ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Charninkarn Kampanart Jarernsuk/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ

      ความหลากหลายทางชีวภาพทางธรรมชาติเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ระบบในธรรมชาติสามารถดำรงอยู่ได้ภายใต้สภาพการณ์ของสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  ดังนั้นความหลากหลายทางชีวภาพจึงมีความสำคัญยิ่งต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม แต่ในปัจจุบันมนุษย์เป็นผู้ที่พยายามทำลายความหลากหลายดังกล่าวให้ลดลงและได้พยายามสร้างสิ่งที่ทดแทนด้วยความหลากหลายที่อยู่ในระดับต่ำกว่า   เช่น การตัดถางป่าเต็งรังแล้วปลูกสวนป่าทดแทน ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ โดยมีความคิดว่าป่าเต็งรังมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจต่ำจึงปลูกสักหรือปลูกยูคาลิปตัสแทนที่  สวนป่าดังกล่าวเป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพต่ำเนื่องจากมีสิ่งมีชีวิตน้อยชนิดจึงทำให้ระบบนิเวศใหม่ ไม่ทนทานต่อการผันแปรของสิ่งแวดล้อม  เช่น เกิดการระบาดของเชื้อรา เป็นต้น  และสุดท้ายมนุษย์จะต้องเป็นผู้ที่เข้าไปดูแลรักษา ( treatment ) เพื่อให้ระบบอยู่ได้ เช่น  การกำจัดแมลง เชื้อรา อันเป็นฐานของปัญหาการนำสารเคมีเข้าสู่ระบบนิเวศ ทำให้เป็นการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของโลกอย่างรุนแรงในวงกว้างมากขึ้น  นอกจากนี้ความหลากหลายทางชีวภาพยังถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่รวดเร็ว เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม ไฟป่า ฯลฯ  ซึ่งมีผลให้สิ่งมีชีวิตตามพื้นที่ของระบบนิเวศธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปด้วย  สิ่งมีชีวิตใดไม่สามารถปรับตัวได้ทันท่วงทีก็อาจสูญพันธุ์ ซึ่งเป็นการสูญเสียที่ไม่อาจกลับคืนมาได้  และถ้าสิ่งมีชีวิตใดปรับตัวได้ก็อาจต้องมีการปรับพฤติกรรม เพื่อที่จะสร้างและพัฒนาให้ระบบนิเวศที่อาศัยให้มีความสมบูรณ์และพรั่งพร้อม ตลอดจนสร้างเสริมความมั่นคงให้มากขึ้น

ความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ

  ความหลากหลายทางชีวภาพ มาจากภาษาอังกฤษคือคำว่า Biodiversity โดยรากศัพท์แล้วหมายความถึงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ยังพบกลุ่มคำในความหมายดังกล่าว  เช่น Biological diversity หรือ Diversity เป็นต้น

 “ความหลากหลายทางชีวภาพ” หมายถึง สิ่งมีชีวิต และพันธุกรรมทั้งหมดที่ปรากฏอยู่ในโลกนี้ มีความหมายกว้างครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นภายในของสิ่งมีชีวิต ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดที่อยู่รวมกันสามารถบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ ได้จากจำนวน และชนิดของสิ่งมีชีวิต  ที่พบในพื้นที่อันจำกัดบริเวณหนึ่ง

ความหลากหลายทางชีวภาพ  หมายถึง การมีชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมาอยู่ร่วมกัน ณ สถานที่หนึ่งหรือระบบนิเวศใดระบบนิเวศหนึ่ง    ทั้งนี้เราสามารถจัดแบ่งความหลากหลายทางชีวภาพได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

1.             ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ ( species diversity )ของสิ่งมีชีวิต

2.             ความหลากหลายของพันธุกรรม ( genetic diversity )

3.             ความหลากหลายของระบบนิเวศ ( ecolosystem diversity )

                     สิ่งมีชีวิตบนโลกมีอยู่มากมาย มีลักษณะที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้คาดว่าชนิดของสิ่งมีชีวิตมีมากถึง 5-30 ล้านชนิด ทั้งพืชและสัตว์และจุลชีพแตกต่างกันออกไปทั้งรูปร่างลักษณะ การดำรงชีพกระจัดกระจาย กันออกไปในแต่ละเขตภูมิศาสตร์ของโลก อาจแบ่งได้เป็นเชื้อไวรัส 1,000 ชนิด แบคทีเรีย 4,760 ชนิด เชื้อรา 47,000 ชนิด  สาหร่าย 26,900 ชนิด  สัตว์เซลล์เดียว 30,800 ชนิด  สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 99,000 ชนิด  สัตว์มีกระดูกสันหลัง 44,000 ชนิด  ทั้งนี้ระดับจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสภาพของสิ่งแวดล้อม

ความหลากหลายในเรื่องชนิดหรือสปีชีส์ ของสิ่งมีชีวิต มีความหมายเป็น 2 ลักษณะ คือมีความมากชนิด (species richness) ซึ่งหมายถึงจำนวนชนิดของสิ่ง มีชีวิตต่อหน่วยเนื้อที่ และมีความสม่ำเสมอของชนิด (species eveness) หมายถึงสัดส่วนของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหนึ่ง ๆดังนั้นความหลากหลายทางชนิดพันธุ์จึงสามารถวัดได้จากจำนวนของสิ่งมีชีวิตและจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด  รวมถึงโครงสร้างของอายุและเพศของประชากรด้วย  ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตนั้นจะแตกต่างกันไปตามพื้นที่  กล่าวคือจำนวนของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่หรือชุมชนหนึ่ง (community) จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงจะขึ้นอยู่กับการแข่งขัน สิ่งมีชีวิตที่มีหน้าที่เดียวกันในชุมชนหนึ่ง ๆ จะมีการแข่งขันการทำหน้าที่อันทำให้เกิดการแยกหรือการอพยพออกจากชุมชนในที่สุด เช่น ในชุมชนมีสัตว์หลายชนิด  สัตว์บางชนิดสามารถกินพืชเป็นอาหารได้  เป็นต้น หรือ ในป่าเต็งรังของไทย มีต้นไม้ 31 ชนิด  ป่าดิบแล้ง 54 ชนิด และในป่าดิบชื้นมีอยู่นับร้อยชนิด 

ความหลากหลายของชนิดจะแตกต่างกันไปตามพื้นที่ ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานทางด้านชีวภูมิศาสตร์ (biogeography) พื้นที่ที่อยู่ในเขตร้อน (tropics) และในทะเลลึกจะมีความหลากหลายของชนิดสูง และความหลากหลายของชนิดจะลดลงในพื้นที่ที่มีความผันแปรของอากาศสูง เช่น ในทะเลทรายหรือขั้วโลก หรืออาจกล่าวได้ว่าในบริเวณเขตร้อนในแถบละติจูดต่ำ (low lattitude) ใกล้เส้นศูนย์สูตรจะมีความหลากหลายของชนิดสูง และจะลดลงเมื่ออยู่ในแถบละติจูดสูง (high lattitude) 

จำนวนประเภทชนิด และจำนวนปริมาณหน่วยสิ่งมีชีวิตที่เป็นสมาชิก ของแต่ละชนิดที่มีอยู่ใน พื้นที่ของประชากรนั้น ๆ หรือหมายถึงความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิต (species) ที่มีอยู่ในพื้นที่หนึ่งนั่นเอง   ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้กำหนด สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่วิวัฒนาการอยู่บนโลกนี้ในปัจจุบันมีจำนวนชนิดอยู่ระหว่าง 2-30 ล้านชนิด โดยที่มีบันทึกอย่างเป็นทางการแล้วประมาณ 1.4 ล้านชนิด แบ่งออกเป็น 5 อาณาจักร ดังนี้คือ

1.อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)

อาร์เคียแบคทีเรีย (SUBKINGDOM ARCHAEBACTERIA) - ยูริอาร์เคียโอตา (EURYARCHAEOTA) เค็มจัด สร้างแก๊สมีเทน - ครีนาร์เคียโอตา (CRENARCHAEOTA) กรดจัด ทนอุณหภูมิสูงได้ - คอร์อาร์เคียโอตา (KORARCHAEOTA) พบตามน้ำพุร้อน -ยูแบคทีเรีย (SUBKINGDOM EUBACTERAIA)

-โพรทีโอแบคทีเรีย     (PROTEOBACTERIA) แบคทีเรียแกรมลบ ก่อให้เกิดโรค ตรึงไนโตรเจนได้

-คลาไมเดีย (CHLAMYDIAS) แบคทีเรียแกรมลบ ปรสิตในสัตว์ เกิดโรคหนองใน เยื่อตาอักเสบ

-สไปโรคีส     (SPIROCHETES) แบคทีเรียแกรมลบ เกิดโรคซิฟิลิส ฉี่หนู
-ไมโคพลาสมา     (MYCOPLASMA) แบคทีเรียแกรมบวก เกิดโรคปอดบวมในคนและวัว
-ไซยาโนแบคทีเรีย     (CYANOBACTERIA) สังเคราะห์ด้วยแสงได้
-แบคทีเรียแกรมบวก     (GRAM POSITIVEBACTERIA) กรดแลกติก ใช้ในอุตสาหกรรม

2.อาณาจักรโปรติสตา (PROTISTA KINGDOM)

 - ดิโพลโมนาดิดา     (DIPLOMONADIDA) ดำรงชีพแบบปรสิต ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ     โรคช่องคลอดอักเสบ
 -พาราบาซาลา (PARABASALA) ดำรงชีพแบบพึ่งพาอาศัย ช่วยย่อยเซลลูโลสในลำไส้ปลวก
 - ยูกลิโนซัว     (EUGLENOZOA) ดำรงชีพแบบอิสระ พบในแหล่งน้ำจืด (ยูกลีนา (Euglena))
 -แอลวีโอลาตา     (ALVEOLATA) มีลุงลมไม่รู้หน้าที่
- ไดโนแฟลเจลเลต     (DINOFLAGELLATR) สาหร่ายเซลล์เดียว ทำให้น้ำเสีย
-เอพิคอมเพลซา     (APICOMPLEXA) ดำรงชีพแบบปรสิต สาเหตุโรคมาลาเรีย
-ซิลิเอต     (CILIATES) ดำรงชีพแบบอิสระ พบตามแหล่งน้ำที่ชื้นสูง     (พารามีเซียม)

- สตรามีโนพิลา (STRAMENOPILA) สังเคราะห์ด้วยแสงได้

-สาหร่ายสีน้ำตาล     (BROWN ALGAE) สามารถสกัดสารแอลจินได้
-ไดอะตอม     (DIATOM) สาหร่ายสีน้ำตาลแกมเหลือง ผลิดดินไดอะตอมได้
-โรโดไฟตา     (RHODOPHYTA) สังเคราะห์ด้วยแสงได้ สาหร่ายสีแดง

-คลอโรไฟตา (CHLOROPHYTA) สาหร่ายสีเขียว

-ไมซีโทซัว     (MYCETOZOA) ราเมือก
-ไรโซโพดา     (RHIZOPODA) อะมีบา

3.อาณาจักรพืช (PLANT KINGDOM)'

   - พืชไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง (NONVASCULAR PLANT)
       เฮปาโทไฟตา     (PHYLUM HEPATOPHYTA) พบได้ที่ชื้นแฉะ สร้างสปอร์รูปร่างคล้ายร่ม     (ลิเวอร์เวิร์ต)
       แอนโทซีโรไฟตา     (PHYLUM ANTHOCEROPSIDA) สันเคราะห์ด้วยแสง (ฮอร์นเวิร์ต)
       ไบรโอไฟตา     (PHYLUM BRYOPHYTA) ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง (มอสส์)
   -พืชมีเนื้อเยื่อลำเลียง (VASCULAR PLANT)
    ไม่มีเมล็ด (SEED VASCULAR PLANT)
     ไลโคโฟตา     (PHYLUM LYCOPHYTA) มีราก ลำต้น ใบแท้จริง แต่ใบมีขนาดเล็ก     มีตีนตุ๊กแก (ช่อนางคลี)
      เทอโรไฟตา     (PHYLUM PTEROPHYTA) มีราก ลำต้น ใบแท้จริง (เฟิน หวายทะนอย     หญ้าถอดปล้อง)
     -มีเมล็ด (SEED PLANT)
-พืชเมล็ดเปลือย     (GYMNOSPERM) ไม้เลื้อย ไม้พุ่ม ไม้ยืนต้น มีออวุลไม่มีรังไข่
-ไซแคโดไฟตา     (PHYLUM CYCADOPHYTA) ลำต้นอยู่ใต้ดิน เป็นรากแก้ว ต้นเตี้ย (ปรง)

- กิงโกไฟตา (PHYLUM GINKGOPHYTA) ไม้ยืนต้น (แป๊ะก๊วย) - โคนิเฟอโรไฟตา (PHYLUM CONIFEROPHYTA) ไม้ยืนต้น (ต้งสน)

-นีโทไฟตา     (PHYLUM GNETOPHYTA) พบในเขตแห้งแล้ง (ผักเหลียง)
-พืชมีดอก     (ANGIOSPERM) มีดอกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์     มีออวุลไม่มีรังไข่ มีราก ลำต้น ใบแท้จริง

4.อาณาจักรฟังใจ (KINGDOM FUNGI)

สังเคราะห์ด้วยแสงไม่ได้ เซลล์ต่อกันเป็นเส้นใยขนาดเล็กเรียกว่า ไฮฟา(HYPHA) ซึ่งเจริญมาจากสปอร์ กลุ่มของไฮฟา เรียกว่าไมซีเลียม(MYCELIUM) โดยมีไรซอยด์ช่วยยึด ไฮฟาติดกับแหล่งที่อยู่

ไคทริดิโอไมโคตา     (PHYLUM CHYTRIDIOMYCOTA) รามีการสร้างสปอร์ที่มีแฟลเจลลา อยู่ในน้ำ (Batrachochytrium     sp)
ไซโกไมโคตา     (PHYLUM ZYGOMYCOTA) อยู่บนดิน เกิดโรคราสนิม     (ราที่ขึ้นบนขนมปัง)
แอสโคไมโคตา     (PHYLUM ASCOMYCOTA) สืบพันธุ์แบบแตกหน่อ พบมากในเห็ด (ยีสต์)
เบสิดิโอไมโคตา     (PHYLUM BASIDIOMYCOTA) สร้างเซลล์สืบพันธุ์บนอวัยวะคล้ายกระบอก     (เห็ดหอม)

5.อาณาจักรสัตว์ (KINGDOM ANIMALIA)

1. ไฟลัมพอริเฟอรา(PHYLUM PORIFERA)

มีเซลล์ปลอกคอ (choanocyte) ทำหน้าที่จับอาหาร สืบพันธุ์โดยการแตกหน่อ (budding) ไม่มีระบบประสาท

แคลคาเรีย     Class Calcarea เป็นฟองน้ำที่มี spicule เป็นสารพวกหินปูน     จึงแข็งและเปราะ พบตามชายฝั่ง (ฟองน้ำหินปูน)
เฮกซะแอคทิเนลลิดา     Class Hexactinellida เป็นฟองน้ำที่มี spicule เป็นพวกสารซาลิกา     พบเฉพาะในน้ำเค็ม (ฟองน้ำแก้ว)
ดีโมสปองเจีย     Class Demospongiae เป็นฟองน้ำที่มี spicule เป็นเส้นใยโปรตีน     (ฟองน้ำถูตัว ฟองน้ำน้ำจืด)

2. ไฟลัมไนดาเรีย (PHYLUM CNIDARIA)

มีเข็มพิษ ทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ ไม่มีระบบหายใจ ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบขับถ่าย ไฮโดรซัว Class Hydrozoa : อยู่น้ำจืดและทะเล รูปร่างแบบโพลิบและเมดูซา (ไฮดรา , แมงกะพรุนน้ำจืด , โอบิเลีย)

ไซโฟซัว     Class Scyphozoa : อยู่ในทะเล รูปร่างแบบเมดูซา (แมงกะพรุนไฟ ,     แมงกะพรุนจาน)
แอนโทซัว     Class Anthozoa : อยู่ในทะเล รูปร่างแบบโพลิบ (ปะการัง     กัลปังหา ปากกาทะเล ดอกไม้ทะเล)
คิวโบซัว     Class Cubozoa : อยู่ในทะเล รูปร่างคลายลูกบาศก์     (แมงกะพรุนถัง)

3. ไฟลัมแพลทิเฮลมินทิส(PHYLUM PLATYHELMINTHES)

มีสมมาตรแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry) มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น หนอนตัวแบน ทางเดินอาหาร หายใจ ไม่สมบูรณ์ 2 เพศในตัวเดียว

เทอเบลลาเรีย     Class Turbellaria : ชีวิตอิสระ พบในน้ำจืด น้ำเค็ม บนบก     (พลานาเรีย , หนอนหัวขวาน)
ทรีมาโทดา     Class Trematoda : ปรสิต คลายใบไม้ (พยาธิใบไม้)
เซสโทดา     Class Cestoda : ปรสิต ลำตัวยาว ไม่มีทางเดินอาหาร     (พยาธิตัวตืด)

4. ไฟลัมนีมาโทดา(PHYLUM NEMATODA) ได้แก่ พยาธิตัวกลมต่างๆ เช่น พยาธิไส้เดือน และหนอนในน้ำส้มสายชู มีสมมาตรแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry) ตัวกลม ไม่มีปล้อง มีระบบทางเดินอาหาร ไม่มีระบบหายใจ หมุนเวียนเลือด

5. ไฟลัมมอลลัสกา(PHYLUM MOLLUSCA)

มีลำตัวอ่อนนุ่มและสั้น ไม่มีปล้อง  มีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด หายใจโดยการใช้เหงือกหรือปอดและใช้เมนทิลหรือผิวหนังช่วยแลกเปลี่ยนก๊าซ ระบบขับถ่ายใช้ เนฟริเดียม ระบบสืบพันธุ์ส่วนใหญ่แยกเพศ มีการปฏิสนธิทั้งภายในและภานอก มักออกลูกเป็นไข่

อะพลาโคโฟรา     Class Aplacophora : ไม่มีเปลือก เท้า หัว     มีร่องแมนเทิลด้านหน้าท้อง ผิวมีหนาม (โซเลนโนแกสเตอร์)
มอนอพลาดโคโฟรา     Class Monoplacophora : เปลือกชั้นเดียว (หอยฝาชี)

3. พอลิพลาโคโฟรา Class Polyplacophora : เปลือก 8 แผ่นเรียงกัน (ลิ่นทะเล)

4. แกสโทรโพดา Class gastropoda : หอยฝาเดียว (หอยโข่ง หอยทาก หอยสังข์ หอยเชอรี่ ทากบก ทากเปลือย ฯลฯ)

5. ไบวาเรีย Class Bivalvia : หอยสองฝาทั้งหลาย (หอยแครง หอยแมลงภู่ หอยลาย หอยนางรม หอยมือเสือ ฯลฯ)

6. สแคโฟโพดา Class Scaphopoda : เปลือกเป็นท่อยาว (หอยงาช้าง)

7. เซฟาโลโพดา Class Cephalopoda : เท้ากลายเป็นหนวด (หมึก , หอยงวงช้าง)

6. ไฟลัมแอนนิลิดา (PHYLUM ANNILIDA)

ลำตัวกลมเป็นปล้องคล้ายวงแหวนต่อกัน มีช่องลำตัวที่แท้จริง (coelomates) ผิวหนังมี cuticle บาง ๆ และมีต่อมสร้างเมือกทำให้ชุ่มชื้นเสมอ มีระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด ระบบขับถ่ายมีเนฟริเดียม (nephridium) ปล้องละ 1 คู่ ระบบสืบพันธุ์มีทั้งแยกเพศและไม่แยกเพศ แต่มีการผสมข้ามตัวกัน เพราะเซลล์สืบพันธุ์เจริญไม่พร้อมกัน

พอลิคีตา     Class Polychaeta : อยู่ในทะเล มีเดือยช่วยในการเคลื่อนที่     (แม่เพรียง)
โอลิโกคีตา     Class Oligochaeta : อยู่บนบกและในน้ำ มี2เพศในตัวเดียว     (ไส้เดือนดิน)
ไฮรูดิเนีย     Class Hirudinea : อยู่บนบกและในน้ำ (ปลิงน้ำจืด)

7. ไฟลัมอาร์โทรโพดา (PHYLUM ARTHROPODA)

มีสมมาตรแบบ 2 ซีก เป็นสัตว์ขาข้อ มีโครงร่างแข็งภายนอก (expskeleton) เป็นสารไคทิน (chitin) และมีการลอกคราบเป็นระยะ เพื่อขยายขนาด มีระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด มีระบบทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ หนวด (antenna) และขนรับความรู้สึก มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น และ มีปริมาณมากที่สุดในโลก

เมอโรสโทมาตา     Class Merostomata : มีขาเดิน 5 คู่     ไม่มีขากรรไกร มีกระดอง (แมงดาทะเล)
อะแรคนิดา     Class Arachnida : แมลง อยู่บนบก มีขา 4 คู่     ไม่มีขากรรไกร มีเข็มพิษ (แมงมุม , แมงป่อง , เห็บ     , ไร)
ไดโพลโพดา     Class Diplopoda : ปล้องติดกัน มีหนวด 1 คู่     มีขาปล้องละ 2 คู่ (กิ้งกือ)
ชิโลโพดา     Class Chilopoda : ปล้องติดกัน มีหนวด 1 คู่     มีขาปล้องละ 1 คู่ (ตะขาบ)
อินเซคตา     Class Insecta : ลำตัว 3 ส่วน     หัว อก ท้อง มีหนวด 1 คู่ มีขา 3 คู่ที่อก     มีปีก 2 คู่ที่หลัง (ผีเสื้อ)

6. ครัสทาเซีย Class Crustacea : อยู่ตามแหล่งน้ำ ลำตัว 2 ส่วน หัว ท้อง มีหนวด 2 คู่ มีขา 5 คู่

8. ไฟลัมเอโคไนเดอมาตา (PHYLUM ECHINODERMAT)

เป็นสัตว์น้ำเค็มทั้งหมด ระยะตัวอ่อนมีสมมาตรแบบครึ่งซีกระยะเต็มตัววัยมีสมมาตรแบบรัศมี ปากอยู่ติดพื้น ทวารหนักอยู่ตรงกันข้าม มีระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด มีระบบหมุนเวียนน้ำในท่อขา (tube feet) ช่วยเคลื่อนไหวและจับอาหาร ระบบสืบพันธุ์แยกเพศกัน มีการปฏิสนธิภายนอก อาจสืบพันธุ์โดยการงอกใหม่ (regeneratio) ได้

แอสเทอรอยเดีย     Class Asteroidea : รูปร่างเป็นดาว ลำตัวมีหนาม ท่อขาชนิดที่มีปุ่มดูดและไม่มีปุ่มดูด     (ดาวทะเล)
โอฟิยูรอยเดีย     Class Ophiuroidea : รูปร่างเป็นดาว ลำตัวมีหนาม (ดาวเปราะ)

เอคไคนอยเดีย Class Echioidea : มีหลายรูปแบบ มีหนามสั้นและหนามยาว (เม่นทะเล , เหรียญทะเล)

โฮโลทูรอยเดีย     Class Holothuroidea : รูปร่างเป็นกระบอก ไม่มีหนาม (ปลิงทะเล)
ครินอยเดีย     Class Crinoidea : รูปร่างคล้ายถ้วย ไม่มีหนาม อยู่กับที่     (ดาวขนนก , พลับพลึง)
คอนเซนทริไซคลอยเดีย     Class Concentricycloidea : (ดอกเดซี่ทะเล)

9. ไฟลัมคอร์ดาตา (PHYLUM CHORDAT)

มีโนโทคอร์ (notochod) ในระยะหนึ่งของชีวิต โดยมี ไขสันหลัง เป็นหลอดยาวกลวงอยู่ด้านหลัง มีอวัยวะแลกเปลี่ยนก๊าซที่บริเวณคอหอย โดยระยะตัวอ่อนมีช่องเหงือก และอาจเปลี่ยนแปลงไปเมื่อโตเต็มวัย มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น มีช่องว่างในลำตัวอย่างแท้จริง มีระบบไหลเวียนเลือดแบบปิดหรือเปิด

ไม่มีกระดูกสันหลัง

1. ยูริคอร์ดาตา Subphylum Urochordata : สัตว์น้ำเค็ม แตกหน่อ มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (เพรียงหัวหอม)

2. เซฟาโลคอร์ดาตา Subphylum Cephalochodata : มีโนโทคอร์ดตลอดชีวิต ลำตัวเป็นปล้อง มักฝังตัวตามพื้นทราย (แอมฟออกซัส am phioxus)

มีกระดูกสันหลัง

1. เวอทีบราตา Subphylum Vertebrata : กระดูกสันหลังต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่นและเคลื่อนไหว

– ไซโคลสโทมาตา Class Cyclostomata : ปลาไม่มีขากรรไกร มีเหงือก 7 คู่(ปลาฉลาม)

– คอนดริคไทอิส Class Chondrichthys : ปลากระดูกอ่อน (ปลาฉลาม ปลากระเบน ฯลฯ)

– ออสทิอิคไทอิส Class Chondrichthyes : ปลากระดูกแข็ง (ปลาช่อน ปลาดุก ปลากัด ฯลฯ)

– แอมฟอเบีย Class Amphibia : สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (กบ เขียด คางคก อึ่งอ่าง ซาลามานเดอร์ ฯลฯ)

– แรพทิเลีย Class Reptilia : สัตว์เลื้อยคลาน (งู เต่า ตุ๊กแก กิ้งก่า จระเข้ จิ้งเหลน ตะกวด ฯลฯ)

– เอวัส Class Aves : สัตว์ปีก (นก ไก่ เป็ด ห่าน ฯลฯ)

– แมมมาเลีย Class Mammalia : สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (มนุษย์ ลิง โลมา แมวน้ำ สิงโตทะเล ฯลฯ)

= ความหลากหลายของพันธุกรรม ( genetic diversity ) =ความหลากหลายของพันธุกรรม

                ความหลากหลายของพันธุกรรม หมายถึง ความหลากหลายของหน่วยพันธุกรรมหรือยีน(genes) ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด   สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจมียีนแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ เช่น ข้าวซึ่งมีสายพันธุ์มากมายหลายพันชนิด  เป็นต้น  ความแตกต่างผันแปรทางพันธุกรรมในแต่ละหน่วยชีวิตมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม (mutation) อาจเกิดขึ้นในระดับยีน หรือในระดับโครโมโซมผสมผสานกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ  ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติได้น้อยมาก และเมื่อลักษณะดังกล่าวถูกถ่ายทอดไปยังรุ่นลูก จะทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรม เช่น แมวที่มีลักษณะรูปร่างหลากหลายที่แตกต่างกัน เป็นต้น   ทั้งนี้เป็นที่ทราบในเบื้องต้นจากหน่วยการเรียนที่ผ่านมาแล้วว่าการถ่ายทอดยีนแต่ละรุ่นจะต้องเป็นไปอย่างมีความกดดันของวิวัฒนาการ (evolutionary forces) เช่น การคัดเลือกโดยธรรมชาติ การอพยพ ความผกผันทางพันธุกรรม ฯลฯ ทำให้โครงสร้าง ทางพันธุกรรมของประชากรในแต่ละรุ่นเปลี่ยนแปลงผันไปได้  ซึ่งก็คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการที่จะเล็กละน้อย (micro evolution) ก่อให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมในประชากรต่าง ๆ ของสปีซีส์  จะเห็นได้อย่างชัดเจนในปัจจุบันที่มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์พืชที่มีสมบัติพิเศษ เช่น เพื่อต้านทานศัตรูพืช  เพื่อต้านทานโรค เป็นต้น จึงทำให้ได้ผลผลิตที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งแต่ละชนิดจะมียีนที่แตกต่างกันไป 

หรืออีกนัยหนึ่งของ ความหลากหลายทางพันธุกรรมที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิตได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ และส่งต่อไปยังรุ่นต่อไปเช่น ลักษณะความหลากหลายของลวดลาย และสีม้าลายซึ่งลักษณะทางพันธุกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดนั้นผ่านทางยีนส์ (genes) ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด แต่ละประเภท ซึ่งส่งผลให้สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจมีลักษณะเหมือนกัน หรือมีแตกต่างกันไปตาม ยีนส์ (genes)  ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ

 ตัวอย่าง เช่น ความหลากหลายทางพันธุกรรมของครอบครัว  ที่อาจมีความแตกต่างกันในเรื่องของสีผม สีผิว  สีของนัยน์ตา และความสูง  เป็นต้น

ความแตกต่างผันแปรของพันธุกรรมในแต่ละประเภทของสิ่งมีชีวิตนั้นมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลง พันธุกรรม( mutation) ซึ่งอาจเกิดขึ้นในระดับ ยีนส์ (genes) หรือในระดับโครโมโซม ผสมผสานกับกลไกที่เรียกว่า Crossingover ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการแบ่งเซลล์สืบพันธุ์ สำหรับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ จึงมีผลทำให้ ยีนส์ (genes)   สลับที่รวมตัวกันใหม่ (Recombination) ซึ่งจะทำให้ยีนส์ (genes) มีความเปลี่ยนแปลงไป  และถูกถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกหลานต่อไป

กระบวนการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ คือ องค์ประกอบทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตนั้นกับสภาวะแวดล้อม ความหลากหลายของพันธุกรรมเป็นส่วนที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพื่อเอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการหลีกเลี่ยงศัตรู การต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บ ความหลากหลายของพันธุกรรมภายใน  ประชากรที่อาศัยอยู่ตามแหล่งต่างๆ ของสปีชีว์หนึ่ง ยังช่วยเพิ่มศักยภาพของประชากรสปีชีส์นั้น ให้สามารถมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลง และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมต่างๆ กัน ได้อย่างเหมาะสมในระยะยาวอีกด้วย

           ผลกระทบที่เด่นชัดที่สุดของประชากรธรรมชาติที่ขาดแคลนความหลากหลายของพันธุกรรม คือ การนำไปสู่ภาวะโฮโมไซโกซิตี้ ( ภาวะพันธุ์แท้ คือ ประชากรมีการผสมตัวเองมากขึ้น ก่อให้เกิดพันธุ์แท้ ซึ่งอาจมียีนส์ที่เป็นอันตรายต่อการอยู่รอดของประชากร ) นอกจากนั้นประชากรที่ขาดความผันแปรทางพันธุกรรม ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดประสิทธิภาพของการอยู่รอด และความสมบูรณ์ในการสืบพันธุ์ด้วย ผลกระทบต่างๆ ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของภาวะความกดดันของการผสมภายในสายพันธุ์ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการสูญเสียความยืดหยุ่นทางวิวัฒนาการอย่างแน่นอน

                 การคัดเลือก และเก็บรักษาพันธุ์พืชหรือสัตว์เพื่อการเกษตรกรรมจะทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายของพันธุกรรม อันอาจก่อให้เกิดผลร้ายตามมา  ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของมนุษย์ในความพยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติ แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคที่เกิดจากธรรมชาตินั่นเอง  

ความหลากหลายทางระบบนิเวศ (Ecological diversity)

              คือความซับซ้อนของลักษณะพื้นที่ ที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคของโลก เมื่อประกอบกับสภาพภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศทำให้เกิดระบบนิเวศ หรือถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันไป การที่เราจะค้นพบสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในแต่ละพื้นที่ได้โดยผ่านการคัดเลือกตามธรรมชาติตามกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต แต่ละชนิด

              ความหลากหลายทางระบบนิเวศ จะประกอบไปด้วยความหลากหลาย 3 ประเด็น คือ

   1) ความหลากหลายของถิ่นตามธรรมชาติ ( habitat diversity) ในแต่ละบริเวณที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆที่แตกต่างกันไป บริเวณใดที่มีความหลากหลายของแหล่งที่อยู่อาศัย บริเวณนั้นจะมีชนิดของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายเช่นเดียวกัน โดยทั่วไปที่ใดมีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติหลากหลายจะมีสิ่งมีชีวิตหลากหลายตามไปด้วย เช่น ภาคใต้ ภาคอีสาน

    2) ความหลากหลายของการทดแทน (Successional diversity)เมื่อสิ่งมีชีวิตเริ่มพัฒนาขึ้นในพื้นที่ที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาก่อน และพัฒนาขึ้นเป็นชุมชนสิ่งมีชีวิตสมบูรณ์ ( climax stage) เมื่อเกิดการบุกรุก หรือการทำลายระบบนิเวศลงไป เช่น พายุ ไฟป่า การตัดไม้ทำลายป่า การล่าสัตว์การเกิดปรากฎการณ์ธรรมชาติฯลฯ ก็จะทำให้ระบบนิเวศเกิดการเสียหาย หรือถูกทำลายแต่ธรรมชาติก็สามารถจะมีการทดแทนทางนิเวศ (ecological succession) ของสิ่งมีชีวิตใหม่ขึ้นมาแทนที่ได้ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัย ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร น้ำ แสง ความชื้น อุณหภูมิ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ฯลฯ เปลี่ยนไป การทดแทนทางด้านสังคมที่เกิดขึ้นมาใหม่นี้เรียกว่าการทดแทนลำดับสอง

 ( secondary succession) เช่น ในป่ามีการทดแทนของสังคมพืช ป่าถูกทำลายเป็น ที่โล่ง ไม้พุ่ม ป่าสมบูรณ์ เรียกอีกอย่างว่า “การทดแทนทางนิเวศวิทยาซึ่งจะช่วยรักษาความหลายหลายของสิ่งมีชีวิต

3) ความหลากหลายของภูมิประเทศ (Landscape Diversity)เช่น เขตร้อนชื้น ได้แก่ ประเทศไทยจะมีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติมากมาย มีสังคมพืชหลายยุคการทดแทน มีสิ่งมีชีวิตหลากหลายผิดกับเมืองหนาวมีต้นไม้ชนิดเดียวหลายร้อยไร่ คือ สน ฉะนั้นลักษณะ ภูมิประเทศแตกต่างกัน สิ่งมีชีวิตก็จะแตกต่างกัน

พืช และสัตว์ ที่หลากหลาย มีความแตกต่างกันไปแต่ละภูมิภาคจึงสามารถแบ่งเป็นเขตชีวภูมิศาสตร์คือ

เขตภูมิศาสตร์ (Biogeography)บริเวณจำกัดขอบเขตของท้องถิ่นและชนิดพันธุ์ประจำถิ่น ซึ่งในภูมิภาคอินโดมาลายัน แบ่งเป็น 4 เขต

1. อนุภูมิภาคอินเดีย  ได้แก่ บริเวณประเทศอินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ ปากีสถาน มัลดีฟส์

2. อนุภูมิอินโดจีน พม่า จีนตอนใต้ ไต้หวัน ไทย (เหนือคอคอยกระ) ลาว กัมพูชา เวียดนาม

3. อนุภาคภูมิซุนดา ไทย (ไต้คอคอดกระ) บรูไน มาเลเซีย อินโดนิเซีย

4. อนุภูมิภาควาลลาเซียน ฟิลิปินส์ เกาะสุลาเวชี เกาะซุนดาน้อย

เขตชีวภูมิศาสตร์ ของไทย 6 เขต (จำกัดเขตของท้องถิ่นและชนิดพันธุ์ประจำถิ่น)

1. ที่ราบสูงภาคเหนือ แนวเขตเขา/หุบเขาต่อจากแนวชายแดนพม่า ลาว ภูเขามีความสูงกว่า 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นแหล่งเติบโตของพรรณไม้ป่าดิบเขา ป่าผสมผลัดใบตามที่ความชันน้อยป่าเต็งรังตามบริเวณหุบเขาและถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรที่สูง ชนิดพันธ์นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกี่ยวข้องกับชนิดพันธุ์ในประเทศจีน

2. ที่ราบสูงโคราช ป่าถูกทำลายมาก เป็นป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้งหรืออยู่บริเวณเทือกเขาเพชรบูรณ์ตะวันตก เทือกเขาสันกำแพง ดงรักตอนใต้

3. ที่ราบภาคกลาง บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนใหญ่ ทำนาข้าว

4. ที่สูงตะวันออกเฉียงใต้ แถบเทือกเขาเขาบรรทัดต่อเนื่องเทือกเขาพนมกระจานในกัมพูชาเป็นสังคมป่ากึ่งดิบชื้นเขตร้อน เขตมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (จันทบุรี-ตราด-สระแก้ว)

5. เทือกเขาตะนาวศรี ชายแดนไทย-พม่า บริเวณกาญจนบุรี-ประจวบฯ  ลักษณะป่าเป็นป่ากึ่งดิบชื้นเขตร้อน ที่สูงชันเป็นป่าผลัดใบ ป่าถูกทำลายกลายเป็นดงไผ่-ทุ่งหญ้า

6. คาบสมุทรตอนใต้ ตอนใต้ของไทย ตั้งแต่คอคอดกระ–ชายแดนไทยมาเลเซีย ฝนตกชุกลักษณะเป็นป่าดิบชื้น เนินขาถูกบุกรุกทำไร่ ยางพารา คาบสมุทรฯ เป็นแหล่งรวมจำนวนชนิดพันธุ์นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

'ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย

       ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 20 ประเทศที่มีทรัพยากรชีวภาพหลากหลายมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก พันธุ์พืช  พันธุ์สัตว์รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) หรือ ทรัพยากรชีวภาพ (Bioresource) เป็นฐานสำคัญของการเกษตร ยารักษาโรค และต่อเศรษฐกิจทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ   สาเหตุสำคัญที่ทำให้ในพื้นที่ป่าตามธรรมชาติในประเทศไทยมีความหลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์เป็นอย่างมาก เนื่องจากเหตุผลหลายประการได้แก่

1. ประเทศไทยตั้งอยู่ในโซนร้อนเหนือเส้นศูนย์สูตรเล็กน้อยและอยู่ติดทะเล จึงมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการอยู่รอด การเจริญเติบโตและการแพร่พันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลายชนิดตลอดปี อย่างไรก็ตามสภาพภูมิอากาศจะแตกต่างกันบ้างในภาคต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตั้งของภาคและระดับความสูงต่ำของพื้นที่ แต่โดยภาพรวมแล้วประเทศไทยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็วมากเหมือนในเขตอบอุ่นและเขตหนาว จึงไม่เป็นปัจจัยจำกัดในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต

2. มีความแตกต่างกันของสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย เช่นภาคเหนือเหนือเป็นภูเขาสูง อุณหภูมิต่ำในฤดูหนาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบขนาดใหญ่มีสภาพภูมิอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง ภาคกลางเป็นที่ราบลุ่ม ภาคใต้เป็นเขาสูงสลับพื้นที่ราบ บริเวณมีมรสุมพัดผ่านตลอดทั้งปี      บางพื้นที่ในภาคตะวันออกภาคกลางและและภาคใต้ที่อยู่บริเวณปากแม่น้ำเป็นต้น จากสภาพที่มีความหลากหลายของภูมิประเทศและภูมิอากาศในพื้นที่ที่อยู่ในระดับความสูงจากระดับน้ำ ทะเลที่ต่างกัน มีปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิและปัจจัยอื่นๆ เช่นสภาพพื้นดินที่แตกต่างกัน ได้เอื้ออำนวยให้เกิดความหลากหลายของประเภทของป่าตามธรรมชาติเป็น1). ป่าไม่ผลัดใบเช่น ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าชายเลน 2). ป่าผลัดใบเช่น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และ 3). ป่าที่มีลักษณะพิเศษเช่นป่าชายหาด ป่าเขาหินปูน เป็นต้น    ซึ่งป่าแต่ละประเภทจะมีลักษณะที่เฉพาะตัวและมีสิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวอาศัยอยู่ในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน

3. ประเทศไทยอยู่ในบริเวณศูนย์กลางที่มีการกระจายพันธุ์ของพืชและสัตว์ กล่าวคือเป็นเขตซ้อนทับกันของกลุ่มพรรณพฤกษชาติ (Floristic Region) ถึง 3 กลุ่มคือ กลุ่มอินโด – เบอร์มีส (Indo-Burmese elements) กลุ่มอินโด-ไชนิส (Indo-Chinese elements) และกลุ่มมาเลเซีย (Malaysian elements) ในส่วนของสัตว์ป่า ประเทศไทยถือเป็นจุดซ้อนทับของเขตสัตวภูมิศาสตร์ (Zoological Region) 3 เขตเช่นกันคือ เขตชิโน-หิมาลัย (Shino-Himalayan) เขตอินโด-ไชนีส (Indo-Chinese) และเขตชุนดา (Sundaic)

ประโยชน์ของความหลากหลายทาง

มนุษย์สามารถได้รับประโยชน์จากความหลากหลายทางธรรมชาติในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้

              1.ประโยชน์ด้านการบริโภคใช้สอย หมายถึงประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นทรัพยากร ทางธรรมชาติอันเอื้อต่อปัจจัยในการดำรงชีวิตให้แก่มนุษย์ เช่น ด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เป็นต้น

  – ด้านการผลิตอาหาร มนุษย์รับอาหารจากพืชและสัตว์ พืชไม่น้อยกว่า 5,000 ชนิดที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้ และไม่น้อยกว่า 150 ชนิดที่มนุษย์นำมาเพาะปลูกเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ แต่มีเพียง 20 ชนิดเท่านั้นที่ใช้เป็นอาหารหลักของประชากรโลก คือ พวกแป้ง ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง ความหลากหลายทางธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้เป็นแหล่งอาหารจะเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ถูก นำมาใช้ ในการปรับปรุงคัดเลือกพันธุ์เพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น

                 – ด้านการแพทย์ มีการใช้ประโยชน์จากพืชและสัตว์ในทางการแพทย์มากมายประมาณร้อยละ 25 ของยารักษาโรคผลิตขึ้นมาจาก พืชดั้งเดิม เช่น การนำพืชพวก ชินโคนา (cinchona)

ผลิตยาควินินที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย

             2.ประโยชน์ด้านการผลิต ด้านการอุตสาหกรรม ผลผลิตของป่าที่นำมาใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะโดยตรง เช่น การป่าไม้ ของป่า หรือโดยอ้อม เช่นการสกัดสารเคมีจากพืชในป่า

             3.ประโยชน์อื่น ๆ อันได้แก่คุณค่าในการบำรุงรักษาระบบนิเวศให้สามารถดำรงอยู่ได้ และดูแลระบบนิเวศ ให้คงทน เช่น การรักษาหน้าดินการตรึงไนโตรเจนสู่ดิน การสังเคราะห์พลังงานของพืช การควบคุมความชื้น เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นประโยชน์ที่สำคัญ ตลอดทั้งในด้านนันทนาการและการท่องเที่ยวของมนุษย์

การสูญเสียความหลากหลายทางธรรมชาติ

              นักชีววิทยาได้เห็นพ้องต้องกันว่า โลกกำลังสูญเสียสัตว์และพืชในป่าเขตร้อน อย่างน้อย 27,000 ชนิดต่อปี นอกจากในป่าเขตร้อนแล้ว ความหลากหลายทางชีวภาพ ในระบบนิเวศอื่นๆ กำลังลดลงเช่นกัน อาทิเช่น ในแนวปะการัง พื้นที่ชุ่ม บนเกาะ และบนภูเขา แม้ว่าจำนวนชนิดพันธุ์ที่สูญหายไปในระบบนิเวศนี้รวมกันแล้วยังเทียบไม่ได้กับจำนวนชนิดพันธุ์ที่สูญหายไปในป่าเขตร้อนก็ตาม แม้ว่าการสูญพันธุ์เป็นวัฏจักรของธรรมชาติ แต่การสูญพันธุ์ด้วยอัตราเร่งอย่างเป็นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นปรากฏการณ์นอกเหนือธรรมชาติ ซึ่งได้แสดงเห็นว่า โลกกำลังเผชิญหน้ากับความหายนะที่กำลังคืบคลานสู่ทุกชีวิตบนพื้นพิภพนี้ สำหรับมวลมนุษย์ชาติการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพมีความหมายมากกว่าการดำรงรักษาชนิดพันธุ์หนึ่งชนิดใดไว้มากกว่า การดำรงรักษาระบบนิเวศประเภทหนึ่งประเภทใด เพราะนอกเหนือไปจากนั้น มนุษย์ต้องการดำรงรักษาแหล่งอาหาร แหล่งยารักษาโรค แหล่งวัสดุใช้สอย ฯลฯ เพื่อความอยู่รอดของตนเองและอนาคตของชนรุ่นหลัง

สาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

              การสูญเสียความหลากหลายทางธรรมชาติที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ในพื้นที่ที่กระทบต่อระบบนิเวศสามารถจำแนกได้ประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ

1). การลดพื้นที่ ( reduction)

2). การแบ่งแยกพื้นที่ ( fragmentation)

3) การแทนที่ ( substitution)

4) การทำให้สูญพันธุ์ ( extinction)

5) การทำให้ปนเปื้อน ( contamination)

การอนุรักษ์พื้นที่เพื่อการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ

              ลักษณะโดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้คือ

1) อุทยานแห่งชาติ เป็นพื้นที่ที่รัฐบาลสงวนไว้เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ทางการคุ้มครองรักษาหรือ อนุรักษ์ สภาพธรรมชาติและถิ่นกำเนิดทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลายในอุทยานแห่งชาตินั้น ประกอบกันการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และการ พักผ่อน หย่อนใจเช่นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง เป็นต้น 

2) วนอุทยาน เป็นสถานที่ที่มีทิวทัศน์สวยงาม มีจุดเด่นตามธรรมชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่เช่น น้ำตก ถ้า หน้าผา มีพื้นที่ขนาดเล็ก เหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น วนอุทยานถ้ำปลา จังหวัดแม่ฮ่องสอน วนอุทยานแพะเมืองผี จังหวัดแพร่ เป็นต้น

3) สวนพฤกษศาสตร์ เป็นสวนที่สร้างขึ้นสำหรับการรวมพันธุ์ไม้เพื่อจุดประสงค์ทาง การศึกษา อาจจะเป็นการรวบรวมพันธุ์ไม้ในท้องถิ่นหรือ ต่างท้องถิ่นกันก็ได้ โดยมีการจัดแยกหมวดหมู่ของต้นไม้ ในประเทศไทยมีการจัดตั้งสวน พฤกษศาสตร์ 15 แห่ง เช่น สวนพฤกษศาสตร์สิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่ สวนพฤกษศาสตร์ภาคกลางเขาแค จังหวัดสระบุรี สวนพฤกษศาสตร์พัทลุง จังหวัดพัทลุง เป็นต้น

4) สวนรุกขชาติ เป็นพื้นที่ที่รวบรวมพันธุ์ไม้เพื่อการพักผ่อนของประชาชน เป็นพื้นที่ขนาดเล็ก ไม่มีการจัด หมวดหมู่มากนักในประเทศไทยมีจำนวน 44 แห่ง เช่น สวนรุกขชาติห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น

5) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นพื้นที่กำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัยเพื่อให้สัตว์ป่าได้สืบพันธุ์ ขยายพันธุ์ได้มากขึ้นและกระจายออกไปยังแหล่งใกล้เคียงในประเทศไทยเช่นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ห้วยขาแข้ง

6) เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเป็นอาณาบริเวณที่ราชการกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าบางชนิดขนาดไม่กว้าง ขวาง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ เช่น เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อยเขาประดู่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด เป็นต้น

การจำแนกความหลากหลายทางชีวิภาพ

1. ความหลากหลายของพรรณพฤกษชาติ 15,000 ชนิด (เฟิร์น ไม้เนื้ออ่อน, แองจิโอสเปริ์ม

2. ความหมายของชนิดพันธุ์สัตว์

– สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 285 ชนิด พบมากที่สุดคือค้างคาว

– สัตว์ปีก นก 938 ชนิด

– สัตว์เลื้อยคลาน 313 ชนิด พบมากคืองู

– สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 106 ชนิด เช่น กบ, เขียด

– ปลา น้ำจืด 552 ชนิด ทะเล และน้ำกร่อย 1,160 ชนิด น้ำลึก 30 ชนิด

– แมงดาทะเล 2 ชนิด

– กุ้งทะเล 183 ชนิด

– หมึก 28 ชนิด

– แมลง ทราบซื่อ 7,000 ชนิด

– หอยทะเล 1,016 ชนิด

ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ

1. เป็นแหล่งสะสมวัตถุดิบเพื่อการวิจัยและพัฒนา

2. เป็นฐานแห่งการผลิตอาหารและการเกษตรทั่วโลก

3. เป็นแหล่งระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์

4. พันธุกรรมพืชเป็นแหล่งปัจจัย 4

5. ป่าช่วยรักษาความชื้น แหล่งต้นน้ำ สวยงาม อาศัยของสิ่งมีชีวิต เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ

การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ  ได้มีการจัดสัมมนาSount and Sounteast Asia Network for Environmental Education ที่อินเดีย ปี 2538  (การส่งเสริม และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพโดยอาศัยการศึกษา และการสื่อสาร) สรุปว่าภูมิภาคเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายทางชีวิภาพมาก ได้แก่ อินโดนิเซีย อินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า ป่ายังสมบูรณ์ ปัจจุบันกำลังสูญเสียรวดเร็ว

1. การขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรม เกษตร และสังคมเมือง

2. การก่อสร้างสาธารณูปโภค

3. บุกรุกทำลายป่า และที่อยู่ของสัตว์

4. มลพิษสิ่งแวดล้อม

5. การล่าสัตว์ และค้าสัตว์ป่า

6. ใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง

สภาวะการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของไทย

1. สัตว์ป่า เช่น สมัน กูปรี นกช้อนหอยใหญ่ นกกระเรียน จระเข้ปากกระทุงเหว

2. ปลาน้ำจืด เช่น ปลาหวีเกศ ใกล้สูญพันธุ์ ปละกะโห้ ปลานวลจันทร์น้ำจืด ปลาสวยงาม

3. พยูน ที่หาดเจ้าใหม่ ที่เกาะลิบง จังหวัดตรัง

4. ช้าง

5. พืชได้แก่ กล้วยป่า (รองเท้านารี) (เอื้องแซะหลวง) ไม้ยืนต้น เช่น จันทร์กะพ้อ

สาเหตุการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพไทย

1. การค้าขายสัตว์ พืชหายากแบบผิดกฎหมาย

2. ล่าสัตว์มากเกินไป

3. รบกวนแหล่งทีอยู่

4. การบริโภคในท้องถิ่น

5. นโยบายรัฐบาล

6. การขยายตัวของเมือง การท่องเที่ยว มลภาวะเป็นพิษ

7. ค้าไม้ เปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่า

8. ขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์

9. การเกษตรกรรมแบบปลูกพืชชนิดเดียว

การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

1. ปลูกจิตสำนึกให้รู้คุณค่าธรรมชาติ ให้ความรู้และตระหนักความสำคัญ

2. ด้านกฎหมายดำเนินนโยบายรักษาพื้นที่ป่า นิเวศต่าง ๆ ควบคุมการใช้ที่ดิน มลพิษการใช้ประโยชน์ทรัพยากร

3. สนับสนุนงบประมาณ บุคลากรด้านการวิจัย

4. วางแผนพัฒนาการเกษตรที่อยู่ การคมนาคม ชลประทาน

5. งดเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะต้องใช้ทรัพยากรมาก

6. อนุรักษ์ป่า

7. กำหนดเขตสงวนชีวมณฑล หมายถึง พื้นที่ระบบนิเวศบนบก/ทะเลซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติว่ามีคุณค่าสำคัญควรแก่การอนุรักษ์และพัฒนา เพื่อคงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ พัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของประชาชน ควบคู่กับการคงไว้ซึ่งคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ สาธิต วิจัย พบข้อมูลข่าวสารพื้นที่อื่นในระดับท้องถิ่นระดับชาติ และระดับโลก พื้นที่สงวนชีวมณฑลแบ่งเป็น

1. เขตแกนกลาง (Core area) พื้นที่ธรรมชาติสมบูรณ์ ความหลากหลาย ทางชีวภาพสูง

2. เขตกันชน (Buffer zone) จัดกิจกรรมเหมาะสมกับนิเวศ เช่น ศึกษา วิจัย

3. เขตพัฒนา (Transition area)ดำเนินกิจกรรมอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ได้แต่ต้องควบคุมการขยายตัวของชุมชนคงไว้ซึ่งคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี

              กำหนดเขตสงวนชีวมณฑลไทย  มี  4  แห่ง

1. เขตสงวนชีวมณฑลสะแกราช จัดตั้งขึ้นปี 2519 รับผิดชอบโดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยรับผิดชอบ ตั้งอยู่บริเวณ ภูเขาหลวง ที่ราบสูงโคราช ต.อุดมทรัพย์ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา เป็นเนินเขาสลับที่ราบมีพืชพรรณ 2 ประเภท

– ป่าดิบแล้ว  40 %

– ป่าเต็งรัง 22 % (ป่าโปร่งผลัดใบฤดูแล้ง เกิดไฟป่าทุกปี)

– ป่าปลูก 22 %

– ป่าไผ่ และ ทุ่งหญ้า 6 %

2. เขตสงวนชีวมณฑลแม่สา – ห้วยคอกม้า แบ่งเป็น 2 ส่วน

– พื้นที่แม่สา กรมป่าไม้รับผิดชอบ อยู่แม่ริมจังหวัดเชียงใหม่ มี 4 ประเภทคือ ป่าดิบเขา สนเขา เต็งรัง เบญจพรรณ เป็นแหล่งที่อยู่พืช และสัตว์

– พื้นที่ ห้วยคอกม้า คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รับผิดชอบอยู่ที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ดอยปุยเป็นป่าดิบเขามีการบุกรุกทำไร่เลื่อนลอย ไร่ล้างมีหญ้าคาและสาบเสือ

– เขตที่ มีธรรมชาติสวยงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญระดับโลกมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยพื้นที่ห้วยคอกม้าเรื่องเกี่ยวกับสมดุลของพลังงานและน้ำ

3. เขตสงวนป่าสักห้วยทากจัดตั้งเมือปี 2520 กรมป่าไม้รับผิดชอบเป็นสวนป่าสักแบ่งเป็น 4 แห่งคือ สวนป่าสักห้วยทาก สวนป่าห้วยมะพร้าว สวนป่าแม่หยวก สวนป่าแม่สบพึงเขตป่าสาธิต อำเภองาว จังหวัดลำปาง ลักษณะป่าเป็นเบญจพรรณ (สัก และเต็งรัง)

 – เขตนี้เป็นแหล่งวิจัย และ พัฒนาป่าสัก มีป่าสักธรรมชาติ และสวนป่าที่เป็นแหล่งพันธุกรรมที่ดีที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง

  4. เขตสงวนป่าชายเลน จังหวัดระนอง อยู่ที่ศูนย์วิจัยป่าชายเลน จังหวัดระนอง มีพันธ์ไม้ป่าชายเลนธรรมชาติและสัตว์จำนวนมาก เขตนี้ เป็นแหล่งวิจัยระบบนิเวศป่าชายเลน

8. การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแบบมีส่วนร่วม

– ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น ชมรมดูนกปลูกป่า ชมรมอนุรักษ์ฯ ต่าง ๆ

– เข้าร่วมเป็นผู้ช่วยนักวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพของสถาบัน

– ศึกษาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น การท่องเที่ยวที่ทำลาย และทิ้งขยะ

– รณรงค์ สนับสนุนทุนจัดกิจกรรมอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น อนุรักษ์ป่าชายเลน อนุรักษ์น้ำ

 – สอดส่องดูแลไม่ให้ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น ทำลายป่า สัตว์ป่า

  – ส่งเสริมรณรงค์ ทำความเข้าใจให้เห็นคุณค่า เช่น เรียงความ ประกวดวาดภาพ ภาพถ่าย