ผู้ใช้:Chem0300

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มลพิษทางน้ำ[แก้]

มลพิษ คือ สิ่งที่เป็นของเสียในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กลิ่น แสง สี เสียง รังสี ความร้อน ฯลฯ ที่เกิดการตกค้างของสารอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือเกิดจากฝีมือของมนุษย์ ซึ่งเป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ภาวะมลพิษ คือ สภาวะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการปนเปื้อน ก่อให้เกิดพิษที่ส่งผลให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลง เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษในดิน มลพิษทางอากาศมลพิษทางเสียง ฯลฯ น้ำเสีย คือ น้ำที่มีการเปลี่ยนสภาพเสื่อมโทรมลงและเกิดกลิ่นเหม็น จากการเน่าเปื่อยจากของเสียและสิ่งปะฏิกูลปะปนอยู่ในน้ำเป็นจำนวนมาก ของเสียนั้นจะอยู่ในสภาพที่เป็นของเหลวและสิ่งเจือปนอยู่กับน้ำ ไม่ว่าจะเป็นพวก ขยะ อุจาระ ปัสสาวะ สารเคมีต่างๆ ฯลฯ มลพิษทางน้ำ คือ สภาพน้ำที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่เสื่อมลง ส่งกลิ่นเหม็น เกิดจากวัชพืชหรือสิ่งปนเปื้อนที่เจือปนอยู่ในน้ำที่เกินมาตรฐานในการควบคุมมลพิษที่กำหนดไว้ น้ำนั้นจึงนำมาใช้ประโยชน์ไม่ได้และส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตบริเวณนั้นและบริเวณใกล้เคียงด้วยไม่มากก็น้อย[1]

  • ลักษณะของมลพิษทางน้ำ
  1. น้ำจะส่งกลิ่นมีกลิ่นเหม็นเน่า ซึ่งเกิดจากสารเคมีหรือสิ่งปฏิกูลเกิดการเน่าเปื่อย
  2. สีของน้ำจะมีสีขุ่นไม่ใสหรือขุ่นดำที่เกิดจากการเจือปนของสารอินทรีย์และสารแขวนลอย
  3. น้ำอาจมาคราบน้ำมันไขน้ำมันเจือปนอยู่สามารถสังเกตได้จากบริเวณผิวของน้ำ
  4. ในน้ำจะมีเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ปะปนอยู่
  5. ในน้ำอาจจะมีสารพิษหรือสารเคมีเจือปนอยู่ เช่น ปรอท ตะกั่ว สารหนู ฯลฯที่ส่งผลต่อสัตวืน้ำ
  6. อุณหภูมิน้ำสูงส่งผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์
  7. ค่าของ BOD สูง เนื่องจากการนำเอาออกซิเจนไปใช้เป็นจำนวนมาก หรือ ปริมาณออกซิเจนในน้ำน้อยส่งผลทำให้น้ำเสีย


    • การบำบัดน้ำ**
  • วิธีการบำบัดน้ำเสีย

เราสามารถเลือกวิธีการบำบัดน้ำเสียได้ขึ้นอยู่กับสิงปนเปื้อนที่อยู่ในน้ำ โดยปกติของแข็งหรือตะกอนแขวนลอยในน้ำเสียสามารถบำบัดได้ด้วยวิธีทางกายภาพ ตะกอนขนาดเล็กหรือสารละลายในน้ำต้องบำบัดออกด้วยวิธีเคมีหรือชีวภาพ ซึ่งสามารถทำให้ตะกอนขนาดเล็กตกตะกอนรวมกันเป็นตะกอนขนาดใหญ่จนสามารถบำบัดออกได้ด้วยวิธีทางกายภาพ ซึ่งกระบวนการบำบัดน้ำเสียสามารถจำแนกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ

  1. การบวนการทางกายภาพ
  2. กระบวนการทางเคมี
  3. กระบวนการทางชีวภาพ

กระบวนการส่วนใหญ่มีหน้าทีกำจัดของแข็งแขวนลอยขนาดใหญ่ที่ตกตะกอนเองได้ง่าย และกระบวนการทางเคมีก็สามรถกำจัด สารแขวนลอยขนาดเล็กหรือแข็งที่ตกตะกอนได้ช้า ซึ่งน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการทางกายภาพและทางเคมี อาจจะมีสิ่งสกปรกหลงเหลืออยู่ในรูปของสารละลายจึงต้องนำไปผ่านกระบวนการทางชีวภาพ เพื่อกำจัดความสกปรกที่เหลืออยู่ออกไป

  • แนวทางในการเลือกใช้ระบบบำบัดน้ำเสีย

ปัจจัยต่างๆในการเลือกใช้วิธีการบำบัดน้ำเสีย

  1. ลักษณะของน้ำเสีย
  2. ระดับของการบำบัด
  3. สภาพท้องถิ่น

ไม่ว่าจะเลือกใช้ระบบใดในการบำบัดจะต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของน้ำที่ได้ และต้องมีต้นทุนต่ำ ลักษณะของน้ำเสีย กับระดับของการบำบัดจะเป็นตัวกำหนดอย่างกว้างๆ ถึงระบบบำบัดน้ำเสียที่อาจจะนำมาใช้ได้ น้ำเสียที่มีสารอินทรีย์ปนเปื้อนอยู่ก็ควรจะใช้ระบบบำบัดแบบชีวภาพ ส่วนน้ำเสียที่มีโลหะหนักหรือสารเคมีก็ควรใช้ระบบเคมีในการบำบัด ในกรณีที่ใช้ระบบชีวภาพในการบำบัด ควรพิจารณาความเข้มข้นของน้ำเสียว่าสูงหรือต่ำด้วย จะได้กำหนดวิธีบำบัดได้เหมาะสม ตัวอย่าง เช่น น้ำเสียชุมชน เป็นน้ำเสียที่สามารถบำบัดได้ง่ายที่สุด เนื่องจากมีส่วนประกอบเป็นสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายทางชีวภาพได้ และมีความเข้มข้นต่ำ มีอาหารครบถ้วนตามความต้องการของจุลินทรีย์ และน้ำเสียยังมีสภาพแวดล้อมอื่นๆที่เหมาะสม เช่น ค่าพีเอชที่เป็นกลางและมีจุลินทรีย์อยู่ในน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสียในชุมชนจึงใช้ระบบบำบัดแบบชีวภาพได้ เช่น บ่อบำบัดกลางแจ้ง (Activated Sludge) เป็นต้น

  • 1.การบำบัดน้ำเสียด้วยวีทางกายภาพ
  • 2.การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางเคมี

ใช้สำหรับน้ำเสียที่มีส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้

  1. มีกรดหรือด่างสูงเกินไป
  2. มีโลหะหนักที่เป็นพิษ เช่น สังกะสี ดีบุก เหล็ก ฯลฯ
  3. มีตะกอนแขวนลอยขนาดเล็กที่ตกตะกอนได้ยาก
  4. มีสารประกอบอนินทรีย์ละลายน้ำที่เป็นพิษ เช่น ซัลเฟอร์ ฯลฯ
  5. มีไขมันหรือน้ำมันละลายในน้ำ

ประเภทของกระบวนการทางเคมี มีดังนี้
1.การปรับพีเอช
ความเป็นกรดด่างของน้ำ เป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการควบคุมการบำบัดน้ำเสียเกือบทุกชนิด น้ำเสียที่มีพีเอชสูง (ด่าง) สามารถทำให้เป็นกลางโดยการเติมกรดชนิดต่างๆลงไป เช่น กรดเกลือ กรดกำมะถัน หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็ได้ ส่วนน้ำเสียที่มีพีเอชต่ำ (กรด) เราสามารถทำให้เป็นกลางโดยการใช้ปูนขาว โซดาไฟ หรือ โซดาแอชเติมลงไป เพื่อปรับสภาพพีเอชให้เป็นกลาง
2.การกำจัดตะกอนแขวนลอยด้วยกระบวนการโคแอกกูเลชั่น
ใช้แยกตะกอนคอลลอยด์ ซึ่งไม่สามารถตกตะกอนได้เองตามธรรมชาติ เนื่องจากมีขนาดเล็กมาก ตั้งแต่ นาโนเมตร ถึง ไมโครเมตร ซึ่งสามารถทำให้ตกตะกอนได้ด้วยการเติมสารเคมีบางชนิดลงไป เช่น การแกว่งสารส้มในน้ำเสีย จะทำให้อนุภาคของคอลลอยด์จับตัวกันเป็นกลุ่ม หรือที่เราเรียกว่า (Floc) จนมีน้ำหนักมากพอที่จะตกตะกอนได้ กระบวนการประสานคอลลอยด์เข้าด้วยกันนี้เรียกว่าโคแอกกูเลชั่น Coagulation ซึ่งมีส่วนประกอบอยู่ด้วยกัน 2 ส่วน คือ ถังกวนเร็ว กับถังกวนช้า
3การกำจัดโลหะหนักด้วยวิธีตกผลึก
โลหะหนักที่พบมักอยู่ในรูปของสารละลาย เช่น Zn,Cu,Pb,Cdฯลฯ ทำให้ไม่สามารถบำบัดได้ด้วยวิธีการกรองหรือตกตะกอนเพียงอย่างเดียว ซึ่งจำเป็นต้องทำให้โลหะหนักตกผลึกเป็นของแข็งก่อน จากนั้นทำให้ผลึกรวมกันเป็นก้อนหรือฟร้อคเพื่อให้สามารถแยกออกได้ด้วยวิธีการตกตะกอนและการกรอง จะเห็นได้ว่าการกำจัดโลหะหนักต้องใช้การตกผลึก ร่วมกับการโคแอกกูเลชั่น ตามด้วยการตกตะกอนและการกรองตามลำดับ ซึ่งโลหะหนักที่กล่าวไว้ข้างต้น ละลายอยู่ในน้ำเสีย สามารถทำให้ตกผลึกได้ด้วยการเพิ่ม พีเอช เช่น การเติม ปูนขาวลงในน้ำเสียจนมีพีเอชที่เหมาะสมจะทำให้โลหะหนักตกผลึกได้ จากนั้นทำให้ผลึกรวมตัวกันกลายเป็นฟล้อค ด้วยกระบวนการโคแกกูเลชั่น และแยกฟล้อคออกด้วยถังตกตะกอน
4.การกำจัดไขมันหรือน้ำมันละลายน้ำ
ไขมันหรือน้ำมันละลายน้ำที่ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน จะต้องผ่านกระบวนการทางเคมีก่อนจากนั้นจึงจะสามารถกำจัดออกจากน้ำเสียได้ด้วยวิธีทางกายภาพ ซึ่งสารเคมีที่ใช้อาจจะเป็นสารอนินทรีย์ เช่น กรดกำมะถันเป็นสารเคมีที่นิยมใช้กันมาก และ สารส้ม หรือสารอินทรย์สังเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า
5.การกำจัดสีออกจากน้ำเสียด้วยวิธีเคมี
กระบวนการกำจัดสีออกจากน้ำเสียก็เป็นเช่นเดียวกับการตกตะกอนสารแขวนลอยด้วยกระบวนการโคแอกกูเลชั่นและสามารถใช้สารเคมีตัวเดียวกันได้ สารส้มสามารถทำให้สีตกผลึกและกลายเป็นฟล้อคได้ได้ในเวลาเดียวกัน ถังตกตะกอนและถังกรองใช้กำจัดฟล้อคออกจากน้ำเหมือนกับกรณีอื่น
6.ออกซิเดชั่น-รีดัคชั่น
กรณีกำจัดมลพิษที่ละลายอยุ่ในน้ำ แต่ไม่สามารถที่จะตกผลึกได้ ก็อาจจะใช้กระบวนการออกซิเดชั่น-รีดัคชั่น เปลี่ยนมลพิษให้เป็นสารที่ไม่มีพิษ เช่นการเติม Oxidant หรื Reductant อย่างใดอย่างหนึ่ง ไปทำปฏิกิริยากับมลพิษ เช่น Cr+6,CN- สารเคมีที่มักจะนำมาใช้
Oxidant ได้แก่ ออกซิเจน คลอรีนในรุปต่างๆ ด่างทับทิม H2O2
Reductant ได้แก่ SO2 เกลือซัลไฟต์ เหล็กซัลเฟต

  • อุปกรณ์สำหรับวิธีการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีเคมี ได้แก่

1. ถังกวนเร็วหรือถังผสม
(เป็นที่เติมสารเคมี ที่เป็นทางเข้าของน้ำเสียสารเคมีและน้ำจะผสมกันอย่างรวดเร็วในทันที) ทำด้วยเหล็กกล้าไม่ขึ้นสนิมหรือวัสดุอื่นที่ทนต่อสารเคมี มีค่าความปั่นป่วนสูงที่ ประมาณ 300-1,000 วท-1
2. ถังกวนช้า
เป็นที่สำหรับสร้างฟร้อคที่เกิดจากการรวมตัวของคอลลอยด์เพื่อส่งไปตกตะกอนในถังตกตะกอนซึงอยู่ด้านข้างถังกวนช้า ถ้าต้องการสร้างตะกอนเม็ดใหญ่จำเป็นต้องใช้ถังกวนช้า มักกักน้ำไว้ประมาณ 30-60 นาที จึงมีขนาดใหญ่กว่าถังกวนเร็ว มีค่าความปั่นป่วนต่ำที่ ประมาณ 20-80 วท-1
3. ถังตกตะกอน
ควรมีเวลากักน้ำได้ประมาณ 2-4 ชั่วโมง ลึกไม่น้อยกว่า 3 เมตร โดยเฉลี่ย ผิวน้ำควรมีอัตราน้ำล้นไม่สูงเกินกว่า 1-2เมตร/ชั่วโมง ถังตกตะกอน มี 2 ชนิด คือ แบบกลม กับแบบผืนผ้า
อนุภาคคอลลอยด์ที่ไม่ถูกบำบัดโดยถังตกตะกอนจะถูกส่งไปยังถังกรองเพื่อบำบัด น้ำที่ออกจากถังกรองจะมีความใสสูง 4. ถังกรอง
ในกรณีที่ต้องการน้ำทิ้งคุณภาพสูง มักบำบัดน้ำทิ้งของถังตกตะกอนด้วยถังกรองเร็ว ที่มีชั้นกรองเป็นทรายหรือแบบ 2 ชั้นกรองที่มีทรายและหินแอนทราไซต์ ถังกรองที่ใช้เป็นแบบเดียวกับที่ใช้ผลิตน้ำประปา อัตราการกรองของถังทรายและถังแบบที่ 2 ชั้นกรอง มีค่าสูงเท่ากับ 5 และ 10 เมตร/ชั่วโมง ตามลำดับ
ในการควบคุมกระบวนการบำบัดน้ำเสียทางเคมี มักต้องอำยการวัดค่าพีเอช และ วัด ORP (Oxidation –Reduction Potential) หน่วยที่ใช้วัด ORP คือมิลลิโวล ซึ่งโดยปกติเครื่องวัดพีเอชสามารถใช้วัดค่า ORP ได้ด้วยแต่ต้องเปลี่ยนอิเล็คโทรดให้ถูกชนิด

กระบวนการต่างๆ สิ่งที่กำจัด/วัตถุประสงค์ สารเคมีที่ใช้ ถังกวนเร็ว ถังกวนช้า ถังตกตะกอน อื่นๆ
1.โคแอกกกูลชัน กำจัดคอลลอยด์ สารส้ม,ปูนขาว FeCl3,PACl มี มี มี pH meter
2.การตกผลึก สี,เหล็ก,แมงกานีส,Ca+2,Mg+2,F-,Cr+6 O2,Cl2,KMnO4,

ปูนขาว

มี ใช้ในบางกรณี มี pH meter

ORP meter

3.การปรับพีเอช เพิ่มหรือลดพีเอช H2SO4,HCl,CO2,Ca(OH)2,NaOH มี - - pH meter
4.คลอรีเนชัน ฆ่าเชื้อโรค,แอมโมเนีย, เหล็ก,แมงกานีส คลอรีนรูปต่างๆ มี - อาจจะใช้ pH meter
5.การแลกเปลี่ยนอิออน Ca+2,Mg+2,F-,Cr3+,Zn2+ เป็นต้น Exchange Resin,H2SO4,HCl,NaOH - - - pH meter
6.ออกซิเดชัน-รีดัคชัน Cr6+,CN-,ฟีนอล,สารอินทรีย บางชนิด SO4,NaHSO3,FeSO4,Cl2 - - - ORP meter,pH meter
  • 3.การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางชีวภาพ

การบำบัดโดยวิธีทางชีวภาพหรือใช้จุลินทรีย์ เป็นวิธีกำจัดสารอินทรีย์ที่สกปรกในน้ำ ซึ่งความสกปรกจะถูกใช้เป็นอาหารของจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยงในถังเลี้ยงเชื้อ ทำให้น้ำเสียมีความสกปรกลดลง จุลินทรีย์ที่ใช้อาจเป็นแบบใช้ออกซิเจน หรือไม่ใช้ออกซิเจนก็ได้ ชนิดของระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยหลักทางชีวภาพ เช่น
1.ระบบแอ็คติเว้ตเต็ดสลัดจ์ Activated Sludge
ประเทศไทยใช้ระบบนี้กันมากประมาณ 80% ระบบแอ็คติเว้ตเต็ดสลัดจ์ มีส่วนประกอบหลัก 2 หลักที่เห็นได้ง่าย คือ ถังเติมอากาศอาจทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กสี่เหลี่ยม สูงประมาณ 3-4 เมตร ที่ใช้เลี้ยงจุลินทรีย์ และถังตกตะกอนซึ่งใช้แยกจุลินทรีย์ก่อนปล่อยน้ำทิ้ง ระบบแอ็คติเว้ตเต็ดสลัดจ์ อีกแบบนึงคือ ระบบคูวนเวียน แตกต่างจากแบบแรก คือลักษณะของถังเติมอากาศจะเป็นรูปคลองวนเวียนหรือวงรี ที่ระดับน้ำสูงเพียง 1.2-1.5 เมตร มีเวลาการกักน้ำ ประมาณ 3-5 วัน และระบบบ่อเติมอากาศจะไม่มีสลัดจ์หมุนเวียนมายังบ่อเลี้ยงเชื้อ น้ำที่ออกจากบ่ออากาศจะมีตะกอนแขวนลอยอยู่สูง ถังเติมอากาศจะมีการเติมอากาศให้กับน้ำด้วยอุปกรณ์กวนน้ำแบบใดแบบหนึ่ง
2.ระบบถังกรองไร้ออกซิเจน Anaerobic Filter
ระบบถังกรองไร้ออกซิเจน กรณีที่น้ำเสียมีมีสารอินทรีย์เข้มข้น (บีโอดีสูง) นิยมใช้บ่อหมักหรือถังกรองไร้ออกซิเจนออกซิเจนเพื่อลดบีโอดีก่อน ระบบถังไร้ออกซิเจนจะเป็นถังคอนกรีตเสริมเหล็กสูงประมาณ 3-4 เมตร บรรจุหินขนาด 2-4 นิ้วไว้จนเกือบเต็ม และเลี้ยงเชื้อแบคที่เรียแบบไม่ใช้ออกซิเจนให้เกาะอยู่บนก้อนหิน ซึ่งแบคที่เรียชนิดนี้สามารถกำจัดบีโอดีได้โดยไม่ต้องเติมออกซิเจน ในปัจจุบันใช้ตัวกลางพลาสติกรูปร่างต่างๆ แทนก้อนหิน มีราคาแพง แต่มีน้ำหนักเบา ช่วยประหยัดค่าคอนกรีตเสริมเห็กได้มาก
3.ระบบจานหมุนชีวภาพ Bio Disc or RBC
เป็นระบบฟิล์มชีวภาพ ที่เรียกว่า Fixed Film กล่าวคือ เลี้ยงแบคทีเรียให้เกาะติดอยู่บนแผ่นจานที่หมุนช้าๆ แผ่นจานจำนวนมากจุ่มอยู่ในน้ำประมาณ 40% ของพื้นที่จาน เมื่อจานเหมุนเคลื่อนที่ไปมาในน้ำและอากาศตลอดเวลา เมื่อแผ่นจานอยู่ในน้ำจุลินทรีย์ก็สามารถทำลายบีโอดี เมื่อจานโผล่ขึ้นมาจุลินทรีย์ก็จะได้รับออกซิเจน หมุนเวียนเป็นวัฎจักร แบบนี้บีโอดีในน้ำเสียจึงลดลง
4. ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย
ได้รับความนิยมรองลงมาจากระบบแอ็คติเว้นเต็ตสลัดจ์ ระบบบ่อต้องใช้พื้นที่มากจึงนิยมใช้ในต่างจังหวัด บ่อบำบัดมักเป็นบ่อดินขนาดใหญ่ที่สามารถขังน้ำไว้ได้หลายๆวัน การบำบัดเช่นนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยอาศัยแบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวเป็นส่วนสำคัญ
5. ระบบบึงประดิษฐ์ Constructed Wetland
มีความคล้ายคลึงกับบ่อบำบัดน้ำเสียกลางแจ้ง แต่มีการใช้พืชน้ำต่างๆ เช่น ธูปฤษี,ผักตบชวา,จอก ฯลฯ ร่วมในการบำบัดน้ำเสีย ระบบนี้จะเหมาะกับการบำบัดน้ำทิ้งหรืออน้ำเสียที่มีบีโอดีต่ำๆ มีไนโตรเจนหรือฟอสฟอรัสที่ต้องการกำจัด พืชน้ำจะกำจัดได้ดีกว่าระบบบ่อกลางแจ้ง แต่ผู้ใช้ระบบนี้ก้ควรศึกษาวิธีการกำจัดพืชน้ำไว้ด้วย มิฉะนั้นพืชน้ำก็อาจจะโตเต็มบึงประดิษฐ์

  • ระบบจัดการสลัดจ์หรือตะกอนจุลินทรีย์

ระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยหลักทางชีวภาพ จะมีสลัดจ์ หรือ ตะกอนจุลินทรีย์เป็นปัญหาที่ต้องกำจัดภายหลังเสมอ ดังนั้น ระบบชีวภาพที่ใช้บำบัดน้ำเสียก็จะต้องมีระบบบำบัดสลัดจ์หรือตะกอนจุลินทรีย์ ซึงเป็นผลจากการเติบโตของเซลล์ในระหว่างการบำบัดน้ำเสีย โดยนิยมใช้ถังย่อยสลัดจ์ ซึ่งอาจเป็น Anaerobic Digestion และ Aaerobic Digestion ไม่ว่าจะใช้ถังแบบใดก็มีหน้าที่ลดปริมาณสารอินทรีย์ในสลัดจ์ เพื่อที่จะได้นำไปทิ้งได้โดยไม่มีกลิ่นเน่าเหม็น จึงควรบีบน้ำออกก่อนด้วยวิธีต่างๆ เช่น ตากบนลานทราย กรอง หรือสลัดน้ำออกด้วยเครื่อง เป็นต้น

  • สรุปประเภทระบบแอ็คติเว้ตเต็ดสลัดจ์ (AS)

1. ระบบเอสเอแบบธรรมดา Conventional Activated Sludge(CAS) 2. ระบบเอเอสแบบย่อยตัวเอง Extended Aeration Activated Sludge (EAAS) 3. ระบบบ่อหรือเติมอากาศ Contact Stabilization Activated Sludge (GSAS) 4. ระบบเอเอสแบบกึ่งเท Sequencial Batch Reactor (SBR) 5.Step Aeration Activated Sludge (SAAS) 6.Tapered Aeration Activated Sludge (TAAS) 7.Pure Oxygen Activated Sludge (POAS) 8. Completely Mixed Activated Sludge (CMAS)[2]

ผลกระทบของมลพิษทางน้ำ[แก้]

1.ผลกระทบทางด้านสาธารณสุข (Effects on Health)
เกิดจากเชื้อโรคบางชนิดที่สามารถระบาดหรือติดต่อได้ทางน้ำ หรือแหล่งน้ำอาจเป็นที่เพาะพันธุ์ของแมลงที่เป็นพาหะนำโรคต่างๆในน้ำเน่าเสีย
โรคที่ติดต่อทางน้ำที่เกิดจากแบคทีเรียเช่น โรคอหิวาตกโรค ไข้รากสาด บิด กระเพาะอักเสบ
โรคติดต่อทางน้ำที่เกิดจากโปรโตซัว เช่น โรคบิดเกิดจากตัวอะมีบา
โรคติดต่อทางน้ำที่เกิดจากไวรัส เช่น ไขสันหลังสักเสบ ตับอักเสบ อุจจาระร่วง
โรคที่เกิดจากพยาธิต่างๆ เช่น พยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน พยาธิ ใบไม้ตับ
นอกจากสารพิษพวกเชื้อโรคในน้ำเสียแล้ว สารมลพิษอย่างอื่นในน้ำเสียอาจเกิดผลกระทบต่างๆได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลหะหนัก เช่น ปรอท ตะกั่ว แคดเมียมและนิเกิลซึ่งมีความเป็นพิษสูง ทำให้ระบบประสาทาและกล้ามเนื้อไม่สามารถควบคุมได้ ในที่สุดจะเป็นอัมพาตและอาจรุนแรงถึงตายหรือสำหรับคนที่กำลังคลอดบุตรจะมีอาการผิดปกติ สังเกตได้ว่าคนที่ได้รับสารพิษในปริมาณมากเกิดจากการรบประทานอาหารทะเลที่มีสารปรอทปนเปื้อน เกิดจากโรงงานปล่อยสารปรอทลงในทะเล แล้วตะกอนเหล่านั้นก็จมลงสู่ก้นทะเล นอกจากนี้แบคทีเรียที่อยู่ในตะกอนนี้ก็สามารถจะเปลี่ยนเป็นปรอทเมทัลลิก จะดูดซึมผ่านเนื้อเยื่อของสัตว์น้ำ เมื่อปรอทเกิดการสะสมในปริมาณมากและมีความเข้มข้นที่สูงจะทำให้เกิดความผิดปกติในการวางไข่ของสัตว์น้ำพวกกุ้ง หอย ปลา และมีการเจริญผิดปกติเมื่อคนได้นำเอาสัตว์เหล่านี้มาบริโภคก็จะทำให้เกิดการสะสมของปรอทในตับ ไต สมอง ทางเดินอาหารและเป็นพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง

  • ผลกระทบต่อการใช้น้ำ (Effects on water consumption)

การที่เราปล่อยน้ำเสียลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติจนเกิดน้ำเน่าเสียจะทำให้เป็นปัญหาต่อการใช้น้ำ ในการอุปโภคและบริโภค เช่น การใช้น้ำประปาในครัวเรือน ผลกระทบต่อการประมงและสิ่งมีชีวิตต่างๆที่อยู่ในน้ำ(Effects on Fisheries Aquatic Oraganisms)
คุณภาพน้ำที่เหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำและสมบัติต่างๆของน้ำล้วนมีความสำคัญในการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ เช่นปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ PH คาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย ไนไตรต์ อุณหภูมิ ของแข็งแขวงลอย
การที่เราจะดูปริมาณของสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำเสีย สามารถดูได้จากค่า BOD การที่มี DOลดลงถึงประมาณ3ม.ก/ล.ทำให้การฟักออกเป็นตัวจากไข่เกิดได้ช้า ตัวอ่อนจะมีความแข็งแรงไม่เต็มที อาจให้เกิดความผิดปกติหรือบางครั้งอาจจะพิการได้
แอมโมเนียและไนไตร์ตปริมาณต่ำๆในน้ำจะทำให้ปลาอ่อนแอ ไม่เจริญเติบโตและติดโรคได้ง่าย ส่วนที่มีความข้มข้นสูงๆ จะทำให้ระบบการหายใจของปลาผิดปกติ สลบและอาจตายในที่สุด

  • ผลกระทบทางด้านเกษตรกรรม(Effects on Agricultue)

การที่เราทำการเกษตรนั้นถ้าเราใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่มีการปล่อยของเสีย อาจก่อให้เกิดความเสียหายทางการเกษตรได้ เช่นค่าPHของน้ำหรือเกลือแร่ต่างต่างๆในน้ำมันอาจมีการเปลี่ยนแปลงไม่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร

  • ผลกระทบต่อปัจจัยต่างๆทางสิ่งแวดล้อม (Effects on Environmental Factors)

ของเสียที่ถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำอาจส่งผลกระทบต่อปัจจัยต่างๆในทางสิ่งแวดล้อม เช่น อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ สี กลิ่น pH รวมถึงสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศและอาจให้ธรรมชาติเสียสมดุลได้

  • ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ(Effects on Economics)

ของเสียที่ปล่อยลงในแหล่งน้ำอาจส่งผลเสียและผลกระทบต่อเศรษฐกิจในด้านต่างๆ เช่น ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการออกแบบระบบบำบัด ค่าใช้จ่ายในการป้องกัน ควบคุม ปรับปรุงแก้ไขปัญหาทางน้ำและค่าความเสียหายในการเสียทรัพยากรน้ำ[3]

แนวป้องกันและควบคุมมลพิษทางน้ำ[แก้]

การป้องกันและการควบมลพิษทางน้ำนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายผ่าย การเกิดมลพิษทางน้ำที่สำคัญมักเกิดจากมนุษย์เป็นผู้กระทำด้วยการปล่อยของเสียหรือน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำ จึงจำเป็นต้องมีการเผ้าติดตามตรวจสอบ (monitoring) คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำจืดต่างๆ ให้มีการกำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำ และคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ ให้มีการบำบัดเสียก่อนทิ้งลงสู่แหล่งธรรมชาติ

  • การเฝ้าติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ

การเฝ้าติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งธรรมชาติทำให้ทราบถึงสถานการณ์ว่าคุณภาพน้ำเป็นอย่างไร และเพื่อหาทางในการป้องกัน ควบคุมและแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำและยังสามารถที่จะนำข้อมูลที่ได้เพื่อใช้ในการกำหนดมาตรฐานคุณภาพของแหล่งน้ำตามประโยชน์ในการใช้สอยต่างๆ ในการเฝ้าติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำควรทำเป็นประจำและพารามิเตอร์ที่ใช้ในการเฝ้าตรวจสอบติดตามคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำนั้นต้องคำนึงถึงเพื่อควบคุมและรักษาคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำนั้นไม่ให้เกิดภาวะมลพิษด้วย ต้องเน้นถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพอนามัยมนุษย์ที่จะต้องใช้น้ำนั้นในวัตถุประสงค์ต่างๆ โดยเฉพาะการดื่ม และที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในแหล่งน้ำไว้ให้เกิดความยั่งยืน

  • มาตรฐานคุณภาพน้ำ

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำนั้นต้องคำนึงถึงทั้งมาตรฐานของแหล่งน้ำดิบ มาตรฐานน้ำทิ้ง และมาตรฐานน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งมาตรฐานทั้ง 3 ประการนี้มีความเกี่ยวพันกันถ้าหากน้ำในแหล่งน้ำมีคุณภาพสะอาดปลอดภัยแต่ถ้าปล่อยให้มีการทิ้งน้ำเสียต่างๆ ลงในแหล่งน้ำโดยไม่มีการควบคุมก็จะทำให้แหล่งน้ำสกปรกได้ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาต่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำให้สะอาดตามมาตรฐานของน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคได้
มาตรฐานแหล่งน้ำ ( Stream Standard )
มาตรฐานแหล่งน้ำหรือเกณฑ์ที่ใช้ในการรักษาคุณภาพของแหล่งน้ำโดยทั่วไปแล้ว คำนึงถึงการไม่ทำให้แหล่งน้ำนั้นเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญเป็นที่น่ารังเกียจ เช่น ไม่ให้มีกลิ่นเหม็น ไม่ให้มีสิ่งปรกต่างๆ ลอยอยู่ผิวน้ำ ไม่ให้มีย้ำมันหรือไขมันลอย ไม่มีการสะสมตะกอน ฯลฯ และเพื่ออนุรักษ์แหล่งน้ำไว้เพื่อประโยชน์ต่างๆ ได้แก่เพื่อการบริโภคอุปโภค เพื่อการประมง เพื่อการอุตสาหกรรม
มาตรฐานน้ำทิ้ง ( Effluent Standard )
มาตรฐานน้ำทิ้ง เป็นเกณฑ์กำหนดเพื่อมิให้แหล่งน้ำเสียหรือน้ำทิ้งต่างๆ เช่น บ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ปล่อยน้ำเสียหรือน้ำทิ้งที่มีความสกปรกมากจนทำให้แหล่งรับน้ำเกิดปัญหาในด้านคุณภาพ มาตรฐานน้ำทิ้งมีความสำคัญต่อการจัดการน้ำสะอาดมากเพราะถือเป็นมาตรฐานที่ผู้บริหารจัดการในเรื่องการควบคุมคุณภาพน้ำ นำไปใช้ในการควบคุมให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่าการควบคุม
มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่างๆต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น พื้นดิน พื้นน้ำ ฯลฯ ซึ่งมีการปล่อยน้ำทิ้งลงไป รวมถึงการนำน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้วนี้กลับไปใช้อีกครั้ง (reuse)
พารามิเตอร์ที่ใช้ในการกำหนดคุณภาพน้ำทิ้งที่สำคัญได้แก่
ออกซิเจนละลาย (dissolved oxygen)
ชองแข็งแขวนลอย (suspended solids)
โคลิฟอร์มบัคเตรี (coliform bacterias)
ฟิคัลโคลิฟอร์ม (fecal coliform bacteria)
สารเคมีเป็นพิษต่างๆ (toxic chemical)
สารอาหาร (nutrient)
สารอินทรีย์ต่างๆ

  • การบำบัดน้ำเสีย

การบำบัดน้ำเสีย หมายถึง การดำเนินการเปลี่ยนสภาพของเสียในน้ำเสียให้อยู่ในสภาพที่มีความเหมาะสมพอที่จะไม่ทำให้เกิดปัญหาต่อแหล่งรับน้ำเสียนั้นๆ เช่น การเปลี่ยนสารอินทรีย์ที่อยู่ในรูปของสารละลายและคอลลอยด์เป็นแก๊สและน้ำโดยส่วนที่เป็นแก๊สจะลอยสู่บรรยากาศทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ การบำบัดน้ำเสียก่อนที่จะปล่อยทิ้งลงสู่แหล่งนำคูคลองจึงมีความจำเป็นที่จะต้องกระทำให้เกิดประสิทธิภาพดีพอที่จะไม่ทำให้แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคต้องเกิดปัญหาภาวะมลพิษจนอาจทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำสะอาด จึงได้มีการจำแนกประเภทของวิธีการบำบัดน้ำเสียออกเป็น 3 ประเภท คือ การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางกายภาพหรือฟิสิกส์ การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางเคมี และการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางชีวภาพ[4]

  1. http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ecology/chapter3/chapter3_water11.htm
  2. หนังสือ เทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม เล่ม 1 ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์ จัดพิมพ์โดย บริษัท แซน.อี.68 คอนชัลติ้ง เอ็นจิเนียส์ จำกัด พิมพ์ครั้งที่1 พ.ศ 2542 โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  3. พัฒนา มูลพฤกษ์ . (2545). การป้องกันและควบคุมมลพิษ/พัฒนา มูลพฤกษ์. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ที่ บริษัท ซิกม่า ดีไซด์กราฟฟิก จำกัด
  4. พัฒนา มูลพฤกษ์ . (2545). การป้องกันและควบคุมมลพิษ/พัฒนา มูลพฤกษ์. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ที่ บริษัท ซิกม่า ดีไซด์กราฟฟิก จำกัด