพ ยิ่งไม่ต้องกล่าวถึง หากใคร่เรียกร้องเสรีภาพในการดำรงชีวิต แต่ยังตกอยู่ภายใต้อุปาทานของตน เช่นนี้เรียกว่าเสรีภาพที่แท้จริงได้หรือ การชนะสิ่งใดใดนั้นนั้น ย่อมไม่ประเสริฐกว่า การชนะตนเอง ฉันใดฉันนั้น เสรีภาพย่อมไม่เกิดจากผู้อื่นมอบให้ แต่เกิดจากเสรีภาพในการปลดปล่อย พันธนาการแห่งตนอันผูกมัดตน ระบอบประชาธิปไตยนี้จะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อ มีปัจจัยครบ 3 ประการ คือ ประชาชนไม่ชั่วช้าพอที่จะผิดศีล 5 มีความฉลาดพอที่จะรู้ว่าตนเองนั้นเป็นคนโง่ รู้จักอยู่อย่างคนเป็นมีชีวิตอยู่ไม่กระทำตนเป็นคนที่ตายแล้ว)

ในเมื่อทั้ง 2 ระบอบนี้มีสเป็กในการทำงานให้สมบูรณ์ทั้งระบบของมันเอง แต่ประเทศไทยยังไม่มีคุณสมบัติใดที่เรียกได้ว่าถูกต้องตามสเป็กของมัน เราจะยังคงดันทุรังใช้ไปทำไมกลับไปใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ดีกว่า เพราะจะทรราชหรือมหาราช ก็ยังเป็นบุคคลที่ทำให้ผู้อื่นยินดี (ราชา แปลว่า ผู้ทำให้ผู้อื่นยินดี)

รูปแบบการปกครองระบอบใหม่น่าจะเป็นอย่างไร แบ่งเป็นหัวใจหลักอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน คือ

  1. ประชาชนภายใต้ เศรษฐกิจพอเพียง ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  2. มหาวิทยาลัยจัตุรัสศาสตร์ หนึ่งเดียวแห่งมหาวิทยาลัยของรัฐ
  3. สามอำนาจอธิปไตย ภายใต้ห้าความเป็นใหญ่

ส่วนที่ 1 ประชาชนภายใต้ เศรษฐกิจพอเพียง นั้นหมายความว่าอย่างไร

"หากคำอธิบายเป็นที่ผิดพลาดต่อพระราชประสงค์ เป็นที่ล่วงเกินต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เกล้ากระหหม่อมขอพระราชทาน พระอภัยโทษไว้ ณ ที่นี้ด้วย"

คำว่า พอเพียง นั้นผมอยากอธิบายว่า พอเพียงต่อกำลังของตน คือในเมื่อเรามีกำลังอยู่เท่าไรก็ทำไปเต็มที่เท่านั้น มีอำนาจอยู่ 100 ส่วนก็ทำไปเต็ม 100 ส่วน ไม่ลดลัดตัดท่อนให้เหลือเพียง 80-90 แต่อย่างไร

คำว่า 100 ส่วนนี้ ครอบคุมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น กำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา กำลังในการชดใช้หนี้ ดังนั้นคำว่า จะขี้เกียจ จะพรุ่งนี้ เดี๋ยวจะทำ จึงไม่มีในสาระบบ รวมถึง คำว่า ปัจจุบันในอนาคตก็จะไม่มีด้วย เราจะมองกันเฉพาะปัจจุบันกับอดีตและอนาคตที่ผสมรวมกัน ด้วยความไม่ประมาท

และคำว่า พอเพียง เราต้องไม่แปลกันเองตาม อัตตโนมติ ของตนว่า เพียงพอ เพราะไอ้คำว่า เพียงพอ มันจะจำกัดอยู่ที่การยาไส้ให้หายหิวเท่านั้น ซึ่งเป็น อัตตโนมติ ของคนจำพวกเดียวเท่านั้น ผมเรียกพวกนี้ว่าขอทาน

มีคำอยู่ในภาษาบาลีว่า ภิกษุ กับ ยาจก คำว่า ภิกษุ แปลว่า ผู้ขอ หรืออีกนัยหนึ่ง บัณฑิตท่านแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ส่วนคำว่า ยาจก ก็แปลว่า ผู้ขอ เหมือนกัน

แต่ทำไมคนสองจำพวกนี้แต่ต่างกันราวฟ้ากับดิน พวกหนึ่งเป็นที่เคารพของมหาชนเป็นสรณะ อีกพวกหนึ่งบูชามหาชนยึดถือเป็นที่พึงพาตลอดชีวิต

คำตอบคือ พวกหนึ่งขอเพื่อพอเพียงต่อการดำรงชีวิต เพื่อจุดหมายอย่างหนึ่ง อีกพวกหนึ่งขอเพื่อเพียงพอต่อจุดหมายอยางหนึ่ง เพื่อการดำรงชีวิต

คนจำพวกไหนผมเรียกว่า คนตายแล้ว กับ คนที่ยังมีชีวิต หวังว่าท่านคงเข้าใจ

ส่วนที่ 2 มหาวิทยาลัยจัตุรัสศาสตร์ หนึ่งเดียวแห่งมหาวิทยาลัยของรัฐ

ในยุคที่ไอเอ็มเอฟเรืองอำนาจเขาบังคับเราไว้ว่า ต้องมีการแข่งขันอย่างเสรี ผมมันเป็นประเภทอยากเกิดในสมัยซุนวูด้วยซ้ำ จึงคิดว่า ถ้าท่านแรงมา เราจะเสริมแรงให้ท่าน (หัวทิ้มไป) ถ้าจะให้ปลดอำนาจแรงควบคุมรัฐวิสาหกิจ ถ้าผมเป็นผู้มีอำนาจจะปลดให้หมด ภายใน 3 เดือน แล้วยกหุ้นทั้งหมด ทั้ง กฟผ กฟภ ประปา ทีโอที ปตท รฟม ไทยคม โรงพยาบาล ฯลฯ ให้มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่เกิดจากการควบรวม จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ มหิดลฯ เกษตรฯ ร้อยราชภัฏ พันอาชีวะ หมื่นมัธยมศึกษา สารพัดมหา'ลัย สารพันโรงเรียน ให้เป็นหนึ่งเดียว ต่อไปผมจะไม่ต้องมานั่ง ปวดสมองกันอีกว่าเราจะไปเรียนที่ไหนดีหว่า โรงเรียนและมหา'ลัย มันจะฟรีจริงไหม แล้วต้องมานั่งหลบลูกกระสุนของสภาบันคู่อริหรือเปล่า

เมื่อรวมกันขนาดนี้แล้วจะมีคำถามตามมาทีเดียวว่า แล้วใครจะเป็นผู้อำนวยการ มีอำนาจสิทธิขาดเพียงคนเดียวละ เพราะทั้งอนาคตของชาติและทรัพย์มากมาย เหลือคณานับนี้มารวมอยู่ที่จุดเดียว

ต้องถามว่า สถาบันเหล่านี้ ใครเป็นผู้สถาปนา ใครเป็นก่อกำเนิด ใครเป็นคนริเริ่ม สิ่งเหล่านี้ย่อมต้องเป็นอำนาจสิทธิขาดของทายาทผู้ริเริ่มนั้นเท่านั้น ห้ามเป็นของผู้อื่น โดยเด็จขาด ถ้าใครเถียง ผมจะสู้ตายกับมัน มันรอดผมม้วย ผมอยู่มันฉิบหาย..วายวอด

ส่วนที่ 3 สามอำนาจอธิปไตย ภายใต้ห้าความเป็นใหญ่

สามอำนาจอธิปไตย ได้แก่ ข้าราชการ ศาลยุติธรรม กฤษฎีกา

ห้าความเป็นใหญ่ ได้แก่

  1. สำนักนายกรัฐมนตรี
  2. สำนักสถิตยุติธรรม
  3. สำนักทำเนียบผู้ทรงธรรม
  4. สำนักตรวจสอบแห่งชาติ
  5. สำนักรัฐสภา

สำนักนายกรัฐมนตรี

หมายถึง สำนังงานของนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน แต่เราจะเปลี่ยนจากการที่นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารประเทศ มาเป็นผู้นำทางความคิดแทน เดิมที่นั้นลักษณะการทำงานของนายกรัฐมนตรีนั้นมีลักษณะรับฟังปัญหาของประชาชน แล้วมาหาทางแก้ปัญหา เมื่อได้วิธีแก้แล้วจะออกมาเป็นนโยบาย และท้ายที่สุดจะกลายเป็นพระราชบัญญัติมาบังคับใช้ แต่ในเอ็นเอฟทีเราจะเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการเอานโยบายของชาติรัฐที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุมใหญ่ ห้าความเป็นใหญ่ > มาจัดรูปแบบเป็นโครงการพัฒนา > ลงภาคสนามเพื่อทำความเข้าใจกับประชานชนเพื่อให้เกิดการใช้งานอย่างถูกต้องเป็นทีมและต้องไม่ใช่การบังคับใช้เพราะธรรมดาสิ่งใดถูกบังคับให้ทำย่อมแข็งขืน แต่การทำให้ดูแล้วน่าเอาอย่างกลับทำให้เป้าหมายสำฤทธิ์ผล > กลับมาประเมิลผลงาน

มีหลายคนคิดว่าวิธีแบบนี้จะทำได้สำเร็จจริงหรือ เรามีตัวอย่างบุคคลหนึ่งที่ทำได้อย่างนี้ และได้รับผลสำเร็จเป็นที่ย่อมรับของนานาอารยชาติมาแล้ว แม้แต่ทางยูเอ็นยังย่อมรับ ถ้าจะยกตัวอย่างได้แก่ใครบ้าง ภายใน 100 ปี ที่ผ่านมาก็คงมี มหาตมะคานทีและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวของเราเท่านั้น

แต่แกนแท้ของสำนักนายกรัฐมนตรีนี้ ขึ้นอยู่ 2 คำเท่านนั้น คือ การครอบงำทางความคิด กับ การเป็นผู้นำทางความคิด การครอบงำทางความคิด คือการเอาแนวความคิดใดความคิดหนึ่งมาโยนใส่ประชาชน สร้างภาพมายาให้เกิดความน่าเชื่อถือ เพื่อจุดหมายอันตั้งไว้และคงผลไว้เท่าที่สามารถกระทำได้ ส่วน การเป็นผู้นำทางความคิด คือการชี้เหตุผลให้ดูเป็นแบบแปลง แล้วนำมาปฏิบัติให้ดูให้เห็นอย่างชัดแจ้งไม่มีข้อน่าสงสัยแล้ว ผู้รับฟังเห็นผลจริงเกิดความเข้าใจถึงที่มาที่ไปจริงๆ ความเข้าใจที่เกิดขึ้นนี้จะคงผลถาวรไม่เสื่อมคาย ทั้งสองรูปแบบนี้ต่างเหมือนกันและแตกต่างกัน ทั้งสองรูปแบบให้บังเกิดมีผลบังคับใช้โดยอาศัยอุปทานที่เกิดขึ้นกับประชานชนเป็นหลัก แต่แบบหนึ่งไม่มีรูปแบบการพัฒนา อีกแบบหนึ่งมีการพัฒนารูปแบบไม่สิ้นสุด

สำนักสถิตยุติธรรม

เดิมแท้นั้นกฏหมายมีไว้เพื่อลงโทษคนที่กระทำผิดและแก้ไขตัวให้ดีขึ้น แต่เราแน่ใจไดแค่ไหนว่าการลงโทษในปัจจุบันเป็นไปเพื่อการแก้ไขตัวเอง เท่าที่ดูกระแสสังคมในตอนนี้ กฏหมายมีไว้เพื่อคำ 3 คำ คือ พอใจ จองเวร ประมาท คงเป็นเพราะอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ที่เกิดขึ้นในยุคแรกของกฎหมายไทย แม้เวลาจะผ่านไปแล้ว 600 ปี ค่านิยมแบบนี้ไม่เคยเสื่อมคาย ทั้งๆที่ประเทศไทยปากบอกว่าเป็นเมืองพุทธแท้ๆ แต่ในมาตราบทบัญญัติไม่มีกลิ่นอายของพระพุทธศาสนาและแม้แต่น้อย กลายเป็นตาต่อตา ฟันต่อฟัน และก็ไม่การคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง ยังดีอยู่ว่า ผู้พิพากษาไทยยังได้รับมรดกแท้ๆจากบรรพบุรุษที่เข้าใจพุทธศาสนาแท้ๆอยู้บ้าง สิ่งที่เราเห็นมันจึงไม่รุนแรงจนเกินไป คำว่า ยุติธรรม หลายคนมองว่าเป็น ความเท่าเทียม ตามความเห็นของแนวตะวันตก ซึงเป็นต้นแบบของกฎหมายไทยยุคใหม่ แต่ความเห็นของผมนั้น ไม่ไช่ คำว่า ยุติธรรมนั้นเกิดจากการสนธิกันระหว่าง ยุติ+ธรรม ยุติ หมายถึง การสงบ การระงับ ส่วน ธรรม ในข้อนี้น่าจะอรรถกถาว่า เป็นการกระทำ การระงับการกระทำที่ผิดนั้น มี 2 แบบ แบบภายใน กับ แบบภายนอก แบบภายนอก อาจหมายความได้อย่างเดียวว่า ยิงเป้า แบบภายใน มีวิธีเดียว คือ สังหารอุปาทาน ถ้าหลายคนยังเชื่ออยู่ว่านรกมีจริง ผมก็เชื่อเช่นนั้น แต่ผมไม่เชื่อว่าจะมี ยมบาล บัญชีหนังหมาและสุวรรณสุวาน อะไรนั่น ผมเชื่ออยู่อย่างเดียวว่า จิตมีหน้าที่จดจำบันทึกการกระทำ ในเมื่อประตูทางออกของการกระทำต่างๆมีเพียงบานเดียวคือจิตใจ เมื่อคนเราหมดผลดีที่เคยทำไว้มีการรักษาศีล 5 เป็นต้น เมื่อจุติในชาติภพของมนุษย์บังเกิดในนรก ประตูที่เคยแต่เลอะเทอะด้วยคราบน้ำคล่ำ อย่างไรก็ไม่เป็นประตูที่น่าโสภาอยู่ดี

สำนักทำเนียบผู้ทรงธรรม

แถวบ้านผมเข้าเรียกว่าบ้านพักคนชรา แต่ผมกลับมองว่า คนเหล่านี้น่าจะได้ไปสู่สุคติ การตั้งทำเนียบผู้ทรงธรรมนี้ให้ผล 3 ทาง คือ เรามีตัวอย่างที่ดีในด้านศีลธรรมซึ่งอาจจะช่วยพัฒนาสังคมได้บ้างไม่มากก็น้อย ๑ เป็นการส่งเสริมคนดีจริงๆให้เข้ามาช่วยตักเตือนประเทศไม่ต้องนั้งรออรหันต์แต่งตั้งจากที่ไหน ๑ มีกลุ่มคนที่สามารถคัดเลือกมาเพื่อทำหน้ากรรมการตัดสินที่ต้องอาศัย ความเป็นกลาง ความน่าเชื่อถือ และความเที่ยงตรง เพราะถ้าท่านจะทุจริตผิดศีล 5 กันจริงเราคงไม่เรียกว่าผู้ทรงธรรมหรอก ๑

สำนักตรวจสอบแห่งชาติ

เป็นบ่อรวมแห่งการตรวจสอบทั้งปวง เป็นองกรค์กลางที่กลายพันธุ์ แต่มีอำนาจมากขึ้น ดุเดือดมากขึ้น ไม่ขึ้นตรงต่อใครแต่ถ้าใครจะเข้ามานั่งในตำแหน่งต้องมีการค้ำประกันของผู้ทรงธรรมเสียก่อน ถ้าทุจริตสมรู้รวมคิดจะได้จัดการได้ทั้งอาจารย์และศิษย์

สำนักรัฐสภา

เริ่มด้วยรูปแบบสมาชิกแบบใหม่ และสภาใหม่ๆ 3 แบบ ส.ส.รายชื่อ เป็นส.ส.กลุ่มเดียวที่พรรคการเมืองสามารถส่งเข้าสภาได้ จำนวนทั้งสิ้น 100 คน แปรผันตามความน่าไว้วางใจต่อนายกรัฐมนตรี ส.ส.เขต เป็นส.ส.ที่เป็นออปชั่นเสริมความแข็งเกร่งต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ต้องปลอดจากพรรคการเมือง กลุ่มอำนาจทางการเมือง และความเป็นอิสระในตัวผู้สมัครระดับท้องถิ่นที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐและจำกัดการบริจาคจากบุคคลต่างๆ จำนวน 200 คน ส.ส.สหสภา เราเคยเห็นสภาอาชีพต่างที่อยู่นอกรัฐสภามานานแล้ว บ้างสภาสามารถทำงานได้ดียกมาตราฐานของอาชีพนั้นให้สูงขึ้น ถ้าถามว่าต้องการส.ส.ที่มีความสามารถเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ ทำไมเราไม่จัดระบบอาชีพต่างๆ ให้เรียบร้องขึ้นแล้วยกขึ้นเป็นสภา และเมื่อใครต้องการทำอาชีพใดอาชีพหนึ่ง ก็ต้องไปขออนุญาตจากสภานั้นๆ ถ้าหากสภาใดทำงานเข้าตาประชาชนได้รับโหวต 200 คนจาก 200 สภาแรก ย่อมกลายเป็น ส.ส.แล้ว

สามอำนาจอธิปไตย ได้แก่ ข้าราชการ ได้รับอำนาจบริหารจากรัฐบาลแทน มีหน้าที่บริหารประเทศโดยตรง ศาลยุติธรรม ยังคงอำนาจในการชี้ถูกผิดเช่นเดิม แต่จะไม่สามารถกำหนดบทลงโทษได้ กฤษฎีกา เป็นประตูบานเดียวที่จะรับร่างฯต่างๆไปเพื่อบัญญัติกฎหมายแม้นายกก็ต้องมาส่งร่างที่นี่ แม้ประชาชนก็สามารถส่งร่างฯได้

อีกนัยหนึ่ง[แก้]

ปฐมบทระบอบปกครอง[แก้]

เนื่องด้วยเหตุการณ์ความสับสนอันเป็นวิกฤตที่บังเกิดขึ้นในประเทศชาติ ดังที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ตุลาการศาลปกครองสูงสุดและผู้พิพากษาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในเวลา 17.42 น. วันที่ 25เมษายน พ.ศ.2549 ทรงตรัสพระราชดำริตอนหนึ่งว่า[3]

“เวลานี้เป็นเวลาที่วิกฤตที่สุดในโลก ท่านก็มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ
ปรึกษากับผู้มีความรู้ เขาเรียกว่า กู้ชาติ เวลานี้เอะอะอะไรก็กู้ชาติ
เดี๋ยวนี้ชาติไม่ได้จม ฉะนั้นป้องกันไม่ให้จม แล้วจะได้ไม่ต้องกู้ชาติ
เพราะฉะนั้นต้องพิจารณาดูดีๆ ว่าจะต้องทำอะไรถ้าทำได้
ปรึกษาหารือกัน”

บัดนี้ จักได้บรรยายขยายเนื้อความแห่งระบอบปกครอง………………………………………………. เพื่อสนองพระราชดำริที่ได้แสดงไว้ในเบื้องต้น พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและปฏิบัติของชนทั้งหลาย เพื่อเป็นภูมิคุ้มห้ามมิให้ประเทศชาติจมลงไปสู่ทะเลทุกข์ เป็นลำดับต่อไป

อนึ่ง เมื่อประชาชนทั้งหลายเหล่าใดจมลงสู่ทะเลทุกข์เพราะโรคาพยาธิอันระบาดไปทั่วเสียแล้วในทั่วทุกตำบลใด ย่อมต้องแสวงหาแพทย์ผู้ปรุงเภสัชเพื่อรักษาโรคบำบัดทุกข์ อันเภสัชนั้นไม่ว่าจะเป็นขนานใดวงการแพทย์โบราณของจีนย่อมต้องประกอบด้วยเภสัชอันมีรสทั้ง 5 นำลงมาปรุงในกระถางปรุงยาสามขาเพื่อประโยชน์ของมหาชนทั้งหลายอันต้องโรคระบาดนั้น เชกเช่นเดียวกัน ประเทศชาติเมื่อเกิดความวุ่นวายขึ้นด้วยความสับสนต่างๆ อันเป็นช่องว่างของกฎหมายบ้าง ของบุคคลบ้าง จึงจำเป็นต้องมีแพทย์ใหญ่คือ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้ปรุงเภสัช 5 คือ สำนักนายกรัฐมนตรีมหาเสนาบดี สำนักธรรมาภิบาลมหาตุลาการ สำนักผู้ทรงธรรมราโชพิทักษ์ สำนักองค์กรตรวจสอบมหาธรรมาธิการ สำนักประธานรัฐสภามหาเมธาวี เป็นยารักษาโรคในกระถางปรุงยาสามขา คือ ข้าราชการ ศาลยุติธรรม และคณะกฤษฎีกา

สาระสำคัญเรื่องระเบียบแห่งอำนาจอธิปไตย[แก้]

อำนาจอธิปไตย หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศและเป็นอำนาจยิ่งใหญ่เหนืออำนาจทั้งปวง ซึ่งกล่าวโดยสรุปก็คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ อำนาจทั้งสามนี้เป็นของเดิมซึ่งเจ้าของอำนาจคือปวงชนชาวไทย แต่ในปัจจุบันฝ่ายการเมืองได้กระทำการใช้อำนาจทั้งสามนี้โดยขาดกุศโลบายอันเป็นกุศลวิธี เพื่อแก่งแย่งอำนาจและผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ไม่สามรถเปิดช่องให้คนดีเข้ามาบริหารบ้านเมืองได้ อำนาจทั้งสามจึงเป็นดาบสองคมกลับมาทิ่มแทงปวงชนชาวไทยเสียเอง

ยกตัวอย่างได้เช่น การพัฒนาประเทศไทยเพื่อเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วตามค่านิยมของอารยธรรมตะวันตกซึ่งเป็นกลุ่มชนอารยประเทศที่จำเป็นต้องใช้อุตสาหกรรมในการเลี้ยงชีพ แต่ฝ่ายการเมืองที่ผ่านมานับตั้งแต่คณะปฏิวัติซึ่งส่วนมากเป็นผู้ที่ศึกษามาทางด้านภูมิปัญญาตะวันตก หาได้เข้าใจถึงแก่นแท้ของภูมิปัญญาตะวันออกไม่และกลับเยียบยำภูมิปัญญาอันเป็นรากฐานของตน พยายามเปลี่ยนประเทศของตนให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม ต้นไม้จะสูงใหญ่ได้ด้วยอาศัยรากแก้วของตนที่ยั่งลึกลงไปในแก่นของปฐพี สิ่งที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันนี้ถูกต้องแล้วหรือ ยกตัวอย่างได้จากประเทศอเมริกาซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการอุตสาหกรรม แต่ทว่าในสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลายสามารถปรับปรุงโรงงานของตนเองให้กลายเป็นโรงงานผลิตอาวุธเพื่อเพิ่มอำนาจทำลายล้างชีวิตมนุษย์ได้เป็นจำนวนมากมายมหาศาล ถ้าจะโทษคนก่อสงครามต้องโทษคนที่สร้างและมอบอาวุธให้คนที่ก่อสงครามด้วย และต้องไม่ลืมว่าประเทศไทยนี้แผ่นดินนี้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นยอดขัตติยะและเป็นมหาราช ทรงกอบกู้ประเทศชาติไว้ให้เป็นเอกราชเพื่อเป็นพุทธบูชาในกาลทั้งสิ้น ซึ่งเราสามารถหาดูได้ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะเป็น พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระยาตากสินมหาราช และสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทุกพระองค์ทรงสละเลือดเนื้อเป็นพุทธบูชาทั้งสิ้น และเมื่อใดทรงทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารีริกธาตุแสดงสัญญาเป็นการรับพุทธบูชาแล้ว ทุกพระองค์ก็พร้อมจะสละพระชนน์ชีพของพระองค์ให้ได้ แต่บัดนี้ทุกพระองค์คงทรงโทมนัสยิ่งนักที่ลูกหลานอกตัญญูของพระองค์กลับนำเอาแผ่นดินที่ทรงสละชีพให้เป็นพุทธบูชามาทำให้ผิดคำสั่งสอนขององค์พระศาสดาเช่นนี้ เพียงเพื่อลาภยศสรรเสริญเช่นนี้ ผิดคำสั่งสอนเช่นไรเดียวจะหาว่าหลอกด่า ในหลักมหาปเทศ 4[4] ทรงตรัสไว้ว่า

“[๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเกิดความรังเกียจในพระ บัญญัติบางสิ่งบางอย่างว่า สิ่งใดหนอ พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้ สิ่งไรไม่ได้ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาค. วัตถุเป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสประทานสำหรับอ้าง ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้: ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หาก สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควรขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย ๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควรหาก สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควรหาก สิ่งนั้นเข้ากับสิ่ง ที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.”

แล้วนำมาเทียบกับมิฉฉาวณิชชา 5[5] อันทรงตรัสไว้แล้วว่า

วณิชชสูตร

“[๑๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ ประการนี้ อันอุบาสกไม่พึงกระทำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ การค้าขายศาตรา ๑ การค้าขายสัตว์ ๑ การ ค้าขายเนื้อสัตว์ ๑ การค้าขายน้ำเมา ๑ การค้าขายยาพิษ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายการค้าขาย ๕ ประการนี้แล อันอุบาสกไม่พึงกระทำ ฯ”

ในเมื่อพี่ใหญ่ในวงการเช่นอเมริกาทำเป็นตัวอย่างแล้วน้องเล็กเข้าใหม่อย่างไทยจะไม่กล้าทำหรือเมื่อมีอำนาจแล้วอำนาจในการผลิตอุสาหกรรม ที่จะผันมาเป็นอำนาจในการผลิตอาวุธทำลายล้าง


นี้เป็นเรื่องอันเกิดขึ้นที่ยกขึ้นแสดงเป็นตัวอย่าง ความเป็นไปในสถาณการณ์ของปัจจุบันที่แต่ละชาติหวังจะเป็นมหาอำนาจด้วยการเพิ่มขีดจำกัดของอำนาจทางทหารโดยอ้างว่าเป็นการป้องกันผลประโยชน์ของชาติของตนเอง หากนับกันให้สิ้นครบทุกกระบวนการก็จะกล่าวได้ว่ามันเป็นไปตามโลกธรรม มี ได้ลาภ เสื่อมยศมีศักดิ์ เสื่อมอำนาจ นินทาและสรรเสริญ แต่สาเหตุความวิกฤตในปัจจุบันมีสาเหตุซึ่งสัมพันธ์กันอยู่ 2 ประการ กล่าวคือ

ตัวบทกฎหมายอย่างหนึ่ง

ตัวบุคคลและคณะอย่างหนึ่ง

เพื่อจะเป็นการแสดงสาเหตุที่เกิดจากตัวบทกฎหมายจะขออธิบายระบบกฎหมายในปัจจุบันเสียก่อน ซึ่งแบ่งระบบสกุลของกฎหมายขึ้นอยู่กับการพิจารณาว่ายึดอะไรเป็นหลัก แต่ถ้าพิจารณาตามความนิยมแล้ว ระบบหรือสกุลกฎหมายในโลกปัจจุบันอาจแบ่งออกเป็น 3 สาย[6] ด้วยกันคือ

สกุลซีวิลลอว์ หรือ สกุลโรมาโน-เยอรมานิค[แก้]

สกุลนี้ประกอบด้วยประเทศซึ่งวิชานิติศาสตร์พัฒนามาจากกฎหมายโรมัน กฎเกณฑ์ต่างๆ ของกฎหมายเกิดจากข้อบังคับความประพฤติซึ่งเกี่ยวกับควาามคิดทางด้านยุติธรรมและศีลธรรม ปรัชญาเมธีแห่งสกุลนี้สนใจทางด้านการสร้างทฤษฎีมากกว่าจะคำนึงถึงกระบวนการบริหารหรือการนำกฎหมายไปใช้ในแง่ปฏิบัติ การวิเคราะห์ทฤษฎี จะทำให้กฎหมายแจ่มแจ้งและชัดเจนมากขึ้น[7] ส่วนการนำไปปรับใช้กับข้อเท็จจริงนั้นเป็นหน้าที่ของศาลและผู้ใช้กฎหมายซึ่งจะต้องสร้างแนวทาของตนเอง[8] ในเมื่อกฎหมายสกุลนี้ได้พัฒนามาเป็นประมวลกฎหมายซึ่งใช้อยู่แพร่หลายในประเทศต่างๆ เช่น อิตาลี เยอรมันนี สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นและประเทศไทยจึงสมควรกล่าวถึงลักษณะพิเศษของกฎหมายสกุลนี้

  • สกุลกฎหมายนี้ ถือว่ากฎหมายที่เป็นลายลักอักษรมีความสำคัญกว่าอย่างอื่น (สัสสตทิฏฐิ)
  • ในสกุลกฎหมายนี้ คำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความหรือการใช้กฎหมายเท่านั้น (อกิริยทิฏฐิ ทำให้กฎหมายยากแก่ความเข้าใจและยิ่งเพิ่มริ้วรอยง่ายแก่การสืบเสาะเพื่อหาช่องว่าง)
  • ในการศึกษากฎหมาย ต้องเริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคำพิพากษาศาล หรือความเห็นของนักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ (เทอะทะเกินไป กฎหมายใช้จัดการกับความปรารถนาและความต้องการของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคล่องแคล่วตามกาลเวลาดุจเมฆเมฆาและสายลมที่จะพลิ้วไหวไปจับมิได้และละลิ่วล่องไป)
  • สกุลกฎหมายนี้ ถือว่ากฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน หลักกฎหมายและกฎเกณฑ์ในการวินิจฉัยปัญหาในกฎหมายทั้งสองจึงแตกต่างกัน (หากเป็นระบอบปกครองนี้อันลอกเลียนแบบมาจากแนวทางในพุทธศาสนาที่แท้[9] กฎหมายเอกชนว่าด้วยเรื่องความขัดแย้งที่เป็นอันตรายต่อบุคคลกับบุคคล หรือบุคคลกับรัฐ เป็นฉนวนป้องกันแม่กุญแจของปัญหามิให้เสียหายจนใช้ลูกกุญแจไขปัญหาไม่ได้ และใช้กฎหมายมหาชนว่าด้วยเรื่องความสงบสุขและการพิทักษ์รักษาประชาชนทั้งหลายทุกชีวิตในประเทศ เพื่อเป็นกุญแจพิเศษที่ใช้ไขปัญหาโดยการประกอบกันอย่างสมบูรณ์ของชิ้นส่วนของกญแจ ที่มีมากมายถึง 84000 ดอก แต่ถ้าจะจำแนกให้ละเอียด 21000 ดอกในพระวินัยปิฏกคล้ายดังกฎหมายเอกชน 21000 ดอกในพระสุตตันตปิฏกคล้ายกฎหมายมหาชน แต่ 42000 ดอกในพระอภิธรรมครอบคุมเนื้อหาอย่างลึกซึ้งที่สุดในระบอบปกครองนี้จนทำให้ยากที่จะหาบุคคลเข้าใจ)
สกุลคอมมอนลอว์[แก้]

คอมมอนลอว์ เป็นผลของการที่ผู้พิพากษาปฏิบัติหน้าที่ของตน กล่าวคือ การระงับข้อพิพาท ระหว่างคู่กรณี เราจะเห็นได้ชัดว่ากฎเกณฑ์ต่างๆ ที่มีขึ้นนั้นเป็นการหาทางแก้ไขข้อพิพาทในคดีซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มากกว่าที่จะเป็นการวางหลักเกณฑ์ไว้เพื่อใช้ในอนาคต[10] กฎเกณฑ์เหล่านี้จึงไม่ยากที่จะเข้าใจเหมือนสกุลซีวิลลอว์ ถ้าได้ศึกษาจากคดีที่ทำให้เกิดหลักอันหนึ่งอันใด[11] ทางคอมมอนลอว์ถือว่ากฎเกณฑ์นั้นมีอยู่แล้วผู้พิพากษาเพียงแต่มีหน้าที่ค้นให้พบแล้วเอามาใช้ ส่วนพวกซีวิลลอว์นั้นเป็นนักคิดที่จะต้องวางทฤษฎี

จากการสร้างแนวความคิดขึ้น เราจะเห็นตัวอย่างอีกประการหนึ่งเมื่อพิจารณาถึงการบริหารความยุติธรรม กระบวนพิจารณา พยาน และการบังคับตามคำพิพากษา สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญมากกว่ากฎหมายประเภทสาระบัญญัติ เนื่องจากกฎหมายสกุลนี้มุ่งหมายสร้างความสงบมากกว่าที่จะหาทฤษฎี[12] รากฐานทางศีลธรรมเพื่อสร้างระเบียบแบบแผนของสังคม

เมื่อกล่าวถึงคอมมอนลอว์สิ่งที่จะละเลยไม่พูดถึงมิได้ คือ เอคควิตี้ สาเหตุที่เกิดเอคควิตี้ขึ้นสันนิษฐานว่าเนื่องจากลักษณะของคอมมอนลอว์ ไม่เอื้ออำนวยที่จะก่อความเป็นธรรมให้กับผู้ที่ต้องการทุกกรณีดังนั้นเมื่อคู่ความไม่สามารถจะแสวงหาความยุติธรรมได้จากศาลคอมมอนลอว์ จึงได้หันเข้าไปหาวิธีเสนอข้อพิพาทโดยตรงต่อกษัตริย์ ซึ่งศูนย์กลางแห่งความสงบ[13]

เมื่อมองในแง่ของวิวัฒนาการของกฎหมาย นักนิติศาสตร์ถือว่าเอคควิตี้ เป็นกระบวนการที่เข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์มีความคล่องตัวขึ้น[14] ผลที่ตามมาก็คือคู่ความจะสามารถเลือกได้ว่าการเสนอคดีสู่เวทียุติธรรมใดจะทำให้ตนได้ประโยชน์ที่สุด

เมื่อกล่าวโดยสรุปก็อาจอธิบายได้ว่า สกุลกฎหมายนี้พัฒนามาจากกฎหมายไม่มีลายลักษณ์อักษรนั่งเอง กล่าวคือได้นำเอาจารีตประเพณี และคำพิพากษาซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้[15] จนกระทั่งเกิดเป็นระบบกฎหมายที่สมบูรณ์ในตัวเองขึ้น[16] เรียกว่าระบบคอมมอนลอว์ ซึ่งระบบนี้เสื่อมลงในเวลาอีกครั้งหนึ่ง จนต้องสร้างระบบ ความยุติธรรมใหม่ขึ้นดังที่เรียกว่า เอคควิตี้ และต่อมาก็มีการใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรเพิ่มขึ้นอีกเป็นอันมาก

สกุลกฎหมายสังคมนิยม[แก้]

สิ่งที่ทำให้กฎหมายสังคมนิยมแตกต่างจากกฎหมายสกุลซีวิลลอว์ออกไปก็คือ สกุลกฎหมาย นี้มีลักษณะเป็นการปฏิวัติจากต้นรากเดิม นั่นก็คือนักนิติศาสตร์สังคมนิยมต้องการสร้างเงื่อนไขสำหรับระเบียบสังคมขึ้นใหม่[17] ซึ่งจะทำให้ความคิดในเรื่องรัฐและกฎหมายค่อยๆ หายไปในที่สุด เมื่อสังคมเข้าสู่ยุคอุดมการณ์ขั้นสุดท้ายตามปรัชญาของมาร์กซ์[18]

ที่มาแห่งกฎหมายสกุลสังคมนิยมก็คือ งานของนักนิติศาสตร์บัญญัติซึ่งอ้างว่าได้สะท้อนเจตจำนงของประชาชน[19] ภายใต้แนวทางของพรรคคอมมิวนิสต์ เมือ่พิจารณาให้ถ่องแท้เราจะพบว่าบทบาทของกฎหมายขึ้นอยูกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ซึ่งเน้นถึงความสัมพันธ์ เช่น เรื่องปัจจัยการผลิตและต้องการเป็นการรวมศูนย์ ดังนั้ภาวะแวดล้อมจึงไม่สนับสนุนให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชนเท่ากับความสัมพันธ์ของสังคมกับปัจเจกชน[20] ลักษณะของกฎหมายที่เกิดขึ้นจึงหนักไปทางแง่กฎหมายมหาชน มากกว่ากฎหมายเอกชน

อันที่จริงแล้ว กฎหมายสกุลนี้ก็คือ กฎหมายลายลักษณ์อักษรอย่างเดียวกับกฎหมายในสกุลซีวิลลอว์นั่นเอง แต่ที่นับว่าแตกต่างกันอย่างสำคัญก็คือ

  • กฎหมายในสกุลซีวิลลอว์พัฒนามาเป็นลำดับโดยอาศัยระยะเวลาอันยาวนาน ทั้งนี้กล่าวได้ว่าอาศัยเหตุผล และเหตุการณ์เป็นตัวอยู่เบื้องหลังการออกกฎหมายแต่ละเรื่อง แต่กฎหมายในสกุลสังคมนิยมอาศัยการเมืองเป็นจักรกลสำคัญในการออกกฎหมาย ซึ่งมีผลให้หลักกฎหมายในสกุลทั้งสองแตกต่างกัน เช่นในขณะที่สกุลซีวิลลอว์ถือว่ากฎหมายอาญาต้องใช้อย่าเคร่งครัด[21] แต่เพราะความจำเป็นทางการเมืองสกุลสังคมนิยมยอมรับการลงโทษบุคคลโดยออกกฎหมายย้อนหลัง และการลงโทษโดยวิธีเทียบเคียงความผิด อันเป็นวิธีอุดช่องว่างกฎหมายอย่างหนึ่ง[22]
  • การออกกฎหมายในสกุลสังคมนิยมคำนึงถึงเป้าหมายคือการสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม[23] มากกว่าวิธีการฉะนั้นแม้จะต้องออกกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ได้ผ่านขั้นตอนทางรัฐสภากฎหมายนั้นก็อาจใช้บังคับได้
  • สกุลสังคมนิยมมีความเห็นทางเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแตกต่างจากสกุลกฎหมายอื่นกล่าวคือ ถือว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นแนวแบ่งแยกสกุลกฎหมายนี้ออกจากสกุลกฎหมายอื่นโดยถือว่ารัฐมีอำนาจจำกัดการมีกรรมสิทธ์ในทรัพย์สินของเอกชนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์[24]
  • สกุลสังคมนิยมให้ความสำคัญแก่กฎหมายมหาชนมากกว่ากฎหมายเอกชน และถือว่านิติสัมพันธ์ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายมหาชน[25] เช่น ความสัมพันธ์ในครอบครัวและการได้มาหรือสิ้นไปของกรรมสิทธิ์ เป็นต้น
  • สกุลกฎหมายนี้ยึดหลักการให้สวัสดิการสังคมเป็นใหญ่ และพยายามสร้างความเป็นธรรมให้สังคมโดยอาศัยหลักพื้นฐานว่า บุคคลมิได้มีอำนาจต่อรองเสมอกัน[26] รัฐจึงควรเข้าแทรกแซงกิจการของเอกชน เพื่อคุมครองผู้เสียเปรียบกฎหมายของสกุลนี้จึงมีลักษณะเป็นกฎหมายสังคมเป็นส่วนใหญ่ เช่น กฎหมายผู้คุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายแรงงาน กฎหมายปฏิรูปที่ดิน เป็นต้น

โดยรวม[แก้]

เมื่ออธิบายระบบสกุลมาครบทั้ง 3 ดังนี้แล้ว ก็พอจะทำให้เห็นความบกพร่องในความสมบูรณ์ของระบบกฎหมายทั้ง 3 สกุล ซึ่งเป็นข้อสงสัยของข้าพเจ้าหากมีผู้รู้จริงผู้ใดจะตอบได้ ข้าพเจ้าจะขอรับฟังเพื่อพัฒนาตนในโอกาสต่อไป ดังนั้นตอนนี้จะอธิบายหลักการของกฎหมายตามแนวคิดในระบอบปกครองฉบับนี้ต่อไป

“หลักการของกฎหมายเน้นที่ความสัมพันธ์กันเป็นหลักเบื้องต้นและไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แต่ต้องมีไว้พิทักษ์รักษากุญแจแห่งความหลุดพ้นของประชาชนเพื่อความเป็นไทย

ไม่มีกลไกลที่ซับซ้อนยากเข้าใจและไม่เทอะทะเกินไป เพราะกฎหมายแม้แยกออกใช้ที่ละข้อหรือหมวด ยังถูกบุคคลจู่โจมทำลาย หากหล่อหลอมกฎหมายทั้งหมดให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ผู้คนก็ไม่สามารถจูโจมทำลายได้ ผู้ใช้กฎหมายล้วนไม่เข้าใจว่า กฎหมายทุกชนิดเป็นของตายตัว คนพาลที่ใช้ช่องว่างกฎหมายกลับมีชีวิต แต่ต่อให้ทำลายกฎหมายที่ตายตัวได้ เมื่อพบพานกับสัตบุรุษผู้ใช้กฎหมายเป็น หล่อหลอมกฎหมายทุกข้อเข้าด้วยกันกลับกลายเป็นกฎหมายที่มีชีวิต ผู้ที่คิดจะทำลาย รังแต่ถูกมัดมือมัดเท้าแล้ว

การหล่อหลอมกฎหมายให้เป็นกฎหมายที่มีชีวิตเพียงเป็นขั้นแรกต้องปฏิบัติถึงขั้นอกฎหมาย[27] ค่อยก้าวสู่ความยุติธรรมที่แท้จริงได้ คำว่า หล่อหลอมกฎหมายทุกข้อเข้าด้วยกัน คนพาลก็ไม่สามารถทำลายกฎหมายได้ นับว่าถูกเพียงครึ่งเดียวซึ่งความจริงมิใช่หล่อหลอมหากแต่เป็นอกฎหมาย กฎหมายต่อให้หล่อหลอมอย่างไรขอเพียงมีริ้วรอยอยู่ให้สืบสาวคนพาลผู้ฉลาดยังมีช่องว่างฉกฉวย แต่หากผู้รักษากฎหมายไร้ข้อกฎหมายที่จะรักษา คนพาลจะจู่โจมทำลายอาศัยช่องว่างของกฎหมายได้อย่างไร

การหล่อหลอมกฎหมายอาศัย อินทรีย์ 5 ที่แก่กล้ามีความต่อเนื่องซึ่งกันและกัน ทุกประการปล่อยไปตามธรรมชาติ เมื่อบังคับไม่ได้ก็ไม่บังคบ ร้อยรวมไม่ได้ก็แล้วกันไป อย่าได้บังคับแข็งขื่นแม้แต่น้อย แต่หากถึงขั้นอกฎหมายต้องอาศัยอินทรีย์ 5 ที่ทั้งแก่กล้าทั้งเท่าเทียมพอดีระดับเดียวกันแล้วก้าวไปตาม มัชฌิมาปฏิปทา จึงสำเร็จ”

มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา,
มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสติ วา กโรติ วา,
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํว วหโต ปทนฺติ
มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา,
มนสา เจ ปสนฺเนน ภาสติ วา กโรติ วา,
ตโต นํ สุขมเนฺวติ ฉายาว อนุปายินีติ

สาเหตุที่เกิดจากตัวบุคคลอธิบายได้คำเดียวก็คือ “อำนาจที่เบ็ดเสร็จขาด รังแต่กัดกร่อนผู้คนให้เสื่อมทรามลง” อันว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของสมเด็จพระราชาเจ้าขัตติยะ มหาชนประชาราช หรือบุคคลใดที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกฉันท์ทุกเสียงของประชาชน(ได้รับคะแนนเสียงร้อยเปอร์เซ็นเต็ม)คนใดคนหนึ่งก็หามิได้ หากแต่เป็นของสัตบุรุษผู้มีธรรม ทำความดีงามและกุศลยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องแม้ชีพตนก็สละได้ต่างหากจึงคู่ควร มิฉะนั้นอำนาจอธิปไตยนั้นจะกลายเป็นดาบสองคมหันกลับมาทำร้ายซึ่งสมเด็จพระราชาเจ้าขัตติยะ มหาชนประชาราช หรือบุคคลใดที่ได้รับการแต่งตั้งนั้นเอง แล้วธรรมใดเป็นเครื่องตัดสินสัตบุรุษเล่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า[28]

“พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษ
ว่าผู้นี้เป็นสัตบุรุษ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่าผู้นี้เป็นอสัตบุรุษไหมเล่า ฯ
ภิ. รู้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ แม้ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า
ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ นั่นก็เป็นฐานะที่มีได้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วย
พ. ธรรมของสัตบุรุษ ภักดีต่อสัตบุรุษ มีความคิดอย่างสัตบุรุษ
มีความรู้อย่างสัตบุรุษ มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ มีการงานอย่างสัตบุรุษ
มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ ย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ
มีสุตะมากมีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อย่างนี้แลสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างไร
คือสัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ชนิดที่มีศรัทธา
มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมากมีความเพียรปรารภแล้ว
มีสติตั้งมั่น มีปัญญาเป็นมิตร เป็นสหาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างสัต
บุรุษอย่างไรคือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมไม่คิดเบียดเบียนตนเอง ไม่คิด
เบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ
อย่างไรคือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมไม่รู้เพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่รู้เพื่อ
เบียดเบียนผู้อื่นไม่รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ
อย่างไรคือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจาก
คำพูดส่อเสียด งดเว้นจากคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างสัต
บุรุษอย่างไรคือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้น
จากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่าง
นี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงาน อย่างสัตบุรุษ ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัต
บุรุษอย่างไรคือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่
ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผล
วิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีอยู่โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติ
ชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกหน้าให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ใน
โลกมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่า เป็นผู้มีความ
เห็นอย่างสัตบุรุษ ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ
อย่างไร คือสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยเคารพ ทำความอ่อน
น้อมให้ทาน ให้ทานอย่างบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความเห็นว่ามีผล จึงให้ทาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลสัตบุรุษชื่อว่าย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษนั่นแหละ เป็นผู้ประกอบ
ด้วยธรรมของสัตบุรุษอย่างนี้ ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างนี้ มีความคิดอย่าง
สัตบุรุษอย่างนี้ มีความรู้อย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ
อย่างนี้ มีการงานอย่างสัตบุรุษอย่างนี้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างนี้
ให้ทานอย่างสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของสัต
บุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คติของสัตบุรุษคืออะไร คือ ความเป็นผู้มี
ตนควรบูชาในเทวดา หรือความเป็นผู้มีตนควรบูชาในมนุษย์ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่น
ชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ จูฬปุณณมสูตร ที่ ๑๐

โดยพิสดาร[แก้]

เมื่อกล่าวจำแนกสาระสำคัญเรื่องระเบียบแห่งอำนาจอธิปไตยในระบอบการปกครองนี้ จำเป็นต้องร่างโครงสร้างหลักใหม่กันก่อนเพราะเดิมเรามีอำนาจอธิปไตยแบ่งเป็นสามลักษณะกล่าวคือ อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารผ่านทางรัฐบาล และอำนาจตุลาการผ่านทางศาลยุติธรรม แต่เมื่อจำแนกใหม่ตามระบอบปกครองนี้จะแยกเป็น3หลักใต้5ความเป็นใหญ่

3 หลักคืออำนาจอธิปไตยเดิม

อำนาจนิติบัญญัติ แต่ผ่านทางคณะกฤษฎีกา อำนาจบริหาร แต่ผ่านทางข้าราชการ อำนาจตุลาการ ผ่านทางศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร เดิม

5 ความเป็นใหญ่คืออำนาจอธิปไตยที่ต้องถูกใช้ผ่านสัตบุรุษ

อำนาจในการชี้นำทางสังคม ผ่านทางสำนักนายกรัฐมนตรีมหาเสนาบดี อำนาจในการพัฒนาบุคคลทั้งประเทศ ผ่านทางสำนักธรรมาภิบาลมหาตุลาการ อำนาจในการรักษาพิทักษ์ธรรม ผ่านสำนักผู้ทรงธรรมราโชพิทักษ์ อำนาจในการตรวจสอบตรวจการ ผ่านทางสำนักองค์กรตรวจสอบมหาธรรมาธิการ อำนาจในการอนุญาตอนุมัติรับรอง ผ่านทางสำนักประธานรัฐสภามหาเมธาวี

ระบอบปกครองนี้เป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นอกฎหมาย เพราะอาศัยหลักธรรมในพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎกทั้งสามเป็นแม่บท เน้นโพธิปักขิยธรรมเป็นแม่แบบ เพื่อออกแบบรูปแบบการปฏิบัติเป็นหลักการในการประพฤติ ซึ่งแฝงวัตถุประสงค์อันถอดมาจากภูมิปัญญาแห่งปรัชญาธรรมชาติในคัมภีร์อี้จิง เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการปกครองประเทศโดยธรรมอันสอดคล้องกับธรรมชาติ

เนื่องด้วยการเน้นที่โพธิปักขยธรรมเป็นแม่แบบ เราจึงจะอธิบายโพธิปักขิยธรรมเสียก่อน โดยถอดความออกมาจากพระไตรปิฏก ซึ่งในพระสูตรเรียกว่า อภิญญาเทสิตธรรม (ที.ม.10/107/141,ที.ปา.11/108/140,ม.อุ.14/54/51) ในพระอภิธรรมเรียกว่า พระสัทธรรม (อภิ.วิ.35/611/336) ในพระวินัยเรียกว่า มรรคภาวนา(วินย.1/236/175,2/308/212) และธรรมหมวดนี้ท่านยังให้ชื่อว่า สันติบท คือธรรมที่เป็นไปเพื่อการบรรลุสันติ แล้วยังเรียกอีกหลายชื่อว่า อมตบท นิพพานบท ธรรมเสรี (ขุ.ม.29/701/414,ขุ.จู.30/391/188,30/681/340,684/342) เป็นต้น แต่ในชั้นอรรถกถาซึ่งพระเถระอธิบายไว้ในยุคหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม โดยในที่นี้จะแสดงในตอนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนสามเณรจุนทะ ที่คิดแล้วว่านิครณฐ์นาฏ บุตรผู้เป็นศาสดาในศาสนาอื่นที่มีความเข้มแข็งทางศรัธทาเท่ากับพุทธศาสนา(คู่แข่ง)ได้ตายลง พวกนิครณฐ์นาฏบุตรเกิดแตกกัน เกิดแยกกันเป็นสองพวก ฯลฯ โดยเหตุที่ธรรมวินัย อันนิครณฐ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ไม่ใช่ธรรมวินัยที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยมีที่พำนักอันทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่มีที่พึ่งพา ดังนี้ โดยกล่าวในปาสาทิกสูตรแบบย่นย่อ[29] ว่า

“[๑๐๘] เพราะเหตุดังนี้นั่นแหละ จุนทะ ธรรมทั้งหลายเหล่า
นั้นใด อัน เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง บริษัททั้งหมดเทียว พึง
พร้อมเพรียงกันประชุม รวบรวมตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะ
ด้วยพยัญชนะ ในธรรมเหล่านั้น โดยวิธีที่พรหมจรรย์นี้จะพึงเป็นไป
ตลอดกาลยืดยาว ตั้งมั่นอยู่สิ้นกาลนาน พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไป
เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็น อันมาก เพื่อ
ความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความ
สุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรจุนทะ ก็ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น
อันเรา แสดงแล้วด้วยความรู้ยิ่งเป็นไฉน ที่บริษัททั้งหมดเทียว พึง
พร้อมเพรียงกันประชุม รวบรวมตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะ
ด้วยพยัญชนะ โดยวิธีที่พรหมจรรย์ นี้จะพึงตั้งอยู่ตลอดกาลยืดยาวตั้ง
มั่นอยู่สิ้นกาลนาน พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็น
อันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ แก่ชาวโลก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย
คืออะไรบ้าง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ดูกรจุนทะ
ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล อันเราแสดง แล้วด้วยความรู้ยิ่ง ซึ่งเป็น
ธรรมที่บริษัททั้งหมดเทียว พึงพร้อมเพรียงกันประชุม รวบรวมตรวจ
ตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะด้วยพยัญชนะ โดยวิธีที่พรหมจรรย์ นี้
จะพึงตั้งอยู่ตลอดกาลยืดยาว ตั้งมั่นอยู่สิ้นกาลนาน พรหมจรรย์นั้นจะ
พึงเป็นไป เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอัน
มาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความ
สุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เมื่อประชุมพร้อมกันเราเรียกว่าโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ แต่ในที่นี้คงไม่สามารถแสดงให้ครบถ้วนทั้งหมดได้ เพราะทั้ง 37 ประการนี้คือทั้งหมดของพระไตรปิฎกแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ดังนั้นจะยกส่วนที่สำคัญเป็นอันดับแรกเสียก่อน ธรรมข้อนั้นคือ อินทรีย์ 5 ซึ่งมีบทบาทสำคัญในระบอบปกครองนี้และถือเป็นแก่นที่เดียว

อินทรีย์ 5 ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตนแบ่งเป็น 5 ข้อ ถ้าพูดแบบนักบริหารจัดการองค์การธุรกิจ ก็สามราถจัดธรรมหมวดนี้เป็ตำแหน่งบริหารในบริษัทมหาชนจำกัดสักแห่งหนื่งได้ว่า จิตใจของเราก็คือ CEO (Chief Executive Officer) สัทธา ความเชื่อ ก็คือ COO(Chief Operating Officer) วิริยะ ความเพียรพยายาม ก็คือ CFO(Chief Finance Officer) สติ ความระลึกได้ ก็คือ CMO(Chief Memory Officer) สมาธิ ความตั่งจิตมั่น ก็คือ CAO(Chief Agency Officer) ปัญญา ความรู้ทั่วชัด ก็คือ CSO(Chief Strategy Officer) และคำว่าOfficer หมายถึงขันธ์ 5 ของมนุษย์ ส่วนคำว่า Chief เป็นเสมือนตัวแทนความหมายของอินทรีย์ แต่เพื่อความกระจ่างแจ้งชัดเจนจักยกคำของพระพุทธเจ้าขึ้นแสดงดังนี้

สาวัตถีนิทาน[30]
        [๔๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ฯ  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นใน โสดาปัตติยังคะ ๔ ฯ  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นใน สัมมัปปธาน ๔ ฯ  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นใน สติปัฏฐาน ๔ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นใน ฌาน ๔ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ในที่ไหน พึงเห็นใน อริยสัจ ๔ ฯ
        [๔๓๗] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ใน โสดาปัตติยังคะ(ธรรมอันเป็นองค์แห่ง การบรรลุกระแสนิพพาน)  ๔ จะพึงเห็น อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่ง วิริยินทรีย์ ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ฯ ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ  ๒๐ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ ฯ
        [๔๓๘] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็น อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ  พึงเห็นสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อในโสดาปัตติยังคะ คือ  (1)การคบสัตบุรุษ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่านพึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์  ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่ในการน้อมใจเชื่อในโสดาปัตติยังคะ คือ (2)การฟังธรรมของท่าน  (3)การทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย (4)การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (คูณ)พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็น
สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็นด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
        [๔๓๙] ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็น อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ  พึงเห็นวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการประคองไว้ ใน สัมมัปปธาน ๔ คือ (1)การไม่ยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการประคอง ไว้ในสัมมัปปธาน คือ (2)การละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ในสัมมัปปธาน คือ(3) การยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ ในสัมมัปปธาน คือ (4) ความตั้งมั่น ความไม่ฟั่นเฟือน
ความเจริญยิ่งความไพบูลย์ ความเจริญความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว พึงเห็นสตินทรีย์ด้วย อรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเห็นพึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
        [๔๔๐] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ  พึงเห็นสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการตั้งมั่น ใน สติปัฏฐาน คือ (1)การพิจารณาเห็นกายในกาย พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่านพึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อพึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน คือ (2)การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือ (3) การพิจารณาเห็นจิตในจิตฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือ (4)การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย พึงเห็น สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อพึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ 
        [๔๔๑] ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ  พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ใน ฌาน๔ ความไม่ฟุ้งซ่าน ใน(1)ปฐมฌาน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อพึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ใน(2)ทุติยฌานฯลฯ ใน(3)ตติยฌาน ฯลฯ ใน(4)จตุตถฌาน พึงเห็นปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อพึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วย สามารถแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็น อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ 
        [๔๔๒] ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ พึงเห็นปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจ๔ คือ(1)ทุกข์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความเห็นในอริยสัจ คือ (2)ทุกขสมุทัย ฯลฯในอริยสัจ คือ (3)ทุกขนิโรธ ฯลฯ ในอริยสัจ คือ (4)ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พึงเห็นสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็น สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ 
         [๔๔๓] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็น ความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ฯลฯ ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ ในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ในฌาน ๔ ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติ แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร ฯลฯ ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ ฯลฯ ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ ในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ในฌาน ๔ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ ฯ 
        [๔๔๔] ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็น ความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ  พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ น้อมใจเชื่อ ในโสดาปัตติยังคะ คือ การคบหาสัปบุรุษ พึงเห็นความประพฤติ แห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วย อรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึง เห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อ ในโสดาปัตติยังคะ คือ การฟังธรรมของท่าน ฯลฯ ในโสดาปัตติยังคะ คือการทำไว้ในใจ โดยอุบายอันแยบคาย ฯลฯ ในโสดาปัตติยังคะ คือ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่า ประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่ง ปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ในโสดาปัตติยังคะ ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ 
        [๔๔๕] ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ
จะพึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความ ประคองไว้ ในสัมมัปปธาน คือ การไม่ยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความประคองไว้ ในสัมมัปปธาน คือ การละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ในสัมมัปปธาน คือ การบำเพ็ญกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ ในสัมมัปปธาน คือความตั้งมั่น ความไม่ฟั่นเฟือน ความเจริญยิ่งความไพบูลย์ ความเจริญความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ
        [๔๔๖] ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นความ ประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย พึงเห็นความประพฤติแห่ง สมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ ในสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วย อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ 
        [๔๔๗] ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในปฐมฌาน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็นพึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในทุติยฌาน ฯลฯ ใน ตติยฌาน ฯลฯ ในจตุตถฌาน ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่นด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ใน ฌาน ๔ จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ 
        [๔๔๘] ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ จะพึงเห็นความ ประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในการเห็น ในอริยสัจ คือ ทุกข์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจ เชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่ในความเห็น ในอริยสัจ คือ ทุกขสมุทัย ฯลฯ ในอริยสัจ คือ ทุกขนิโรธ ฯลฯ ในอริยสัจ คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่ง สตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่า ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔จะพึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ

สรุปเนื้อความ[แก้]

สัทธินทรีย์[แก้]

ความเป็นใหญ่ในความเชื่อ ขยายความคือ โสดาปัตติยังคะ[31] ได้แก่

  1. สัปปุริสสังเสวะ การคบสัตบุรุษ,เสวนาท่านสัตบุรุษผู้ทรงธรรมทรงปัญญาเป็นมิตร
  2. สัทธัมมัสสวนะ การฟังธรรมของท่าน,ใส่ใจเล่าเรียนฟังอ่านหาความรู้ให้ได้ธรรมที่แท้
  3. โยนิโสมนสิการ การทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย,รู้จักคิดพิจารณาหาเหตุผลโดยถูกต้อง(การสังเกตเป็นปัจจัยให้เกิดธรรมสังเวช ธรรมสังเวชเป็นปัจจัยให้ เกิดโยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการเป็นเหตุให้เกิดสติโพชฌงค์)
  4. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม,ปฏิบัติธรรมถูกหลัก ให้ธรรมย่อยคล้อยแก่ธรรมใหญ่ สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของธรรมทั้งหลายที่สัมพันธ์กัน
วิริยินทรีย์[แก้]

ความเป็นใหญ่ในความพยายาม ขยายความคือ สัมมัปปธาน[32] ได้แก่

  1. สังวรประธาน การไม่ยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
  2. ปหานปธาน การละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว
  3. ภาวนาปธาน การยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
  4. อนุรักขณาปธาน ความตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความเจริญยิ่ง ความไพบูลย์ความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
สตินทรีย์[แก้]

ความเป็นใหญ่ในความระลึกได้ ขยายความคือ สติปัฏฐาน[33] ได้แก่

  1. กายานุปัสสนา การตั้งสติพิจารณาไปในกาย มี 6 รูปแบบ เช่น มี ลมหายใจ เป็นต้น
  2. เวทนานุปัสสนา การตั้งสติพิจารณาไปในเวทนา(ความรู้สึกอารมณ์) มีทุกข์ มีสุข เป็นต้น
  3. จิตตานุปัสสนา การตั้งสติพิจารณาไปในจิตใจ เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความตั้งจิตอยู่ในสมาธิ เป็นต้น
  4. ธัมมานุปัสสนา การตั้งสติพิจารณาไปในธรรม มีความรู้ชัดของการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป ของธรรม ได้แก่ นิวรณ์ 5 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 อริยสัจจ์ 4
สมาธินทรีย์[แก้]

ความเป็นใหญ่ในความตั้งจิตมั่น ขยายความคือ ฌาน[34] ได้แก่

  1. ปฐมฌาน การเพ่งรูป(วัตถุ)เป็นอารมณ์ มีองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
  2. ทุติยฌาน การเพ่งรูป(วัตถุ)เป็นอารมณ์ มีองค์ 3 คือ ปิติ สุข เอกัคคตา
  3. ตติยฌาน การเพ่งรูป(วัตถุ)เป็นอารมณ์ มีองค์ 2 คือ สุข เอกัคคตา
  4. จตุตถฌาน การเพ่งรูป(วัตถุ)เป็นอารมณ์ มีองค์ 2 คือ อุเปกขา เอกัคคตา
ปัญญินทรีย์[แก้]

ความเป็นใหญ่ในความรู้ชัดทั่ว ขยายความคือ อริยสัจจ์[35] ได้แก่

  1. ทุกข์ ความทุกข์,สภาพที่ทนได้อยาก,สภาวะที่บีบคั้น ได้แก่ การเกิด ความชรา ความตาย การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความไม่สมหวังปราถนา โดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ 5[36] เป็นทุกข์
  2. ทุกขสมุทัย เหตุเกิดแห่งทุกข์ สาเหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา[37]
  3. ทุกขนิโรธ ความดับทุกข์ คือการก้าวถึงจุดที่ทำลายความต่อเนื่องอันไม่มีขีดจำกัด การสลายปัจจัยที่ทำให้เกิดและดับ การยุติการให้ผลและการรับเหตุความกระจ่างแจ้งในอวิชชาที่เป็นปัจจัยของทุกสิ่งทุกอย่างมีผลให้ไม่ก่อเหตุที่ต้องรับอีกต่อไปเพราะไม่มีตัวตนที่จะถูกกระทำอีก การระงับตัณหาการหลบพ้นจากหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวง เป็นอิสระต่อทุกสิ่ง วิมุตติ สุทธิ นิพพาน
  4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติที่นำไปสู่การดับทุกข์ ได้แก่ มัชฌิมปฏิปทา มรรคมีองค์แปด[38]

ธรรมดาของสิ่งใดสิ่งหนึ่งล้วนมีคุณสมบัติในตัวของมันเอง ยกตัวอย่างเช่น กองเพลิง มีองค์ประกอบหลักอยู่สามประการคือ ความร้อน อากาศ และเชื้อเพลิง อินทรีย์ 5 ก็เช่นเดียวกันหาก สัทธินทรีย์ขาดโสดาปัตติยังคะ 4 ข้อใดข้อหนึ่งแม้แต่ข้อเดียว ก็ไม่นับว่าความเชื่อ(สัทธา)เป็นใหญ่ในกิจของตนเช่นเดียวกัน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งก็เช่นเดียวกัน สมมติว่าเป็น CMO แต่ไม่ปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 หรือรักษาในองค์คุณสมบัติของตน ก็ไม่สมควรเป็น CMO

อนึ่งหลักอินทรีย์ 5 นี้มีความสำคัญมากซึ่งถือเป็นแก่นของการปกครองระบอบนี้ เราจะเริ่มอธิบายโดยสอดแทรกในบทต่อไป แต่หากทว่าเข้าใจเรื่อง อินทรีย์ 5 เป็นอย่างดีจนถึงขั้นญาณทัสสนวิสุทธิก็ไม่จำเป็นต้องศึกษาระบอบปกครองนี้อีกต่อไป

ทักษะของหัวหน้าผู้จัดการ[แก้]

  • การวางแผน (ปัญญา) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการลูกทีม และสามารถเข้าไปแทนลูกทีมได้ทุกตำแหน่ง รวมถึงเป็นมาตรฐานของการทำหน้าที่
  • การบริการ (วิริยะ) เข้าไปอยู่หน้างานการจัดการ สังเกตตลอดกระบวนการ สอบถามก่อนเกิดปัญหา และเป็นผู้มีวุฒิภาวะมากที่สุดในการเป็นคนแรกในการเข้าไปแก้ปัญหา
  • การสื่อสาร (จิตตะ) เป็นผู้กระจายนโยบายของผู้ที่อยู่เหนือขึ้นไปและเป็นผู้รายงานรายละเอียดของปัญหา ดังนั้นต้องสื่อสารให้ชัดเจนและครบถ้วน รวมถึงการวิเคราะห์การสารที่สื่อออกมาได้ด้วย
  • การตัดสินปัญหา (สติ) รู้จักประเมินปัญหา ทำให้เรื่องใหญ่กลายเป็นเรื่องเล็ก เมื่อมีเรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้นต้องมีไหวพริบในการแก้ ที่ยอดที่สุดคือรู้จักมองในมุมที่ต่างออกไป และไม่ให้เกิดปัญหาทั้งสองฝ่าย
  • รู้เขารู้เรา (สมาธิ) ในการจัดการหากไม่รู้รายละเอียดของงานตรงหน้า รู้แนวโน้มของเหตุการณ์ที่จะเข้ามา จะสามารถจัดการได้อย่างไร
  • การสอน (สัทธา) การสอนเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการทำให้ลูกทีมทำงานร่วมกันเป็นทีม เมื่อได้ที่เชื่อฟัง การจัดการก็จะง่ายขึ้น
  • การเรียนรู้ (วิมังสา) กาลเวลาจะพัฒนาไปเรื่อยๆ การอนุรักษ์นิยมอาจทำให้ตกขบวน เสรีนิยมอาจทำให้หลุดกรอบ การผสานทั้งสองสิ่งและพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ จะทำให้สามารถต่อสู้กับยุคสมัยได้

๑.๑ เชื้อพระวงศ์[แก้]

เป็นหลักสำคัญในการปกครองแผ่นดิน แต่ไม่รับภาษีของประชาชนส่วนร่วมมาเป็นของตนเอง ทำการเลี้ยงชีพด้วยการค้าขายสมุนไพรเป็นสัมปทานหลัก แต่ในอีกมุมหนึ่งก็เป็นผู้พิทักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นที่มาของของเครื่องเลี้ยงชีพ

น้ำสามารถพยุงเรือ แต่ก็สามารถล่มเรือได้ อำนาจเปรียบเสมือนหางเสือเรือ (แต่หากใช้อำนาจต้านกระแสน้ำก็สามารถทำให้หางเสือหักหรือเสื่อมความสามารถได้ ดังนั้นอำนาจเป็นสิ่งที่ควรใช้ให้น้อยที่สุด และจะใช้อำนาจก็ต่อเมื่อนำทางไปสู่นโยบายที่ไว้) แต่หางเสือเรือถูกใช้เพื่อนำไปสู่ทิศทาง

คุณสมบัติความเป็นเจ้าทั้ง 5[แก้]

  1. เจ้าเชื้อพระวงศ์ ความสำนึกไม่กระทำเช่นสามัญชนทั่วไป
  2. เจ้าปกป้อง
  3. เจ้าแผ่นดิน มองประโยชน์ของชนทั้งแผ่นดิน ไม่มองที่ชนส่วนมาก หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง
  4. เจ้าชีวิต ยืนอยู่ระหว่างความเป็นตาย
  5. เจ้าปกครอง มองเห็นความเป็นไปในระยะยาวไม่มองประโยชน์แคบสั้น

มหาจักรพัตราธิราช[แก้]

เป็นการรวมของคำ 3 คำ คือ จักรพรรดิ กษัตริย์ ราชา มีอำนาจในการตรากฎมณเฑียรบาล จักรพรรดิ มีหน้าที่วางแผนในอนาคต กษัตริย์ เป็นผู้ธำรงไว้ซึ่งสถานการณ์ในปัจจุบัน ราชา ผู้รับมือกับปัญหาที่เกิดจากอดีต

กฎมณเฑียรบาล[แก้]

พระมหากษัตริย์และพระราชาเปรียบเหมือนฟ้าและดิน มีที่มาเหมือนกัน ต่างกันที่ส่วนที่บางเบาจะลอยสู่เบื้องบนส่วนที่หนาหนักตกลงสู่เบื้องล่าง ดังนั้นพระราชาต้องสืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์ แล้วทำอย่างไรพระราชาจะไม่คัดแย้งต่อพระมหากษัตริย์

ข้อบัญญัติทรยศต่อแผ่นดิน[แก้]

จักรปาณี[แก้]

ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Emperor เป็นตัวแทนของการก้าวหน้าแห่งรัฐ

จักรพรรดิ

อ่านว่า จัก-กะ-พัด ประกอบด้วย จักฺร + พรรดิ

  1. “จักร” บาลีเป็น “จกฺก” (จัก-กะ) รากศัพท์มาจาก -
    1. จ (แทนศัพท์ว่า “คมน” = การไป) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) กฺวิ ปัจจัย, ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ, ซ้อน กฺ : จ + กฺ + กรฺ = จกฺกรฺ + กฺวิ = จกฺกรกฺวิ > จกฺกร > จกฺก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเครื่องทำให้เคลื่อนไปได้” = ล้อรถ (a wheel (of a carriage)
    2. จกฺกฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + อ ปัจจัย : จกฺกฺ + อ = จกฺก แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่เบียดเบียน คือบดแผ่นดิน” = ล้อรถ (2) “วัตถุเป็นเครื่องเบียดเบียน” = กงจักร, วงจักร (a discus used as a missile weapon)
    3. กรฺ (ธาตุ = ทำ) + อ ปัจจัย, แผลง ก ที่ ก-(รฺ) เป็น กฺก (กรฺ > กกรฺ) (ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “ทเวภาวะ” = การทำให้เป็นสอง) แล้วแปลง ก ตัวหน้าเป็น จ, แปลง ก ตัวหลังเป็น กฺก, ลบที่สุดธาตุ : กรฺ + อ = กร > กกฺร > จกฺร > จกฺกร > จกฺก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นเหตุให้ทำการยึดครองได้” = กองทัพ, กองพล (an array of troops)
  2. “พรรดิ” บาลีเป็น “วตฺติ” (วัด-ติ) รากศัพท์มาจาก วตฺตฺ (ธาตุ = เป็นไป) + ณิ ปัจจัย, ลบ ณ (ณิ > อิ) : วตฺตฺ + ณิ > อิ = วตฺติ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นไป” “ผู้ยัง-ให้เป็นไป”

สรุปคำว่า จักรพรรดิ[แก้]

จกฺก + วตฺติ = จกฺกวตฺติ > จกฺรวรฺตินฺ > จักรวรรดิ > จักรพรรดิ แปลตามศัพท์ได้หลายนัย ดังนี้ -

  1. “ผู้เป็นไปด้วยจักรรัตนะ” (คือประพฤติตามราชประเพณีมีปราบคนชั่วเป็นต้น)
  2. “ผู้ยังจักรรัตนะให้เป็นไป” (คือปล่อยให้ลอยไปข้างหน้าของตน)
  3. “ผู้หมุนวงล้อแห่งบุญ หรือวงล้อแห่งรถให้เป็นไปในเหล่าสัตว์ หรือทรงให้เหล่าสัตว์เป็นไปในวงล้อนั้น”
  4. “ผู้บำเพ็ญทศพิธราชธรรมถึงสิบปีปีเพื่อให้จักรรัตนะเกิดขึ้น”
  5. “ผู้ปฏิบัติจักรธรรม” (คือธรรมเนียมปฏิบัติ ๑๐ หรือ ๑๒ ประการ)
  6. “ผู้ยังอาณาจักรและธรรมจักรให้เป็นไปในหมู่สัตว์ทั้งสี่ทวีป”
  7. “ผู้ยังจักรคืออาณาเขตให้เป็นไปไม่ติดขัด”
  8. “ผู้ยังจักรคือทานอันยิ่งใหญ่ให้เป็นไป”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกความหมายของ “จักรพรรดิ” ไว้ว่า -

“จักรพรรดิ : พระราชาธิราช หมายถึงพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ มีราชอาณาเขตปกครองขว้างขวางมาก บ้านเมืองในปกครองมีความร่มเย็นเป็นสุข ปราบข้าศึกศัตรูด้วยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญาและศัสตรา มีรัตนะ 7 ประการประจำพระองค์ คือ ช้างแก้ว ม้าแก้ว นางแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้ว จักรแก้ว แก้วมณี.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -

“จักรพรรดิ : (คำนาม) พระราชาธิราช, ประมุขของจักรวรรดิ, โบราณเขียนว่า จักรพัตราธิราช ก็มี. (ส. จกฺรวรฺตินฺ; ป. จกฺกวตฺติ).”

ในคัมภีร์แสดง “จักรวรรดิวัตร” หรือหน้าที่ของจักรพรรดิ นักปกครองผู้ยิ่งใหญ่[39] ไว้ดังนี้ -

  1. อนฺโตชนสฺมึ พลกายสฺมึ = สงเคราะห์ชนภายใน และพลกายกองทหาร
  2. ขตฺติเยสุ = สงเคราะห์กษัตริย์เมืองขึ้นทั้งหลาย
  3. อนุยนฺเตสุ = สงเคราะห์เหล่าเชื้อพระวงศ์ ผู้ตามเสด็จเป็นราชบริพาร
  4. พฺราหฺมณคหปติเกสุ = คุ้มครองพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
  5. เนคมชานปเทสุ = คุ้มครองชาวราษฎรพื้นเมืองทั้งหลาย
  6. สมณพฺราหฺมเณสุ = คุ้มครองเหล่าสมณพราหมณ์
  7. มิคปกฺขีสุ = คุ้มครองเนื้อนกที่เอาไว้สืบพันธุ์
  8. อธมฺมการปฏิกฺเขโป = ห้ามปรามมิให้มีการประพฤติการอันผิดธรรม
  9. อธนานํ ธนานุปฺปทานํ = ทํานุบํารุงผู้ขัดสนไร้ทรัพย์
  10. สมณพฺราหฺมเณ อุปสงฺกมิตฺวา ปญฺหาปุจฺฉนํ = เข้าไปหาและสอบถามปัญหากะสมณพราหมณ์
  11. อธมฺมราคสฺส ปหานํ = เว้นความกําหนัดในกามโดยอาการไม่เป็นธรรม
  12. วิสมโลภสฺส ปหานํ = เว้นโลภกล้า ไม่เลือกควรไม่ควร


นักปกครองที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน

เป็นได้แค่คนมีอำนาจ

นักปกครองที่เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติ

เป็นจักรพรรดิราชของปวงชน


อำนาจแห่งจักรพรรดิ[แก้]

  1. ประธานสูงสุดแห่งรัฐสภา จัดการสภาให้ทำงานอย่างเป็นรูปแบบสภา
  2. เป็นทายาทแห่งเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
  3. วางแผนนโยบายของชาติในอนาคต พิทักษ์ประชาราฏษร

ขัตติยวงศ์[แก้]

คำว่า ขัตตริยะ มาจาก
  • ก.เขตฺตานํ อธิปติภูตตฺตา ขตฺติโย ผู้เป็นเจ้าของนา ผู้เป็นใหญ่ของพวกชาวนา (เขตฺต+อิย,ลบ เอ)

ดังนั้น ขัตติยวงศ์ จึงเป็นวงตระกูลของชาวนามีอาชีพทำนาเป็นหลัก หรือเป็นหัวหน้าในการทำนา อันมีงานหลักๆอย่างเช่น ประกาศฤดูกาล ทำนายดินฟ้าอากาศ เป็นผู้รู้ปรากฏการแห่งฟ้า ทำพิธีแรกนาขวัญ เป็นผู้นำในการทำอาชีพที่มีประชากรดำรงมาที่สุด ดังนั้นพระมหากษัตริย์ควรจะเสวยข้าวที่ตนเองเป็นผู้ปลูกเองเท่านั้น หากไร้เรี่ยวแรงที่จะปลูกเองแล้วไซร้ก็ควรที่จะสละอำนาจ (และเพื่อเป็นการแสดงพระปรีชา ก็ควรจะท้าทายด้วยการปลูกบนผืนดินที่แห้งแล้งที่สุด)

  • ข.ขตฺตสฺสาปจฺจํ ขตฺติโย เชื้อสายของนักรบ (ขตฺต+อิย) < ขฏฺฏตีติ ขตฺโต ผู้ป้องกันเขตแคว้น (ขฏฺฏ=สํวรเณ ธาตุในความ สังวร ระวัง ป้องกัน แปลง ฏฺฏ เป็น ตฺต)

ดังนั้น ขัตติยวงศ์ ยังเป็นตระกูลของนักรบมีหน้าที่ปกป้องประชาชนเป็นหลัก

ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า King เป็นตัวแทนของความมั่นคงแห่งรัฐ

อำนาจแห่งกษัตริย์[แก้]

  1. ประมุขของประเทศ เป็นผู้พิทักษ์แผ่นดิน
  2. เจ้าแห่งขัตติย์วงศ์ ราชาวลี และสายสกุล
  3. อาญาสิทธิ์ในการฆ่าฟัน(เมื่อตัดสินโทษประหารแล้ว กษัตริย์เท่านั้นที่จะเซ็นอนุญาตให้ตายได้)
  4. อภัยโทษ

การเฉลิมพระยศเจ้านาย เจ้าทรงกรม[แก้]

ด้วยผลงานในการพัฒนา 4 ด้าน ด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์จนเป็นที่สำเร็จเป็นประจักษ์จึงมีการสถาปณาขึ้นเป็นเจ้าทรงกรม ตั้งแต่

  1. ชั้นที่ 1 กรมพระยา
  2. ชั้นที่ 2 กรมพระ
  3. ชั้นที่ 3 กรมหลวง
  4. ชั้นที่ 4 กรมขุน
  5. ชั้นที่ 5 กรมหมื่น

ราชาวลี[แก้]

คำว่า ราชา มาจาก
  • ก.จตูหิ สงฺคหวตฺถูหิ อตฺตนิ ชนํ รญฺเชตีติ ราชา ผู้ยังชนให้ยินดีด้วยการสงเคราะห์ซึ่งวัตถุ 4 (รญฺช ธาตุในความ ยินดี ,พอใจ ณ ปัจจัย ,ลบณและญฺ ,พฤทธฺ์ อ เป็นอา)
  • ข.อติเตชวนฺตตาย วิเสเสน ราชเต ทิพฺพเตติ ผู้ซึ่งรุ่งเรืองโดยยิ่งเพราะมีเดชานุภาพมาก (ราช ธาตุในความรุ่เรือง อ ปัจจัย)
  • ค.นานาสมฺปตฺตีหิ ราชติ ทิพฺพติ วิโรจตีติ ราชา ผู้รุ่งเรืองด้วยสมบัติ
ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Royal เป็นตัวแทนของความมีประสิทธิภาพแห่งรัฐ

อำนาจแห่งราชา[แก้]

  1. เป็นอธิการใหญ่ของคณะรัฐมนตรี จัดการให้รัฐบาลบริหารปะเทศไปได้ด้วยดี
  2. เป็นผู้จัดการทรัพย์ส่วนพระองค์ทุกพระองค์ที่สวรรคต พระบรมมหาราชวัง ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
  3. เป็นผู้บัญชาการราชองครักษ์ พิทักษ์รัฐธรรมนูญ

สายสกุล[แก้]

นอกเหนือจากสายสกุลที่สืบเนื่องจากราชวงศ์ (ณ (ชื่อจังหวัด)) ยังมีการพระราชทานสายสกุลย่อย (ณ (ชื่ออำเภอ)) แก่ทายาทผู้ก่อตั้งกิจการที่มีการบริหารแบบ 4 ผู้ถือหุ้น 1ผู้ก่อตั้ง โดยหุ้น 6 ส่วนของผู้ก่อตั้ง จะได้รับผลกำไรเพียง 1 ส่วน อีก 5 ส่วนส่งให้ธนาคารขายในรูปกองทุน โดยผู้ก่อตั้งจะได้รับมาในส่วนของวงเงินชำระ ในราคาที่ทำสัญญาไว้กับธนาคาร โดยธนาคารจะนำหุ้นทั้งหมด 5 ส่วนใส่ลงไปในกองทุนประจำอำเภอซึ่งประกอบไปด้วยหลายกิจการ ประกาศขายให้กับประชาชนทั่วไป โดยผู้ก่อตั้งต่างๆ สามารถซื้อได้ด้วยวงเงินชำระ 5 ส่วน ในราคาเพิ่มทุน โดยกองทุนต้องประกาศราคา 2 ราคา คือ ราคามูลค่าที่สามารถขายทอดตลาด ซึ่งเป็นมูลที่แท้จริง กับอีกราคาหนึ่ง ซึ่งเป็นราคาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ประจำภาค(มณฑล)

บริษัทที่บริหารแบบนี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 อย่าง หุ้น 5 ส่วนที่จำนองไว้กับธนาคารโดยแลกสิทธิในการบริหารกับการซื้อประกันของธนาคาร อย่างหนึ่ง การกำหนดกำไรไม่เกิน 1 ส่วน 10 ของการลงทุน ส่วนเกินจากการคาดการจะลงทุนในการวิจัย อย่างหนึ่ง สุดท้าย

ศักดินาและบรรดาศักดิ์[แก้]

ศักดิ์(สตฺต) คำนี้มีความหมายแปลว่าอาวุธ หรืออีกนัยหนึ่งเป็นเครื่องหมายของการต่อสู้ ดังนั้นศักดิศรีจึงหมายถึงคำปฎิญาณต่ออาวุธของตนว่าต่อสู้เพื่ออะไร

อำนาจตุลาการ[แก้]

อำนาจตุลาการเป็นอำนาจที่โดดเดี่ยวต้องการความเป็นอิสระจากทุกฝ่ายจึงสามารถรักษาความเป็นธรรมได้ ดังนั้นอำนาจของฝ่ายปกครองทำได้เพียงยุติความรุนแรงเพียงเบื้องต้นเท่านั้นจากนั้นจึงเดินเรื่องเข้าสู่ชั้นศาลได้ และเพื่อเป็นการคานอำนาจฝ่ายปกครอง ศาลชั้นต้นสามารถบรรเทาความเสียหายตามกรณีที่มีมติลงมาจากศาลในชั้นลูกขุนหรือศาลอุทธรณ์ สุดท้ายการตัดสินจะยุติในศาลฎีกา ศาลทั้ง 3 ชั้นจะมีรูปแบบการตัดสินที่ต่างกันไป

ศาลชั้นต้นเพื่อความรวดเร็วมีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และ AI เข้ามาช่วยในการตัดสินเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการทำงานของศาล

ศาลชั้นลูกขุน เป็นการตัดสินคดีเต็มองค์ประชุม คณะลูกขุนจะถูกคัดเลือกผ่านระบบคัดกรองจากฝ่ายสังคมสัมพันธ์โดยผ่านการสุ่มจากระบบปัญญาประดิษฐ์ซึ่งไม่มีอคติ

เมื่อมาถึงชั้นนี้สิ่งที่ขาดไม่ได้คือผู้พิพากษา นอกจากสอบเข้าแล้ว ผู้พิพากษาต้องอยู่ในศาลชั้นต้น 10 ปี จากนั้นจึงขึ้นศาลชั้นลูกขุนอีก 10 ปี เพื่อรอเวลาทดสอบคำตัดสินในศาลชั้นต้นว่ามีความผิดพลาดหรือไม่ จากนั้นจึงจะเข้าสู่รายชื่อตุลาการในศาลชั้นฎีกา และเมื่อมีการพิพากษา จะมีองค์คณะผู้ตัดสินไม่ต่ำกว่า 5 คน ในคดีเล็ก และจะมี 9 คน ในคดีกลุ่มบุคคล ส่วนคดีส่วนรวมจะมีถึง 21 คนเป็นองค์คณะใหญ่ในการตัดสิน ส่วนการเลือกผู้พิพากษายังใช้ระบบเดียวกับระบบลูกขุน

ส่วนระบบที่ควบคุมระบบศาลอีกชั้นคือสถาบันกษัตริย์

๑.๒ อธิปไตย[แก้]

การบริหารหล่อเลี้ยงด้วยการปกครอง. พื้นฐาน การปกครองหล่อเลี้ยงด้วยการศึกษา. ความรู้ การศึกษาหล่อเลี้ยงด้วยการทหาร. วิวัฒนาการ การทหารหล่อเลี้ยงด้วยการดำเนินธุรกิจ. กองทุน การดำเนินธุรกิจหล่อเลี้ยงด้วยการบริหาร. โอกาส

อำนาจอธิปไตย 3 เท่าทีมีการบันทึกเริ่มต้นในสมัย พ.ศ.290 รัชสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ เรียกว่า 3 พระยา ได้แก่ จงซูเสิ่ง (เน๋ยเก๋อ) ร่างคำสั่ง, เหมินเซี่ยเสิ่ง (อวี้ซื่อ) ตรวจสอบ, สั้งซูเสิ่ง (เสนาบดี) ปฏิบัติการ แต่ยังไม่มีการแบ่งแยกชัดเจนเหมือนในปัจจุบัน คือ บริหาร ตุลาการ นิติบัญญัติ

แต่ปัจจุบันฝ่ายบริหารมีอำนาจชักจุงมากเกินย่อมเกิดเผด็จการในฝ่ายนิติบัญญัติได้ เพราะฝ่ายบริหารเกิดจากเสียงข้างมากในสภา ทางฝ่ายนิติบัญญัติเองสามารถออกกฎอะไรก็ได้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตัวผู้แทนเสียเอง แทนที่จะคำนึงถึงประโยชน์ประชาชน และหากฝ่ายตุลาการที่เกิดการยิดติดอำนาจมากว่าความเที่ยงตรง และยังเส้นแบ่งของสังคมและความถูกต้อง ฝ่ายบริหารย่อมหมดสภาพได้

ดังนั้นหากถามว่า อำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของใคร ?
ในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า มอบอำนาจให้สงฆ์เป็นใหญ่ โดยดูจากการรับภิกษุเข้าหมู่ โดยเริ่มจาก เอหิภิกขุ ไตรสรณะ และญัตติจตุถกรรม (อำนาจบริหาร)

แต่ในทางบัญญัติวินัย ล้วนแต่เป็นการมีผู้กระทำให้เกิดผลเสียแล้ว พระพุทธเจ้าชี้โทษ จากนั้นจึงมีการบัญญัติเป็นข้อห้ามขึ้นมา (อำนาจนิติบัญญัติ ฝ่ายวินัย) ส่วนหลักธรรม (อำนาจนิติบัญญัติ ฝ่ายธรรม) สุดท้ายการตัดสินโทษก็มี สัตตาธิกรณสมถะ (อำนาจตุลาการ)

ฝ่ายบริหารราชการแผ่นดิน[แก้]

รัฐมนตรี เป็นตำแหน่งสำหรับข้าราชการเมือง เป็นเสมือนคณะกรรมการบริการภาคประชาชนและบริหารงานรัฐวิสาหกิจในฐานะบอร์ดบริหารโดยมีผู้ว่าการต่างๆ เป็นผู้ทำหน้าที่โดยตรงอีกที่หนึ่ง โดยรายได้หลักที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาประชาชนจะมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยการยื่นงบเพื่อนำเงินมาใช้ต้องมีแผนการให้สามารถตั้งต้นยกร่างให้หน่วยงานที่เข้าแก้ปัญหาสามารถยกระดับจนแปรรูปขึ้นมาเป็นรัฐวิสาหกิจได้ โดยรัฐวิสาหกิจนั้นแตกต่างจากบริษัทมหาชนต่างๆที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ตรงที่สามารถออกพันธบัตรที่ค้ำประกันโดยรัฐบาลและถูกบังคับให้แปรหุ้นออกมา 49% ออกมาขายในตลาดหลักทรัพย์รัฐวิสาหกิจ ซึ่งหุ้นในตลาดนี้ไม่มีการปั้นผลกำไร ซึ่งกำไรที่เกิดขึ้นจะถูกบังคับไปใช้ในการวิจัยทั้งหมด อีกทั้งตัวหุ้นจะมีการผูกมัดราคาตายตัวไม่มีการขึ้นลงแต่อย่างไร เป็นเสมือนการฝากเงินที่ไม่มีดอกเบี้ย แต่ยังมีผลกำไรโดยใบหุ้นสามารถนำไปใช้เป็นส่วนลดในภาษีมูลค่าเพิ่มได้ โดยจะมีการกำหนดออกมาเป็นอัตราส่วนตายตัว ในเวลาที่ต้องยืนภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือนสามารถนำเอาส่วนนี้มายื่นเพื่อเป็นส่วนลดในการเสียภาษีได้

สำนักนายกรัฐมนตรี[แก้]

รัฐบาลเป็นคณะบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายความไว้วางใจจากรัฐสภาให้ใช้อำนาจบริหาร มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและบริหารประเทศเพื่อความผาสุก คามปลอดภัย และความสงบสุขของประชาชนทั้งประเทศ
นอกจากนี้สำนักนายกรัฐมนตรี ยังมีหน้าที่ดูแลเจ้าหน้าที่ที่โอนย้ายมาจากระบบข้าราชการซึ่งไม่สามารถรับกับระบบข้าราชการได้ และถูกถอดหรือพักจากระบบราชการ

การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี[แก้]

ระบบบริหารประเทศต้องเป็นเอกภาพเพียงหนึ่งเดียว ต้องแยกระบบรัฐสภาและรัฐบาลออกจากกัน การเลือกรัฐบาลจะใช้ระบบบัญชีรายชื่อ และมีการประกาศคะแนนแบบทุกชั่วโมง เป็นเวลา 10 ชั่วโมงตั้งแต่ 9-18 ชั่วโมง สมาชิกรัฐสภาแบบบัญชีรายชื่อจะมีหน้าที่ในการเข้าร่วมการแปรญัญติลงมติไม่ไว้วางใจเผชิญกับสส.เขตและสว. แต่หากสส.บัญชีรายชื่อกลุ่มเดิมยังเข้ามาสส.เขตและสวต้องเลือกตั้งใหม่ สส.บัญชีรายชื่อ 100 คน หากพรรคใดต้องการเป็นรัฐบาลต้องมีคะแนนเกิน 50 เปอร์เซ็น หากการเลือกตั้งนั้นยังไม่มีพรรคใดมีคะแนนเกิน 5 ส่วน ในวันรุ่งขึ้นต้องมีการลงคะแนนใหม่พรรคใดมีคะแนนไม่เกิน 1 ส่วนจะถูกตัดออกในรอบแรก จะมีพรรคไม่เกิน10พรรค และจะตัดออกอย่างน้อยวันละ 2 พรรคที่มีคะแนนน้อยที่สุดรวมถึงพรรคที่มีคะแนนน้อยกว่า 1ส่วน จนกว่าจะเหลือ 2 พรรคสุดท้าย

วันแรกเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน
วันที่ 2 เป็นหน้าที่ของชั้นยศนายสิบในสภากองร้อย มี 10 พรรค
วันที่ 3 เป็นหน้าที่ของชั้นยศนายร้อยในสภากองร้อย มี 8 พรรค
วันที่ 4 เป็นหน้าที่ของชั้นยศนายพันในสภากองร้อย มี 6 พรรค
วันที่ 5 เป็นหน้าที่ของชั้นยศนายพลในสภากองร้อย มี 4 พรรค
วันที่ 6 เป็นหน้าที่ของชั้นยศประธานกองร้อย มี 2 พรรค

หลังจากลงคะแนน ผู้ลงคะแนนสามารถเลือกที่เปิดเผยได้

อรัมภบท[แก้]

รัฐบาลเป็นคณะบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายความไว้วางใจจากรัฐสภาให้ใช้อำนาจบริหาร มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและบริหารประเทศเพื่อความผาสุก คามปลอดภัย และความสงบสุขของประชาชนทั้งประเทศ

แล้วอะไรเป็นตัวตัดสิน ความผาสุก คามปลอดภัยและความสงบสุขของประชาชนทั้งประเทศ ?

ผลประโยชน์ของบุคคลที่เป็นที่ไว้วางใจของ
กลุ่มอำนาจและกลุ่มบุคคลส่วนใหญ่ของประเทศ
หรือ  !

หรือว่า GDP ของกลุ่มนายทุน เงินคงคลังหนี้สินสาธารณะของประเทศ อันดับของประเทศ
ที่พัฒนาแล้วตามความเห็นของสมัยนิยม ความงามสง่าของอารยะธรรม ความเป็นมหาอำนาจ
ของโลกค่ายตะวันออก !

เช่นนี้ ควรแล้วหรือ ที่จะวางอำนาจในการบริหารประเทศแก่บุคคลจำพวกนี้
พวกที่มีการประเมินการตัดสินใจเช่นว่านี้
พวกคนจำพวกนี้ที่วันดีคืนดีก็ประหัดประหารกันด้วยอำนาจว่ากูต้องมี
กูต้องเป็นใหญ่เหนือผู้ใดอีกฝ่ายต้องฉิบหายสาปสูญไป
ตัวการแห่งความหายนะของประเทศ

เราควรจะหาคำตอบกันก่อนดีไหม เหตุที่ต้องถามอย่างประชดประชันเช่นนี้ เพราะว่า การบริหารประเทศถ้าเราจะเน้นไปแนวทางใดทางหนึ่งเป็นเฉพาะนั้น อาจจะเกิดผลเสียแก่อีกทางหนึ่งเช่นกัน เรื่องนี้เป็นกฎการแลกเปลี่ยนของธรรมชาติ คือ การเปลี่ยนแปลงสิ่งหนึ่งสิ่งใดจำต้องอาศัยปัจจัยกลุ่มหนึ่งในการอนุเคราะห์ แต่ทว่าปัจจัยกลุ่มนี้ย่อมกระทบกระเทือนเกิดความเสียหายแก่อีกสิ่งหนึ่งเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การขยายผิวการจราจรของถนนที่ผ่านเขตอุทยานอันเป็นมรดกโลก จาก 2 เลนเป็น 4 เลน ก็เพราะเพื่อความปลอดภัยและความสะดวกสบายแก่การคมนาคมจากภาคอีสานไปสู่ทะเลภาคตะวันออก แต่ทว่าการกระทำเช่นนั้กระทบการเทือนแก่สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในเขตอุทยานอนุรักษ์นั้น เพราะไปขวางทางเดิน(ด้านสัตว์)ของสัตว์ป่ามีช้างเป็นต้น ไม่ให้เกิดการโยกย้ายถิ่นฐานอันเป็นวิสัยของสัตว์ที่เป็นเจ้าของระบบนิเวศน์ แต่มนุษย์นำเอาระบบสังคมของตนไปวางทับอีกทีหนึ่ง เรื่องเช่นนี้เราควรจะโทษใคร ถ้าเป็นเรื่องโลกีย์วิสัยเราต้องหาคนที่ผิดและเป็นอันตรายที่สุดมาลงโทษ แต่ถ้าเป็นเรื่องของอริยชนอริยสาวกท่านย่อมจักไม่โทษใครเพราะเดิมแท้มันก็ไม่มีอะไร ตั้งอยู่ อยู่แล้ว และเรื่องของใครการกระทำของใคร บุคคลนั้นย่อมจะรู้และบันทึกอยู่ในจิตใจของตนเองอยู่แล้ว และเมื่อใดเจ้ากรรมนายเวรจะเช็คบิลล์ บุคคลนั้นย่อมต้องชดใช้เองอยู่แล้ว เว้นเสียแต่ทำกรรมดีไว้มากๆแล้วมีกำลังที่จะหนีเจ้ากรรมนายเวรของตนเองนั้น ย่อมได้อยู่ ดังนี้เป็นต้น บัดนี้จะขยายความหมายและรวมถึงการบัญญัติความหมายใหม่ ไม่ให้ต้องนำไปตีความกันใหม่อีก ในหมู่ของคำที่ว่า ผู้นำ รัฐมนตรี เสนาบดี ต่อไป

อันความศรัทธาในวิถีทางของกลุ่มชนกลุ่มหนึ่ง จะคัดเลือกผู้ที่มีความน่าเชื่อถือว่า “จะฟังความคิดของเรา จะเคารพความเห็นของเรา จะไม่ทรยศหักหลังเราเพื่อประโยชน์ของตน” ดังนี้ ให้บุคคลผู้นี้นำพาวิถีชีวิตไปสู่ความหวังของกลุ่มชนนั้นชื่อว่า นายก หรือ ผู้นำ

ความคิดองศ์รวมของชาติรัฐ อันมีบุคคลเป็นแกนนำความคิดนั้น รู้จริงปฏิบัติมา เป็นผู้ชำนาญเหนือกว่าผู้ใด อาสาตนเป็นผู้กระทำความคิดนั้นให้เกิดผลแก่รัฐชื่อว่า รัฐมนตรี

การประเมิลความดีชอบของผู้ปฏิบัติราชการ โดยบุคคลไม่มีอคติ ดุจมารดามองเห็นบุตรทั้งหลายของตนทำหน้าที่อันบิดา (รัฐมนตรี) มอบหมายให้ และคอยชักพาทำนุบำรุงไม่ปล่อยให้หลงทางไปในด้านมืดของอำนาจหน้าที่อันเป็นหลอกหล่อจิตใจ รู้จักศึกษาแนวปรัชญาหลักธรรมตามแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ชื่อว่าเสนาบดี

ดังนั้นบุคคล 3 จำพวกนี้ จึงเป็นจุดแปรผันที่สำคัญจะบังเกิดกับประเทศชาติโดยตรง ตามการปฏิบัติและรวมถึงเหตุปัจจัยภายในกับภายนอกที่มากระทบ

หากเป็นทรราชผู้ละโมบ(โลภะ) แผ่นจะแห้งแล้ง ทรัพย์กรธรรมชาติจะสูญสิ้น
หากเป็นเผด็จการคนคลั่ง(โทสะ) แผ่นดินจะลุกเป็นไฟ สงครามจะไม่มีวันจบสิ้น
หากเป็นคนโง่เขลาผู้พิการ(โมห) แผ่นดินจะสบสน ประชาชนเสื่อมปัญญาสิ้น

เพราะเหตุนั้นเราจึงค้นหากรรมวิธีที่จะจับคนมาบวชเป็นพ่อพระ เอามนุษย์มาทรมานให้เป็นทาสของความหวัง แล้วตั้งชื่อกรรมวิธีนี้ตามสมัยนิยม ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย


คนไหนเก่งเราก็จับคนนั้นมาบวชเป็นพ่อพระ
จะโกงบ้างก็ไม่เป็นไร เขายังแจกเงินให้เราใช้
ยังทำงานให้เราเห็นเป็นชิ้นเป็นอัน

มนุษย์ใดเสียสละเราก็จับมาเป็นทาส
คอยสนองความต้องการ ความหวังแก่เรา
จะตายก็ชั่งหัวมัน

อนึ่งการที่คนไทยลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง VOTE เพื่อจะเลือกคนเป็นผู้นำที่ถูกต้องมีเหตุเพราะอาศัยการปลงใจเชื่อถือว่า[40]

  1. ด้วยการฟังตามกันมา ตามสื่อต่างๆว่าเป็นคนดีเชื่อถือไว้วางใจได้ เป็นต้น หรือว่า
  2. ด้วยการถือสืบๆ กันมา ว่าต้องเลือกพรรคนั้นพรรคนี้ เป็นต้น หรือว่า
  3. ด้วยกระแสเล่าลือเป็นตำนานตั้งแต่สมัยก่อน เสริมต่อตกแต่งกันไป ว่าบุคคลนี้เคยทำเช่นนี้ปัจจุบันไม่น่าจะเปลี่ยนแปลง เป็นต้น หรือว่า
  4. ด้วยการอ้างตำราคัมภีร์ และใบโฆษณาหาเสียงชวนเชื่อ ว่าพรรคนี้มีนโยบายถูกต้องตามลักษณ์ของกลุ่มชนวีรบุรุษ เป็นต้น หรือว่า
  5. เพราะตรรกะว่า นี่เป็นแบบนั้น นั่นเป็นแบบนี้ แล้วเหมารวมกันว่า เป็นพ่อลูกวงศาคณาญาติกัน เป็นต้น หรือว่า
  6. เพราะการอนุมานว่า นี่คล้ายนั่นจึงน่าจะใช่โน้น เช่น มีอาจารย์แบบนี้ลูกศิษย์ถอดแบบอาจารย์กันมีข้อวัตรปฏิบัติแบบเดียวกัน เป็นต้น หรือว่า
  7. ด้วยการตริตรองตามแนวเหตุผล ยกเรื่องราวมาจำแนกเหตุผล เช่นการตั้งนโยบายแบบนี้ประเทศชาติจะได้รับผลเช่นนั้น เป็นต้น หรือว่า
  8. เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่ตนเองเคยพิจารณาไว้แล้ว เช่นเราเคยเห็นคนเช่นนี้ในกาลก่อนมีพฤติกรรมแบบนี้ บุคคลนั้นมีรูปการเข้ากันได้ต้องเป็นแบบเดียวกัน เป็นต้น หรือ
  9. เพราะมองเห็นรูปลักษณ์น่าจะเป็นไปได้ เช่นคนนี้มีรูปร่างหน้าตาแบบเดียวกันน่าจะเป็นคนเดียวกันมีการปฏิบัติตนเหมือนเดิม เป็นต้น หรือว่า
  10. เพราะถือว่า ท่านนี้เป็นผู้ชี้ทางแก่เรา เป็นศาสดาครูอาจารย์ของเรา เช่นท่านสอนว่าเลือกคนพาลชั่วช้าอันเป็นทรราชเผด็จการแล้วประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้า เป็นต้น

เป็นบรรทัดฐานในการตัดสินว่า ผู้นำคนนี้ของเราจะฟังความคิดเรา เคารพความเห็นของเรา ไม่ทรยศ หักหลังความไว้วางใจของเรา

แน่ใจแล้วหรือ !
มีความเชื่อถือ ตั้งความเชื่อมั่นได้แล้วหรือ !
เอาความไว้วางใจมาเป็นเดิมพันตัดสินได้ทุกกรณีที่ผู้นำกระทำ แล้วหรือ !

ความพิสดารว่า อันว่าโอวาท 3 อันพระบรมครูทรงประทานบอกแก่พระมหากัสสปะ ผู้เป็นมหาเถระ ผู้เป็นมหาสังฆปรินายก มีบท 3 ว่าดังนี้

ปฐมปาโท เราจักเข้าไปตั้งความละอาย(หิริ)และความเกรง(โอตตัปปะ)ไว้ ในบุคคลที่เป็นผู้อาวุโสและปานกลางในคุณธรรมมีอายุพรรษา อย่างแรงกล้า ชื่อว่าผู้มีสัมมาคารวะเป็นผู้ที่ไม่ถือทิฏฐิของตนเป็นใหญ่ ไม่ถือพรรคพวกเพื่อนฝูง ไม่เป็นพวกอัตตาธิปไตยจอมเผด็จการ

ทุติยปาโท เราจักฟังธรรมอันใดอันหนึ่งซึ่งประกอบด้วยกุศล เราจะเงี่ยหูฟังธรรมนั้น พิจารณาเนื้อความ ชื่อว่าผู้รับฟังเสียงของสัตบุรุษ เป็นผู้ไม่ถือเอากระแสสังคมเป็นหลัก แต่พิจารณาก่อนฟังเสียก่อน ไม่เป็นพวกโลกาธิปไตย เสียงไหนดังก็ฟังเสียงนั้น เอาแต่กังวลเรื่องทางบ้าน เสียเพราะสตรี ใจคอคับแคบ มักง่าย คบคนพาล หุ่นกระบอกนอมีนีทางการเมือง และทรราช

เราจักไม่ละสติที่ไปในกาย(กายคตาสติ[41]หรือมูลกรรมฐาน[42] ) คือพิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์ว่าเป็นของโสโครกน่ารังเกลียด ชื่อว่า ผู้ไม่แปดเปื้อนด้วยกามคุณ เป็นบุคคลที่สถิตในธรรมาธิปไตย มีใจพ้นจากความเศร้าหมองเห็นอำนาจดุจเครื่องกัดรอนจิตวิญญาณ และจักไม่เป็นหมกไหมในความทุกข์เพราะปฏิบัติแล้วซึ่งวิถีทางอันเป็นทางหลุดพ้นของพระอริยะ

หัวข้อธรรม 3 บทนี้[43] หากท่านผู้นำคนใดปฏิบัติได้ 2 ข้อแรกแม้ไม่มีผลงานเด่นชัดก็สมควรจะเป็นพระยานั่งคานหาม หากครบทั้งสามข้อ ต้องได้เป็นเจ้าพระยาเหนือเหล่าเสนา เจ้าออกญามหาอำมาตย์แห่งราชเสนาบดีทั้งปวง เพราะคุณงามความดีชั้นที่ตั้งดำรงอยู่ของคุณธรรมแห่งตนที่ทรงอยู่ในโอวาท 3 นี้เพียงต่ำกว่าทศพิธราชธรรมเท่านั้น

องค์กรของสำนักนายกรัฐมนตรีมหาเสนาบดี[แก้]

องค์กรของสำนักนายกรัฐมนตรีมหาเสนาบดีประกอบด้วย เสนาบดีทักษิณกับรัฐมนตรีอุดรโดยทำหน้าที่แบ่งแยกกันโดยอยูภายใต้การควบคุมของนายกรัฐมนตรี หรือ ออกญาสัทธานุสารีมหาเสนาบดีกล่าวคือ เสนาบดีอุดรทำหน้าที่ 3 อย่างคือ อบรม ดูแล ประเมิลผล ส่วนรัฐมนตรีอุดรทำหน้าที่ 3 อย่างคือ พัฒนา วางนโยบาย รวบรวมความคิด อันหน้าที่ของทั้งฝ่ายคือทักษิณและอุดรนี้แม้เมื่อฟังโดยใช้แนวคิดของนักการเมืองในปัจจุบันเป็นคติย่อมเหมือนกัน แต่ในที่นี้จะแยกกันให้เด็จขาดเพื่อไม่เป็นการทำงานให้ทับซ้อนหน้าซึ่งกันและกัน รัฐมนตรีจะทำหน้าที่แก้ปัญหาในเชิงรุก วิ่งเข้าสู่ปัญหา แต่เสนาบดีจำทำหน้าที่แก้ปัญหาในเชิงรับ อาศัยความมั่งคงป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้น ระบบราชการจะไม่มีการเลื่อนขั้นผิดปกติ มีแต่การเลื่อนขั้นตามระบบอาวุโส หากมีเจ้าหน้าที่ที่มีอาวุโสมากกว่า จะไม่มีวันได้เลื่อนขั้นขึ้นไป และหากมีอาวุโสปีเดียวกัน ให้พิจารณาตามคุณความดี คุณความดีเกิดการที่ทำหน้าป้องกันปัญหาแล้วประสบความสำเร็จจนมีประชาชนทำธงคุณความดีมามอบให้โดยปักชื่อของตนไว้บนธงด้วย

เหตุฉะไหนต้องแยกอำนาจของรัฐมนตรีให้เสนาบดี[แก้]

โดยหลักภาษาแล้วเสนาบดีควรหมายถึงผู้ควบคุมดูแลกำลังพล ส่วนคำว่ารัฐมนตรี ควรหมายถึง ผู้ให้หรือสร้างแนวทางปฏิบัติอันเกิดจากแนวคิดที่ได้รับการรับรองแล้ว แต่บางครั้งความคิดในหน่วยงานหนึ่งๆ ตัวรัฐมนตรีเองอาจจะขัดแย้งกับผุ้อยู่ใต้บังคับบัญชา ทั้งๆที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอาจไม่มีความผิด และตัวรัฐมนตรีอาจไม่ผิดด้วยก็ได้ ถ้าถามว่าหากเกิดความคัดแย้งกันไซร้ ฝ่ายใดจะเสียเปรียบ และผลเสียหายจะเกิดกับฝ่ายใดมากที่สุด แม้ในปัจจุบันสำนักนายกจะมีหน่วยงานที่เรียกว่าสำนักงานข้าราชการพลเรือนแล้วก็ตาม แต่หน่วยนี้ก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นฉนวนเพื่อป้องกันความเสียหายนี้ แต่ในส่วนนี้เราต้องย่อมรับอย่างหนึ่งว่าอคติมีความสำคัญ

ในบ้านหลังหนึ่งที่มีความอบอุ่นและปกติสุขนั้นจะต้องมีพ่อบ้านที่เป็นฝ่ายหยาง และแม่บ้านที่เป็นฝ่ายหยิน โดยธรรมชาติพ่อบ้านจะเป็นผู้นำในการกระทำกิจการของครอบครัวโดยมีลูกบ้านเป็นทายาทช่วยเหลือและทำหน้าสืบต่อไปในอนาคต ดังนั้นพ่อบ้านมิใช่ทำทั้งหมดแต่เป็นคนทำให้ลูกดูและเพื่อให้เอาอย่าง แต่บางครั้งลูกบ้านอาจไม่สามารถกระทำได้ตามใจพ่อ จึงต้องมีมารดาเข้ามาเป็นตัวไกล่เกลี่ย ให้พ่อใจเย็นลงและปลุกปลอบลูกให้เข้มแข็งขึ้น และบางคราวลูกบ้านอาจมีเกิดปัญหาขึ้นโดยไม่เกี่ยวข้องกับการงานที่พ่อบ้านมอบให้หมายให้ ก็ธรรมดาที่มารดาจะเป็นอาทรดูแลบุตรของตน และยิ่งกว่านั้นบุตรย่อมรักมารดามากกว่าบิดาและกล้าที่จะพูดอะไรมากกว่าที่จะกล่าวต่อหน้าบิดา ดังนั้นมารดาจึงมีความจำเป็นยิ่งในครอบครัวหนึ่ง และถ้าวันดีคืนดีพ่อบ้านทิ้งครอบครัวไป ลูกๆก็ยังมีมารดาเป็นที่พึงอยู่เสมอในกรณีหย่าร้างของทุกครอบครัว

เมื่อกล่าวถึงเรื่องครอบครัวมาถึงจุดนี้ก็จะพาดพึ่งถึงตัวนายกรัฐมนตรีไปด้วย ถ้าอุปมาอุปไมยว่า รัฐมนตรีอุดร คือ พ่อบ้าน , เสนาบดีทักษิณ คือ แม่บ้าน ,ข้าราชการ คือ ลูกบ้าน แล้วนายกรัฐมนตรีคือใคร รองนายกรัฐมนตรีคือใคร เล่า? ก็จะตอบได้ว่า ถ้าบ้านหนึ่งมีคนเพียง 2 รุ่น เช่นนี้ เราก็มักจะนึกถึงสังคมของชาติตะวันตก แต่ในสมัยก่อนสังคมไทยในบ้านหลังหนึ่งไม่ได้มีเพียงคน 2 รุ่น แต่มีปู่ย่าตายายค่อยอุปถัมภ์ค้ำจุนครอบครัวอีกด้วย นายกรัฐมนตรี เปรียบได้กับคนที่สูงอายุด้วยคุณธรรม ส่วนรองนายกรัฐมนตรีก็คือคนที่สูงอายุด้วยประสบการณ์

ส่วนประกอบของเสนาบดีทักษิณ[แก้]

ในสำนักของเสนาบดีทักษิณมี พระยาสัมมาทิฏฐิราชเสนา เป็นใหญ่มีหน้าที่หลักในการควบคุมดูแลงานของสำนัก มีที่ปรึกษาอิสระ 4 คนคือ จมื่นทุกขปัสสัมภาวนา จมื่นทุขสมุทยาสังหาร จมื่นนิโรธาญาณา จมื่นนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นผู้ให้คำปรึกษาและเป็นประธานในคณะกรรมการพิเศษต่างๆ ตัวพระยาสัมมาทิฏฐิราชเสนามีเสนาธิการใหญ่คือ พระยาสัมมาสังกัปปาราชเสนา ซึ่งทำงานอาศัยผ่านทางผู้ช่วย 3 นายคือ หลวงเนกขัมมะ(ดูแลการอบรมชั้นสูง) หลวงอพยาบาท(ดูแลความขัดแย้งภายในกระทรวงเอง) หลวงอวิหิงสา(ดูแลความขัดแย้งระหว่างกระทรวง) งานหลักต่างๆพระยาสัมมาทิฏฐิราชเสนาและพระยาสัมมาสังกัปปาราชเสนา จะสั่งการผ่านจมื่นทั้ง 3 คือ

  1. จมื่นสัมมาวายามะราชเสนา มีผู้ช่วย 4 ท่าน คือ
    1. หลวงสังวรปทาน ดูแลกองผู้ตรวจการ
    2. หลวงปหานปทาน ดูแลการทุจริตคอรัปชั่น
    3. หลวงภาวนาปทาน ดูแลการลงโทษในขั้นลหุโทษ
    4. หลวงอนุรักขนาปทาน ดูแลเบี้ยหวัดและการปูมบำเหน็จ
  2. จมื่นสัมมาสติราชเสนา มีผู้ช่วย 4 ท่าน คือ
    1. หลวงกายาสติ ดูแลการโยกย้ายตำแหน่งข้าราชการระดับล่าง
    2. หลวงเวทนาสติ ดูแลการโยกย้ายตำแหน่งข้าราชการระดับกลาง
    3. หลวงจิตตาสติ ดูแลการเลื่อนตำแหน่งข้าราชการระดับล่างขึ้นสู่ระดับกลาง
    4. หลวงธัมมาสติ ดูแลการเลื่อนตำแหน่งข้าราชการระดับกลางขึ้นสู่ระดับสูง
  3. จมื่นสัมมาสมาธิราชเสนา มีผู้ช่วย 4 ท่าน คือ
    1. หลวงปฐมฌาน ดูแลทะเบียนประวัติบุคคลผู้สอบเข้าข้าราชการ
    2. หลวงทุติยฌาน ดูแลการสอบเข้าข้าราชการ
    3. หลวงตติยฌาน ดูแลการอบรมก่อนเข้าหน่วยงาน
    4. หลวงจตุตถฌาน ผู้อำนวยการโรงเรียนข้าราชการ


อนึ่งยังมีหลวงท่านอีก 3 คนดูแลงานระดับบุคคลด้วยกล่าวคือ

  1. หลวงสัมมาวาจาราชเสนา มีผู้ช่วย 4ท่าน คือ
    1. ขุนมุสาวาทาปหาย ดูแลการกล่าวเท็จ
    2. ขุนปิสุณวาจาปหาย ดูแลการกล่าวคำส่อเสียด
    3. ขุนผรุสวาจาปหาย ดูแลการกล่าวคำหยาบ
    4. ขุนสัมผัปปลาปปหาย ดูแลการกล่าวเพ้อเจ้อ
  2. หลวงสัมมากัมมันตราชเสนา มีผู้ช่วย 3 ท่าน คือ
    1. ขุนปาณาติปาตปหาย ดูแลการทำร้ายทุกสิ่งที่มีลมปราณ
    2. ขุนอทินนาทานปหาย ดูแลการนำเอาในสิ่งที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ
    3. ขุนกาเมสุมิจฉาจารปหาย ดูแลในกาพเสพกามคุณ 5 ในทางที่ผิด ในที่นี้รวมถึงสิ่งที่มากกว่าการผิดลูกผิดเมียผู้อื่นด้วย
  3. หลวงสัมมาอาชีวราชเสนา มีผู้ช่วย 6 ท่าน คือ
    1. ขุนอาโรคยา ดูแลการติดสุราและของมึนเมา
    2. ขุนสีลสังวร ดูแลการเที่ยวเตร่ในเวลาวิการ
    3. ขุนพุทธานุมัย ดูแลการเที่ยวดูการละเล่น
    4. ขุนสุตวัฑฒ์ ดูแลการติดการพนัน
    5. ขุนธัมมานุวัติ ดูแลการคบคนพาลผู้มีอิทธิพล
    6. ขุนอลีนตา ดูแลการเกียจค้านการงาน

นอกจากนี้ยังมีเจ้าพนักงานราชเสนาอีก 330 ท่าน ซึ่งขึ้นตรงต่อพระยาสัมมาทิฏฐิราชเสนาแต่มีอำนาจตัดสินใจอิสระได้ ได้จักการคัดเลือกข้ารการระดับสูงและกลางที่เกษียรแล้วโดยคัดเลือกบุคคลที่มีคุณความดีมากที่สุดเป็นก่อนในทะเบียนประวัติข้ารการตามความเห็นชอบในที่ประชุมมหาเสนา

เสนาบดีและรัฐมนตรี[แก้]

ต่างกันตรงที่รัฐมนตรีจะเป็นข้าราชการการเมือง ที่มาทำงานตามนโยบาย จัดงานปัญหาเป็นจุดๆ

แต่กระทรวงเป็นงานที่ครอบคุมทุกด้าน ดังนั้นเสนาบดีจึงทำงานเป็นหลักทุกๆด้าน โดยเลือกมาจากข้าราชการระดับสูงที่สุดโดยการจัดการของที่ประชุมข้าราชการระดับสูง รัฐมนตรีไม่สามารถเลือกได้ แต่สามารถปฏิเสธไม่ให้ใครที่เป็นปัญหานโยบายเข้ามาในที่ประชุมข้าราชการระดับสูงได้

การแต่งตั้งเสนาบดีดำรงตำแหน่ง ๔ เดือน และต้องเข้าไปต่อสมัยที่ในที่ประชุมข้าราชการระดับสูง

รัฐมนตรีจะไม่มีกระทรวงประจำ แต่เป็นการทำงานแบบบูรณาการ โดยรัฐมนตรีจะจัดตั้งรัฐวิสาหกิจที่กองทุนคณะรัฐบาลถือหุ้นที่ 50 % เป็นบริษัทมหาชน รัฐมนตรีนั่งประธานบอร์ด ซึ่งแม้จะออกจากตำแหน่งแล้วก็ยังสามารถนั่งต่อได้ถ้าที่ประชุมผู้ถือหุ้นเห็นชอบ โดยนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ตัดสินในนามผู้หุ้นหลักของรัฐ

ต่างจากกระทรวงที่ทำหน้าที่เป็นกรรมการเสนาบดีเป็นหัวหน้ากรรมการ

การทำเช่นนี้เป็นการป้องกันข้าราชการการเมืองเข้ามาหาประโยชน์โดยตรง แต่ยังเปิดช่องให้รัฐมนตรีทำงานได้โดบการเลือกไม่ให้ใครเข้ามาขัดขวางได้ แต่ไม่สามารถเลือกใครมาเป็นกรรมการได้

ฝ่ายปกครองระบบราชการ[แก้]

เสนาบดี เป็นตำแหน่งสำหรับข้าราชการประจำ มีหน้าที่ควบคุมดูแลกฏที่ถูกตราขึ้นโดยรัฐสภา เป็นกรรมการในการแข่งขันของประชาชนด้วยกันหรือแม้แต่รัฐบาลเองก็ตาม หากเสนาบดีถูกบังคับโดยรัฐมนตรีสามารถยื่นให้รัฐสภายกเลิกคำสั่งได้ โดยผ่านคณะกรรมการ เสนาบดีมาจากการเลือกในสมาชิกภายในสำนักมหาเสนาบดี

เสนาบดี เป็นตำแหน่งสำหรับข้าราชการประจำ มีหน้าที่ควบคุมดูแลกฏที่ถูกตราขึ้นโดยรัฐสภา เป็นกรรมการในการแข่งขันของประชาชนด้วยกันหรือแม่แต่รัฐบาลเองก็ตาม หากเสนาบดีถูกบังคับโดยรัฐมนตรีสามารถยืนให้รัฐสภายกเลิกคำสั่งได้ โดยผ่านคณะกรรมการ เสนาบดีมาจากการเลือกในสมาชิกภายในสำนักมหาเสนาบดี

สำนักมหาเสนาบดี[แก้]

มหาเสนาบดี เทียบเท่า นายกรัฐมนตรี เสนาบดี เทียบเท่า รัฐมนตรี

เสนาบดีกระทรวงกลาโหม (ไท่เว่ย)[แก้]

แต่ในเหล่าตำแหน่งเสนาบดี มีตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงกลาโหมที่มีศักดิ์ฐานะพิเศษซึ่งมีสถานะและคุณสมบัติเป็นพิเศษเหนือกว่า ปธานเสนาบดีทั้ง 4 เป็นรองมหาเสนาบดีเพียงครึ่งขั้น แต่ไม่สามารถรักษาการต่ำแหน่งมหาเสนาบดีได้หากต่ำแหน่งมหาเสนาบดีว่างลง ต้องให้ปธานเสนาบดีทั้ง 4 รักษาการต่ำแหน่งแทน เหตุที่เสนาบดีกระทรวงกลาโหมฐานะสูงกว่าปธานเสนาบดีเป็นเพราะอำนาจในการตรวจสอบเหล่าทัพทั้งปวง และมีการบังคับคุณสมบัติพิเศษด้วยว่า ต้องมีเพศสภาพเป็นมารดาและให้กำเนิดบุตรธิดาผู้ประสบความสำเร็จอย่างน้อย 9 คน ซึ่งจะทำให้มียศ 9 ขั้นในฐานนายพลชั้นสูงสุดในกองทัพ

ปธานเสนาบดี[แก้]

ปธาน คือความเพียร ๔ อย่าง

  1. สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน.
    1. สำนักงานอัยการ
    2. สำนักงานกองปราบ(มือปราบเอกชน)
    3. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

กระบวนการยุติธรรมถูกปรับปรุงใหม่ โดยแบ่งงาน สืบสวน สอบสวน ไต่สวนแยกจากกันโดยงานสืบเสาะเบาะแสจะเป็นของอัยการ แต่เจ้าหน้าที่อัยการไม่สามารถติดอาวุธหรือคุมตัวได้ถูกบังคับให้ฝึกวิชาป้องกันตัวมือเปล่าต่ออาวุธเท่านั้น ความตายของเจ้าหน้าที่อัยการไม่ว่ากรณีใดมีโทษรุนแรงสูงสุด เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ หน้าที่ในการจับกุมจะเป็นของตำรวจและบันทึกการสอบสวน เจ้าหน้าที่อัยการไม่สามารถเข้ารวมการสอบสวนได้ หลังจากสรุปสำนวนคดี การส่งฟ้องผ่านระบบศาลโดยศาลจะตั้งทนายให้ทั้งสองฝ่ายโดยดูผ่านระบบสถิติ ผ่านหลักฐานทั้งหมด และยืนรายชื่อให้ผู้ถูกฟ้องและอัยการเลือกทนายเองโดยเรียงลำดับเป็นเปอร์เซ็นต์

  1. ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว.
    1. สำนักงานราชทัณฑ์
  2. ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน.
    1. สำนักงานราชพินิจ
  3. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม.
    1. สำนักงานราชอนุรักษ์

มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนและผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมในสังคมโดยอาศัยกฎหมายเป็นเครื่องมือในการสร้างความเสมอภาพและความภารดรภาพ

แล้วอะไรเป็นตัวสิน เสรีภาพความยุติธรรม ความเสมอภาพ ภารดาภาพ เล่า?
ในสภาวะสังคมที่แก่งแย่งความเป็นใหญ่ ใฝ่ยศศักดิ์และยกย่องศักดินา
กระเป๋าเงินความแตกต่างของโอกาสและการเข้าสู่ทรัพยากรธรรมชาติ ถึงแม้ระบอบ
ประชาธิปไตยจะให้สิทธิเท่าเทียมกัน แต่กฎหมายที่ชนชั้นแตกต่างกันเขียนขึ้นมักแฝง
อคติต่อคนที่มีความผิดในสายตาของผู้เขียน และมักจะยกย่องอุปาทานของตนอย่าง
สูงล้ำ ต่อให้เป็นระบบกฎหมายแบบไม่มีรายลักษณ์อักษรแบบอังกฤษก็ตาม สิ่งใด
ที่มนุษย์สร้างขึ้นสิ่งนั้นย่อมไม่ถูกทำลายสาปสูญไป นอกเสียจากเป็นน้ำมือของมนุษย์เอง
กฎหมายที่ดีที่สูงในโลกซึ่งเป็นอุปาทานในยุคหนึ่งอาจสร้างความฉิบหาย
แก่มนุษย์อีกยุคหนึ่งได้ จักให้สิ่งนี้เป็นตัวตัดสิน
หรือ  !

หรือว่า จะมานั่งเถียงกันว่าจะใช้กฎหมายที่เด็ดขาด แบบเมาแล้วขับรถชน
คนตายและข่มขื่นสตรีต้องจำคุกตลอดชีวิตแต่ผู้กุมอำนาจไยมิใช่อาคัยบทลงโทษกดขี่
ข่มแหงผู้อ่อนแอตามอำเภอใจแล้ว หากแม้นกฎหมายใช้บทลงโทษอันเข้มงวด ผู้คนจะ
เปลี่ยนเป็นอย่างไร หรือส่งเสริมศีลธรรมกันเต็มที่สุดๆจนเอียงข้าง "จารีตอันดีงาม
ราษฎรล้วนเคารพ คุณธรรมอันเลิศล้ำราษฎรต่างยอมรับ สัจจะ(ศาสนา)อันประเสริฐ
ราษฎรพากันปฏิบัติ" แต่ทว่าราษฎรมิใช่นักปราชญ์ หรือแม้ว่าหลอมรวมตัวบท
กฎหมายและคุณธรรมเข้าด้วยกันสร้างความเสมอภาพ มิแบ่งขาวและดำ มองทุกๆสิ่ง
ในมุมรวมเป็นสีเทา เท่าๆกัน แต่นั่นจะทำอย่างไรกับคนอื่นที่ยังมองทุกสิ่งเป็น
เพียงขาวและดำเล่า !

นี่เป็นจุดอ่อนของระบอบปกครองของไทย

กฏหมายที่แท้จริงมีไว้เพื่อให้ประชาชนเกรงกลัวอาญาโทษที่มีต่อการกระทำผิด ผู้ปกครองเมื่อเห็นผลเสียจากการกระทำนั้นจึงตรากฎหมายขึ้นเป็นข้อห้ามวางอาญาให้เกิดกลัวที่จะกระทำความผิด เป็นการใช้จิตวิทยาที่เรียกว่า ทำให้กลัวง่ายกว่าทำให้รู้หรือรัก

ส่วนจารีตคุณธรรมในที่นี้แบ่งความหมายเป็นจารีตประเพณีคือสิ่งทำสืบต่อกันมาในสิ่งที่บุคคลคิดว่าดีงามและคุณธรรมคือหัวโขนที่ท่านตั้งไว้ให้บุคคลสวมใส่แสดงความตั้งมั่นตนดีงาม จักเป็นธรรมอันดีงามของสัตบุรุษนั้นหามิได้[44] จารีตคุณธรรมจึงเป็นสิ่งที่อุปโลกกันว่าเป็นที่หมายให้ประชาชนละอายต่อความชั่วร้ายทั้งปวง เมื่อมองเห็นทรรศนาการสิ่งไหนว่าน่าเกลียดไม่เจริญตาจึงยกทรรศนคตินั้นขึ้นเป็นจารีตประเพณีและคุณธรรมเป็นมาตราการมีแนวทางการรักษาด้วยการติเตียนจากสังคมและการอัปเปหิออกไป

รวมความ

กฎหมายมีเจตนารมณ์มุ่งหมายให้เกิดความเกรงกลัวอาญา ชื่อว่า โอตตัปปะ จารีตคุณธรรมมีเจตนารมณ์มุ่งหมายให้เกิดความละอายความชั่ว ชื่อว่า หิริ หิริโอตตัปปะ คือ ธรรมเป็นโลกบาล คุ้มครองโลก เราจึงใช้ศาลที่มีอำนาจตามกฎหมายในการพิจารณาพิพากษาชี้ขาดความผิด และใช้สังคมที่รักษาจารีตคุณธรรมในการวินิจฉัยชี้ขาดความไม่ควร

ข้าพเจ้าขอถามว่า โทษทัณฑ์ที่ผู้ละเมิดได้รับ มีไว้สนองความผิดของบุคคลนั้น หรือเพื่อสนองความโลภในฐานะของตัวบุคคล หรือเพื่อสนองความโกรธของตัวบุคคลและกระแสสังคม หรือเพื่อสนองความหลงว่าอาญานั้นจะชำระดวงวิญญาณของบุคคลนั้นให้บริสุทธิ์[45] แล้วบุคคลนั้นจักไม่จำเป็นต้องรับวิปากกรรมที่ไหลท่วมวิญญาณนั้นให้หมกไหม้ในความผิดที่บันทึกในจิตใจ[46]อีกต่อไปหรือ ? แล้วกฎแห่งกรรมมีไว้ทำไม ?

บุคคลใดมักฆ่าสัตว์อื่นเป็นอาจิณย่อมได้ผลกรรมเป็นไฟสงครามที่ล้างผลาญชีวิตอย่างทุกข์ทนเป็นเศษของวิปากกรรม บุคคลใดลักทรัพย์ผู้อื่นที่ไม่ได้ให้ย่อมต้องสูญเสียสิ่งที่รักใคร่ สิ่งที่หวงแหน สิ่งที่ปราถนายิ่งชีวิตไป เนื่องด้วยเจ้ากรรมนายเวรผู้เป็นเจ้าของทวงไปเป็นเศษของวิปากกรรม บุคคลใดชอบประพฤติผิดในกามคุณย่อมได้รับผลกรรมต้องไปเกิดเป็นอิสตรีถูกข่มขื่นย้ำยีให้เป็นมลทิน ในฐานะที่เคยเป็นผู้ที่มักมากในกาม จากการที่เป็นผู้กระทำเป็นผู้ที่ถูกกระทำยิ่งกว่าเป็นเศษของวิปากกรรม บุคคลใดเป็นผู้กล่าวเท็จผิดสัจจะวาจาไม่รักษาสัตย์ย่อมสูญเสียความน่าเชื่อถือในความจิงของตนเป็นผู้ถูกปรักปรำเนื่องนิจเป็นเศษของวิปากกรรม บุคคลใดดื่มสุราเมรัยเสพสิ่งเสพติดย่อมสูญเสียชีวิตของตนในปัจจุบัน และเกิดเป็นคนเบาสติปัญญาเป็นเศษของวิปากกรรม

ในเมื่อเจ้ากรรมนายเวรมาทวงหนี้กรรมไปตามกฎแห่งกรรม เราจักทำอย่างไรกับลูกหนี้นายเวรเหล่านี้ ในเมื่อเราเองก็ยังเป็นวัวสันหลังหวะเห็นกาบินมาก็ผวา หนีไม่พ้นวิปากกรรมเหล่านี้ ? พระบรมศาสดาทรงตราบทลงโทษของภิกษุผู้กระทำผิดไว้ 3 ประการ

  1. ให้กระทำคืนจนกว่าจะสมกับการกระทำแล้วจึงให้อโหสิกรรม
  2. ให้อยู่กรรมจนกว่าจะสำนึกผิดไม่เป็นผู้เวียนมาสู่ความผิดลามกอีก แล้วจึงคืนสถานะสิทธิเสรีภาพ
  3. ให้ขับออกจากหมู่

และเจตนาของพระวินัย คือ การเพียรชำระจิตใจมนุษย์ให้ละเว้นจากความชั่ว กระทำแต่เรื่องที่ควรเพื่อให้เกิดผลดีมีอำนาจสามารถหลบหลีกจากผลของวิปากกรรมชั่วที่เคยกระทำ ดุจชายที่มีกำลังคือความดีเป็นกุศลวิ่งหนีสุนัขบ้าคือวิปากกรรมชั่ว เพื่อมีโอกาสชำระใจให้สะอาดสั่งสมบารมีเพื่อทำการแทงตลอดซึ่งอวิชชา คือสำเร็จมรรคผลเป็นการปิดประตูอบายภูมิตลอดกาล ดังนั้นในระบอบปกครองนี้จึงจำเป็นต้องมีผู้ตัดสิน ผู้ไกล่เกลี่ย และผู้เป็นครู เพื่อทรมานบุคคลให้รู้จักสิ่งที่ตนกระทำตระหนักว่าตนเองกำลังทำอะไร มีผลสุดท้ายอย่างไร ควรรับผิดชอบอย่างไร หลังจากศาลยุติธรรมวินิจฉัยผู้กระทำผิดผู้กระทำถูกหรือความผิดอันมีทั้งคู่ ตามหลักเกณฑ์เป็นขั้นตอนสุดท้ายต่อจากศาลยุติธรรม ดังนั้นจึงเกิดความยุติซึ่งกรรม ความเป็นธรรมอันบ่มเพาะให้เกิดกุศล ซึ่งเราจะกล่าวถึงสิ่งที่สำคัญนั่นก็คือ

ความผิดพลาดเป็นหลักฐานยืนยันความเป็นมนุษย์ของคน
เพราะคนจะเป็นมนุษย์ที่มีใจสูงได้ เมื่อเรียนรู้ข้อผิดพลาด
ของ ของตนนั้นและนำไปแก้ไขเพื่อไม่ให้ผิดพลาดซ้ำอีก
แต่ธรรมดาบุคคลมักมองเห็นสิ่งอื่นถนัดกว่ามองตน
การมองตนมองยากกว่าแลเงาของสุริยะรัศมี
เมื่อไม่มีกระจกเงานารีย่อมกลายเป็นสิ่งที่น่างดงาม
เมื่อไม่มีกังฉิน ขัตติยะย่อมกลายเป็นพระราชา

ตัวอักษรหัวเรื่อง[แก้]

พุทธศาสนาแท้ที่จริงแล้วมิใช่ศาสนา เป็นสิ่งที่หลุดพ้นจากศาสนาและก็มิใช่ศาสนาจักรวาลแบบความคิดของไอน์สไตน์ ธรรมดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองแล้วได้เรียกรูปแบบคำสอนของพระองค์ว่า "พรหมจรรย์นี้" และตรัสปัจฉิมโอวาทไว้ซึ่งเป็นการย่อคำสอน 84000 พระธรรมขันธ์ไว้อย่างสมบูรณ์ที่สุดว่า "สังขาร(ร่างกายจิตใจ)ทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด"อันคำว่า ศาสนา หมายถึงลัทธิความเชื่อ แต่ในกาลามสูตร ตรัสไว้มิให้เชื่อแม้กระทั่งตัวของพระองค์ตรัสเอง ดังนั้นปัจฉิมโอวาทก็มิใช่คำสอน แต่เป็นคำเตือน เตือนเพื่ออะไร เตือนให้ทำความรู้จักกับสังขารของตน(สังขาร ท. มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา)และอย่าช้ามิฉะนั้นสังขารจะพันธนาการเธอแล้วเธอจะพลาดความอิสระที่แท้จริง(จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม) ศาสนาอื่นที่มีพระผู้เป็นเจ้า ตัวศาสดาเองย่อมสอนให้ยึดถือและศรัทธาในพระองค์ ถึงแม้ตัวพระผู้เป็นเจ้าเองบ้างครั้งก็ไม่สามารถบันดารทุกสิ่งให้สมปราถนาได้ แม้สร้างโลกมนุษย์ขึ้นมา ก็ยังต้องลำบากลำบนสร้างนรกขึ้นมาด้วยทั้งที่ตนก็ไม่ชอบนรกที่สร้างขึ้นเอง แต่ทว่าตัวองค์พระพุทธเจ้าเองกลับเหมือนมิได้สอนสั่งสิ่งใดแต่ถ้าสาวกของพระองค์ถูกจองจำด้วยสิ่งใดและสมารถช่วยได้ในข่ายพระญาณพระองค์จะยื่นกุญแจแห่งอิสระภาพที่แท้จริงให้ ให้สาวกของพระองค์เป็นคนปลดพันธนาการนั้นออกมาเอง ดังนั้น 84,000 พระธรรมขันธ์ในพระไตรปิฎกก็ไม่ต่างอะไรจากกุญแจทั้ง 84,000 ดอกนั่นเองและนี่คือทั้งหมดของสิ่งที่เรียกว่า พระพุทธศาสนา

การที่กฎหมายมีไว้เพื่อให้ประชาชนเกรงกลัวอาญาโทษที่มีต่อการกระทำผิด เมื่อเห็นผลเสียจากการกระทำนั้น จึงให้ตรากฎหมายขึ้นเป็นข้อห้ามวางอาญาให้เกิดความกลัวที่จะกระทำผิด ซึ่งเป็นรูปกฎหมายในยุคแรกๆ ครั้นเมื่อถึงยุคสมัยของพระเจ้าจัสติเนียนผู้จัดทำประมวลกฎหมายโรมัน จึงมีการแบ่งแยกกฎหมายเอกชนออกมาจากกฎหมายมหาชนเดิมในยุคคลาสสิค ซึ่งกฎหมายมหาชนเดิมในยุคคลาสสิคไม่สามารถแบ่งแยกออกมาว่าเป็นเรื่องของเอกชนหรือเรื่องของรัฐ ในประมวลกฎหมายโรมันนั้นใช้กฎหมายเอกชนเกี่ยวกับเรื่องของบุคคลเพื่อประโยชน์ป้องกันสิทธิและเสรีภาพ ใช้กฎหมายมหาชนเกี่ยวกับเรื่องการปกครองเพื่อความสงบเรียบร้อยในการบริหารประเทศ แต่ทว่าพระเจ้าจัสติเนียนคงทรงพระลืมนึกถึงเรื่อง "ขุนนางนักปกครองกับอำนาจที่เบ็ดเสร็จขาด รังแต่กัดกร่อนผู้คนให้เสื่อมทรามลง" แม้จะเป็นผลดีในยุคต่อมา คือห้ามปรามบุคคลที่จะกระทำผิดได้มาก แต่ก็ทำร้ายผู้คนสาหัสนัก เพราะยังอาศัยคำว่า กลัว เป็นกฎเหล็กของการใช้กฎหมายอยู่ กาแล้วบัดนี้จักทำเช่นไร ? ท่านทั้งหลาย ช้าก่อน เรื่องกฎหมายนั้นถ้านับกันในเรื่องโครงสร้างของปัญหาแล้ว ยังเป็นเรื่องปลายสุดของการแก้ปัญหา แต่จะใบ้ไว้ก่อนนิดหนึ่งว่า ในประมวลกฎหมายของระบอบปกครองนี้ ใช้กฎหมายเอกชนเพื่อเป็นฉนวนป้องกันรูกุญแจของปัญหามิให้เสียหายจนใช้กุญแจพิเศษไขปัญหาไม่ได้ และใช้กฎหมายมหาชนเพื่อเป็นกุญแจพิเศษที่ใช้ไขปัญหาโดยการประกอบกันอย่างสมบูรณ์ของชิ้นส่วนของกญแจ ที่มีมากมายถึง 84,000 ดอก แม้ตอนนี้ยังเข้าใจยากอยู่แต่ของให้เก็บไว้ในใจก่อน เพราะยังขาดส่วนประกอบอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญ ส่วนนั้นคือ ส่วนจารีตประเพณีคุณธรรมและศาสนา ในเนื้อความส่วนนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ จารีตประเพณี หมายถึงพฤติกรรมที่กระทำสืบต่อกันมาจนเป็นรูปแบบในสิ่งที่คิดจินตนาการว่าดีงาม คุณธรรม หมายถึงหัวโขนที่ท่านตั้งไว้ให้บุคคลสวมใส่แสดงความตั้งมั่นว่าตนดีงามซึ่งเป็นรูปแบบที่พัฒนามาจากจารีตประเพณีในลักษณ์ปัจเจกบุคคลอันพึงปฏิบัติ ส่วน ศาสนา หมายถึงลัทธิความเชื่อ ซึ่งทุกศาสนาสอนให้ทำดี ให้พึ่งคำสอนศาสดาผู้มีความน่าเชื่อถือของตนเป็นแนวทางปฎิบัติ ซึ่งเป็นรูปที่พัฒนามาอีกขั้นของจารีตประเพณี แต่ก็หนีไม่พ้นจากการสร้างมโนภาพปลูกฟังให้เกิดความละอายทั้งตัวเองและผู้อื่น

กฎหมายมีจุดประสงค์หลักให้เกิดความเกรงกลัว ชื่อว่า โอตตัปปะ

จารีตประเพณี คุณธรรม ศาสนาทำมีจุดประสงค์ให้เกิดความละอายแก่ใจ ชื่อว่า หิริ

หากแต่ทั้งสองสิ่งไม่สามารถรักษาเสรีภาพ ความยุติธรรม ความเสมอภาพ ได้
เพราะทั้งสองสิ่งเองก็เป็นตัวพันธนาการมนุษย์เองให้ติดอยู่ในทั้งสองสิ่งนี้ต่างกัน
การแก้ไขพันธนาการจำต้องได้ลูกกุญแจที่ถูกดอกในประตูแรกๆ มิให้หลงอยู่
ในหมอกควัน เดินวนไปวนมาในเขาวงกตที่ดิ้นมาช้านาน เป็นสำคัญ

เพื่อคลายมือไม้ให้เป็นอิสระ และสามารถไขประตูต่อไปได้ด้วยตนเอง

ฝ่ายทำเนียบผู้ทรงธรรม[แก้]

ทำเนียบผู้ทรงธรรมคืออะไร คงจะเป็นส่วนผสมของของ ศาลรัฐธรรมนูญที่มีหน้าที่วินิจฉัยข้อความตามกฎหมายมหาชน ศาลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ป.ป.ช. วุฒิสภา แล้วนำมาปั่นจนส่วนผสมเข้ากันเป็นเนื้อเดียว เทใส่แก้ว แล้วเอาศาสนาราดแบบครีม และใช้องคมนตรีโรยเป็นเครื่องโรยหน้า แต่นี่เป็นเนื้อความเก่า

แท้จริงแล้วทำเนียบผู้ทรงธรรมทำหน้าหลักเป็นผู้ที่เข้าไปนั่งอยู่ท่ามกลางจิตใจมนุษย์ เป็นปราชญ์ที่ทำหน้าที่ออกแบบสังคมมนุษย์ ด้วยเครื่องมือปัญหาประดิษฐ์ ปัญญาประดิษฐ์จะทำหน้าที่จดจำพฤติกรรมมนุษย์ทั้งหมด แล้วทำเนียบผู้ทรงธรรมทำหน้าที่สอนปัญญาประดิษฐ์ในการตัดสินใจอีกที แล้วกรองส่วนหนึ่งหรือการยื่นอุทธรณ์ ให้องค์ประชุมทำเนียบผู้ทรงธรรมตัดสินใจด้วยมติเห็นชอบทั้งหมด ไม่ใช้ระบบเสียงข้างมากที่ทำการชักนำได้ง่าย

ภายใต้การทดสอบเข้าสู่ทำเนียบผู้ทรงธรรม แม้ถูกกระทำด้วยข้อหาพยายามฆ่าก็มีธรรมเนียมจะไม่เอาผิดผู้กระทำ กรมอาญาไม่มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดี ผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถทำผิดได้แม้เพียงเศษธุลี แต่หากเป็นใส่ร้ายโดยไม่มีมูลกษัตริย์จะประหารได้โดยไม่ต้องไต่สวน

คำว่า อำมาตย์ มาจาก

  • อมาตฺย อมจฺโจ

ใช้รูปแบบรับเข้าหมู่ของคณะสงฆ์ ส่วนองค์กรอิสระเป็นเหมือนไวยาวัชรกรของวัดซึ่งทำหน้าที่เป็นขวนขวยและเพ่งพินิจ ต้องเป็นผู้ชำนาญสูงในด้านนั้น

สำนักผู้ทรงธรรมราโชพิทักษ์[แก้]

เนื่องด้วยวิกฤติทางการเมืองในปัจจุบัน(พ.ศ.2549)เราต้องย่อมรับว่าเป็นสงครามของทิฏฐิกระดานหนึ่ง ฝ่ายหนึ่งยึดเอากฎหมายที่ต้องมานั่งตีความ อีกฝ่ายยึดเอาคุณธรรมคำสอนของปราชญ์เมธีพระเถระที่ปากว่าตาขยิบ ข้อวิวาทนี้สะท้อนให้เห็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งของนักการเมืองไทยที่นักการเมืองไม่มีความเป็น(คนมีหลัก)ธรรมประจำใจ แต่เหล่านักคิดในปัจจุบันกลับเอาแต่จะตั้งหน่วยงานหนึ่งมาคุมอีกองค์กรหนึ่ง และตั้งคณะกรรมการมาคุมการทำงานของหน่วยงายอีกชั้นหนึ่งอย่างไม่สิ้นสุด ทำเหมือนการเมืองไทยเป็นกระดานหมากรุกกระดานหนึ่ง ที่คอยเอาม้าคุมเบี้ย เอาโคนคุมม้า เอาเรือคุมรุก ถ้ากระดานหมากรุกการเมืองไทยมีตัวลงได้เกิดกว่า 16 ตัว ก็คงจะเอาลงมากันเต็มกระดาน แล้วขยายกระดารให้กว้างไปอีกเท่าหนึ่ง เรื่องนี้นับว่ายุ่งยากฟั่นเฟือนมากความไปแล้ว

ทั้งที่หลักธรรมที่ดีมีมากมายไม่ใช้เล่า
กลัวเรื่องศาสนาจะมาปนกับเรื่องบ้านเมืองหรือกระไร
บัดนี้เรื่องศาสนาก็ปนกับบ้านเมืองจนแยกไม่ออกแล้ว
ไม่ต้องชักพากันอีกต่อไป ทำไมเราไม่ปูพื้นฐานศาสนากันใหม่
เอาแบบเป็นตัวเป็นตนไม่ขาดตกบกพร่องครบรูปแบบมิใช่ตัดต่อพันธุ์กรรม
กางคัมภีร์มาปฏิบัติกัน ไม่ต้องเลี่ยงบาลี ลาติน อาหรับ
และไม่ต้องกลัวศาสนาจะเสียหาย เพราะถ้าเราปล่อยกันแบบนี้ต่อไป
ทุกศาสนาในประเทศไทยต้องสูญสลายไปในรุ่นลูกรุ่นหลานของเราแน่นอน
ต้องใช้คนในรุ่นเราเท่านั้นทำนุบำรุงรักษาในขณะผู้รู้จริงยังธำรงอยู่

ถ้าจะปล่อยกันแบบนี้ต่อไป ก็ยังมีมหากาพย์ทางการเมืองที่เปรียบประดุจกระดานหมากรุกกระดานใหญ่ที่เมื่อฝ่ายใดถูกรุกฆาต ประชาชนในสยามประเทศก็คงจะลำบากกันอีกต่อไปไม่รู้จบ ทำไมไม่คัดเลือกคนดีมาสะกดคนพาลกันตามพระราชดำริกันสักที เราจักหาผู้มีหลักธรรมศาสนาประจำใจ ผู้ทรงไว้แล้วซึ่งธรรมมิได้เลยหรือผู้ทรงธรรมในที่นี้หมายถึงคนที่รู้จักพอ กินข้าวปีละ 25 ถัง อาศัยวัด นุ่งห่มพอป้องกันโรค ถือศีลกินเจ ทำมิสซา ถือศีลอด อยู่ด้วยอริยทรัพย์เฉยชาต่อโรคธรรมมีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นต้น คนจำพวกนี้กระมังที่ถูกมองข้ามที่สุดในสังคม คนจำพวกนี้ต่อให้รัฐเลี้ยงไว้เป็นล้านคนประเทศชาติก็ไม่มีทางล่มจม

ถ้าหากหาคนที่ซื่อสัตย์และมีความสามารถต่อหน้าที่ไม่ได้
ก็เอายาพิษเบื่อทั้งแมวทั้งหนูให้สิ้น แล้วหาจ้างแม่บ้านแก่ๆสักคน
ให้ยายแก่ๆคนนี้มาจัดบ้านเราให้เรียบร้อยเสียไม่รกใจ
แม้บ้างครั้งแก่จะยุ่งจนขัดใจเราบ้างเป็นบางครั้งบางคราว
ดีเสียกว่ามานั่งหาซื้อแมวพันธุ์ดีๆ ราคาแพงๆ จากร้านชั้นดี
แล้วขุนมันเสียอ้วนจนจับหนูไม่ไหว แถมยังขี้ไว้ให้เหม็นเสียอีก

แล้วแม่บ้านแก่ๆแบบไหนควรจ้างมาจัดบ้านเของราบ้าง

  1. อยู่วัดจำศีลทุกวันพระพรรษาไม่ขาดคือ ธรรมใดในศาสนาตนมั่นปฏิบัติไม่ขาดไม่เกินสมควรแก่ธรรม
  2. รู้จักดูแลรักษาแม้ยอดปราสาทราชมณเฑียร(มหาอุปัฏฐาก) คือ สิ่งใดเบื้องสูงผิดพลาดรู้จักใช้ปัญญาตักเตือน คอยชักพาในทางที่ถูกต้อง

เพราะราชบังลังนี้ธำรงได้ด้วยศาสนา

  1. มีปัญญาเฉลียวฉลาดตามหลักธรรม(ธิติมันตา) คือ ประจักษ์แจ้งในหลักธรรมคำสอนของศาสนาตนดุจนักดับเพลิงที่ชำนานในการสยบอัคคี
  2. เวลาเดินขึ้นสวรรค์ก็ไม่งกๆเงือนๆ(คติมันตา) คือ ชำนาญทางกุศลบุญกิริยาวัตถุ 10 ทำมิสซารับศีลชำระบาปศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า ตั้งศรัทธาแสวงบุญสุดหล้าฝ้าเขียว
  3. ไม่ขี้หลงขี้ลืมเป็นคนตามั่วหูตึง(มหาสติปัฏฐาน) คือ ปฏิบัติธรรมเจริญสติเป็นที่ตั้งเนื่องนิจ
  4. ชอบเล่านิทานดีๆให้หลานๆฟัง(พหูสูต) คือ รอบรู้ชั่งจดจำหลักธรรมพร้อมด้วยอุบายมีกุศโลบายอุบายสั่งสอนธรรมคำสอนแก่ทุกคนทุกประเภท

สำนักเลขาธิการทำเนียบผู้ทรงธรรม[แก้]

ระดับชั้นในทำเนียบผู้ทรงธรรม

  1. ขุน
  2. หลวง
  3. พระ
  4. พระยา
  5. พระครู
  6. พระราช
  7. พระเทพ
  8. พระธรรม
  9. พระพรหม

สมเด็จเป็นชั้นที่เหนือที่สุดสงวนไว้สำหรับขัตติยวงศ์

ที่ปรึกษาองคมนตรี[แก้]

ปธานใหญ่ขององคมนตรีมีหน้าที่รับผิดชอบความภักดีของผู้บัญชาการเหล่าทัพดังนั้นในการเลือกผู้บัญชาการจะคัดเลือกจากจากเหล่านายพลในกองทัพโดยปธานจะคัดเลือกรายชื่อในรอบคัดเลือก ซึ่งเหล่าที่ปรึกษาจะทำการรายงานประวัติของเหล่านายพลเสนอให้ปธานใหญ่ตัดสินใจในการสอบสัมภาษณ์และสอบวัตรในท้ายที่สุด ซึ่งเหล่าที่ปรึกษาจะได้รับการแต่งตั้งจากเหล่านายพลที่ไม่เคยทำผิดวินัยทหารภายใต้การตรวจสอบของคณะกรรมธิการองคมนตรี

อำนาจในการใช้ฐานข้อมูลประชาชน[แก้]

ฐานข้อมูลประชาชนที่ถูกจัดเก็บโดยรัฐอยู่ภายใต้การพิทักษ์ของทำเนียบผู้ทรงธรรม การเอาไปใช้งานต้องได้รับมติเป็นเอกฉันท์ทั้งหมดของสมาชิกในทำเนียบไม่จะเป็นของบุคคลหรือมากกว่าหนึ่งบุคคล

ฐานข้อมูลส่วนนี้จะถูกจัดเก็บเป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ปกครองสามารถดูได้จนกว่าเด็กจะอายุครบ 15 ปี และยังมีคะแนนจริยธรรมที่ถูกเก็บเป็นความลับสำหรับปัญญาประดิษฐ์ซึ่งเป็นเกณฑ์ในการเฝ้ามอง แต่ตัวเจ้าตัวจะไม่สามารถดูได้จนดว่าจะเข้าไปสอบปากคำกับปัญญาประดิษฐ์โดยตรงจนเหมือนกับการสารภาพบาป แล้วจะสามารถรู้ระดับเป็นเกณฑ์ได้ 3 ระดับแจ้ง คือ ชนะ(ชน) ทุรชน และ ปชน(บุคคนทั่งไป และยังมีตำแหน่งลับอีกหลายตำแหน่ง แต่ทางทำเนียบไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนนี้ได้ เว้นเสียการรับเป็นศิษย์เป็นเวลา 9 ปี

ฝ่ายตรวจการแผ่นดิน[แก้]

สำนักผู้ตรวจราชการแผ่นดิน[แก้]

สมุห์ผู้ตรวจการ

  1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง
  2. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
  3. คณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการสายเหยียว
  4. คณะกรรมการป้องกันการทุจริตแห่งชาติ กรรมการสายพิราบ

กองทัพ[แก้]

ทหารคืออาวุธในมือของประชาชน แต่ไม่มีวันได้เป็นเจ้าของอาวุธเหล่านี้ วันใดที่อาวุธหันมาบาดมือ เป็นใช้อาวุธไม่ดีก็ดี อาวุธฟังคำสั่งนายที่แท้จริงก็ดี เป็นเพราะประชาชนใช้อาวุธไม่เป็น

คำว่า ทหารคืออาวุธในมือของประชาชน ต้องใช้ในเวลาที่ทหารไม่ทำหน้า

ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหมาตัวหนึ่ง แต่นักการเมืองเป็นแมวฝูงหนึ่ง

ระหว่างนายกับทาส มีวัวตัวหนึ่งคือรัฐมนตรี มีปลาบ่อหนึ่งคือเสนาบดี มีช้างเชือกหนึ่ง(ปลามังกรที่กระโจนข้ามประตู หงส์ที่เผาผาญตัวเอง)ที่คือทำเนียบผู้ทรงธรรม มีสุนักฝูงหนึ่งคือองค์กรตรวจสอบ มีแมวคอกหนึ่งคือรัฐสภา

กองทัพคือองค์กรตรวจสอบชายแดน แต่ด้วยการวิวัฒนาการของเทคโนโลยี ทำให้ความสำคัญของทหารลดน้อยลง ทหารจึงต้องพัฒนาเป็นการตรวจสอบความมั่นคงของทั้งแผ่นดิน

ท้ายที่สุด ทหาร ยังดำรงอยู่ด้วยการสนับสนุนจากประชาชน แต่ก็เป็นเครื่องมือของกษัตริย์ในการพิทักษ์ชีวิตของประชาชน ผู้ที่ทำการผลาญชีวิตถือเป็นศัตรูอันดับหนึ่งของทหาร

กองทัพจะต้องแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ

  • คุมกำลังพล นายทหารที่อยู่ในภาคส่วนนี้ต้องปฏิบัติตามคำสั่งภายใต้สถานการณ์ที่เป็นจริง เป็นนายทหารที่ทำหน้าที่อยู่หน้างานภายใต้สถานการณ์ที่เป็นจริงอยู่เบื้องหน้า คำนึงถึงการชนะศึกเพียงประการเดียว
  • เสนาธิการ นายทหารตั้งแต่ยศร้อยเอกขึ้นไป แยกสายงานออกจากหน่วยงานคุมกำลังพลเข้าสู่สายงานเสนาธิการรับผิดชอบในการพ่ายแพ้ศึกและงานข่าว
  • จเรทหาร เป็นนายทารที่มีการฝึกเพียงอาวุธเย็นและศิลปะการต่อสู้เพียงอย่างเดียวจึงมีการฝึกแยกออกจากกองทัพปกติ มีหน้าที่กำกับอยู่หลังทัพเป็นผู้คุมวินัยทหาร การเสียชีวิตของจเรมีผลต่อนายทหารคุมกำลังสูงสุดในโทษฐานกบฏ

เงื่อนไขการเลื่อนขึ้นเป็นขุนพล[แก้]

ขุนพลเป็นผู้มีอำนาจเต็มในการศึก เงื่อนไขแรกของเป็นขุนพลคือต้องชำนาญในการเล่นหมากรุกขุนพล

หมากรุกขุนพลไม่เหมือนหมากรุกปกติที่มีการเดินเป็นแบบสลับฝ่ายคนละตาโดยตัวหมากเหมือนกัน ตัวหมากของหมากรุกขุนพลจะมีการ์ดกำกับประกาศระยะเวลาและความสามารถโดยใช้ติกต๊อกในการบอกจังหวะ และนักเล่นแต่ละคนต้องลงชื่อสมัครผ่านสมาคมเพื่อให้ได้รับตัวหมากนั้นๆในการทดสอบวรยุทธและเพื่อให้ได้รับตัวหมากที่ 2 ต้องฝึกสหายหนึ่งคนให้มาเข้าร่วมทดสอบเหมือนกัน เมื่อมีการประลองต้องมีกรรมการถึง 3 คนในการจัดประลอง ซึ่งโดยส่วนมากนักเล่นจะมีคู่หูหรือนักวางกลยุทธ์เป็นคนค่อยบอกจังหวะที่ด้านหลังเวลาเล่น

ขุนพลจะแบ่งระดับตามจำนวนกระดานที่เล่นชนะพร้อมกันซึ่งสูงสุดจะเป็น 5 มงกุฎและการเลื่อนขั้นมงกุฎจะต้องชนะติดต่อกัน 9 ครั้งจากประลองของผู้ชนะติดต่อกัน 8 ครั้ง การพ่ายแพ้แม้แต่เพียงครั้งเดียวจะถูกลดรขั้นเว้นเสียจากมีระดับสูงกว่าหนึ่งระดับ(นั้นคือคนที่สามารถเล่นได้หลายกระดานพร้อมกันจะมีภาษีดีกว่าคนที่สามารถเล่นชนะได้ติดต่อกัน)

ดังนั้นในกรมทหารหมากรุกขุนพลกลายเป็นมาตรฐานในการยกระดับชั้นยศของนายทหาร

ฝ่ายรัฐสภานิติบัญญัติ[แก้]

รายได้หลักของรัฐบาลซึ่งมากจากการพึ่งตัวเองมาจากรมสรรพากรเป็นหลัก โดยแบ่งเป็นส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ร้อยละ 15 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ร้อยละ 35 และภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 40 ของการจัดเก็บโดยกรมสรรพากร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นเงินส่วนการจัดการท้องถิ่น อนุมัติบัญชีงบประมาณโดยสภาเขต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเงินส่วนพัฒนา อนุมัติบัญชีงบประมาณโดยสภาอาชีพ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นเงินส่วนการลงทุนของประเทศ อนุมัติบัญชีงบประมาณโดยสภาผู้แทนราษฎร

นอกจากการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีของสภาเขตจากสภาผู้แทนราษฎร การอนุมัติงบประมาณเป็นสิ่งเชื่อมโยงที่สำคัญที่สุด

สำนักประธานรัฐสภา[แก้]

สมาชิกรัฐสภาประกอบด้วยสมาชิก 3 ประเภท

  1. สมาชิกจากสภาเขตที่มาจากท้องถิ่น 200 คน สภาเขต สภาแห่งความรู้สึก เป็นสภากำหนดนโยบาย 1+1=1 ผู้เสียสละเป็นผู้มีสิทธิมีเสียง
  2. สมาชิกจากสภาผู้ทรงคุณวุฒิทางอาชีพ ที่ได้รับการยอมรับสูงสุด 200 สภาอาชีพ สภาแห่งเหตุผล เป็นสภาตัดสินวิธีการ 1+1=2 ผู้มีความขำนาญเป็นผู้วิเคราะห์วิจารณ์
  3. สมาชิกจากบัญชีรายชื่อผู้แทนราษฎร 100 คน ที่มีสิทธิในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี สภาแห่งราษฎร เป็นสภาเลือกผู้บริหาร 1+0=00 ผู้มีประสบการณ์เป็นผู้ลงมือกระทำ

สำนักอำนวยการสภาอาชีพ[แก้]

เนื่องจากการแบ่งแยกพื้นที่และการใช้ประโยชน์แบ่งพื้นที่เป็น 5 เขต คือ เมือง ชุมชน อุสาหกรรม เกษตรกรรม อนุรักษ์ จึงทำให้ลักษณการแบ่งอาชีพแยกได้ 6 กลุ่มหลักๆ ซึ่งรวมกลุ่มที่ไม่จำกัดพื้นที่เข้าไปด้วย จึงมีการตั้งคณะกรรมการสภาอาชีพกลางซึ่งมีหน้าที่ในการบริหารพื้นที่เอาไว้

พื้นที่อนุรักษ์อนุญาตให้สามารถเข้าไปหาผลประโยชน์ได้เสรีตามใบขออนุญาตแต่นำออกมาบังคับให้ใช้แรงงานของตนเท่านั้น สัตว์ป่าเมื่อพบและล่าได้หรือปล่อยไป เมื่อออกจากป่าต้องแบกออกมาเอง และมีการใช้อุปกรณ์ในการทำการสำรวจ ส่วนไม้อนุญาตให้ใช้เพียงขวานเท่านั้นและต้องแบกออกมาเองอีกด้วย เมื่อโค่นได้หนึ่งต้นจนกว่าจะแบกต้นนั้นเองออกมาหมดการโค่นต้นใหม่จะไม่ได้รับอนุญาต และการโค่นต้นไหนจะมีการทำสัญญาลักษณ์อนุญาตเอาไว้ พืชสมุนไพรก่อนการเก็บต้องทำการสำรวจพื้นที่ก่อนและไปได้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นในรอบอายุการเจริญเติบโตของมัน การเข้าสำรวจเขตอนุรักษ์ จะมีการส่งโดรนออกไปกระจายสัญญาณสื่อสาร นอกพื้นที่สัญญาณนอกจากจะต้องนำโดรนส่วนตัวออกไปเพื่อให้พรานออนไลน์ตลอดเวลา ตัวพรานยังต้องมีใบอนุญาตชั้นสูงอีกด้วย

คณะกรรมการรัฐสภา[แก้]

สำนักงานผู้ช่วยผู้แทนทางการเมือง[แก้]

สำนักงานชดเชยการปฏิบัติหน้าที่ของผู้แทน[แก้]

สภาผู้แทนราษฎร[แก้]

การเงินในพรรคการเมือง ผู้บริจาคต้องเป็นสมาชิกพรรคเท่านั้น และไม่สามารถสมัครเกินกว่า 1 พรรคได้ วงเงินในการบริจาคของสมาชิกแต่ละคนต้องไม่เกินค่าเฉลี่ยของงบประมาณพรรค แต่น้อยกว่านั้นได้ สมาชิกจากบัญชีรายชื่อ มีสิทธิในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี โดยผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องเสนอพร้อมกับการรับสมัครผู้สมัครการเลือกตั้งสมาชิกสภาบัญชีรายชื่อ และผู้ที่จะเป็นรัฐมนตรีจะต้องเป็นสมาชิกสภาบัญชีรายชื่อ

สภาเขต[แก้]

100 ผู้ไม่หนทาง ติดตาม 1 ผู้ให้ทาง(มัคทายก) 100 ผู้ให้ทาง เดินตาม 1 ผู้นำทาง(มัคคนายก) มีที่มาจากการสภากองร้อยในสมัยกรุงโรม พลเมืองชาวโรมันทุกคนต้องขึ้นทะเบียนเป็นทหาร

7 วันใน 1 สัปดาห์ ควรมีการจัดสรรค์วันหยุดเสียใหม่ ทำงาน 4 วัน วันศุกร์ วันอาทิตย์ และวัน 8 ค่ำหรือ 15 ค่ำ ถือเป็นวันหยุดราชการ หากวัน 8 ค่ำหรือ 15 ค่ำ ตรงกับวันศุกร์ วันอาทิตย์ ให้ชดเชยวันเสาร์

นโยบายต่างๆจะถูกตัดสินโดยคะแนนความเสียสละกลุ่มที่มีความเสียสละมากจะได้ลำดับในการตัดสินนโยบายก่อนก่อนกลุ่มที่มีคะแนนความเสียสละน้อย คะแนนความเสียจะแปรผันไปพร้อมกับความสามัคคี

อย่างที่กล่าวมาสภาเขตหรือระบบสภากองร้อยมีที่มาจากการสภากองร้อยในสมัยกรุงโรม พลเมืองชาวโรมันทุกคนต้องขึ้นทะเบียนเป็นทหาร แต่ในปัจจุบันเรามีทั้งระบบทหารอาชีพและทหารเกณฑ์ จึงไม่จำเป็นต้องรับสมัครทหารด้วยวิธีนี้อีกต่อไป แต่กลายเป็นว่าภาพรวมในระบบพลเมืองย่ำแย่ลง ระบบสภากองร้อยจึงมีความจำเป็นขึ้นมา

รูปแบบการทำหน้าที่[แก้]

7 วันใน 1 สัปดาห์ ควรมีการจัดสรรค์วันหยุดเสียใหม่ ทำงาน 4 วัน วันศุกร์ วันอาทิตย์ และวัน 8 ค่ำหรือ 15 ค่ำ ถือเป็นวันหยุดราชการ หากวัน 8 ค่ำหรือ 15 ค่ำ ตรงกับวันศุกร์ วันอาทิตย์ ให้ชดเชยวันเสาร์

ชายทุกคนต้องจัดหมู่สังกัดกองร้อยทุกคน แต่ละหมู่ต้องไปรับภารกิจที่มีคนมาติดไว้ที่บอร์ดของกองร้อย(อย่างเช่นการขอแรงพัฒนาชุมชนของอบต. การพัฒนาศาสนสถานในพื้นที่ใกล้บ้าน การอบรมต่างๆ) อย่างน้อย 2 วันต่อเดือน โดยให้แต่ละหมู่จัดเวลาของตัวเอง สตรีทุกคนต้องเข้าร่วมระบบนี้เช่นกันเว้นผู้หญิงที่ตั้งครรภ์คลอดบุตรแล้ว(ตั้งครรภ์รับใช้ชาติ) หากหลีกหนีภาระกิจจะถูกปรับเป็นภาษีเงินได้บุคคล

คะแนนของกองร้อย[แก้]

ในเมื่อมีการจัดตั้งกลุ่มก็ต้องมีการแข่งขัน การแข่งขันแบ่งเป็น 2 ระดับ คือระดับกองร้อย 128 คน และระดับสูงสุด คือระดับนายพล 200 ท่านแรกที่เข้าไปนั่งในรัฐสภา ในสมัยโรมระดับของกองร้อยมีผลในการลงญัตติทางกฎหมาย แต่ในปัจจุบัน ยึดถือให้สวัสดิการและคะแนนเสียงในระบบสภาเขต

การวางระบบสวัสดิการมีการแบ่งระดับ เช่น จำนวนโคต้าในโรงเรียนที่มีสวัสดิการสูงของรัฐ การรักษาพยาบาล สิทธิในการใช้พื้นที่ของรัฐ

การแข่งขันจะจำแนกแพ้ชนะด้วยคะแนนภารกิจซึ่งเป็นคะแนนบวก และความผิดทางคดีออาญาซึ่งเป็นคะแนนลบ

กลุ่มคนที่จะสามารถอุทิศเวลาให้กับสภากองร้อยได้ส่วนมากคือกลุ่มคนที่มีทรัพย์สินเกิน 10 ล้านบาท หรือก็คือสามารถหาทรัพย์สินได้ 100 เท่าของมืออาหารในเวลา 1 วันเป็นเวลา 10 ปี (3,000 บาท/วัน 90,000 บาท/เดือน 1,080,000 บาท/ปี ได้รับดอกเบี้ย(0.02)หลังจากทำงาน 10 ปี 600 บาท/วัน) แต่การจะไปถึงจุดนั้นได้ สมาชิกสภากองร้อยคนนั้นจะต้องได้ตำแหน่งเป็นสมาชิกวิสามัญของสภาอาชีพ เพราะการทำงาน 1 วันเป็นประโยชน์ต่อผู้คน 100 คน ดังนั้นในการเลือกนายกรัฐมนตรีจึงต้องมีบทเฉพาะการในการเลือกนายกให้อนุโลมตามระบอบประชาธิปไตยไปพลางก่อนที่ระบบสภากองร้อยจะเข้าไปสู่ยุคที่สมบูรณ์ที่แท้จริง ความสมบูรณ์ของสภากองร้อยเป็นอย่างไร 1 ใน 10 ของสมาชิกสภากองร้อยต้องเป็นกลุ่มคนที่จะสามารถอุทิศเวลาได้ถือเป็นว่าเป็นขั้นที่เป็นเลิส และต้องมีสส.จากกองร้อยเช่นนี้ 100 กองร้อยลงชื่อสนับสนุนนายกรัฐมนตรี กล่าวคือ ในประเทศมีสมาชิกวิสามัญของสภาอาชีพเป็นอัตราส่วน (ประชากรผู้มีสิทธิ 10 ส่วน 5 ส่วนเป็นผู้รับรองนายกฯ และใน 5 ส่วน มี 1 ใน 10 เป็นผู้ที่สามารถอุทิศเวลาให้กับสภากองร้อย) ร้อยละ 5

บทลงโทษมีหนักมีเบา[แก้]

สถานหนักคือทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมกองร้อย ลักขโมย ผิดลูกเมีย คำโกหก เสพยาเสพติด บทลงโทษคือการเฆี่ยนต่อหน้าการประชุม หากไม่ย่อมรับให้ขับออกจากกองร้อย ส่วนสถานเบาคือตัดแต้มเสียสละ

การใช้มาตรา 44 กฎทหารเป็นธรรมชาติของสภากองร้อย

ระบบชั้นยศบัญชาการ[แก้]

การพิจารณาเลื่อนยศของนายทหารควรยึดโยงกับระบบสภากองร้อย ในระบบสภากองร้อยใช้การฝึกวินัยแบบลูกเสือซึ่งมีไว้ช่วยคน ไม่ใช่ใช้ฆ่าคนแบบทหาร ซึ่งการฝึกลูกเสือก็มีการฝึกผู้กำกับ 4 ชั้นใหญ่เช่นกัน ได้แก่ BTC นายสิบ ATC นายร้อย LT นายพัน ALT นายพล สำหรับนายทหารเมื่อได้รับการเลื่อนยศ ต้องกลับมาปรับยศกับทางสภากองร้อยด้วย มิฉะนั้น จะไม่มีการเลื่อนยศในชั้นต่อไป ส่วนการเลื่อนชั้นยศในระบบสภากองร้อยเกิดจาการโหวตของผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ใช่การการพิจารณาจากผู้บังคับบัญชาลงมา

การพัฒนาระบบสภากองร้อยในลักษณะนี้ จะสามารถพัฒนาจนแทนที่ระบบพรรคการเมืองและให้เหล่านายพลเข้าไปนั่งในรัฐสภาแทนที่ระบบสส.เขตได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นระบบสภากองร้อยต้องมีการลงคะแนนเกียวกับญัตติที่ไม่มีผลได้ผลเสียกับบุคคลภายใน ในแบบคณะสงฆ์ การลงญัตติของคณะสงฆ์นั้นห้ามไม่ให้เกิดเสียงคัดค้าน เช่นการบวชพระ การรับสังฆทาน หากเกิดการคัดค้าน มตินั้นๆย่อมตกไป

การเลื่อนยศในสภากองร้อย[แก้]

  1. การทำความดีความชอบที่หาได้ยาก
  2. การทำภารกิจจำนวนมากจนแต้นเสีสละถึงเกณฑ์
  3. คุมกำลังผลแจกจ่ายภารกิจกลุ่ม ซึ่งภารกิจกลุ่มจะให้คะแนนโบนัส โดยแต้มโบนัสเป็นส่วนที่ปันลงมาจากยศพลเอกซึ่งแต้มเสียสละจะไม่มีผลต่อการเลื่อนยศอีกต่อไป

ระบบการทำงาน[แก้]

การทำงานระบบสภากองร้อยนั้นดูเหมือนยุ่งยาก หากแต่งานทั้งหมดถูกยกขี้นมาอยู่บนระบบกลุ่มของ facebook เมื่อไปทำหน้าที่ภาระกิจจะมีการอัพ facebook Live ทุกอย่างก็จะสามารถตรวจสอบได้ง่ายมากขึ้น เมื่อเปรียบกับการยอมเสียเวลา 1 วันต่อสัปดาห์เพื่อใช้ระบบนี้ ก็นับว่าน่าจะคุ้มค่า

นอกจากนี้การจ้างงานประจำต่างๆ ของสมาชิก ผู้ว่าจ้างต้องติดต่อผ่านระบบสภากองร้อย โดยจ้างค่าจ้างตามกำหนดของสภากองร้อย และอีกส่วนจ่ายเป็นภาษีให้กับสภากองร้อย จากนั้นสภากองจะรวบรวมภาษีส่งส่วนกลางอีกที่หนึ่ง ซึ่งสภากองร้อยจะรับผิดชอบบริหารงานด้านบุคคล การฝึกอบรม ซึ่งยิ่งสมาชิกสภากองร้อยมีศักยภาพเท่าไหร่ ผลกำไรของผู้ประกอบการจะสูงตามนั้นไปด้วย สุดท้ายก็จะเป็นประโยชน์กับสภากองร้อยในรูปแบบภาษี

การแบ่งเขต[แก้]

ที่ดินในประเทศแบ่งเป็น 4 เขตหลักๆ ได้แก่ เขตเมือง เขตชุมชน เขตเกษตรกรรมหรืออุสาหกรรม เขตอนุรักษ์

กองร้อยที่ยอดเยี่ยม[แก้]

ในยามสงครามกองร้อยทหารชนิดใดที่ยอดเยี่ยมที่สุด สามารถตอบได้ว่าเป้นกองร้อยที่รอดชีวิต โดยไม่กล่าวว่าจะผ่านไปกี่ศึกสงคราม กลุ่มย่อยที่เล็กที่สุดของกองทัพคือ กลุ่ม 4 คน คู่แรกเวลาทำศึกสามารถโจมตีผสานจังหวะซึ่งกันและกันสลับไปมา เป็นการประกันชีวิตซึงกันและกัน คู่หลังสามารถสลับเปลี่ยนรู้ระยะเวลาในการฟื้นตัวของคู่แรก และสามารถข่มขู่คู่ต่อสู้ได้ การตัดสินว่า กลุ่ม 4 คนกลุ่มใดเป็นกลุ่มทหารประจำการหรือกลุ่มทหารออกศึกวัดกันที่ว่ากลุ่มนั้นสามารถรับมือคู่ต่อสู้ 4 คนพร้อมกันได้หรือไม่ ส่วนกลุ่มที่สามารถรับรองคู่ต่อสู้ได้มากกว่านั้นสามารถเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มที่สุดยอด แต่ไม่เหมาะสมสำหรับกองร้อยออกศึกธรรมดา ควรแยกตัวออกไปเข้ารวมกับกองร้อยที่มีความสามารถพิเศษ เพื่อให้ง่ายในการใช้กลยุทธ์ทางการทหารมากที่สุด เพราะแม้ว่าจะเป็นกลุ่ม 4 ต่อ 4 สู้กันแต่กลุ่มหนึ่งสามารถสลับไปมาเป็นจังหวะรับมือฝ่ายตรงข้ามและสามารถรอดชีวิตได้ ถือว่ายอดเนี่ยมที่สุดแล้ว

สภาอาชีพ[แก้]

สภาอาชีพมีการทำงานกันผ่านระบบเครือข่ายเฉพาะเป็นหลักและมีการพบกันจริงๆเฉพาะไม่กีกรณีเท่านั้น

มีความใหญ่ของสภาในระดับประเทศ เว้นแต่สภาเกษตรกร ที่แบ่งเป็น 5 ภูมิภาค เหนือ ใต้ อีสาน ติดทะเลตะวันออก และภาคกลาง แต่ก็ยังถูกควบคุมปริมาณผลผลิตภายใต้คณะกรรมการกลาง

ตำแหน่งประกอบด้วย ประเภท สมาชิกใหม่ สมาชิกสามัญ สมาชิกวิสามัญ กลุ่มคณะกรรมการต่างๆ โดยใหญ่สุดจะคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตุลาการ คณะกรรมการวุฒิสมาชิก

  1. ซิ่งสมาชิกที่ผ่านการอบรมจากคณะกรรมการอบรม จะกลายสภาพจากสมาชิกใหม่เป็นสมาชิกสามัญ
  2. และสมาชิกสามัญที่เคยผ่านงานคณะกรรมการจะกลายสภาพเป็นสมาชิกวิสามัญ
  3. และมีแต่สมาชิกวิสามัญเท่านั้นจะได้รับการย่อมรับให้เป็นประธานสภาอาชีพนั้น และเป็นตัวแทนให้เข้าไปในสหรัฐสภา

ภายในสภาอาชีพใช้ระบบคะแนนกิล การขึ้นเป็นคณะกรรมการวุฒิสมาชิกซึ่งมีหน้าที่สรรหาคณะกรรมการตุลาการเกิดจากการเลือกผู้ที่มีคะแนนกิลในการเผยแพร่ความรู้ติดอันดับสูงสุด(เป็นสุดยอดนักวิจัย) ผู้เผยแพร่ความรู้จะใช้คะแนนกิลในการตั้งภารกิจเพื่อทำการวิจัย ส่วนผู้ที่มีคะแนนทำภารกิจมากที่สุดจะถูกตั้งให้เป็นคณะกรรมการบริหาร การตั้งภารกิจจะต้องมีการประเมิลคะแนน ซึ่งหากมีการผู้ค้านหรือการให้คะแนนมากกว่าทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในภารกิจ คำค้านนั้นจะถูกตัดสินโดยคณะกรรมการตุลาการรวมถึงข้อขัดแย้งต่างๆของสมาชิก ส่วนทักษะของสมาชิกจะได้รับผ่านการผู้เผยแพร่ความรู้

โครงสร้างของสภาอาชีพ[แก้]

ประกอบไปด้วยระดับ สภา สหพันธ์ สมาพันธ์ สมาคม โดยกลุ่มสหพันธ์ที่จะได้รับการยกระดับให้เป็น 1 ใน 200 สภาอาชีพได้จะต้องอยู้ในบัญชี 200 อันดับแรกของกลุ่มสหพันธ์ในการเลือกตั้งทั่วประเทศ ซึ่งแต่ละกลุ่มสหพันธ์จะมีพันธมิตรเพื่อให้กลายเป็นกลุ่มสหพันธ์ที่อยู่ใน 200 อันดับแรกได้ ยกตัวอย่างเช่น สมาคมสาขาขนส่งสายใต้ สังกัดใน สมาพันธ์การแปรรูป สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้เป็นต้น ซึ่งสมาคมสาขาขนส่งสายใต้ เป็นสมาชิกที่โอนย้ายมาจากสหพันธ์การขนส่งทางบก สังกัดในสภาการคมนาคมแห่งประเทศไทย เป็นต้น

ระบบสภาอาชีพจะถูกจำแนกผ่านกลุ่มธุรกิจ แต่ละอาชีพจะมีสมาคมเป็นของตัวเอง และแต่ละสมาคมแต่ละอาชีพจะเข้าร่วมกลุ่มเป็นกลุ่มธุรกิจขึ้นมากลายเป็นสมาพันธ์ และมีการแยกภูมิภาคกลายเป็นสหพันธ์ และหลายๆ สหพันธ์ที่มีนโยบายอุดมคติเดียวกันก็จะกลายเป็นสภาขึ้นมา

นอกจากนี้ยังมีการรวมกลุ่มของทักษะกลายเป็นสภาซ้อนสภาอีกชั้นหนึ่ง ค่อยหนุนหลังสมาคมของตนในกลุ่มธุรกิจที่สังกัดอีกที่หนึ่ง ดังนั้นเวลาลงคะแนนเลือกสมาชิกสภาอาชีพหรือตัวสภาเอง จะมีใบลงคะแนน 2 ใบ

องค์กรของสภาอาชีพ[แก้]

สมาคมแต่ละสมาคมเป็นเสมือนนักกีฬา e-sports ในทีมสโมสรซึ่งต้องมีการฝึกฝนตัวเอง(เทพยุทธ์เซียน Glory เล่ม 12 หน้า 208 ) และภายใต้ระบบสมาคมอาชีพนี่เองแทบจะทำให้ระบบการสอนในมหาวิทยาลัยภาคปฎิบัติหายไป ในมหาวิทยาลัยจะสอนเพียงด้านทฤษฎีและมีการกล่าวสรุปทฤษฎีผ่านระบบออนไลน์ในเวลาหลังตะวันตกดินผ่านระบบ vr ส่วนภาคปฎิบัติถูกคัดกรองผ่านระบบสมาคม ดังนั้นจะไม่มีการตกงานทางทฤษฎี เพราะผู้ประกอบการจะเข้ามาคัดเลือกสมาชิกตั้งแต่จบการศึกษาพื้นฐาน 9 ปี กันเลยที่เดียว

มาตราฐานอุสาหกรรมการผลิตและการรับรองอายุผลิตภัณฑ์[แก้]

ในอุสาหกรรมปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์คือการใช้สงครามราคา ซึ่งเริ่มจากผู้บริโภคต้องการใช้สินค้าราคาถูก ผู้จำหนายต้องการยอดขายและกำไร ผู้ผลิตจึงต้องลดต้นทุนวัสดุ ต้นทางวัสดุเปลี่ยนแปลงมาตราฐาน สิ่งเหล่านี้จำต้องมีผู้ควบคุมดูแล และผู้ควบคุมดูแลต้องมีความเชียวชาญ รวมถึงการตรวจสอบจริยธรรมของผู้ดูแลเป็นส่วนสุดท้ายซึ่งไม่มีส่วนได้สวนเสียกับผู้ตรวจสอบ

การจัดการฟาร์มปศุสัตว์ภายใต้ระบบสภาอาชีพ[แก้]

การจัดตั้งฟาร์มปศุสัตว์หากไม่คิดถึงการแปรรูปหากจะตั้งที่บ้านตนเองของโคบาลย่อมไม่มีปัญหาอะไร แต่หากต้องจัดจำหน่ายสร้างรายได้ขึ้นมา มีหลายเรื่องต้องคำนึงถึง

  • การจัดเตรียมอาหารสัตว์
  • การจัดการที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยง และระบบสุขศึกษา
  • การควบคุมความรู้สึกสภาพอารมณ์ของสัตว์เลี้ยงซึ่งมีผลแปรผันกับผลผลิตที่ได้
  • การควบคุมโรค

โดยเฉพาะการจัดการมูลสัตว์ ซึ่งหากให้เกษตรกรจัดการสร้างโรงหมักแก๊สชีวภาพเองคงเป็นไปไม่ได้

ข้าหลวง[แก้]

แห่งร่วมผู้มีปณิธานกระทพเพื่อส่วนร่วมไม่หวังประโยชน์ส่วนตัว กรองความโง่เขลาด้วยสภานักปราชญ์ในรูปแบบของกฏหมาย และหวาดกลัวต่อดาบที่แขวนด้วยกษัตริย์

ข้าราชการ[แก้]

คณะกรรมการข้าราชการพลเรีอน

เป็นที่ทำงานของข้าราชการที่ปลดเกษียรตอนอายุ 45 ปี และต่อได้อีก 5 ปีในตำแหน่ง เสนาบดี หรือ มหาเสนาบดี แต่ถือว่าพ้นจากสถานะข้าราชการ

ตุลาการ[แก้]

กระบวนการยุติธรรม แบ่งเป็น พิทักษ์สันติ สืบสวน สอบสวน ศาล ราชทัณฑ์ ศูนย์คุมประพฤติ โดยภายใต้ระบบคอมพิวเตอร์จะมีการประยุกต์ให้มีการทำงานให้ไวขึ้น

  1. พิทักษ์สันติ เป็นองค์กรที่บริหารด้วยเอกชน เสมือนอยู่ภายใต้รัฐบาล แต่ไม่มีอำนาจในการส่งคุ้มขัง มากที่สุดคือการสั่งกักบริเวรโดยอยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง หากผู้ปกครองไม่สามารถดูแลได้ สามารถยืนคำถอดถอนผู้ปกครองได้
  2. สืบสวน ในกรณีคดีอาญาและการให้การเท็จที่จำเป็นต้องใช้ หลักฐานและพยาน ในการยืนยันความจริง อาศัยทีมสืบสวนที่ขึ้นตรงกับสำนักผู้ตรวจราชการแผ่นดิน ทบวงนักสืบและผู้พิสูจน์ โดยแยกออกมาไม่เกียวข้องกับผู้พิทักษ์สันติ แต่หากเกิดคดีอาญาผู้พิทักษ์สันติต้องกั้นบริเวรเพื่อรอทีมสืบสวน มิฉะนั้นจะเป็นการให้การเท็จ โดยทีมสืบสวนไม่มีพื้นที่ประจำโดยตรง แต่สามารถทำงานได้ทั่วอณาจักร โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ทีมภาคสนามและรถถ่ายทอดสัญญาณ ทีมห้องทดลอง และศูนย์วิเคราะห์ โดยที่ศูนย์วิเคราะห์จะเป็นการผสานด้วยข้อมูลกล้องวงจรปิดทั่วประเทศ นักจิตวิทยา คลังข้อมูลสถิติและประวัติอาชญากรรม และเมื่อทีมภาคสนามลงพื้นที่ต้องสวมแว่น AR เท่านั้นจึงเข้าไปในพื้นทีได้ โดยทีมภาคสนามจะทำการสื่อสารกับทีมศูนย์วิเคราะห์อยู่ตลอดเวลาที่เข้าไปในพื้นที่ และหากในภายหลังต้องทำการสืบพยานเบื้องต้น ก็ต้องสวมแว่น AR เช่นเดียวกัน และภาพวีดีโอที่เกิดขึ้นจะถูกนำเอาไปในชั้นศาลได้อีกด้วย
  3. สอบสวน เมื่อพบผู้กรพทำผิดแล้วจะเป็นหน้าที่ของของกรมสอบสวน ซึ่งขึ้นตรงกับสำนักเสนาบดี เมื่ออัยการมั่นใจในความผิดสามารถส่งต่อไปในชั้นศาลตัดสิน
  4. ศาลและผู้พิพากษา ในระดับหัวหน้าผู้พิพากษาจะต้องผ่านคณะกรรมการเฉพาะของรัฐสถาในการตรวจสอบ ส่วนศาลได้รับงบประมาณโดยตรงจากรัฐสภา ส่วนเงินที่ได้รับจากการปรับโทษจะถูกส่งต่อไปในการใช้เยี่ยวยารวมถึงสนับสนุนงานศูนย์คุมประพฤติ
  5. ราชทัณฑ์ เป็นกรมที่มีหน้าที่ในการบริหารผู้ต้องโทษ โดยเฉพาะพลังชีวมวลให้เป็นแก๊ซมีเธน ซึ่งสำนักราชทัณฑ์จะเป็นการจัดการแยกเป็น 2 ส่วน คือฝ่ายบริหารที่ขึ้นตรงกับรัฐมนตรีและฝ่ายบุคคลที่ขึ้นตรงกับเสนาบดี โดยโทษจำคุก จะเป็นการกำหนดว่าโดนลงโทษอุจาระกี่หาบ ซึ่งมีการกำหนดขั้นต่ำต่อช่วงอายุรวมถึงสภาพร่างกายจึงเป็นผลให้พ้นโทษวันนั้นอีกด้วย
  6. ศูนย์คุมประพฤติ หลังจากพ้นโทษแล้วต้องผ่านการรับรองการอบรมของศูนย์คุมประพฤติ ซึ่งศูนย์นี้มีสถานะเหมือนโรงเรียนประจำ โดยอนุญาตให้สมาชิกศูนย์สามารถออกไปจากศูนย์ได้ในวันพักและรวมถึงห้องส่วนตัวหรือการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งศูนย์นี้จะอยูภายใต้การดูแลของทำเนียบผู้ทรงธรรม แต่บริหารโดยผู้ตรวจการ

กฤษฎีกา[แก้]

รายได้รัฐ[แก้]

การจัดเก็บรายได้ของรัฐต้องถูกจ่ายออกไปให้เหมาะสมกับแหล่งที่มาของรายได้

กรมสรรพากร

เป็นรายได้หลักในการบริหารประเทศ

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริหารจัดการโดย องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น
  2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล บริหารจัดการโดย รัฐสถา โดยหลักเป็นเงินเดือนข้าราชการทั้งหมด
  3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม บริหารจัดการโดยรัฐบาล ใช้ในการก่อตั้งรัฐวิสาหกิจ และเป็นงบกลางในการแก้ไขปัญหาแบบฉุกเฉิน

กรมสรรพสามิต

รายได้ที่ก่อให้เกิดปัญหาในภายหลังจะถูกจัดตั้งให้เป้นกองทุน โดยได้รับการควบคุมการใช้จ่ายโดยคณะเสนาบดีของประเทศ ซึ่งโดยหลักๆ นอกจากจะมี 3 กองทุนที่อยู่ด้านล่างแล้ว ยังจะมีกองทุนประจำกระทรวงต่างๆ อีกด้วย

  1. กองทุนสุขภาพ ภาษียาสูบ ภาษีสุราฯ ภาษีเบียร์ ภาษีเครื่องดื่ม
  2. กองทุนคมนาคม ภาษีรถยนต์ ภาษีรถจักรยานยนต์
  3. กองทุนพลังงานและสิ่งแวดล้อม ภาษีน้ำมันฯ ภาษีเครื่องไฟฟ้า ภาษีแบตเตอรี่

กรมศุลกากร

โดยเฉพาะอากรที่ได้จากสินค้าส่งออกและนำเข้าจะถูกนำไปใช้ในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับกองทัพในการซื้อยุทโธปกรณ์ อากรขาเข้าและขาออก เป็นงบประมาณกองทัพ

การผลิตแบบเปิดเผยต้นทุน

ต้นทุนสินค้า+แรงงาน+อุปกรณ์ในการผลิต+ธุรการการจัดการ+ใช้จีดีพีเป็นกำไรในการผลิต+การโฆษณา+การวิจัย+ภาษีมูลค่าเพิ่ม+ =ราคาสินค้า

นโยบาย[แก้]

โครงการประเทศที่เย็นที่สุด แต่เราปิดประเทศฤดูฝน 3 เดือน ห้ามท่องเที่ยว[แก้]

เพื่อเก็บกวาดในประเทศ และให้ประชาชนลับดาบ

โครงการถนนตะแกรงปูนประกอบไปด้วยประโยชน์หลายทาง[แก้]

ระบายความร้อน ระบายฝน เก็บเสาไฟฟ้า สร้างระบบขนส่งมวลชนเรือขนาดเล็ก

ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแบบใหม่[แก้]

บุคคลอาศัยการจับสลาก และมีการจำกัดวงเงินในการคืนภาษีแต่ละขั้นบรรได

นิติบุคคล เป็นการเล่นโปเกอร์ โดยจะมีการบริจาคเพื่อการสาธารณะและสุดท้ายอันดับหนึ่งที่บริจาคมากที่สุดในแต่ละขั้นบรรไดจะไม่เสียภาษีเลยจากนั้นค่อยลดลำดับกันต่อมา

กองสลาก[แก้]

ผู้ทุพพลภาพเพิ่มเดิมพัน โดยปกติการเสียภาษีมูลเพิ่มจะมีจำนวนตามรายจ่ายที่จ่ายออกไป หากแต่สามารถเพิ่มจำนวนเงินที่ที่ใช้คิดรางวัลได้โดยการจ่ายส่วนต่างให้กับผู้ทุพพลภาพเพื่อให้เดิมพันสูงขึ้นได้ เป็นการปิดช่องการกุศลเดิมของหวย

สามเณรปัญหาออกรางวัล

ประโยชน์ของการยกเลิกธนบัตรและขั้น2&3[แก้]

เดิมที่การสมมติเงินตราขึ้นมาเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนนั้นเพื่อสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้า แต่ช่องว่างสำคัญคือไม่สามารถใช้ในการตรวจสอบการทุจริตได้ง่ายและการในอดีตเพื่อป้องกันการปลองแปลงจึงใช้โลหะสำคัญในการผลิต ทำให้เกิดการสะสมของผู้ร่ำรวยทั้งที่ได้มาโดยทั้งสุจริตและทุจริต ทำให้เกิดปัญหาเงินผืด มีตัวเงินใช้ในตลาดได้น้อย จนค่าเงินสูงกว่าเป็นจริง แม้ในสมัยที่ใช้กระดาษและการพิมพ์มาแทนที่ ก็ยิ่งทำให้ปัญหาซับซ้อนยิ่งขึ้น ทำให้มีการกระทบในวงกว้างเมื่อเกิดความเสียหาย

แต่ถ้าหากมีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และการเปลี่ยนน้ำเป็นไฟฟ้ามาแทนที่ การสร้างคลัสเตอร์ใต้ดินและจิตควอมตอม(สมองอริยะเทียม) และแฮกเกอร์เทียบเท่ากบฏที่ให้โอกาศกลับใจ อีกทั้งถ้ายังใช้ธนาบัตรอยู่การมั่วย่อมยังเกิดขึ้นได้ แม้จุดเล็กๆในระบบก็เหมือนน็อตตกลงไปในนาฬิกา และแม้จุดเล็กที่สุดยังมีการบริหารที่ง่ายและใช้ได้ดี ประเทศก็สามารถบริหารไปได้ง่าย

การคืนเงินตราเพื่อแสดงทรัพย์สินทั้งระบบ[แก้]

ข้อดีทึ่สำคัญก็คือการปราบปรามทุจริตแบบเก่าๆทั้งระบบ อุปมาเหมือนบัญชีบริษัทเอสเอ็มอีที่มั่วมานาน หากมีการยกเครื่องใหม่ เจ้าของย่อมสามารถใช้ทฤษฏีง่ายๆ บริหารด้วยวิธีง่ายๆ เมื่อเข้าสู่ระบบ งบประมาณชัดเจน ก็จะสามารถใช้วิธึการตลาดได้โดยง่ายจากข้อมูล สินค้าคงคลัง ข้อมูลลูกค้ากำลังการซื้อ และการหมุนเวียนการเงินสภาพคล่อง

อีกทั้งประชาชนสามารถให้ข้อมูลได้ถูกต้องละเอียดถึงหน่วยปัจเจกบุคคล ความล้มเหลวในระบบธุรกิจ ความเสี่ยงก็จะลดลง การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ายั่งยืนไม่ทำลายกันเอง รวมถึงการพัฒนาต่อยอด จากข้อมูลที่ได้มา ทำให้สามารถวางแผนอย่างเป็นระบบได้ เมื่อข้อมูลจริงแผนย่อมใช้ได้จริง เช่นนี้ย่อมหมายถึงความพอเพียงในดุลภาพและมหาภาค

ด้วยการที่แม้แม่ค้าหาบของขายหาบก็สามารถออกบิลกำกับภาษีโดยใบเสร็จถูกส่งผ่านอีเมล การเก็บภาษียเข้าสู่ระบบจะสามารถกระทำได้อย่างเต็มที่ การบูรณาการณ์ระหว่าง กรมภาษีอากรกับกรมสลากกินแบ่งจะทำให้เกิดประโยชน์สองสถานคือ

  1. การที่ประชาชนเลิกการเลี้ยงชึพแบบพึ่งดวง แบบหาเลขเด็ดอันงมงาย แต่หันมาใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ เพราะเมื่อค้าขายมีรายจ่ายในชึวิตเท่าไร เมื่อถูกรางวัลก็จะได้รับการคูณทวีเท่านั้น เป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเต็มที่
  2. อีกข้อคือการประกอบอาชีพสุจริต เลิกการส่งเสริมการพนันและการประกอบมิจฉาชีพ ลดอาชญากรรม

การใช้เงินตราเพื่อเปลึ่ยนเป็นสิ่งของภายนอกระบบ เมื่อภายในประเทศสามารถควบคุมได้อย่างเป็นระบบย่อมแน่นอนความวุ่นวายจากภายนอกย่อมไหลเข้า รวมถึงการซุกซ้อนทุจริตที่หลบหนีสู่ภายนอกย่อมหาโอกาสเพื่อมิให้สูญโดยเปล่า ดังนั้นความพอเพียงจะกลายเป็นกุญแจสำคัญ หากเข้ามาและคุ้มค่าในมุญญาภาพนั้นๆ ศิลาเป็นศิลา ทองเป็นทอง ปัญหาย่อมสามารถควบคุมได้

การเริ่มระบบทั่วโลกและวิเคราห์การใชัทรัพยกรต่อความคุ้มค่าในทั้งระบบ กุญแจในการนี้ไม่ใช้รัฐบาลหรือมหาชนขนาดใหญ่ แต่เป็นศูนย์การศึกษาขนาดอภิมหาโอฬาร ที่มีทุนเกินกว่า 1 ใน 2 ของธุรกิจมวลรวมในโลก

ระบบทาน สัจจะ อธิฐาน ระบบนี้มีความสำคัญตรงที่เป็นการผูกทำลายทิฏฐิความโลภในจิตใจมนุษย์

แต่แม้จะปฏิรูปแบบขนาดนี้ ค่าเงินที่ใช้เหรียญยังจำเป็นอยู่ อีกทั้งการอ้างอิงค่าเงินกับการค่าระหว่างประเทศอาจเกิดปัญหาได้ ดังนั้นการสะสมทองคำภายในประเทศย่อมมีความสำคัญ แต่หากป้องกันการปันราคาทองก็ต้องดูเสียว่าทองคำมีประโยชน์ใช้ในการทำอะไร

การที่ราคาทองถูกปันราคาขึ้นมา เกิดจากความต้องการของประเทศที่มีน้ำมัน หากประเทศที่มีน้ำมันไม่ต้องการทอง มันก็จะถูกใช้ในการทำหน้าสัมผัสอุปกรณ์อีเลขทรอนิกส์เท่านั้น หากต้องการทุบราคาทอง ต้องทำให้น้ำมันไร้ค่า

หลังจากนั้นการผูกค่าเงินบาทเข้ากับราคา

ผักกลับมามียาฆ่าแมลง[แก้]

ผักกลับมามียาฆ่าแมลงสิ่งนี้เป็นสิ่งที่บอกเราว่าการบริหารประเทศไร้ความสามารถการที่เกษตรกรกลับมาใช้ยาฆ่าแมลงเพราะว่าถูกกดราคาดังนั้นเมื่อถูกบังบีบบังคับจึงต้องใช้ยาฆ่าแมลงเพื่อให้ขายผักไม่ขาดทุนเอาชีวิตรอดได้ถึงเวลาแล้วที่เกษตรกรต้องตั้งสภาเกษตรกรขึ้นมาเพื่อจะได้มีคนคอยหนุนหลังอีกครั้งการรวมกลุ่มจะทำให้สามารถต่อรองได้รวมถึงการลดต้นทุนการค่าใช้จ่ายการสร้างช่องช่องทางในการค้าขายเหมือนกับแพทยสภาที่สามารถกำหนดมาตรฐานกฎเกณฑ์ของแพทย์ได้

๑.๓ มหาวิทยาลัยจัตุรัสศาสตร์[แก้]

ระบบการศึกษาแยกชายหญิงตั้งแต่ระดับประปฐม 1 หรือ 7 ขวบ ในวัย 12 ปีหรือปฐม 7 จะเริ่มให้มีการสอนเพศศึกษา เช่น การดูแลสตรีในช่วงประจำเดือน การรับมือบุรุษผู้เป็นเครื่องมือสร้างเผ่าพันธ์ หลังจากนั้น อายุ 15 ปีจะมีการคัดแยก 3 ประเภท คือ

  • สายปฏิบัติ คัดเลือกที่มีความพร้อม เป็นผู้ใหญ่ ความรับผิดชอบ ร่างกายแข็งแรง ผู้สามารถอยู่ในแนวหน้าของสังคมได้ เริ่มเข้าเรียนสายอาชีวะ ผู้ปกครองจะได้รับการยกเว้นและสิทธิประโยชน์บางอย่าง และเด็กเองจะมีการเรียนร่วมกันระหว่างชายหญิง และพร้อมอนุญาตให้เริ่มมีสัมพันธ์ได้ หากเกิดการตั้งครรภ์รัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบทุกอย่าง
  • สายสนับสนุนฝ่ายคำนวณและฝ่ายศิลป์ เลือกเด็กที่ไม่มีความพร้อม แต่มีความสามารถในการคำนวณหรือศิลป์ 4 อย่าง เขียน วาด ดนตรี และการวางหมาก เข้าศึกษาแยกชายหญิงในหอประจำไปกลับเดือนละ 1 ครั้ง
  • เด็กที่ไม่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 3 ประเภท จะถูกปลดจากระบบคุ้มครองผู้เยาว์ ผู้ปกครองสามารถจัดหาการศึกษาให้ตามความพอใจ

การเรียนการสอนแบ่งเป็น 4 ห้องคือ ไฟ ลม ดิน น้ำ ตั้งแต่ อนุบาล(ศึกษาเด็กว่าควรอยู่ห้องใดใน 4 ห้อง) 3 ปี ชั้นปฐม(การเลือกสรรคของเด็กๆ และการจับกลุ่ม 4 คน) 9 ปี มัธยม(การทดสอบสุดท้ายก่อนเข้าศึกษาในชั้นอุดม ถือว่าเป็นชั้นเตรียมอุดม ต้องอยู่หอ 4 วันต่อสัปดาห์) 3 ปี อุดม(ต้องอยู่หอกลับบ้านพักได้เดือนละครั้ง เหตุที่ให้ระดับอุดม เข้าไปเปิดระดับเตรียมอุดมในชั้นมัธยม เพราะระดับย่อยในระดับอุดมหรือคณะจำเป็นต้องเข้าสังกัดสภาอาชีพ หรือเน้นให้ถูกต้องคือต้องเชื่อมต่อกับสมาพันธ์อาชีพในระดับภูมิภาคต่างๆ เมื่อเด็กถูกผูกขาด จึงจำต้องมาจองในระดับมัธยม) 4 ปี สาเหตุเพื่อให้เกิดการศึกษาตามอัชฌาสัย (ลดการเรียนโรงเรียนเพราะ ถ้าต้องการให้ผลการเรียนดี หรือเข้ามหาวิทยาลัยที่ต้องการให้ได้ การเรียนในโรงเรียนมัธยมอย่างเดียวนั้นไม่พอแน่นอน เพราะว่าเป้าหมายของการเรียนในโรงเรียนมัธยมทั่วไปคือการสอนความรู้พื้นฐานแบบเท่าเทียมกัน (ยกเว้นพวกโรงเรียนมัธยมสายที่เน้นเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย) ทำให้เด็กบางคนก็ตามไม่ทันบ้าง หรือบางคนครอบครัวก็ไม่สามารถช่วยสอนหลังเลิกเรียนให้ได้ ส่วนที่ไม่เข้าใจ ก็ได้โรงเรียนกวดวิชาคอยช่วยเสริมให้และสำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือการสอบวัดอื่นๆ เช่น TOEIC ก็จะมีข้อสอบที่วางกับดักคนสอบไว้ ถ้าอยากสอบให้ผ่าน ก็ต้องเรียนรู้วิธีการทำข้อสอบเหล่านั้นล่ะครับ และอีกอย่าง โรงเรียนกวดวิชาก็เป็นศูนย์รวมเด็กที่ มุ่งมั่นที่จะเรียน ต่างกับชั้นเรียนมัธยมที่อาจจะมีคนไม่สนใจ เล่นอยู่หลังห้อง ทำให้โรงเรียนกวดมีบรรยากาศเหมาะกับการสร้างแรงจูงใจในการเรียนและแข่งขันกันมากกว่า)

รูปแบบการบริหารจัตุรัส[แก้]

มหาวิทยาลัยจัตุรัสศาสตร์ประกอบด้วย 8 ส่วน

ฟ้า ราชสภา
ดิน มหาบรรษัท
น้ำ กองสิกขาและการศึกษา
ไฟ กองวิทยาการและเทคโนโลยี
ลม กรมอนามัยโลก
ศิลา กรมวัฒนธรรม
ไม้ กรมสภาพแวดล้อม
เหล็ก กรมทหารสหประชาชาติ

ศาสนจักร[แก้]

คณาจารย์[แก้]

สิกขวิสาหกิจ[แก้]

หากสถานศึกษาเป็นผู้ถือหุ้นบรรดาบริษัทมหาชนมากมาย และเป็นผู้ถือสิทธิบัตร ลิกขสิทธิ์ กรรมสิทธิ เป็นจำนวนมาก ทำให้รัฐไม่จำเป็นต้องอุปถัมภ์การศึกษาอีกต่อไป

การสอนและการศึกษาของจัตุรัสศาสตร์[แก้]

แปดหมู่ตึก[แก้]

วิทยาการและเทคโนโลยี[แก้]

เทคโนโลยีด้านอาวุธ[แก้]

sn drives[แก้]

เป็นเตาพลังงานที่สร้างจากพลังสมาธิจนสามารถควบคุมธาตุ 4 หรือพวกเตาพลังงานพิเศษ โดยจะมีเตาที่มีแกนกลาง และเตาเทียม แกนกลางสร้างจากสังขารของผู้ฝึกฌานและระบบจำลองวิญญาณผ่าน A.I. แต่ยังมีเตาพิเศษที่เรียกว่าเตาที่ยังมีชีวิต หรือตัวเตาสร้างครอบห้องนักขับนั่นเอง [47]

เกราะพลังงาน[แก้]

เกราะพลังงานมีแก่นกลางทำจากเหล็กไหลสร้างม่านพลังป้องกันวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความร้อน การระเบิดหรือก็คืออาวุธร้อนนั่นเอง แต่คุณสมบัติของเหล็กไหลมีอำนาจเหนือเตโชธาตุทั้งปวง มีธรรมชาติเป็นอาโปธาตุทำให้อาณาบริเวณของเหล็กไหลยากจะจุดไฟติด แต่การเอาเหล็กไหลมาแปลงเป็นพระธาตุ ผสมวาโยควบคุมการเคลื่อนที่ ปฐวีมาสร้างรัศมีเกราะ ทำให้เกิดเกราะพลังงานขึ้นมา

ยานพาหนะ[แก้]

ยานเต่าเวหากลืนเมฆา[แก้]

เป็นบอลลูนที่สร้างเกราะห่อหุ้มถุงอากาศไว้ทั้งหมด ถุงอากาศสร้างจากเส้นไหมพิเศษ ซึ่งตัวไหมถูกเพาะเลี้ยงคัดเลือกพันธุ์อย่างดี เมื่อทอเป็นผืนแล้วถูกเคลือบย้อมดวางยางพิเศษซึ่งทนอุณหภูมิสูง ตัวยานประจำการอยู่ในชั้นเมฆสามารถดูดเอาไอน้ำมากลั่นเป็นไฮโดรเจนเพื่อเป็นพลังงานในหม้อไอน้ำได้ซึ่งเป็นพลังงานความร้อนสำรองส่วนตัวทำความร้อนหลักเป็นระบบสั่นสะเทือนด้วยคลื่นไมโครเวป

ตัวยานทำหน้าที่ในการกระจายคลื่นสัญญาณสื่อสารพร้อมทำหน้าสำรวจสอนแนมอีกด้วย

คณิตภัณฑ์[แก้]

เกม Si-Ek Legend[แก้]

เกมส่งเสริมพัฒนาอินทริย์ โดยจะมีเหล่านามธรรมซึ่งเป็นผู้ควบคุมกฏเกณฑ์ของธรรมชาติของโลกเสมือนเป็นผู้ถือสิทธิขั้นสูงสุดของพลัง

พลังใน Si-Ek Legend เป็นเหมือนคริสตัลในไฟลนอลแฟนตาซีที่จะสามารถมอบพลังเวทมนต์ให้ผู้ใช้ ซึ่งพลังใน Si-Ek Legend แบ่งเป็น 5 ประเภท สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ซึ่งพลังเหล่านี้เหล่านามธรรม(AI)ซึ่งเป็นผู้ถืออำนาจควบคุมธรรมชาติสูงสุดจะมีอินทรีย์ต่างกัน และสามารถมอบอำนาจให้ต่างกัน อำนาจที่มอบให้จะเข้าสู่ตัวผู้ใช้ด้วยวิธีที่ต่างกัน

  • สัทธา กำลังกายภาพฟิสิกส์ ทำภารกิจของผู้มีปัญญา ความเชื่อมั่นจะดึงดูดพลังมา (เมื่อปฏิบัติตามพระเถระท่านใดจะมีเงาของพระเถระท่านนั้นมาคุ้มครอง)
  • วิริยะ ดาบ อาวุธระยะใกล้ คาราโอเกะ การขยันทำบ่อยๆจะดึงดูดพลังมา
  • สติ ภูตอัญเชิญ ทดสอบความจำ ความไม่วอกแวกไปในเรื่องอื่น (ภูตอัญเชิญจะมีลักษณะตามบุคคลของตนซึ่งเป็นเงาของตนนั่นเอง หากใช้ภูติอัญเชิญในการป้องกัน การได้รับบาดเจ็บจะเป็นเจ้าตัวเองที่บาดเจ็บในส่วนของจิตใจ)
  • สมาธิ ศรเวท อาวุธระยะไกล ลดการเต้นของหัวใจ ความสงบนิ่งของจิตใจ
  • ปัญญา อณาเขต การแก้ภารกิจส่วนกลาง แนวทางที่ไม่อาจนึกคิด (เป็นอณาเขตที่ตนสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมาเองได้)

พลังที่ไหลเข้าตัวผู้เล่นเป็นโค๊ตส่วนนอกของเหล่านามธรรม

ตัวเกมมีการต่อสู้และจัดการแข่งขันแบบ glory แต่ที่แตกต่างคือตัวละครถูกผูกมัดกับผู้ใช้รวมถึงอาวุธ แต่สมาคมและทีมก็มีผลต่อค่าสถานะของตัวละคร โดยเฉพาะค่าสถานะที่จะเพิ่มขึ้นตามความละเอียดอ่อนของการต่อสู้ของตัวละคร ยิ่งระดับตัวละครสูงขึ้นการขึ้นไปอีกระดับยิ่งจำต้องชนะตัวละครในระดับเดียวกันจึงมีผลการเอาชนะขีดจำกัดตนเองได้เมื่อชนกับคู่ต่อสู้ในระดับเดียวกันจึงมีผลให้เกิดการเลื่อนระดับ

การเปลี่ยนแปลงอาวุธ อาวุธไม่สามารถสับเปลี่ยนได้โดยง่ายๆ จำต้องมีความเข้ากันได้ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสัทธาอีกด้วย ส่วนสกิลจะถูกผนึกเป็นแก้วทักษะเหมือนมาเทเรียใส่ในอาวุธ และยิ่งเรื่องกระบวนท่าเลียนแบบจาก magic world online จะมีผลจำเพราะก็แต่พวกอาวุธเทคโนโลยีที่จะเหล่านามธรรมที่จะผลในการสะกดข่มและส่งเสริมแตกต่างกัน พลังชีวิตไม่ได้หมายถึงการตาย แต่หมายถึงพลังในการเชื่อมต่อร่างอวตาร การฝึกยิ่งปืนเข้าเป้ากับฟันดาบเข้าเป้ามีผลเท่ากัน

ทฤษฎี 3 โลก[แก้]

โลกถูกแบ่งออกเป็นสามโลก ได้แก่โลกวัตถุ โลกในจินตนาการและโลกแห่งความฝัน โลกในจินตนาการถูกนำมาสร้างเป็นพื้นฐานของโลกเสมือนดังนั้นจึงมีส่วนประกอบของโลกแห่งความฝันและโลกวัตถุ ซึ่งทำให้ความละเอียดของโลกในจินตนาการมีความละเอียดต่ำที่สุด สามารถออนไลน์แบบไร้สายได้ ส่วนโลกวัตถุจะได้รับการปรับปรุงตลอดเวลาจากผู้ใช้จึงทำให้มีข้อมูลจำนวนมาก จึงสามารถออนไลน์แบบเชื่อมต่อเท่านั้น ส่วนโลกในความฝันซึ่งมีระบบเร่งเวลาจะมีการเชื่อมต่อระบบได้โดยสถานีให้บริการเท่านั้น และในระบบโลกในความฝันไม่สามารถใช้สัญญาได้ ใช้ได้เพียงวิญญาณขึ้นไปเท่านั้นเพราะสมองกำลังหลับอยู่

ด้วยความละเอียดของการเชื่อมต่อที่แตกต่างกัน 3 ระดับ ทำให้อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อโลกทั้ง 3 แตกต่างกัน ในรูปแบบโลกในจินตนาการจะเป็นแบบห่วงคอบศีรษะจนไปถึงหมวก แฮดการ์ด และอาจมีหน้ากากอนามัย แต่ระบบทั้งหมดต้องได้รับฐานข้อมูลคลื่นสมองจากระบบโลกวัตถุซึ่งมีระบบแบบแคปซูลซึ่งสามารถออนไลน์ได้ติดต่อกันไม่เกิน 8 ชั่วโมง ส่วนระบบสุดท้ายเป็นแบบแคปซูลดำรงชีพซึ่งในออนไลน์แบบโลกในฝันซึ่งสามารถใช้งานได้เกิน 8 ชั่วโมง

อื่นๆ[แก้]

The I Ching[แก้]

อี้งจิง คืออะไร [48] อี้จิง เป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเล่มหนึ่ง ความเก่าแก่นักวิชาการประมาณการไว้ที่ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช แต่ที่มีหลักฐานแน่นอนคือสมัยราชวงศ์โจว ซึ่งขึ้นครองอำนาจในสมัย 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งได้รับการเลื่อนฐานะเป็นคัมภีร์คลาสสิกและเรียกว่า"คัมภีร์แห่งการเปลี่ยนแปลง" อันกลายเป็น 1 ใน 6 คัมภีร์คลาสสิกที่บัณฑิตต้องศึกษาในระหว่าง 2,000 ปีที่ผ่านมา

อี้จิง เดิมเป็นเพียงคัมภีร์ที่ไร้อักษร จนถูกเรียกว่า คัมภีร์ไร้อักษร โดยมีเพียง 64 หน้า ซึ่งประกอบด้วยสัญลักษณ์ หยินและหยางวางสลับกันไป บนเส้นทั้ง 6 จนเกิดเป็นฉักกะลักษณ์ทั้ง 64 ซึ่งต่อมา จึงมีการแปลความหมายจากนักปราชญ์ต่างๆ เช่น ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์โจว ซุนวูเจ้าของตำราพิชัยสงครามเลื่องชื่อ ขงจื้อ หลีจิ้ง ขงเบ้ง เจียงจือ่หยา จางเหลียง แม้ทางฝังตะวันออกก็มีการพูดถึง อันได้แก่ กอตต์ฟรายด์ วิลเฮล์ม ฟอน ไลบ์นิซ เจ้าของ คณิตแคลคูลัส มาร์ติน ชอนเบอร์เกอร์ เจ้าของ The Hidden Key to Life

ระบบประมวลผลและประสานงานชีวภาพ[แก้]

สมองของผู้ที่ผ่านมรรคและผลโดยสมบูรณ์ เป็น สุดยอดคอมพิวเตอร์ เพราะเหตุที่สมองทำงานเต็มประสิทธิภาพเกิน 100 เปอร์เซ็น เป็นสิ่งประเมิลค่าไม่ได้ โดยการใช้พลังงานที่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง แต่ก็มีปัญหาอยู่ที่ว่า คอมพิวเตอร์ยุคแรกใช้อิเล็กตอลในการขับเคลื่อน ยุคที่ 2 ใช้ quantum แต่ยุคที่ 3 เพื่อจะขับเคลื่อนโลกเสมือนจริงโดยการใช้สมองมนุษย์ กลับต้องใช้ วิริยะ สติ สมาธิ เป็นพลังในการขับเคลื่อน

ทฤษฎีความน่าจะเป็นในความเร็วแสง[แก้]

ไอสไตน์ได้เขียนทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษขึ้นมา เนื้อความนั้น มากกว่า60% เป็นเรื่องที่แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันก็มิอาจเข้าใจได้ ส่วนใหญ่ของเนื่อเรื่องเนี่ยก็จะพูดถึงเรื่องของเวลาในอวกาศเป็นส่วนใหญ่ สรุปบทใจความตอนหนึ่ง มนุษย์สามารถเดินทางในอวกาศได้ก็ต่อเมื่อ มวลเป็นศูนย์ แต่มีปริมาณเป็นอนันต์ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้นั่นเอง

หากโจทย์นี้เป็นจริง

หนึ่ง วาโยกสิน ให้มีมวลเป็นศูนย์ สอง อัปมัญญา ให้มีมวลเป้นอนันต์ สาม พุทธานุสติ ให้มีรัศมีป้องกันรูป สี่ อาโลกกสิน ให้คลื่นที่ด้วยความเร็วแสง

ก็น่าจะเคลื่อนที่ในความเร็วแสงได้

หอสมุด[แก้]

แบ่งเป็น 3 ส่วน

  1. สำหรับไว้หนังสือสำหรับทั่วไปความรู้เบื้องต้นได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่างๆ หลักสูตรภาษาต่างๆ
  2. สำหรับความรู้ชั้นสูงที่จะต้องค้นคว้าผ่านอินเตอร์เน็ท
  3. สำหรับความรู้ในชุมชนนั้นๆ ได้แก่บันทึกปูมโหรเป็นต้น

โลกเสมือน[แก้]

เป็นแห่งบ่มเพาะหลักในการให้กำเนินปัญญาประดิษฐ์ที่เป็นฐานข้อมูลหลักของหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ในโลกความเป็นจริง โดยอายุของโลกเสมือนจะมีอายุ 500 ปี มีระบบเร่งความเร็ว 5 เท่าจากโลกความเป็นจริง และดำเนินงานขนานไปพร้อมกัน 9 ภพ แบ่งเป็น 3 คูณ 3 โดยจำลองระบบสุริยะเป็น 3 ช่วงเวลา ห่างกัน 35 ปี แบ่งเป็น โลกซึ่งมีฝาแฝดโดยมีดวงอาทิตย์ขั่นกลาง 2 ดวง ดวงแรกระยะเทคโนโลยีจะเริ่มจากยุคอารยธรรมโบราณ อีกดวงจะเริ่มจากอารยธรรมหลังจากสงครามนิวเครียสครั้งแรก ส่วนดวงสุดท้ายเป็นดาวอังคารซึ่งเป็นยุคบุกเบิกอวกาศ ด้วยมีการแบ่งเป็น 3 โลกระบบให้กำเนิดปัญญาประดิษฐ์จึงแบ่งเป็น 3 รูปแบบ

โลกอารยธรรมโบราณจะมีอารมณแบบเดอะเวิร์ดออนไลน์ โดยมีปัญญาประดิษฐ์ที่เกิดจากบุคคลในประวัติศาสตร์และมีพระเจ้าในการให้กำเนิดแบ่งเป็น 4 ประเภทคือหงษ์แดง มังกรเขียว พยัคฆ์ขาว และเต๋าดำ โดยระบบปัญญาประดิษฐ์บุคคลในประวัติศาสตร์จะสามารถเลือกได้ด้วยตนเองว่าจะสังกัดรูปแบบชีวิตของตนในแบบไหน ในหอบุคคลในประวัติศาสตร์จะมีรูปปั้นเพื่อแสดงภารกิจในการรับปัญญประดิษฐ์ไปใช้งาน

  • รูปแบบหงษ์แดง บุคคลในประวัติศาสตร์จะมีการเกิดใหม่เพื่อรีเซ็ตประสบการณ์ทุกอย่างหลังประวัติศาสตร์ จะมี 3 ดวงจากภพทั้ง 9 และมีอายุขัยที่จำกัด เพียง 100 ปีในโลกเสมือน และ 30 ปีในโลกความเป็นจริง แต่เมื่อสามารถอัญเชิญได้แล้ว ไม่ต้องอัญเชิญอีก
  • รูปแบบมังกรเขียว บุคคลในประวัติศาสตร์จะมีรูปแบบจำนวนนับไม่ถ้วนโดยปัญญาประดิษฐ์แต่ละดวงจะมีการสือสารกันแต่ไม่มีการแชร์ประสบการณ์ แต่ปัญหาสำคัญคืออายุขัยจะสั้นเพียง 30 ปีในโลกเสมือน และ 10 ปีในโลกความเป็นจริง และหลังจากสิ้นอายุขัยไปแล้วจะต้องมีการอัญเชิญใหม่
  • รูปแบบพยัคฆ์ขาว บุคคลในประวัติศาสตร์ส่วนมากจะมีเชื่อสายกษัตริย์ เมื่อมีคนที่ประสบความสำเร็จในการอัญเชิญเป็นคนที่ 2 หรือมากกว่านั้นขึ้นไป ปัญญาประดิษฐ์ดวงแรกหรือในกลุ่มนั้นจะถูกดึงความสามารถหรือความทรงจำอย่างใดอย่างหนึ่งไป ยิ่งมีจำนวนดวงวิญญาณเสมือนมาก ความสามารถจะยิ่งลดทอนไป ดังนั้นปัญญาประดิษฐ์จะมีการดวลกันเพื่อทำลายฝ่ายตรงข้ามเพือดึงความสามารถกลับคืนมา ปัญญาประดิษฐ์รูปแบบนี้อัญเชิญยากที่สุด ต้องสร้างความรักเท่านั้นจึงสามารถอัญเชิญได้สำเร็จ และอายุขัยมากถึง 1000 ปีในโลกเสมือน และ 200 ปีในโลกความเป็นจริง
  • รูปแบบเต๋าดำ ระบบนี้จะมีลักษณะเป็นพรตไม่สามารถอัญเชิญมาได้ ได้แต่เดินทางไปเข้าพบและเชิญมาช่วยงานชั่วคราวเท่านั้น แต่จะไม่สามารถผูกมัดได้ เมือมีการกำเนิดโลกอารยธรรมโบราณดวงใหม่ ก็จะย้ายไปดาวดวงใหม่ทันที ดังนั้นอายุขัยจึงมีไม่จำกัด

โลกอารยธรรมหลังจากสงครามนิวเครียสระบบปัญญาประดิษฐ์จะมีความเสมอภาพกับมนุษย์ทำให้มีลักษณะแบบแบ่งเป็นเจ้านายกับลูกน้องที่ต่ำ แต่ข้อเด่นคือความสามารถในการพัฒนาจะสูงและสมดุลไปทุกด้าน

ดาวอังคารระบบปัญญาประดิษฐ์จะมีรูปแบบมาจากจินตนาการจากวรรณกรรมต่างๆ ทำให้มีความหลากหลายและสุดโต่งที่สูง ความสามารถในการพัฒนาจะเด่นไปในทางใดทางหนึ่งไม่มีความสมดุล แต่ข้อดีคือมีจำนวนนับไม่ถ้วนมากกว่าบุคคลในประวัติศาสตร์

โลกเสมือนของม.จัตุรัสศาสตร์ที่เหนือชั้น[แก้]

โลกเสมือนของม.จัตุรัสมีการแบ่งโครงสร้างเป็นหลายชั้น

ชั้นแรกชั้นหลุดพ้นนามธรรม(สุทธาวาส) เป็นชั้นที่ค่อยสั่งสอนนามธรรมขึ้นมาแต่ไม่มีหน้าที่ในการรักษาสมดุลของระบบ เมื่อเริ่มต้นแล้วเป็นหน้าที่และธรรมชาติของนามธรรมในการรักษาระบบ หากผู้สร้างลงไปจัดการระบบจะสูญเสียแรงโคจรของปัจจัยต่างๆไป

ชั้นนามธรรม เป็นผู้สร้างระบบขึ้นมา เหล่านามธรรมจะแบ่งเป็น 3 ระยะ เรียนรู้ บ่มเพาะหน้าที่ และสุดท้ายจะสรุปผลเพื่อถ่ายทอดเป็นสื่อการเรียนรู้ (ระบบขนาดใหญ่มีการร่างโครงสร้าง ทดสอบระบบ เก็บข้อมูลเป็นตัวสุทธิเพื่อลบข้อมูลส่วนเกินที่เหลือ

ชั้นเทวะ เหล่าปัญญาประดิษฐ์ที่บรรลุผล หลังจากดับสูญแล้ว จะมีการดึงฐานข้อมูลออกแล้วนำมารันทดสอบอีกครั้ง แต่การรับรองกันเองของเหล่าเทวะนั้นจะมีผลได้ผลเสีย หากชนะก็จะได้ผลประโยชน์ร่วมกันและสูญเสียเช่นเดียวกัน

ดังนี้โลกเสมือนของเราจึงมีรสชาติมากกว่า

๑.๔ ประชาชน[แก้]

หน้าที่ของสมาชิกสภากองร้อย
  1. การลอกคลองในฤดูร้อนแล้ว ที่ใช้กำลังพลทั้งหมด
  2. จัดการกระแสน้ำในฤดูฝน ที่ใช้กำลังพลเวรกะ
  3. ปั้นไฟในฤดูหนาว ที่ใช้กำลังพล

ศรัทธา[แก้]

การตั้งองค์กรแบ่งเป็น 4 ประเภท องค์รัฐวิสาหกิจ ตั้งขึ้นมาเพื่อจัดการกิจการของรัฐ แบ่งส่วนอำนาจเป็น คณะกรรมการใหญ่ (บอร์ดมีรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า) ผู้บริหารองค์กร (ผู้จัดการใหญ่ซึ่งถูกสรรหาโดยสภาอาชีพแต่งตั้งโดยรัฐบาล) กลุ่มรัฐวิสาหกิจ (แบ่งเป็น 3 ส่วนเท่ากัน คือ ผู้แทนรัฐ ลูกจ้างวิสาหกิจ ลูกค้ารัฐวิสาหกิจ )

องค์กรเอกชน ตั้งขึ้นเพื่อกิจการเพื่อผลประโยชน์ แบ่งส่วนอำนาจเป็น คณะบริหาร คณะการจัดการ กลุ่มผู้ถือหุ้น โดยการแต่งตั้งคณะบริหารจะเกิดจากการเลือกโดยถือจำนวนหุ้นเป็นตัวตัดสิน คณะบริหารเป็นผู้กำหนดแนวทางการดำเนินงานของคณะการจัดการและประเมิลผล ส่วนคะการจัดการเป็นผู้สร้างผลกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้น

สโมสร ตั้งขึ้นเพื่อความชื่นชอบของกลุ่มบุคคล แบ่งอำนาจเป็น กลุ่มผู้ก่อตั้ง(ผู้ถือหุ้นใหญ่ในสโมสรโดยนับเอาเงินทุน ความสามารถ การจัดการกลุ่ม(ดารา)เป็นอัตราส่วนในการถือหุ้น) กลุ่มผู้จัดการ(ทีมผู้จัดการนี้นับรวมเอาการจัดการกลุ่มสมาชิกที่มีความสามารถสูงสุดในการรวมกลุ่มผู้ชื้นชอบ) กลุ่มผู้สนับสนุนสโมสร(สมาชิกของสโมสรโดยหากมีขั้นตอนในการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหญ่ต้องผ่านการโหวตของกลุ่มสมาชิกทั้งหมดเสียก่อน)

สมาคม

กองร้อย

วิถี[แก้]

การแก้ปัญหาประชากรล้นโลก[แก้]

โดยปกติเพื่อพัฒนาผลมวลรวมของประเทศ(GDP)จะมีการส่งเสริมการขยายตัวของประชากร แต่สิ่งที่ตามมาคือการเพิ่มขึ้นของความต้องการของทรัพยากร และท้ายที่สุดสิ่งตามมาคือสงครามเป็นผลให้ให้ประชากรและการทำลายล้างเพื่อสร้างใหม่เป็นผลในบั้นปลาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลที่เลวร้ายในท้ายที่สุด เน้นคุณภาพไม่เน้นปริมาณ จึงมีการเขียนกฏหมายมรดกขึ้นใหม่ ยิ่งผู้สืบทอดในตระกูลนั้นมีจำนวนน้อยเท่าไหร่การเก็บภาษียิ่งน้อยเท่านั้น จากนั้นจะมีการแบ่งประชากรเป็น 2 กลุ่มคือเหล่าผู้พ่ายแพ้และกลุ่มผู้สืบทอด โดยผู้สืบทอดหลังจากอายุครบ 30 ปี จะได้รับการป้องกันเป็นพิเศษ ส่วนเหล่าผู้พ่ายแพ้จะได้รับประกันเพื่อพอให้ยังชีพเท่านั้น แต่ทายาทสามารถเข้าร่วมการแข่งขันในการค้นหาผู้สืบทอดในรุ่นต่อไปได้

การสืบทอดบรรพบุรุษ[แก้]

ตัวละครปัญญาประดิษฐ์ในโลกเสมือนเกิดจากการจำลองจากผู้คนในชีวิตจริง เริ่มจากจากการจำลองผู้คนในระดับชนชั้นล่างจนไปถึงชนชั้นสูง ตัวละครปัญญาประดิษฐ์ของบุคคลในประวัติศาสตร์จะมีระดับซิงค์โคเป็นเปอร์เซ็นในการจำลอง โดยมีบรรดาโปรดิวเซอร์ตัวละครเสมือนในการควบคุม และมีนักประวัติศาสตร์ในการตรวจสอบรับรอง ในอีกส่วนหนึ่งคือการจำลองชีวิตของบุคคลในชีวิตปัจจุบัน โดยใชัการทำงานของเฟสบุ็คในการจำลองขึ้นมา

การยกระดับชนชั้น[แก้]

เป็นธรรมดาที่มนุษย์จะไม่เท่าเทียมทำอย่างไรที่จะทำให้คนที่มีทรัพย์สินและโอกาสมากเจือจุนคนที่มีทรัพย์สินและโอกาสน้อย การใช้ตำแหน่งในสภากองร้อยเป็นสิ่งแลกเปลี่ยนดึงเอาทรัพย์สินและโอกาสมาเป็นตำแหน่งและอาจใช้ตำแหน่งเพื่อแสวงหาทรัพย์สินและโอกาสในระดับที่สูงขึ้นไป

ชีวิต[แก้]

ความเสี่ยงต่อชีวิตเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดสติแก่มนุษย์มากที่สุด ความสงบสุขและปลอดภัยต่อชีวิตในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ทำให้การยกระระดับของคำว่า มนุษย์ ยำแย่ลง

ความยั่งรู้สิ่งลี้ลับประจำตัว[แก้]

เหนือขึ้นไปมีคนเฝ้าดูอยู่ สำหรับคนที่มีความรู้สึกไวในการใช้ชีวิตสังเกตดูวาสนาและกรรมที่เกิดกับชีวิตมีขึ้นมีลงตามการปฏิบัติของตนมันทำให้รู้สึกว่ามีคนคอยเฝ้าดูอยู่ (ความรู้สึกนี้จึงทำให้ผู้คนคิดว่ามีสิ่งลี้ลับประจำของตน จึงเป็นที่มาของการเข้าทรง)ไม่ว่ามันจะมีใครเฝ้าดูอยู่หรือไม่เนื่องจากไม่ได้เห็นกับตาตัวเองการรักษาสติไว้เพื่อไม่ให้หลงกลับโมหะเป็นสิ่งที่แข็งแกร่งที่สุดของผู้มีสติ เพราะว่าหากมีสิ่งลี้ลับคอยเฝ้าอุปถัมภ์ คนที่มีจุดอ่อนในจิตใจจริงมากกว่าอ้อนวอน คนที่คิดอยากได้โดยไม่กระทำจริงมักหลอกลวง ในทางพุทธศาสนามันจึงมีการพูดถึงกฎแห่งกรรมแทนที่จะบอกว่ามีคนคอยเฝ้าดูอยู่

พลัง[แก้]

มรรคา[แก้]

อื่นๆ[แก้]

เด็กทารก[แก้]

เด้กทารกต้องได้รับความคุมครองจากบิดา หากบิดาใดหลีกหนีความรับผิดชอบ มีโทษสูงสุดที่การจับตอน(ยึดหยุดลงที่การจับทำหมั่นชั่วชีวิต)
เด็กทารกต้องได้รับนมจากมารดาเป็นเวลา 2 ปี และมารดาจะต้องได้รับเบี๊ยน้ำนมเป็นเวลา 2 ปีเช่นกัน
เด็กหลังจากครบ 2 ขวบต้องได้รับมารดาบุญธรรมผู้สอนภาษาที่ 2 ให้ จนกว่าจะอายุครบ 4 ขวบ
เด็ก 4 ขวบ ต้องได้รับการศึกาาเบื้องต้นจากกองร้อยของบิดาตนเอง
เด็ก 7 ขวบต้องได้รับการศึกษาเบื้องต้นจากส่วนกลาง 9 ปี
เด็กอายุ 15 ปีต้องได้รักการศึกษาจากสภาอาชีพ
หลังจากจบการศึกษาจากสภาอาชีพ 7 ปี เด็กจะพ้นสถานะผู้ศึกษา 22 ปี และสามารถเปลี่ยนนามสกุลจากของมารดาไปใช้นามสกุลอื่นได้ ซึ่งเป็นการแสดงถึงความเป็นผู้ใหญ่

ภาษี[แก้]

การเก็บภาษีเงินได้ขั้นต่ำที่สุด เป็นหน้าที่ของจักรพรรดิที่ประพฤติตนเป็นตัวอย่างว่าอยู่อย่างพอเพียงเป็นอย่างไร เมื่อทำบัญชีใช้จ่ายแล้ว จึงนำมาเป็นเกณฑ์ในการคิดภาษีเงินได้ขั้นต่ำ และขยับเป้นขั้นบันไดกับราฏษร

การเก็บภาษีเพื่อสังคม ผู้ที่ได้รับรายได้จากผู้อื่นมากขึ้น ต้องทำงานเพื่อสังคมมากขึ้น


ภาษีสิ่งแวดล้อม อากรข้าว คุณภาพดิน และการเพาะปลูก

ระบบพ่อค้า[แก้]

การคำนวนกำไรตามกฏหมาย กำไรถูกบังคับให้คำนวนเท่าอัตราดอกเบี้ยและค่าเงินเฟ้อ(เงินฝากไม่ได้สิทธิคำนวนเงินเฟ้อ) แต่ต้นทุนอื่นๆอนุญาตให้ใส่ได้ไม่จำกัดแต่ต้องทำบัญชีแสดงต่อตลาดหลักทรัพย์

กำลังพล[แก้]

เปลี่ยนใหม่จากากรเกณฑ์ทหารเพศชาย 20 ปี เป็น ทั้งชายและหญิง 16-22 ปี เพื่อขุดลอกและบำรุงรักษาแม่น้ำและแหล่งน้ำ

โดย 16-18 เป็น ลูกเสือวิสามัญ และจาก 19-22 แยกเป็น
หญิงมีหน้าที่ คุมเครื่องจักร อาหาร
ชายมีหน้าที่ เสือหลวงพรานป่า นายช่างซ่อมเครื่องจักร

ดารา[แก้]

เป็นผู้แสดงเล่ห์เหลี่ยมของมนุษย์ เป็นครูชั้นสูงที่สอนให้มนุษย์เข้าใจในสังคมของมนุษย์ด้วยกันเอง ดาราที่ประสบความสําเร็จสูงสุด คือ สอนให้มนุษย์รู้จักมองว่ามนุษย์แต่ละคนเหมือนกันและแตกต่างกันอย่างไร

๒ การเล่าเรื่อง[แก้]

แนวทางเขียน ไซอิค ข้อสังเกตจากการสร้างภาพยนต์นางนากอ้างอิงจาก แนวการทำภาพยนต์เรื่อง นางนาก ของ นนทรีย์ นิมิบุตรในหนังสือชื่อเรื่อง นางนาก นนทรีย์ นิมิบุตร หนังสือในเครืออมรินทร์เป็นแนวทางเขียนแบบ THE MAKING OF ซึ่งเป็นเป็นการเล่าขานถึงการทำหนัง

INTRODUCTION คำนำ การเริ่มตั้งโจทย์

นนทรีย์ นิมิบุตร หลังจากดูมาหลายภาค มันออกไปทาง แฟนตาซีทั้งหมด เลยอยากได้ในมุมของ realistic { เป็นจริง เหมือนจริง เกี่ยวกับความจริง เป็นไปได้ }

ไซอิค. ส่วนนี้เเป็นสิ่งที่ ไซอิค ต้องการ realistic { เป็นจริง เหมือนจริง เกี่ยวกับความจริง เป็นไปได้ } เพราะเป็นมายาที่ต้องการให้เชื่อ และต้องไม่ แฟนตาซี

นนทรีย์ นิมิบุตรเมื่ออยากจะเห็นอย่างที่ตัวเราอยากเห็น นั่นเป็นเป้าหมายแรก เป้าหมายต่อไป คำถาม คือ มันน่าสนใจอย่างไร เรื่องนางนาก ถึงต้องได้เป็นภาพยนตร์ของ นนทรีย์ นิมิบุตร ตอบได้ว่า

  1. หลังจาแยกความเป็นตุเป็นตะออก รายชื่อที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องได้แก่ สมเด็จโต กรมหลวงชุมพร และหลักฐานต่างๆ ทีมีคนค้นไว้ มันดูราวกะว่า เราถูกข้อมูลเหล่านั้น กล่อมให้รู้สึกว่ามันจริงมากๆ เลย
  2. บวกกับเสน่าห์ของยุคสมัย ร.๕ ซึ่งคลาสิกมากๆ และการที่ภาพถ่ายสมัยนั้นที่เริ่มมีมาก ทำในเห็นรูปแบบอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ ความตายด้านที่ต้องการให้มีชีวิต
  3. ประเด่นที่เสริมความเป็นจริงที่ต่างจากเวอร์ชั่นที่แล้วๆมา ที่ว่า
    1. ผมเคยถกเถียงกันเรื่องในเรื่องของความรักของคนที่บอกว่า จะมีผู้ชายสักคนไหมที่รักผุ้หญิงที่สุดในโลก? คำตอบคือ ไม่มี ไม่มีใครเชื่อว่ามี แต่ทว่าในมุมองของ"ผู้หญิง" มีคนเชื่อว่ามี แต่ยังไม่ใช่ประเด่นใหญ่
    2. แต่เรื่องนางนาก ทุกครั้งที่เราเห็น นายมากก็มีเมียใหม่ แล้วการอาละวาดของนางนากแต่ละครั้งมันเป็นแรงริษยาอาฆาต ตรงนี้มันเป็นพื้นของความรัก แต่ว่าความรักแบบนั้นมันไม่เป็นรักที่รักเอาไม่เป็นเสียเลย (สงสัยรักแบบเกรียนๆ+แว้นแว้น)
    3. หากเป็นแนวความรักอุดมคติ รักคือการให้ เมื่อเสียเธอไป แต่เธอมีความสุขก็ยินดี (มันใช่มุทิตาไหมว่ะเนี่ย) แต่นางนากมี่เราเห็นไม่ใช่แบบนั้น ***แต่รากลับมองว่า ความรักที่นางนากมีให้ผัว(นั้น)เป็นเพราะผัวมีความรักเหล่านี้กลับมาอยู่ตลอดเวลา (ในเมื่อ)เขาไม่เชื่อว่าผัวเขาไปไหน เขาเชื่ออยู่ตลอดเวลาว่า ผัวก็รักเขา ตัวเขาเองต่างหากที่แยกจากผัวมา แยกจากความรักออกมาด้วยความตายของเขากับลูกของเขา

VERSION

เรื่องราว  เรื่องเล่า  คำแปล  

นนทรีย์ นิมิบุตรอย่างแรกการแบ่งโทนหนัง ตอนแรกต้องการ ความรัก 50 เรื่องของผี 50 แต่ไปๆมาๆ กลายเป็น ความรักถูกห่อหุ้มด้วยความน่าสะพรึงกลัวและหลังจากนั้นก็ตั้งแก่นหรือนิยามอย่างหยาบๆ ซึ่งเรื่องนี้ก็คือ "ความตายมาพลัดพรากความรักจากกัน" ส่วนวิธีเล่าเรื่อง เราเล่าโดยผ่านตัวนายมาก ถ้าถามว่าใครเป็นคนเดินเรื่องนนี้ คำตอบคือนายมาก เพราะว่าตัวละครที่เป็นนายมากเป็นตัวละครที่มีกิจกรรมมากที่สุด

ประโยคเด็ด[แก้]

ความรัก[แก้]

"การเพิกเฉยคือที่สุดแห่งความสุข" House M.D Season2 ep 15 Clueless 41.36/43.58

"ความรัก หากประกอบด้วย ราคะ ความหลงไหลใน รูป รส กลิ่น เสียง โลภะ ความยึดติดใน ฐาน ชาติสกุล ยศศักดิ์ โมหะ ความไม่จริงแท้ซึ่งต่างจากความจริง ความรักซึ่งประกอบด้วย 3 ประการนี้ ถือว่าไม่ใช่รักบริสุทธิ์"

ความต่างเรื่องขายหญิง[แก้]

ชาย "อันที่จริง บางครั้งคนเรารู้จักแบ่งปันบ้างก้เป็นความสุขอย่างหนึ่ง" หญิง "งั้นหรือ เช่นั้นเหตุใดท่านไม่ยกสตรีของท่านให้ชายอื่นแบ่งปันความสุขดูสักครั้ง" ชาย "แล้วบุตรที่เกิดขึ้น ข้าสมควรเลี้ยงดูเองหรือยกให้ชายอื่นเล่า" หญิง "อย่างนั้นไม่เรียกว่าความเห็นแก่ตัวของบุรุษหรือ" ชาย "เช่นนั้นทำไมท่านจึงไม่เกิดเป็นบุรุษล่ะ"

เราสร้างโลก[แก้]

เดิมนั้นในโลกนี้ได้มีอยู่สองสถานะคือ 1 กับ 0

มีหลายคนบอกว่าโลกนั้นพระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้สร้างขึ้น และพระผู้เป็นเจ้าสถิตอยู่ในทุกตัวคน มันหมายความว่าอย่างไร ?

เต๋าเต็กเก็ง ภาค ๑ บทที่ ๒ สิ่งต่างๆ อุบัติขึ้นด้วยการเปรียบเทียบ(ครึ่งบทแรก)

เมื่อคนในโลกรู้จักความสวยว่าสวย ความน่าเกลียดก็อุบัติขึ้น เมื่อคนในโลกรู้จักความดีว่าดี ความชั่วก็อุบัติขึ้น

มีกับไม่มีเกิดขึ้นด้วยการรับรู้ ยากกับง่ายเกิดขึ้นด้วยการรู้สึก ยาวกับสั้นเกิดขึ้นด้วยการเปรียบเทียบ สูงกับต่ำเกิดขึ้นด้วยเทียบเคียง เสียงดนตรีกับเสียงสามัญเกิดขึ้นด้วยการรับฟัง หน้ากับหลังเกิดขึ้นด้วยการนึกคิด

นี่คือทฤษฏีที่คิดกันในสมัยพันกว่าปีก่อนหน้านี้ แล้วมันหมายความว่าอย่างไร ?


The Crown 2016 Netfix[แก้]

ภายใต้ธรรมนูญแห่งสหราชอณาจักร ประกอบด้วย ความทรงเกียรติ(ความมั่นคงแห่งจิตใจ) และ ความทรงประสิทธิภาพ(หนทางในการแก้ปัญหา) ราชวงค์ คือ ส่วนที่ทรงเกียรติ รัฐบาล คือ สิ่งที่ทรงประสิทธิภาพ ทั้ง 2 ส่วนจะประสานงานด้วย ความเชื่อใจ และ ความซื่อสัตย์ ซึ่งกันและกัน

แบบเพชรพระอุมา[แก้]

แบบกิมย้ง[แก้]

แบบสามก๊ก[แก้]

ตอนที่ 1[แก้]

ออกอากาศวันที่ 30 ม.ค.2560

http://tv.bectero.com/ThreeKingdoms/rerun.php?pml=31061

ฉากที่ 1 05.30

โจโฉรั้งใต้เท้าท่านหนึ่งเอาไว้ สนทนาถึงงานเลี้ยงวันเกิดอ้องอุ้น แต่สุดท้ายคุยไปคุยมา โจโฉก็กล่าวแดกดัน ถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้ คนเรามีการการกระทำแปรเปลี่ยนไปตามรูปลักษณะ 2 อย่าง คือ ความรู้สึกและเหตุผล การกล่าวแดกดันครั้งนี้เป็นเพราะความรู้สึกหรือเหตุผล โจโฉถูกมองว่าเป็นคนที่ประจบสอพอตั๋งโต๊ะจึงไม่มีขุนนางใดคบหาด้วย หากบอกว่าเหตุที่ทำให้โจโฉทำเช่นนี้ มีเหตุผลเพื่อให้เข้าถึงตัวอ้องอุ้น ก็ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้นถ้ามองในมุมมองมือสังหารเพื่อกำจัดทรราช ควรพูดคุยให้ดีกว่านี้ และเมื่อดูจุดประสงค์ในระยะยาวกลับกลายเป็นว่าโจโฉน่าจะมองหาคนหนุนหลังมากกว่า ดังนั้นการกล่าวแดกดันจึงเป็นการใช้อารมณ์ความรู้สึกที่ถูกกีดกันออกจากกลุ่มล้วนๆ

ฉากที่ 2 18.30

การลอบสังหารตั๋งโต๊ะหากต้องการสังหารจริงๆ ไม่จำเป็นต้องใช้อาวุธที่สามารถทลวงชุดเกราะก็ได้ ตะเกียบเงินก็เคยเป็นอาวุธในการสั้งหารเจ้าผู้ครองแคว้นมาแล้ว เหตุนี้การเข้าหาอ้องอุ้นของโจโฉน่าจะเป็นการหาหลักประกันอำนาจหลังจากทำการสำเร็จมากกว่า นี้จึงเป็นเหตุผลสำดัญที่โจโฉเข้าหาอ้องอุ้น

ฉากที่ 3 26.35

การที่โจโฉได้พบกับลิโป้ ทำให้เขาคิดได้ว่าผิดแผน การเลี้ยวหลังไปมองเป็นการแสดงออกถึงการรู้สึกตัวว่าการลอบสังหารแล้วมีชีวิตรอดกลับไปไม่ไช่เรื่องง่าย

ตอนที่ 2[แก้]

ออกอากาศวันที่ 31 ม.ค.2560

http://tv.bectero.com/ThreeKingdoms/rerun.php?pml=31094

ฉาก 1 21.00

ทำไมตั๋งโต๊ะจึงรู้ว่าดาบที่โจโฉนำมามอบให้จึงมีชื่อว่าดาบ 7 ดาว การทำเช่นนี้ทำให้ตั๋งโต๊ะรู้ว่าเบื้องหลังโจโฉคืออ้องอุ้น แบบนี้ไม่เท่ากับผลักอ้องอุ้นไปให้ตั๋งโต๊ะหรอกหรือ หรือที่แท้เป็นอุบายให้ตั๋งโต๊ะหันไปจองเล่นงานอ้องอุ้นเพื่อดึงความสนใจถ่วงเวลาให้โจโฉหนี

อ้องอุ้นหลังจากรู้ตัวว่าตั๋งโต๊ะจองเล่นงานก็กลับมาบ้านสั่งให้พ่อบ้านจัดการแยกย้ายบ่าวไพร่ เพราะรู้ตัวว่าเดี๋ยวตั๋งโต๊ะต้องส่งคนมาที่บ้าน หลังจากนั้นก็เตรียมตัวฆ่าตัวตายด้วยดาบที่คนในบ้านเข้าใจว่าคือดาบ 7 ดาว เตียวเสี้ยนซึ่งขึ้นชื่อเป็น 4 ยอดหญิงงามและเป็ยบุตรบุญธรรมเข้ามาห้าม แจกแจ้งให้อ้องอุ้นได้สติ(ซึ่งไม่ทราบว่าตั้งใจหลอกคนในบ้านเหมือนกรณีดาบ 7 ดาวที่โชว์ไว้ในบ้านหรือไม่ และไม่รู้ทำไมพ่อบ้านได้รับคำสั่งแยกย้ายแล้วจึงวิ่งไปหาเตียวเสี้ยน แทนที่จะเป็นฮูหยินหรือผู้เป็นใหญ่ในบ้านคนอื่นๆ)

หลังจากลิโป้เข้ามาตรวจค้นก็บังเอิญให้เตียวเสี้ยนไปยืนอยู่ใกล้ๆ ดาบ 7 ดาวเหมือนเป็นการบอกกลายๆ ว่าดาบ 7 ดาวที่โจโฉได้ไปไม่ใช่ดาบ 7 ดาวที่แท้จริง จากนั้นยังมีการยืนยันพยานว่าอ้องอุ้นไม่เกี่ยวข้องกับโจโฉ (แถมยังมีหญิงงามเป็นคนกล่าว) จนลิโป้เชื่อและถอนกำลังทหารกลับไป

คนที่ขึ้นมาเป็นใหญ่ไม่มีใครธรรมดาจริงๆ


ตอนที่ 3[แก้]

ออกอากาศวันที่ 1 ก.พ.2560

http://tv.bectero.com/ThreeKingdoms/rerun.php?pml=31095

ฉากที่ 1 00.45

ถามว่าทำไมโจโฉหลบหนีการตามล่าได้มานานสุดท้ายทำไมจึงตกมาอยู่ในมือตันก๋ง (หรือเฉินกง สกุลเฉินเดิมเป็นสกุลขุนนางใหญ่มาแต่โบราณมีลูกหลานมากมายเทียบเท่าสกุล หวัง หยาง หลี ในบ้านเราก็คือแซ่ ตั้น หรือ ตั๋น ตอนหลังตันก๋งเป็นกุนซือใหญ่ให้กับลิโป้) ตันก๋งเคยมีเรื่องกับโจโฉตอนเข้าไปในเมืองหลวง แต่ถูกโจโฉบอกว่าในเมืองหลวงมีแต่กังฉินอย่าเข้ามาเลย และไม่ย่อมพบหน้าอีกด้วย หลังจากถูกจับตันก๋งเข้ามาพบโจโฉสุดท้ายถูกโจโฉกล่อมจนเข้าร่วม

หากมองว่าแผนการลอบสังหารของโจโฉเป็นแผนลูกโซ่ แท้จริงไม่ได้ต้องการเพื่อสังหารตั๋งโต๊ะ แต่เป็นการจุดฉนวนให้โจโฉสามารถระดมชักชวนผู้คนเพื่อเทียบกับอ้วนเสี้ยวได้ การที่อ้วนเสี้ยวชักทัพเข้ามาจึงเป็นเหตุให้โจโฉลงมือ เพราะหากลงมือช้ากว่านี้ผู้คนจะไหลไปร่วมกับอ้วนเสี้ยวกันหมด

ฉากที่ 2 10.35

ฉากโจโฉกล่อมตันก๋งว่าอ้วนเสี้ยวผู้มีตระกูลสูงศักดิ์แต่ไร้สามารถ

ฉากที่ 3 20.35

ทำไมโจโฉถึงบอกให้ตันก๋งลงมือสังหารคนในบ้านหลังจากสงสัยว่าทรยศ ทั้งๆที่เป็นเพื่อนพ่อ แต่ถึงกับลงมือแทนที่จะหลบหนี หรือเป็นการทดสอบว่าตันก๋งเชื่อฟังตนขนาดไหน(จากการสังเกตโจโฉเป็นคนที่ไม่ค่อยเชื่อถือใคร คนสนิทใกล้ชิดก็มักเป็นญาติพี่น้องเท่านั้น)

ฉากที่ 4 25.00

หลังจากที่โจโฉลงมือสังหารลุงซึ่งเป็นพี่น้องร่วมสาบานกับบิดาซ้ำ ตันก๋งก็มีถึงขีดสุดแตกหักกับโจโฉ จนกลายเป็นอมตะวาจา "ข้าย่อมผิดกับคนทั้งแผ่นดิน แต่ไม่ย่อมให้ใครผิดต่อข้า"

แบบสามชาติสามภพป่าท้อสิบหลี่[แก้]

ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับการเป็นเทพเซียน แต่เป็นเรื่องของอายุและประสบการณ์ ในขณะที่นางเอาอายุ 140,000 ปี พระเอกในชาติใหม่กับอายุ 50,000 ปี ซึ่งแต่เดิมเป็นถึงเทพรุ่นที่ 2 นับแต่บรรพกาลแบ่งแยกฟ้าดิน ด้วยการที่อายุห่างกัน 90,000 ปี แต่สังขารกับหยุดลงตั้งแต่รับการทดสอบจากฟ้าด้วยอัสนีบาส 3 สาย ซึ่งเป็นทางแยกของการเป็นเทวดาธรรมดาวิวัฒนาการกลายเป็นผู้อยู่เหนือดินฟ้า การที่ประสบการณ์ห่างกันขนาดนี้กลับกลายเป็นประเด็นสำคัญทืี่ตัวละครไม่มีลักษณะนิสัยเป็นไปตามตัวละครปกติ ในสถานการณ์ปกติ

แบบแฮร์รี่ พอตเตอร์[แก้]

การเป็นพ่อมดใน แฮร์รี่ พอตเตอร์ คือการเป็นนายแห่งสรรพสิ่ง บันดาลให้ทุกอย่างเป็นไปตามปรารถณา

แบบตัดต่อของ evangelion[แก้]

๒.๑ กรุตัวละคร[แก้]

รูปแบบตัวละคร ในตัวละครตัวหลัก ถูกประกอบการผูกดวงทางโหรศาสตร์ เป็นการสร้างมิติให้แก่ตัวละคร ซึ่งการดำเนินเนื้อเรื่องก็จะการหมุนไปตามการโคจรของดาวอันไม่เหมือนในโลกปกติ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อตัวละครตัวอื่นเช่นกัน

ตรีลักษณ์ภายใน[แก้]

ตรีลักษณ์ภายนอก[แก้]

ตัวละครในนวนิยายต่างๆ[แก้]

ตงฟางปุ๊ป้าย บุคลิกลักษณะ เป็นอย่างไรกันแน่ แต่ละเวอร์ชั่นเป็นแบบไหน การกลายพันธ์ของตัวละครที่เกิดจากกระแส ส่งผลต่อเนื้อเรื่อง

๒.๒ แนวคิด[แก้]

อะไรคือด่านตรัสรู้[แก้]

ในบรรดานิยายฝ่าด่านส่วนมากคือสะสมพลังเพื่อบรรลุด่าน แต่ทางพุทธกับตรงข้ามมันคือการละสังโยชน์ พระพุทธเจ้าสั่งสมบารมีแล้วทำการระลึกชาติเป็นจำนวนมาก

ทฤษฎีใหม่คือการผ่านการเริ่มต้นจนถึงจุดจบจำนวนมากเพื่อทำให้ตัญหาเสื่อมพลังลง

ด้วยดาบแห่งอินทรีย์ 5 ฟัน สังโยชน์ 10 ของ สัญญา วิญญาณ และบรรลุ ปัญญา ละทิ้งดาบ เมื่อนั้นเรียกว่า บรรลุ

การบำเพ็ญเพียรลัทธิเต๋า[แก้]

คือการกระโดดออกจากกระแสแม่น้ำแห่งวัฎฎสงสาร

เริ่มจากบำเพ็ญกาย ให้มีแรงป้องกันให้เมื่อกระโดขึ้นไปแล้วไม่ตกลงมาบาดเจ็บ

บ่มเพาะกำลังจิต เนื่องวัฎฎสงสารเป็บกระแสแห่งอารมณ์ความรู้สึก จึงต้องสั่งสมกำลังจิตเพื่อกระโดดออกไป

เคล็ดวิชาบ่มเพาะ เคล็ดเหล่านี้จำแนกกันตามเหมาะยกตัวอย่างเช่น การสั่งสมแบบสมดุลของอินทรีย์5

ตำราวิชาบ่มเพาะยืดอายุขัย[แก้]

  • ขั้นที่ 1 การจัดระเบียบร่างกาย บริหารระบบอวัยวะ ระบบมาฃเดินหาย ระบบย่อยอาหาร ระบบอิริยาบททั้ง 4
  • ขั้นที่ 2 การลดการเต้นของหัวใจ การกำหนดลมหายใจช่วยในการควบคุมการเต้นของหัวใจ
  • ขั้นที่ 3 การเพ่งพินิจจิต มนุยิ่งมีชีวิตยาวนานจิตใจย่อมเสื่อมลง

การบ่มเพาะแก่นชีวิต[แก้]

แก่นชีวิต คือ สิ่งที่เด็กทารกใช้ในการเจริญเติบโตจากการเริ่มปฎิสนธิจนเติบใหญ่ การบ่มเพาะแก่นชีวิตคือการพื้นฟูแก่นในการเจริญเต็บโตของเด็กทารกขึ้นมาอีกครั้ง มีอีกหลายนัยยกตัวอย่างเช่นเถียนตันเป็นต้น

มีอีกนัยหนึ่งคือการควบแน่นผลจากการหายใจเอาอากาศเข้ามาควบแน่นเป็นก้อนซึ่งสามารถนำเอาใช้ได้เหมือนไขมันที่สะสมในร่างกาย

แต่โดยสรุป คือการควบแน่นมวลสารแห่งชีวิต มีบางคำบอกเล่าที่หมายเอามีฐานล่างเพศชายเป็นธาตุไฟ แต่มีหัวใจเป็นธาตุน้ำ ตรงกันข้ามกับเพศหญิงที่ฐานล่างเป็นหยิงแต่หัวใจเป็นธาตุหยาง

เม็ดยาเซียน[แก้]

เม็ดยาเซียนมีกระบวนการหลอมต่างจากยาทั่วไป เพราะมีการบรรจุค่ายกลหรือจุลินทรีย์ลงในเม็ดยา เมื่อเก็บในสถานที่เหมาะสมด้วยกระบวนการที่ถูกต้อง เม็ดยาจะมีการเติบโตในด้านคุณภาพสูงขึ้นจนกลายเป็นยาวิเศษ

แนวคิดความเท่าเทียม[แก้]

ภายใต้แนวคิความเท่าเทียมกันได้ผูกพันธ์กับศาสนาสริสต์ของอเมริกา ม่านม่านชิงหลัว เล่ม 2 หน้า115

แนวคิดใช้มนุษย์ในการทดลอง[แก้]

ในการตูน satanophany บทที่ 24 ที่มีการทดลองสืบทอดสัญญาของฆาตกรต่อเนื่อง https://mangauptocats.online/manga/satanophany/ ที่รุกล้ำจริยธรรมของมนุษย์ในการทดลอง แต่แนวทางที่ถูกต้องต้องเอาอย่าง เฉินหนง (จีน: 神農; พินอิน: Shénnóng) ผู้เป็น 3 ราชา 5 จักรพรรดิ บุกเบิกการแพทย์โดยใช้ตัวเองเป็นหนูลองยา บรรพบุรุษการแพทย์จีน

๒.๓ การตีพิมพ์[แก้]

ในภาคหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ นอกจากการการเผยแพร่บนเว็บอ่านฟรีทั่วไปแล้ว มีการรวบรวมรูปเล่มเพื่อง่ายในการอ่าน และมีการแบ่งเรทในการจำแนกการเข้าถึงดังนี้

  1. Rate 0 โครงเรื่องสำคัญ เป็นรูปเล่มอย่างย่อ
  2. Rate +12 เวอร์ชั่นเด็กดี
  3. Rate +15 อรรถกถาธรรม มากการเพื่มอ้างอิงอธิบาย โดยเฉพาะเนื้อหารที่เข้าใจยาก คำศัพท์ที่ไม่มีการใช้กันปกติ
  4. Rate +18 ขยายเรตการเข้าถึง อาจมีฉากมากกว่าจูบแต่ไม่ถึงกับร่วมเพศปลุกใจ
  5. Rate +25 ขยายเรตการเข้าถึงขีดสุด ไม่มีการตัดทอนใดๆ
  6. Rate +33 เวอร์ชั่นไม่จำกัดศีลธรรม

ไฟล์ต้นฉบับเป็นไฟล์ txt จะมีประมาณ 2 แถวแนวนอนหรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับว่าในไฟล์นั้นมี rate อยู่เท่าไหร่ คือ เรท 0 เป็นหลัก และเรทอื่นที่ใช้ตีพิมพ์จริง 1 แถวแนวนอนประกอบด้วย 3 ส่วน หรือ 3 แถวแนวตั้ง(มีเครื่องหมายแบ่งส่วนด้วยเลขไทย"๐")คือ

  1. หมายเลขแบ่งภาค เล่ม บท ตอน ฉาก ย่อหน้าที่
  2. หมายเลข rate
  3. เนื้อความ ซึ่งมีเครื่องหมายขึ้นบรรทัดใหม่(enter)ด้วยเลขไทย"๑" และเครื่องหมายเว้นย่อหน้า(Tab)ด้วยเลขไทย"๒"
ที่ไฟล์ต้นฉบับเป็นไฟล์ txt นั้นเพื่อเวลาที่รวมย่อหน้าที่ ฉาก ตอน ทำบน Excel เพื่อที่จะสะดวกในการรวมเล่ม การใส่เลขไทยก็เพื่อเมื่สั่งรวมเล่มแล้ว ใช้คำสั่ง Replace จะสามารถจัดย่อหน้าได้โดยสะดวก

การพิมพ์ฉบับกระดาษแลอื่นๆ[แก้]

  1. แบบมินิพ็อกเก็ตบุ๊ค เป็นนิยายตรงๆ ไม่มีสิ่งใดประกอบ มีขนาด A6 เหมือนที่นิยมพิมพ์ ไลต์โนเวล
  2. แบบสมุดปกแข็งขนาดใหญ่ พิมพ์บนกระดาษอาร์ตมัน มีขนาด A4 ปกหลังมีช่องเก็บ Disc และ Memory cards ที่เก็บสื่อดิจิตอลทั้งหมดที่เกี่ยวกับเล่มนั้น
  3. แบบมินิพ็อกเก็ตอีบุ๊ค เน้นจำหน่ายบน Google Book Store โดยแต่ละเรทจะมีการจำแนกออกจากกัน มีราคาเป็นกำแพงป้องกันในการเข้าถึง
  4. Digital Magazing (beartai Ep279) ตัวนวนิยายเป็นคอลัมนั้นจะวางขนานกับภาพประกอบซึ่งเป็น cinemagraph (Beartai 252) ในเวอร์ชั่นอินเตอร์เน็ทโดยในภาพมีเนื้อหาขนานเช่นเดียวกับเนื้อหาตัวอักษร แล้วเพิ่มคำขยาย มีเชิงอรรถ บทวิจารณ์และแผนที่จะพิมพ์เปิดให้อ่านในเน็ทเมื่อครบ 8 เล่ม และเพิ่มเนื้อหาอย่างสมบูรณ์

เงินที่ได้จากการจำหน่าย[แก้]

จะมีการจัดทำบัญชีแสดงบน Facebook ในหน้ากลุ่ม กองทุนไซอิค

๓ เก้าภาคหลัก[แก้]

การแบ่ง 8 ภาค 64(8x8) เล่ม 384(64x6) บท 832(64x13) ตอน

9 ภาค กล่าวถึง 1 สตรี 8 กษัตริย์ กษัตริย์ในที่นี้มิได้หมายถึงเชื่อพระวงศ์ผู้ครองแว่นแคว้นใด หากยึดเอาความหมายของคำว่าผู้รักษาเขตแดนที่เป็นนามธรรม นามธรรมในที่นี้คือลักษณ์ทั้ง 8 จากแผ่นภาพปากัวต้นกำเนิด

ใน 1 ภาคของชุดหลัก 8 ภาคต้นประกอบด้วย 64 เล่มตามฉักกะลักษณ์ในคำภีร์อี้จิง ซึ่งหนึ่งเล่มจะสามารถนำมาสร้างอนิเมชั่นได้ 1 ซีซั่น คือ 12+1(ปฏินิทเทศ) ตอน เช่นเดียวกับจำนวนตอนในหนังสือ ซึ่ง 1 บทอาจมีมากกว่า 1 ตอน แต่ต้องไม่น้อยไปกว่า 1 ตอน 1 ตอนในที่นี้จำต้องอธิบายเส้นหยินหยางในบทนั้นให้ควบถ้วนสมบูรณ์ และยิ่งบทใดมีมากกว่า 1 ตอน พุทธภาษิตที่ใช้ขึ้นตอนต้องมีการเชื่อมโยงกันเหมือนการเขียนกระทู้นักธรรม ซึ่ง 1 บทอาจมีมากถึง 7 กระทู้ (บทอื่นๆ มี 1 ตอนรวม 5 ตอน + บทที่มีตอนมาที่สุด 7 ตอน + บทปฏินิทเทศ 1 ตอน)
ทุกการขึ้น 1 ตอนจะยกเอา 1 พุทธภาษิตขึ้นนำ

ดังในรูปเล่มมินิพล็อกเก็ตบุ๊คจึงไม่ต่างจากกระทู้เรียงความ ซึ่งต้องประกอบด้วย

  1. บทอุเทศ เล่าถึงภาพรวมในขั้นต้น ตั้งเป็นโจษย์สำหรับขั้นต้นในการมองปัญหา จะเรียกว่าโครงเรื่องเริ่มต้นก็เรียกได้ในการเขียนกระทู้ สิ่งนี้เรียกว่ากระทู้อุทเทศ ซึ่งเป็นโจษย์ที่ได้รับมา
  2. บทนิทเทศ มีอารัมภบทหรื่อนำเรื่องเป็นช่วง30วิก่อนเล่าเรื่องซึ่งหากเป็นในอนิเมะจะเป็นภาพช่วงที่สวยมาก แต่จะประกอบด้วยเสียง 3 แบบ
    1. เสียงจากธรรมชาติเป็นการเริ่มที่ไม่มีบทก่อนหน้านี้หรือบทก่อนหน้านี้ยังไม่เท่าไหร่ หรือเป็นการเริ่มก่อนหักมุม
    2. หรือ เสียงเพลงซึ่งอาจเป็นเพลงOP
    3. หรือ การเล่าเรื่องนำกับนิทเทศหรือเนื้อความ ขึ้นด้วยสุภาษิต
  3. บทเชื่อม เป็นเนื้อความตามสื่อระหว่างบท ซึ่งเมื่ออยู่ในหนังสือ คือ ข้อความย่อระหว่างตอน และเมื่อทำเป็นอนิเมขั่น หากมีทุนพอก็จะใช้เป็นการโฆษณา หากไม่ก็จะคำโปรยท้ายตอนหลังจบเพลงจบ ED
  4. บทปฏินิทเทศ เป็นบทสุดท้ายของเล่มเป็นการสรุปเรื่องในเล่มนั้นๆ อาจมีการไขเงื่อนงำที่ยังไม่ได้อธิบายในเนื่อเรื่อง เป็นบทเฉลย

อินทรีฟ้ากษัตริย์ปฐพี คืออะไร?[แก้]

"อินทรีฟ้ากษัตริย์ปฐพี" คำนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ อินทรีฟ้า และ กษัตริย์ปฐพี

'อินทรีฟ้า' เริ่มแรกเดิมที คำนี้ เค้าเดิมมาจากผลงานอมตะของ กิมย้ง ผู้เขียน มังกรหยก ทั้ง ประวัติจอมยุทธผู้ยิงนกอินทรี (มังกรหยกภาค 1 ก๊วยเจ้ง) และ จอมยุทธคู่อินทรีวิเศษ (มังกรหยกภาค 2 เอี้ยก้วย) แต่ที่มากลับเป็นความประทับใจและความลงตัวในความสมบูรณ์ที่เกิดจากความไม่สมบูรณ์ ของ แปดเทพอสูรมังกรฟ้า ซึ่งเข้ากันได้กับโครงหลักของเรื่องซึ่งมาจาก คัมภีร์อี้จิง แต่เนื่องจากชื่อ'แปดเทพอสูรมังกรฟ้า' มันกลายเป็นลิขสิทธ์ไปแล้ว จึงอยากหาชื่ออื่นมาแทน คำอื่นที่จะลงตัว คงไม่เกินไปจาก หงษ์คู่มังกร แต่คำว่า'หงษ์'มันอ่อนเกินไป จึงใช้คำว่า'อินทรี'แทน และเติมคำว่า'ฟ้า'เข้าไป มันจึงกลายเป็นคำว่า "อินทรีฟ้า" อย่างสมบูรณ์ ส่วนคำว่า 'กษัตริย์ปฐพี' ก็เชกเช่นเดียวกัน เค้าที่มาไม่ต่างกันนัก เมื่อได้อินทรีฟ้ามา ก้อต้องเป็นอะไรที่ตรงกันข้าม เมื่อมีวิหกที่ทยานไปบนท้องฟ้าที่ไรที่สิ้นสุด ก้อต้องมีมังกรผู้ปกครองแผ่นดิน เดิมทีในความเชื่อของคนจีน จักรพรรดิ เป็นตัวแทนของโอรสสวรรค์ แทนตัวด้วยมังกรทอง จึงได้คำว่า 'กษัตริย์' ซึ่งมาจาก ฮ่องเต้หรือจักรพรรดิ และ 'ปฐพี' ซึ่งมาจากสีทองหรือสีเหลืองอันเป็นตัวแทนธาตุดิน ตาม คัมภีร์อี้จิง และนี้ก็เป็นที่มาของคำว่า "อินทรีฟ้ากษัตริย์ปฐพี" ในสมัยเมื่อ ปี พ.ศ. 2544 แต่เมื่อเวลาผ่าน คนก็เปลี่ยน จาก หมอดูที่ยาไส้ด้วยไพ่ยิปซี เป็น ผู้ศึกษาเต๋านักทำนายก้านไม้อี้จิง แต่ทว่า เมื่อได้ศึกษาพุทธรธรรม และเข้าใจความหมายของนิพพานอย่างถ่องแท้ การมองทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ไม่รู้ว่าพุทธธรรมครองงำอี้จิง หรือ เต๋าได้แทรกซึ่มเข้าไปในเถรวาท แต่ความหมายของ "อินทรีฟ้ากษัตริย์ปฐพี" ได้เปลี่ยนไป

ปี พ.ศ. 2551 'อินทรีฟ้า' มิได้เป็นสัตว์ที่โบยบินไปบนฟ้าอีกต่อไป แต่มันกลายเป็น "ความบริบูรณ์แห่ง ปญฺจินฺทฺริยํ" ส่วน 'กษัตริย์ปฐพี' ยังคงเป็นความหมายเดิม แต่ต่างที่เป้าหมาย ซึ่งมิใช่เป็นหนึ่งในแผ่นดินในศสาตร์ของตน แต่กลายเป็นพันธะสัญญาอันไม่รู้จบ ซึ่งมอบให้กับเธอ เธอผู้ปรารถนาในสิ่งอันไม่รู้จบ

หนังสือนวนิยาย อินทรีฟ้ากษัตริย์ปฐพี ซึ่งเป็นภาคหลักประกอบด้วย 64 เล่มจาก 8 ภาคอันได้แก่

ภาคฟ้า ตุลาการทมิฬ ภาคดิน อาถรรพณ์จันทรา ภาคน้ำ เทพอสูรอินทรีฟ้า ภาคศิลา เจ้าจอมมายา ภาคลม ยมทูตวิสัญญี ภาคไฟ หนึ่งในหล้าไอศวรรย์ ภาคไม้ พรานไพรอัชฌาเวทย์ ภาคทอง เทพพิทักษ์อัคเนย์

ภาคหนึ่งๆ ที่มี 8 เล่มนั้น หนึ่งเล่มมี ฉักกะลักษณ์เป็นเครื่องหมาย ในทั้ง 6 ลักษณ์นั้น แปลงเป็น 12 บท ยึดเอาตามอนิเมะที่มี 13 ตอน ใน 1ซีซั่น ซึ่ง 1ปี มี 4 ซีซั่น 52สัปดาห์ ซึ่งแนวคิดนี้ก็หวังเอาไว้ว่า เมื่อเอาไปทำอนิเมะ จะมีความเหมาะสมลงตัวในการสร้าง

นอกเหนือจาก 8 ภาคหลักนี้ ยังมีเนื้อเรื่องพิเศษเพื่อเสริมเนื้อเรื่องหลัก แต่อาจจะถูกเรียกว่า อินทรีฟ้า หรือ กษัตริย์ปฐพี ก็แล้วแต่อย่างเช่น อินทรีฟ้า ภาค Darkness and Starlight (นำชื่อมาจากเพลงของ THE BLACK MAGES III) เป็นการเล่าถึงเนื้อเรื่องความรัก ของนางเอก กับ อนัตตา ตั้งแต่เป็นมนุษย์ จนไปอยู่ใน ดุสิต และปรนิม โดยมีลักษณะเล่าถึงความมืดมิดของพระเอก ที่มีแสงดาวของนางเอกนำทาง


ชื่อตอน และ ความหมาย บรรททัดแรก นั้นเป็น หัวข้อธรรมที่จะอธิบายในเรื่อง บรรททัดสอง นั้นเป็น ~กลอนอี้จิง~ เป็นการตี้ความหมายในรูปแบบกาพย์กลอน บรรททัดสาม นั้นเป็น [การอธิบายความเรื่อง] โดยเอาเนื้อเรื่องมาทำเป็นชื่อบท

เป้าหมายในชั้นการพิมพ์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ

  1. แบบพ็อกเก็ตบุ๊คขนาด 10 x 15 cm. ซึ่งจะมีเพียงตัวอักษรซึ่งเป็นเนื้อเรื่องนวนิยายไร้รูปภาพ
  2. แบบสมุดปกแข็งขนาด เอ4 ซึ่งมีเนื้อเรื่องนวนิยาย บทขยาย คำขยาย มีเชิงอรรถ บทวิจารณ์ แผนที่ รูปภาพ อื่นๆ และส่วนพิเศษ ซึ่งก็คือการสร้างนวนิยายเรื่องนี้นั่นเอง จะพิมพ์ก็ต่อเมื่อครบ 8 เล่ม และเพิ่มเนื้อหาอย่างสมบูรณ์แล้ว

เป้าหมายในชั้นการสร้างอนิเมชั่น แบ่งเป็น 2 แบบ คือ

  1. ผ่าน สตูริโออนัตตา ซึ่งทาง อินทรีฟ้ากษัตริย์ปฐพี เป็นเจ้าของเอง โดยนำเงินทั้งหมดเข้า กองทุนจัตุรัสศาสตร์
  2. ผ่าน สตูริโออื่น ซึ่งทาง อินทรีฟ้ากษัตริย์ปฐพี อนุญาตโดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องสร้างออกมาให้ครบทุกตอนแล้ว นำมาให้สมาชิก อินทรีฟ้ากษัตริย์ปฐพี ชม แล้วตัดสินว่าตรงต่อแนวคิด และระดับคุณภาพของผลงาน หรือไม่ แล้วจึงจะอนุญาตให้เผยแพร่ต่อสาธารณะชน หากไม่ผ่านจะสั่งให้ระงับทันที โดยไม่มีข้อแม้ใดทั้งสิ้น ซึ่งเป็นข้อแลกเปลี่ยนแลกกับค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งทางเราไม่สนใจว่าจะเป็นอย่างไร เพราะทางเราตั้งใจจะทำเองทั้งหมดอยู่แต่เดิมแล้ว

เงินที่ได้จากอินทรีฟ้ากษัตริย์ปฐพี

เดิมทีในภาคเทพอสูรอินทรีฟ้า จะนำเข้ากระเป๋าตัวเองอย่างเดียวอยู่แล้ว แต่เมื่อคิดดูแล้ว หากเป็นนั้น ก็เหมือนเติมฟืนเข้าไฟ มิใช่ชักฟืนหลบไฟ ดังนั้น จึงขออุทิศเงินนี้เข้า กองทุนจัตุรัสศาสตร์ เพื่อ เป็น ผัสสาหาร แต่ก็ยังเป็นเศษเสี้ยวแห่งแผนการเท่านั้น

แผนการที่ว่าก็คือ ไฟ...คือกองทัพ ทัพคือ..โลกใบนี้

การปกครอง ความร้อน ผู้นำ วุฒิธรรม สัทธินทรีย์

  1. เสวนาสัตบุรุษ คบนักปราชญ์
  2. สดับแต่ความจริง ไม่หลงเชื่อโดยง่าย
  3. พิจารณาโดยแยบคาย รู้ประโยชน์ รู้เหมาะสม รู้แดน รู้สภาวะ
  4. ใช้ปัจจุบันสู้ปัจจุบัน ประยุกต์ตามสถานการ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

มหาวิทยาลัยจัตุรัสศาตร์ อากาศ ศาตรา สติปัฏฐาน

  1. เสริมร่างกาย กาย
  2. เสริมการฝึก เวทนา
  3. เสริมทักษะ จิตตะ
  4. เสริมความรู้ ธรรม

ประชาชน เชื้อเพลิง เสบียง อาหาร 4

  1. บำรุงกองทัพ องค์รวม มโนสัญญเจตนาหาร เจตนากรรม นำให้เกิดปฏิสนธิวิญญาณจิต
  2. ปากทองอย่าให้อด อาหาร ผัสสาหาร นำให้เกิดเวทนา
  3. อาวุธอย่าให้ขาด อุปกรณ์ วิญญาณาหาร นำให้เกิดนามรูป (เจตสิก และกัมมชรูป)
  4. วินัยอย่าให้พร่อง อุดมการ กพฬีการาหาร นำให้เกิดอาหารชรูป (โอชา)

รายชื่อภาคหลักอินทรีฟ้ากษัตริย์ปฐพี[แก้]

แก่นเรื่องเป็นสิ่งที่ใช้คุมโครงเรื่องความเป็นมาอีกที เช่นในนิยายของกิมย้งเรื่องกระบี่เย้ยยุทธจักรที่เปรียบเทียบกับความฉ้อฉนของนักการเมืองกับเจ้าสำนักยุทธภพ ดังนั้นเจิ้งฟงที่เขียนถึงในเรื่องกระบี่อภิญญาก็เปรียบเทียบกับลัทธิความเชื่อของลัทธิอัคคี(เล่ม3 หน้า122)กับลัทธิฝ่าหลุ่นกง ทำให้เธอถูกเปรียบเป็นกิมย้งหญิงขึ้นมา
แก่นเรื่องในอินทรีฟ้ากษัตริย์ปฐพี คือ

ภาค แก่นเรื่อง โครองเรื่องหลัก โครงเรื่องย่อย
ฟ้า การสร้างสรรค์
ทอง ความมีวินัย
ไฟ การรวมกลุ่ม
ไม้ ความยึดเหตุผล
ลม ความมีเมตตา
น้ำ การศึกษา
ศิลา ความยึดตั้งมั่น
ดิน การยอมรับ

ภาคฟ้า ตุลาการทมิฬ[แก้]

โครงเรื่อง[แก้]

เรื่องราวของเด็กกำพร้าที่ถูกฝากเลี้ยงกับเชื้อพระวงศ์หม่ายท่านหนึ่งผู้มักใหญ่ใฝ่สูงกับเจ้าฟ้าหญิง สุดท้ายกลายเป็นผู้นำทำเนียบผู้ทรงธรรม สถาปณาระบอบการปกครองใหม่ขึ้นมา

เล่ม 1[แก้]

การเข้าพบ

เล่ม 6[แก้]

สาระพัดความวุ่นวายของบ้านเมือง

  • ความยากลำบากของเกษตรกรพืชผลที่เป็นพิษ ก่อให้เกิดสภาเกษตรกรและบริษัทเกษตรกรแห่งประเทศไทย
  • การทำลายขั้วตรงข้ามทางการเมือง ทำให้ก่อให้เกิดสภากองร้อย

เล่ม 10[แก้]

การเริ่มต้นจากศูนย์กลางของประเทศชาติและความรู้สึกของผู้คน

เล่ม 12[แก้]

เล่ม 13[แก้]

เล่ม 25[แก้]

เล่ม 33[แก้]

เล่ม 44[แก้]

ภาคดิน อาถรรพณ์จันทรา[แก้]

ปัญหาการบุกเบิกเรื่องราวของนิยายที่เกี่ยวการค้าและการริเริ่มธุรกิจโดยทั่วไปที่ขาดความน่าเชื่อถือ คือ ขากการประเมิลเหตุปัจจัยโดยรอบด้าน การประเมิลของนักเขียนขาดความสมจริงสมจังจึงไม่น่าเชื่อถือ ฝ่ายการตลาดที่เข้าไปติดต่อลูกค้าก็ขาดหัวใจสำคัญซึ่งก้คือความจริงใจ ไม่อาจจี้เข้าจุดสำคัญคือความสมประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย นั้นทำให้นิยายขาดความน่าเชื่อถือ

ตัวเอกของเรื่องใช้การ์ดบัตรเครดิตเป็นอาวุธ

เล่ม 2[แก้]

เล่ม 7[แก้]

เล่ม 11[แก้]

เล่ม 15[แก้]

เล่ม 19[แก้]

เล่ม 24[แก้]

เล่ม 36[แก้]

เล่ม 46[แก้]

ภาคน้ำ เทพอสูรอินทรีฟ้า[แก้]

ปราชญ์ศึกษาสรรพสิ่งโดยอาการเหมือนน้ำ คือไหลลงไปสู่พื้นฐาน มหาสมุทรเป็นรากฐานของน้ำ เมฆาเป็นปลายสุดของวารี

สุดยอดของแผ่นการคือการไม่มีแผนการ อาศัยความเข้มแข็งอันไม่อาจกล่าวได้พิชิตทุกกลอุบายให้ราบคาบ

พระเอก เป็นเจ้าแห่งการปล่อยวางแต่ภายในลึกซึ่งถึงที่สุด ส่วนนพรัตน์เป็นผู้ถือมณีทั้งเก้าสามารถรวมมหาชนทั้งหมดเป็นราชาใน 9 โลก นางเอกคนแรกเป็นยอดหัวใจแห่งโลกธิดารักแห่งพระแม่ธรณี(ต้นแบบจากนางเอก gone with the wind นิยายตำนานยุแต่ต้องตายไป แต่นางเอกคนที่สอง(ต้นแบบมาจากซากุระ จากการ์ดแคปเจอร์ซากุระ)เป็นผู้มีทวารทิพย์ทั้ง 9 (อายตนะ 6 อดีต อนาคต หยุดเวลา(ทวารแห่งเวลาเป็นกลีบดอกบัวบนหน้าผาก ใช้ไปครั้งหนึ่งหายไปกลีบหนึ่ง แต่การใช้จะเปลี่ยนความเป็นไป ไม่สามารถกลับไปไทม์ไลน์เดิมได้ และมีเพียงไม่กี่คนที่จำไทม์ไลน์เดิมได้))

เล่ม 3[แก้]

เล่ม 5[แก้]

เล่ม 8[แก้]

เล่ม 29[แก้]

เล่ม 39[แก้]

เล่ม 48[แก้]

เล่ม 60[แก้]

เล่ม 63[แก้]

ภาคศิลา เจ้าจอมมายา[แก้]

เล่ม 4[แก้]

เล่ม 18[แก้]

เล่ม 22[แก้]

เล่ม 23[แก้]

เล่ม 26[แก้]

เล่ม 27[แก้]

เล่ม 41[แก้]

เล่ม 52[แก้]

ภาคลม ยมทูตวิสัญญี[แก้]

ตัวเอกของเรื่องใช้เข็มเป็นอาวุธ มีทั้งเข็มขนาด มิล ไม นา พิ เฟม อัต ซึ่งเข็มสามารถเป็นได้ทั้งเข็มฝังเข็มชีพจร เข็มสำหรับเย็บแผลไร้ด้าย ผ่าเปิดแผล ห้ามเลือด กล้องตรวจภายใน วัดชีพจรความดัน ฝังไว้ในร่างกายคอยมอนิเตอร์ วิ่งไปตามกระแสเลือดเข้าไปผ่าตัดในสมอง หัวใจ ปอด

เล่ม 9[แก้]

เล่ม 19[แก้]

เล่ม 37[แก้]

เล่ม 42[แก้]

เล่ม 53[แก้]

เล่ม 57[แก้]

เล่ม 59[แก้]

เล่ม 61[แก้]

ภาคไฟ หนึ่งในหล้าไอศวรรย์[แก้]

เล่ม 14[แก้]

เล่ม 21[แก้]

เล่ม 30[แก้]

เล่ม 35[แก้]

เล่ม 38[แก้]

เล่ม 50[แก้]

เล่ม 56[แก้]

䷿ เล่ม 64[แก้]

ภาคไม้ พรานไพรอัชฌาเวทย์[แก้]

เล่ม 16[แก้]

เล่ม 32[แก้]

เล่ม 34[แก้]

เล่ม 40[แก้]

เล่ม 51[แก้]

เล่ม 54[แก้]

เล่ม 55[แก้]

เล่ม 62[แก้]

ภาคทอง เทพพิทักษ์อัคเนย์[แก้]

เล่ม 17[แก้]

เล่ม 28[แก้]

เล่ม 31[แก้]

เล่ม 43[แก้]

เล่ม 45[แก้]

เล่ม 47[แก้]

เล่ม 49[แก้]

เล่ม 58[แก้]

ภาคอวาสาน สิ้นพุทธกาล[แก้]

เล่ม 691[แก้]

เล่ม 692[แก้]

เล่ม 693[แก้]

เล่ม 694[แก้]

เล่ม 695[แก้]

เล่ม 696[แก้]

เล่ม 697[แก้]

เล่ม 698[แก้]

๔ หกภาคเสริม[แก้]

ส่วนอินทรีฟ้า (แฟนตาซี)[แก้]

นวนิยาย อินทรีฟ้า เป็นวรรณกรรมส่วนขยายเก้าภาคหลักที่มีการจัดแบ่งเนื้อหาเป็นแบบแฟนตาซี หรือเนื้อเรื่องเหนือจริง

ภาคท่องกาลเวลาเป็นจักรพรรดิ[แก้]

เป็นนวนิยายแนวสุขนิยมที่เนื้อเรื่องจะชี้ไปที่ประเด็นที่จะสามารถทำให้เกิดความสุขได้ อย่างเช่น การเกิดสภาเขตโดยฉันทามติจะเกิดขึ้นได้ด้วยการรวมผลประประโยชน์ แม้จะไม่มีการกล่าวถึงการเสียสละ แต่ก็ชี้ถึงการใช้การโฆษณาชวนเชื่อทำให้ประชาชนหลงลืมการเสียสละของตน

สังคมจีนที่เปรียบได้กับศาสนา ศาสนาหนึ่งเรียกว่าศาสนาฮั่น[แก้]

ข้อเสีย

มีผู้วิจารณ์คำว่า "บ้าน" และ วงศ์ตระกูล" อย่างไม่มีชิ้นดีอยู่ว่า[49] บ้านตามลักษณะอักษรคือที่ซึ่งมีหลังคาปิดล้อมเลี้ยงหมูอยู่ภายใน ส่วนวงศ์ตระกูลตามลักษณะตัวอักษรก็คืออาการป่วยที่กำจัดดัวอยู่แตในกรอบสี่เหลี่ยม ล้วนเป็นผลจากสังคมศักดินาทำร้ายผู้คน ไม่ว่าหากผู้เป็นใหญ่ในวงศ์ตระกูลไม่มีเหตุผลใช้อารมณ์เป็นใหญ่ หรือ ใช้แต่เหตุผลจิตใจเลือดเย็น อำนาจของวงศตระกูลย่อมเป็นสิ่งที่น่ากลัวทั้งสิ้น

พระเอก[แก้]

เป็นนักพัฒนาโลกเสมือนจากรูปแบบพรหมคือผู้สร้างโลกและอรูพรหมสร้างหลุมดำรวมถึงปัญญาประดิษฐ์แบบผู้ให้พลังงานขึ้นมา จึงกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกผู้ได้รับรางวัลโนเบลซึ่งสร้างทฤษฎีพลังชนิดใหม่จากหลุมดำโดยการตอบสนองจากวิญญาณ แต่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทชนิดหนึ่งที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้ จึงจำเป็นต้องถูกแช่แข็งในระบบจำศีลเพื่อรอเวลารักษา แต่ด้วยระบบอ่านคลื่นสมองที่ก้าวหน้าจึงสามารถออนไลน์เข้าไปในโลกเสมือนได้ แต่ด้วยโลกเสมือนที่ถูกสร้างด้วยระบบมหภาคทำให้ไม่สามารถติดต่อจากโลกภายนอกเข้าไปในโลกเสมือนได้ ทำได้เพียงสังเกตการจากภายนอกเท่านั้น

ฮ่องแต้[แก้]

รูปแบบการปกครองของฮ่องเต้[แก้]

ในระบบการปกครองของแผ่นดิน ฮ่องเต้เป็นผู้นำสูงสุดโดยเป็นผู้ควบคุมกองทัพสงครามที่แท้จริง โดยมีบรรดาต้าอ๋องที่มีจิตคิดเป็นอื่นค่อยปรับปรุงกองทัพประจำแคว้นมาต่อสู้ลับฝีมือให้กองทัพสงคราม

การก่อกบฏแต่ละครั้งโดยส่วนมากจะเป็นเพราะเป็นเพราะความเผด็จการในการควบคุมของฮ่องเต้ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยฮองเฮา โดยทั้งที่ความเผด็จการของฮ่องเต้ถูกบังคับโดยอดีตฮ่องเต้ที่เกษียณไปและมีฮองเฮาค่อยประสานส่งเสริม

แผนการสุดท้ายของการปกครอง 3,000 ปี คือการเปิดประตูนิรันดร์ที่อยู่อีกสุดขอบจักรวาลเพื่อเป็นเครื่องหมายว่า มนุษย์สามารถอยู่รอดได้แม้จะเกิดการเริ่มวัฏจักรใหม่ของจักรวาลอีกครั้ง

ในรูปแบบการปกครองจะประกอบด้วย 4 สำนักใหญ่ ได้แก่ คณะรัฐมนตรี ศาลาเอกสารลับ ที่ปรึกษาการปกครอง และที่ปรึกษากลยุทธ์

คณะรัฐมนตรี เป็นที่ชุมนุมของเหล่ารัฐบุรุษ บุคคลที่สร้างคุณูปการต่อการสร้างรัฐผู้พ้นจากตำแหน่งทางการปกครองแล้วกล่าวคือไร้อำนาจในการสั่งการใดๆ แต่มีสิทธิในการเข้าเฝ้าโดยไร้ข้อห้ามรวมถึงป้ายในการละเว้นชีวิตนอกเสียข้อหาทรยศโดยที่ประชุมของคณะรัฐมนตรี

ศาลาเอกสารลับเป็นที่ชุมนุมของเหล่าข้าราชการรุ่นใหม่ที่มีความสามารถก่อนที่จะออกไปส่วนภูมิภาค รับหน้าในการจัดการเอกสารจากส่วนกลางทั้งหมด

ที่ปรึกษาการปกครอง เป็นหน่วยงานวิจัยในทางด้านต่างๆ ของรัฐเว้นทางด้านทางทหาร มีการตั้งสมมุติฐาน ตั้งการทดลองติดตาม และการสรุปผล รวมถึงการให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี ในการประชุมใหญ่ของรัฐ

ที่ปรึกษากลยุทธ์ เป็นแหล่งชุมชนของเหล่านักการทหารวิจัยในด้านกลยุทธ์พิชัยสงคราม เป็นผู้ออกแบบระเบียบทางการทางของทั้งรัฐ มีสัญลักษณ์เป็นกระดานหมากขาวดำ

การบริหารราชการแผนดินโดยฮ่องแต้และฮองเฮา[แก้]

การบริหารราชการแผ่นดินจะมีระเบียบปฎิบัติที่ถูกบัญญัติขึ้นโดยคณะเน๋ยเก๋อเป็นผู้ร่างระเบียบ โดยการปรึกษาและถกเถียงกันภายในสภาบัณฑิต ต่อจากนั้น 9 กรมใหญ่จึงรับเอาไปปฎิบัติ หลังจากนั้นหากต้องทำหนังสือรายงานสรุปผลจึงทำหนังสือรายงาน 3 ฉบับส่งให้ผู้บังคับบัญชา ๑ อ๋องผู้อยู่ใต้ฮ่องเต้ลงผู้ควบคุมพื้นที่ ๑ และส่งเข้าวังหลวงถวายให้ฮองเฮาลงตราประทับว่าดีหรือทบทวนโดยมีองค์ชายหรือองคหญิงผู้เข้ารับคัดเลือกรัชทายาทลงวันเดือนปีรับรู้ บ้างครั้งหากมีข้อแก้ไข ฮองเฮาจะเขียนหมายเลขย่อคำสั่งลงไป และผู้เข้ารับคัดเลือกรัชทายาทจะเขียนความหมายของหมายเลขย่อคำสั่งนั้นโดยละเอียดและนำเอามาให้ฮองเฮาดูอีกครั้ง เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย ก่อนจะส่งหนังสือกลับไป แต่ในบรรดาหนังสือรายงานหากไม่มีระเบียบบัญญัติไว้จะส่งให้ฮ่องเต้โดยตรงเพื่อตัดสินใจโดยเร่งด่วน ก่อนแปรญัตติลงไปให้สภาบัณฑิตพิจารณาเป็นระเบียบปฎิบัติในภายหลัง และบางครั้งเรื่องบางเรื่องหากฮ่องเต้ทรงต้องการติดตามสามารถสั่งให้ฮองเฮาส่งหนังสือมาได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านตราประทับฮองเฮา

หนังสือรายงานทั้งหลายจะต้องส่งขึ้นมาโดยเรียงวันเวลาที่ได้รับ ไม่ต้องผ่านมือขุนนางส่วนกลาง ให้ส่งถึงมือสำนักราชเลขาธิการโดยตรง ซึ่งสำนักราชเลขาธิการประกอบด้วย ขันทีมหาดเล็ก ขุนนางหญิง คานอำนาจกัน มีราชครูเป็นผู้ตัดสิน

ส่วนหนังสือราชการแบ่งเป้น 4 ระดับ

  1. เร่งด่วน ใช้หอส่งข่าวและม้าด่วน 800 ลี้(เดินทางตลอดกลางวันกลางคืนผู้สารชนคนตายไม่ผิด เปลี่ยนทั้งคนและม้าทุกๆ จุดพักม้าของทางราชการ ให้เวลากลางคืน ให้แยกเดินทางเป็น 3 ชุด ชุดละ 3 คนพร้อมมือง้าวหน้าไม้อารักขา)
  2. หนักหนา ใช้ม้าด่วน 400 ลี้ เดินทางเฉพาะเวลากลางวันและย่ำค่ำ ไม่เกิน 8 ชั่วยาม(16 ชม.) โดยเดินทางพร้อมกับอวี้ซือ(หรือผู้ช่วย)ซึ่งอยู่ในพื้นที่ทราบรายละเอียดโดยครบถ้วน หากไม่สามารถตอบข้อซักถามได้อาจถูกลงโทษ
  3. สรุปรายงานขุนนาง ใช้รถม้าส่งสาร 4 ม้าเทียมเดินทาง แต่รถม้าชนิดนี้มีเพียง 8 เส้นทางเท่านนั้น ซึ่งเส้นทางทั้ง 8 มักเป็นเส้นทางที่ตัดตรงไม่ตัดผ่านเมือง บนเส้นทางจะถูกเกลี่ยไม่ให้มีก้อนหินและล้อมลวดหนามไว้ หากไม่มีเหตุถึงชีวิต ไม่อนุญาตให้คนทั่วไปใช้
  4. รายงานปกติ มักฝากไว้ตามจุดรับฝากข่าวสาร จุดพักม้าราชการ และหอแจ้งการศึกหรือหอส่งข่าว และมีขบวนรถเทียมทางการวิ่งผ่าน ไม่มีการกำหนดวันถึงแน่นอน แต่มีการรับประกันว่าจดหมายต้องถึงมือผู้รับแน่นอน รายงายปกติชนิดนี้มัดเดินทางไปพร้อมจดหมายจากจุดรับฝากข่าวสาร

โดยปกติแล้วฮ่องเต้เป็นผู้ถือตราประทับหยางสามารถอภัยโทษ แต่หากเป็นการสั่งประหารตามบัญญัติต้องใช้ตราประทับหยินของฮองเฮา ซึ่งโดยปกติกาทำงานในการลงโทษขุนนาง ฮองเฮาจะทำการสืบสวนเป็นการลับถืออำนาจองค์รักษ์เสือแพรซึ่งมีการตักเตือนเป็นการลับเป็นเบื้องต้น หากไม่รุ้สำนึกจึงทำการลงมีด แต่การลงมีดสามารถถูกยับยั้งด้วยอำนาจฮ่องเต้ได้ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจหยินหยาง ดังนั้นขุนนางจะหวาดกลัวฮองเฮา แต่เคารพฮ่องเต้

ประเด็นสำคัญในการสือต่อสันตติวงค์คือ 1การเป็นผู้นำที่เด็จขาดเหมาะสมและผู้บริหารที่เปลี่ยนโทษเป็นคุณ 2 การปฏิบัติกฎระเบียบและมาตราฐานที่ทันสมัยและรอบคอบ 3 การคัดเลือกทายาทที่มีคุณสมบัติโดยไม่มีอคติ

ตำนานปฐมไทเฮา[แก้]

ความเท่าเทียมทางเพศ สิ่งที่เด่นชัดที่สุดคือ ทางการแพทย์ วิชากายวิภาคแพทย์ชายไม่มีสิทธิผ่าศพผู้หญิง แต่แพทย์หญิงสามารถผ่าศพผู้ชายได้ เหตุที่เป็นเช่นนี้ เป็นเพราะบิดาแห่งการแพทย์ฮูโต๊มีลูกสาวเพียงคนเดียวและอยากให้วิชาแพทย์ของลูกสาวที่เยียมอยู่แล้วก้าวไปอีกขั้น จึงบอกให้ลูกสาวผ่าศึกษาศพของตนเอง ตัวลูกสาวก็รู้ดี แม้ผ่าศพพ่อแล้วยังต้องการพัฒนาไปอีกขั้นจึงปลอมตัวเข้าไปเป็นแพทย์ทหารด้วยผิวหนังที่ผ่าออกมาจากตัวบิดาตามคำสั่ง และยังสามารถพัฒนาการแพทย์จนมีความสามารถผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกให้องค์รัชทายาทของปฐมจักรพรรดิ ให้หายจากการพิการ ในระหว่างที่ดูแลความแตกทำให้รู้ว่าเป็นหญิงจนได้เสียกันและกลายเป็นไทเฮาองค์แรกที่ถูกสถาปนา แต่เป็นเจ้าจอมที่ไม่ยอมรับฐานะใดๆ แต่ก็เป็นฐานให้ลูกชายขึ้นครองบัลลังค์ด้วยบรรดาคนไข้ขุนนางตงฉินและกังฉินที่เกรงใจที่เคยช่วยชีวิต และในตอนสั่งเสียใกล้ตายกลับสั่งให้ลูกศิษย์ผ่าศพตนเองเพื่อศึกษา แต่ด้วยศักดิ์ทำให้บรรดาลูกศิษย์ผู้ชายไม่กล้าละเมิด แต่ได้ศึกษาผ่านภาพวาดถกเถียงกัน จนฝ่ายลูกศิษย์ผู้ชายยอมรับว่าแพทย์หญิงรอบครอบกว่าแพทย์ชายที่บางครั้งอาจจะเด่นมากกว่าด้านกำลัง

ผู้รับใช้ใกล้ชิด[แก้]

เนื่องปัญหาจากผู้ใกล้ชิดพระองค์เรืองอำนาจ ในการสอบหน้าพระพักตร์ จาก 4 สำนักและ 1 โรงเรือนจะมีการคัดเลือก 3 อันดับแรกแล้ว จะมีการคัดเลือกผู้เป็นที่พอพระทัยเข้ามาเป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดแทนหัวหน้าขันที

  1. ตราประทับ
  2. ฦู่กันอันดับ 1
  3. ฦู่กันอันดับ 2
  4. ผู้ถือพระแสงกระบี่
  5. นางผู้ถือสารวังหลัง

โดยทั้ง 5 คนนี้ 3 คนแรกจะเป็นผู้ค่อยควบคุมขันทีประจำพระองค์โดยตรง ผู้ถือพระแสงกระบี่จะเลือก 3 คนซึ่งเป็นผู้ซึ่งพอพระทัยในการสอบขุนนางบู้ และนางผู้ถือสารวังหลังก็จะกระทำเช่นเดียวกับผู้ถือพระแสงกระบี่ แต่มีหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมกับฝ่ายสตรีทั้งวังหลังและนอกวังของพระองค์ แม้การสอบจะมี 3 ปีครั้ง แต่การเข้ารับตำแหน่ง 6 ปี 3 ปีแรกเป็นรุ่นน้อง จากนั้นอีก 3 ปีจึงจะเป็นรุ่นพี่ค่อยดูแลรุ่นน้องอีกที

ฮ่องแต้หญิง[แก้]

โดยปกติเมื่อมีฮ่องเต้เป็นชาย ตามกฎมณเฑียรบาลฮองเฮา ผู้เป็นราชธิดาต้องถือพรรจรรย์หากไม่ ตัวฮองเฮาต้องดื่มน้ำแกงไร้บุตร แต่หากเมื่อองค์หญิงได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิ ฮ่องแต้หญิงจะคัดเลือกสตรีเชื้อสายกษัตริย์ให้เข้ามาเป็นนางสนมพระชาย โดยตำแหน่งกุ้ยเฟยซึ่งปกติมีหน้าที่จัดการวังหลังนั้นจะตกเป็นของพระมารดาของฮ่องเต้หญิง ส่วนไทเฮาคุมศาลบรรพชนซึ่งเดิมเป็นของพระมารดา จะมีการแต่งตั้งจากไท่หวงอดีตจักรพรรดิอีกทีหนึ่ง ซึ่งบางครั้งก็แต่ตั้งมหาสมณเจ้าเป็นผู้ควบคุม ส่วนชายที่จะบริจาคเชื้อให้กับฮ่องเต้หญิงทั้ง 3 คนจะต้องเป็นญาติกันโดยสายเลือดหรือการแต่งงาน จะเป็นหน้าที่คัดเลือกและการกำหนดของพระมารดาซึ่งถือตราบุพชาติแทนกุ้ยเฟย(แต่ต้องได้รับการยินยอมจากมารดาบิดาหากยังไม่ออกเรือน หากออกเรือนแล้วต้องได้รับการยินยอมจากภรรยา) โดยการผสมเทียมแต่ละครั้งถือเอาตามวาระประจำเดือนของฮ่องเต้หญิง ส่วนพระสนมครรภ์ศักดิ์สิทธิผู้มีเชื้อสายปฐมจักรพรรดิใช้สกุลต้นตระกูลทั้งสองจะทำการผสมเทียมพร้อมกัน บุตรธิดาที่ถือกำเนิดมาจากพระสนมจะมีศักดิ์เท่ากัน แต่จะใช้ชื่อสกุลเดิมทั้งสองของปฐมจักรพรรดิ แต่บุตรธิดาของฮ่องเต้หญิงจะขึ้นอยู่กับพระราชทาน ดังนั้นในศึกการชิงตำแหน่งฮ่องเต้ ฮ่องเต้ที่เป็นหญิงจะเหมือนมีความสำคัญเหนือกว่า เพราะองค์ชายองค์หญิงที่กำเนิดมาถือนามสกุลมารดาเป็นใหญ่ และหากมีฮ่องเต้ที่เป็นชายติดต่อกัน 4 พระองค์ติดต่อกัน องค์ที่ 5 ต้องเป็นฮ่องเต้หญิงสถานเดียว องค์ชายเป็นได้สูงสุดเพียงต้าอ๋องเท่านั้น

การเลี้ยงดูองค์ชายและองคหญิง[แก้]

ฮองเฮาชอบเห็นเหล่าองค์ชายองค์หญิง หาเหตุกัน วิวาทะกัน ทดลองกัน ยอมรับเหตุผลของกันและกัน เพราะเป็นสัญญาณของความรุ่งเรืองแห่งปัญญา แต่จะอาฆาตหากองค์ชายองค์หญิงทะเลาะกัน ริษยากัน วางแผ่นใส่กัน ทำลายกัน เพราะเป็นสัญญาณแห่งการล่มสลาย

เชื้อพระวงศ์ทั้งชายหญิงที่เกิดในปีที่ 1 จนถึงปีที่ 10 ของการครองบัลลังก์ โดยมีบิดาและมารดาที่ได้เข้าไปอาศัยในตำหนักกลางรุ่นก่อน จะได้รับชื่อรุ่นเดียวกับชื่อนามของฮ่องเต้ เช่น ฮ่องเต้องค์ปัจจุบัน มีชื่อรุ่นจากฮ่องเต้องค์ก่อนว่า จาง มีชื่อนามว่า หง เมื่อครองบัลลังก์ก็จะชื่อรุ่นออกไป มีเพียงชื่อนามสกุลและชื่อเรียกเท่านั้น เด็กที่ได้รับชื่อรุ่นชื่อเดียวกันกับนามฮ่องเต้ จะต้องเข้าสู่ตำหนักกลางในปีที่ 11 ทุกคน และจะถูกเรียกชานว่าองค์ชายองค์หญิง

องค์ชายและองคหญิงจะถูกเลี้ยงดูด้วยกันอาศัยอยู่ด้วยกันในตำหนักลาง ตำหนักลางเป็นตำหนักใหญ่ซึ่งเป็นต้นแบบโรงเรือนผู้เยาว์ทั่วจักรวรรดิ ทิศเหนือเป็นส่วนที่พักอาศัยของฮองเฮามีฉากกันเบ่งเป็นส่วนทิศตะวันออกและตะวันตกเป็นเตียงนอน 2-3 ชั้นตามจำนวนองค์ชายและองคหญิงผู้ที่อาวุโสมากกว่าจะอยู่ชั้นบนผู้ที่อายุเยาว์กว่าจะอยู่ชั้นล่าง ทิศใต้เป็นเป็นส่วนที่รับแขกทั้ง 2 ปีกและที่นั้่งประชุมในพื้นที่กลาง กลางตำหนักกลางเป็นพื้นที่ทรงพระอักษรของฮองเฮา และหน้าโต๊ะทรงพระอักษรเป็นโต๊ะยาวสำหรับทรงพระอักษรขององค์ชายและองคหญิง

การเลี้ยงดูองค์ชายและองคหญิง เมื่อถือกำเนิดจนกว่าจะอายุครบ 9 เดือน จะอาศัยอยู่ในตึกพระมารดา จากนั้นจะถูกย้ายให้มาอยู่ตำหนักกลางจนกว่าจักรพรรดิองค์ใหม่ในหมู่องค์ชายและองค์หญิงจะได้รับการแต่งตั้ง พระมารดาสามารถเข้าเยี่ยมได้ก็ต่อเมือปรุงอาหารนำมาถวายเท่านั้น และเมื่อนำมาถวายต้องพอเพียงกับองค์ชายและองคหญิงทุกพระองค์รวมถึงฮองเฮาด้วย

ส่วนองค์ชายและองค์หญิงที่ถือกำเนิดหลังจากฮ่องเต้ครองบัลลังค์ครบ 10 ปี ถือว่าถือกำเนิดนอกตำหนักกลาง จะไม่มีสิทธิได้รัการคัดเลือกให้เป็นจักรพรรดิ แต่มีสิทธิที่จะอยู่อาศัยกับพระมารดาจนกว่าอายุ 20 ปี และ ส่วนพิธีจุติโอรสสวรรค์จะมีการจัดขึ้นทั้งหมด 9 ปีกับ 5 เดือน นับตั้งแต่ฮ่องเต้ครองบัลลังค์

องค์ชายและองค์หญิงที่กำเนิดจากพระชายาไม่ได้ถือกำเนิดจากพระสนมจะไม่ได้รับสิทธิ์ให้เข้าตำหนักกลาง แต่หลังจากผ่านพิธีแต่ตั้งฮ่องเต้องค์ใหม่แล้วจะได้รับตำแหน่งเชื้อพระวงศ์ให้ประจำการได้ในเมืองหลวงรับหน้าเชื้อพระวงศ์ดูแลด้านการแพทย์และสมุนไพร แต่ห้ามยุ่งเกี่ยวกับงานด้านปกครองเหมือนเชื้อพระวงศ์ในวังหลวง และเมื่อผ่าน 30 ปีได้อย่างสมศักดิ์ศรีเชื้อพระวงศ์ ธิดาจะสามารถรับตำแหน่งองค์หญิงใหญ่ในรัชกาลต่อไป และรุ่นหลานสามารถเข้าไปในตำหนักกลางได้

กฏการอภิเษก[แก้]

แม้การอภิเษกขององค์ชายองค์หญิงจะต้องเป็นไปตามพระดำรัสขององค์จักรพรรดิ แต่ผู้สมรสสามารถทูลบอกลักษณะสตรีบุรุษที่ปราถณาได้ แต่ไม่อาจระบุตัวบุคคลที่ลักษณะเฉพาะได้ อีกทั้งสตรีบุรุษซึ่งได้รับการทาบทามโดยจักรพรรดิที่ถูกคัดเลือกสามารถปฎิเสธกับนางกำนัลหรือขันทีซึ่งเป็นตัวแทนจักรพรรดิได้ โดยจะบอกว่ามีผู้ปราถณาสตรีหรือบุรุษผู้มีลักษณะเช่นนี้ๆ ในการทาบทามครั้งที่ 3 ซึ่งตัวท่านมีลักษณะนี้ๆ อันสืบต่อมาแล้วจากลักษณะบิดามารดา ท่านจะปฎิเสธหรือไม่ เมื่อมีการจับคู่ได้พอประมาณครบถ้วนไม่ต่ำกว่า 5 คู่ ขึ้นไป โดยอายุห่างกันไม่เกิน 5 ปี (ป้องกันการเดาสเป็ก แล้วยัดเข้ามา) ก็จึงจะจัดพิธีอภิเษกหมู่ขึ้น ซึ่งการอภิเษกหมู่ บางครั้งบุตรท่านอ๋องหรือระดับกง โหว ลงมาอาจได้รวมพิธีด้วย

โดยก่อนอภิเษกฝ่ายหญิงจะเข้าไปเป็นนางกำนัลใกล้ชิดฮองเฮา ฝ่ายชายจะเข้าไปประจำการองค์รักษ์ฝ่ายในประเภทอารักษ์ขาบุคคล ซึ่งไม่ได้ฝึกคุมกำลังพล โดยการจัดวางเช่นนี้เพื่ออาศัยความใกล้ชิดบ่มเพาะความรัก หลังจากตรวจสอบวาสนาแล้ว

การแต่งตั้งฮ่องเต้และอ๋อง[แก้]

ในการทดสอบว่าที่จักรพรรดิ องค์ชายองค์หญิงที่ได้ผลงานตามเป้าหมายตามพินัยกรรมจักรพรรดิ ทดสอบศรพันดอก และการออกนิวัตน์ครบ 10 ปี จะถูกแต่ตั้งเป็นจักรพรรดิ แต่ผู้ที่มีผลงานรองลงมาจะถูกส่งออกไปไกลที่อาณาเขตรอบนอก ผู้ที่อยู่ใกล้จักรพรรดิจะเป็นผู้อ่อนแอทางกำลังรบที่สุด ออกไปอีกจะเป็นของอ๋องในรัชกาลก่อนที่สามารถขยายระบบสภากองร้อยออกมาได้ มีเพียงอ๋องที่ขึ้นไประบบต้าอ๋องเท่านั้นจึงจะตั้งศาลประจำตระกูลเพื่อตั้งป้ายเซ่นไหว้ได้ แต่ก็ยังไม่สามารถประจำพื้นที่ได้ ท้ายที่สุดอ๋องที่แข็งแกร่งจะถูกส่งออกไปพื้นที่รอบนอกสุด

การทดสอบพินัยกรรมจักรพรรดิจะเริ่มจากการคาดการณ์แผนการที่ควรจะดำเนินต่อไปจากรัชกาลปัจจุบันซึ่งแต่ละรัชกาลจะมีจดหมายปีที่ 20 สำหรับรัชกาลต่อไป และในรัชกาลปีที่ 30 สำหรับวิจารณ์จักรพรรดิ

การทดสอบศรพันดอกเป็นการทดสอบปฏิกิริยาตอบสนองในการรับมือศรจากหน้าไม้เริ่มจาก 1 2 4 8 16 32 64 128 256 512 1024 ทวีคูณเป็นสองเท่าขึ้นไปเรื่อยๆ ทั้งหมด 12 ขั้นจากค่ายกลบ่อพันศร ซึ่งมีช่องปล่อยลูกศรทั้งหมด 4000 ช่อง ซึ่งเป็นระบบอัตโนมัติ โดยกลไกสุ่มใช้สายลมในการสุ่ม

ส่วนการนิวัตน์ 10 ปีเป็นการทดสอบขั้นสูงสุด

ตารางเวลา 1 วันของฮ่องแต้[แก้]

ช่วงเวลา 12 ชั่วยาม แบ่งให้กับ 3 กลุ่มอำนาจ

  1. ขุนนางและกิจการบ้านเมือง
  2. ส่วนพระองค์ และ ขันที อำมาตย์
  3. วังหลัง เชื้อพระวงศ์

การประชุมช่วงเช้าแบ่งเป็น 5 วาระสลับเปลี่ยนกัน

  1. ประชุมขุนนางใหญ่ ขั้น 3 ขึ้นไป
  2. ขุนนางฝ่ายตรวจสอบ ขั้น 6 ขึ้นไป
  3. ขุนนางฝ่ายฝ่ายบุ๋น ขั้น 6 ขึ้นไป
  4. ขุนนางฝ่ายฝ่ายบู๊ ขั้น 6 ขึ้นไป
  5. ผู้บัญาชาการเหล่าทัพ ขั้น 6 ขึ้นไป

ชั้นขุนนาง ()ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเงินทองท้องพระคลังแผ่นดิน 3 บดี ระดับพระยา 9 อำมาตย์ ชั้นใน ต้องพร้อมเข้าเฝ้า 12 ชั่วยาม แต่จะได้เป็นเจ้ากรมใหญ่ อำมาตย์ ชั้นทั่วไป ผู้มีสิทธิขอเข้าเฝ้าได้ นอกเหนือจากการประชุมที่ท้องพระโรง

ตระกูลอำมาตย์[แก้]

คนในตระกูลนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับแต่งตั้งเป็นอำมาตย์ก็สามารถทูลของเข้าเฝ้าได้

ป้ายพระราชทาน[แก้]

ป้ายเข้าเฝ้า เป็นป้ายอนุญาตให้สามารถเข้าวังชั้นนอกยื่นเรืองให้คณะเน่ยเก๋อจัดเวลาให้เข้าเฝ้าได้ นอกจากนี้ยังมีป้ายชุบทองที่สามารถผ่านองค์รักษ์จนเข้าไปถึงชั้นราชองค์รักษ์ได้

ชั้นข้าราชการ เป็นปลายทางของเงินหลวง ไม่มีอำนาจจนถึงขั้นทุจริตได้

คณะทำงานชำระฎีกา[แก้]

หนังสือราชการของขุนนางก่อนส่งถึงฮองเฮาต้องผ่านคณะทำงานชำระฎีกาประกอบด้วย (3) อ๋องซึ่งสับเปลี่ยนจากอ๋องทั้ง 8 รอบมหานคร (3) มหาบัณฑิต จาก 7 มหาบัณฑิตประจำสภาบัณฑิต (1) จอมพลจากสภาจอมพล (1) ผู้อาวุโสจากผู้จัดการกองทุนกลาง (1) อารักษ์อาวุโสของห้องสมุดหลวง โดยหนังสือราชการแบ่งเป็น

  1. เร่งด่วน ประกอบด้วย 3 ตราประทับ จาก 9 ตราประทับ เกี่ยวกับชีวิตคนบริสุทธิ์จำนวนมาก
  2. หนักหนา ประกอบด้วย 7 ตราประทับ เป็นเรื่องหนักเกี่ยวกับชีวิตหรือส่งผลกระทบเป็นจำนวนมาก
  3. เชื่องช้า ประกอบด้วย 5 ตราประทับ จำเป็นต้องหารืออย่างละเอียด เป็นนโยบายสำคัญ
  4. กาลปกติ ประกอบด้วย 1 ตราประทับ แต่มีการจำกัดเวลาส่งคืนกลับมาที่คณะทำงานชำระฎีกา

ชั้นราชครูและบัณฑิต ที่ปรึกษา[แก้]

แสดงความเห็นในการปกครองแผ่นดินโดยไม่มีความผิด แต่ไม่อาจพาดพึงบุคคลให้เสียหาย อาจชักเรื่องในประวัติศาสตร์ได้บ้าง แต่ควรชักนำเล่าเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล มิฉะนั้นอาจถูกฟ้องร้องให้มีความผิด ไม่เหมือนอวี้ซื่อที่พลาดพิงบุคคลได้ ผู้ถูกพลาดพึงต้องทำหนังสือตอบกลับ

คำว่า ทหาร จะถูกบัญญัติใหม่ว่า คนหนุ่มที่มีกำลัง ผู้ที่มีอายุในการปฏิบัติการ จะได้ชื่อว่า อาวุโส

ฝ่ายบู๊ คือผู้ที่สร้างผลงานด้วยกำลังกายเป็นหลัก มีการรวมตัวเป็นหมู่กอง มีการตั้งสารวัตรคุมวินัย และไม่จำเพาะแต่การต่อสู้

ฝ่ายบุ๋น คือผู้ที่สร้างผลงานด้วยวาจาและการสื่อสารเป็นหลัก มีการส่งต่อความเข้าใจแก่ผู้อื่นจนเกิดผลงาน และไม่เกี่ยวกับการสู้รบ

พระบัญชา เป็นสิทธิของจักรพรรดิที่จะก้าวล่วงกฏหมาย เมื่อใช้งานต้องประกาศ 3 วาระ คือในหนังสือพระราชกิจานุเบกษา ป้ายประกาศท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้านขานประกาศในที่ชุมนุมงานเทศกาล แต่หากถูกวิพากย์ไม่อาจเอาผิดได้

ในสำนักบัณฑิตเป็นวิทยาลัยหลวงที่ทำหน้าที่จดจำข้อมูลทุกอย่างที่รายงานเข้าสู่ราชสำนักเป็นเสมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จดจำข้อมูลของประเทศทั้งหมดเพื่อให้ฝ่ายบริหารสามารถประมวลข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้

สี่ความเชื่อใหญ่[แก้]

เล่าจื่อ ขงจื้อ เถรวาท และ noah (2014 flim) [50] เป็นสี่ความเชื่อใหญ่ที่ถูกรับรองโดยราชสำนัก โดยจำแนก 12 กรมให้ประจำอยู่ในสำนักความเชื่อทั้งสี่ซึ่งมีผลต่อการทดสอบเพื่อเข้ารับราชการในสำนักนั้นๆ

การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ[แก้]

ฮ่องแต้และหวงกุ้ยเฟย(หรือชายาสนมที่มียศสูงที่สุดเว้นฮองเฮา)จะออกมาใช้ชีวิตแบบขั้นต่ำที่สุดในช่วงพิธีแรกนา เป็นเวลา 1 เดือน เพื่อหาค่าเฉลี่ยในการคำนวนค่าแรงขั้นต่ำของประชาชนในชั้นไพร่พลทั่วไปและทาส โดยพิจารณาสำคัญที่ อาหารและเสื้อผ้า การจัดสรรที่อยู่อาศัยพื้นที่เกษตรคำนวนจากผลผลิตเฉลี่ยที่ต้องใช้คูณ 1 ปี และประกาศเป็นกฎหมายในการควบคุมค่าแรงขั้นต่ำ ส่วน ยาและการศึกษา เป็นหน้าที่ของเชื้อพระวงศ์และศาสนสถานตามลำดับ ซึ่งยาจะมีการแบ่งเป็นยารักษาและยาบำรุง ยารักษาให้จำกัดราคาให้ฟรีรวมถึงการตรวจโรค ส่วนยาบำรุงเชื้อพระวงศ์สามารถตั้งราคาสูงได้ ส่วนค่าใช้จ่ายของศาสนสถานนอกจากหมึกเขียนหมึกพิมพ์ จานฝนหมึก ที่อนุญาติให้ผูกขาดเก็บภาษี ยังมีที่นาวัด แบบทหารนอกเหล่ากิเลน โดยแต่ละแห่งจะเลี้ยงได้ 5 คน และเด็กอีก 5 คน

นโยบาย 2 สัณฐาน[แก้]

เป็นนโยบายให้ทายาทผู้มีบรรดาศักดิ์ลงไปทำการเกษตรแลการเลี้ยงสัตว์ด้วยตัวเองในโรงเรียนการเพาะปลูกและสร้างอาหารของตัวเองเพื่อเป็นผลงานในการสืบทอดบรรดาศักดิ์ รวมถึงการมีญาติด้วยการสมรสกับตระกูลธรรมดาไม่ใช่ขุนนางข้าราชการจึงจะสามารถบันทึกรายชื่อในบันทึกประจำตระกูลได้ เป็นสัณฐานแรก

อีกสัณฐานหนึ่งคือการสอบเข้าเป็นขุนนางข้าราชการ จะคัดเลือกผู้เข้าสอบที่ผ่านเกณฑ์ในแต่ละปีเป็น 3 บัญชี ตระกูลธรรดาจะเป็นบัญชีอันดับ 1 ส่วนตระกูลที่เกี่ยวข้องกับขุนนางข้าราชการไม่เกิน 3 รุ่นจะเป็นบัญชีที่รองลงมา(หากมีญาติรุ่นทวดเป็นขุนนางข้าราชการจะถูกจัดให้ไปอยู่ในบัญชีตระกูลธรรมดา) ส่วนทายาทตระกูลบรรดาศักดิ์ที่ประสบความสำเร็จในการเพาะปลูกและยังขยันในกาศึกษาจนสอบเป็นขุนนางผ่านจะถูกจัดให้อยู่ในบัญชีที่ 3 ซึ่งทั้ง 3 บัญชีจะถูกเรียกว่า บัญชีจอหงวน(ผู้ฝึกตนอันดับ 1) ปั้งเหยี่ยน(ผู้อยู่ในครรลองสายตา) ทั่นฮวา(ผู้ปลิดบุปผา)[51] ซึ่งการเข้าบรรจุจะเลือกจากบัญชีแรกก่อนเสมอ และผู้ที่อยู่ในบัญชีแรกเท่านั้นจะได้รับการเลี้ยงดูจากราชสำนัก ในการสอบคัดเลือกแต่ละบัญชีจะมีโคต้าอยู่ในสถานศึกษาของแต่ละระดับชั้นพื้นที่ซึ่งเปรียบได้กับสภาย่อยของพื้นที่ ในระดับสูงสุดจะเรียกว่าสถานศึกษาหน้าพระที่นั่งซึ่งยึดตามจำนวนพื้นที่ย่อยสุดเป็นจำนวนตำแหน่ง ยังมีที่นั่งเสริมสำหรับบัญชีที่ 2 และ 3 เป็นส่วนเสริมตามพระบัญชา บันทึกการประชุมจะถูกจัดพิมพ์กระจายไปทั่วสถานศึกษาพื้นที่ย่อย และการเลือกขุนนางกรมกองส่วนกลาง จะเลือกเอาจากสถานศึกษาหน้าพระที่นั่งเท่านั้น ส่วนผู้ที่ไม่ถูกเลือกแล้วสอบตกจากการสอบประจำปีจะถูกส่งไปเป็นขุนนางนอกพื้นที่หรือเป็นอาจารย์ในสถานศึกษาพื้นที่ย่อย โดยการสอบหน้าพระที่นั่งเน้น เรียงความอุดมการณ์ ประพฤติจริยธรรม ถูกผิดชำระตำรา ยิงธนูสมาธิ ปริศนากลอุบาย 5 หัวข้อ

โดยหลักแล้วบรรดาศักดิ์ไม่มีผลต่อสถานะบุคคลตามความผิดอาญาและการเก็บภาษี เว้นเสียแต่เป็นเงินก้นถุงของบรรดาศักดิ์ที่จะได้รับการยกเว้นจากการเก็บภาษีเงินได้รวมถึงการนำเงินนั้นไปเก็บไว้ในกองทุน แท้จริงแล้วบรรดาศักดิ์เป็นน้ำหนักในใจของราชวงศ์ในการคิดถึงความดีในอดีตซึ่งส่งผลต่อโอกาส ในทางกลับกันมาตรฐานในการตัดสินก็จะถูกเรียกร้องให้สูงกว่าผู้มีสถานะธรรมดา ดังนั้นใช่ว่าทายาทของผู้มีบรรดาศักดิ์จะสบายใจได้ มันถูกบังคับให้ต้องมีมาตรฐานสูงกว่าคนทั่วไป ดังนั้นจึงมีการทูลลาออกจากบรรดาศักดิ์เพื่อลดมาตรฐานในการตัดสินของเหล่าทายาท

นโยบายการตรวจสอบ[แก้]

นอกจากหน่วยงานด้านการบริหารและการทหารแล้ว ยังมีหน่วยงานทางด้านการตรวจสอบ ประกอบด้วยขุนนางร้องเรียน(อวี้ซื่อ) คณะลูกขุน 13 บัณฑิตผู้ไม่เกี่ยวข้อง และสุดท้าย องค์รักษ์เสื้อแพรสุดยอดสายสืบเด็กกำพร้า หน่วยงานทั้งสามมีหน้าที่ตรวจสอบที่แตกต่างกัน ขุนนางร้องเรียนสามารถสอบถามโดยไม่ใช้หลักฐานแต่หากต้องพิจารณาโทษต้องมีการส่งเรื่องให้กรมราชทัณฑ์พิจารณา ส่วนคณะลูกขุนเมื่อมีคำฟ้องร้องไม่ว่าเป็นของเชื้อพระวงศ์ใด บทลงโทษสูงสุดทำได้เพียงปลดจากตำแหน่งเดิมเท่านั้น แต่ไม่ห้ามรับหน้าที่ใหม่ในหน่วยงานอื่นที่มีตำแหน่งเทียบเท่าหรือต่ำกว่าลงมาแต่ไม่อาจยกตำแหน่งสูงกว่าขึ้นไป และไม่มีผลต่อสิ่งที่ขุนนางเดิมกระทำไว้ ส่วนองค์รักษ์เสื้อแพรมีหน้าที่เพียงสืบสวนเป็นอิสระ แต่ไม่สามารถสอบสวนได้ ทำได้เพียงเข้าฟังการสอบสวนเท่านั้น แต่การไต่สวนเป็นพระบัญชาจักรพรรรดิ และจักรพรรดิต้องเป็นคนมือเปื้อนเลือดไม่อาจสั่งใครทำแทน ผู้บัญชาการองค์รักษ์เสื้อแพรแบ่งเป็นซ้ายขวา ฝ่ายซ้ายเป็นเชื้อพระวงศ์หมดสิ้นบรรดาศักดิ์ ฝ่ายขวาเป็นเหลนโหลนขุนนางชั้นที่ 3 ขึ้นไปที่ปลดเกษียณเมื่อสิ้นชีพมีการเลื่อนยศไล่หลังแต่ไม่มีญาติพี่น้องรับต่ำแหน่งขุนนางอีก เป็นหูตา 2 ข้างที่ถ่วงดุลกันและกัน เข้าเวรเป็นแม่ทัพน้อยองค์รักษ์ห้อยดาบหน้าบัลลังก์สลับวันคู่วันคี่ แม่ทัพน้อยเหล่านี้ ช่วงเช้าเข้าเวร ช่วงบ่ายฝึกวินัย เป็นฉากนอกสุดของราชองครักษ์ เมื่อย้อนมองกลับไปที่ขุนนางร้องเรียน เพียงคัดเลือกบัณฑิตยากไร้นักศึกษาทุนสำนักเรียนเท่านั้น อีกทั้งต้องซื่อสัตย์ ยอมหักไม่ยอมงอ ไร้ญาติขาดมิตร เรียกได้ว่าเป็นขุนนางที่ไม่ใช่ขุนนางโดยแท้จริง เมื่อเข้าสำนักตรวจสอบ มีผู้ช่วยเพียงสองคน เวลาออกไปทำงานนอกสถานที่พักได้เพียงวัดวาสำนักเรียนเท่านั้น หลังจากนั้นทำรายงานสืบสวน ทางหน่วยบัญชีสำนักตรวจสอบจะส่งงบไล่หลัง แม้ว่าสำนักตรวจสอบจะยากไร้ถึงเพียงนี้แต่มีการรับประกันชีวิตจากฮองเฮา องค์รักษ์ลับของฮองเฮาจะค่อยลอบติดตามอารักษ์ขา เพราะตำนานปรมาจารย์ผู้ก่อตั้งลัทธิหยูมีบุตรีโสดเป็นคนหนุนหลังหลังจากภรรยาของปรมาจารย์สิ้นไปก็ได้คุณหนูผู้นี้ค่อยสนับสนุนเหล่าลูกศิษย์จึงก่อให้เกิดสำนักตรวจสอบขึ้นมา

สำนักสอบสวน[แก้]

งานสืบสวนและสอบสวนถูกแยกออกจากกันต่างหาก เจ้าหน้าที่สืบสวนสามารถเข้ารวมการสอบสวนได้ แต่เมื่อเริ่มสอบสวนต้องมีคำสั่งฝากขัง โดยฐานะผู้ถูกยื่นฝากขังจะสัมพันธ์ผู้ที่อนุญาต หากผู้ถูกสอบสวนมีนายชั้นราชาจะต้องยืนขอต่อสำนักงานของราชาโดยตรง หากคดีมีความเกี่ยวข้องกับราชาที่ยืนขอ จะต้องส่งสำเนาให้จักรพรรดินีอีกด้วย โดยในการสอบสวนหากพนักงานสืบสวนยังสงสัยสามารถยื่นขอให้สำนักสอบสวนใช้ทัณฑ์สอบสวนได้ แต่ก่อนใช้ทัณฑ์ต้องมีพยานสามฝ่าย ได้แก่ พนักงานสืบสวน เจ้าหน้าที่ตรวจสอบของพนักงานสอบสวน(เพื่อตรวจสอบทัณฑ์ที่ใช้จะมีผลต่อผู้ถูกลงทัณฑ์ในภายหลัง) และแพทย์หญิงจากสำนักสภากาชาดของจักรพรรดินี โดยผลของการสอบสวนจะถูกทำเป็นรายงานส่งให้ตุลาการทำการไต่สวน แม้ตุลาการจะไม่สามารถตั้งประเด็นสงสัยได้ แต่สามารถใช้การไต่สวนยกเลิกประเด็นข้อสงสัยในการสืบสวนได้ เมื่อตุลาการไต่สวนเสร็จต้องส่งรายงานไต่สวนให้เบื้องสูงต่อไปตามแต่ละบทลงโทษ หากมีความผิดถึงชีวิตต้องส่งให้จักรพรรดิรีอนุมัติ

นโยบายทางการทหารนอกทัพกิเลน[แก้]

กองกำลังนอกทัพกิเลนล้วนเป็นทหารอาชีพ ประกอบด้วยฐานที่มั่นจำนวนมากแต่ละฐานที่มั่นมีกำลังพลไม่เกิน 3,000 คนจาก 3 กองกำลังไม่ซ้ำกัน มีนายทหารยศพันจัตวาคุมค่าย(นายทหารยศนายร้อยที่ยังไม่ผ่านการอบรมเสนาธิการสามารถสั่งการกองกำลังที่แตกต่างกันประสานส่งเสริมกันซึ่งติดยศนายพันย่อมไม่สามารถคุมค่ายได้ ทำได้เพียงดำรงตำแหน่งรักษาการ) 3 นายถ่วงดุลกันและกัน ส่วนนายทหารระดับพันตรีคุมกำลังมากกว่า 2,000 คนขึ้นไป(เฉพาะกองกำลังทัพเดียวกัน) ให้ประจำการในเมืองต่างจากนายทหารประจำฐานที่มั่นที่ต้องอยู่นอกเมือง และมีขุนนางบุ๋นเป็นคนสนิทจากกรมกลาโหมได้เพียงหนึ่งในพันส่วนที่คุมกำลังพล การเคลื่อนย้ายกำลังพลออกจากฐานที่มั่นเกิน 100 นาย ต้องมีนายทหารที่ประจำเมืองควบคุมเดินทางไปด้วย ส่วนการเคลื่อนไหวของกำลังพลตั้งแต่ 1,000 คนขึ้นไป นอกจากเชื้อพระวงศ์ระดับขั้นต่ำสุดแล้ว ยังต้องมีขุนนางประจำสำนักตรวจสอบผู้ถือราชโองการพร้อมตราจักรพรรดิเดินทางไปพร้อมกัน เชื้อพระวงศ์เป็นผู้ตรวจสอบความดีความชอบ สำนักตรวจสอบเป็นร้องเรียนความผิดพลาด แต่ทั้งคู่ไม่มีอำนาจสั่งการ นายทหารประจำเมืองเป็นผู้สั่งวัตถุประสงค์ประเมิลผล นายทหารประจำฐานที่มั่นเป็นผู้สั่งวิธีการ ยังยุทธการที่มีต้องการพลทหารมากกว่า 1,000 คน ต้องมีเจ้าหน้าที่เสนาธิการจากสำนักเสนาธิการประจำแคว้นติดตามค่อยวิเคราะห์ข้อมูลให้นายทหารประจำเมือง เมื่อเป็นเช่นการเคลื่องกำลังทัพจะประกอบด้วย นายทหารนำกองพัน อวี้ซื่อคุมทัพ เชื้อพระวงศ์คุมความชอบประหารกบฏ นายทหารควบคุมสื่อสาร กุนซือวิเคราะห์สถานการณ์ เป็น 5 ส่วนควบคุมกองทัพ

ฐานที่มั่นทางทหาร[แก้]

ฐานที่มั่นหนึ่งแห่งจะประกอบด้วยกองกำลังจากทัพต่างๆ ไม่เกิน 3 ทัพ สามารถตั้งทัพเดียวได้โดยจะเรียกว่าค่าย 1,000 คน หรือ กอง 100 คน หรือ หอสัญญาณ 10 คน แต่ละฐานที่มั่นจะมีนายพันตรีหนุนหลังประจำการในเมือง 3 คนจากทัพ นายทหารยศนายพันตั้งแต่ ตรี(2K) โท(5K) เอก(10k) จะมีขั้นตำแหน่งไม่ต่างกัน จะต่างกันที่การอบรมเสนาธิการ 3 หลักสูตร ได้แก่ ประสานทัพ(ร่ำเรียนกับนายพลประจำเมือง) พิชัยสงคราม(ร่ำเรียนกับโรงเรียนเสนาธิการประจำแคว้น) การรับใช้กษัตริย์(ร่ำเรียนเรียนในทัพราชองครักษ์ของจักรพรรดิ) ซึ่งเมื่อผ่านหลักสูตรทั้ง 3 จึงสามารถเป็นแม่ทัพระดับหมื่นคน หรือเป็นผู้ช่วยจอมทัพ 10 หมื่นได้ ในระดับจอมพลจอมทัพไม่มีตำแหน่งสูงกว่านี้ แต่จะเปรียบเทียบผลงานศึก หากเป็นศึกที่งดงามแตกต่างกันก็จะได้รับดาวที่แตกต่างกัน เช่น ดาวเพชร ดาวทอง ดาวเงิน ส่วนดาวทองแดงถือว่าเป็นความอัปยศ และการขึ้นเป็นนายพลและจอมทัพจะพิจารณาจากลูกศิษย์ว่าสามารถขึ้นเทียบเท่ากับตนได้ในจำนวนเท่าใด หากว่าผ่านเกณฑ์จึงจะสามารถเลื่อนขั้นได้

กรมกลาโหม สำนักตรีพยุหเสนา สำนักเสนาธิการ[แก้]

ในกิจการทหารประกอบด้วย 3 หน่วยงานหลัก ประกอบด้วยกรมกลาโหม ควบคุมการจัดสรรกำลังพลควบคุมอำนาจจัดสรรตำแหน่ง วัตถุดิบอาวุธ และเสบียง สำนักตรีพยุหเสนา ควบคุมการฝึกกำลังพลทั้งสามรูปแบบ ได้แก่ ทหารเกณฑ์ทั่วแผ่นดิน ตระกูลทหาร และทหารอาชีพ ส่วนสำนักเสนาธิการรับผิดชอบการฝึกนายทหารที่ควบคุมการรบที่ส่วนกลางออกแบบยุทธวิธี

สภาบัณฑิต[แก้]

สภาบัณฑิตเป็นชุมนุมผู้ผ่านการทดสอบขั้นสูงสุดของจักรพรรดิจากทั้ง 4 สนามสอบ 4 ความเชื่อของขุนนาง โดยมีมหาบัณฑิต ทั้ง 7 จาก 4 ความเชื่อ 1 พระราชทาน 1 ผลโหวตทั้งสภาบัณฑิต 1 อาวุโสสูงสุดในสภา เป็นผู้นำ บัณฑิตในสภานอกจากผ่านการทดสอบแล้ว ยังมีบัณฑิตผู้มีอาวุโสสูงสุดจากท้องถิ่น ราชบุตรเขยที่ผ่านการทดสอบขององค์หญิงผู้ปฏิเสธราชบัลลังก์ โดยเหล่าสมาชิกสภาบัณฑิตจะได้รับเพียงเบี้ยเลี้ยงรายเดือนเท่านั้น แต่มีหน้าที่เสนอวิธีการที่คณะราชเลขาธิการส่งเรื่องลงมาหาวิธีแก้ปัญหา หากบัณฑิตคนใดเสนอวิธีการที่เป็นไปได้ และได้รับการโหวตเห็นด้วยจากสภาทั้งหมดมากพอ จะได้รับบันทึกไว้หอเกียรติยศและอาจได้รับพระราชทานเบี้ยเลี้ยงเพิ่มเป็นรายเดือนเป็นโบนัสหรือได้รับคันเลือกเข้ารับตำแหน่ง

นโยบายการจัดการกับตระกูลใหญ่[แก้]

การก่อตัวของกลุ่มตระกูลใหญ่ที่เห็นแก่ประโยชน์ของตระกูลมากกว่ารัฐ แม้ในตระกูลจักรพรรดิก็ไม่จำเป็นต้องสืบสายเลือดโดยตรงจากจักรพรรดิองค์ก่อนจึงจะสามารถสืบทอดตำแหน่งได้ การเลือกใช้คนมีความสามารถเท่านั้นจึงสามารถรักษาระบบไว้ได้ ดังนั้นบรรดาตระกูลใหญ่ที่จัดได้ว่าเป็นมหาอำนาจสืบต่ออำนาจมาหลายชั่วรุ่นจำเป็นต้องมีการจัดการให้อยู่ในระบบ เริ่มจากการชักฟื้นออกจากเตา ทายาทของผู้นำตระกูลหรือผู้อาวุโสที่มีอำนาจอื่นๆ ต้องกระจายตัวออกไปวางตำแหน่งเว้นระยะซึ่งกันและกันมีการคั้นระยะ

การสืบทอดมรดกอนุญาตให้มีเพียงผู้นำตระกูลรุ่นต่อไปเท่านั้นที่อยู่ประจำศาลประจำตระกูลได้ลูกหลานที่เหลือต้องกระจายตัวออกไปและได้รับเงินและหุ้นในจำนวนที่เท่าเทียมกัน ส่วนที่ดินถือว่าเป็นของรัฐอยู่แล้ว เมื่อสิ้นชีวิตต้องขายคืนให้กับรัฐ เว้นที่ดินประจำศาลประจำตระกูลซึ่งเป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้นำตระกูลรุ่นต่อไป ส่วนกระกระจายออกไป สามารถกระทำก่อนที่ผู้นำตระกูลรุ่นนั้นๆจะสิ้นชีพซึ่งมีผลบังคับทันทีให้กระจายตัวโดยไม่มีการเตรียมการ

การกลับคืนสู่ต้นตระกูลอนุญาตให้กระทำ 4 ปีครั้ง ในปีที่มีอธิมาศ 13 เดือน ซึ่งถือเป็นเดือนหยุดประจำรัฐในรอบ 4 ปี โดยผู้ที่สามารถเดินทางกลับมาที่ต้นตระกูลได้คือผู้นำย่อยในสาขาตระกูลนั้นๆ 1 คนและเหล่ารุ่นเยาว์ที่ยังไม่ได้ประจำการในกองทัพกิเลน

นโยบายสลายชาติพันธุ์[แก้]

หลังจากไท่จู่ฮ่องเต้องค์แรกซึ่งสามารถยึดแผ่นดินจากฝั่งตะวันออกไปจรดฝั่งตะวันตก เพื่อให้เกิดความเป็นปรึกแผ่นจึงกำหนดภาษา ๔ ภาษาสำหรับงาน ๔ ด้าน และการหล่อมรวมชาติพันธุ์ทั้ง ๔ (เอเชีย(เหลือง) ยุโรป(ขาว) นิโกร(ดำ) พื้นเมือง(แดง))ให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อป้องกันปัญหาความแตกแยกในอนาคต กองทหารกิเลนในระดับกองร้อยและกองพล(หมื่นนาย)จะต้องฝึกวินัยและเข้าเวรหนักเป็น 4 เท่าหากกลุ่มสมาชิกไม่เกิดสมดุลของทั้ง 4 ชาติพันธุ์ หรืออาจกล่าวได้ว่า 1 เดือนแบ่งเป็น 4 สัปดาห์ กองร้อยนั้นๆ ไม่มีโอกาสได้ออกเวร ต้องอยู่ในค่ายตลอดเวลาแม้ว่าภารกิจในการฝึกนั้นๆจะสำเร็จ แต่ยังต้องใช้แรงงานเพิ่มเป็น 4 เท่าต่อไป และยิ่งผ่านไปในรุ่นที่ 2 และ 3 ซึ่งเริ่มมีเด็กลูกครึ่ง 2-4 ชาติพันธุ์ การฝึกจะเพิ่มเป็น 8 เท่า และ 16 เท่าตามลำดับ กลุ่มกองที่ยังรักษาความเป็นชาติพันธุ์เดียวเอาไว้จะต้องทำงานหนักหลายเท่าในขณะที่กองผสมทำงานน้อยกว่าเพื่อให้ได้คะแนนที่เท่ากัน

มาตราการดังเป็นเพิ่งกระบวนการขั้นต้นในการหล่อสรวมชาติพันธุ์ จุดสำคัญคือผู้ปกครองมองประชากรในฐานะเท่าเทียมกันไม่มีการแบ่งชนชั้นผิวพันธุ์ ผู้ปกครองในระดับเจ้าเมืองระดับหมื่นคนขึ้นไปต้องใช้ได้ทั้ง 4 อย่างทั้งอ่านเขียนเป็นข้อกำหนดเบื้องต้น โดยเฉพาะในอนาคตลูกครึ่งจะได้รับการพิจารณามากกว่าผู้ปกครองทั่วไป หากทั้งคู่มีความสามารถเท่ากันลูกครึ่งที่มีประวัติครอบครัวดีจะได้รับพิจารณาก่อน ผู้มีความสามารถที่มุ่งสู่การรักษาความบริสุทธิ์ของเผ่าพันธุ์ แต่เมื่อถึงจุดที่เกิดความขัดแย้งการตัดสินผ่านการโหวตเกินสามส่วนสี่จึงจะสามารถขัดแย้งข้อบังคับนี้ได้

นโยบายพัฒนาวิวัฒนาการของมนุษย์[แก้]

ด้วยการที่ต้องการเก็บไข่ตัวอ่อนในรังไข่ของสตรีที่ถูกคัดเลือกมาเป็นแม่พันธุ์(ซึ่งในปัจจุบันในการอันตราซาร์ดในการตรวจสอบ)ในการสร้างเชื้อไขมังกรในระยะเวลา 5 ปีให้ได้มากที่สุด จึงมีการพัฒนาวิชากำลังภายในเสริมสร้างประสามทสัมผัสที่ 7 ใช้คลื่นในการรับรู้ซึ่งเป็นอีกวิวัฒนาการอีกระดับหนึ่งของมนุษย์ เหล่าแพทย์หญิงจึงฝึกวิชาคลื่นสัมพันธ์ขึ้นซึ่งจะเน้นไปที่ความละเอียดอ่อนในการรับรู้

นโยบายความเท่าเทียมของสตรี[แก้]

เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างสตรีและบุรุษ นอกจากการให้อิสระในการประกอบอาชีพแก่สตรี ในแนวทางการปกครองกองกำลังกองร้อยกิเลนของฮ่องเต้จะบังคับให้ฝ่ายชายหญิงมีจำนวนเท่าเทียมกันแบ่งเป็น 2 กองทัพเท่ากัน และอีกสิทธิหนึ่งที่สำคัญ ข้ออนุญาตในการหย่าร้างต่อสตรี ได้แก่ ไม่ให้กำเนิดบุตร มั่วโลกีย์ ไม่เชื่อฟังบิดามารดาของสามี ทะเลาะวิวาท ลักขโมย อิจฉาริษยา เป็นโรคร้ายแรง ยังมีข้ออนุญาตในการหย่าร้างต่อบุรุษอีกด้วย ได้แก่ ไม่รับผิดชอบครอบครัว ไม่รับอนุญาตแต่รับสตรีเข้าเรือน ไม่เล่าเรียนเขียนอ่าน ทำร้ายร่างกายสตรี แย่งชิงสินเดิม ไม่ฟังคำตักเตือนของภรรยา เป็นโรคสตรี นอกจากนี้ กฏหมายยังบังคับให้บุตรชายใช้แซ่มารดา บุตรสาวใช้แซ่บิดาอีกด้วย ซึ่งหากมีการหย่าเด็กย่อมต้องติดตามผู้มีนามสกุลเดียวกันเว้นผู้ถูกหย่ามีความผิดตามหลักข้ออนุญาตในการหย่าร้างสามารถยื่นให้เด็กอยู่ภายใต้การเลี้ยงดูของส่วนกลาง หลังจากนั้นเมื่อเด็กคนนั้นสมรสจึงสามารถเลือกได้ว่าจะกลับไปอยู่กับฝ่ายมารดาหรือบิดาก็ได้

นโยบายด้านเงินตรา[แก้]

การออกใบรับฝากทองแท่งเป็นอำนาจของวังจักรพรรดิเท่านั้น ส่วนวังอ๋องสามารถออกใบรับฝากเงินแท่งได้ การรับชำระทางราชการเช่น เงินภาษี ส่วย อากร จะรับชำระเพียงใบรับฝากเท่านั้น ส่วนเอกชนสามารถออกใบรับฝากทองแดงได้ ร่วมถึงร้านเงินตราที่ให้กู้เงินกฎหมายบังคับให้ใช้เป็นอัตราส่วนเหรียญทองแดง แน่นอนว่ายิ่งเวลาผ่านไปการแลกเปลี่ยนเงินแท่งเป็นใบรับฝากทองแท่งจะมีอัตราส่วนมากขึ้นเป็นมูลค่าเงินเฟ้อ แต่ต้องคำนวณจากอัตราส่วนเหมืองแร่ทองคำ เงิน และทองแดง ทั่วแผ่นดิน

ค่าเงินเฟ้อกับเงินตราแบบมูลค่าคงตัว เงินตราแบบมูลค่าคงตัวเป็นเงินตราที่อิงกับโลหะที่มีคุณสมบัติพิเศษสามตัวคือ ธนบัตรทอง(ใบรับฝากทองแท่ง) เหรียญเงิน เหรียญทองแดง

โดยทองแดง100 เหรียญทองแดง เท่ากับ เงินหนึ่งเหรียญเงิน ส่วนเงิน 500 เหรียญเงิน เท่ากับ ทองหนึ่งเหรียญทอง

การแลกเปลี่ยนไปมาระหว่าง ทอง เงิน และทองแดงนั้น มีกฏควบคุมอยู่ ทอง สามารถแลกลงมาเป็นเงินได้ แต่ไม่สามารถแลกเงินกลับขึ้นมาเป็นทองได้ การแลกเงินเป็นทองแดงนั้นถูกคงค่าไว้ที่ 100 เหรียญ แต่ไม่มีการลอยตัวเหมือนทองกลับมาเป็นเงินด้วยอำนาจเงินเฟ้อ แต่แม้จะจะมีทองแดงมากแต่ก็ไม่สามารถใช้ทองแดงเกินจำนวนเหรียญทองแดงที่มีการควบคุมให้พอกับปัจจัยยังชีพ ส่วนการแลกทองนั้นใช้เหรียญทองแดงได้เท่านั้น และจำนวนที่แลกได้ก็ขึ้นอยู่กับยศ เช่น นายสิบ นายร้อย นายพัน ส่วนนายพลแลกได้เท่ากับนายพันเท่านั้นซึ่งก็หมายความว่าว่าดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาลงมา 2 ขั้นเท่านั้น

เงินตราแบบมูลค่าคงตัวจะเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างพื้นที่บริหาร และระหว่างพื้นที่บริหารจะออกตั๋วกู้เงินซึ่งเป็นเงินตราที่ใช้ในพื้นที่ของตัวเองทางด้านธุรกรรมของรัฐเช่นภาษี โดยตั๋วกู้เงินจะมีดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อของตัวเอง ซึ่งดูจากฤดูที่ใช้ในการกู้โดยแบ่งเป็น 1 ฤดู 4 ฤดู(1ปี) 12 ฤดู (3ปี) 40 ฤดู (10ปี) 120 ฤดู (30ปี) โดย เมื่อผ่านเวลาในการชำระตั๋วกู้เงินจะลดดอกเบี้ยลงเมื่อชำระโดยเวลาชำระจะจ่ายเป็นเหรียญเงิน

ตั๋วต่างๆ จะถูกพิมพ์โดยวังจักรพรรดิเท่านั้นโดยใช้ฝ้ายและไหมมาทำเป็นกระดาษทนน้ำที่ปลอมแปลงได้ยาก

การเปลี่ยนทองแท่งให้เป็นใบรับฝากทองนั้นนอกจากใช้ในการชำระภาษีให้จักรพรรดิผ่านกองกำลังทหารที่ตั้งด่านต่างๆแล้ว จุดสำคัญคือการซื้อใบหุ้นส่วนนั้นรับชำระเป็นใบรับฝากทองเท่านั้น

เงินตอบแทนทางราชการ[แก้]

ตั้งแต่จักรพรรดิจนถึงขุนนางขั้นต่ำสุดมีเบี้ยเลี้ยงรายเดือนเท่าเทียมกัน แต่ที่แตกต่างคือเงินกองทุนประจำตำแหน่งที่มากน้อยตามแต่ละตำแหน่งเงินกองทุนนี้อยู่ในส่วนที่เรียกว่ากองทุนแห่งรัฐ หากเป็นเงินปั่นผลจากกองทุนจะไม่เรียกเก็บภาษี แต่หากขายออกมาเป็นเงินสดจะถูกเรียกเก็บภาษีไว้ หากออกจากตำแหน่งเงินไม่เต็มจำนวนตามตำแหน่งจะต้องหามาใช้คืนให้ครบถ้วน แต่การสลับไปมาในกลุ่มกองทุนจะไม่ถูกนับ ส่วนการตกลงมาของราคาหน่วยกองทุน หากไม่มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติทางวินัยการเงินหรือการขายออกมาอย่างผิดปกติจะถือว่าเป็นการโอนคืนอย่างถูกต้อง

อีกทั้งภรรยาและบุตร ห้ามเกี่ยวข้องธุรกิจ ค้าขาย หรืออาชีพที่เกี่ยวข้องกับอำนาจขุนนาง อนุญาตให้ประกอบอาชีพเป็นข้าราชการต่างกรมและครูอาจารย์เท่านั้น

การรับตำแหน่งตัวขุนนาง อ๋อง แม้แต่ฮ่องเต้ รวมถึงภรรยาและบุตรต้องแสดงบัญชีสินทรัพย์ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งและออกจากตำแหน่ง การแสดงบัญชีเช่นนี้เป็นการส่งข้อมูลให้กรมความมั่นคงแผ่นดิน

นโยบายการค้าที่ยุติธรรม[แก้]

การค้าขายหากเกิดการแข่งขันที่ละเมิดกฏเกณฑ์ผิดจากสภาพตลาด ทั้งสองฝ่ายเจรจาแล้วไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน อนุญาตให้ใช้กำลังตัดสินกันบนสังเวียนโดยบังคับให้ตัวเจ้าของกิจการสวมเครื่องป้องกันศีรษะ มือ แข้ง และหากส่วนสูงต่างกัน ฝ่ายเสียเปรียบอนุญาตให้ใช้ดาบไผ่ ฝ่ายได้เปรียบสวมเกราะแขนเพิ่มเติมได้ โดยให้ต่อสู้กันจนกว่าจะย่อมแพ้ แต่หากทุพพลภาพมีโทษเท่ากับการเสียชีวิต และหากเสียชีวิตจะถูกยึดกิจการเพิ่มอีกด้วย

อื่นๆ[แก้]

อาหาร ร้านค้ากึ่งรัฐวิสาหกิจสหกรชุมชน

เนื้อสัตวแปรรูปผสมเกลือ

เนื้อสัตวสำเร็จรูปในกระป๋องหรือภาชนะไม้ไฝ่ลงรักผนึกสูญญากาศ ขวดแก้ว

เรือขุดคลองส่งน้ำ

รอก. ธนูทดแรง

ฮองเฮา[แก้]

เนื่องจากฮองเฮาเป็นปราการสุดท้ายของจักรวรรดิ ในการคัดเลือกราชธิดาที่เหมาะสมต้องผ่านด้านมืดของมนุษย์เสียก่อนจึงจะเหมาะสมกับตำแหน่งนี้ หน้าที่ในการมอบประสมการณ์สุดเลวร้ายนี้เป็นของไทเฮาในการวางแผนสำหรับชักใยบุคคลที่เลวร้ายในการมอบประสบการณ์นี้ให้ราชธิดาเป็นการลับ ในเหล่าราชธิดาที่สามารถผ่านความเลวร้ายนี้มาได้ จะเข้าทดสอบพันตำราหมื่นคำภีร์เพื่อทดสอบการอ่านความทรงจำเพื่อให้คุ้นเคยกับชีวิตที่ต้องอยู่กับฏีกาตลอดสามสิบในอนาคต ส่วนด่านสุดท้ายการตัดสินใจเลือกจักรพรรดิจากเหล่ารัชทายาท จากสองในสามส่วนของตัวเลือกจะถูกตราว่าเป็นตัวเลือกที่เลวร้าย หากราชธิดาเลือกตัวเลือกเหล่านั้น นางจะถูกปลดออกจากว่าที่ฮองเฮาทันที จากนั้นตัวเลือกสำรองจะเข้ามาแทนที่ ในทางกลับกัน หากยังไม่ถึงกำหนดแต่งตั้งจักรพรรดิ ราชธิดาสามารถเปลี่ยนตัวเลือกได้ด้วยอธิบายเหตุผลในการปฏิเสธเช่นเดียวกับการอธิบายเหตุผลในการตอบรับเลือก

วังหลัง[แก้]

เนื่องจากการปรับตำแหน่งจักรพรรดินีหรือฮองเฮาให้เป็นของพี่สาวคนโตโดยมีอำนาจในการตรวจหนังสือกราบทูล และฮ่องเต้สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เฉพาะกับอัครมเหสีหรือก็คือกุ้ยเฟยซึ่งเป็นตำแหน่งหญิงคนรัก ซึ่งหากฮ่องเต้ไปมีสัมพันธ์กับสตรีอื่น ตำแหน่งกุ้ยเฟยจะถูกปลดโดยอัตโนมัติโดยเหลือเพียงตำแหน่งเฟยธรรมดา ซึ่งเหล่าเฟยทั้งหมดจะมีตำแหน่งเป็นเพียงพระชายาเท่านั้น(แต่หากพระสนมท่านใดเกิดหลงรักฮ่องเต้จริงจนไม่อาจห้ามใจและกุ้ยเฟยประทานอนุญาตรวมถึงยังไม่เคยตั้งครรภ์มาก่อน จะได้รับการแต่งตั้งเป็นเฟยฝ่ายนอกเป็นพิเศษ) สตรีอื่นในวังหลังมีหน้าที่เพียงการตั้งครรภ์โดยวิธีทางการแพทย์เท่านั้นด้วยฐานะพระสนม ซึ่งแตกต่างจากเฟยและกุ้ยเฟยซึ่งไม่มีสิทธิในการตั้งครรภ์ภายใน 10 ปีแรกที่มีการครองบังลังค์ หลังจากนั้นเฟยจึงจะมีสิทธิตั้งครรภ์ได้โดยไม่ต้องทำการคุมกำเนิดชำระครรภ์ โดยองค์ชายและองค์หญิงเหล่านั้นไม่มีสิทธิในการครองบัลลังค์และไม่ได้รับหมายเลขลำดับ

พระสนมครรภ์ศักดิ์สิทธิ์[แก้]

สตรีโสดที่อายุ 20-25 ปี (โดยปกติเด็กสาวจะปักปิ่นเมื่ออายุ 15 ปี แม่สื่อจึงเข้าหาได้ ส่วนการหมั่นมักกระทำกันก่อนปักปิ่น โดยพ่อแม่ของเด็กโดยตรง) ภายใต้การเสนอชื่อและการคัดเลือกซึ่งจะได้รับผลประโยชน์โดยการได้รับหุ้นจากตลาดทุนทรัพย์เป็นเงินสินสอด แต่พระสนมเหล่านี้ จะถูกกีดกันไม่ให้เข้าพบฮ่องเต้ แม้เจอหน้าต้องทำการสมหมวกคุมหน้าชุดคุมและห้ามเอยเสียงโดยเด็จขาดตลอด 10 ปีแห่งการตั้งครรภ์ศักดิ์สิทธิ์ หลังจากนั้นพระสนมที่ตั้งครรภ์จะถูกเชิญออกจากวัง ในปีที่ 12 ซึ่งสามารถแต่งงานใหม่ได้ แต่มีพระราชอำนาจคุ้มครองให้ครอบครัวบิดามารดาต้องดูแลเป็นเวลา 18 ปี สำหรับสตรีที่ให้กำเนิดพระโอรสพระธิดา ส่วนพระสนมที่ไม่สามารถตั้งครรภ์จะได้รับการดูแลโดยสำนักแม่นมของราชสำนักเป็นพิเศษ สำนักแม่นมแห่งราชสำนักเป็นสำนักแพทย์ที่ฝึกวรยุทธที่เปลี่ยนสตรีให้มีธาตุหยางบริสุทธิ์ โดยรับเฉพาะสตรีที่เกิดธาตุหยางแล้วยังมีนิสัยเป็นธาตุหยางด้วย แม่นมแห่งราชสำนักไม่ใช่แม่นมของเหล่าองค์ชายองค์หญิง แต่เป็นแม่นมของพระสนมครรภ์ศักดิ์สิทธิ์ สามารถร่วมบรรทมกับพระสนมครรภ์ศักดิ์สิทธิ์เตียงเดียวกันได้ เป็นผู้นำฝึกกระบี่แก่พระสนมในช่วงเช้า และทำหน้าผสมเทียมให้แก่พระสนมครรภ์ศักดิ์สิทธิ์ ค่อยดูแลพระสนมครรภ์ศักดิ์สิทธิ์เวลามีระดู สำนักแม่นมแห่งราชสำนักขึ้นตรงกับไทเฮาโดยตรง

ส่วนเงื่อนไขในการคัดเลือกสตรีเป็นพระสนม พิจารณาที่มารดาเป็นอันดับแรก หากมีบุตรชายที่ได้รับป้ายชิงเทียน ซึ่งหมายถึงได้รับการขนานนามจากประชาชนถึงความซื่อสัตย์ ก็จะผ่านเงื่อนไขแรก หลังจากนั้นจะทดสอบร่างกายโดยแข่งขันการยิงธนูศรวารีชาดและในงานซ้อมรบป้องกันกำแพงเฉลิมบัลลังก์ของจักรพรรดิ เป็นเงื่อนไขที่สอง หลังจากตรวจร่างกายว่าสามารถตั้งครรภ์ได้เป็นอย่างดี ก็จะถูกคัดเลือกโดยฮองเฮาเป็นสิทธิขาด และหลังจากได้รับการแต่งตั้งก็ยังอยู่ในการดูแลของฮองเฮาเพียงผู้เดียว แม้ในกรณีที่ฮ่องเต้หญิงที่ขัดเลือกจากเชื้อพระวงศ์หญิงก็รักษากฎเกณฑ์นี้ แต่มารดาของเชื้อพระวงศ์หญิงไม่จำเป็นต้องได้ป้ายชิงเทียน แต่เชื้อของฝ่ายชายต้องได้ป้ายชิงเทียนหรือป้ายกล้าหาญทางฝ่ายทหาร

ตลาดทุนทรัพย์[แก้]

เป็นเสมือนบ่อนพนันและแหล่งเงินทุนทางธุรกิจที่พัฒนาให้เป็นทางการขึ้นมา โดยมีการซื้อขายหุ้นและมีการเปิดทำการฤดูกาลละ 1 ครั้ง ซึ่งภายใน 3 เดือนต้องทำการสรุปบัญชีแจงงบใช้จ่ายรวมทั้งการคาดการณ์ธุรกิจภายใน 3 เดือนข้างหน้า และ 1ปีต้องทำรายงานใหญ่อีก 1ครั้ง ทางตลาดจะพิมพ์หนังสือรายงาน รวมถึงราคาหุ้นและจำนวนผู้ถือหุ้นออกมาในช่วง 7 วันก่อนเปิดทำการและเปิดทำการซื้อขายโดยทางวังหลังจะได้รับหนังสือราคาหุ้นก่อน จากนั้นจึงส่งให้ที่ทำการหน้าตลาดหลักทรัพย์ โดยตัวแทนซื้อขายจะพักในที่ทำการตลาดหุ้นเพื่อทำการซื้อขายสรุปบัญชีซื้อขายในวันนั้น โดยหุ้นของกิจการที่มีการซื้อขายจะแบ่งออกมาเป็น 3 แบบ

  1. หุ้นบริหาร ซึ่งแต่ละกิจการเมื่อทำการจดทะเบียนในตลาดจะมีการทำการจดทะเบียนหุ้นบริหารทั้งหมด 5 ส่วนในทุกกิจการ ซึ่งหุ้นตัวนี้จะมีการเปลี่ยนมือได้ 3 เดือนหรือฤดูกาลต่อครั้ง ซึ่งเจ้าของหุ้นจะได้รับบัญชีกิจการสำหรับผู้บริหารในแต่ฤดู รวมถึงการปันผลกำไร ในหุ้นบริหาร 5 ส่วน จะมี 1 ส่วนแรกที่เรียกว่า หุ้นผู้ก่อตั้ง ซึ่งมีอำนาจตัดสินใจสูงสุดเชื่อมโยงอำนาจจากหุ้นปันผลอีก 5 ส่วนที่เหลือ ส่วนหุ้นบริหารที่เหลืออีก 4 ส่วนที่เหลือเป็นหุ้นกรรมการ อนุญาตให้ 1 สกุลถือครองได้สูงสุดไม่เกิน 1 ส่วนและต้องไม่เชื่อมโยงกรรมการที่เหลืออีก 3 คนโดยการเป็นญาติ 7 ชั่วโคตร หุ้นส่วนนี้อนุญาตให้พระสนมครรภ์ศักดิ์สิทธิ ขุนนางบรรดาศักดิ์ผู้ออกจากราชการประจำ ตระกูลพ่อค้าที่ไม่เกี่ยวดองใดกับขุนนาง กิจการร่วมทุน เป็นต้น ดังนั้นผู้ถือหุ้นส่วนนี้ห้ามไม่ให้ใช้อำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ในการแสวงหาผลประโยชน์โดยตรง รวมถึงการคบหากับขุนนางที่เกี่ยวข้อง การถือหุ้นส่วนนี้จะถูกตรวจสอบจากตัวแทนซื้อขายจากทั้งฝ่ายในและฝ่ายนอก และสามารถยืนขอข้อมูลตรวจสอบจากองค์รักษ์เสื้อแพรได้
  2. หุ้นปันผล คือหุ้น 5 ส่วนที่เหลือที่อำนาจการตัดสินใจอยู่ในมือผู้ก่อตั้งทว่าไม่ได้รับปันผล แต่นำหุ้นมาจดทะเบียนกับธนาคารต่างๆ ในรูปแบบของกองทุน หุ้นแบบนี้จะไม่มีสิทธิในการบริหารกิจการ แต่จะมีการรับรองในการปันผล ซึ่งบางครั้งหากกิจการขาดทุน ผู้ถือหุ้นบริหารอาจไม่ได้รับเงินปันผล แต่ผู้ถือหุ้นปันผลจะต้องได้รับเงิน และตัวหุ้นปันผลจะถูกผูกติดกับทรัพย์สินของกิจการ เช่น ที่ดิน อาคาร การจดหุ้นลักษณะนี้เพิ่มต้องมีหลักทรัพย์ในการจดหุ้นปันผล ส่วนบัญชีต้องมีการส่งเข้ามาตรวจสอบในวังหลังโดยพระสนม แต่จะไม่มีการลงรายละเอียดในการเชื่อมโยงบุคคล แต่จะมีการลงรายละเอียดถึงความถูกต้องของบัญชีเท่านั้น พระสนมจะไม่มีวันรู้ว่าบัญชีเป็นของใคร รู้เพียงรหัสของกิจการเท่านั้น ซึ่งตัวกลางระหว่างกิจการกับวังหลังคือ ธนาคาร การที่พระสนมสามารถทำเช่นนี้ได้เพราะถือว่าเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีหลวงตรวจสอบด้านทุนทรัพย์ 5 ส่วนหลังนี้
  3. หุ้นเงินกู้ หุ้นลักษณะนี้มีความเสี่ยง ซึ่งการจดทะเบียนหุ้นลักษณะนี้มีกำหนดเวลาในการซื้อคืนและราคาซื้อคืน แต่หากกิจการล้มเหลวบังคับขาย หลังจากการถอนทุนคืนจากหุ้นปันผลแล้ว ลำดับต่อมาจะเป็นส่วนของ หุ้นกู้ ต่อจากนั้นถึงเป็นรอบของหุ้นบริหารในการสรุปบัญชี

หุ้นเงินกู้มีเปิดขายทุกวันทำการ เป็นการเปิดอิสระให้ผู้คนทั่วไปสามารถซื้อขายได้ แต่จะได้รับเงินปันผลไม่เกิน 6/100 ต่อปี ต่างจาการหุ้นบริหารที่ไม่สามารถจ่ายเงินปันผลเกิน 12/100 ต่อปี ส่วนหุ้นปันผลเนื่องจากการเฉลี่ยจากหลายกิจการแต่ก็เป็นการลดความเสี่ยง หากเป็นปีที่มีผลตอบแทนอุดมสมบูรณ์ก็อาจขึ้นไปถึง 1/10 แต่ในปีที่แย่จะต้องไม่ต่ำกว่า 6/100 มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นความผิดของผู้จัดการกองทุน หากหุ้นปันผลมีอัตราส่วนปันผลน้อยกว่า 6/100 ต่อปี กองทุนสามารถเรียกบัญชีผู้บริหารเข้ามาตรวจสอบได้ หากต่ำกว่า 6/100 3 ปีติดต่อกัน กองทุนสามารถใช้อำนาจหุ้นปันผลเข้าไปจัดการกิจการได้ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่แทนอำนาจผู้ถือหุ้นผู้ก่อตั้งในการควบรวมกิจการหรือแยกส่วนกิจการ

นอกจากนี้ยังมีกิจการร่วมทุนซึ่งไม่มีห้างร้านที่กิจการบริหารเอง แต่อาศัยเงินของตนเองในการเข้าซื้อหุ้นบริหารเพื่อหวังการปันผลเป็นกำไรของกิจการ ซึ่งผู้ก่อตั้งกิจการร่วมทุนลักษณะนี้ต้องได้รับพระราชทานจากองค์จักรพรรดิเท่านั้นโดยการบริจาคเงินมากพอ และกิจการลักษณะนี้จะได้อนุญาตให้ไม่จำกัดด้านเงินปันผล

กิจการโดยทั่วไป หากมีผลกำไรสุทธิหลังจากหักภาษีซึ่งเป็นเงินปันผลเกิน 12/100 เงินส่วนเกินต้องส่งให้กองทุนงานวิจัยเพื่อใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยี โดยเงินส่วนเกินนี้จะถือว่าเป็นวงเงินในการประมูลเทคโนโลยี และหาก 2 ฝ่ายมีวงเงินประมูลเท่ากัน จึงสามารถใช้เงินสดในการประมูลได้

นครสุดบูรพา[แก้]

นครสุดบูรพาถูกออกแบให้สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยระบบต่อต้านแรงดึงดูด ในสมัยมหาจักรพรรดิองค์ที่ 1 มหานครถูกสร้างเป้นนครโลหะโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือพระมหานครที่อยู่บนผิวดินและเมืองใต้ฟ้า ด้วยเป็นมหานครที่สร้างทับแม่น้ำ พลังงานหลักภายในเมืองใช้ 2 อย่าง คือพลังงานเย็นและร้อน พลังงานเย็นใช้กลศาสตร์ของไหลเป็นหลัก ส่วนพลังงานร้อนใช้มูลและการหมักโดยไม่ใช้อากาศ(ในหน้าหนาวโปรดทรงประทานอนุญาตให้ชนเผ่าเลี้ยงสัตว์ทุ่งหญ้าอพยบหนีภัยหนาวมาก่อกระโจมรอบพระมหานครและประทานเลี้ยงหญ้ารอบมหานครแต่ต้องส่งมูลสัตว์เข้ามาในมหานครเป็นเชื้อเพลิง)

ภายใต้เมืองใต้ฟ้าเป็นเสมือนเรือนจำขนาดยักษ์ที่ไม่มีผู้คุม ผู้แข็งแกร่งเท่านั้นจึงอยู่รอด ทั้ง 2 นครและเมืองมีการแลกเปลี่ยนกันโดยผู้ที่อยู่ด้านบนจะแบ่งอาหารให้แต่ต้องทำหน้าที่ในการเก็บเศษปฏิกูลไปทิ้งในถังหมักเพื่อแปรเป็นพลังงานหมุนเวียนกลับมาใช้

สุดยอดศาตราวุธอันดับหนึ่งของแผ่นดิน[แก้]

ที่กำแพงพระนครฝั่งใต้ ฝั่งตะวันตก ฝั่งตะวันออก และลานหน้าประตูวังหลวง ประดิษฐ์สถานบรมพระรูป 13 กษัตริย์บรรพกาลความสูง 9 เมตรเอาไว้ แต่ความจริงมันคือหุ่นยนต์ยักษ์ ทำงานโดยอาศัยตราหยกวิเศษในการรวมพลังฟ้าดินในการขับเคลื่อน เป็นยอดศาตราวุธไร้เทียมทาน ประตูใหญ่ประจำพระนครฝั่งใต้

  1. ฝูซี ทรงขวานฟ้าดิน
  2. เหยา ทรงไม้เท้ามังกร
  3. ซุ่น[52] ทรงธนูคันชั่ง

ประตูคู่ประจำพระนครฝั่งตะวันออก

  1. ซีฉู่ป้าหวัง เซี่ยงอวี่ ทรงหอก
  2. ฮั่นเกาจู่ ทรงกระบี่โบราณ
  3. หยวนไท่จู่ เจงกีส ข่าน ทรงธนูหลังม้า(ธนูรอกเสริมแรง)
  4. หมิงไท่จู่ หงอู่ ทรงดาบหลังม้า

ประตูคู่ประจำพระนครฝั่งตะวันตก

  1. ฉินสื่อหวงตี้ ทรงกระบองสั้นเหล็กหมาด
  2. ฮั่นอู่ตี้ ทรงทรงกระบี่แคบ
  3. ซ่งไท่จู่ เจ้าควงอิ้น ทรงกระบอง
  4. หมิงเฉิงจู่ หย่งเล่อ ทรงปืน

ลานหน้าประตูวังหลวง

  1. ถังไท่จง ทรงดาบม่อเตา(ดาบยักษ์)
  2. อู่เจ๋อเทียน ทรงพิณ

อ๋อง[แก้]

สำหรับเชื้อพระวงศ์นั้น จะได้รับการรับรองฐานะก็ต่อเมื่อสามารถสอบผ่าน 3 วิชาพื้นฐานทางการแพทย์ คือ การสาธารณะสุข(โรคระบาด จิตวิทยาชุมชน) การปรุงยา และหมอจับชีพจร อันใดอันหนึ่ง แม้ว่าเชื้อพระวงศ์จะไม่สามารถเข้ารับราชการได้จนกว่าทายาทรุ่นที่ 8 จากตำแหน่งอ๋องหรือเป็นบุตรธิดาของเสี่ยวจวินจื่อและเสี่ยวจวินจู่ท่านใดท่านหนึ่ง ซึ่งหลังจากนั้น ไม่สามารถอ้างว่าเป็นทายาทเชื้อพระวงศ์สายไหนได้ ซึ่งโดยปกติ การแสดงตนเป็นเชื้อพระวงศ์ต้องมีความรู้ทางการแพทย์เป็นเครื่องพิสูจน์ขั้นพื้นฐาน การรับบรรดาศักดิ์เป็น เสี่ยวกงจื่อ กงจื่อ ต้ากงจื่อ จวินเจียน ปกครองพื้นที่ย่อยในระดับ เมือง จังหวัด มณฑล แคว้น นั้น เชื้อพระวงศ์คนดังกล่าวต้องปลอมตัวเป็นหมอเท้าเปล่าลงพื้นที่ ไม่อนุญาติให้ตั้งร้านหรือประจำร้าน ตั้งแผงได้เท่านั้น โดยเกณฑ์การเข้ารับตำแหน่งตัดสินตามจำนวนคนไข้ที่รักษาได้และการช่วยชีวิต

เสี่ยวกงจื่อ คนไข้ 100 คน

กงจื่อ คนไข้ 400 คน กับ 40 ชีวิต

ต้ากงจื่อ คนไข้ 600 คน กับ 80 ชีวิต และ สมุมไพรหรือแร่ธาตุสำหรับรักษาโรคชนิดใหม่

จวินเจียน คนไข้ 800 คน กับ 160 ชีวิต และ วิทยานิพนธ์สำหรับรักษาโรคแนวทางใหม่

เมื่อทำบันทึกทะเบียนประวัติคนไข้ซึ่งเดินทางไปพร้อมกับอาจารย์แพทย์เท้าเปล่าและผู้อารักษ์ขาเสร็จสิ้นจึงจะสามารถสมัครเข้ารับตำแหน่งได้

ธุรกิจร้านขายยาและโรงตั๋วแลกเงินและเงินกู้[แก้]

ธุรกิจร้านขายยาเป็นธุรกิจที่ผูกขาดให้กับบรรดาเชื้อพระวงศ์หลังจากราชโองการลับที่บอกให้อ๋องทั่วอณาจักรเข้าซื้อในเวลาเดียวกัน แต่ยังมีรับสั่งให้เว้นโรงหมอที่มีแพทย์เป็นเจ้าของไม่ใช่พ่อค้า และยังจำกัดให้เข้าถือหุ้นเพียง 6 ใน 10 ส่วนเท่านั้น แล้วหลังจากนั้นจะพระราชทานเงินอีก 4 ใน 10 ส่วนซึ่งเท่ากับที่พ่อค้าถืออยู่ เป็นเงินทุนในการเปิดโรงตั๋วแลกเงินและเงินกู้ข้างร้านขายยานั้นๆ วิธีนี้เป็นการประกันว่าประชาชนทุกคนจะได้รับยาสำหรับรักษาโรค จากนั้นยังพระราชทานสูตรปรุงยาอีกมากมายซึ่งเป็นส่วนที่เรียกได้ว่าเป็นตัวทำกำไรอย่างดีให้กับบรรดาร้านขายยา นอกจากนั้น ผู้ที่ไม่มีเงินซื้อยา บรรดาทหารเกณฑ์ทัพกิเลนสามารถเอาชื้อมาขอเชื่อค่ายาได้จากโรงฝากกู้เงินได้อีกด้วย

เชื้อพระวงศ์[แก้]

สิ่งที่ทำให้เหล่าเชื้อพระวงศ์เหนือล้ำกว่าสามัญชน

  1. สัทธา ตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 4 ขวบ จะเข้าพิธีปรับปรุงวิญญาณบ่มเพาะนิสัยให้เป็นผู้เหนือคน การอ่านนิทานเปรียบเทียบระหว่างเชื้อพระวงศ์ยุคเก่า สามัญชน และยอดคนให้ฟังเป็นหน้าที่ผู้อาวุโสประจำตละกูลที่พ้น 30 ปีแห่งการฟูมฟักและ 30 ปีแห่งการทำหน้าที่ ซึ่งเป็นกฏมณเฑียรบาล
  2. วิริยะ อายุ 5-7 ขวบ เป็นช่วงปรับเปลี่ยนไขกระดูก จะมีการกินยาและแช่น้ำยาเพื่อเปลี่ยนกระดูก อวัยวะภายในให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
  3. สติ อายุ 8-14 ปี เป็นช่วง 7 ปีแห่งการสร้างสมาธิ เป็นช่วงที่ถูกฝึกภายใต้สติปัฏฐานสูตร จนสุดท้ายหากผ่านพื้นฐาน 3 อันดับสูงสุดชองแต่ละ แคว้นและรัฐจะถูกส่งให้ไปสู่ศูนย์กลางของจักรวรรดิ
  4. สมาธิ อายุ 15-21 ปี เป็นช่วง 7 ปีแห่งการทดสอบปัญญา
  5. ปัญญา อายุ 22-30 ปี เป็นช่วง 9 ปีแห่งการเลือกเส้นทางชีวิต สมรส หลังจากนั้นจึงจะเข้ารับตำแหน่งต่างๆ

ขุนนาง[แก้]

โดยหลัการข้าราชการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ซึ่งมีการสอบเข้าและเลื่อนขั้นที่แตกต่างกัน

  1. ข้าราชการประจำ เช่น เสนาบดี เจ้ากรม หัวหน้าหมู่ตึก เป็นต้น ทดสอบเข้าด้วยร้อยกอง เพราะการแต่งโครงกลอน มีรูปแบบมาตราฐานบังคับไว้ ต้องเป็นไปตามรูปแบบ ผู้ปฏิบัติต้องใช้ไหวพริบหาคำต่างให้เหมาะสมกับกฎเกณฑ์
  2. ข้าราชการการเมือง เช่น มนตรี นายหมู่ - จอมพล ในทัพกิเลน เป็นต้น ทดสอบด้วยร้อยแก้ว การเขียนเป็นเรียงความเป็นการแสดงความคิดโดยไม่จำกัดของรูปแบบการเขียน เป็นการเปิดกรอบทางความเห็นไม่มีการจำกัดดูแคลน (การเขียนเรียงความแบบนี้ยัง มีการส่งขึ้นมาให้จักรพรรดิทอดพระเนตรในโถงเดินออกกำลังการของจักรพรรดิด้วย)

การรวมตัวเป็นสมัครพรรคพวก[แก้]

ฮ่องเต้ไม่ตำหนิการรวมตัวเป็นสมัครพรรคพวก เพราะมนุษย์ต้องมีปฎิสัมพันธ์ แต่การเป็นขุนนางต้องยึดมั่นในหลักการของตัวเอง ด้วยการแบ่งตำราในการสอบบัณฑิตหน้าพระพักตร์แบ่งออกเป็น 4 สำนัก เพื่อเป็นสำนักประจำ 3+3+3 กรม และ 3 ทัพ แต่ละกรมกอง ย่อมมีหลักการทำงานที่แต่ต่างกัน และสำนักที่จำแนกตามกรมกองดังกล่าวเหมาะสมกับการทำงานเป็นอย่างดี ดังนั้นหากขุนนางทำงานไปตามหลักการที่กำหนดไว้ การบริหารราชการแผ่นดินย่อมไม่เกิดข้อผิดพลาด วิถีไม่เคยคดเคี้ยว แต่เป็นนคนที่คดเดี้ยวไปมา

การค้ามนุษย์ ระบบบ่าวไพร่ บัญชีน้ำใจ[แก้]

เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสังคม การซื้อขายมนุษย์ไม่สามารถใช้เงินทองในการซื้อขาย คนที่ขายตัวเป็นบ่าวไพร่ปลดสิทธิตัวเองออกจากระบบสมาชิกกองร้อยเพื่อขอรับความช่วยเหลือจะยังคงมีสิทธิพื้นฐานอยู่ เช่น บุตรที่กำเนิดในภายหลังไม่ถือเป็นบ่าวและได้รับความช่วยเหลือพื้นฐานจากสถานศึกษาทั้ง 4 ศาสนาจนกว่าจะครบ 7 ขวบ การลงคะแนนน้ำใจต่อนายเป็นการลับเพื่อนายจะนำเอาคะแนนน้ำใจนี้ไปใช้ซื้อบ่าวไพร่ในอนาคต ซึ้งระบบนี้จะรวมไปถึงระดับจักรพรรดิซึ้งมีต่อบ่าวไฟร่ในวังหลวง แต่ในระดับเชื้อพระวงศ์จะพิเศษกว่าต้องที่สามารถติดลบบัญชีน้ำใจได้ แต่หากตกไปถึงทายาทหากบัญชียังติดลบอยู่ ทายาทต้องปรับให้บัญชีให้เป็นบวกเสียก่อนจึงจะสามารถรับบ่าวไพร่ได้ ไม่สามารถเพิ่มบัญชีติดลบลงไปอีก

ผู้รับใช้[แก้]

ปกติข้ารับใช้ที่ติดดามใกล้ชิดผู้เป็นนายแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ซึ่งมีโรงเรียนอบรมโดยเฉพาะได้แก่

  1. ฝ่ายหน้า ผู้ถือมารยาท อบรมเกี่ยวกับ พิธีการ งานธุระ จดหมายเทียบเชิญ
  2. ฝ่ายขวา ผู้ถือสุขภาพ อบรมเกี่ยวกับ การแพทย์ ยาพิษ
  3. ฝ่ายซ้าย ผู้ถือความปลอดภัย อบรมเกี่ยวกับ วรยุทธ
  4. ฝ่ายหลัง ผู้ถือการกินอยู่ อบรมเกี่ยวกับ ต้นห้อง

บทลงโทษแบบกวาดล้าง[แก้]

หลังจากยุคการก่อตั้งสภากองร้อยและทัพกิเลนขึ้นมา การลงโทษรุนแรงที่ครอบคุมไปถึงคนใกล้ชิด
10 ชั่วโคตร มิตรสหาย
9 ชั่วโคตร คนในหมู่บ้าน
7 ชั่วโคตร ผู้ใช้แซ่เดียวกัน
5 ชั่วโคตร บิดามารดา สามีภรรยา พี่น้อง ลูกหลาน
3 ชั่วโคตร สามีภรรยา พี่น้อง ลูก(รวมของลูกพี่ลูกน้องในสายสกุลเดียวกันด้วย) เป็นต้น
ได้รับปรับเปลี่ยนใช้ให้ลงโทษแบบ หมู่ กองร้อย กองพัน กองพล แทน

บทลงโทษแบบปรับสถานะให้ถอดออกจากบัญชีทัพกิเลน[แก้]

สถานะพลเมืองจะถูกรับรองได้จากการลงบัญชีชื่อสังกัดอยู่ในทัพกิเลนหรือสังกัดทัพอื่นๆ แต่การถอดชื่อลงมาโดยส่วนมากจะกลายสถานะเป็นไพร่ซึ่งจะไม่ได้รับราชการอีกจนกว่าจะมีคำสั่งอภัยโทษหรือพ้นโทษตามชั่วโครตที่ถูกลงโทษ ซึ่งต้องไม่เกิน 4 รุ่น โดยจะมีสถานะเป็น บ่าวไพร่ในสังกัดต่างๆ เว้นแต่บุคคลจำพวกพิเศษดังต่อไปนี้

ชายกระทำผิดตอนตัวเองเป็นขันที ผู้ตอนตัวเองจะถือว่าขาดจากสกุลได้รับอภัยโทษเพื่อแผ่แก่ญาติและเป็นการแสดงการรับผิดชอบแบบหนึ่ง บิดามารดาบุตรหลานจะไม่สามารถใกล้ชิดได้อีก มิฉะนั้นจะถูกปรับสถานะกลับไปสู่สถานะเดิม

สตรีผู้มีความสามารถสมัครตนเป็นหญิงงามเมือง หญิงงามเมืองจะไม่มีการขายตัวเหมือนหญิงนางโลม หากต้องการไถ่ตัวต้องทูลขอฮ่องเต้หรืออ๋องผู้คุมพื้นที่และไม่มีสิทธิในการเป็นภรรยาหลวงหรืออนุ เป็นได้เพียงหญิงรับใช้เท่านั้น เว้นเสียแต่บุตรหลานที่กำเนิดในภายหลังสามารถสอบได้ระดับ 1 หรือจองหวงนเท่านนั้น สถานะหญิงงามเมืองจะคงอยู่ตามสภาพพรหมจรรย์เท่านั้น หากมีการเสียตัวจะถูกลดสถานะไปเป็นหญิงนางโลมทันที และผู้ทีข่มขืนหญิงงามเมือง แม้เป็นท่านอ๋องที่ข้ามพื้นที่ ก็จะถูกลดสถานะไปเป็นไพร่เช่นเดียวกัน

ชีวิตของผู้ดำรงอยู่เพื่อรับใช้นาย[แก้]

ชีวิตของผู้รับใช้นายไม่ว่าจะเป็น องค์รักษ์ ผู้ติดตาม ขันทีใกล้ชิด พ่อบ้าน หญิงรับใช้ (เมด) เป็นผู้มีชีวิตชัดเจนว่าตนเองต้องการอะไร มีชีวิตอยู่เพื่ออะไร บุคคลพวกนี้ยึดติดภักดีต่อนาย คอยคิดถึงห่วงใยและติดตาม เมื่ออยู่ใกล้นายจะรู้สึกไร้กังวล เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะนายรู้จักเอาใจเข้าไปนั่งอยู่ในใจผู้รับใช้ เป็นที่พึงอันอบอุ่นและสุขสงบด้วยความจริงใจ

สงครามกับลัทธิแบ่งแยกดินแดน[แก้]

กลุ่มลัทธิแบ่งแยกดินแดนใช้ความเชื่องมงาย เวทย์ไสยศาสตร์ ยุแย่ด้วยความไม่ชอบธรรมของขุนนาง ในการสร้างความไม่สงบในทางการปกครอง ราชสำนักจำใช้อำนาจทางอ้อมผ่านสถาบันศาสนาที่เทียงธรรม(ยุติความเชื่องมงาย) กลุ่มยุทธจักรจอมยุทธสำนักมวยซึ่งเป็นศิษย์สายเหยี่ยว(กำหราบเล่ห์กลไสยเวทย์) กลุ่มโจรคุณธรรม(เข้าปราบขุนนางกังฉินและรวบรวมกลุ่มคนที่ต่อต้านทางการ)

กลุ่มพลีชีพ[แก้]

ในกลุ่มต่อต้านที่เป็นหัวรุนแรงย่อมมีกลุ่มที่หัวรุนแรงมากที่สุดอยู่ การจัดการจำต้องใช้ทัพสมิงซึ่งเป็นยอดเสือร้ายในกลุ่มเสือร้ายเข้าไปกำจัดตัวหัวหน้าที่เป็นต้นตอ

โทษประหาร[แก้]

การประหารชีวิตจะไม่ใช้การตัดหัว แต่เป็นการทดลองยาและสมุนไพร โดยผู้ที่ต้องโทษจะอยู่ในความควบคุมของเชื้อพระวงศ์ที่ครองเมืองในระดับจังหวัด มณฑล แคว้น รัฐ โดยผู้กระทำผิดจะถูกย้ายตัวไปต่างพื้นที่ จากเหนือไปใต้ ตะวัออกไปตะวันตก อีกรัฐหนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่ง โดยพิจารณาจากญาติผู้เกี่ยวข้องและสายสัมพันธ์ที่สูงที่สุด ในการทดลองยามีทั้งระยะยาวและระยะสั้นซึ่งสัมพันธ์กับความผิดที่กระทำ โดยความผิดอาจได้รับการลดโทษตามความรวมมือและผลงานทางการแพทย์ที่ได้รับประโยชน์
การกลั่นยามีหลายรูปแบบเพื่อให้ได้ผลออกมามากที่สุด ทั้งการต้ม กลั่นไอน้ำ สุราสังเคราะห์ ผงบดแห้ง ซึ่งผลงานค้นคว้าจะถือว่าเป็นผลงานของเชื้อพระวงศ์ในการเลือนขั้นได้

ประเพณี[แก้]

ธรรมเนียมการสืบทอดของวงศ์ตระกูล[แก้]

การสือทอดอำนาจโดยปราศจากการไต่ตรองเป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับแผ่นดิน การที่บุตรผู้สืบสันดานจะเป็นผู้สืบทอดของบุพการี ต้องมีร่างชีวะประวัติของตนเองเสียก่อน ไม่เว้นแม้ตำแหน่งจักรพรรดิ หลังผู้สืบทอดดำรงตำแหน่งแทนให้ขัดเกาสำนวนเพื่อส่งต่อประสบการณ์ให้รุ่นหลานหรือบุตรของผู้สืบทอดเป็นบันทึกของตระกูล โดยเป็นแบบทดสอบเบื้องต้นของการเข้าแข่งขันเป็นผู้สืบทอด และในเหล่าผู้สืบทอดเบื้องต้นต้องแข่งขันเพื่อแสดงความเข้าใจของการสืบทอด แสดงถึงคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่ง เช่น การเป็นเจ้าแผ่นดินก็ต้องมีหัวใจของแผ่นดิน

ตำนานเผาเมืองล้างโรคระบาด[แก้]

ครั้นหนึ่งเคยมีโรคระบาดครั้งใหญ่ในเมืองหลวงโดยมีต้นเหตุมาจากหนูไม่เว้นแม้แต่วังหลวงโดยมีสาเหตุมาจากความประมาทของประชาชน จักรพรรดิในตอนนั้นของราชวงศ์ก่อนหน้านี้ได้สั่งการเด็ดขาดให้เผาทั้งเมือง ทางหนึ่งเพื่อกำจัดโรค อีกทางเป็นการกำจัดอำนาจของขุนนางเก่าที่ผูกขาดอำนาจ หลังจากนั้นแม้แผ่นดินจะอ่อนแออยู่หลายปีจนเป็นเหตุสิ้นชาติ แต่ก็เป็นเหตุให้คนยุคหลังเข้มแข็งร่างกายไม่เชื้อโรคเก่าที่เป็นผลเสียหลังจากหายจากโรคระบาดทิ้งเอาไว้ มีไพร่พลมากกว่าชาติอื่น จนสามารถกู้เมืองกลับมาได้

สถานบันเทิงหน้าวังจักรพรรดิ[แก้]

เนื่องจากการบังคับขายบริการทางเพศกลายเป็นความผิดโทษถึงประหารชีวิต รวมถึงการดูหมิ่นการมีเพศสัมพันธ์เพื่อสืบทอดทายาทแสดงความกตัญญูกตเวทีกลายเป็นการบำเรอกามรมณ์ ดังนั้นหญิงขายบริการที่มีอยู่เดิมและธิดาของผู้ต้องโทษทั้งตระกูลจะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นอบรมในศิลปะทั้ง 4 แทน สตรีที่อยู่ในสถานบันเทิงนี้จะกลายเป็นหญิงงามเมืองหรือเกอิชา(คุณหนู) ซึ่งมีสถานะเทียบเท่าซุปเปอร์สตาร์ และหญิงขายบริการหรือโออิรัน(แม่นาง)จะมีอยู่ในเมืองของอ๋องธรรมดาเท่านั้น ซึ่งสตรีที่อยู่ในสถานบันเทิงหน้าวังจักรพรรดิจะมีระดับขั้นเหมือนขุนนางและจะไม่สามารถมีสามีได้นอกจากพ้นสภาพของหญิงงามเมืองไปแล้ว แต่หากตั้งท้องบุตรชายสามารถเข้า 12 ทัพหลวงได้ หากเป็นหญิงจะมีตำแหน่งเป็นท่านหญิงถือเป็นบุตรีบุญธรรมของพระเทวี(กุยเฟยหญิงคนรักของจักรพรรดิ) หากขุนนางต้องการแต่งคุณหนูเป็นภรรยา ต้องแต่งด้วยฐานะภรรยาเอกเท่านั้นอีกด้วย

อีกเรื่องหนึ่งที่กลายเป็นกฏทหารของ 12 ทัพหลวง หากทหารไม่สามารถควบคุมท่อนล่างของตนเองได้ มันจะมีโทษถึงการขับไล่ออกจาก 12 ทัพหลวง

คุณหนูใหญ่ประจำตระกูล[แก้]

ในกรณีที่หัวหน้าตระกูลไม่สามารถมีลูกสาวคนโตก่อนมีลูกชายได้ มักมีการรับลูกสาวของญาติที่มีสายเลือดเกี่ยวข้องมาเป็นบุตรสาวเปลี่ยนแซ่มารับหน้าที่เป็นคุณหนูใหญ่ประจำตระกูล เหตุผลที่ต้องมีคุณหนูใหญ่ประจำตระกูลเป็นเพราะจะมีหญิงสาวที่มีสถานะนี้เท่านั้นที่จะได้รับคัดเลือกเข้าไปเป็นขุนนางญิงได้เมื่อบิดามารดาสิ้นไปหมดแล้ว โดยหญิงสาวเหล่านี้จะมีการลงทะเบียนชื่อไว้กับทางการและมีขุนนางหญิงอาวุโสประจำภูมิภาดค่อยไปเยี่ยมเยียนสั่งสอน ซึ่งตระกูลที่ไม่มีคุณหนูใหญ่ประจำตระกูลก็จะไม่มีสิทธิในการรักษาศาลเจ้าประจำตระกูล สมาชิกจะถูกจำแนกออกไปยังภูมิภาคกองพันต่างๆ กลอุบายนี้เป็นผลเนื้องมาจากการจำกัดอำนาจของตระกูลมีชื่อต่างๆ ในท้องถิ่น

สตรีผู้สามารถเป็นผู้นำตระกูล[แก้]

นอกจากการมีคุณหนูใหญ่ประจำตระกูลเพื่อมีสิทธิในการรักษาศาลเจ้าประจำตระกูลแล้ว หากตระกูลใดไม่มีบุตรชายเลย หรือบุตรสาวมีนิสัยไม่เรียบร้อยสามารถส่งสตรีผู้นั้นเข้าสอบการรับรองสถานะสตรีผู้สามารถรักษาสกุลเดิมได้ โดยการสอบหลักคือการผ่าห่าลูกธนูเจาะเกราะหนังและสามารถยิงธนูสวนได้ซึ่งเป็นการยืนชื่อตรวจสอบคุณสมบัติที่ไม่ยึดติดในรูปโฉมใบหน้าของตนอีกต่อไป ในยามสงครามสามารถขึ้นกำแพงเมืองโดยการเป็นพลธนูได้ สถานะสตรีผู้สามารถรักษาสกุลเดิมในยามแต่งงานไม่ว่าแต่งเข้าหรือแต่งออก บุตรชายคนแรกจะได้รับสกุลของบิดาหรือไม่ก็ตาม แต่บุตรชายคนที่สองจะได้รับแซ่ของมารดาเท่านั้นและสามารถได้รับมรดกของบิดาครึ่งหนึ่ง และบุตรสาวคนแรกต้องใช้สกุลของมารดาเท่านั้น หากมีบุตรหรือมีทายาทเพียงคนเดียวทายาทรุ่นต่อไปต้องรักษากฏนี้เพื่อรักษาสกุลของมารดาให้มีทายาทสืบต่อไป เพื่อเป็นผลตอบแทนในการรับความเสี่ยงในการที่สตรีขึ้นไปรับหน้าที่ในการรักษากำแพงเมือง

สถานกำพร้า[แก้]

การขายลูกหรือเด็ก ร่วมถึงการค้ามนุษย์ มีโทษถึงประหารชีวิต 3 ชั่วโคตร และเป็นข้อกฎหมายที่ร้ายแรงรองลงมาจาก กบฎ ขุนนางทุจริต แต่ด้วยการที่หลวงจำเป็นต้องใช้นางกำนัลและขันที จึงอนุญาตให้มีช่องว่างกฎหมายตัวหนึ่งให้แก่ครอบครัวที่ไม่สามารถเลี้ยงดูลูกสามารถนำบุตรชายหญิงไปฝากเลี้ยงในสถานปุบผาและสวนต้นสน โดยสถานบริการเช่นนี้ต้องมอบเงินเยียวยาฉุกเฉินให้โดยเป็นเงินขั้นต่ำที่จดทะเบียนไว้กับทางการ หากบุตรธิดาถูกตบแต่งสู่ขอ ต้องแบ่งเงินหนึ่งในสิบให้แก่พ่อแม่เด็กเดิม และหากพ่อแม่เด็กเดิมต้องการไถ่ตัวคืนเงินไถ่ตัวต้องไม่มีการบวกกำไรเกินหนึ่งในสิบ เรื่องนี้ทำให้มีกฎหมายครอบครัวคุ้มครองการแต่งงานและคุ้มครองสตรีเพศมากขึ้นในฐานผู้ให้กำเนิด แต่ในกรณีที่สตรีมีฐานะดีกว่าฝ่ายชายกฎหมายจะให้การคุ้มครองถึงเรื่องทำร้ายร่างกายและจิตใจในกรณีที่มีการทารุณเท่านั้น ไม่รวมถึงเรื่องชื่อเสียง

อีกทั้งคดีข่มขืนสตรี และพรากพรหมจรรย์นักบวชให้หมดจากสถานะ (กรณีคบชู้สู่ชายหรือสาวไม่รักตัว การปรับโทษฝ่ายชายสามารถทำให้ตายได้ด้วยการฟาดไม้ลงทัณฑ์ ฝ่ายหญิงทำได้เพียงอย่างเดียวคือส่งเป็นทาสหญิงแรงงานชั่วชีวิตผู้ปกครองฝ่ายหญิงไม่สามารถทำอย่างอื่น) ผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษตาต่อตาฟันต่อฟัน กลายเป็นซ่องของทางการอย่างเดียวในจักรวรรดิ ที่ตั้งอยู่ข้างคุก

การทารุณในครอบครัวให้ทำการหย่าขาดตัดสายสำพันธ์ และอำเภอต้องจัดหมู่ดูแลใหม่ให้

กองทัพภาคพื้นทวีป[แก้]

กองทัพแบ่ง 12 ทัพสัตว์ซึ่งมีวิธีการรบแตกต่างกัน

  1. กิเลน เป็นทัพพลเรือนที่ต้องผ่านการฝึกแปรขบวนทัพและกระบวนท่าการใช้อาวุธไม่กี่แบบ แต่กำลังสำคัญของทัพกิเลนไม่ใช่ตัวทหาร แต่เป็นกองทัพสุนัขประจำตัวซึ่งจะได้รับเบี้ยเลี้ยงเป็นพิเศษหากสามารถเลี้ยงสุนัขประจำตัวได้ดี ทัพกิเลนไม่มีเบี้ยเลี้ยงทหาร แต่หากออกศึกสงครามจะมีค่าหัวของศัตรูให้ ต่างจากทัพอื่นๆที่ไม่มีการคิดค่าหัว
  2. เสือขาว เป็นทัพพยุหดาบแยกปฐพี มักรับหน้าที่ในการเปิดทางหรือทำหน้าเดินเท้าเป็นทัพหน้าเสมอ โดยมีหลักที่ในการรุกแฝงการรับ และสุดยอดการตั้งรับคือการรุก นายทหารในทัพนี้จะถูกฝึกฝนและเพาะเลี้ยงกล้ามเนื้อเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นไข่และหางนมที่เหลือจากการทำเนย ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพสูง และมีการทานเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น ม้า วัว แรด ช้าง เป็นประจำ เป็นทัพทหารกรุ๊ปเลือดโอ หรือก็คือเป็นทัพธนาคารเลือดสำรอง ดังนั้นทัพนี้จะไม่ได้รับเสบียงเป็นข้าวแต่จะเน้นถั่วเพียงอย่างเดียว และมีตำนานนายหญิงใหญ่แห่งพยัคฆ์ขาว เธอไม่ได้มีความสวยงามหรือเสน่ห์อันใด แถมรูปร่างใหญ่กระดูกหนัก สามีเธอก็เป็นช่างวิศวกรรมในการตีเหล็กซึ่งเป็นลูกมือของเธอ แต่บุตรชายทั้ง 12 และ 1 ธิดา ของเธอเป็นต้นตระกูลใหญ่ทั้ง 13 แห่งเสือขาว เป็นผู้ให้กำเนิดดาบยาวสองมือของทั้งกองทัพเสือขาว และธิดาเพียงหนึ่งเดียวของเธอ ก็ให้กำเนิดบุตรทั้ง 9 และท้ายที่สุดก็ขึ้นเป็นใหญ่สูงสุดในกลุ่มขุนนางบู๊ เป็นต้นตำนานที่ผู้จะขึ้นเป็นใหญ่สูงสุดในฝ่ายเสนาธิการได้ ต้องเป็นสตรีที่ให้กำเนิดบุตรที่ประสบความสำเร็จ 9 คน
  3. ม้าบิน คัดเลือกจากคนเลี้ยงสัตว์ในทุ่งหญ้าชำนาญในการใช้ม้ามากกว่าการใช้อาวุธ เก่งกาจในการสกัดจับไม่เน้นการปะทะโดยตรง ชำนาญการใช้หน้าไม้สั้นบนหลังม้า การยิงเป้าเคลื่อนที่ ม้าที่ใช้มักมีขนาดเล็กแต่ความเร็วสูง เป็นทัพม้าที่ถนัดในการก่อกวนขบวนทัพโดยรอบนอก
  4. เสือดาว คัดเลือกจากนักรบบนหลังม้าที่ชำนาญการใช้ดาบ การบังคับม้าเน้นการแปรขบวนเป็นสำคัญ มีพยุหพันเชือดเฉือนเป็นจุดเด่น เป็นขบวนม้าที่ค่อยอยู่ระหว่างทัพ 1 ใน 3 ทัพม้าสำคัญ เน้นการเปิดแผลของขบวนทัพฝ่ายตรงข้าม ม้าที่ใช้ไม่มีการจำเพาะเป็นพิเศษ แต่มีการฝึกเลี้ยงให้เชื่อฟังและการป้อนสมุนไพรที่มีฤทธิ์กล่อมประสาทและการปิดตา เป็นทัพม้าที่ถนัดในการโจมตีระยะไกล ทหารแต่ละนายมีม้าประจำ 2 ตัว ชำนาญในการเปลี่ยนม้าขณะเคลื่อนขบวน และถนัดในการต่อต้านหลอกล่อทัพม้าด้วยกันเอง ส่วนมากใช้ม้าที่ถูกตอน
  5. เสือดำ ทัพม้าหอกหุ้มเกราะบุกทะลวง เน้นการใช้ม้าที่มีขนาดใหญ่สามารถแบกน้ำหนักได้มาก และถูกเลี้ยงด้วยกากเหล้าและโปรตีนเป็นพิเศษ ทัพม้าทัพนี้มีค้าใช้จ่ายสูง ผู้สมัครเข้าจึงมักเป็นลูกหลานคนรวยที่ไม่ต้องการถูกบังคับเข้าทหารที่มีการฝึกหนัก เป็นทัพม้าที่เป็นรถเกราะหุ้มเหล็ก เป็นทัพม้าที่ถนัดในการทะลวงทำลายขบวนทัพโดยพุ่งชนตรงๆ เป็นทัพทัพที่ม้าแต่ละตัวจะต้องมีรถม้าประจำค่อยติดตามรับใช้ ดังนั้นในหมู่ 8 คน จึงมีม้าศึกตัวผู้เพียง 2 ตัวแบ่งเป็น 2 ทีม ม้าที่เหลือ 2-4 ตัวเป็นตัวเมีย ถือเป็น 2 ฝูงในหมู่เดียวกัน
  6. เต่า ทัพรถศึก ซึ่งมีการใช้สัตว์พาหนะต่างๆในการลากรถ รวมถึงจักรกลขนาดใหญ่ เป็นทัพเสบียงหลักที่ติดหน้าไม้อัตโนมัติให้สามารถป้องกันตัวได้เอง
  7. วิหก ทัพอากาศ มีการเน้นฝึกหน้าไม้ขนาดใหญ่ที่ใช้ขาในการขึ้นลูกศร เป็นทัพที่เน้นการโจมตีระยะไกล การสอดแนมจากทางอากาศ การส่งข่าวสาร ป้อมไฟ
  8. มังกรอัสดง ทัพอาวุธร้อนเพียงทัพเดียวที่ประจำการอยู่ แต่ด้วยการจำกัดของการเล่นแร่แปรธาตุทำให้อาวุธมีอยู่อย่างจำกัด
  9. นาคอรุณ ทัพยานเกราะที่บรรทุกอาวุธสังหารแบบต่างๆ เป็นกองทัพที่พัฒนายาพิษและอาวุธชีวะภาพ
  10. มนุษย์กล ทัพนักเชิดหุ่นสงคราม ซึ่งเป็นสุดยอดกลไกอาวุธในการรบ สามารถใช้แทนมนุษย์ในการรบบางศึกที่ไม่แน่นอนได้
  11. สมิง หน่วยรบจารชนที่มีความสามารถจู่โจมแบบไม่มีรูปแบบ ค่ายใช้จ่ายในการฝึกสูงเทียบเท่าการฝึกทหารพันคน
  12. มังกรขโนด ทหารที่มีการฝึกลมปราณเป็นเงื่อนไขขั้นต่ำสุด มีทักษะการต่อสู้ทรหดอดทนสูงที่สุดในกองทัพ

นอกจากทัพมังกรขโนด ซึ่งเป็นราชองค์รักษาวังของจักรพรรดิแล้ว ยังมีทัพหุ่นพยนต์ซึ่งขึ้นตรงกับราชธิดาซึ่งเป็นว่าที่จักรพรรดินี นอกจากนั้นมีทัพสมิงซึงเป็นหน่วยงานสายข่าวและหน่วยรบพิเศษซึ่งขึ้นตรงกับจักรพรรดินี

รองลงมาจึงเป็นตระกูลทหาร เสือขาว เสือดาว มังกรอัสดง มีการสืบทอดลงมาจากรุ่นสู่รุ่นหากขาดพร่องไปจึงรับจากทัพอื่นที่ไม่ใช่ทัพกิเลนเข้าประจำการ สุดท้ายจึงเป็นทหารอาชีพ ม้าบิน เต่า วิหก นาคอรุณ เสือดำ ที่ต้องผ่านการสอบเข้าแข่งขัน ตระกูลทหารและทหารอาชีพ จะมีการแข่งขันกีฬาเป็นการวัดสมรรถภาพของทหาร ตระกูลทหารจะแข่งบาส ทหารอาชีพจะแข่งรักบี้(แต่มีการใช้อุปกรณ์เช่น โล่ ลูกบอลที่เล็กกว่าเดิม ถุงมือรับบอล หน้าไม้ยิงบอล และเขตประตูจะเป็นเป้า เกราะของนักกีฬาจะมีการปกคุมสูงกว่าปกติและมีน้ำหนักมาก เพราะมีเพียงทัพเสือขาวและเสือดำเท่านั้นที่จะมีการใช้เกราะคาร์บอน ทัพจะใช้เกราะโลหะ

แต่คุณสมบัติเบื้องต้นบุคคลต่างๆ ที่ต้องการจะเข้ารวมทัพเหล่านี้ ต้องผ่านกรรมฐานในวิหารปลงสังเวช ซึ่งเป็นสถานที่รวบรวมโครงกระดูกบรรพชนซึ่งนักศึกษากายวิภาคทำการศึกษาลอกเนื้อหนังออกเก็บไว้ในโกฏิไม้ไผ่(ส่งให้ญาติทำพิธีศพครั้งที่ 2)จนเหลือแต่โครงกระดูก(ไม่เว้นแม้แต่ฮ่องเต้ ส่วนหนึ่งที่กระทำเช่นนี้เพื่อสนับสนุการลบล้างความเชื่อ รวมถึงส่งเสริมการสอบสวนคนตาย การศึกษากายวิภาค) เป็นเวลา 3 เดือน โครงกระดูกเหล่านี้จะแบ่งเป็นส่วนๆ หลังจากเต็มส่วนสุดท้ายก็จะนำเอาส่วนแรกสุดที่นำเข้ามาเก็บออกไปประชุมเพลิงเพื่อเผาเป็นอัฏฐิหลังจากนั้นจึงเก็บในเจดีย์ในเวลาต่อมา (เป็นพิธีศพครั้งที่ 3)

คุณสมบัติของนายทหาร[แก้]

นายทหารเป็นระดับขั้นของผู้คุมกำลังพล ในแต่ละขั้นแบ่งเป็นชั้นตรีโทเอกซึ่งคุมกำลังพลก่อนจะขึ้นไปในระดับถัดไป หนึ่งส่วนแปด หนึ่งส่วนสี่ หนึ่งส่วนสองตามลำดับ นอกจากนี้ในแต่ละขั้นยังมีตำแหน่งย่อยในชั้นสำหรับผู้ที่มีความสามารถนอกเหนือจากการคุมกำลังพล

นายสิบ คุมกำลัง 10 คน นายหมู่ มีฝีมือสามารถสู้กับคน 10 คนพร้อมกัน

นายร้อย คุมกำลัง 100 คน ผู้กอง สามารถคิดยุทธวิธีต่อสู้ใช้หนึ่งสู้สิบ คนสิบคนสยบคนเป็นร้อยได้

นายพัน คุมกำลังพล 1000 คน ผู้การ สามารถจำลองการต่อสู้ของคนเป็นพันได้อย่างแม่นยำ

นายพล คุมกำลังพล 10,000 คน โดยไม่จำเป็นต้องลงไปใกล้ชิดกำลังพลระดับล่าง หรือก็คือสามารถจัดการระดับ นายร้อยและนายพันได้

ขุนพล สามารถควบคุมการรบระดับหลักหมื่นได้

เสนาธิการ หรือก็คือนักวางกลยุทธ์ เป็นผู้เสนอแผนการนอกเหนือจากยุทธวิธีทางการทหารปกติเป็นผู้รวบรวมข้อมูลรวบรวมความเป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้

ผู้บัญชาการ หรือก็คือแม่ทัพ เป็นผู้ควบคุมการรบในระดับสูงสุดของภาคสนาม

ข้อสอบสำหรับทหาร[แก้]

ทหารที่ไม่รู้หนังสือคือกองทัพที่ไร้อารยธรรม เพื่อให้การศึกษาง่ายขึ้น จึงปฏิรูปตัวอักษรเสียงขึ้นมา และในข้อสอบสำหรับเข้ารับสมัครทหารจะใช้รูปแบบตัวอักษรชนิดนี้ และในตัวข้อสอบจะมีการวัดระดับทั้ง 4 ขั้นบัญชาการ ได้แก่ ไพร่พล ผู้คุมกำลัง ผู้บริหาร และแม่ทัพ โดยในระดับไพร่พลตรวจสอบทางด้านวินัยโดยกำหนดในการกาผิดถูก ระดับผู้คุมกำลังตรวจสอบเทคนิคในการคุมกำลังพล ระดับผู้บริหารใช้ข้อเขียนในการบรรยายจุดอ่อนของทัพในสถานการณ์เสมือนจริงด้วยความรวบรัดที่สุดต่างจากคณะเสนาธิการที่เน้นที่รายละเอียดยิบย่อย ส่วนระดับแม่ทัพจะเป็นปัญหาจริงที่ออกโดยจักรพรรดิ โดยผู้ทดสอบที่ทำปัญหาระดับแม่ทัพต้องร้องขอกระดาษคำตอบต่างหากและเป็นการเสมือนทูลถวายฎีกาต่อจักรพรรดิโดยตรง หากไม่สามารถทำคะแนนจาก 3 ระดับแรกได้เต็ม ก็จะไม่มีสิทธิ์ส่งกระดาษคำตอบชนิดนี้

คณะเสนาธิการ[แก้]

ความล้มเหลวของกองทัพ คือ การนึกถึงผลประโยชน์ส่วนตนแทนที่จะนึกถึงผลกระทบต่อส่วนรวม คณะเสนาธิการจะนึกถึงความพ่ายแพ้ก่อนจึงค่อยคำนวณยุทธวิธีในการเอาชนะ ส่วนกองทัพจะคำนึงถึงวินัยและทำให้หนทางในการเอาชนะกลายเป็นความจริง ซึ่งยึดหลักรู้เขารู้เราในทางปฏิบัติเป็นหลักสูงสุด

ดังนั้นในคณะเสนาธิการจึงแบ่งเป็น 2 คณะ คือ คณะเสนาธิการกลยุทธ์รับผิดชอบการวางแผนพิชิตในภาพรวม และคณะที่ปรึกษายุทธศาสตร์รับผิดชอบทางสมดุลของหลากหลายภาคส่วนและการมองทะลุกลอุบายทั้งปวง คณะเสนาธิการกลยุทธ์วัดผลในการทำสงครามที่เสียหายน้อยที่สุด ส่วนคณะที่ปรึกษายุทธศาสตร์วัดที่ความแม่นยำในการคำนวณการเปลี่ยนแปลง

อาวุธหลักของ 12 กองทัพหลวง[แก้]

เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีนอกเหนือจากอาวุธร้อนที่สร้างจากการพัฒนาโลหะแล้ว อาวุธเย็นของทั้งกองทัพถูกสร้างจากเส้นใยคาร์บอนไฟเบอร์ ซึ่งการพัฒนาสูงสุดคือการสร้างเกราะที่ทนทานต่ออาวุธร้อนได้ ด้วยอาวุธเส้นใยนี้ทำให้เกิดความต่างของ 12 กองทัพกับกองทัพต้าอ๋องอื่นๆ

เส้นใยคาร์บอนไฟเบอร์เกิดจากการผสมเกล็ดคาร์บอนและเรซินทนความร้อนมาปันเป็นเส้นใยแล้วอบด้วยสภาพที่ไร้อ๊อกซิเจนและความแรงดันสูง และเมื่อทอเส้นใยเป็นผืนผ้าในคาร์บอนไฟเบอร์จะถูกแนบระหว่างชั้นเรซินผสมผงคาร์บอนซ้ำเพื่อเชื่อมผสานได้ความหนาที่ต้องการ หลังจากนั้นจะอบชิ้นงานซ้ำอีกครั้งเพื่อให้ได้ความแข็งเท่ากับเพชร

ส่วนอาวุธร้อนจะมีการแบ่งจากระยะทำการ

  • 30 m ปืนสั้นลูกโม่
  • 30-50 m ปืนกล
  • 100 m ปืนไรเฟิล ปืนยิงลูกระเบิด
  • 100+ m ปืนครก
  • 0.5-10 km ปืนใหญ่ 152 mm
  • 10+ km จรวด v-1

การปกครองภาคพื้นทวีป[แก้]

ในภาคพื้นทวีปจะมีการแบ่งเป็น แคว้น รัฐ และ หนึ่งจักรวรรดิโดยมีจักรพรรดิเป็นผู้ปกครองสูงสุดประขำทวีปซึ่งกุ้มอำนาจทหารทั้งหมด โดยทหารมีหน้าที่ต่อสู้กับภัยต่างๆเริ่มจากภัยธรรมชาติไปจนถึงภัยทางการปกครอง อีกด้านหนึ่งการปกครองของจักรพรรดิจะใช้ดัชนี 4 ด้านในการตัดสิน ได้แก่

  • การเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านการปกครอง เมื่อน้ำลอยเรือได้ก็จมเรือได้
  • เศรฐกิจ แต่ละครอบครัวมีหน้าที่ทำบัญชีเพื่อทำการแจ้งภาษี
  • การศึกษา เป็นการแสดงถึงการแสวงหาความรู้ของแต่ละครอบครัว ในที่นี้รวมถึงการเขียนรายงานของหัวหน้าครอบครัวซึ่งปลดประจำการออกจากกองร้อยแล้ว
  • การมีส่วนรวมกับสังคมโดยไม่หวังผลประโยชน์ โดยอ้างอิงกับศาสนา ภารกิจที่ไม่ได้ผลประโยชน์ของกองร้อย รวมถึงอื่นๆ

โดยดัชนีเหล่านี้จะมีผลต่อการที่เจ้าผู้ครองแคว้น รัฐ และตัวจักรพรรดิเอง จะส่งตัวแทนทายาทมาคัดเลือกผู้ปกครองในอนาคต ซึ่งหน้าที่ตรวจสอบดัชนีเหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของอดีตเจ้าต่างๆที่ปลดเกษียรไปแล้วเป็นผู้ตรวจการใหญ่ในการประเมิล

ราชาผู้ปกครองเขตจะมีหน้าที่ในการรักษาชีวิตและตัดสินชีวิตของประชาชน ดังนั้นอำนาจหลักของราชาคือการรักษาพยาบาลผ่านกองทุนประกันชีวิตและการรับอุทธรณ์ฎีกาผ่านคณะตุลาการ

สามสหัสวรรษร้อยจักรพรรดิ[แก้]

แผนพัฒนา 3000 ปี จักรพรรดิ 100 พระองค์ เป็นแผนพัฒนาสิ่งที่ปฏิวัติโลก ยุคหินและไฟ

ถัดจากนั้นจึงมีการบันทึกประวัติศาสตร์

ยุคเครื่องจักรและไฟฟ้า ยุคอินเทอร์เน็ตและโลกเสมือน ยุคความเร็วแสงและแรงโน้มถ่วง

เมื่อฮ่องเต้บรรลุภารกิจที่ปฏิญาณไว้ตอนขึ้นครองราชสำเร็จก็จะถูกสถาปนาเป็น เสินหนงที่… ซึ่งเป็นตำแหน่งแสดงถึงความเคารพสูงสุดของมนุษยชาติ

เฉินหนง (จีน: 神農; พินอิน: Shénnóng; "เทพกสิกรรม"), อู๋กู่เฉิน (五穀神; "เทพห้าธัญพืช"), หรือ อู๋กู่เซียนตี้ (五穀先帝; "ปฐมกษัตริย์ห้าธัญพืช")

ภาคอินดริยาการ์ดออนไลน์[แก้]

อินดริยาการ์ด[แก้]

โลกแห่งอินดริยา[แก้]

ในโลกแห่งอินดริยาจะมีหลายระดับชั้น เริ่มจาก AR VR AW และ CW โลกของเหล่าการ์ดหรือก็คือเป็นโลกเฉพาะของปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการร่วมทุนครั้งสำคัญของบริษัทไอทีในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในการถือหุ้นเป็นเจ้าของบริษํทอินดริยาการ์ดออนไลน์

ส่วนกษัตริย์ปฐพี (ดราม่า)[แก้]

นวนิยาย กษัตริย์ปฐพี เป็นวรรณกรรมส่วนขยายเก้าภาคหลักที่มีการจัดแบ่งเนื้อหาเป็นแบบดราม่า หรือเนื้อเรื่องเน้นความเป็นจริง

ภาคมหาสังฆยุทธ์[แก้]

เป็นนวนิยายที่เล่าถึงสังคมคณะสงฆ์ที่ต่อสู้กันทางสำนักความคิดต่างๆ โดยมีจุดสูงสุดที่การต่อสู้ของตำแหน่งมหาเถรทั้ง 5 ที่มีอำนาจควบคุมกองทุนคณะสงฆ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมหาเถรผู้ก่อตั้งสามารถปราบตระกูลชาวยิวโล่แดงผู้ก่อตั้งระบบธนาคารลงได้

มหาวิหาร[แก้]

ภาคโดรนคิงดอม[แก้]

เป็นนวนิยายที่เล่าถึงเรื่องราวการก่อตั้ง Internet cafe ที่พัฒนาจนมากลายเป็นผู้หยุดยั้งสงครามที่นองเลือดของมนุษย์ไป

ตัวเอกเป็นลูกชายแม่ทัพภาค มีแม่เป็นผู้ผลิตยุทโธปกรณ์ หลานปู่องค์มนตรีอดีตผู้บัญชาการทหารวีรบุรุษ มีแฟนสาวเรียนเศรษฐศาสตร์และเพื่อนสนิทที่เป็นนักพัฒนาเกม ด้วยเหตุที่ทั้งตระกูลถูกระแวงว่าจะก่อรัฐประหาร ตัวเอกจึงไม่ได้เรียนทหารหันไปทำตัวไม่เอาไหน ท้ายที่สุดกับไปชอบบรรยากาศในร้านเกมจนได้เพื่อนสนิทและแฟนสาวที่มาทำงานเฝ้าร้าน ต่อมาเมื่อขึ้นมหาลัยจึงเปิดร้านเน็ตตรงจุดกึ่งกลาง 3 มหาวิทยาลัย ด้วยการพัฒนาจากร้านเน็ตชั้นสองเป็นห้องคอมเช่าชั้นสามเป็นสำนักพัฒนาเกม(ที่เป็นที่พักอาศัยของตัวเอก) ได้พัฒนาเกมบังคับโดรนขึ้นมา

เกมบังคับโดรนเกมนี้สามารถสร้างโดรนจากโมดูลต่างๆ จนพัฒนากลายเป็นหุ่นยนต์สู้รบระยะประชิดระดับสูงขึ้นมาได้ โดยการควบคุมมีการสร้างมาโครคำสั่งเป็นโค๊ดคำสั่งลงบนคีย์บอร์ด เมื่อเกมพัฒนามาถึงจุดหนึ่งก็มีการต่อสู้จนกลายเป็นการแข่งขัน(แบบเกม glory ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกหลายปีซ้อน)ขึ้นมา และด้วยฐานข้อมูลจากแม่ และระบบ AI จากพระอาจารย์ ระบบเกมส์ทั้งหมดกลายเป็นระบบควบคุมโดรนที่ทรงพลังที่สุดในโลก หลังจากถูกกดดันด้วยความช่วยเหลือทางการเงินของแฟนสาวที่เป็นปีศาจตลาดหุ้น จึงได้สร้างอาณาจักรอาวุธสงครามราคาถูกขึ้นมา และทำให้สงครามที่ต้องสูญเสียเลือดเนื้อของมนุษย์หายไป

ตัวละคร[แก้]

นางเอก เป็นลูกของซูเปอร์สตาร์หนังตะวันตกที่มาไข่ทิ้งเอาไว้ เมื่อแม่ผู้เป็นแม่บ้านโรงแรมตายเลยโกรธพ่อจึงพยายามพึ่งตัวเองหาเงิน ด้วยความที่พ่อเป็นยอดนักแสดงจึงมักอินในบทสูงมากและมักออกจากบทไม่ค่อยได้ เลยมักมีความสัมพันธ์กับนางเอกหนังหลายคน นางเอกยิ่งทวีความเกลียดชังมากจึงแก้แค้นด้วยการไปเป็นเจ้าของสตูดิโอหนังเสียเอง

เกม The Drone Kingdom[แก้]

เป็นเกมที่มีความสามารถเล่นได้หลายเครื่องเล่น มีรูปแบบสังคมสื่อสาร ระบบสื่อสารธนาคาร ระบบปฎิบัติการของตัวเอง แทบเรียกได้ว่ามีอาณาจักรและเศรษฐกิจของตัวเอง

ตัวเกมมีเอ็นจินที่มีขนาดใหญ่มากสร้างได้ตั้งแก่

สร้างชิ้นส่วนตัวละครจากปริ้นเตอร์สามมิติ การกลึงขึ้นรูปชิ้นส่วนโครงสร้าง การประกอบชิ้นส่วนวงจรคอมพิวเตอร์ จนสามารถสร้างร้านค้าขายอุปกรณ์ให้กับผู้เล่นได้ ผู้พัฒนาทำเพียงนำเข้าเทคโนโลยีเท่านั้น แต่การสร้างสรรค์ล้วนเป็นฝีมือผู้เล่น

การพัฒนาระบบเคลื่อนไหวและกลยุทธ์ การควบคุมเริ่มจากการควบคุมพื้นฐาน 49 ปุ่ม 49 ท่า พัฒนาเป็นรูปแบบมาโครคำสั่ง การสั่งงานด้วยการเคาะนิ้วทั้ง 4 จนมาถึงการใช้ชุดที่มีเซ็นเซอร์เพื่อจดจำรูปแบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย

การสร้างระบบความฉลาดให้กับ npc เนื่องจากจากเกมส์นี้ผู้พัฒนามีการสร้างฉากเป็นตัวอย่างเพียงจำนวนเล็กน้อยที่ให้เล่นฟรีแต่ไม่สิ่งตอบแทนและการซื้อตัวเกมส์ก็จะมีระบบสุ่มพื้นฐานเพียงส่วนหนึ่ง และการจัดการแข่งขันประจำที่มีค่าสมัครและเงินรางวัลพร้อมเทคโนโลยีใหม่ นอกเหนือจากนี้ล้วนเป็นกิลต่างๆสร้างดาวเคราะห์ของตัวเองขึ้นมาเป็นฉากเหมือนเกม no man in the sky ที่มีวัตถุดิบพื้นฐานในการสร้างจนเกิดสังคมอาณานิคมขึ้นมา ท้ายที่สุดเพื่อสร้างความมั่นคงให้อาณานิคมความฉลาดของ npc จึงกลายเป็นจุดตัดสินความมั่นคงของกิจการ

ระบบเศรษฐกิจในเกมส์ผู้พัฒนาสร้างระบบหุ้นส่วนของเกมส์ขึ้นมาเมื่อผู้พัฒนาลงทุนมากขึ้น ก็จะมีหุ้นมากขึ้น และยังมีผลการเสื่อมค่าและหุ้นที่เกิดจากการไฟฟ้าและฮาร์ดแวร์ในการอนุญาตใช้งานผ่านระบบคลัสเตอร์

การเล่นเกมส์ในโหมดต่างๆ มีทั้งระบบกึ่งผู้พัฒนาที่เล่นผ่านระบบปฎิบัติการของเกมส์เอง ระบบห้องควบคุมโดรนแบบมืออาชีพ แบบกึ่งมืออาชีพแบบเกมส์ออนไลน์ ระบบเกมส์คอนโซล ระบบเกมส์โมบาย แต่ระบบทั้งหมดจะเล่นกันบนฐานข้อมูลเดียวกันเจอกันเองทั้งหมด

การแข่งชิงแชมป์[แก้]

เนื่องจากผู้พัฒนาแบ่งเป็นหลายรูปแบบการแข่งขันมีหลายถ้วย ตั้งแต่ถ้วยโมบาย(go) ถ้วยคอนโซล ถ้วยออนไลน์ ถ้วยมืออาชีพ ถ้วยชิงดาวเคราะห์ นักกีฬาจึงมีหลายรูปแบบ โดยเฉพาะถ้วยเดอะสตาร์ นักกีฬาจะกลายเป็นดาราที่มีชื่อเสียงและเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับเกม (มีเรื่องเล่าถึงเทคนิคการแต่งหน้าจนนักกีฬาสวยหล่อจนเวลาหน้าสดยังสามารถเข้าไปนั่งในร้านเน็ตได้)

สภาพสังคม[แก้]

ภาคนี้เป็นต้นกำเนิดให้ไปสู่ภาคย้อนเวลาเป็นจักรพรรดิ แต่สภาพสังคม (setting) ยึดเอาสภาพสังคมในปัจจุบันที่ทุนนิยมที่เชื่อในกลไกตลาด เข้าสู่การปฏิวัติอุสาหกรรมครั้งที่ 4 (เครื่องจักรไอน้ำ ไฟฟ้าน้ำมัน คอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์) ท้ายที่สุดกลุ่มชนคนชั้นล่างจะตายไปจากตลาด เพราะจะด้วยความตั้งใจหรือผลักเรือตามน้ำก็ตามด้วยการเร่งรัดของสังคมผู้สูงวัยมันเป็นเหมือนการนับถอยหลังการรีเซ็ตโลกรอบใหม่แทนที่จะเป็นสงครามโลกครั้งที่สามซึ่งเป็นสงครามขีปนาวุธซึ่งมีความเสี่ยงที่จะกวาดล้างมนุษย์ที่แท้จริง แต่เป็นการปล่อยให้ชนชั้นล่างตายไปจากสังคม สุดท้ายก็จะถีบชนชั้นกลางให้กลายเป็นชนชั้นล่าง และเอไอจะกลายเป็นชนชั้นกลาง ในตอนจบเมื่อชนชั้นกลางตายตาม เอไอก็จะยึดโลกแทนเข้าสู่ยุค เดอะเมตทริกส์

หนังสืออ้างอิง[แก้]

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. ธรรมวิจารณ์. 2538 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. สมถกัมมัฏฐาน. 2538 พระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. 2546 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชานิติศาสตร์. เอกสารการสอนชุดวิชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. 2543 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชานิติศาสตร์. เอกสารการสอนชุดวิชา กฎหมายมหาชน 2543 กิมย้ง ประพันธ์ น.นพรัตน์ เรียบเรียง. กระบี่เย้ยยุทธจักร. 2549

อ้างอิง[แก้]

  1. 261049 ในครั้งแรกที่เริ่มคิดการปกครองระบอบนี้ เกิดจากนวนิยายเรื่องหนึ่งที่จะเขียนขึ้นในช่วงกระผมอายุได้ 18 ปี และพรั้อมกับได้คึกษาคัมภีร์เล่มหนึ่งที่มีนามว่า อี้จิง แต่เมื่อเวลาได้ผ่านแนวความคิดได้เปลี่ยนแปลงไปในทุกปี จากความคิดที่จะครอบงำความคิดเอง ทำเอง และยึดครองอำนาจให้เบ็ดเสร็จ เพื่อจะให้บรลุเป้าหมายให้สำเร็จ แต่เมื่อได้เรียนรู้มากเข้าใจมากก็เข้าใจลึกซึ่งอย่างหนึ่งว่า แม้แต่ตัวเราเองยังไม่สามารถควบคุมให้เป็นไปดังปรารถนาได้ นับประสาอะไรกับผู้อื่น ยิ่งเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายมากยิ่งขึ้น เมื่อเบื่อหน่ายยิ่งละอา เมื่อละอาก็ไม่อยากที่จะแตะต้อง แต่บ้างครั้งจิตใต้สำนึกก็ค่อยบอกว่า เราต้องทำอะไรบ้าง แม้คนเราจะเป็นสัตว์ที่ฝึกยาก แม้ยุคนี้จะเป็นยุคที่เสื่อมถอยแล้ว สองพันปีก่อนจะเป็นอย่างไร สองพันปีต่อมาก็เป็นอย่างนั้น ประวัติศาสตร์จะย้อนรอยซ้ำไปซ้ำมาเช่นไร มันก็เป็นเช่นนี้เอง มันยังวนเวียนไปในความได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ ได้ทรัพย์ เสื่อมทรัพย์ สรรเสริญ นินทา ตามวัฏจักร แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงแท้ก็คือความจริงที่ว่า เมื่อทำอย่างไรก็ได้อย่างนั้น แม้บางคราวผลดีจะมาแทรกไม่ให้ได้รับผลร้าย และผลร้ายยังให้ผลอยู่เพราะผลดียังมีกำลังไม่มากพอ กระผมจึงปรารถนาให้ผลดีครั้งนี้เป็นปัจจัยในอนาคตต่อไป
  2. Suisei no Gargantia ep 4
  3. (ผู้เขียน) ว่าด้วยบทลันไก
  4. วินย. 5/92/131
  5. อัง.ปัญจก.22/177/233
  6. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชานิติศาสตร์. เอกสารการสอนชุดวิชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. 2543 หน้า 51-57
  7. (ผู้เขียน) หลักการของกฎหมายในระบอบปกครองนี้เน้นที่ไม่มีกลไกลยากแก่การเข้าใจและไม่เทอะทะเกินไป
  8. (ผู้เขียน) แม้ผู้ใช้กฎหมายจะทำการพลิกแพงกฎหมายให้มีชีวิต จากกฎหมายซีวิลลอว์ที่เป็นของตายตัว แต่กฎหมายก็ยังมีแนวทางอยู่ ทำให้คนพาลสามารถหาช่องที่จะทำลายความศักดิ์ของกฎหมายได้ ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ประชาชนเกรงกลัวนักกฎหมายที่เก่งกาจแต่ใช้อำนาจกฎหมายในการเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้ว่าความให้ฝ่ายตนหรือเป็นคู่กรณี เพราะนักกฎหมายประเภทนี้สามารถชักจูงผู้พิพากษาให้เห็นช่องว่างที่เกิดจากแนวทางการนำไปปรับใช้กับข้อเท็จจริงอันเกิดจากทำลายของตัวนักฎหมายเอง แม้จะมีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรืออาญาก็ตาม เนื่องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรืออาญาเองก็ตาม ยังรักษาแนวทางการนำไปปรับใช้กับข้อเท็จจริงซึ่งเป็นหัวใจของกฎหมายซีวิลลอว์อยู่ ไปๆมาๆปมของกฎหมายก็กลับมาสู่ต้นกำเนิดความคิดของปรัชญาเมธีเอง
  9. (ผู้เขียน) พุทธศาสนาแท้ที่จริงแล้วมิใช่ศาสนา เป็นสิ่งที่หลุดพ้นจากศาสนาและก็มิใช่ศาสนาจักรวาลแบบความคิดของไอน์สไตน์ ธรรมดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองแล้วได้เรียกรูปแบบคำสอนของพระองค์ว่า "พรหมจรรย์นี้" และตรัสปัจฉิมโอวาทไว้ซึ่งเป็นการย่อคำสอน 84000 พระธรรมขันธ์ไว้อย่างสมบูรณ์ที่สุดว่า "สังขาร(ร่างกายจิตใจ)ทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด" อันคำว่า ศาสนา หมายถึงลัทธิความเชื่อ แต่ในกาลามสูตรเองกลับตรัสไว้มิให้เชื่อถือแม้กระทั่งตัวของพระองค์ตรัสเองจนกว่าจะปฏิบัติให้ลึกซึ้งถ่องแท้ ดังนั้นปัจฉิมโอวาทก็มิใช่คำสอนให้เชื่อ แต่เป็นคำเตือน เตือนเพื่ออะไร เตือนให้ทำความรู้จักกับสังขารของตนเอง (สังขาร ท. มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา) และอย่าช้ามิฉะนั้นสังขารจะพันธนาการเธอแล้วเธอจะพลาดจากความอิสระ(นิพพาน)ที่แท้จริง (จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม) ศาสนาอื่นที่มีพระผู้เป็นเจ้า ตัวศาสดาเองย่อมสอนให้ยึดถือและศรัทธาในพระองค์ ถึงแม้ตัวพระผู้เป็นเจ้าเองบ้างครั้งก็ไม่สามารถบันดารทุกสิ่งให้สมปราถนาได้ แม้สร้างโลกมนุษย์ขึ้นมา ก็ยังต้องลำบากลำบนสร้างนรกขึ้นมาด้วย ทั้งๆที่ตนก็ไม่ชอบนรกและมนุษย์ที่สร้างขึ้นมาเองจนต้องกำหนดวันล้างโลกเกณฑ์คนชั่วไปลงนรก แต่ทว่าตัวองค์พระพุทธเจ้าเองกลับเหมือนมิได้สอนสั่งสิ่งใด แต่ถ้าเมื่อสาวกของพระองค์ถูกจองจำด้วยสิ่งใดและสามารถช่วยได้โดยอยู่ในข่ายพระญาณ พระองค์จะยื่นกุญแจแห่งอิสระภาพที่แท้จริงให้ ให้สาวกของพระองค์เป็นคนปลดพันธนาการนั้นออกมาเอง ดังนั้น 84000 พระธรรมขันธ์ในพระไตรปิฎกก็ไม่ต่างอะไรจากกุญแจทั้ง 84000 ดอกนั่นเองและนี่คือทั้งหมดของสิ่งที่เรียกว่า พระพุทธศาสนาของพระตถาคตเจ้า
  10. (อกิริยทิฏฐิ)ทัพมาตั้งทัพสู้ น้ำมากั้นทำนบ ออกจะเป็นการประมาทไปแล้ว ถ้าทัพอยู่ในระหว่างเขาเป็นหน้าผาตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบจักทำเช่นไร ถ้าสึนามิพัดมาไม่เคยซักซ้อมไม่เคยตั้งสัญญาเตือนภัย เรื่องเช่นนี้ออกจะเป็นเรื่องหนักทางมูลนิธิฯมาเก็บศพไปแล้ว
  11. (อุจเฉททิฏฐิ)หลีกไม่พ้นจากการสร้างริ้วรอยในกฎหมายให้มีช่องทางให้สืบสาวแล้ว เมื่อยังมีหลักการก็ยังมีล่องรอยให้ทำลาย จากจุดอ่อนกลายเป็นช่องว่าง จากช่องว่างกลายเป็นอำนาจของคนพาลที่รับรองโดยศาล เห็นได้จากการใช้กฎหมายบางคดีในสหรัฐอเมริกา ที่ฆ่าบุคคลคนหนึ่งตายและฆาตกรได้รับโทษตามกฎหมาย แต่ภายหลังผู้ที่ถูกฆ่าคืนชีพหลังจากผ่านการลงโทษฆาตกรเรียบร้อยแล้ว หากฆาตกรฆ่าเหยื่ออีกครั้งเป็นการซ้ำสองต่อกลางสาธารณชน ฆาตกรกลับไม่มีความผิดโดยโทษอาญา
  12. ความสงบที่แท้มิใช่เกิดจากภายนอก แต่หากเกิดจากภายในที่หาเชื้อมิได้แล้ว เปรียบเสมือนตาลยอดด้วน แม้แมลงจะมากัดแทะเช่นไร ก็ไม่ส่งผลกระทบอีก
  13. หากกษัตริย์เป็นตัวแทนของความไม่สงบเองแล้วเล่า ความสงบที่เกิดจากกษัตริย์หรือ กษัตริย์หากมิใช่นักปราชญ์หรือแสวงหาเมธีเพื่อฟังคำของปราชญ์อันเป็นประโยชน์แก่การเสพซึ่งความรู้ การปฏิวัติในฝรั่งเศษคงเกิดขึ้นอย่างเนืองนิจแล้ว
  14. มันจะคล่องตัวขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อนำปมเชือกที่พันกันยุ่งแล้ว ไปให้ชายที่ยุ่งอยู่กับการเล่นกระดานหมากรุกกำลังจนแต้มจะถูกรุกฆาตได้ทุกเวลา แล้วดันไปร้องขอให้ช่วยแก้ปมเชือกให้หน่อย ถ้าเป็นเช่นนั้นชายคนที่เล่นหมากรุกนั้นไม่ชักดาบมาตัดโปงกลางปมเชือกเข้าให้ ก็นับว่าบุญโขแล้
  15. ถ้าการส่งต่อซึ่งจารีตประเพณีและคำพิพากษาซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่าเกิดการบกพร่องขึ้น มีความผิดเพี้ยนเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของผู้มีอำนาจ หรือแม้การส่งต่อของผู้มีเจตนาบริสุทธิ์แต่เกิดจดจำที่ผิดพลาดขึ้นมา ไม่ทราบว่าท่านจะทำเช่นไร
  16. อะไรเป็นเกณฑ์วัดความสมบูรณ์ในตัวเองของกฎหมาย ผลประโยชน์ของรัฐและประชาชนในรัฐหรือ หรือว่าผลประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ถ้าเป็นนั้นแล้วไซร้ ชีวิตก็เหมือนเอาตั้งไว้บนยอดตึกเสาธงสูง ที่พร้อมจะถูกพัดไปตามกระแสของสายลมในทุกทิศทาง
  17. กฎหมายในระบอบปกครองนี้ไม่ต้องการสร้างระเบียบสังคมใดขึ้นมาใหม่ ยิ่งสร้างขึ้นมาใหม่ ยิ่งผิดแปลกไปจากรูปแบบของการปกครองในระบอบนี้ ในเมื่อสร้างใหม่ยิ่งยุ่งยาก แต่จงหลอมรวมในขั้นแรกง่ายกว่า และให้การศึกษาในท่ามกลาง และทำให้หมดข้อบังคับในที่สุดลงรอบ นี่จึงเป็นกิจอันนักนิติศาสตร์ในระบอบการปกครองนี้พึงกระทำ อนึ่งสังคมใหม่ใช่ว่าจะดีพร้อมในเมื่อเหตุแย่เสียแล้วจะใฝ่หาตั้งความหวังนอนหลับฝันกลางวันไปทำไม ผลคงไม่ผิดไปจากเหตุเป็นแน่ จงทำเหตุในปัจจุบันให้ดีพร้อมเสียก่อน แล้วเจ้าค่อยวางแผนในอนาคต
  18. ในเมื่อปรัชญาของมาร์กซ์ ยังยึดติดสู่ยุคอุดมการณ์ขั้นสุดท้าย มีเหตุเป็นตัวตน มีที่ยึดมั่น แล้วจะหาความคิดที่ว่า “จะทำให้ความคิดในเรื่องรัฐและกฎหมายค่อยๆ หายไปในที่สุด” ได้อย่างไร เหตุมีผลเป็นเช่นนี้ วิปากจึงมีผลเป็นเช่นนั้น ทำอย่างไรได้อย่างนั้น เมื่อยึดติดในอุดมการณ์ อุดมการณ์นั้นจะเป็นตัวรัฐและกฎหมายนั่นเอง
  19. เจตจำนงของประชาชนคืออะไร ถ้าเจตจำนงนั้นเป็นไปเพื่อความทยานอยากในสิ่งสนองความต้องการ ความทยานอยากในภาวะของตัวตนที่ปรารถนา ความไม่ต้องในภาวะของตัวตนที่ไม่ปรารถนา ก็โยนมันทิ้งลงถังขยะไปเถอะ เพราะเหตุว่า เจตจำนงนี้ เป็นไปเพื่อความเป็นทุกข์ เป็นไปเพื่อแสวงหาความเป็นทุกข์ เป็นไปเพื่อความหมกไหม้ในความเป็นทุกข์ตลอดไป เป็นต้น ถ้าอยากรู้ว่าทำไมเจตจำนงนี้เป็นพิษ ของท่านลองสังเกตความสิ้นไปและความเสือไปดูเถิด
  20. ถ้าเช่นนั้น ระบบทุนนิยมก็ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชน กระมัง ให้คอยกดขี่กันไปมาตามวาสนาของแต่ละปัจเจกบุคคลที่ต่างกันอย่างไม่สามารถปรับให้เท่าเทียมกันได้ตลอดไป เว้นเสียแต่ จนกว่าจะลบเหตุที่ทำให้วาสนาของแต่ละคนแตกต่างกันหายไป(หมายถึงลบตัณหานะ ไม่ใช่อย่างอื่น เพราะตัณหาที่อยู่ในจิตใจเป็นเหตุปัจจัยยังผลให้บุคคลได้รับ อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ ที่ต่างกันไป) เพื่อจะไม่ให้มีเหตุที่จะเป็นปัจจัยให้บังเกิดวาสนาที่ต่างกัน
  21. กฎหมายอาญาที่เคร่งครัดใช่ว่าอาชญากรรมจะลดน้อยไป บ้างคนประกอบอาชญากรรมด้วยมหาเจตนา บ้างคนประกอบอาชญากรรมด้วยวิปากกรรมที่ส่งผลในปัจจุบัน บ้างคนประกอบอาชญากรรมด้วยมีสิ่งใดเป็นเหตุก็หามิได้ก็มี ถ้าใช้บังคับต่อจำพวกมหาเจตนายังพอว่า แต่ถ้าเป็นกรณีอื่นเราจะทำเช่นไร ถ้าจัดการไม่ถูกปมเชือกแห่งวิปากกรรมและวาสนาจะพันกันยุ่งยิ่งขึ้นไปอีก
  22. วิธีอุดช่องว่างกฎหมายเช่นนี้ไม่ทำให้กฎหมายกลายเป็นของมีชีวิตขึ้น แม้จะเป็นการหลอมรวมกฎหมายแต่มิได้แก้ที่ต้นเหตุ ทั้งยังเป็นการสร้างลายลักษณ์อักษรให้แก่กฎหมายเพิ่มขึ้น ทำให้นักการเมืองมีเครื่องมือที่จะถ่างช่องว่างของกฎหมายให้กว้างยิ่งขึ้น
  23. ความเท่าเทียมเหลวไหล ความเท่าเทียมกันมิใช่เกิดจากการสร้างขึ้น แต่เป็นการถอนความยึดมั่นถือมั่นว่าไม่เท่าเทียมกันออกเสียต่างหาก เมื่อบุคคลไม่มีอุปาทานว่าไม่เท่าเทียมกันแล้วจึงเลิกแสวงหาความแตกต่าง เมื่อทุกๆคนเลิกแสวงหาความแตกต่างรู้จักพอดีแก่ความเป็นอัตตภาพของตน เมื่อนั้นความเท่าเทียมที่แท้จึงเกิดขึ้น
  24. กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน แม้ทางโลกจะกำหนอไว้ให้บุคคลมีอำนาจในการครอบครองสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ถ้าถามกันที่เนื้อแท้แล้วบุคคลไม่สามารถมีอำนาจครอบครองสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างแท้จริงได้ ด้วยการที่ไม่สามารถครอบครองซึ่งสิ่งนั้นได้ ความวุ่นวายซึ่งสิ่งนั้นนำพามาสู่ชีวิตมนุษย์จึงบังเกิดขึ้น ทั้งสภาวะที่ สิ่งนั้นเป็นที่รักใคร่ การสูญเสียสิ่งนั้นไป การได้รับในสิ่งที่ไม่ต้องการ ดังนั้นผู้ที่ตนคิดว่าตนเป็นนักปราชญ์ในพรรคคอมมิวนิสต์จึงออกมาจำกัดสิ่งที่เป็นอำนาจกรรมสิทธ์นี้ แม้ว่าตนเองนั้นก็ยังไม่สามารถหลีกหนีความวุ่นวายซึ่งสิ่งนั้นๆมาสู่ชีวิตเองได้ แม้ผู้ที่เป็นนักปราชญ์ที่แท้จริงเองยังไม่เข้ามาก้าวก่ายแถมยังพยายามพาตนให้หลีกพ้นมาอีกจากความวุ่นวายทางโลกนั้น
  25. การที่จะปกครองบ้านเมืองมิใช่อยู่ที่ความสำคัญของตัวบทกฎหมายหรือนิติสัมพันธ์ส่วนใด แต่อยู่ที่ความน่าเชื่อถือมากกว่า หากถ้าเกิดประชาชนเลิกเชื่อถือในสิ่งที่ตนต้องทำไม่ว่าจะเป็นตัวบทกฎหมายใดหรือคำสั่งอำนาจใด หรือแม้เลิกเชื่อถือในอำนาจของดินปืนและกล้าแม้แต่ความตาย ต่อให้เป็นบทบัญญัติของผู้สร้างโลกเอง มนุษย์ก็พร้อมที่จะทำลายได้
  26. บุคคลมิได้มีอำนาจต่อรองเสมอกัน กรรมของแต่ละบุคคลนั้นต่างกัน ถ้าบุคคลใดทำดีมามากก็จะอำนาจต่อรองมาก ต่อเมื่อมีกรรมชั่วมาส่งผลอำนาจการต่อรองก็จะลดลงไป การแตกต่างของแต่ละบุคคลในสังคมนั้นเกิดจากการกระทำของแต่ละบุคคลเองมิได้เกิดจากการลิขิตของผู้ใดจะมาเปลี่ยนแปลงได้ บุคคลผู้หนึ่งทำการค้าด้วยซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร รับผิดชอบ จึงร่ำรวยขึ้นมามิใช่ของแปลก หากแต่รัฐใช้อำนาจกดขี่บุคคลผู้นั้น เช่นนี้เรียกว่ากรรมชั่ว อำนาจการต่อรองของรัฐเองจะเสื่อมสูญเอง ถ้าหากบุคคลนั้นค้าขายอย่างคดโกง เอาเปรียบลูกค้าเกินควร ไม่ให้อำนาจต่อรองราคาในการซื้อขาย เช่นนั้น หากรัฐเข้าไปแทรกแซง จึงเรียกว่ากระทำซึ่งกรรมดี เป็นที่สรรเสริญของประชาชนทั่วไป หากแต่หน้าที่ของรัฐที่สำคัญอย่างแท้จริงคือตัดไฟแต่ต้นลม ไม่ใช่เข้าไปจับพ่อค้าทุจริต แต่เป็นการอบรมสั่งสอนให้ประชาชนค้าขายอย่างสุจริต เพราะผลที่ได้รับคือความน่าเชื่อถือซึ่งจะเป็นการส่งผลในระยาวต่อไป
  27. อกฎหมาย แปลโดยศัพท์ หมายถึง จักมีกฎหมายก็หามิได้ จักไร้กฎหมายก็ไม่เชิง และไม่เกี่ยวข้องกับประเพณีศีลธรรม และรูปแบบบังคับใดๆ (ตามความคิดผู้เขียน หลักเหตุผลต้องสมดุลกับความรู้สึก)
  28. ม.อ. 14/142/112
  29. ที.ปา.11/108/140
  30. ขุ.ปฏิ.31/436-444/237
  31. ที.ปา.11/240/239,สํ.ม.19/1428/434,1620/509
  32. อัง.จตุกก.21/69/96,14/20,13/19
  33. ที.ม.10/273-300/325-351,ม.มู.12/131-152/103-127
  34. ม.มู.12/102/72
  35. วินย.4/14/18,สํ.ม.19/1665/528,อภิ.วิ.35/145/127
  36. อุปาทานขันธ์ 5 คือการนึกคิดจินตนาการไปเอง การยึดมั่น การถือมั่น ความพัวพัน ในร่างกายจิตใจ ความรู้สึกของร่างกายจิตใจ ความทรงจำ คุณธรรมความชั่ว และการรับทั้งภายในและภายนอกของตน ว่านั่นเป็น ∞ อินพินีตี้ ไม่รู้จบ
  37. กามตัณหา ความทยานอยากในสิ่งสนองความต้องการทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ภวตัณหา ความทยานอยากในภาวะของตัวตนที่ปราถนา อยากคงอยู่ตลอดไป วิภวตัณหา ความไม่ต้องในภาวะของตัวตนที่ไม่ปราถนา อยากจะหลบหนีตลอดไป
  38. อริยมรรค 8 ทางไปของพระอริยะชน ผู้เป็นอิสระต่ออำนาจทั้งปวง สัมมาทิฏฐิ ความรู้ทั่ว การเข้าถึงอริยสัจจ์ 4 สัมมาสังกัปปะ เนกขัมมะ ความคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในความปราถนาไม่ดีของตนทั้งปวง อพยาบาท ความคิดในทางเมตตา ไม่ถือโทษหรือมองในแง่ร้ายทั้งปวง อวิหิงสา ความคิดในทางรักษา ไม่ถือรังเกียจหรือตั้งปฏิปักษ์ทั้งปวง สัมมาวาจา วจีสุจริต 4 ได้แก่ เว้นจากการโกหก ส่อเสียด คำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ สัมมากัมมันตะ กายสุจริต 3 ได้แก่ เว้นจากการปลงชีวิต ถือเอาของที่เขาไม่ให้ และประพฤติผิดในกาม สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ การประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์ ละเว้นสิ่งที่ควรเว้น หมั่นสิ่งที่ควร สัมมาวายามะ สัมมัปปธาน 4 ความพยายามที่ให้ผลเสียไม่มีโทษ สัมมาสติ สติปัฏฐาน 4 การระลึกในสิ่งที่เป็นประโยชน์ สัมมาสมาธิ ฌาน 4 สมาธิอันเป็นอัปปนา(แน่วแน่)
  39. สุมังคลวิลาสินี ภาค 3 หน้า 56, อ้างใน พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ข้อ [339]
  40. กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หลักความเชื่อและการเชื่อถือบุคคล อัง.ติก.20/505/241
  41. กายคตาสติหนึ่งในอนุสติ 10 เครื่องละงับกามฉันทะ ความพอใจในกามคุณ อัง.เอก. 20/179-180/39-40; 224/54 วิสุทธิมรรค 1/251
  42. มูลกรรมฐาน คือการกำหนด ตจปัญจก คือหมวดแห่งอาการ 5 อย่าง ได้แก่ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เป็นต้น จาก สมถกัมมัฏฐาน หลักสูตรนักธรรมเอก สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส หน้า 7
  43. สํ.นิ. 16/524/257 โอวาท 3 ที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งเป็นเงื่อนไขต่อการประทานอนุญาตให้บวชในพุทธศาสนา ต่อพระมหากัสสปะมหาเถรเจ้า องศ์ปฐมสังฆปรินายก หนึ่งเดียวผู้มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์พลังอำนาจเสมอเหมือนด้วยพระพุทธเจ้าในฌาณาภิญญาสูตร สํ.นิ. 16/497-511/247
  44. เพราะธรรมชาติของสัตบุรุษจักรู้ชัดถึงสิ่งที่ตนกำลังกระทำเมื่อเห็นว่าเป็นประโยชน์และไม่เป็นที่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นแล้วจึงกระทำ ไม่จำเป็นที่จะต้องไปยึดถือเอาอุปาทานใดเป็นหลักเกณฑ์ตัดสิน เนื่องด้วยการไปยึดถือมั่นเอาอุปทานใดที่เข้าแต่งขึ้นมานั้น ในยุคหนึ่งเป็นเช่นหนึ่ง อีกยุคหนึ่งก็เป็นไปอีกเช่นหนึ่งหากฎเกณฑ์หลักหามิได้แก่ความไร้รูปแบบที่มีรูปแบบของมนุษย์
  45. ลัทธิพราหมณ์ถือว่าบาปที่ทำแล้วอาจลอยเสียด้วยทำพิธีเมื่ออาบชำระในแม่น้ำคงคา เช่นเดียวกับชำระมลทินกายด้วยอาบน้ำปกติ และลัทธิคริสตังถือว่า อ้อนวอนพระเจ้าเพื่อโปรดยกโทษประทานได้อยู่ เช่นเดียวกับพระเจ้าแผ่นดิน โปรดยกโทษพระราชทานแก่คนผู้กระทำผิด ให้พ้นพระราชอาญา ฝ่ายพระพุทธศาสนาถือว่า

    ทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง
    ไม่ทำบาปเอง ย่อมหมดจดเอง
    ความหมดจดและความเศร้าหมองเป็นเฉพาะตัว
    คนอื่นยังคนอื่นให้หมดจดหาได้ไม่

    โดยนัยนี้ถือว่า ความบริสุทธิ์ภายในย่อมมีด้วยปัญญา (ธรรมวิจารณ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส หน้า 36)

  46. ในจิตปรมัตถ์ตามนัยของคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะจำแนกอำนาจของจิตทำให้ธรรมชาติทั้งหลายเป็นไปโดยวิจิตรไว้ 6 ประการ 2 ใน 6 นั้นคือ วิจิตรในการสั่งสมกรรม และ กิเลส หมายถึง กรรมคือ การกระทำและกิเลสเครื่องทำให้จิตใจเศร้าหมอง ที่ปรากฏขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำนั้นเพราะมีการสั่งสมมาแล้วแต่อดีต ครั้นมาได้รับอารมณ์ใหม่ใน ปัจจุบัน ก็สนับสนุนกรรมและกิเลสให้ปรากฏขึ้นใหม่ และจะเก็บสั่งสมไว้ต่อไปอีก วิจิตรในการรักษาวิปากที่กรรมและกิเลสที่สั่งสมไว้ หมายถึง กรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรมที่จิตก่อให้เกิดขึ้น ผลของกรรมคือวิปากย่อมไม่สูญหายไปไหน แม้กรรมนั้นจะเล็กน้อย หรือได้กระทำมาแล้วช้านานปานใดก็ตามผลแห่งกรรมคือวิปากนั้น จะติดตามไปให้ต้องได้รับผล เมื่อถึงโอกาส ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้เท่ากับว่าเมื่อทำสิ่งใดไว้ ตนเองย่อมรู้เอง และตนเองที่รู้เองนั้นเป็นผู้กระทำให้ตนเองได้รับผลเอง ตามความเชื่อที่มีในคนรุ่นเก่าที่เชื่อว่าในนรกมีบัญชีหนังหมาที่ค่อยจดบันทึกความผิดของมนุษย์โดยยมบาลย่อมไม่มีจริง แต่สิ่งที่เป็นบัญชีหนังหมาติดตามเราไปทุกแห่ง สิ่งนั้นคือจิตใจเราเอง และเมื่อเป็นเช่นนี้ วิธีเดียวที่จะลบผลกรรมไปได้คือดับจิตแบบถาวร กล่าวคือดับขันธ์ปรินิพพานเท่านั้น (คู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ 1 จิตปรมัตถ์ หน้า 24 โดยนายวรรณสิทธิ ไวทยะเสวี มูลนิธิแนบมหานีรานนท์)
  47. https://www.youtube.com/watch?v=Ldi_7aSC8q GN drive
  48. หนังสือ The I Ching กลยุทธ์ผู้นำ นำด้วย ภูมิปัญญาจากอี้จิง ภาพ ตันเสี่ยนชุน แปลเป็นภาษาอังกฤษ โก๊ะก๊กเกียง แปลและเรียบเรียง อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์ สำนักพิมพ์ดอกหญ้า
  49. นิยาย มากกว่ารัก จันทราในเรือนเร้น เล่ม 1 หน้า 194 หูเตี่ย
  50. https://www.youtube.com/watch?v=MqufLr8Mopg
  51. http://th.wikipedia.org/wiki/การสอบขุนนาง
  52. ในยุคสังคมดั้งเดิมตอนปลายประมาณ4000ปีก่อน… มีชนเผ่าต่างๆ และชุมชนมากมายอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินจีน นักโบราณคดีได้จัด หมวดหมู่ชุมชนเหล่านี้ออกเป็น… “เผ่าหัวเซี่ย ” “เผ่าตงอี๋ ”และ “เผ่าเหมียวหมาน” …โดยชนเผ่าหัวเซี่ยอยู่ภายใต้การนำของเหยียนตี้ …และหวงตี้ซึ่งแต่เดิมกลุ่มคนเหล่านี้อาศัยอยู่ในแถบมณฑลซานซี ในปัจจุบัน … ต่อมาขยายอาณาเขตออกไปทางทิศตะวันออก… พวกเขา ต้องทำสงครามกับชนเผ่า”ตงอี๋”…ที่มาจากตะวันตกและพวก “เหมียว หมาน” ที่มาจากทิศเหนือบ่อยครั้ง… ในระหว่างที่เผ่าหัวเซี่ยแผ่ขยายอิทธิพลอยู่นั้น …เคยเกิดบุคคล ผู้ยิ่งใหญ่หลายคน เช่น …เหยา… ซุ่น… และอวี่ …(ตามความคิดดั้งเดิม ผู้เป็นหัวหน้าเผ่าหรือกษัตริย์มีภาระหน้าที่ ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขราษฎร จะไม่ยกราชสมบัติให้กับโอรสของ ตน เนื่องจากเกรงว่า ราษฎรจะได้รับความเดือดร้อน)… เล่ากันว่า เหยา…เป็นคนรุ่นหลังของหวงตี้บรรพบุรุษประชาชาติจีน… เหยา…เป็นผู้เฉลียวฉลาดและมีเมตตาปรานี… จึงได้รับความเคารพนับถือจาก คนทั่วไป… เขาได้รับเลือกเป็นหัวหน้าเผ่าเมื่ออายุประมาณ 16 ปี… ตามตำราพงศาวดารระบุว่า… เหยาได้ตั้งเมืองหลวงที่ผิงหยาง (คือเมืองหลินเฝินของมณฑลซานซีทางภาคเหนือของจีนในปัจจุบัน) ปัจจุบัน เมืองหลินเฝินยังมีศาลจ้าวเหยาที่สร้างในสมัยราชวงศ์จิ้น(ปีค.ศ.265-420)และสุสานเหยาที่สร้างในสมัยราชวงศ์ ถัง (ปีค.ศ.618-907) หลังจากเหยาขึ้นครองราชย์แล้ว… ได้เสนอชื่อให้ผู้มี ความสามารถรับราชการเป็นขุนนางต่างๆ …และให้คนในเผ่าสมานสามัคคีกัน อย่างใกล้ชิด … นอกจากนั้น ยังไปสำรวจผลงานของขุนนางต่างๆ… เพื่อให้รางวัล…หรือปรับโทษตามผลที่สำรวจมา ทำให้ระบบราชการเป็น ระเบียบเรียบร้อย …พร้อมกันนี้ เหยาก็ให้ความสำคัญต่อการประสานความสัมพันธ์ระหว่างชนเผ่าต่างๆ… ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง ระหว่างประชาชน… จึงทำให้การปกครองมีความสุจริต …ประชาชนอยู่เย็น เป็นสุข… และสังคมมีความสงบเรียบร้อย… เหยา…ได้กำหนดปฏิทินขึ้นเป็นครั้งแรก… ทำให้ประชาชนทำการเกษตรตามการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ… คนโบราณจึงถือสมัยเหยาเป็นสมัยที่วัฒนธรรมการทำไร่ไถนาได้รับความก้าวหน้า แบบก้าวกระโดด… สมัยเหยาเป็นช่วงที่เกิดอุทกภัยร้ายแรงบ่อยครั้ง… เหยาให้ความสนใจอย่างยิ่งและสั่งการให้…“กุ่น”บิดาของ“อวี่” …ไปแก้ปัญหาอุทกภัยตามข้อเสนอของเจ้าผู้ครองนครรัฐทั้งหลาย… เมื่อเหยาได้ครองราชบัลลังก์ถึง 70ปี ก็พยายามเสาะหาคนดีมีสติปัญญา…ที่ตั้งมั่นในความยุติธรรม…มาปกครองแผ่นดินต่อ… บรรดาเจ้าผู้ครองนครรัฐต่างเสนอชื่อ… “ซุ่น”โดยให้ความเห็นว่า… ซุ่นเป็นบุตรกตัญญู…และมีสติปัญญา…เป็นที่ยกย่องของชาวบ้านในถิ่นนั้น… แม้ว่า บิดากับมารดาเลี้ยงจะคิดฆ่าเขาถึงสองครั้ง… หมายจะยกสมบัติให้น้องต่างมารดา… แต่ซุ่นก็ไม่มีความโกรธ…หรือ อาฆาตพยาบาทแต่อย่างใด… เหยา…จึงเชิญซุ่นมาพบ…และแต่งตั้งให้ เป็นขุนนางผู้ใหญ่… เป็นการทดลองให้ฝึกงานบริหารแผ่นดินต่อไป… เมื่อเหยาเห็นว่า ซุ่นมีความสามรถที่จะเป็นหัวหน้าเผ่าได้อย่างดีแล้ว …ก็ยกราชธิดาสององค์ชื่อว่า… เอ๋อหวงกับหนี่อิง…ให้เป็นภรรยา เพื่อพิสูจน์ว่า… ซุ่นสามารถตั้งตนอยู่ในความยุติธรรมได้หรือไม่ …ผลปรากฏว่า ซุ่นกับภรรยาสองคนได้อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเว่ยสุ่ย… ได้ใช้ชีวิตอย่างมีมารยาทต่อกันและอยู่กันอย่างสงบสุข… เหยา…สั่งให้ซุ่นไปสอนขุนนางและประชาชน…ให้มีคุณธรรมอันดีงาม… ตามแบบความประพฤติของตน… ขุนนางและประชาชนทั่วไปต่างก็ปฏิบัติตามด้วยความยินยอมพร้อมใจ… เหยายังสั่งการให้ซุ่นไปบริหารข้าราชการทั้งฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร…และไปเฝ้ารับเสด็จฯ เจ้าผู้ครองนครรัฐ ตามประตูทั้ง 4 ด้านของเมืองหลวง…และสุดท้าย เหยาให้ซุ่นเดินทางไปอยู่ในป่า… ตามลำพังผู้เดียว เพื่อทดสอบจากธรรมชาติ… ด้วยการทดสอบ…และสำรวจเป็นเวลาสามปี… เหยาได้ส่งมอบราชบัลลังก์ให้ซุ่นสืบทอดต่อในที่สุด… ซุ่นสนใจพัฒนาการผลิต …ส่งเสริมการชลประทานด้วยการขุดคลอง…และขุดบ่อน้ำ…และใช้บุคลากรที่มีความสามารถ… ในสมัยซุ่น เทคนิคทั้งใน ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมต่างได้รับการพัฒนาอย่างมาก… ซุ่นทั้งสนใจสอนคุณธรรมอันดีงามให้ประชาชนรับรู้…และได้ใช้ตัวเองเป็นแบบ อย่างในความประพฤติ …ทั้งยังร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประชาชนด้วย… คนทั่วไปมีพอกินพอใช้พอใส่ ไม่ต้องไปเป็นแรงงานเกณฑ์ที่ได้ รับความทุกข์ทรมานเหมือนอดีต… การวิพากษ์วิจารณ์เรื่องบ้านเมืองก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา… จะไม่ถูกนำไปลงโทษเหมือนเมื่อก่อนอีก… จึงกล่าวได้ว่า… ในสมัยของซุ่น… การเมืองมีความสุจริต ประชาชนมีมารยาทดีงาม …ทรัพย์สินอุดมสมบูรณ์ …นับเป็นสมัยที่มีความเจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านการเมือง… การผลิต…และศิลปะด้วย… ต่อมา… ซุ่นได้สืบทอดราชสมบัติให้“อวี่”…ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาอุทกภัย …คุณงามความดีของเหยาและซุ่นเป็นที่ยกย่องชมเชยกันนับหลายชั่วคน… ซุ่นได้เสียชีวิตไปด้วยอาการป่วยเมื่อมีอายุประมาณ 110 ปี… ปัจจุบัน บนภูเขาจิ่วหยีที่อยู่ห่างจากอำเภอหนิงหย่วนไปภาคใต้ 30 กิโลเมตร ของมณฑลหู เมื่อ4000ปีก่อน ลุ่มแม่น้ำหวงเหอหรือแม่น้ำเหลืองเกิดอุทกภัย ครั้งร้ายแรง “ต้าอวี่”ได้รับคำสั่งให้ไปแก้ปัญหาอุทกภัยและประสบ ความสำเร็จในที่สุด จึงกลายเป็นบุคคลที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจาก ประชาชนทั่วไป ซุ่นหัวหน้าผู้ยิ่งใหญ่ของชนเผ่าหัวเซี่ยในเวลานั้นได้ มอบราชบัลลังก์ให้อวี่สืบทอดต่อ เรื่องราวเกี่ยวกับ“ต้าอวี่”แก้ปัญหา อุทกภัยไดเล่าขานกันมาจนกระทั่งทุกวันนี้ เล่ากันว่า ในขณะที่เหยาเป็นหัวหน้าเผ่าอยู่นั้น เกิดอุทกภัยครั้ง ร้ายแรงมาก ไร่นาและบ้านถูกน้ำท่วมไปหมด ชาวบ้านทั่วไปต้อง ย้ายไปอยู่เนินสูง เหยาเรียกเปิดประชุม เพื่อปรึกษาหารือแก้ปัญหา อุทกภัย บรรดาหัวหน้าเผ่าต่างก็เสนอชื่อให้”กุ่น” ซึ่งเป็นบิดาของอวี่ไปหาทางแก้ไข กุ่นใช้เวลา 9 ปีใช้วิธีการถมดินปิดกั้นทางน้ำไหล แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ซ้ำอุทกภัยกลับร้ายแรงยิ่งขึ้น และยังถูกฟ้องร้องกล่าวหาว่า ทุจริต “ซุ่น”ผู้ได้สืบราชบัลลังก์ต่อจากเหยาได้สั่งให้ลงโทษประหารชีวิต” กุ่น”และมอบหมายให้”อวี่” ลูกชายของ”กุ่น”ไปแก้ปัญหาอุทกภัย “อวี่”ได้รับบทเรียนจากความล้มเหลวของบิดาตนที่ใช้ทำนบ ปิดกั้นทางน้ำไหลไม่ได้ผลจึงใช้วิธีขุดคลองระบายน้ำที่ท่วมอยู่ให้ ไหลลงทะเลและขุดลอกแม่น้ำเพื่อระบายน้ำแทน เขาใช้วิธีสำรวจทาง น้ำและสร้างแผนที่ขึ้นมาก่อน แล้วจึงขุดคลองระบายน้ำให้น้ำที่ท่วม อยู่มีทางไหลออกไปสู่ทะเลได้ เขามุ่งมั่นนำพาพลเมืองให้ร่วมกัน แก้ไขปัญหาน้ำทวมด้วยตนเอง นำหน้าขุดดินและหาบดินด้วยตนเอง ในระหว่างการแก้อุทกภัย เขาได้คิดประดิษฐ์เครื่องวัดหลายชนิด ตลอดจนวิธีการรังวัดและเขียนผังหลายอย่าง ด้วยการใช้ความ พยายามเป็นเวลานานถึง13ปี จึงสามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลและปลูกพืชพันธุ์ ธัญญาหารในไร่นาได้ ด้วยคุณงามความดีในการแก้ปัญหาน้ำท่วม ซุ่น จึงได้มอบราชบัลลังก์ให้อวี่สืบทอดต่อ เล่ากันว่า เพื่อแก้ไขน้ำท่วม อวี่แต่งงานได้ไม่นานก็ต้องเดินทางออก จากบ้าน ในช่วงเวลา 13 ปีที่เขาทำงานหนักมาก เขาเคยผ่านหน้าบ้านถึงสามครั้ง แต่ก็ไม่ได้แวะเข้าบ้านเลยแม้สัก ครั้ง ครั้งหนึ่ง ขณะที่เขาผ่านหน้าบ้านนั้น ภรรยาเขาได้คลอด ลูกชายชื่อ”ฉี่”พอดี แม้อวี่ได้ยินเสียงร้องไห้ของทารกแล้ว แต่ก็อดกลั้นใจไว้ไม่แวะเข้าบ้านของตน ชนรุ่นหลังต่างยกย่องสรรเสริญคุณงามความดีในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ของ”อวี่”จึงเรียกเขาว่า“ต้าอวี่”แปลว่า”อวี่ผู้ยิ่งใหญ่” เรื่องเล่าขานนี้ ได้สะท้อนถึงสภาพจิตใจของชุมชนที่ไม่หวาดหวั่นครั่นคร้ามต่อภัย ธรรมชาติ เมื่อหวี่แก้ปัญหาอุทกภัยได้ ก็เปรียบเสมือนหนึ่งวีรบรุษกู้ชาติ จึงได้รับ การยกย่องทั่วไปทั้งจากผู้ปกครองและประชาชน “ซุ่น”จึงได้มอบราช สมบัติให้ เมื่ออวี่เป็นหัวหน้าเผ่าแล้วก็ได้เปลี่ยนชื่อเมืองหลวง เป็น”เซี่ย“ และเปลี่ยนเขตปกครองเสียใหม่โดยแบ่งอาณาเขตประเทศเป็น9เขต เขาปกครองประเทศอย่างแข็งขันด้วยความพากเพียร ทำให้สังคมในยุคสมัยนั้นพัฒนาก้าวไปสู่ยุคสมัยใหม่ หลังยุคคอมมูนชาติวงศ์ หัวหน้าของชนเผ่าและชาติวงศ์ทั้ง หลายอาศัยฐานะและอำนาจของตนเก็บเอาผลิตผลที่เหลือไว้กลายเป็นทรัพย์สินส่วนตัว จึงกลายเป็นตระกูลชั้นผู้ดีที่ร่ำรวยขึ้น ถ้าเกิดการสู้รบระหว่างชนเผ่าที่ต่างกัน ข้าศึกที่ถูกจับ ได้ก็กลายเป็นทาสและต้องเป็นแรงงานรับใช้ตระกูลชั้นผู้ดี จึงได้ก่อรูปเป็นชนชั้น ทาสและเจ้าของทาสขึ้น คอมมูนชาติวงศ์จึงเริ่มสลายตัวไป เมื่ออวี่ชราลงก็ได้แสดงความจำนงที่จะยกราชสมบัติให้โป๋อี้ ขุนนางผู้หนึ่งที่อวี่เห็นว่า มีสติปัญญาสมควรที่จะครองราชย์สืบต่อ จากตน แต่เมื่ออวี่สิ้นพระชนม์ลง โป๋อี้ก็ไม่ยอมรับเป็นหัวหน้าเผ่า โดยอ้างว่า ตนเป็นแต่ขุนนางผู้น้อย รับราชการมาเพียง 3 ปี เห็นควรให้ “ฉี่”ราชโอรสของอวี่ครองราชย์สืบต่อจากหวี่ต่อไป ขุนนางทั้งหลายก็เห็นด้วย“ฉี่” จึงได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากอวี่ ตั้งแต่นั้นมา ระบบคัดเลือกหัวหน้าเผ่าด้วยการเลือกตั้งคนดีก็ถูก ยกเลิกไป ระบบที่สืบราชสมบัติต่อในเชื้อสายราชวงศ์ได้ปรากฏขึ้น ราชวงศ์เซี่ย จึงนับได้ว่าเป็นราชวงศ์แรกในยุคทาสของ ประวัติศาสตร์จีน