ผู้ใช้:Chintana Greger/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


พระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล)


พระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล) เป็นพระสงฆ์ในสังกัด มหานิกาย ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่, ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๗

เป็น ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระวิปัสสนาจารย์ภาคเหนือ พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ, เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด แห่งที่ ๑ วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร เปิดสอนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในแนวสติปัฏฐาน ๔ (พอง-ยุบ) มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๗ จนถึงปัจจุบัน มีสำนักสาขาทั้งในประเทศ และในต่างประเทศ กว่า ๕๐ แห่ง

ประวัติ[แก้]

นามเดิม ทอง พรหมเสน เกิดเมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๖
ตรงกับ วันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีกุน
ณ บ้านนาแก่ง ตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
บิดา นายทา พรหมเสน มารดา นางแต้ม พรหมเสน มีพี่น้องด้วยกัน ๖ คน

บรรพชา วันศุกร์ ที่ ๑๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ ตรงกัน วันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ
ณ วัดนาแก่ง ตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
โดยมี พระครูบาชัยวงศ์ (หลวงปู่ครูบาแก้ว ชยวํโส) เจ้าอาวาสวัดนาแก่ง เป็นพระอุปัชฌาย์

อุปสมบท เมื่อวันจันทร์ ที่ ๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๘๗ ตรงกับ วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ปี วอก ณ บ้านแอ่น ตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

โดยมี
พระครูคัมภีรธรรม (ครูบาอินตา พรหฺมปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดชัยพระเกียรติ เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอธิการญาณรังสี เจ้าอาวาสวัดห้วยทราย เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระมหาจันทร์ วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายานามว่า “สิริมงฺคโล” ปัจจุบัน อายุ ๙๒ ปี พรรษา ๗๒



วิทยฐานะ[แก้]

พ.ศ. ๒๔๗๗ สอบได้นักธรรมชั้นตรี ณ สำนักศาสนศึกษาวัดวังลุง สำนักเรียนคณะจังหวัดเชียงใหม่

พ.ศ. ๒๔๘๖ สอบได้นักธรรมชั้นโท ณ สำนักศาสนศึกษาวัดชัยพระเกียรติ สำนักเรียนคณะจังหวัดเชียงใหม่

พ.ศ. ๒๔๘๗ สอบได้นักธรรมชั้นเอก ณ สำนักศาสนศึกษาวัดพันอ้น สำนักเรียนคณะจังหวัดเชียงใหม่

พ.ศ. ๒๕๓๖ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถวาย ปริญญาบัตร ปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเอก พระพุทธศาสนา

พ.ศ. ๒๕๕๔ มหาวิทยาลัยนอร์ท เชียงใหม่ ถวาย ปริญญาบัตรปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการพัฒนา

พ.ศ. ๒๕๕๕ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ถวาย ปริญญาบัตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

พ.ศ. ๒๕๕๖ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ถวาย ปริญญาบัตรปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์ศึกษา


ประวัติการอบรมด้านวิปัสสนากรรมฐาน[แก้]

พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๖ ฝึกการปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานกับ

- พระสุธรรมยานเถร (อินถา อินฺทจกฺโก) ณ สำนักวัดวนาราม (น้ำบ่อหลวง)

- พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก) ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า

- พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ (ครูบาชัยวงศาพัฒนา) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

- ครูบาอภิชัย ขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม

พ.ศ. ๒๔๙๖ ฝึกการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน ๔ ณ สำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ ราชวรมหาวิหาร

พ.ศ. ๒๔๙๗-๒๕๐๐ ฝึกการปฏิบัติและศึกษาแนวทางการปฏิบัติในแนวสติปักฐาน ๔ ตามหลักพระไตรปิฎก อรรถกถา และอื่นๆ ที่ประเทศสหภาพเมียนม่าร์ เป็นการเรียน “ปริยัติ ในแนวปฏิบัติ”

พ.ศ. ๒๕๐๐ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน กับ มหาสีสยาดอ ณ สำนักวัดศาสนยิสสา ประเทศสหภาพเมียนม่าร์

งานปกครอง[แก้]

พ.ศ. ๒๔๘๘ ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดเมืองมาง ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ดำรงตำแหน่ง เลขานุการเจ้าคณะอำเภอฮอด

พ.ศ. ๒๕๙๑ ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาส วัดเมืองมาง ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ดำรงตำแหน่งเป็น รองเจ้าคณะอำเภอฮอด

พ.ศ. ๒๕๑๐ ดำรงตำแหน่งเป็น รักษาการเจ้าคณะอำเภอฮอด และ เจ้าคณะอำเภอฮอด

พ.ศ. ๒๕๑๗ ดำรงตำแหน่งเป็น รักษาการเจ้าอาวาสวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

พ.ศ. ๒๕๓๑ ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับการแต่งตั้งจากกองการวิปัสสนาธุระแห่งประเทศไทย ให้เป็น พระวิปัสสนาจารย์ หัวหน้าเขต ๕

พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับการแต่งตั้งจากกองการวิปัสสนาธุระแห่งประเทศไทย ให้เป็น พระวิปัสสนาจารย์ หัวหน้าเขต ๗

พ.ศ.๒๕๓๔ ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

พ.ศ. ๒๕๕๐ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษา เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่

พ.ศ. ๒๕๕๔ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ

พ.ศ. ๒๕๕๗ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษา เจ้าคณะภาค ๗


สมณศักดิ์[แก้]

พ.ศ. ๒๔๙๐ ดำรงตำแหน่งเป็น พระปลัดทอง ฐานานุกรมของพระครูคัมภีรธรรม อดีตเจ้าคณะอำเภอฮอด

พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูพิพัฒน์คณาภิบาล

พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม

พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับการถวายสมณศักดิ์จากสังฆสภารามัญมหานิกาย ประเทศศรีลังกา ที่ <
พระศาสนโสภณสิริบวรวิปัสสนากรรมฐานาจารย์”'

พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับการถวายสมณศักดิ์จากสังฆสภาสยามนิกาย ประเทศลังกา ที่
“พระศาสนโสภณสิริบวรวิปัสสนากรรมฐานาจารย์”

พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่
“พระสุพรหมยานเถร” ในวโรกาส พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม

พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่
“พระราชพรหมาจารย์ ไพศาลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี” ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม

พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่
“ พระเทพสิทธาจารย์ ภาวนาวิธานประยุต วิสุทธิมงคลชัยกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี” ในวโรกาส พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม

พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้น ธรรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่
“ พระธรรมมังคลาจารย์ ภาวนาวิธานประยุต วิสุทธิธรรมโสภณ วิมลศาสนกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”ในวโรกาส พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม

พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้รับถวายสมณศักดิ์จาก รัฐบาลแห่งสหภาพเมียนม่าร์ในตำแหน่ง ที่
“อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ”


ประกาศเกียรติคุณ[แก้]


พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับคัดเลือกให้เป็นบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประเภทส่งเสริมผู้ปฏิบัติธรรมในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศานาในเทศกาลวันวิสาขบูชา

พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับโล่เกียรติคุณ ผู้มีผลงานดีเด่นด้าน “วัฒนธรรมท้องถิ่น” สาขามนุษยศาสตร์ จากศูนย์วัฒนธรรม วิทยาลัยครูเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับรางวัลครูบาศรีวิชัย ในงานรำลึกถึงพระครูบาศรีวิชัย ครบรอบ ๑๑๒ ปี ได้รับเลือกให้เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นทั้ง นักบุญและนักพัฒนาแห่งล้านนาไทย

พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับเกียรติบัตรจากคณะสงฆ์ จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านการปกครอง เนื่องในวันวิสาขบูชา

พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับเกียรติบัตรจากคณะสงฆ์ จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านสาธารณูปการเนื่องในวันมาฆบูชา

พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับถวายเกียรติบัตรจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นในการดำเนินงานให้ วัดเป็นอุทยานการศึกษา เพื่อเฉลิมฉลอง ๗๐๐ ปี เมืองเชียงใหม่

พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับพระราชทานโล่และเข็มเกียรติคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในด้านอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น ด้านภาษา และวรรณกรรมของไทย

พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้รับพัดยศพัฒนาดีเด่น พร้อมด้วยใบประกาศเกียรติคุณ และเงินรางวัล จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท จาก สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับโล่เกียรติคุณจากยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ใน พระบรมราชินูปถัมภ์ ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านการเผยแผ่วิปัสสนากรรมฐานเนื่องในโอกาสครบรอบ ๔๘ ปี ของยุวพุทธิกสมาคม

พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณจากชมรมผู้สูงอายุ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นองค์ประธานอุปถัมภ์การก่อสร้างอาคารชมรมผู้สูงอายุ อำเภอจอมทอง จนประสบความสำเร็จ

พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับโล่เกียรติคุณจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ โดย พระครูพิพิธสุตาธร รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ใน ฐานะเป็นผู้กระทำคุณประโยชน์แก่มหาวิทยาลัย

พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับโล่เกียรติคุณจาก มหาธาตุวิทยาลัย โดย พระธรรมสุธี นายกมหาธาตุวิทยาลัยและอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ < เป็นศิษย์เก่าผู้ได้รับความสำเร็จอย่างสูงทั้งทางโลกและทางธรรม

พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับรางวัล ประกาศเกียรติคุณรางวัลการส่งเสริมการศึกษาเพื่อสันติภาพ ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๕๑ จากมูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)

พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับรางวัล พุทธคุณูปการ ประเภทวัชรเกียรติคุณ จาก สภาผู้แทนราษฎรไทย


[1]
[2]

  1. ธนวัฒน์ ธนวฑฺฒโน, พระมหา และ จินตนา เกรเกอร์, แม่ชี, ๙๐ ปี ที่ทรงคุณค่า กับกาลเวลาที่ผ่านไป พระธรรมมังคลาจารย์ วิ. ๒๑ กันยายน ๒๕๕๖. พิมพ์ครั้งที่ ๒, เชียงใหม่ : หจก. ดาราวรรณการพิมพ์, ๒๕๕๖.
  2. ธนวัฒน์ ธนวฑฺฒโน, พระมหา, บรรณาธิการ, สิริมงฺคลมหาเถร (หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล). ลำพูน : หจก. ณัฐพลการพิมพ์, ๒๕๕๘.